เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 168041 ละครในราชสำนักสยามไปสู่ราชสำนักเขมร
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 300  เมื่อ 10 เม.ย. 11, 22:36


สุจิตต์ วงษ์เทศ เขียนไว้ว่า หนังใหญ่เข้าใจว่าได้รับอิทธิพลมาจากเขมร

ตามนี้เลยครับ ย่อหน้าสุดท้าย

http://www.lek-prapai.org/watch.php?id=21

อดไม่ได้เลยไปค้นตู้หนังสือ   เปิดสมุทรโฆษคำฉันท์มาอ่านอีกครั้ง  ในนั้นกล่าวถึงหนังใหญ่ไว้ว่า

      พระให้กล่าวกาพยนิพนธ์                     จำนองโดยกล
ตระการเพลงยศพระ
      ให้ฉลักแสบกภาพอันขระ                     เป็นบรรพบุรณะ
นเรนทรราชบรรหาร
      ให้ทวยนักคนผู้ชาญ                           กลเล่นโดยการ-
ยเปนบำเทิงธรณี

      อ่านได้ความว่าสมเด็จพระนารายณ์โปรดฯให้กวี (หมายถึงพระโหราธิบดี) แต่งสมุทรโฆษ เป็นการเฉลิมพระเกียรติ   ให้ช่างฉลุฉลักหนังเป็นรูปร่างสวยงาม    ให้คนที่ชำนาญด้านเล่นหนัง  นำออกมาเล่น
     แสดงว่าสมุทโฆษคำฉันท์แต่งขึ้นเพื่อใช้เล่นหนัง  จะหนังใหญ่หรือหนังตะลุง ไม่ได้บอกรายละเอียดไว้    รู้จากตอนนี้อีก ๒ อย่างคือในสมัยพระนารายณ์มีการประดิษฐ์หนังเอาไว้ใช้เล่นมาชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้ว     ถึงมีช่างผู้ชำนาญการเล่นหนังทำงานอยู่ในอยุธยา    ถ้าดูกฎมณเฑียรบาล ระบุเรื่องการเล่นหนัง   ก็แปลว่าในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีการละเล่นโดยใช้หนังแล้ว
     หนังที่เล่นสมัยสมเด็จพระนารายณ์ คงมาจากเขมร  อาจจะมาตั้งแต่สมัยเจ้าสามพระยาไปตีนครธมของกัมพูชา  แล้วนำวัฒนธรรมของเขมรมาสู่อยุธยาก็เป็นได้   ชื่อ"แสบก"( อ่านว่าสะแบก) ที่ใช้ แสดงถึงแหล่งที่มาของการละเล่นชนิดนี้    และคงแสดงกันแบบเดิม  ของไทยยังไม่มี  อยุธยาจึงเรียกชื่อเดิมอยู่
     ต่อมาการละเล่นแบบนี้คงพัฒนาเป็นของไทยเอง   เห็นได้จากชื่อ ซึ่งเรียกใหม่เป็นภาษาไทย  และแพร่หลายจนกระทั่งชื่อ"แสบก" หายไป   หนังใหญ่หรือหนังเล็กสมัยอยุธยาเป็นอย่างไรไม่เคยเห็น    หนังจริงๆคงสูญไปหมดแล้ว  ถ้าจะมีหน้าตาเหลือรอดมาก็คงจะหาได้จากภาพในผนังโบสถ์วัดใดวัดหนึ่ง  สมัยอยุธยา    ส่วนหนังใหญ่ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นหนังสมัยรัตนโกสินทร์  
    

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 301  เมื่อ 10 เม.ย. 11, 22:54

ชื่อ"แสบก"( อ่านว่าสะแบก) ที่ใช้ แสดงถึงแหล่งที่มาของการละเล่นชนิดนี้    และคงแสดงกันแบบเดิม  ของไทยยังไม่มี  อยุธยาจึงเรียกชื่อเดิมอยู่

ต่อมาการละเล่นแบบนี้คงพัฒนาเป็นของไทยเอง   เห็นได้จากชื่อ ซึ่งเรียกใหม่เป็นภาษาไทย  และแพร่หลายจนกระทั่งชื่อ"แสบก" หายไป 

Sbek = หนัง  Thom = ใหญ่

Sbek Thom = หนังใหญ่

แปลตามตัวเปี๊ยบเลย

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 302  เมื่อ 10 เม.ย. 11, 23:01

อืมม์ ลืมสนิทว่า ธม แปลว่า ใหญ่   อายจัง

แต่ว่าในสมุทรโฆษ  ไม่มีคำว่า "ธม" นะคะ คุณเพ็ญ   มีแต่คำว่า "ฉลัก/แสบก/ภาพ/อันขระ"
ถึงไม่รู้ว่าหนังใหญ่หรือหนังเล็ก
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 303  เมื่อ 10 เม.ย. 11, 23:24

ถ้าหนังเล็กหรือหนังตะลุงเรียก sbek touch หรือ  nang sbek touch

nang ก็คือ หนัง ในภาษาไทยนั่นเอง

ภาษาก็มีการไหลเช่นกัน

สมัยอยุธยา คำว่า แสบก ของเขมรไหลมาสู่กรุงศรีอยุธยา

พอสมัยรัตนโกสินทร์ คำว่า หนัง ของไทยไหลไปสู่เขมร

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 304  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 10:40

แบบนี้ศิลปะเรียกว่า ไหลไปไหลมา ใช่ไหมครับ อ. NAVARAT.C  ยิงฟันยิ้ม

มาดูคำว่า "ธม - Thom" แปลว่าใหญ่ ในเครื่องดนตรี ฆ้องวงธม ครับ หรือ ฆ้องวงใหญ่


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 305  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 10:42

ฆ้องวงเล็ก - Kong Vong Toch


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 306  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 10:43

ฆ้องโหม่ง ทับศัพท์เลย  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 307  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 10:44

ระนาดเอก


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 308  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 10:45

ระนาดทุ้ม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 309  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 10:49

จะเฆ่


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 310  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 11:29

อ้างถึง
แบบนี้ศิลปะเรียกว่า ไหลไปไหลมา ใช่ไหมครับ อ. NAVARAT.C

เป็นเช่นนั้นแล ภราดา เป็นเช่นนั้น

คุณหนุ่มรู้สึกมั้ย ความจริงแล้วเขมรกับไทยเป็นยิ่งกว่าพี่น้อง เมื่อพันสองพันปีก่อนคือตัวตนเดียวกัน
แต่ไม่รู้กลายพันธุ์อย่างไร จึงบ่มเพาะความเป็นศัตรูต่อกันได้รุนแรงเช่นทุกวันนี้

เช่นเดิมครับ ไม่มีคำตอบ ไม่มีข้อเสนอแนะ

ทุกสิ่งย่อมเป็นไปตามเหตุ
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 311  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 11:31

จะสังเกตได้ว่า เครื่องดนตรีเขมรกับไทยช่างมีชื่อและรูปร่างคล้ายหรืออาจจะเรียกได้ว่าเหมือนกันทีเดียว

ทำไมจึงเป็นเช่นนี้น

เรื่องนี้ คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ เขียนอธิบายไว้ในคำนำหนังสือ เครื่องดนตรีกัมพูชาโบราณ ของ ยน เคียน, แกว ฎูรีวรรณ, อี ลีณา, เมา เฬณา มหาวิทยาลัยภูมินทรวิจิตรศิลปะ กัมพูชา แปลจากต้นฉบับภาษาเขมรโดย สกลสุภา ทองน้อย จัดพิมพ์โดย วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล



ขออนุญาตสรุปความจากคำนำมาให้อ่านกันดังนี้

วัฒนธรรมดนตรีกัมพูชาและไทย มีร่วมกันมาเก่าแก่อย่างน้อยราว ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว นับตั้งแต่ “วัฒนธรรมไม้ไผ่” คนสุวรรณภูมิรวมถึงบรรพชนกัมพูชาและไทยรู้จักทำเครื่องดนตรีจากไม้ไผ่ เพื่อพิธีกรรมสื่อสารวิงวอนร้องขอต่ออำนาจเหนือธรรมชาติ แล้วยกย่องเป็นเครื่องมือศักดิ์สิทธิ์มี “ผี” สิงอยู่ในเครื่องมือ

จนราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว คนสุวรรณภูมิ รวมทั้งบรรพชนกัมพูชาและไทย รู้จักถลุงโลหะด้วยความร้อน แล้วเอามาทุบตีและหล่อหลอมให้ได้รูปตามต้องการ

เครื่องดนตรีทำด้วยโลหะชุดแรกจัดอยู่ใน “วัฒนธรรมฆ้อง” เป็นโลหะผสมเรียกสัมฤทธิ์ ประกอบด้วยทองแดง + ดีบุก หรือตะกั่ว ทำเลียนแบบเครื่องดนตรีวัฒนธรรมไม้ไผ่ที่มีมาก่อน แล้วมีแบบอื่นๆด้วย  เช่น ลูกกระพรวน, โปง, ฯลฯ ที่สำคัญคือ ลิ้นแคน

เสียงกังวานโลหะ เมื่อราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว ต้องนับเป็นเสียงใหม่, ใหญ่ยิ่ง, สิ่งศักดิ์สิทธิ์, และมหัศจรรย์ที่สุดของยุคนั้น เครื่องดนตรีโลหะจึงมีฐานะสูงมากตราบถึงทุกวันนี้ เช่น ฆ้องวง ถือเป็น “ครูใหญ” ของวงปี่พาทย์ เป็นต้น

“วัฒนธรรมฆ้อง” เก่าสุดอายุราว 3,000 ปีมาแล้ว พบในยูนนาน, กวางสี (มณฑลทางใต้ของจีน) และดงเซิน (ในเวียดนาม) มีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น กลองทอง (ไทย-ลาว), ฆ้องบั้ง (ลาว), กลองกบ (กะเหรี่ยง), ฆ้องกบ, มโหระทึก (ไทย), ฯลฯ

มโหระทึก หมายถึง กลองสัมฤทธิ์ มีเอวคอดคล้ายลูกน้ำเต้า

ฆ้อง เป็นสัญลักษณ์ของความศักดิ์สิทธิ์และความเป็นใหญ่ หมายถึง  เครื่องตีทำด้วยสัมฤทธิ์ มีรากเหง้าจากมโหระทึกหรือกลองทอง

“วัฒนธรรมฆ้อง” เป็นสัญลักษณ์ร่วมกัน หรือเครือญาติชาติพันธุ์เฉพาะภูมิภาคอุษาคเนย์ มีแหล่งกำเนิดบนผืนแผ่นดินใหญ่ เช่น จีน (ยูนนาน, กวางสี), เวียดนาม แล้วแพร่กระจายลงไปหมู่เกาะทะเลใต้ มีใช้ในกลุ่มชาติพันธุ์สืบเนื่องถึงทุกวันนี้

วัฒนธรรมดนตรีของกัมพูชาและไทย จึงมีพื้นเพดั้งเดิมร่วมกัน แยกไม่ได้อย่างเด็ดขาดว่าดนตรีไทยหรือดนตรีเขมร แต่เป็นสมบัติบรรพชนในภูมิภาคเดียวกันที่สั่งสมร่วมกันมากว่า ๕,๐๐๐ ปีที่แล้ว
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 312  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 11:37

ฆ้อง ในขบวนดนตรีพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ของราชสำนักกัมพูชาโบราณ บนภาพสลักฉากชัยชนะของพระกฤษณะเหนืออสูรพาณะ ระเบียงคดด้านทิศเหนือ ปีกตะวันออก ปราสาทนครวัด กัมพูชา (ภาพจาก Le Temple d’ Angkor Vat  Vol.3 : Galerie des Bas-reliefs. Paris : G. Van Oest, 1923-1932.)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 313  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 11:47

วงปี่พาทย์ในราชสำนักเขมร


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 314  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 11:52

สถาปัตยกรรมเขมรก็ไหลมาอยุธยาเหมือนกันค่ะ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 19 คำสั่ง