เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 168051 ละครในราชสำนักสยามไปสู่ราชสำนักเขมร
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 10:23

อ้างถึง
ข้อความโดย: siamese
ช่วงก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา .. ศิลปะการฟ้อน รำในดินแดนกัมพูชาได้ถือกำเนิดมานานแล้วดังภาพสลักหินการร่ายรำโดยเน้นกางมือ กางขา แบบอินเดีย

ข้างบนนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธได้ ผู้ที่สร้างนครวัต หรือราชอาณาจักรขอม ถ้าไม่ใช่ลูกหลานคนอินเดียเองที่มาปักกลัก ก็คงจะได้รับอิทธิพลทางอารยธรรมอินเดียใต้มาอย่างเต็มเปี่ยม รวมทั้งศิลปะการแสดงชั้นสูงด้วย




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 10:32

ปฏิมากรรมอันมีรากฐานมาจากนาฏกรรม

นี่คือระบำที่ชาวนครวัตเอาระบำอินเดียแท้ๆประยุกติให้เข้ากับรสนิยมของตน ครูบาอาจารย์บอกว่านาฏศิลป์เป็นวัฒนธรรมที่เปราะบางมาก มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาให้เข้ากับสมัยนิยม ดังนั้น ช่วงเวลาสักร้อยปี ก็ทำให้ระบำเขมร แตกต่างไปจากแม่บทอินเดียพอสมควรทีเดียว

รูปสลักนี้ทำให้เรานึกภาพระบำหมู่ ของนางอัปสราได้อย่างแจ่มชัด


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 10:39

ขออนุญาตตั้งข้อสังเกต

ระบำนางอัปสร (รำอัปสรา?)
สังเกตว่านางรำของเขมรยกเท้าสูงมาก   ท่ารำของไทยแต่เดิมเป็นอย่างนี้หรือ?

ท่ายกแข้งยกขาสูงนี้ น่าจะเป็นท่าดั้งเดิมของเขมร สังเกตจากท่าร่ายรำที่ปรากฏในรูปสลัก

 ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 10:48

ร่วมบรรเลงเสริม กรับ ฉิ่ง พรั่งพร้อม
ว่าด้วยหลักฐานท่ารำนาฏศิลป์ระยะแรกเริ่มของทางกัมพูชานั้น อ้างอาศัยหลักโบราณคดีเป็นหลัก ซึ่งนักโบราณคดีได้ทำการสำรวจและแบ่งออกได้ดังนี้

๑.   วัฒนธรรมก่อนเมืองพระนคร

เป็นการถ่ายทอดศิลปะระบำแบบพรามณ์จากอินเดียในสมัยฟูนันหรือนครพนม (พุทธศตวรรษที่ ๕-๖) หรืออย่างน้อยประมาณสมัยเจนละ (พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓) โดยอ้างถึงทับหลังสมัยสมโปร์ไพรกุก เป็นทับหลังเล่าเรื่องพิธีสรงมูรธาภิเษก ซึ่งเป็นทับหลังหินทรายแกะลสักมีรายละเอียดเล็กน้อยของการฟ้อนรำ มีนักดนตรีประกอบ มีกลอง ขลุ่ย ฉิ่ง การรำก็เหมือนกับที่ อ.NAVARAT.C ยกภาพประกอบคือ ยกมือ ยกเท้า หันหน้าซ้ายขวา


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 10:51

ทำไมถึงถอดเป็นภาษาไทยแบบนี้คะ คุณหลวงเล็ก ฮืม

ตัวพยัญชนะสระของเขมรมีบ่อเกิดเดียวกัน
ผมจะแยกให้ดูทีละตัวก็ได้

បុប្ផាេទវី  បុ - บุ  ប្ - ปฺ  ផា - ผา  េទ  - เท   វី  -  วี
ตัว ប ของเขมร สามารถถ่ายถอดเป็น บ หรือ ป ก็ได้แล้วแต่คำ
แต่ในที่นี้ ถ่ายถอดพยัญชนะ เป็น บ เพราะเขมรอ่านเป็น บ เหมือนไทย
ส่วนอีกตัวถ่ายถอดเป็น ป เพราะเป็นตัวสะกดตามหลักตัวสะกดตัวตามในภาษาบาลี  
(พ  สะกดตามด้วย ผ ไม่มี  มีแต่  พ สะกด  พ หรือ ภ เป็นตัวตาม)

อันที่จริง ตัว ผ ต้องเขียนด้วยตัวเชิง  ไม่ใช่ตัวเต็ม แต่คิดว่าตัวเชิงในคอมพ์ไม่มี
จึงเขียนจุดใต้ ตัว ป แล้วเขียนตัว ผ เต็ม แทน
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 10:57

ท่ารำของเขมรที่ยกเท้าสูงๆ ทำให้นึกถึงท่ารำโนราของชาวปักษ์ใต้
หรือว่ามีที่มาแหล่งเดียวกัน  ฮืม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 11:08

๒.   วัฒนธรรมสมัยเมืองพระนคร (พุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๘)

ช่วงรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ ทรงนำอาณาจักรให้หลุดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของราชวงศ์ไศเลนทรแห่งเกาะชวา และพระองค์ได้สร้างปราสาทบนภูเขาพนมกุเลน (ภูเขาลิ้นจี่) พระองค์สร้างพระอารามโรงจิน ขึ้นเพื่อถวายแด่พระอิศวร และเมื่อพระองค์สวรรคตลงแล้วก็จะเสด็จไปสู่ หริหราลัย ดังนั้นกษัตริย์องค์ต่อๆกันมาจึงมีความเชื่อที่สร้างปราสาทเพื่อถวายเทพเจ้าเฉกเช่นเดียวกัน
อย่างภาพที่เห็นผ่านตากันมากก็คือ ท่าร่ายรำสลักหินยกแข้งขา เป็นภาพสลักจากปราสาทบายน และภาพนางอัปสราจากปราสาทหินนครวัด ซึ่งสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ อันเป็นยุคทองแห่งการสร้างปราสาท และหลังจากนั้นเมืองพระนครก็ดำเนินสู่จุดต่ำสุดนั้นคือ เกิดการปั่นป่วนในราชสำนักและศาสนา นำไปสู่การทิ้งเมืองไปในที่สุด

ในสมัยพระบาทชัยวรมันที่ ๙ (พ.ศ. ๑๘๗๐ - ๑๘๗๙) เกิดการทบกันระหว่างศาสนาพุทธและพราหมณ์ จนทำให้มีผลถึงราชวงศ์วรมัน ต้องเปลี่ยนไปเป็นราชวงศ์ตรอสกผะแอม (นับถือพุทธเถรวาท) โดยความอ่อนแอนี้ ยังมีอาณาจักรหนึ่งได้เข้มแข็งขึ้นซึ่งก็คือ “สุโขทัย” นั่นเอง
การร่ายรำยังคงถือธรรมเนียมอย่างพราหมณ์เช่นเดิม อย่างภาพนางอัปสรา ยกเท้าสูง ใส่กำไลข้อเท้า มีเครื่องสวมศีรษะ หรือ ดอกไม้งดงาม มีกรองคอ ใส่ต่างหู กำไลแขน เข็มขัด นุ่งผ้าปล่อยชาย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 11:12

ข้อความโดย: siamese

อ้างถึง
๒. สมัยกรุงศรีอยุธยา .. ราชสำนักเขมรอ่อนแอ ถ่ายโอนศิลปะการรำสู่ราชสำนักสยาม โดยการกวาดต้อนผู้คนเข้ามา และสยามได้พัฒนาเครื่องแต่งกายและท่าทำนองการรำ

ข้อความโดย: เพ็ญชมพู

อ้างถึง
ขออนุญาตตั้งข้อสังเกต
อ้างจาก: เทาชมพู ที่  30 มี.ค. 11, 15:54
ระบำนางอัปสร (รำอัปสรา?)
สังเกตว่านางรำของเขมรยกเท้าสูงมาก   ท่ารำของไทยแต่เดิมเป็นอย่างนี้หรือ?

ท่ายกแข้งยกขาสูงนี้ น่าจะเป็นท่าดั้งเดิมของเขมร สังเกตจากท่าร่ายรำที่ปรากฏในรูปสลัก

ตรงนี้ก็ไม่มีข้อสงสัย ยังไงๆ กษัตริย์ไทยก็คงกวาดต้อนพวกละครเขมรเข้ามาในราชสำนัก พระนครศรีอยุธยาด้วยอยู่แล้ว แต่คนไทยก็คงจะมีอะไรๆของตนเองอยู่บ้างแล้ว แม้จะเอามาจากมอญ หรือล้านนาก็ตาม ที่เห็นแน่ๆ คือท่ารำแบบยกแข้งยกขานั้น ไทยไม่เอาเลย จะมีก็แต่ในท่าลิงของโขนเท่านั้น ส่วนระบำอัปสรา คงโดนฟ้อนของจาวเหนือปฏิรูปเสียจนหมดรูป เวลาผ่านไปหลายร้อยปี ไทยก็มีนาฏกรรมที่คล้ายแต่ไม่เหมือนของใคร ลงตัวกับรสนิยมของคนอุษาคเนย์ จนเจ้าเขมร ทั้งนักองตนและนักองเองที่มาพึ่งพระบรมโพธิสัมภารอยู่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อได้ยลละครหลวงถึงกับหลงไหล ใช่แต่เท่านั้น เจ้าอนุเวียงจันทน์ก็เช่นกัน เมื่อมาเห็นก็พยายามขอพระราชทานละครไปสู่ราชสำนักลาวบ้าง เมื่อพระพุทธเลิศหล้าฯท่านไม่โปรดตามคำขอก็เสียพระทัย และผูกใจเจ็บจนเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โตต่อมา



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 11:17

ของเมืองหลวง


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 11:20

ภาพแกะสลักอัปรารำฟ้อน จากลานพระเจ้าขี้เรื้อน เสียมราฐ ศิลปะแบบบายน เป็นอัปราร่ายรำ สวมมงกุฏยอด ใส่ต่างหู กรองคอ มีอุปกรณ์ร่ายรำด้วย อาจจะเป็นผ้ายาวคล้องคอ หรือ ดอกไม้นำมาร้อยแล้วคล้องคอ สวมกำไลแขน มือ เท้า คาดเข็มขัด นุ่งผ้าปล่อยชายยาว


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 11:25

จนเจ้าเขมร ทั้งนักองตนและนักองเองที่มาพึ่งพระบรมโพธิสัมภารอยู่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อได้ยลละครหลวงถึงกับหลงไหล ใช่แต่เท่านั้น เจ้าอนุเวียงจันทน์ก็เช่นกัน เมื่อมาเห็นก็พยายามขอพระราชทานละครไปสู่ราชสำนักลาวบ้าง เมื่อพระพุทธเลิศหล้าฯท่านไม่โปรดตามคำขอก็เสียพระทัย และผูกใจเจ็บจนเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โตต่อมา

พอถึงสมัยนักองด้วงได้ขอร้องทางราชสำนักไทย ให้ช่วยส่งครูละคร ครูดนตรีไปฝึกสอนให้ที่ราขสำนักเขมร  นี่แหละเป็นการเิริ่มต้นของรูปลักษณ์ใหม่ของนาฏศิลป์เขมร ทั้งเครื่องแต่งกาย ดนตรี และท่ารำ โดยใช้นาฏศิลป์สยามเป็นแม่แบบ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 11:29

ข้อความโดย: luanglek

อ้างถึง
ท่ารำของเขมรที่ยกเท้าสูงๆ ทำให้นึกถึงท่ารำโนราของชาวปักษ์ใต้
หรือว่ามีที่มาแหล่งเดียวกัน  
 
  
 ^
ดูภาพร่ายรำของนางอัปสราข้างบน เทียบกับท่ารำมาตรฐานของโนราแล้ว ไม่คล้ายกัน
แต่จะมีอิทธิพลของขอม หรือคนอินเดียใต้มาจุดประกายไว้หรือไม่ ก็น่าคิด โดยเฉพาะลักษณะชฎาที่ดูใหญ่ๆเหมือนกัน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 11:53

ข้อความโดย: siamese

อ้างถึง
๓. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ ๑-๔ เจ้านายและกษัตริย์กรุงกัมพูชา ได้เข้ามาอาศัยในราชสำนักสยาม ดังนั้นบรรดาเครื่องโขน ละคร เครื่องศิราภรณ์ ล้วนถูกถ่ายโอนไปยังกรุงกัมพูชาด้วย เป็นการถ่ายโอนศิลปะจากสยามสู่กัมพูชา

ข้อความโดย: เพ็ญชมพู

อ้างถึง
พอถึงสมัยนักองด้วงได้ขอร้องทางราชสำนักไทย ให้ช่วยส่งครูละคร ครูดนตรีไปฝึกสอนให้ที่ราขสำนักเขมร  นี่แหละเป็นการเริ่มต้นของรูปลักษณ์ใหม่ของนาฏศิลป์เขมร ทั้งเครื่องแต่งกาย ดนตรี และท่ารำ โดยใช้นาฏศิลป์สยามเป็นแม่แบบ

เจ้าเขมรอยู่ในฐานะพระราชโอรสบุญธรรม เมื่อขอพระราชทานก็โปรดให้ตามสมควร ละครเขมรจึงเรื่มต้นขึ้นใหม่โดยมีครูไทยไปกำกับ
และเช่นเดียวกับระบำอินเดียที่ไปกลายพันธุ์ในนครวัต ระบำ ละครเขมรจึงปรับรูปแบบให้เข้ากับรสนิยมของคนในท้องถิ่นไป คล้าย แต้ไม่เหมือนของไทยเสียทีเดียว

ภาพประกอบ





บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 12:10

วงดนตรีปี่พาทย์เขมรสมัยพระเจ้านโรดม และรัชกาลต่อมา ดูไม่ออกว่าต่างกับไทยตรงไหน




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 12:21

เอาละครหลวงของเขมรมาขยายให้ดูชัดๆ

ละครชุดนี้อาจจะเป็นศิษย์ของหม่อมเจ้าฉวีวาด (ซึ่งเอกสารเขมรมิได้กล่าวถึงเลย)
หรือเจ้าจอมแพน นางละครจากอรัญประเทศ ไม่ทราบได้

ถ้าจะมาบังคับให้ผมเดา ผมก็เดาจากเครื่องแต่งกายแหละครับ มันน่าจะเป็นแบบอรัญๆ มากกว่าแบบวังหลวง


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 20 คำสั่ง