เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 23 24 [25] 26
  พิมพ์  
อ่าน: 167597 ละครในราชสำนักสยามไปสู่ราชสำนักเขมร
reporter
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 360  เมื่อ 12 เม.ย. 11, 20:07

นายชุน หรือนายชัน นายฉัน   นายชูน  นายชาน   นายจัน  นายจุน  นายจูน ฯลฯ

ยังไม่ใช่

คำเฉลยคือ "จวน" อยู่ในนิราศนครวัดพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ นี่เอง

เวลาบ่าย ไปบ้านออกญาวังดังได้รับปากไว้ บ้านอยู่ตรงหน้าพระราชวัง อย่างเช่นที่โรงงานกรมศิลปากรในกรุงเทพฯ บริเวณบ้านใหญ่โตกว่าวังเจ้าหรือบ้านขุนนางแห่งอื่น ซึ่งสังเกตเห็นในเมืองพนมเพ็ญ ออกญาวังคนนี้ชื่อตัวจวน เขมรใช้เรียกชื่อตัวต่อราชทินนามเป็นประเพณีมาแต่โบราณ ดังเช่นปรากฏในหนังสือพงศาวดารเรียกว่า ออกญายมราชแบน ออกญาเดโชแทน ดังนี้เป็นต้น ยังคงใช้ประเพณีนั้นอยู่จนปัจจุบัน

 ยิงฟันยิ้ม

เก่งจัง หาชื่อพบจนได้  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 361  เมื่อ 12 เม.ย. 11, 20:11

นายชุน หรือนายชัน นายฉัน   นายชูน  นายชาน   นายจัน  นายจุน  นายจูน ฯลฯ

ยังไม่ใช่
คำเฉลยคือ "จวน" อยู่ในนิราศนครวัดพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ นี่เอง
 ยิงฟันยิ้ม

แทงหวย จ.ฉ.ช. ไม่ถูกสักตัว  โดนกินเรียบ เศร้า
เพิ่งรู้ว่า Chunn  อ่านออกเสียงว่า จวน  นี่เอง
ถ้างั้นของท่าน NAVARAT ก็เฉียดรางวัลใหญ่  เพราะท่านออกเสียงสระถูก ว่าเป็นเสียง -วน   เพียงแต่คำหน้า Th อ่านออกเสียง ch ซึ่งคนไทยไม่ใช้กันเท่านั้น
ของเราถ้า Ch ในที่นี้เป็นการสะกดแบบอักษรโรมัน  ตามด้วยสระ u   ก็อ่านว่า จุ   อย่าง Chula
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 362  เมื่อ 12 เม.ย. 11, 20:16

ขอบคุณสำหรับเพลงไกรลาสสำเริงค่ะคุณ siamese

แต่ตรงต้นประวัติ นาย ฉวน ประสิทธิ์ (คนหลาน) ระบุว่าเป็นเขมรแดง

ผมก็ไม่ค่อยเข้าใจคนเขมรว่าเขามองกันเองยังเหมือนกัน มันมีหลายกลุ่มเหลือเกิน

ปู่กับหลานน่าจะยืนกันคนละขั้ว??

ถ้าหลานเป็นเขมรแดงก็ไม่แปลก ที่แกจะไม่ยึดถือวัฒนธรรมบรรพบุรุษ     ทุกอย่างน่าจะขึ้นตรงกับอุดมการณ์เขมรแดงตามที่ถูกปลูกฝังมา
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 363  เมื่อ 12 เม.ย. 11, 20:16

ลองให้ ลุงกู๋ ใช้เสียงดูนะครับ
http://translate.google.co.th/?hl=en&tab=wT#en|th|Chunn
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 364  เมื่อ 12 เม.ย. 11, 20:42

เรื่องของนายจวน ยังมีต่ออีก

เรียกออกญาวังคนนี้ในทางราชการว่า "ออกญาวังจวน" แต่ฝ่ายข้างฝรั่งนั้นประเพณีเรียกชื่อเขาเอานามสกุลไว้ท้าย เรียกกันมักเรียกด้วยนามสกุล เมื่อเห็นขุนนางเขมรใช้ชื่อตัวต่อราชทินนาม ฝรั่งก็ชอบเรียกชื่อตัวเป็นเช่นนามสกุล เช่นเรียกออกญาวังว่า "เมอซิเออร์จวน" คงเรียกว่าออกญาวังแต่พวกเขมร ได้เห็นตัวอย่างการ์ดเชิญของออกญาวัง ที่เขาส่งมาเชิญพระยาพจนปรีชา กับหลวงสุริยพงศ์พิสุทธิแพทย์ไปกินอาหารเย็นที่บ้านเขาเมื่อวันที่ ๘ พิมพ์การ์ดเป็นภาษาฝรั่งเศสขึ้นต้นว่า "มาดาม เอต์ เมอซิเออร์จวน" ถ้าแปลเป็นภาษาไทยก็ว่า นางและนายจวน เสนาบดีกระทรวงวังขอเฃิญ ฯลฯ ดูแปลกอยู่ ถึงขุนนางเขมรคนอื่น ๆ ก็ได้ยินฝรั่งเรียกว่า เมอซิเออร์นั่นนี่ทำนองเดียวกัน ตำแหน่งออกญาวังนั้นเป็นเสนาบดีกระทรวงวัง และว่าการคลังมหาสมบัติด้วย สังเกตแต้มดูใหญ่ยิ่งกว่าใคร ๆ ในบรรดาข้าราชการเขมรทั้งนั้น พูดไทยได้คล่องแคล่วทั้งตัวและภรรยา ๆ นั้นดูฉลาดเฉลียวมาก การต้อนรับแขกก็แข็งแรง มีเลี้ยงของว่าง และมโหรี เป็นมโหรีสมัยใหม่เช่นของเรา คือมีจรเข้ ซอ กระจับปี่จีน และขิมจีน ให้ทำเพลงไทย พวกมโหรีร้องไปด้วย

มีมโหรีต้อนรับแขกที่บ้านซะด้วย

 ยิงฟันยิ้ม




บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 365  เมื่อ 12 เม.ย. 11, 20:48

หลักเกณฑ์เทียบเสียงดนตรีสำเนียงต่างๆ

บันไดเสียง

กับสำเนียงภาษาของเพลง

1) บันไดเสียงโด (ดรม ซล) มักจะอยู่ใช้เพลงที่มีสำเนียงลาว สำเนียงจีน สำเนียงไทย สำเนียงแขก

2) บันไดเสียงเร (รมฟ ลท) มักจะอยู่ในเพลงที่มีสำเนียงแขก

3) บันไดเสียงฟา (ฟซล ดร) มักจะอยู่ในเพลงที่มีสำเนียงเขมรเป็นส่วนใหญ่ แต่อาจจะมีในเพลงที่มีสำเนียงมอญบ้าง

4) บันไดเสียงซอล (ซลท รม) มักจะใช้ในเพลงที่มีสำเนียงแขกเป็นส่วนใหญ่ อาจใช้ในเพลงที่มีสำเนียงไทยบ้าง แต่เป็นส่วนน้อย

5) บันไดเสียงลา (ลทด มฟ) เป็นระบบเสียงที่ใช้ในเพลงโบราณ เช่น สำเนียงขอม สำเนียงไทย เป็นต้น แต่พบได้น้อย เนื่องจากเมื่อนำมาบรรเลงในเพลงประเภทเครื่องสาย และเครื่องเป่า ทำให้เกิดบรรเลงได้ยาก ในสมัยก่อนจึงมีการ ทรานสโพส ให้ไปอยู่ในบันไดเสียงอื่น

6) บันไดเสียงที (ทดร ฟซ) จะใช้ในเพลงที่มีสำเนียงมอญเป็นส่วนใหญ่ อาจใช้ในเพลงที่มีเพลงสำเนียงเขมรบ้าง แต่
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 366  เมื่อ 13 เม.ย. 11, 09:20

วันนี้เป็นวันสงกรานต์

ขออวยพรท่านผู้อ่าน และนำคลิ๊ปรำถวายพระพรมาฝากพร้อมกับรำอวยพรของเขมร
ขอให้ท่านมีความสุข และผ่านปีนี้ไปได้ด้วยดีกว่าสองสามปีที่ผ่านมานะครับ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 367  เมื่อ 13 เม.ย. 11, 09:26

^
เพลงรำอวยพรของเขมร  ทำนองคล้ายเพลง สีนวล

ขอหยุดงาน  ฉลองสงกรานต์ในเรือนไทยด้วยอีกคนค่ะ

ขออวยพรชาวเรือนไทยให้เป็นสุข         ที่เคยทุกข์ก็ผ่านไปไม่กลับหลัง
ให้ฉ่ำเย็นสดชื่นคืนพลัง                     เปี่ยมความหวังว่าพรุ่งนี้ฟ้าสีทอง

เพลงสงกรานต์เขมรค่ะ

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 368  เมื่อ 13 เม.ย. 11, 11:04

รดน้ำขอพร สงกรานต์เขมรด้วยครับ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 369  เมื่อ 13 เม.ย. 11, 11:36

ทำนองคุ้นๆ  ตอนต้น  เหมือนยวนย่าเหล  แต่ท่อนหลังๆ เป็นเพลงอื่น

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 370  เมื่อ 13 เม.ย. 11, 11:43

ตามมาฉลองสงกรานต์ด้วยคน

ขณะที่คนไทยกำลังเล่นสงกรานต์อยู่นี้ ในเขมร, ลาว, พม่า แม้แต่ในจีน (สิบสองปันนา) ก็กำลังเล่นสงกรานต์กันอยู่

ฟังเพลงสงกรานต์ของเขมรกันก่อน  ยิงฟันยิ้ม



เรือนอินทร์  หน้าพระลาน ว่าไว้ในบทความชื่อ "สงกรานต์  ไม่ใช่ของไทยแห่งเดียว แต่มีในหลายประเทศ  เช่น  เขมร, ลาว,พม่า" อยู่ในเว็บของคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ

http://www.sujitwongthes.com/2011/04/songkarn/

สงกรานต์ ถูกทำให้เชื่อมานานแล้วว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยแท้ ๆ มาแต่โบราณกาล  แต่ไม่เป็นความจริง  เพราะสงกรานต์เป็นประเพณีทางศาสนาพราหมณ์   มีกำเนิดในชมพูทวีป (อินเดีย)  เกี่ยวกับดวงอาทิตย์ย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ  จึงไม่ใช้ประเพณีไทยแท้ ๆ ตามที่กล่าวอ้าง

สงกรานต์ของศาสนาพราหมณ์แพร่หลายจากชมพูทวีปเข้าสู่อุษาเคนย์  ถึงราชสำนักสุวรรณภูมิราวหลัง พ.ศ. ๕๐๐ แล้วเป็นพิธีกรรมสำคัญอยู่ในราชสำนักก่อน

สมัยแรก ๆ ยังไม่แพร่หลายลงสู่สามัญชนชาวบ้าน  ต้องใช้เวลาอีกนานมาก  จนราวหลัง พ.ศ. ๒๐๐๐ ถึงลงสู่สามัญชนชาวบ้าน

ราชสำนักในสุวรรณภูมิที่อยู่ใกล้ทะเลแล้วรับศาสนาพราหมณ์และพุทธ   ล้วนมีสงกรานต์เหมือน ๆ กัน  เช่น  กัมพูชา, ไทย, ลาว, พม่า, ฯลฯ  หลังจากนั้นแพร่หลายเข้าสู่ดินแดนภายใน  เช่น  ล้านนา, ล้านช้าง, จนถึงสิบสองพันนา (ในจีน)

บ้านเมืองเหล่านี้มีประเพณีสงกรานต์เหมือนกันทั้งหมดสืบจนทุกวันนี้  แล้วบอกว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของตนทั้งนั้น

ดังนั้น  สงกรานต์จึงไม่ได้มีที่ไทยแห่งเดียว  แต่มีทั่วไปทั้งในกัมพูชา, ลาว, พม่า, รวมทั้งในจีน

 ยิงฟันยิ้ม





บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 371  เมื่อ 13 เม.ย. 11, 11:58

รำวงสงกรานต์เขมร



รำวงสงกรานต์ไทย

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 372  เมื่อ 13 เม.ย. 11, 12:06

ตำนานสงกรานต์เขมร

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 373  เมื่อ 14 เม.ย. 11, 09:49

มาดูของดีของวิเศษของไทย ซึ่งกำลังจะสูญสลายว่ามีอะไรบ้าง ที่รัฐบาลน่าจะขอให้ยูเนสโกเข้ามาช่วยอุปถัมภ์ค้ำชูได้
ไม่ทราบว่า หุ่นละครที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยแท้ๆนี้ จะเข้าข่ายหรือเปล่า


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 374  เมื่อ 14 เม.ย. 11, 10:23

^
^
เกรงว่าเมื่อเสนอประวัติให้ยูเนสโกแล้ว น่าจะมีปัญหาตรงอายุของละครเล็กซึ่งไม่เก่าแก่พอ

ประวัติความเป็นมาของหุ่นละครเล็ก

หุ่นละครเล็กกำเนิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ ผู้ให้กำเนิด คือ นายแกร ศัพทวนิช ซึ่งมีอายุไล่เลี่ยกับนายเปียก ประเสริฐกุล เจ้าของคณะหุ่นกระบอกอันเลื่องชื่อในเวลานั้น นายแกรเป็นชาวตลาดหัวรอ จังหวัดอยุธยา เล่ากันว่านายแกรเล่นเป็นตัวเจ้าเงาะแต่ยังแสดงได้ไม่ถึงขั้น จึงได้รับขนานนามว่า "ครูแกร เงาะกำมะลอ" ต่อมามีงานแสดงน้อยลงครูแกรจึงล่องเรือเข้ากรุงเทพฯ มาจอดพักอยู่ที่คลองมหานาค หน้าวังสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ โดยยึดอาชีพแสดงละครเป็นหลัก ภายหลังได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในวังวรดิศ และหลายปีต่อมานายแกรได้ซื้อบ้านหลังหนึ่งในตรอกขี้เถ้า (ถนนดำรงรักษ์ในปัจจุบัน) หน้าวังวรดิศนั่นเอง

นายแกรคิดประดิษฐ์ละครเล็กขึ้น เนื่องจากได้เห็นหุ่นหลวงแล้วเกิดความสนใจ ได้พยายามทำให้เหมือนหุ่นหลวงมากที่สุด แต่ทำไม่ได้เพราะสายใยมาก จึงดัดแปลงให้สายใยน้อยลง หุ่นตัวแรกที่นายแกรสร้างคือหุ่นตัวพระ เมื่อสร้างได้ครบโรงก็นำออกแสดงให้เจ้านายในวังวรดิศทอดพระเนตรเป็นครั้งแรก โดยแสดงเรื่องพระอภัยมณี ตอนตีเมืองอา อันเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชมมาก บรรดาเจ้านายเจ้านายที่ทอดพระเนตรต่างเรียกการแสดงนี้ว่า "ละครเล็ก" กันทุกพระองค์ ส่วนชาวบ้านเรียกว่า "หุ่นครูแกร" ต่อมานายแกรก็รับแสดงในงานทั่วไป อัตราค่าจ้างคืนละ ๑๐๐ บาท และตั้งชื่อคณะว่า "ละครเล็กครูแกร" คนทั่วไปก็เรียกกันติดปากมาจนทุกวันนี้ นายแกรคงแสดงละครเล็กที่วังวรดิศอีกหลายครั้ง
          
ละครเล็กไม่ได้รับความนิยมในยุคต่อมาเพราะการแสดงล่าช้า ไม่ทันใจผู้ชม การเชิดก็ยุ่งยาก ปัจจุบันผู้เชิดเป็นเหลืออยู่นับคนได้ คือ คณะสาครนาฏศิลป์ ของ ครูสาคร ยังเขียวสด หรือ "โจหลุยส์" ซึ่งยังคงสืบทอดศิลปะการแสดงหุ่นละครเล็กไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานอยู่ในปัจจุบันนี้

http://www.nsru.ac.th/oldnsru/webelearning/dance/hunlakhonleg.html
http://www.mundoyo.com/Journal/?j=850

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 23 24 [25] 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.359 วินาที กับ 19 คำสั่ง