เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 168018 ละครในราชสำนักสยามไปสู่ราชสำนักเขมร
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 12:22

๓.   วัฒนธรรมสมัยหลังเมืองพระนคร (พุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๓)

เมื่อเมืองพระนครถูกตีแตกแล้ว สมัยพระเจ้าบาทพญายาต (พ.ศ. ๑๙๓๖ – ๒๐๐๖) ได้ย้ายราชธานีไปที่ “ตวลบาสาน” แล้วย้ายอีกไปยัง “พนมเปญจตุมุข” และคาดว่าหลังจากนั้นมา เขมรก็เรียกระบำเหล่านี้ว่า “ระบำ, ละครพระราชทรัพย์”

สมัยพระองค์จันที่ ๑ (พ.ศ. ๒๐๕๙ – ๒๑๐๙) มีบันทึกกล่าวถึงพระปรีชาสามารถของกษัตริย์พระองค์นี้ไว้อย่างหนึ่ง กล่าวคือ ทรงประทับที่พระราชวังบันทายละแวก ทรงพยายามปกป้องเมืองให้สงบสุข และทรงเอาใจใส่ฟื้นฟูศิลปะ มหรสพ ระบำสตรี  ละครผู้ชาย ละครผู้หญิง ไว้อย่างดีเพื่อเป็นพระเกียรติยศ แต่การสงครามระหว่างกรุงศรีอยุธยา กับ กัมพูชานั้นก็ยังมีอยู่ โดยกองทัพสยามใช้กลอุบายยิงเงินพดด้วงใส่ป่าไผ่ โปรยเงินให้ประชาชนชาวเขมรถางฟันป่าไผ่ ซึ่งเป็นกำแพงธรรมชาติป้องเมืองทำลายลงด้วยความโลภ และกรุงละแวกก็ถูกตีแตกเมื่อ พ.ศ. ๒๑๓๖ (สมัยพระนเรศวร)
ศิลปะการรำฟ้อนในช่วงนี้ เกิดการผสมกันระหว่างท่ารำหลังเมืองพระนคร + ท่ารำในวัฒนธรรมอยุธยา ซึ่งสามารถอธิบายดังนี้

ท่ารำหลังเมืองพระนคร =  มือและแขนมีลักษณะการจีบมือ (นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จีบเป็นวงรี นิ้วที่เหลือเหยียดตึง)
ท่ารำในวัฒนธรรมอยุธยา =  การจีบมือ (นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จีเป็นรูปสามเหลี่ยม นิ้วที่เหลือเหยียดตึงหักข้อมือ) และตั้งมือแขนเหยียดตึง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 12:40

ข้อความโดย: siamese

อ้างถึง
๔. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ ๕ - ๘ เป็นเข้าสู่ยุตกรุงกัมพูชาอยู่ใต้อิทธิพลเมืองขึ้นของฝรั่งเศส แต่การรำบำในราชสำนักเขมรก็ดำเนินอยู่ใต้ระเบียบราชสำนัก โดยถือมาตรฐานการแต่งกายยืนเครื่องแบบที่ได้รับถ่ายจากสยาม และพัฒนาสู่ของตนเอง รวมทั้งการรำอย่างอัปสรา

ฝรั่งเศสนั้น เห็นคุณค่าของเขมรอยู่อย่างเดียวคือนครวัต แต่นครวัตคือเมืองร้าง เวลาจะเอาไปโปรโมร์ตต้องเติมชีวิตเข้าไป ละครเขมรจึงถูกนำไปจัดฉากให้ไปสร้างสีสันให้กับนครวัต ก่อนงานเอกซ์โปที่จะจัดขึ้นที่ปารีสอย่างยิ่งใหญ่มโหฬาร ตรงกับสมัยรัชกาลที่๕ของไทย นครวัตจะถูกจำลองไปสร้างในงานดังกล่าว ซึ่งเชื่อว่าจะดึงคนทั้งยุโรปมาปารีส เพื่อชมงานได้




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 12:59

ท่าจีบมือของเขมร



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 13:06

ท่านผู้รู้กรุณาช่วยบรรยายด้วยครับ

ท่าจีบมือเหล่านี้ ของไทยก็มี แต่แสดงสัญญลักษณ์ของส่วนต่างๆของพืชเช่นเขมร ดังคำบรรยายที่ฝรั่งเขียนหรือเปล่า


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 13:10

ฝรั่งเศสนั้น เห็นคุณค่าของเขมรอยู่อย่างเดียวคือนครวัต แต่นครวัตคือเมืองร้าง เวลาจะเอาไปโปรโมร์ตต้องเติมชีวิตเข้าไป ละครเขมรจึงถูกนำไปจัดฉากให้ไปสร้างสีสันให้กับนครวัต ก่อนงานเอกซ์โปที่จะจัดขึ้นที่ปารีสอย่างยิ่งใหญ่มโหฬาร ตรงกับสมัยรัชกาลที่๕ของไทย นครวัตจะถูกจำลองไปสร้างในงานดังกล่าว ซึ่งเชื่อว่าจะดึงคนทั้งยุโรปมาปารีส เพื่อชมงานได้

นำภาพการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติที่กล่าวถึง จะเห็นว่าประเทศกัมพูชาได้จัดการสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่โตมาก ตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างยิ่ง ถ้ามองผ่านๆเหมือนกับยกของจริงมาไว้เลย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 13:18

ผมขอดับเครื่องรอท่านอื่นๆด้วยรูปที่ผู้จัดงาน ประชาสัมพันธ์เขมรให้คนยุโรปมาเที่ยวงานเอกซ์โป 1906 ที่ปารีส เรื่องนี้เป็นจุดผกผันอันสำคัญของนาฏศิลป์เขมร เขาก้าวขึ้นสู่เวทีโลกก่อนไทย ด้วยพลังส่งของวิธีการด้านการตลาดที่ชาญฉลาด ซึ่งคิดและทำโดยคนฝรั่งเศส

แล้วผมจะกลับมาใหม่ครับ ชักจะเล่นเกินบทตัวประกอบไปนิดนึงแล้ว


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 13:29

๔.   วัฒนธรรมสมัยวัฒนธรรมเขมรรุ่นหลัง (พุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕)

เน้นในช่วงพระบาทนโรดมสีหนุวรมัน (พ.ศ. ๒๔๘๔ – ๒๔๙๘) และในสมัยสังคมราษฎร์นิยม (พ.ศ. ๒๔๙๘ – ๒๕๑๓) ศิลปะการแสดงระบำโด่งดังในพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริยานี กุสมะนารีรัตน์ (พระมารดาในพระบาทนโรดมสีหนุวรมัน) ซึ่งได้ให้ความสนใจในศิลปะการแสดงดังกล่าว รวมทั้งสร้างเครื่องศิราภรณ์ ตกแต่งให้เกิดความงดงาม อลังการเพิ่มขึ้นไปอีก ทำให้เกิดตำรา การค้นคว้าเจริญไปทั้งประเทศจนประเทศเข้าสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓

ศิลปะของกัมพูชาได้ถูกทำลายไปในคราวเดียวกันและในระหว่าง พ.ศ. ๒๕๑๓ – ๒๕๑๘ การระบำพระราชทรัพย์ได้เปลี่ยนมาอยู่ภายใต้การดูแลของมหาวิทยาลัยวิจิตรศิลปะ

ช่วงเวลา พ.ศ. ๒๕๑๘ – ๒๕๒๒ กัมพูชาอยู่ในช่วงระบอบสาธารณะรัฐเขมรถูกทำลายลง ระบบการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ “กัมพูชาประชาธิปไตย” ก็มีอำนาจขึ้นมา เหล่าศิลปะการระบำ ดูเสมือนมรดกทางศักดินา เหล่าศิลปิน ถูกฆ่าตายไปจำนวนมาก เมื่อกัมพูชาผ่านพันวิกฤตการณ์อันเลวร้ายลงไป รัฐกัมพูชาก็ถือกำเนิดขึ้นแทนที่ บรรดาศิลปินครูต่างๆล้วนพยายามกลับเข้ามาฟื้นฟูระบำท่วงทำนองอย่างโบราณกันอีกครั้ง
ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๓๖ กัมพูชาได้เปลี่ยนเป็น “พระราชอาณาจักรกัมพูชา” ดังนั้นเหล่าระบำ ละคร หรือ ระบำพระราชทรัพย์จึงหวนคืนสืบทอดมาจนบัดนี้ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 14:04

ผมขอดับเครื่องรอท่านอื่นๆด้วยรูปที่ผู้จัดงาน ประชาสัมพันธ์เขมรให้คนยุโรปมาเที่ยวงานเอกซ์โป 1906 ที่ปารีส เรื่องนี้เป็นจุดผกผันอันสำคัญของนาฏศิลป์เขมร เขาก้าวขึ้นสู่เวทีโลกก่อนไทย ด้วยพลังส่งของวิธีการด้านการตลาดที่ชาญฉลาด ซึ่งคิดและทำโดยคนฝรั่งเศส

แล้วผมจะกลับมาใหม่ครับ ชักจะเล่นเกินบทตัวประกอบไปนิดนึงแล้ว

อ้าว กลับมาไม่ทัน    ท่านนวรัตนไปอินเทอร์มิชชั่น ๑๕ นาที เสียแล้ว
คงเป็นเพราะท่านชิงเปลี่ยนชุดเป็นสนับเพลาคาวบอย     เลยไม่มีหางกระเบนให้คุณ siamese กับคุณเพ็ญชมพูฉุดได้ทัน
 ยิงฟันยิ้ม

ขอคั่นโปรแกรมไปพลางๆก่อนค่ะ  ด้วยเนื้อความที่เก็บมาจากม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช  เรื่อง โครงกระดูกในตู้

ท่านบอกว่าละเม็งละครในสมัยโน้นถือว่าเป็นเรื่องเล็กไม่ได้    หากแต่เป็นเรื่องใหญ่ทีเดียว  เพราะประเทศต่างๆแถวเอเชียอาคเนย์ถือว่าโขนละครและหนังเป็นเครื่องส่งเสริมเกียรติยศของบ้านเมือง     โขน ละคร และหนังใหญ่ของไทยถือว่าประเสริฐสุดๆ    ทุกประเทศอยากได้ไปเป็นของตนหรือเป็นแบบฉบับ
เมื่อเจ้าอนุวงศ์แห่งลาวเสด็จเข้ามาในสยามในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย   เสร็จงานเมื่อถวายบังคมลาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ กลับบ้านเมือง  ก็ทูลขอตัวละครในไปเวียงจันทน์ เพื่อจะไว้ไปฝึกละครในราชสำนักลาว    แต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ  มิได้โปรดพระราชทานให้
เจ้าอนุถูกปฏิเสธก็โทมนัสน้อยใจ  และเริ่มเอาใจออกห่าง  จนถึงขั้นเป็นกบฏยกทัพเข้ามาถึงโคราช    อย่างที่เรารู้ๆกันในเรื่องวีรกรรมของย่าโมหรือท้าวสุรนารี

ในเมื่อลาวไม่มีสิทธิ์เอาละครในของไทยไปประจำในราชสำนักลาว  เขมรก็ไม่มีสิทธิ์เช่นกัน   สมเด็จเจ้านโรดมซึ่งเคยมาอยู่ในกรุงเทพฯ เมื่อคราวเสด็จกลับไปครองราชย์  ก็ได้ไปแต่ลิเกไทย  ไปประจำอยู่ในเขมร
ลิเกไทยก็ไปเฟื่องฟูอยู่ในเขมร   สมเด็จนโรดมทรงเป็นองค์อุปถัมภ์    จนในเขมรเชื่อกันว่าสมเด็จฯเป็นผู้คิดลิเกขึ้นมาเอง และทรงสั่งสอนนาฏศิลป์เขมรให้เป็นเรื่องลิเก
ลิเกเขมรเป็นอย่างไร ไม่เคยเห็น      ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เล่าว่าลิเกเขมรร้องราดนิเกริงอย่างลิเกไทยไม่เป็น  เพราะราดนิเกริงเป็นเพลงลิเกที่พระเอกลิเกดังชื่อนายดอกดินเป็นคนแต่งขึ้นมา   นายดอกดินเป็นคนรุ่นหลัง   สมเด็จนโรดมท่านทรงนำลิเกไปเขมรก่อนหน้านี้นานแล้ว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 14:14

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เล่าต่อไปว่า บทละครในเขมร ถ้าเป็นเรื่องอุณรุทกับอิเหนายังต้องร้องเป็นภาษาไทย    แต่ถ้าเป็นละครนอก สมเด็จพระศรีสวัสดิ์ทรงแปลเป็นเขมรไว้เป็นส่วนมาก  เช่นเรื่องไกรทอง  ของไทยบอกว่า 

เมื่อนั้น โฉมเจ้าไกรทองพงศา

ส่วนเขมร แปลออกมาว่า

กาลเนาะ  โซมเจ้าไกรทองพงซา

กาลเนาะ= กาลนั้น / เมื่อนั้น

ยังหายูทูปละครเขมรไม่ได้ค่ะ   ไม่งั้นจะเอามาลง  มีแต่บทระบำอัปสราที่คุณเพ็ญชมพูเคยนำมาลงต้นๆกระทู้     บทร้องเป็นภาษาไทย  ทำนองตอนต้นเป็นเพลงสีนวล (เขมรเรียก สีนวน)
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 14:22

ในเมื่อลาวไม่มีสิทธิ์เอาละครในของไทยไปประจำในราชสำนักลาว  เขมรก็ไม่มีสิทธิ์เช่นกัน   สมเด็จเจ้านโรดมซึ่งเคยมาอยู่ในกรุงเทพฯ เมื่อคราวเสด็จกลับไปครองราชย์  ก็ได้ไปแต่ลิเกไทย  ไปประจำอยู่ในเขมร

คุณชายคึกฤทธิ์ท่านลืมนักองด้วงไปหรือไรไม่ทราบ

นักองด้วงไม่ได้ไปเพียงนาฏศิลป์ในราชสำนัก แม้แต่สถาปัตยกรรมแบบไทย เช่น พระราชวัง วัดพระแก้ว รวมทั้งวรรณคดีไทยหลายเรื่อง ก็ได้ไปด้วย

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 14:25

นี่คือ สังข์ทอง ของเขมร  ยังรักษาชื่อนี้อยู่


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 14:26

ยังหายูทูปละครเขมรไม่ได้ค่ะ   ไม่งั้นจะเอามาลง  มีแต่บทระบำอัปสราที่คุณเพ็ญชมพูเคยนำมาลงต้นๆกระทู้     บทร้องเป็นภาษาไทย  ทำนองตอนต้นเป็นเพลงสีนวล (เขมรเรียก สีนวน)

ลองค้นด้วยคำว่า  "Khmer Lakorn" ดูสิครับ  มีให้ดูเยอะทีเดียว ยิงฟันยิ้ม
แต่อาจจะไม่ใช่การแสดงแบบเก่านะครับ  

ส่วนนักองค์ด้วงนั้น  ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเอง
และโปรดเกล้าฯ ให้ขุนนางในราชสำนักแต่งบทละคร
โดยเอาเนื้อเรื่องอย่างวรรณคดีไทยหลายเรื่อง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 14:27

ในเมื่อลาวไม่มีสิทธิ์เอาละครในของไทยไปประจำในราชสำนักลาว  เขมรก็ไม่มีสิทธิ์เช่นกัน   สมเด็จเจ้านโรดมซึ่งเคยมาอยู่ในกรุงเทพฯ เมื่อคราวเสด็จกลับไปครองราชย์  ก็ได้ไปแต่ลิเกไทย  ไปประจำอยู่ในเขมร

คุณชายคึกฤทธิ์ท่านลืมนักองด้วงไปหรือไรไม่ทราบ

นักองด้วงไม่ได้ไปเพียงนาฏศิลป์ในราชสำนัก แม้แต่สถาปัตยกรรมแบบไทย เช่น พระราชวัง วัดพระแก้ว รวมทั้งวรรณคดีไทยหลายเรื่อง ไปด้วย

 ยิงฟันยิ้ม

เชิญขยายความเรื่องนักองด้วง ตามอัธยาศัย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 14:48

ท่ารำของเขมรที่ยกเท้าสูงๆ ทำให้นึกถึงท่ารำโนราของชาวปักษ์ใต้
หรือว่ามีที่มาแหล่งเดียวกัน  ฮืม

มีท่ารำบางท่าของเขมร ทำให้นึกถึงโนราปักษ์ใต้เช่นกัน     โดยเฉพาะท่ายกเท้าสูงมาก จนรองรับศอกหรือท่อนแขนทีเดียว



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 14:53

ผมขอดับเครื่องรอท่านอื่นๆด้วยรูปที่ผู้จัดงาน ประชาสัมพันธ์เขมรให้คนยุโรปมาเที่ยวงานเอกซ์โป 1906 ที่ปารีส เรื่องนี้เป็นจุดผกผันอันสำคัญของนาฏศิลป์เขมร เขาก้าวขึ้นสู่เวทีโลกก่อนไทย ด้วยพลังส่งของวิธีการด้านการตลาดที่ชาญฉลาด ซึ่งคิดและทำโดยคนฝรั่งเศส

สองรูปข้างล่างเป็นรูปจากหนังสือพิมพ์

หนังสือพิมพ์ของฝรั่งเศส LE  PETIT PARISIEN ฉบับวันที่ ๑๗ มิถุนายน ค.ศ.๑๙๐๖ ตีพิมพ์ภาพวาดสมเด็จพระเจ้าศรีสวัสดิ์ ประทับเป็นองค์ประธานทอดพระเนตรการฟ้อนรำแบบนาฏศิลป์เขมร ท่ามกลางแขกเหรื่อหลายเชื้อชาติ ณ ปะรำพิธีในงาน Expo อาณานิคม เมืองมาร์เซย์ ประเทศฝรั่งเศส

สมเด็จพระเจ้าศรีสวัสดิ์ หรืออีกพระนามคือ นักองสีสุวัตถิ์ พระราชโอรสใน นักองด้วง





บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.044 วินาที กับ 20 คำสั่ง