เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 167643 ละครในราชสำนักสยามไปสู่ราชสำนักเขมร
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 10:47

ตัวอย่างนาฏศิลป์ปัจจุบัน มีการใช้ปันจุเหร็จ ตามแบบโบราณ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 10:54

มีบันทึกว่า พวกแขกเจ้าเซ็นได้ สวดถวายตัวในการบำเพ็ญพระราชกุศล เมื่อ พ.ศ. 2423 ต่อมาคิดสวดแผลงเป็นลำนำต่าง ๆ คิดลูกหมดเข้าแกมสวด ร้องเป็นเพลงต่างภาษา และทำตัวหนังเชิด โดยเอารำมะนาเป็นจอก็มี ลิเกจึงกลายเป็นการเล่นขึ้น ต่อมามีผู้คิดเล่นลิเกอย่างละคร คือ เริ่มร้องเพลงแขก แล้วต่อไปเล่นอย่างละครรำ และใช้ปี่พาทย์อย่างละคร

ก่อนหน้า พ.ศ. ๒๔๒๓ ลิเกไม่ใช่การแสดงเป็นเรื่องเป็นราวอย่างที่เรารู้จัก เป็นเพียงการสวดสรรเสริญพระเจ้าของพวกแขกเจ้าเซ็นเท่านั้นเอง

อาจารย์สุรพล วิรุฬห์รักษ์ ท่านบรรยายไว้ว่า ลิเกมีพัฒนาการที่สลับซับซ้อน ประวัติของลิเกแบ่งออกได้เป็น ๖ ยุคหลัก คือ

เริ่มจากยุคแรก ลิเกสวดแขก  คือ ยุคที่ชาวไทยมุสลิมเดินทางจากภาคใต้เข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในกรุงเทพมหานคร ในสมัยรัชกาลที่ ๓  แล้วได้นำการสวดสรรเสริญพระเจ้าประกอบ การตีรำมะนา (กลองหน้าเดียวตีประกอบลำตัดในปัจจุบัน) เข้ามาด้วย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ลูกหลานชาวไทยมุสลิมก็ใช้ภาษาไทยแทนภาษามลายู สำหรับการแสดง  ลิเกสวดแขกนั้น ผู้แสดงชายนั่งล้อมเป็นวงกลม มีคนตีรำมะนาเสียงทุ้มและแหลม  ๔ ใบ หรือ ๑ สำรับ การแสดงเริ่มด้วยการสวดสรรเสริญพระเจ้าเป็นภาษามลายู จากนั้นก็ร้องเพลงด้นกลอนภาษามลายูตอนใต้ เรียกกันว่า ปันตุน หรือ ลิเกบันตน ต่อมาแปลงจากภาษามลายูเป็นภาษาไทย การแสดงบางครั้งมีการประชันวงร้องตอบโต้กัน จนกลายมาเป็นลำตัดในปัจจุบัน

ยุคของลิเกต่อมา ก็ได้แก่ ลิเกออกภาษา ลิเกทรงเครื่อง ลิเกลูกบท ลิเกเพชร และ ลิเกลอยฟ้า

มีรายละเอียดเป็นอย่างไรกันบ้าง ต้องตามอ่านในสารานุกรมสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ ๒๗

http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK27/chapter1/t27-1-l2.htm
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 10:58

"รัดเกล้าเปลว" เครื่องศิราภรณ์สำหรับตัวนางพี่เลี้ยง มียศศักดิ์สูงกว่านางกำนัลทั่วไป มีหลักฐานว่าเครื่องประดับประเภทนี้มีใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 11:08

กลับไปค้นประกาศรัชกาลที่ 4 แล้ว ห้ามเรื่องเล่นแคน  ไม่ใช่ลิเก  ดิฉันคงจะจำผิดไป

จำได้แต่กลอนพระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ที่ว่า
 “อันลิเกลามกตลกเล่น
รำเต้นสิ้นอายขายหน้า
ไม่ควรจดจำเป็นตำรา
มันจะพาเสียคนป่นปี้เอย”

ได้ยินมาว่าในสมัยโน้น ลิเกเล่นให้ชาวบ้านดู  ใช้ถ้อยคำตลกสองแง่สองง่าม   บางทีก็หยาบถึงใจ เพื่อให้คนดูเฮฮากัน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 11:10

ได้ยินมาว่าในสมัยโน้น ลิเกเล่นให้ชาวบ้านดู  ใช้ถ้อยคำตลกสองแง่สองง่าม   บางทีก็หยาบถึงใจ เพื่อให้คนดูเฮฮากัน

ถึงอย่างไร ก็คงสู้ลำตัดไม่ได้



ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 11:21

"กินนรี" ก็โบยบินไปถึงนาฏศิลป์กัมพูชาด้วย ไม่รู้ว่าไปได้อย่างไร  ฮืม แต่จัดรูปเทียบกัน ระหว่างกินรีของละครเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง กับ กินรีราชสำนักกัมพูชา


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 11:37

ผ้าปักชุดละครของทางกัมพูชา และฝ่ายไทย ต่างกันเล็กน้อย


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 11:47

ชุดนี้แหละที่เขมรเอาไปอวดฝรั่ง

 ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 13:55

ให้ชมความคล้ายคลึงกัน แม้ว่าจะห่างกันไกล ภาพบนเป็นคณะละครเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง ไปทำการแสดงที่ประเทศเยอรมันนี กรุงเบอร์ลิน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๓ มีด้วยกันหลายชุด แต่ชุดนี้เป็นชุดรำพัดโบก ลีลาคล้ายคณะนาฏศิลป์กัมพูชาที่แสดงเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๒


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 14:18

ความที่กระทู้นี้ฮิทติดลมแรง   อาจทำให้ผู้อ่านซึ่งยังไม่คุ้นกับกระทู้วิ่งเร็วของเรือนไทย อาจตามไม่ทัน
อยากจะขอให้คุณ siamese สรุปว่า ความคล้ายคลึงระหว่างนาฏศิลป์เขมรกับไทย (ในระยะ ๑๐๐ ปีมาจนถึงปัจจุบัน) มีการถ่ายทอดสู่กันอย่างไร แบบไหน
ดิฉันไม่มีอะไรจะเสริมมากไปกว่ารูปภาพนักเรียนนาฏศิลป์เขมรในปัจจุบัน     กำลังฝึกรำกันอยู่   ท่ารำพวกเขา คุณ siamese พอจะดูออกไหมว่าเหมือนท่ารำอะไรของเราบ้าง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 14:21

ท่านี้นึกถึงฟ้อนเล็บของทางเหนือ


บันทึกการเข้า
ธีร์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 54



ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 14:21

จากภาพนี้ นางกินรี ของเขมรคงจะเก่งมากเลยนะครับ เพราะแต่ละนางร่ายรำด้วยเครื่องดนตรีจีน  ฮืม กู่เจิ้ง ด้วยครับท่านอาจารย์

ปรากฏอยู่ทางซ้ายมือของภาพ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 14:22

ตัวพระ?


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 14:24

จากภาพนี้ นางกินรี ของเขมรคงจะเก่งมากเลยนะครับ เพราะแต่ละนางร่ายรำด้วยเครื่องดนตรีจีน  ฮืม กู่เจิ้ง ด้วยครับท่านอาจารย์

ปรากฏอยู่ทางซ้ายมือของภาพ

คุณธีร์ตาไวจริง      กินรีเธอรำด้วยเสียงกู่เจิ้ง หรือว่าคนวาดไม่รู้จักมโหรีปี่พาทย์เขมรก็ไม่ทราบนะคะ
 ยิงฟันยิ้ม

*********************
ภาพนี้น่าจะเป็นท่าโขน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 14:25

รูปนี้น่าจะอัปสรายุคใหม่  ดูจากเครื่องแต่งกาย
ส่วนท่า เหมือนหนุมานจับนางเบญกาย


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 20 คำสั่ง