เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 168227 ละครในราชสำนักสยามไปสู่ราชสำนักเขมร
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 225  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 20:24

    นครวัดเป็นเทวสถาน    หรือถ้าเชื่อที่ม.ร.ว.คึกฤทธิ์วิเคราะห์ไว้ใน "ถกเขมร" ก็คือพระเมรุหินขนาดใหญ่ สร้างเพื่อไว้พระศพของพระเจ้าแผ่นดินเขมร ได้แก่พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ผู้สร้างนครวัด       นครวัดมีรูปเทพเจ้ามากมาย   โดยเฉพาะพระวิษณุ  ซึ่งถือกันว่าเป็นจอมเทพ  นอกจากนี้ก็มีเทพและอสูรอีกจำนวนมาก     แต่จนเดี๋ยวนี้  สิ่งที่นักท่องเที่ยวอยากไปเห็นมากที่สุดไม่ยักใช่เทพเจ้าใหญ่น้อยทั้งหมด   แต่เป็นนางอัปสร
    ตามตำนานของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู   เหล่านางอัปสรเป็นเพียงเทพชั้นผู้น้อย  เกิดจากเกษียรสมุทรตอนเทวดากับอสูรกวนทะเลน้ำนมกัน      แต่ความงามจากฝีมือช่างสลักที่บรรจงสร้างนางอัปสรนับร้อยนับพัน  ทำให้กลายเป็นจุดโดดเด่นของนครวัด     ขึ้นหน้ากว่าเทพใหญ่น้อยทุกองค์
    (ส่วนน้องเพ็นโนซอรัสของคุณเพ็ญชมพู ที่ปราสาทตาพรม   ก็เพิ่งจะมาฮือฮากันไม่กี่ปีนี้เอง ยิงฟันยิ้ม)
    พระเจ้าสีหนุโปรดเพลง ดนตรี การร่ายรำ    ตามแบบฉบับของศิลปิน    เมื่อพระนางกุสุมะพระมารดาทรงคิดค้นท่ารำแบบนางอัปสรเขมร หรือขะแมร์อัปสราขึ้นมาได้จากลีลาท่าทางของรูปสลักอัปสรานครวัด       พระองค์ก็ทรงเห็นทันทีว่า นี่คือนาฏศิลป์ชั้นสูงที่จะทำให้กัมพูชาอวดใครต่อใครได้ทั่วโลกอย่างไม่น้อยหน้า      เพราะลีลาร่ายรำของนางอัปสรนั้นไม่ซ้ำแบบกับของสยาม   การแต่งกายก็ไม่เหมือนกัน เพราะไปแต่งแบบนางอัปสร     ก็พอจะอ้างได้ว่าระบำอัปสราคือนาฏศิลป์โบราณของกัมพูชานับพันปีมาแล้ว  ใครไม่เชื่อก็เชิญไปดูหลักฐานได้จากนครวัด
    ผู้ที่เป็นกำลังสำคัญของระบำอัปสรา  ก็คือเจ้าหญิงบุปผาเทวีพระธิดา   ซึ่งออกรำให้แขกบ้านแขกเมืองเห็นเป็นหน้าเป็นตาของประเทศ      เมื่อพระบิดาทรงอยู่ในอำนาจ  ก็ทรงตั้งเจ้าหญิงขึ้นมาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 226  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 20:54

    ความเฟื่องฟูทางวัฒนธรรมของราชสำนักเริ่มเสื่อมลง  เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองเปลี่ยนไป    ฝ่ายซ้ายเริ่มมีบทบาทมากขึ้น จนพระเจ้าสีหนุถูกยึดอำนาจจากนายพลลอนนอล  ในค.ศ. 1970     พระองค์กลายเป็นผู้นำพลัดถิ่น   แม้จะตั้งกองกำลังกู้ชาติขึ้น อำนาจก็เหมือนสายน้ำ   ไหลไปแล้วไม่หวนคืนมาอีก   แต่ว่าตกไปอยู่ในมือกลุ่มอำนาจใหม่ ก็คือ "เขมรแดง" หรือ Khmer  Rouge  ซึ่งผู้นำสำคัญคือนายพอล พต อดีตนักศึกษาหัวแอนตี้ราชสำนักกัมพูชาที่เล่าไว้ในความเห็นก่อนๆ นั่นเอง

     ความจริงเขมรแดงไม่ได้มีชื่อว่าเขมรแดง     พวกเขาก็ไม่เคยเรียกตัวเองว่าเขมรแดง  พวกนี้ถือกำเนิดจากขบวนการเขมรเสรี หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เพื่อต่อต้านฝรั่งเศส   เป็นพวกฝ่ายซ้ายที่มีอุดมการณ์สังคมนิยมเข้มข้น  พัฒนามาจนก่อตั้ง "กองทัพแห่งชาติกัมพูชาประชาธิปไตย” (Armée nationale du Kampuchéa démocratique)     คนที่เรียกพวกเขาว่าเขมรแดง จนกลายมาเป็นคำที่รู้จักกันทั่วโลกก็คือพระเจ้าสีหนุ   ทรงเรียกพวกฝ่ายซ้ายในกัมพูชาว่าเขมรแดง    แล้วก็กลายเป็นชื่อติดปาก จนกลายเป็นชื่อทางการไปเอง  
     ม.ร.ว. คึกฤทธิ์จึงสรุปว่า  ชื่อเขมรแดงเป็นชื่อพระราชทานจากพระเจ้าแผ่นดินกัมพูชา  ยิงฟันยิ้ม

    ค.ศ. 1975   เขมรแดงยาตราทัพเข้ายึดพนมเปญ   เอากัมพูชาไว้ในอำนาจได้เบ็ดเสร็จ    พวกนี้ก็สร้าง"สังคมใหม่" ขึ้นในเขมร   โดยใช้รากฐานทางอุดมการณ์ที่เรียกว่า "อุดมการณ์ปฏิวัติแบบเบ็ดเสร็จ" (idéologie de révolution totale) หรือเผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพ    และในทางปฏิบัติก็คือเผด็จการโดยชนชั้นผู้นำของเขมรแดงนั่นเอง  

    พวกนี้กวาดล้าง "ศัตรูทางชนชั้น" ไม่ว่าจะเป็น ทหาร ข้าราชการ เชื้อพระวงศ์ ปัญญาชนใหญ่น้อย   ฆ่าทิ้งแบบล้างโคตร   ที่เหลือถูกกวาดต้อนไปทำไร่ไถนา อดอยากยากแค้นแสนสาหัส     ตายไปถึง 3 ล้านคน คือเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมด
    ระบำอัปสราซึ่งพระเจ้าสีหนุถือว่าเป็นจิตวิญญาณชั้นสูงของอาณาจักรกัมพูชาแต่โบราณมาจนปัจจุบัน ก็พลอยถูกกวาดล้างไม่เหลือซาก   ครูละครทั้งหลายที่หนีไม่ทันก็ถูกฆ่าทิ้งเป็นผักเป็นปลา   คนไหนหนีตายได้ทัน ก็อพยพมาอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยที่เขาอีด่าง   หนึ่งในนั้นคือเจ้าหญิงบุปผาเทวี   เธอก็ดำรงอุดมการณ์สืบสานจิตวิญญาณของอัปสราไว้ไม่ให้สูญหายไป ด้วยการฝึกนาฏศิลป์เขมรอยู่ในค่าย   จนกระทั่งยุคทมิฬของเขมรแดงสิ้นสุดลงใน 4 ปีต่อมา
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 227  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 21:01

เอารูปพระนางบุปผาเทวี นางระบำอัปสราตัวแม่สมัยยังสาวๆมาให้ดูอีก

เจ้าสีหนุถือพระองค์เป็นผลผลิตที่ได้จากสนมที่เป็นนางละครประจำราชสำนัก และภูมิใจในฝีมือการผลิตของท่านมาก

นางระบำอัปสราตัวแม่สมัยยังสาว





 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 228  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 21:17

คงพอจะทราบกันอยู่บ้างว่า สมเด็จพระสีหนุทรงเป็นองค์อัครศิลปินแห่งชาติกัมพูชาโดยเฉพาะในด้านภาพยนตร์และดนตรี
      
สมเด็จพระสีหนุทรงเคยมีกระแสพระราชดำรัสเมื่อหลายปีก่อน ถึงความรักที่พระองค์ทรงมีต่อภาพยนตร์ว่า เริ่มตั้งแต่ราวปีคริสต์ทศวรรษ ๑๙๓๐ ครั้งที่พระองค์ทรงศึกษาอยู่ที่ French Lycee of Saigon ในเวียดนามใต้ โดยที่ในไซง่อนเวลานั้น มีโรงภาพยนตร์สวยงามที่ฉายทั้งหนังฝรั่งเศสและหนังอเมริกันฮอลลีวูด ทรงชื่นชอบดาราหลายคน อย่างเช่น ฌอง กาแบง (Jean Gabin) คลาร์ก เกเบิล (Clark Gable) เกรตา การ์โบ (Greta Garbo) ...
      
หลังจากที่ทรงสำเร็จการศึกษาจากไซง่อน พระองค์ทรงปรารถนาที่จะเป็นนักสร้างภาพยนตร์และนักแสดง ควบคู่ไปกับการเป็นครูสอนภาษาฝรั่งเศส ละตินและกรีกในโรงเรียนมัธยมปลายที่มาตุภูมิ
      
สมเด็จพระสีหนุทรงเปรียบความรักที่พระองค์ทรงมีต่อภาพยนตร์ว่า เหมือนกับที่ วินสตัน เชอร์ชิลล์ (Winston Churchill) รัฐบุรุษอังกฤษ รักการวาดรูป ขณะเดียวกัน พระองค์ก็ทรงปฏิบัติเยี่ยงเดียวกับเชอร์ชิลล์ นั่นคือทรงอุทิศเวลาให้กับภารกิจเพื่อชาติและประชาชน โดยไม่ให้ “งานอดิเรก” มารบกวนงานเพื่อแผ่นดิน!
      
สำหรับพระองค์แล้ว ภาพยนตร์ไม่ใช่เป็นเพียงความบันเทิงหรือกิจกรรมทางศิลปะเท่านั้น แต่เป็นสื่อในการนำเสนอเรื่องราวของกัมพูชาในแง่มุมต่าง ๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
      
สมเด็จพระสีหนุทรงปรารภว่า เรื่องราวแห่งความรักที่ปรากฏในภาพยนตร์แต่ละเรื่องที่ทรงสร้างนั้น ทำหน้าที่เป็นเพียงเครื่องนำทาง ที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้ชมสนใจใคร่รู้เกี่ยวกับกัมพูชา ไม่ว่าจะเป็นในด้านวัฒนธรรมประเพณี ผู้คน ปัญหาหรือด้านอื่น ๆ
      
 “กัมพูชา” คือดารานำเพียงหนึ่งเดียวในภาพยนตร์ของพระองค์!
      
นอกจากจะทรงเป็นทั้งผู้อำนวยการสร้างและผู้กำกับภาพยนตร์แล้ว สมเด็จพระสีหนุยังทรงมีพระปรีชาสามารถทางด้านดนตรีอีกด้วย เพลงประกอบภาพยนตร์ที่ทรงสร้าง เป็นเพลงพระราชนิพนธ์เสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งพรสวรรค์ทางด้านนี้ สมเด็จพระสีหนุตรัสว่า ทรงได้รับมรดกมาจากสมเด็จพระราชบิดา
      
ถึงปัจจุบัน มีภาพยนตร์ที่ทรงสร้างและกำกับไม่ต่ำกว่า ๓๐ เรื่อง
      
ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดบางส่วนได้ที่ www.norodomsihanouk.org สำหรับเว็บไซต์ส่วนพระองค์ www.norodomsihanouk.info มีหัวข้อเกี่ยวกับภาพยนตร์แต่ไม่ปรากฏข้อมูลค่ะ แต่ก็มีเพลงพระราชนิพนธ์ให้ฟังพอหอมปากหอมคอหลายเพลง และภาพยนตร์ของสมเด็จพระสีหนุส่วนหนึ่งได้เก็บรักษาไว้ที่ Academy of Motion Picture Arts and Sciences

จาก องค์อัครศิลปินแห่งกัมพูชา โดย คุณรุ่งมณี เมฆโสภณ ผู้จัดการออนไลน์
http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9470000064884
      
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 229  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 21:25

ตัวอย่างภาพยนตร์ของเจ้าสีหนุ

สร้าง กำกับ และแสดงเอง

เรื่องนี้ทรงแสดงร่วมกับราชินีโมนิกและเจ้าหญิงบุปผาเทวี



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 230  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 21:27

เรื่องนี้โชว์ลีลาร่ายรำของนาฏศิลป์เขมร

เริมต้นด้วยรำรามสูร-เมขลา

นาทีที่ ๓.๑๕ เจ้าสีหนุปรากฏตัว จับความได้ว่ากำลังเทศน์เรื่อง โมหะ โทสะ โลภะ อยู่



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 231  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 21:32

เจ้าสีหนุ ทรงร้องเพลง
ฟังท่อนสุดท้าย ได้ยินคล้ายๆ “ทำมายจึงทำกับฉานด้ายยย”



คุณเพ็ญช่วยอัพหน่อยครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 232  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 21:45

^
^
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 233  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 22:01

ส่งเข้ามาคาราโอเกะอีกเพลงค่ะ
Amour Sans Espoir( Love without Hope)  แปลเป็นไทยคือ รักที่ไร้ความหวัง




ฟังดีๆ ท่อนต้น อินโทร   และที่ท่านทรงร้อง   ทำนองคล้ายท่อนนี้ของเพลง "คำคน"  ตอนที่ว่า

อันอารมณ์ หากเหนือเหตุผล
ความแค้นก็แน่นกมล
กลายเป็นคนคิดสั้นไปได้
หักความระทม
ยกเอาอารมณ์ทิ้งให้ห่างไกล
จะเห็นหัวใจ
แล้วจะรักใคร เจ้าเอย...

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 234  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 22:08

เพลงพระราชนิพนธ์ของสมเด็จเจ้าสีหนุ  ชื่อ Sneaha    ขอเดาว่าภาษาไทยน่าจะเป็น สิเนหา  หรือ เสน่หา



ประทับใจฉากของคาราโอเกะ เพลงนี้   ช่างเป็นวนิดากัมพูชาแท้ๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 235  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 22:13

เพลงนี้ไม่มีคำบรรยายในยูทูป   แต่ฟังชื่อเพลง Monica คิดว่าเป็นเพลงที่ทรงแต่งให้พระนางโมนิค พระมเหสีชาวฝรั่งเศส


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 236  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 22:15

ทรงน่ารักนะครับ ทรงแต่งเพลงให้พระนางด้วย  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 237  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 22:24

ค่ะ   ศิลปินมักจะมีเสน่ห์ในตัว

ไม่รู้ชีวิตส่วนตัวของท่าน  แต่เห็นอะไรนิดๆหน่อยๆอยู่ในคลิปนี้    คุณ siamese ลองดูเองนะคะ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 238  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 22:35

^
^
ทรงรำได้งามครับ และนางรำท่านอื่นก็รำก้นงอนมากครับ แล้วใครหรอครับที่นั่งจับมือกัน มีงอนกันด้วย  ฮืม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 239  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 22:38

 รูดซิบปาก
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.048 วินาที กับ 19 คำสั่ง