NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 165 เมื่อ 06 เม.ย. 11, 20:37
|
|
เมื่อเริ่มรัชกาลสมเด็จพระนโรดมสีหนุ รัฐบาลวีซีอ้างความจำเป็นทางเศรษฐกิจที่จะตัดทอนงบประมาณของละครพระราชทรัพย์ที่พระนางกุสุมะทรงกำกับอยู่ลงทั้งหมด กษัตริย์พระองค์ใหม่ทรงตัดสินพระทัยโดยทันทีที่จะจ่ายเงินจำนวน๖๐๐เรียล สำหรับเงินเดือนพวกละครเหล่านี้ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เอง การกระทำของพระองค์ต่อพระราชมารดาได้ส่งผลตอบแทนอันล้ำค่าในกาลข้างหน้า
หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง สมเด็จพระนโรดมสีหนุไม่ใช่เด็กแล้ว ทรงเป็นกษัตริย์หนุ่มชาตินิยมรุนแรง และทรงเป็นเจ้าบทบาท ไม่ยอมนิ่งเฉยเป็นเจว็ดในฐานะพระประมุขแห่งชาติดังที่ฝรั่งเศสต้องการ แต่ทรงมาสวมบทนักการเมืองในแทบจะทุกเรื่องที่สามารถจะนำพาราชอาณาจักรเขมรไปสู่การยอมรับในสังคมโลก ทรงออกรับรองแขกบ้านแขกเมืองที่ไปมาหาสู่ด้วยพระองค์เองราวกับเป็นประธานาธิบดี
สถานการณ์ของโลกหลังสงครามเพียงแต่ระงับความเลวร้ายลงชั่วคราว ความขัดแย้งใหม่กำลังคุกรุ่นขึ้น ประเทศอาณานิคมหลายแห่งลุกจับอาวุธขึ้นต่อสู้เจ้าอาณานิคม ส่อแนวโน้มว่าในที่สุดแล้วอังกฤษและฝรั่งเศสอาจต้องปล่อยบรรดาเมืองขึ้นให้เป็นอิสระ แต่คนเขมรไม่ต้องการให้ประเทศของตนไปรวมอยู่กับญวนเป็นโคชินไชน่า เหมือนพม่าซึ่งอังกฤษจับบรรดาอดีตราชอาณาจักรน้อยใหญ่ที่เชื้อชาติวัฒนธรรมต่างกันไปรวมไว้ จนเป็นปัญหามาจนทุกวันนี้ ในขณะเดียวกัน เขมรก็ไม่ต้องการภาพพจน์การเป็นเบี้ยล่างของไทยด้วย
ผมเอาข้อความเล็กๆตอนนี้มาลงให้อ่านดู
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 166 เมื่อ 06 เม.ย. 11, 20:39
|
|
คำแปล
ทฤษฎีที่ว่านาฏศิลป์สยามได้รับอิทธิพลมาจากเขมรได้รับการเสริมด้วย(ข้อเขียน)ของนายแมคโดนัล (ข้าหลวงใหญ่ของสหราชอาณาจักรประจำอุษาคเนย์ 2491) ผู้ซึ่งกษัตริย์นโรดมสีหนุทรงร่ายยาวให้ฟังว่า คณะนาฏศิลป์หลวงของเขมรได้ถูกทอดทิ้งอย่างไรตอนที่สยามเข้ายึดพระนครวัต และถูกนำตัวไปยังราชสำนักกรุงศรีอยุธยาในที่สุด ทรงอ้างว่า หลังจากนั้นนาฏศิลป์แบบฉบับของเขมรจึงได้รับการเบิกตัวให้เป็นที่รู้จักในสยาม ภายใต้เครื่องแต่งกายที่นางละครหลวงจะสวมใส่เครื่องทรงแบบสยามที่หรูเลิศ นานปีหลังจากนั้น พวกนางรำเหล่านั้นจึงได้กลับคืนสู่พนมเปญและเริ่มรื้อฟื้นนาฏศิลป์ขึ้นใหม่ ด้วยท่าร่ายรำโบราณอันศักดิ์สิทธิ์นับเนื่องมาหลายศตวรรษได้ แต่ทว่าเครื่องแต่งกายยังเป็นแบบที่นำเข้ามาจากสยามอยู่ การยอมรับของนายแมคโดนัลนี้อ้างอิงเอกสารของกษัตริย์สีหนุที่ยังมีข้อขัดแย้ง ในเรื่องเบื้องหลังทางประวัติศาสตร์ ระหว่างอิทธิพลเขมรและสยาม
ในระหว่างรัชสมัยของพระองค์ และภายใต้การสงเคราะห์ของพระนางกุสุมะ พระราชมารดา อิทธิพลของนาฏศิลป์สยามจึงถูกเจือให้จางหายไปด้วยท่ารำที่เน้นๆว่าเป็นแบบเขมร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 167 เมื่อ 06 เม.ย. 11, 20:42
|
|
ข้อความตอนนี้แสดงให้เห็นว่า แม้รูปลักษณ์ละครเขมรจะดูคล้ายไทยอยู่ แต่ในรัชสมัยของสมเด็จพระนโรดมสีหนุ เขมรก็พยายามอย่างยิ่งที่จะแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์ของเขมรแท้ให้ปรากฏในท่าร่ายรำ เริ่มผิดไปจากที่ถ่ายทอดมาจากราชสำนักสยามแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 168 เมื่อ 06 เม.ย. 11, 20:48
|
|
เรื่องนี้สมเด็จพระนโรดมสีหนุ ต้องเห็นด้วยแน่นอน เพราะต้องการสร้างความเป็นชาติ เอกลักษณ์ของชนชาติขึ้นมา จึงมีทีท่าที่จะทรงเห็นด้วยทั้งปวง จำได้ว่าหลายปีก่อนรัฐบาลกัมพูชา ออกประกาศให้ชาวบ้านเลิกก่อสร้างสิ่งก่อสร้างที่มีสถาปัตยกรรมอย่างประเทศไทย ให้หันมาสร้างเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมอย่างเขมรกันแทน และในไทยเองจำได้ว่า รูปหลังธนบัตรฉบับละ ๕๐๐ บาทแบบเก่า ก็มีลักษณะปราสาทหิน วัฒนธรรมเขมรเก่าอยู่ ต่อมาจึงได้เปลี่ยนรูปแบบและรุ่นใหม่ขึ้นแทน 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 169 เมื่อ 06 เม.ย. 11, 20:50
|
|
แล้วความพยายามของเขมรมามาถึงจุดสำเร็จที่สำคัญ
สมเด็จพระนโรดมสีหนุ ทรงมีพระราชธิดากับเจ้าจอม อดีตตัวชูโรงของละครพระราชทรัพย์พระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่าพระนางนโรดม บุปผาเทวี
พระนางบุปผาเทวีทรงเกิดมาเพื่อวงการละครเขมรโดยแท้ ตั้งแต่ทรงพระเยาว์แล้วที่ทรงสนพระทัยแต่จะร่ายรำ จึงทรงเป็นหลานรักองค์โปรดของสมเด็จย่า ทรงนำไปประทับอยู่ด้วยกัน แวดล้อมด้วยศิลปินระดับครูในคณะนาฏศิลป์แห่งราชสำนัก เพียงพระชนษาได้๕ขวบก็สามารถออกโรงเป็นดาวเด่นยามพระราชบิดาทรงมีแขกบ้านแขกเมืองมาเยือนยังพระราชสำนักได้แล้ว
แต่เดิม ก็ทรงร่ายรำตามแบบฉบับที่ยังโต้เถียงกันว่าเป็นเขมรหรือสยามอยู่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 170 เมื่อ 06 เม.ย. 11, 20:58
|
|
เมื่อทรงจำเริญวัยขึ้นเป็นสาว พระนางกุสุมะก็ทรงชุบชีวิตนางอัปสราขึ้นมาร่ายรำใหม่โดยอาศัยพระสรีระและจิตวิญญาณของพระนางบุปผาเทวี หลานสาวผู้สูงศักดิ์นั่นเอง
พระนางกุสุมะทรงเติมเต็มประวัติศาสตร์นาฏศิลป์เขมรที่หายไปแต่ครั้งพระนครวัตล่มสลาย มาให้พระโอรส สมเด็จนโรดมสีหนุ นำไปใช้ประโยชน์ระหว่างการโฆษณาชวนเชื่อกับชาวโลกว่า นาฏศิลป์สยามคือนาฏศิลป์เขมรที่ถูกคนไทยกวาดต้อนไปแล้วอำว่าเป็นของตน แต่ก่อนแต่ไรมา ฝรั่งจะดูไม่ออกว่าเขมรกับไทยมีท่ารำ หรือขับร้องต่างกันอย่างไร เห็นแต่เครื่องแต่งตัวที่แม้จะคล้ายกัน แต่ก็ดูได้ไม่ยากว่าของใครสวยกว่า อลังการกว่า จะว่าไทยเอาอย่างเขมรรึ เขมรก็มีท่าร่ายรำไม่เหมือนกับหลักฐานที่นครวัตเลยแม้แต่ชุดเดียว แต่พอระบำอัปสราปรากฏกายร่ายรำออกมา ฝรั่งจึงเข้าใจโดยง่ายว่านี่เป็นศิลปวัฒนธรรมแบบเขมรแท้แน่นอนไม่ได้ลอกเลียนไทยมาแน่ เพราะนางอัปสราในภาพแกะสลักหินก็รำอย่างนี้ ระบำอัปสราจึงกลายเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของนาฏศิลป์เขมรอันเก่าแก่สืบทอดกันมาแต่ครั้งโบราณกาลไปในบัดดล ทั้งๆที่เพิ่งจะคิดท่ารำขึ้นมากันสดๆไม่นานนี้ก็ตาม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 171 เมื่อ 06 เม.ย. 11, 21:09
|
|
สมเด็จนโรดมสีหนุ ทรงใฝ่พระทัยในการนำเสนอระบำอัปสรา ซึ่งร่ายรำโดยพระนางบุปผาเทวี พระราชธิดาในทุกโอกาส รายชื่อVVIPที่เคยทอดพระเนตรหรือมีโอกาสชมระบำนี้ ทั้งในและนอกประเทศเขมร ส่วนหนึ่งก็คือ ประธานาธิบดีไอเซนฮาวเวอร์ เจ้าหญิงมาร์กาเร็ตและลอร์ดสโนวดอน พระราชสวามี ดยุคและดัชเชสแห่งเคนท์ นายพลติโตแห่งยูโกสลาเวีย ประธานาธิบดีเนหรูแห่งอินเดีย นายกรัฐมนตรี จูเอนไล ประธานาธิบดีซูการ์โนแห่งอินโดเนเซีย ประธานาธิบดีซาลส์ เดอ โกล์แห่งฝรั่งเศส และแจกเกอรีน เคเนดี้ สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของอเมริกา
ไม่ต้องสงสัย บรรดาผู้ที่มีอิทธิพลของโลกทั้งหมดนี้จะชื่นชมสิ่งที่กษัตริย์เขมรจัดให้พระราชธิดามาร่ายรำเป็นเกียรติเฉพาะตนเพียงใด และพร้อมที่จะรับทุกข้อมูลที่เจ้าภาพต้องการจะให้รับรู้ ระหว่างการแสดง บางคนก็เชื่อมั่นถึงกับนำไปขยายความต่อดังบทความที่ผมแปลมาให้อ่าน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 172 เมื่อ 06 เม.ย. 11, 21:13
|
|
ผลทางการเมืองระหว่างประเทศที่เขมรได้รับในทางอ้อมก็เป็นไปอย่างน่าพอใจ ดูเหมือนเขมรจะได้ทุกสิ่งทุกอย่างตามความต้องการ แต่การเมืองในประเทศกลับไม่เข้าใครออกใคร ในที่สุดเจ้าสีหนุ(เรียกแบบไทยๆ)ที่พยายามจะรวบอำนาจการปกครองไว้ภายใต้พระองค์เพียงผู้เดียวก็โดนทหาร โดยนายพลลอนนอลปฏิวัติด้วยข้อกล่าวหาว่าพระองค์บ้าๆบอๆ อะไรทำนองนี้ ถ้าใครสูงวัยพอที่จะเคยเห็นหนังข่าวเกี่ยวกับเจ้าสีหนุสมัยหนุ่มๆ จะเห็นพระกิริยาท่าทางของพระองค์เสมือนนักแสดง ทั้งการจีบปากจีบคอพูดและท่าทางประกอบ ดูรุกรี้รุกรนชอบกลอยู่ ผมจำได้คลับคล้ายคลับคลา ได้ดูหนังข่าวของยูซิสเรื่องหนึ่งที่โรงเรียนฉายให้ดูประมาณปีสองพันห้าร้อยต้นๆ เรื่องพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญที่รื้อฟิ้นขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงพนมเปญ ครั้งนั้นพระโคตื่นคน วิ่งเตลิดเอาไม่อยู่ ในที่สุดต้องใช้พวกข้าราชการมาช่วยกันลากคันไถแทน เจ้าสีหนุก็เลยทรงนอกบท ถอดฉลองพระองค์ชั้นนอกออก เหลือแต่เสื้อกล้าม เสด็จลงมาจับคันไถเอง เดินลุยโคลนยิ้มโบกมือโบกไม้กับประชาชนเบิกบาน คนเขมรชอบอกชอบใจกันใหญ่ แต่ดูแล้วก็เหมือนนักการเมืองไทยกำลังหาเสียงอย่างไงอย่างงั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 173 เมื่อ 06 เม.ย. 11, 21:34
|
|
จำได้ว่ามีคำถามกวน ๆ ที่เด็กถามกันอยู่คำถามหนึ่ง ถาม : สีอะไรคนไทยเกลียดที่สุด ตอบ : ก็สีข้างบนที่คุณนวรัตนพูดถึงนั่นแหละ เหตุผล : กรณีปราสาทเขาพระวิหาร 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 174 เมื่อ 06 เม.ย. 11, 21:36
|
|
เจ้าสีหนุเสด็จหนีไปตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นอยู่ที่เมืองจีน เขมรเริ่มเข้าสู่กลียุค
ไม่นานเขมรแดงก็เริ่มก่อหวอดและใหญ่ขึ้น รัฐบาลลอนนอลไม่อาจต้านทานได้ ในที่สุดเขมรแตก สงครามล้างเผ่าพันธุ์ระหว่างคนเขมรด้วยกันถึงจุดเดือด เขมรแดงทำลายศิลปวัฒนธรรมของชาติหมดสิ้น ฆ่าเพื่อนร่วมแผ่นดินที่มิใช่ฝ่ายตนไปเป็นล้าน ประชาชนชาวเขมรนับแสนคนหนีตายทะลักเข้าไทยตลอดแนวชายแดน สหประชาชาติต้องมาเปิดค่ายผู้อพยพในแผ่นดินไทยให้ชาวเขมรได้พำนักอยู่หลายปี
ในค่ายผู้อพยพเขาอีด่าง อำเภออรัญประเทศ อันเป็นค่ายใหญ่ที่สุดมีคนเขมรรวมกันอยู่หลายหมื่น พวกเขาพยายามดำรงชาติให้อยู่ต่อไปด้วยการสอนภาษาเขมร และถ่ายทอดวัฒนธรรมให้เด็กๆ ที่นั่น พระนางบุปผาเทวี ในสภาพที่ไม่ต่างกับชาวบ้าน ได้อุทิศเวลาทั้งหมด ถ่ายทอดวิชาการละครให้กับเยาวชนอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 175 เมื่อ 06 เม.ย. 11, 21:48
|
|
ขอแทรกนิดครับ เมื่อสองปีที่ผ่านมา กษัตริย์นโรดมสีหมุนี พร้อมด้วยองค์หญิง บุปผา เทวี เสด็จไปยังโรงละครเพื่อชมการแสดงของ Sam Savin และเหล่านักแสดงครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 176 เมื่อ 06 เม.ย. 11, 22:00
|
|
จะว่าไป กษัตริย์เขมรแทบทุกพระองค์ทรงมีเลือดศิลปินการลครเข้มข้น สมเด็จนโรดมสีหมุนีก็เป็นนักบัลเลต์เก่า เรื่องระบำรำฟ้อนละก็ ทรงโปรดมาก
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 177 เมื่อ 06 เม.ย. 11, 22:12
|
|
เกิดไม่ทันเจ้าสีหนุตอนท่านยังทรงหนุ่มอยู่ มาเห็นในยูทูปก็รู้สึกว่าท่านทรงหล่อพอเป็นพระเอกได้ แต่เมื่อดิฉันโตเรียนชั้นมัธยม เจ้าสีหนุอยู่ในวัยกลางคนแล้ว พระวรกายสมบูรณ์ เลยดูว่าท่านอ้วนเตี้ย แต่กระฉับกระเฉงรวดเร็วแบบ hyperactive อย่างที่ท่าน NAVARAT เรียกว่าลุกลี้ลุกลนน่ะใช่เลย เวลาเสด็จมาพบคนสำคัญทางฝ่ายไทย กล้องทีวีจับเห็นท่านทักทายแบบฝรั่งเศส คือจับไหล่และจุ๊บแก้มผู้ชายด้วยกัน แต่ก็มีหลายครั้งท่านก็เขย่ามือแรงๆหลายครั้งกว่าจะปล่อย หน้าตายิ้มแป้นดีอกดีใจ ท่านไม่ใช่คนวางฟอร์ม ดูเป็นกันเองเอามากๆ ไม่เคยเห็นประมุขชาติไหนที่มีบุคลิกซ้ำกับท่าน ส่วนใหญ่จะวางภูมิให้รู้ว่าฉันใหญ่ เจ้าสีหนุเป็นประมุขของต่างชาติที่คนไทยเห็นบ่อยกว่าเพื่อน จำได้รางๆว่าท่านมาประเทศไทยหลายครั้ง ผู้ใหญ่เล่าว่าท่านเคยลี้ภัยการเมืองหรือว่าทรงหลบมากู้ชาติ หรืออะไรสักอย่างในประเทศไทยนี่เองก่อนจะกลับไปกัมพูชา แล้วก็มีเรื่องเสด็จมาเยือนในฐานะแขกเมืองหรือแขกรัฐบาล หลายครั้ง เมื่อเกิดกรณีเขาพระวิหาร ไทยเป็นฝ่ายแพ้ คนไทยเลยไม่ชอบท่าน แต่คนเขมรในยุคของท่านรักและเคารพท่านมาก ทราบมาว่าท่านทรงเป็นศิลปิน มีผลงานด้านแต่งเพลง เป็นที่นิยมในพนมเปญ คลิปนี้มีชื่อเป็นภาษาฝรั่งเศส แปลเป็นไทยว่า เก้าชีวิตของเจ้านโรดมสีหนุ ค่ะ เปิดดูไปก็จะเห็นลีลาและบุคลิกของท่าน ตั้งแต่หนุ่มจนแก่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 178 เมื่อ 06 เม.ย. 11, 22:16
|
|
ตัวจริงมากระแอ้มๆข้างหลืบหลายครั้งแล้ว ก่อนเข้าโรง เอาภาพค่ายเขมรอพยพที่เขาอีด่างมาให้ดู
คนเขมรก็ฆ่าเวลาด้วยการละเล่นพื้นบ้านตามถนัด ให้หายคิดถึงบ้าน โรงเรียนก็มีมากแห่ง บางแห่งก็สอนการร่ายรำที่ไม่เหมือนกับละครหลวงที่พระนางบุปผาเทวีทรงสอนเสียทีเดียว
คราวหน้า ผมจะสลับฉากว่า หลังนาฏศิลป์เขมรรอดพ้นจากการทำลายล้างของเขมรแดงแล้ว เขากลับขึ้นสู่เวทีโลกได้อีกอย่างไร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 179 เมื่อ 06 เม.ย. 11, 22:39
|
|
ความเชื่อในเรื่องการแต่งงานในตระกูลที่ใกล้ชิดกันของราชวงศ์กัมพูชาโดยสายเลือดนั้นก็เพื่อรักษาตระกูลของตนเองไว้ โดยราชนิกูลนโรดม หรือราชนิกูลศรีสวัสดิ์มักแต่งงานในราชนิกูลเดียวกัน แม้นายพลลอนนอล จะเคยตำหนิว่า “เจ้าสีหนุทรงเป็นบ้า” เพราะการแต่งงานในตระกูลที่ใกล้ชิดกัน แต่ก็มีนายแพทย์ประจำราชสำนัก (นายแพทย์อาร์มังค์ริช) ยืนยันตรงกันข้ามว่า กษัตริย์เขมรนั้นมีการเปลี่ยนสายเลือดใหม่ในตระกูลของพระองค์เพราะการรับเอาคนสามัญชนมาเป็นนางสนม “ข้าพเจ้าได้ใช้หลักนี้ แล้วเจ้าหญิงบุปผาเทวี พระธิดาของข้าพเจ้าก็เป็นผลผลิตของการที่ข้าพเจ้าได้จากนางสนมที่เป็นนางละครรำประจำราชสำนัก”พระบิดาของเจ้าสีหนุทรงเป็นครูดนตรีในราชสำนัก สามารถเล่นขลุ่ย แซ็คโซโฟน และเขียนโน้ตเพลงได้ ท่านชอบงานด้านบันเทิงศิลป์ แม้ว่าท่านปู่ (เจ้าชายสุธารส) ทรงเป็นนักปรัชญาฝ่ายพุทธศาสนา เป็นนักภาษา พระบิดาจึงอยากให้เจ้าสีหนุเรียนไวโอลิน “เพื่อให้วงออเคสตร้าน้อย ๆ ในครอบครัวได้ครบวง” แต่เจ้าสีหนุนั้นกลับชอบเล่นแซคโซโฟนและคลาริเนตมากกว่า ในราชสำนักกัมพูชาได้มีการรำละครหลวง โดยมีแบบอย่างการร้องรำและมีการนำครูละครรำมาจากราชอาณาจักรสยาม พระเจ้ามณีวงศ์ (คุณตา) จึงทรงแต่งบทเพลงบรรเลงประกอบละครหลวง เพื่อ “กลับทำให้เป็นเขมร”จากบล็อกของคุณศรีวิไล นิวัชระ http://www.oknation.net/blog/nn1234/2009/12/16/entry-1
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|