เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 167584 ละครในราชสำนักสยามไปสู่ราชสำนักเขมร
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 14:56

อีกรูปหนึ่งภาพจากหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศส Le Petit Journal ฉบับวันอาทิตย์ที่ ๒๔ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๐๖ สมเด็จพระศรีสวัสดิ์ทอดพระเนตรนาฏศิลป์เขมรร่ายรำอยู่หน้านครวัดจำลองก่อนที่จะได้คืนเป็นทางการใน ค.ศ. ๑๙๐๗


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 15:01

ปี ๑๙๐๖ ขณะที่ฝรั่งเศสจัดงาน Expo ดังกล่าว นครวัดยังเป็นของสยามอยู่ สมเด็จพระศรีสวัสดิ์เสด็จประพาสฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ มีการตรวจพลสวนสนามของกองทัพและให้ทอดพระเนตร การซ้อมรบใหญ่ที่ทุ่งลองชองป์, ดูงานโรงงานอุตสาหกรรม, ซื้ออาวุธสมัยใหม่, ขึ้นหอไอเฟล ฯลฯ ซึ่งเป็นการเลียนแบบการต้อนรับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเสด็จประพาสฝรั่งเศสครั้งแรกใน ค.ศ.๑๘๙๗

จุดมุ่งหมายอีกข้อหนึ่งคือเพื่อให้ทันงาน Expo ซึ่งมีการจำลองนครวัดขนาดมหึมาไว้ในงาน เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการที่จะได้นครวัดและเขมรส่วนในคืนจากสยาม ทันที่ที่สมเด็จพระศรีสวัสดิ์เสด็จกลับกรุงพนมเปญ ข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสก็สั่งการให้ประติมากรชื่อธีโอดอร์ ริวีแอร์ หล่ออนุสาวรีย์รูปสมเด็จพระศรีสวัสดิ์ขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสที่เขมรจะได้ดินแดนคืนมาล่วงหน้า

อีกหนึ่งปีต่อมาในวันที่ ๒๓ มีนาคม ค.ศ. ๑๙๐๗ สยามจึงยอมยกดินแดนพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณคืนในเขมรในการปกครองของฝรั่งเศส เพื่อแลกกับดินแดนด่านซ้าย จังหวัดเลย และตราด พร้อมเกาะแก่งที่ตั้งอยู่ใต้แหลมสิงห์รวมทั้งเกาะกูด และคืนสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้ด้วย

อนุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสวัสดิ์ที่ฝรั่งเศสปั้นให้



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 15:07

มีชื่อท่ารำของเขมรชื่อหนึ่ง เชื่อว่าหลายคนคงไม่เคยได้ยินคือ Religions dance เป็นชื่อที่สมเด็จพระศรีสวัสดิ์เรียกคราเสด็จเมืองลังการะหว่างทางที่จะไปฝรั่งเศส

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในพระราชหัตถเลขา "ไกลบ้าน" เกี่ยวกับ สมเด็จพระศรีสวัสดิ์ และ Religions dance ของเขมรที่เมืองลังกา ไว้ดังนี้

ศรีสวัสดิ์ทำยุ่มย่ามไว้มาก สำแดงว่าเปนผู้ทรงพระราชศรัทธาต่อพระสาสนากล้าหาญ เวลาขึ้นบกไปที่กวีนซเฮาส์ ขอตั้งเครื่องสักการบูชาพระพุทธบาท ว่ามีออลเตอซึ่งอยากจะซักที่สุด ว่ารูปร่างเปนอย่างไร แต่ดูมันจะจู้จี้หนักไป เลยเชื่อเอาเสีย ว่าที่จะเปนเครื่องนมัสการถึงโต๊ะทองทิศฤๅอะไร ตั้งหันไปทางพระพุทธบาทในกลางสนามหญ้า จุดธูปเทียนนมัสการแล้ว ในลครขึ้นไปสวดมนต์สิบสองคน พอสวดจบแล้วลุกขึ้นรำ "ริลิเยียสดานศ์" พ่อเถียงว่าไม่เห็นมีริลิเยียสดานศ์ของเรา เขาอ้อแลฦๅกันต่าง ๆ แล้วบอกว่าเห็นหน้าตาเคร่งเครียดทั้งนั้น ทีจะเปนด้วยลครอย่างเราหน้ามันบึ๊ดเฉย ๆ ไม่ยิ้มแห้งอย่างฝรั่ง ไปแกนดีก็ไปทำพิธีสักการบูชาอะไรใหญ่เหมือนกัน ชมกันว่าเคร่งครัดนัก

"ริลิเยียสดานศ์" ของสมเด็จพระศรีสวัสดิ์จะเหมือนกับภาพใน # ๖๐ หรือเปล่า

ไม่กล้าเดา

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 15:07

กระทู้วิ่งเร็วจี๋ แทบเปิดหน้าตามไม่ทัน

ไปค้นยูทูป ใช้คำว่า khmer Classical Dance เผื่อเจอการแสดงแบบดั้งเดิม    แต่ยังไม่เจอ
เจอโขนเขมรตอนหนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา   เขมรเรียกเธอว่า Sovan Macha (อ่านคำท้ายแล้วนึกถึง พิม มาช่า) หางปลาสวยเชียว
เห็นท่ารำที่ยกเท้าสูง ได้ถนัด และหมุนขยับตัวบนขาข้างเดียวด้วย   ทรงตัวยากเอาการ
หนุมานของเขมรเครื่องทรงไม่แพรวพรายอย่างของไทย แต่ก็ดูออกว่าเป็นหนุมาน  หัวโขนฝีมือช่างเขมร เห็นจะพัฒนาเป็นแบบของตัวเอง ไม่ได้จำลองแบบไทย
ส่วนทำนองเพลง  ยังฟังเป็นไทยอยู่ค่ะแม้เนื้อร้องเป็นเขมร

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 15:10

"ริลิเยียสดานศ์" ของสมเด็จพระศรีสวัสดิ์จะเหมือนกับภาพใน # ๖๐ หรือเปล่า
ไม่กล้าเดา

 ยิงฟันยิ้ม

รูปในคห. ๖๐  เหมือนมโนห์รานะคะ  มีปีกมีหางด้วย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 15:27

ประมวลภาพนาฏศิลป์ในราชสำนักเขมรสมัยสมเด็จพระศรีสวัสดิ์



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 15:37

^
เป็นคณะที่สืบทอดมาจากคณะละครผู้หญิงของม.จ.ฉวีวาดหรือเปล่าหนอ?
ในคลิปบอกว่าราวๆ  ค.ศ. 1920 = พ.ศ. 2463   5 ปีก่อนสิ้นรัชกาลที่ 6
ห่างจากพ.ศ.ที่ม.จ.ฉวีวาดหนีไปเขมร 46 ปี  นางละครชุดแรกน่าจะล้มหายตายจากกันไปเกือบหมดแล้ว
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 15:53

^
^
นาฏศิลป์ในราชสำนักเขมร ต้นศตวรรษที่ ๒๐


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 16:00

^
^
นาฏศิลป์ในราชสำนักเขมร ต้นศตวรรษที่ ๒๐


เป็นชุดภาพซึ่งน่าจะถ่ายในยุคเดียวกัน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 16:07

เอ ทำไมเราไม่เห็นหนอ

 ฮืม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 16:10

มันเป็นข้อความที่ขึ้นมาสั้นๆ แล้วหายไปเมื่อภาพเปลี่ยนค่ะ   ต้องดักดูให้ดี
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 20:29

ท่ารำของเขมรที่ยกเท้าสูงๆ ทำให้นึกถึงท่ารำโนราของชาวปักษ์ใต้
หรือว่ามีที่มาแหล่งเดียวกัน  ฮืม

มีท่ารำบางท่าของเขมร ทำให้นึกถึงโนราปักษ์ใต้เช่นกัน     โดยเฉพาะท่ายกเท้าสูงมาก จนรองรับศอกหรือท่อนแขนทีเดียว

ภาพนางรจนา - เจ้าเงาะ ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ ๕ ยกเท้าสูงเช่นกันครับ ภาพนี้เป็นของคณะละครเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 20:58

พระราชวงศ์เขมรที่เข้ามาอยู่ในกรุงรัตนโกสินทร์ ภายใต้ร่มพระบารมีพระเจ้าแผ่นดินไทยนั้น ถึง ๓ รุ่นด้วยกัน ตั้งแต่รุ่นปู่ คือ นักองเอง (สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี) รุ่นลูก ๒ องค์ คือ นักองจันทร์ (สมเด็จพระอุทัยราชา) ขึ้นครองราขย์ก่อน จึงถึงอนุชาคือนักองด้วง ที่ประทับอยู่เมืองไทยแต่ทรงพระเยาว์ จนพระชนษาสี่สิบเศษ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯจึงโปรดให้เสด็จกลับมาตุภูมิพร้อมกับกองทัพไทย ที่เจ้าพระยาบดิทรเดชาเป็นแม่ทัพ ยกไปขับไล่ญวนออกจากแผ่นดินเขมร แล้วให้ทำพิธีราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ เฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี

เมื่อเสด็จสวรรคต พระราชโอรสของพระองค์ที่ได้ขึ้นครองราชสมบัติต่อคือ นักองราชาวดี ทรงพระนามว่าสมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์ 
ในภาพทรงพระมหามงกุฏที่พระราชทานไปจากกรุงเทพฯ โดยผู้แทนพระองค์พระมหากษัตริย์ไทย เป็นผู้ทูลเกล้าฯถวาย



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 21:09

ว่ากันว่า นักองด้วงนั้น ทรงโปรดละครไทยขนาดหนัก ถึงกับขอพระราชทานครูนาฏศิลป์ไทยไปสอนละครให้คนของพระองค์นั้นก็แล้ว พระราชโอรส สมเด็จพระนโรดมองค์นี้ยิ่งหนักเข้าไปอีก ทรงโปรดละครเป็นชีวิตจิตใจ น่าจะเป็นพระองค์ที่รับหม่อมเจ้าฉวีวาดไว้


ในภาพ ยามที่ทรงชราภาพมากแล้ว ยังโปรดที่จะเฝ้านางละครอยู่ตลอดเวลา เป็นที่รู้กัน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 21:16

นาฏศิลป์เขมรดังในรูป ที่เรียกว่าละครหลวง ไม่ดูเป็นลิเกดังที่ท่านอาจารย์คึกฤทธิ์เล่าเป็นตุเป็นตะ ที่ฝรั่งถ่ายรูปไว้จะออกในแนวนี้



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.04 วินาที กับ 20 คำสั่ง