เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 167581 ละครในราชสำนักสยามไปสู่ราชสำนักเขมร
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 07:25

ภาพละครเขมรที่ออกมาอย่างนั้น หลายท่านคงจะประหลาดใจ ไหง๋ออกในแนวอัฟริกันๆชอบกล
 
แต่…เอาเท่านี้ก่อนละกัน สลับฉากคราวหน้า ผมจะเอาปฏิกิริยาลูกโซ่ที่ส่งผลกระทบกับละครเขมรจากภาพวาดสีน้ำของโรแด็ง มาบรรเลงต่อ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 07:37

^
^
ชอบภาพวาดสีน้ำมันชุดนี้มากเลยครับ ต้องมองแล้วนึกตาม ถึงอารมณ์ ลีลา ท่าทาง ผมมองแล้วเหมือนว่า มือไม้ การจีบมือ เยื้ยงย่างกรีดกราย ไหวตามลีลาไปกับภาพวาด ทำให้นึกถึงลีลาการร่ายรำของจริงคงต้องเชื่องช้าและหยุดเป็นจังหวะ

สำหรับลักษณะที่ออกเหมือนอัฟริกา คงเป็นเพราะชาวยุโรปผิวขาว ส่วนชาวเขมรนั้น ผิวพรรณออกไปทางคล้ำแดด น้ำตาล
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 08:00

ผมอยากให้ท่านเปรียบเทียบละคร๒ภาพ

ภาพบนเป็นละครนอก(วัง)ในสมัยรัชกาลที่๔ ถ่ายในกรุงเทพฝีมือฟรานซิส จิต
กับภาพล่าง เป็นละครใน(วัง)ของราชสำนักเขมร ตากล้องฝรั่งเศสถ่าย

ถ้าผมไม่บรรยายไว้ก่อน ท่านจะแยกแยะได้ไหม

ภาพทั้ง ๒ เป็นภาพที่ถ่ายในดินแดนสยามครับ เป็นละครนอกทั้งสองภาพ เป็นกลุ่มบุคคลถูกจ้างเข้ามาถ่ายภาพเกี่ยวกับละครไว้หลายภาพ ซึ่งลักษณะเด่นของทีมกล้องนี้จะยกพื้นสูง ปูเสื่อ มีผ้าลายเสือวาง นั่งตั่ง แต่งชุดละครประเภทต่างๆครับ บางภาพถูกแปลงเป็นภาพลายเส้นประกอบหนังสือเล่าเรื่องสยาม ของอูโมต์ ด้วยครับผม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 08:38

ผมตรวจสอบแล้ว ภาพนี้ ซึ่งผมได้มาจากหนังสือ Cambodian Dance มีการบรรยายไว้ว่าเป็นละครของสยามจริง ตามที่คุณหนุ่มสยามทักท้วง เป็นอันว่าผมสะเพร่า ถ่ายรูปจากหนังสือดังกล่าวมารวบรวมไว้โดยไม่ได้แยกแยะให้ดี อันที่จริงก็น่าจะสังเกตุเห็นหนังเสือที่รองนั่งได้ว่ามันถ่ายทำจากสถานที่เดียวกัน ก็บกพร่องอีก รีบร้อนราวกับว่าถ้าปั่นต้นฉบับส่งไม่ทัน จะถูกเจ้าของเรือนไทยเขาตัดเงินเดือน

เอาเป็นว่าผมรับผิดและขออภัยท่านผู้อ่านอย่างจริงใจ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 08:41

แต่อีกรูปหนึ่งนี้ ได้มาจากหนังสือบันทึกภาพรัชกาลที่๔ บรรยายว่าเป็นภาพถ่ายฝีมือฟรานซิส จิต

เป็นไปได้ว่า ช่างภาพฝรั่งคงจะมาเช่าสตูดิโอกับเครื่องประดับของฟราสซิส จิต จัดฉากถ่ายภาพ เลยดูเหมือนกันไปด้วย

หรือข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างอื่น คุณหนุ่มสยามมีหลักฐานไหมครับ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 08:55


ภาพของคุณดีดีภาพนี้เป็นภาพโขนชุดรามเกียรติ์ที่นครวัดสมัยสมเด็จพระศรีสวัสดิ์

ในรัชสมัยนี้มีการเดินสายไปโชว์ถึงต่างประเทศ

เรื่องนี้คุณนวรัตนก็คงอธิบายได้ดี


 ยิงฟันยิ้ม


คุณนวรัตนเล่าเรื่องสมเด็จพระศรีสวัสดิ์กับงาน  Expo อาณานิคม ได้สนุกและน่าสนใจมาก

สมกับได้บรรยายสรรพคุณไว้


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 09:14

แต่อีกรูปหนึ่งนี้ ได้มาจากหนังสือบันทึกภาพรัชกาลที่๔ บรรยายว่าเป็นภาพถ่ายฝีมือฟรานซิส จิต

เป็นไปได้ว่า ช่างภาพฝรั่งคงจะมาเช่าสตูดิโอกับเครื่องประดับของฟราสซิส จิต จัดฉากถ่ายภาพ เลยดูเหมือนกันไปด้วย

หรือข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างอื่น คุณหนุ่มสยามมีหลักฐานไหมครับ


หลักฐานเบื้องต้นก็จะขอนำตัวอย่างภาพลายเส้นที่ถูกแกะจากภาพถ่ายเหล่านี้ เพื่อตีพิมพ์ลงหนังสือของอูโมต์ เป็นภาพที่ทุกท่านคงจะเคยพบเห็นผ่านตากันมาแล้ว ซึ่งเป็นกลุ่มชาวสยามแต่งกายยืนเครื่องละคร และเครื่องโขน สำหรับข้อมูลเบื้องต้นคงเป็นฝีมือชาวฝรั่งเศสได้ถ่ายภาพไว้ (อ้างถึงประวัติเครื่องแต่งกายโขน-ละคร)


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 10:17

ระหว่างรอปฏิกิริยาลูกโซ่ว่าจะรุนแรงขนาดไหน ผมก็จะขอนำร่องเรื่องการแต่งกายนาฏศิลป์กัมพูชา ที่คล้ายกับการแต่งกายยืนเครื่องของฝ่ายไทย เหมือนฝรั่งมองกล้วยน้ำว้า แยกไม่ออกกับ กล้วยไข่ ต้องพิจารณาดีๆจึงจะเห็นความต่าง

แม้ว่า ม.จ.ฉวีวาดจะหอบเอาเครื่องละคร เครื่องดนตรี เครื่องมือทำมาหากินของชาวละคร ใส่หีบล่องเรือไปราชสำนักกัมพูชาก็ตาม แต่คาดว่าการรำนาฏศิลป์ที่ได้รับอิทธิพลจากราชสำนักสยาม คงไปเบ่งบานที่พระราชวังเขมรินทร์เรียบร้อยก่อนหน้านี้ แต่หลังจากนั้นเป็นเวลาร้อยกว่าปี เครื่องประดับ เครื่องละครยังคงถืออย่างเคร่งครัด ติดตรึงกับอดีตมิเสื่อมคลาย ในขณะที่ฝ่ายสยาม มีการพัฒนารูปแบบต่อเนื่อง

เครื่องศิราภรณ์แรกคือ "มงกุฎ"

ท้าวความว่า การแต่งกายยืนเครื่องละคร-โขนนั้นเรียกว่า จำลองแบบมาจากเครื่องราชภูษิตาภรณ์ของพระมหากษัตริย์และสตรีราชสำนักฝ่ายใน เพราะว่าเนื้อหาของการแสดงเป็นเรื่องเกี่ยวกับในรั้วในวัง

สิ่งที่สังเกตุในเครื่องละครของกัมพูชาจากภาพถ่ายโบราณ จะไม่สังเกตุเห็นการสวมมงกุฎทรงมหาพิไชยมงกุฎ แต่จะใส่ "มงกุฎยอดชัย หรือ ชฎายอดชัย" แทน ทั้งนี้น่าจะสืบเนื่องจากนาฏศิลป์กัมพูชาได้จำลองพระมงกุฎจากเจ้ามหาชีวิตของพวกเขา จำลองถ่ายลงมายังเครื่องศิลาภรณ์นาฏศิลป์กัมพูชา

ซึ่งย้อนรอยไปยังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระราชอาณาจักรสยามมีดินแดนประเทศราชขึ้นตรงต่อสยาม ได้แก่ ลาว และกัมพูชา เป็นต้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานเครื่องกกุธภัณฑ์พระราชแด่เจ้าประเทศราช ให้ปกครองดินแดนเป็นของตนเอง หนึ่งในนั้นคือ พระมงกุฎสำหรับดินแดนประเทศราช “พระอนุราชมงกุฎ”
ดังนี้แล้วเครื่องศิราภรณ์ประดับศีรษะจะเลียนแบบเกือบทั้งหมด


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 10:19

ในเมื่อลาวไม่มีสิทธิ์เอาละครในของไทยไปประจำในราชสำนักลาว  เขมรก็ไม่มีสิทธิ์เช่นกัน   สมเด็จเจ้านโรดมซึ่งเคยมาอยู่ในกรุงเทพฯ เมื่อคราวเสด็จกลับไปครองราชย์  ก็ได้ไปแต่ลิเกไทย  ไปประจำอยู่ในเขมร
ลิเกไทยก็ไปเฟื่องฟูอยู่ในเขมร   สมเด็จนโรดมทรงเป็นองค์อุปถัมภ์    จนในเขมรเชื่อกันว่าสมเด็จฯเป็นผู้คิดลิเกขึ้นมาเอง และทรงสั่งสอนนาฏศิลป์เขมรให้เป็นเรื่องลิเก

ลิเกเป็นเรื่องของชาวบ้านเพิ่งเกิดในสมัยรัชกาลที่ ๕ นี้เอง นักองด้วงเข้ามาอยู่กรุงเทพฯในสมัยรัชกาลที่ ๒ - รัชกาลที่ ๓ ไหนเลยจะรู้จักลิเกไทยได้  ที่ได้ไปเป็นนาฏศิลป์ในราชสำนัก  แต่คุณชายท่านคงเห็นนาฏศิลป์เขมรอยู่ระดับเดียวกับลิเกกระมัง

ลิเกเขมรตัวจริงก็มี ในเว็บลักษณะไทยเรียกว่า ลิเกอีสานใต้

มีเรื่องเล่าว่า มีคนไทยคนหนึ่งชื่อ “ตาเปาะ” ภรรยาชื่อ “ไอ” ตาเปาะได้ไปท่องเที่ยวที่เขมร และได้ภรรยาเป็นชาวเขมรอีกคนหนึ่ง ชื่อ องค์ยง  ตาเปาะอยู่กินกับหญิงนั้นหลายปี จนมีความเข้าใจขนบธรรมเนียมประเพณี และการ แสดงต่างๆ ของกัมพูชา ต่อมาตาเปาะได้เดินทางกลับประเทศไทย มาอยู่กินกับ ภรรยาเดิม และได้รวมสมัครพรรคพวกที่ชอบการร้องรำทำเพลง ประมาณ ๑๒-๑๕ คน รวมตั้งเป็นคณะลิเกขึ้น และได้ไปแสดงในงานต่าง ๆ ในแถบจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ เมื่อการแสดงลิเกแบบนี้ได้รับความนิยมมากขึ้น ลูกน้องของตาเปาะก็ได้แยกไปตั้งคณะ ลิเกขึ้นใหม่ในจังหวัดบุรีรัมย์แถบอำเภอสตึกและอำเภอเมืองบุรีรัมย์

ลิเกอีสานใต้ สมัยต่อ ๆ มา ไม่ค่อยได้รับความนิยมนัก ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ ได้มี นายเปรม รัตนดี อายุประมาณ ๗๐ ปี ได้ตั้งคณะลิเกขึ้นที่บ้านดงเค็ง ตำบลเมือง ลิง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ โดยเอาลิเกของเก่ามาดัดแปลงใหม่ และกลับได้รับ ความนิยมอย่างมาก ลิเกคณะนี้มีชื่อว่า “คณะเปรมปรีดิ์สามัคคีศิลป์” ค่าว่าจ้างใน ปัจจุบันตกคืนละประมาณ ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ บาท ปัจจุบันมีอยู่คณะเดียวเท่านั้นและมี ผู้ว่าจ้างไปเล่นน้อยเต็มที

http://www.laksanathai.com/book3/p414.aspx



 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 10:20

กระทู้วิ่งเหมือนจรวด  ตามไม่ทัน


สังเกตุในรูปดูโจงกระเบนของท่านจะรุ่ยๆชอบกล  ไม่ทราบท่านอาจารญ์เทาชมพูจะสั่งให้ใครไปแกล้งดึงของท่านหรือเปล่า ผมละเสียวๆ



 รีบร้อนราวกับว่าถ้าปั่นต้นฉบับส่งไม่ทัน จะถูกเจ้าของเรือนไทยเขาตัดเงินเดือน

ไหว้วานชาวเรือนไทยแถวกระทู้ไปฉุดโจงกระเบนท่านไว้หนเดียว  ด้วยเจตนาดี เห็นท่านแต่งองค์ทรงเครื่องเตรียมเข้าฉากแล้ว ไม่อยากให้เข้าโรงก่อนจะออกโรง   
ท่านเอาคืนอิฉันหลายเท่าเลยนะเจ้าคะ
คราวหน้าเห็นจะต้องบอกรปภ.เรือนไทยให้พุ่งเข้าชาร์จลูกเดียว  ไม่ฉุดละ

ยังติดใจโจงกระเบนเขมรในรูปค่ะ   คร็อพ ให้ดูกันชัดๆ  พระเจ้าสีสวัสดิ์ท่านคาดผ้าอะไรห้อยลงมาข้างหน้ากระปุกกระปุย ทับโจงกระเบนไว้อีกทีหรือเปล่า เหมือนชายไหวชายแครงในเครื่องแต่งกายละคร



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 10:23

ให้ดูเครื่องศิราภรณ์ "ชฎายอดชัย" ของฝ่ายกัมพูชาที่จำลองจาก "พระอนุราชมงกุฎ"


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 10:28

ลิเก น่าจะมีก่อนรัชกาลที่ ๕ นะคะ คุณเพ็ญชมพู   คลับคล้ายคลับคลาว่าในประกาศของรัชกาลที่ ๔ มีการประณามลิเกด้วย  ว่าเป็นสิ่งไม่สมควรจะดู
แต่ดิฉันจำรายละเอียดไม่ได้แล้ว
ดร.สุรพล วิรุฬรักษ์ทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่องลิเก      มีคนคัดลงในวิกี้  ก็เลยคัดมาให้อ่านอีกที

ลิเก เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือต้นกรุงรัตนโกสินทร์ คำว่า ลิเก เพี้ยนมาจากคำว่า ซิเกร์ ในภาษาเปอร์เซีย ที่ยืมมาจากคำว่า ซิกรุ (Zakhur) ในภาษาอาหรับ อันหมายถึงการอ่านบทสรรเสริญเป็นการรำลึกถึงอัลลอหฺพระเจ้าในศาสนาอิสลาม พระครูศรีมหาโพธิคณารักษ์ก็ได้กล่าวถึงลิเกไว้ ว่า พวกมุสลิมนิกายชีอะห์ หรือเจ้าเซ็นจากเปอร์เซีย นำสวดลิเกที่เรียกว่า ดิเกร์ เข้า มาในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กรมพระยาดำรงราชานุภาพก็ทรง บันทึกว่า ยี่เกนั้น เพี้ยนมาจาก จิเก

มีบันทึกว่า พวกแขกเจ้าเซ็นได้ สวดถวายตัวในการบำเพ็ญพระราชกุศล เมื่อ พ.ศ. 2423 ต่อมาคิดสวดแผลงเป็นลำนำต่าง ๆ คิดลูกหมดเข้าแกมสวด ร้องเป็นเพลงต่างภาษา และทำตัวหนังเชิด โดยเอารำมะนาเป็นจอก็มี ลิเกจึงกลายเป็นการเล่นขึ้น ต่อมามีผู้คิดเล่นลิเกอย่างละคร คือ เริ่มร้องเพลงแขก แล้วต่อไปเล่นอย่างละครรำ และใช้ปี่พาทย์อย่างละคร
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 10:35

สำหรับฝ่ายสตรีนั้น เครื่องศิราภรณ์ ก็สวมเครื่องหลายประเภท หนึ่งในหลายๆประเภทคือ "ศิโรเพฐน์" ซึ่งเป็นภาษาโบราณ ปัจจุบันเรียกว่า "เกี้ยวยอด" ซึ่งใช้ประดับเล่นละครมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งประกอบด้วย กระบังหน้า (กรอบหน้า) ดอกไม้ไหว เกี้ยวยอด และทัดหู

สำหรับฝ่ายกัมพูชาเองก็แปลงไปจากไทย โดยแต่งลวดลายเสียใหม่ แต่ทรวดทรงคล้ายเดิม


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 10:39

ลิเก น่าจะมีก่อนรัชกาลที่ ๕ นะคะ คุณเพ็ญชมพู   คลับคล้ายคลับคลาว่าในประกาศของรัชกาลที่ ๔ มีการประณามลิเกด้วย  ว่าเป็นสิ่งไม่สมควรจะดู
แต่ดิฉันจำรายละเอียดไม่ได้แล้ว
ดร.สุรพล วิรุฬรักษ์ทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่องลิเก      มีคนคัดลงในวิกี้  ก็เลยคัดมาให้อ่านอีกที

ลิเก เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือต้นกรุงรัตนโกสินทร์ คำว่า ลิเก เพี้ยนมาจากคำว่า ซิเกร์ ในภาษาเปอร์เซีย ที่ยืมมาจากคำว่า ซิกรุ (Zakhur) ในภาษาอาหรับ อันหมายถึงการอ่านบทสรรเสริญเป็นการรำลึกถึงอัลลอหฺพระเจ้าในศาสนาอิสลาม พระครูศรีมหาโพธิคณารักษ์ก็ได้กล่าวถึงลิเกไว้ ว่า พวกมุสลิมนิกายชีอะห์ หรือเจ้าเซ็นจากเปอร์เซีย นำสวดลิเกที่เรียกว่า ดิเกร์ เข้า มาในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กรมพระยาดำรงราชานุภาพก็ทรง บันทึกว่า ยี่เกนั้น เพี้ยนมาจาก จิเก

มีบันทึกว่า พวกแขกเจ้าเซ็นได้ สวดถวายตัวในการบำเพ็ญพระราชกุศล เมื่อ พ.ศ. 2423 ต่อมาคิดสวดแผลงเป็นลำนำต่าง ๆ คิดลูกหมดเข้าแกมสวด ร้องเป็นเพลงต่างภาษา และทำตัวหนังเชิด โดยเอารำมะนาเป็นจอก็มี ลิเกจึงกลายเป็นการเล่นขึ้น ต่อมามีผู้คิดเล่นลิเกอย่างละคร คือ เริ่มร้องเพลงแขก แล้วต่อไปเล่นอย่างละครรำ และใช้ปี่พาทย์อย่างละคร

สวดดิเกร์  มีมาก่อนรัชกาลที่ ๕  แต่ลิเกที่เป็นการประยุกต์จากสวดดิเกร์ของแขกมุสลิม
ที่มาสวดในการพระราชพิธีพระศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์  จนกลายเป็นการแสดงละครนั้น
เพิ่งเริ่มมีในสมัยรัชกาลที่ ๕  ลิเกคณะแรก คือคณะลิเกของพระยาเพ็ชรปาณี

ดังข้อความว่า  
"...การแสดงลิเกออกภาษาในส่วนที่เป็นสวดแขกกลายเป็น การออกแขก
มีผู้แสดงแต่งกายเลียนแบบชาวมลายูออกมาร้องเพลงอำนวยพร
มีตัวตลกถือขันน้ำตามออกมาให้ผู้แสดงเป็นแขกประพรมน้ำมนต์เพื่อเป็นสิริมงคล
ส่วนที่เป็นชุดออกภาษา กลายเป็นละครเต็มรูปแบบ ซึ่งวงรำมะนายังคงใช้บรรเลงตอนออกแขก
แต่ใช้ปี่พาทย์บรรเลงในช่วงละคร เครื่องแต่งกายหรูหราเลียนแบบข้าราชสำนักในสมัยรัชกาลที่ 5
จึงเรียกว่า ลิเกทรงเครื่อง ลิเกทรงเครื่องแสดงในโรง (วิก) และเก็บค่าเข้าชม
เกิดขึ้นโดยคณะของพระยาเพชรปาณี ข้าราชการกระทรวงวัง ซึ่งนำแสดงโดยภรรยาของตน
วิกพระยาเพชรปาณีตั้งอยู่นอกกำแพงเมือง หน้าวัดราชนัดดาราม ..."

จาก http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=10223.0


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 10:45

"ปันจุเหร็จ" เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๒ ถูกประดิษฐ์ขึ้นแทนการโพกผ้า มีเอกลักษณ์คือชายผ้าด้านหลังศีรษะ ทำด้วยทองแดงขึ้นรูป แปะด้วยขี้รัก ปิดกระจก และถูกถ่ายทอดไปยังนาฏศิลป์กัมพูชา ใช้มาจนปัจจุบันนี้


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.083 วินาที กับ 20 คำสั่ง