เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 167574 ละครในราชสำนักสยามไปสู่ราชสำนักเขมร
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 30 มี.ค. 11, 15:49

ทีแรกคิดว่านาฏศิลป์เขมรเหมือนของไทยมาก   แต่พอมาเจอท่าบางท่า ก็รู้ว่าไม่เหมือน
อย่างท่านี้  ไม่รู้ว่าเรียกว่าอะไร


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 30 มี.ค. 11, 15:54

ระบำนางอัปสร (รำอัปสรา?)
สังเกตว่านางรำของเขมรยกเท้าสูงมาก   ท่ารำของไทยแต่เดิมเป็นอย่างนี้หรือ?


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 30 มี.ค. 11, 16:25

ระบำอัปสรา พร้อมคำบรรยายชื่อเพลงไทยที่นำมาบรรเลงประกอบ





ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 30 มี.ค. 11, 17:00

...



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 07:49

เพิ่งเสร็จกิจธุระ เลยเข้ามาชมด้วยความตื่นเต้นกับกระทู้นี้เหลือเกินครับ

จากบทความที่คุณเพ็ญชมพูนำมาให้อ่าน + หนังสือวิวัฒนาการการแต่งกายยืนเครื่องโขน-ละคร ผมพอจะมองลักษณะของนาฏศิลป์เขมรได้คร่าวๆดังนี้ เพื่อจะได้ไม่สับสนกันครับ

๑. ช่วงก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา .. ศิลปะการฟ้อน รำในดินแดนกัมพูชาได้ถือกำเนิดมานานแล้วดังภาพสลักหินการร่ายรำโดยเน้นกางมือ กางขา แบบอินเดีย

๒. สมัยกรุงศรีอยุธยา .. ราชสำนักเขมรอ่อนแอ ถ่ายโอนศิลปะการรำสู่ราชสำนักสยาม โดยการกวาดต้อนผู้คนเข้ามา และสยามได้พัฒนาเครื่องแต่งกายและท่าทำนองการรำ

๓. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ ๑-๔ เจ้านายและกษัตริย์กรุงกัมพูชา ได้เข้ามาอาศัยในราชสำนักสยาม ดังนั้นบรรดาเครื่องโขน ละคร เครื่องศิราภรณ์ ล้วนถูกถ่ายโอนไปยังกรุงกัมพูชาด้วย เป็นการถ่ายโอนศิลปะจากสยามสู่กัมพูชา

๔. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ ๕ - ๘ เป็นเข้าสู่ยุตกรุงกัมพูชาอยู่ใต้อิทธิพลเมืองขึ้นของฝรั่งเศส แต่การรำบำในราชสำนักเขมรก็ดำเนินอยู่ใต้ระเบียบราชสำนัก โดยถือมาตรฐานการแต่งกายยืนเครื่องแบบที่ได้รับถ่ายจากสยาม และพัฒนาสู่ของตนเอง รวมทั้งการรำอย่างอัปสรา

๕. ปีศูนย์ หรือ Year Zero ค.ศ. 1975 เป็นช่วงที่กรุงกัมพูชา สูญสิ้นทางวัฒนธรรมอีกครั้งหนึ่งเนื่องจากปัญหาทางการเมืองและสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

๖. เมื่อหมดปัญหาทางการเมืองได้ระดับหนึ่ง ศิลปะการรำจึงถูกรื้อฟื้นโดยการต่อยอดจากนางรำนาฏศิลป์ผู้มีอายุ ที่ยังหลงเหลืออยู่ จัดสอน จัดรำเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง โดยไม่มีการถ่ายโอนจากไทยสู่กัมพูชา แต่ยังคงมีมนต์เสน่ห์อย่างไทยช่วงรัชกาลที ๔-๕ อยู่มาก


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 08:49

ถ้าจะดูเฉพาะเครื่องแต่งกายยืนเครื่องโขน - ละคร ในช่วงรัชกาลที่ ๔ - ๕ ที่ส่งถ่ายไปยังกรุงกัมพูชานั้น ถือว่า ส่งต่อได้อย่างเกือบทุกชิ้น ล้วนงดงามไม่แพ้กัน ไม่ว่า ปัจจุเหร็จ, มงกุฎยอด, ชฎา, กรอบหน้า ได้ถูกถ่ายโอนไปใช้ในศิลปะการรำของกัมพูชา สร้อย, สังวาลย์, ทับทรวง, กำไลแผง, กำไลข้อเท้าหัวบัว ยังคงสืบทอดตามแบบฉบับของสยามได้อย่างครบถ้วน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 09:36

กำลังรอคุณ siamese มาอธิบายเรื่องเครื่องแต่งกายนาฏศิลป์เขมรให้ฟังอยู่ทีเดียว

รูปนี้ ถ่ายเมื่อค.ศ. ๑๙๖๒  คือระหว่างข้อ ๔ กับข้อ ๕     เป็นรูปการเยือนกัมพูชาของประธานาธิบดีซูการ์โนแห่งอินโดนีเซีย     ใครเรียนปวศ.ชวาคงจำได้ว่า เขาเป็นวีรบุรุษกู้ชาติของอินโดนีเซียให้พ้นจากเป็นอาณานิคม หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒  ต่อมาก็ได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดี
ผู้ต้อนรับซูการ์โนคือเจ้าสีหนุ  พระบิดาของเจ้าหญิงบุพผเทวี     ในรูปกำลังแนะนำประธานาธิบดีให้รู้จักเจ้าหญิงและคณะนาฏศิลป์ของเธอ
เครื่องแต่งกายเหมือนไทยราวกับชุดเดียวกัน  ทั้งหญิงและชาย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 09:40

ขอโทษครับ รถไฟชนกัน๓ขบวน ผมสับหลีกไปก่อนก็แล้วกัน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 09:45

ความคล้าย - ความเหมือน หรือจะเป็นการ copy รูปแบบเครื่องแต่งกายยืนเครื่องละคร ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยภาพบนเป็นภาพละครแต่งตัว พระ-นาง จากคณะละครของนายมหิศย์ กับ ภาพด้านล่างภาพละครแต่งตัวพระ-นาง ของกัมพูชา


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 09:51

ขอโทษครับ รถไฟชนกัน๓ขบวน ผมสับหลีกไปก่อนก็แล้วกัน

เชิญอ.NAVARAT.C เลยครับ ตำราเล่มนี้ผมไม่มีในมือ หากได้ อาจารย์นำลงก็เป็นบุญตาครับ ตอนนี้เขาทำรถไฟรางคู่กันแล้วครับ ไม่ชนกันหรอกครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 09:53

ขอโทษครับ รถไฟชนกัน๓ขบวน ผมสับหลีกไปก่อนก็แล้วกัน

โอ๊ะ  อย่าเพิ่งไปค่ะ  
ใครก็ได้อย่านั่งเฉยๆ     ช่วยฉุดโจงกระเบนท่านไว้ก่อน

ระหว่างท่านโต้โผยังไม่เปิดม่านออกมาสักที     ผู้ดูหน้าเวทีก็ย่อมส่งเสียงเซ็งแซ่กันอย่างนี้  เป็นธรรมดาของการฆ่าเวลา
พอมีเสียงกริ่งสัญญาณ  ก็จะเงียบเป็นปลิดทิ้ง
ดิฉันเอารูปเครื่องแต่งกายละครเขมรในยุค 1900-1950  มาโชว์คุณไซมีสเป็นรูปสุดท้าย แล้วจะไม่พูดอะไรอีกแล้วค่ะ   รอฟังอย่างเดียว


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 10:03

ขอโทษครับ รถไฟชนกัน๓ขบวน ผมสับหลีกไปก่อนก็แล้วกัน

เชิญอ.NAVARAT.C เลยครับ ตำราเล่มนี้ผมไม่มีในมือ หากได้ อาจารย์นำลงก็เป็นบุญตาครับ ตอนนี้เขาทำรถไฟรางคู่กันแล้วครับ ไม่ชนกันหรอกครับ   ยิงฟันยิ้ม

ตัวจริงเจ้าของหนังสือมาแล้ว ขอเชิญต่อด้วยคน

เอาเรื่องเจ้าหญิงบุปผา (แปลว่า "ดอกไม้" ภาษาไทยก็ต้อง "บุปผา" นะซี  ยิ้มเท่ห์) ก่อนเป็นไร

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 10:09


ภาพของคุณดีดีภาพนี้เป็นภาพโขนชุดรามเกียรติ์ที่นครวัดสมัยสมเด็จพระศรีสวัสดิ์

ในรัชสมัยนี้มีการเดินสายไปโชว์ถึงต่างประเทศ

เรื่องนี้คุณนวรัตนก็คงอธิบายได้ดี

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 10:13

คุณเพ็ญชมพูนี่สุดยอดอีกแล้ว หนังสือสีสันสวยมากครับ อยากจะเห็นแล้วซิ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 10:17

โจงกระเบนแทบหลุด ผมเลยต้องขอเวลานอกไปเปลี่ยนชุดใหม่ ตอนนี้นุ่งยีนคาดเข็มขัดคาวบอยมาแล้ว จะเข้าโรงเมื่อไหร่เป็นฉุดไม่อยู่

คือผมไม่สามารถเล่นบทนำในละครเขมรน่ะครับ เป็นตัวประกอบสลับฉากได้ ตะกี้เข้ามาจะเอารูปประกอบมาเสริม ก็ส่วนใหญ่มาจากหนังสือเล่มนี้น่ะแหละ ใครอย่าเอารูปของเขาไปทำมาหากินต่อละกัน เดี๋ยวจะมีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ ส่วนผม ไม่ได้มีผลประโยชน์อะไร ที่เอามาลงก็เพื่อการศึกษาของอนุชน รูปก็เล็กๆแต่พอประมาณ เขาคงไม่เอาเรื่องเอาราว


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 20 คำสั่ง