เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 59128 สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
LOFT
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


 เมื่อ 30 มี.ค. 11, 00:52

ไม่รู้เรียกถูกหรือเปล่า แต่ดูจากเอกสารเก่าตามในรูปแล้ว วันเดือนปี แบบนี้เราจะอ่านอย่างไร และมีหลักการเขียนได้อย่างไรครับอย่าง ข้างขึ้น ข้างแรม จะดูอย่างไร รบกวนด้วยครับ


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 30 มี.ค. 11, 07:45

อ่านว่า  วันพุธ  เดือนอ้าย  ขึ้น ๒ ค่ำ  ปีมะเส็ง  ตรีศก  จุลศักราช  ๑๒๙๓
วันพฤหัสบดี  เดือนอ้าย  ขึ้น ๓ ค่ำ  ปีมะเส็ง  ตรีศก  จุลศักราช  ๑๒๙๓
วันศุกร์  เดือนอ้าย  ขึ้น ๔ ค่ำ  ปีมะเส็ง  ตรีศก  จุลศักราช  ๑๒๙๓

หลักการอ่าน  เริ่มที่ตัวเลขตัวแรก ซึ่งแทนวันอาทิตย์ - วันเสาร์ 
๑ = วันอาทิตย์  ๒ = วันจันทร์ ๓ =  วันอังคาร = ๓  .....  วันเสาร์ = ๗

ตัวเลขถัดมาคือ  ตัวเลขถัดจากเครื่องหมาย ฯ  เป็นตัวเลขแทนเดือน
๑ = เดือนอ้าย  ๒ = เดือนยี่  ๓ = เดือน ๓ .......  ๑๒ = ดกือน ๑๒
แต่บางปีที่เป็นอธิกมาศ  ที่มีเดือนซ้ำกัน ๒ หน เช่นเดือน ๘ สองหน  ก็จะแทนค่าด้วย เลข ๘๘

คำอ่านค่ำที่สาม เป็นตัวเลขหมายข้างขึ้น ข้างแรม  ตัวเลขที่อยู่เหนือ ฯ อ่านว่า ข้างขึ้น  ตัวเลขใต้ ฯ อ่านว่าข้างแรม
ข้อสังเกต  วันข้างแรมเดือนคี่  คือ เดือนอ้าย  เดือนสาม  เดือนห้า ...  เดือนสิบเอ็ด  จะมเพียง ๑๔ วัน  ไม่มีแรม ๑๕ ค่ำ

ถัดมาคือ ปีนักษัตร  ชวด  ฉลู  ขาล  เถาะ......

ถัดมาเป็นตัวหนังสือกำกับศก เพื่อป้องกันความสับสนในการอ้างปีนักษัตร  ตัวเลขกำกับศกนี้จะตรงกับเลขตัวสุดท้ายในปีจุลศักราช  เช่น จุลศักราช ๑๒๔๓  ตรงกับปัมะโรง  มีตัวเลขสุดท้ายของปีจุลศักราชเป็นเลข ๓ เวลาเขียนก็จะใช้ว่า ปีมะโรง  ตรีศก  จุลศักราช ๑๒๔๓  ถ้าเป็นปีมะเส็ง  จุลศักราช ๑๒๔๔  ก็จะเขียนว่า ปีมะเส็ง  จัตวาศก  จุลศักราช ๑๒๔๔

หลักการเขียนศกกำกับปีนั้น คือ  ปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข
๐  เขียนว่า  สัมฤทธิศก
๑  เขียนว่า  เอกศก
๒  เขียนว่า  โทศก
๓  เขียนว่า  ตรีศก
๔  เขียนว่า  จัตวาศก
๕  เขียนว่า  เบญจศก
๖  เขียนว่า  ฉศฏ  (อ่าว่า ฉอ ศก)
๗  เขียนว่า  สัปตศก
๘  เขียนว่า  อัฐศก
๙  เขียนว่า  นพศก

บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 30 มี.ค. 11, 09:20

เรียนถามนะคะ  ยิงฟันยิ้ม

๑ = เดือนอ้าย  ๒ = เดือนยี่  ๓ = เดือน ๓...
ตรงกับเดือนในปัจจุบัน คือ ๑ = เดือนมกราคม ๒ = เดือนกุมภาพันธ์ ...หรือไม่คะ
แล้วปีที่เป็นอธิกมาศ มีเดือน ๘ สองหน จะให้ชื่อว่าเป็นเดือนสิงหาคม ซ้ำกัน ๒ เดือน เหรอคะ  ฮืม
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 30 มี.ค. 11, 09:28

เรียนถามนะคะ  ยิงฟันยิ้ม

๑ = เดือนอ้าย  ๒ = เดือนยี่  ๓ = เดือน ๓...
ตรงกับเดือนในปัจจุบัน คือ ๑ = เดือนมกราคม ๒ = เดือนกุมภาพันธ์ ...หรือไม่คะ
แล้วปีที่เป็นอธิกมาศ มีเดือน ๘ สองหน จะให้ชื่อว่าเป็นเดือนสิงหาคม ซ้ำกัน ๒ เดือน เหรอคะ  ฮืม

เดือนอ้ายนั้น ไม่ตรงกับเดือนมกราคมหรอกครับ
ปกติจะเริ่มประมาณปลายเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม แล้วแต่ปี ไม่ตรงกันเสมอไป

ตัวอย่างก็เช่นวันลอยกระทง
ที่เราพูดกันว่า "วันเพ็ญเดือน 12" ก็ไม่เห็นจะเป็นเดือนธันวาคม แต่กลับกลายเป็นกลางเดือนพฤศจิกายนไปซะนี่

วันทางจันทรคติ กับสุริยคติ ทับลายกันอยู่เสมอๆ ยิงฟันยิ้ม

ส่วนอธิกมาศนั้น ปกติถ้าใช้กันเป็นวันทางจันทรคติแล้ว ก็นิยมเขียนเดือนเป็นตัวเลขมากกว่า
คือ เดือน 8-8 จึงไม่ค่อยมีปัญหาว่าเทียบกับสุริยคติแล้ว จะเขียนชื่อเดือน 8 อย่างไร
จึงไม่มี "เดือนสิงหาคม 2 หน" อย่างที่คุณดีดีสงสัยครับ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 30 มี.ค. 11, 09:38

เดือนอ้ายนั้น ไม่ตรงกับเดือนมกราคมหรอกครับ
ปกติจะเริ่มประมาณปลายเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม แล้วแต่ปี ไม่ตรงกันเสมอไป

ตามปฏิทินจันทรคติไทย เดือน ๑ หรือเดือนอ้ายมักเริ่มในเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม มี ๒๙ วัน คือ ตั้งแต่ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑ ถึงแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑ มีช่วงเวลาดังนี้

๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ - ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘
๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ - ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ - ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑
๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๑ - ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑


 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 30 มี.ค. 11, 10:37

อีกอย่างนะครับ ยิงฟันยิ้ม

โบราณท่านเรียกเดือนแปดแรกว่า "เดือนแปดบูรพาษาฒ"
     ส่วนเดือนแปดหลังนั้นเรียกว่า "เดือนแปดทุติยาสาฬห"
บันทึกการเข้า
ธีร์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 54



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 30 มี.ค. 11, 11:09

ส่วนเดือนแปดหลังนั้นเรียกว่า "เดือนแปดทุติยาสาฬห"  เรียนถามคุณ art47 ว่าอ่านแบบนี้อยู่ในหนังสืออะไรครับ (อยากจะเก็บข้อมูลครับ)

เพราะที่เคยเจอมีหลายแบบ แต่ถ้าแบบของ คุณหลวงวิศาลดรุณกร (อั้น สาริกบุตร) ท่านจะต้องอ่านว่า " เดือนแปด อุตราสาฬห " ตามชื่อฤกษ์ ทั้ง

27 ดาวฤกษ์ครับ
บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 30 มี.ค. 11, 11:12

     คุณ DD กำลังสับสนน่ะครับ   คติไทย ไม่มีการเรียกชื่อเดือน มกราคม-ธันวาคม นะครับ นั่นเป็นของสากลเขาที่เรานำมาใช้ต่างหาก
     ระบบสุริยคติคำนวณจาก ดวงอาทิตย์โคจรรอบโลก 1 ปี กินเวลา 365.25875 วัน  แต่ระบบจันทรคติคำนวณจาก ดวงจันทร์โคจร
รอบโลก 1 ปี (12 เดือน) กินเวลา 354.367056 วัน  ปีหนึ่งจึงต่างกัน 10 วันเศษ  ดังนั้นเมื่อครบ 30 วัน (ราว 3 ปี) จึงเพิ่มเดือน 8
เข้าไป  ปีนั้นจึงมีเดือน 8 สองหน เป็นปี "อธิกมาส" (มี 13 เดือนทางจันทรคติ) เดือน 8 แรก จะแทนด้วยเลข 8 ตัวเดียว  ส่วนเดือน 8
หลังจะแทนด้วยเลข 8 ซ้อนกัน หรือ 8-8 หรือ 88
บันทึกการเข้า
Bhanumet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 199


Sleeping Red Lion


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 30 มี.ค. 11, 11:23

บุรพ (สันสกฤต) บุพพ (บาลี) แปลว่า ก่อน, แรก
อาษาฒ (สันสกฤต) อาสาฬห (บาลี) คือ เดือนแปด  (ตามชื่อฤกษ์)

 บุรพาษาฒ (สันสกฤต) บุพพาสาฬห (บาลี) คือ เดือนแปด (อาสาฬห) แรก (บุพพ)


ทุติย แปลว่า ที่สอง

ทุติยาสาฬห แปลว่า เดือนแปด (อาสาฬห) หน (ครั้งที่) สอง (ทุติย)
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 30 มี.ค. 11, 11:24

ร่วมด้วยช่วยอธิบาย

ดวงจันทร์โคจรรอบโลกครั้งหนึ่งใช้เวลา ๒๙ วันครึ่ง ดังนั้นจึงต้องนับ ๕๙ วัน เป็นสองเดือน คือให้นับเดือนคี่มี ๒๙ วัน และเดือนคู่มี ๓๐ วัน (เดือนคี่ บางทีเรียกว่าเดือนขาด ได้แก่เดือน ๑, ๓, ๕, ๗, ๙, ๑๑ ส่วนเดือนคู่หรือเดือนเต็ม ได้แก่เดือน ๒, ๔, ๖, ๘, ๑๐, ๑๒ ) โดยระบบนี้เดือนคี่จึงเป็นเดือนต้น เดือนคู่เป็นเดือนรองถัดไป สลับกันจนครบรอบ (๑๒ เดือน) แล้วเริ่มต้นใหม่ เมื่อนับวันกันจริง ๆ ปีจันทรคติ จึงมีเพียง ๓๕๔ วัน ซึ่งมีการเพิ่มวัน เรียกว่า อธิกวาร ดังนันปีจันทรคติปรกติมี ๓๕๔ วัน ปีมีอธิกวาร มี ๓๕๕ วัน อธิกวาร คือวันเพิ่มในเดือน ๗ อีก ๑ วัน มีแรม ๑๕ ค่ำ หรือข้างแรม ๑๕ วัน จึงเป็นเดือนเต็ม (มี ๓๐ วัน) จัดเป็นเดือนพิเศษ  ถ้าเป็นปีอธิกมาศ จะมี ๓๘๔  อธิกมาส คือ เดือนเพิ่ม หมายถึงการมีเดือนเพิ่มอีก ๑ เดือน ในปีนั้น ๆ (อธิกมาส) จึงมีเดือน ๑๓ กล่าวคือ เมื่อถึงแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ แล้วจะมีเดือน ๘ อีกครั้งหนึ่ง เรียกว่าเดือน ๘ สอง ๘ (เดือน ๘ สองเดือน ๘ หน้า ๘ หลัง)

เหตุที่เกิดอธิกวาร (วันเพิ่ม) และอธิกมาส (เดือนเพิ่ม) เนื่องจากในจันทรคติ ปีหนึ่งมี ๑๒ เดือนก็จริง แต่มีจำนวนวัน ๓๕๔ วัน  แม้ดวงจันทร์โคจรรอบโลกแล้ว ๑๒ ครั้ง คือ ๑๒ เดือน แต่โลกยังไม่ได้โคจรไปรอบปริมณฑลองศาของดวงอาทิตย์ครบ ๑๒ ราศี หรือ ๓๖๐ องศา ถ้าเทียบกับปีสุริยคติปรกติ ซี่งมี ๓๖๕ วัน  ปีจันทรคติปรกติจะมีวันน้อยกว่าปีสุริยคติถึงปีละ ๑๑วัน ภายในเวลาสามปีเวลาจะเหลื่อมกันถึงหนึ่งเดือนกว่า อันเป็นสาเหตุให้ฤดูกาลต่าง ๆ ไม่อยู่ในกำหนดเวลาที่เป็นจริง เช่น เดือน ๕ (เมษายน) เป็นเดือนร้อนจัด ถ้าปล่อยให้เหลื่อมเวลาต่อไปเรื่อย ๆ  หน้าร้อนอาจตรงกับเดือนพฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม ฯลฯ ก็ได้ ดังนั้นเพื่อรักษาสภาพธรรมดาโลก ให้ปีเดือนทางจันทรคติทันกับสุริยคติจึงต้องเพิ่มเดือนคือเดือน ๘ ขึ้นอีกหนึ่งเดือน ในปีที่ ๒ บ้างที่ ๓ บ้าง ในปีที่เพิ่มจึงมี ๑๓ เดือน เรียกตามศัพท์ว่า อธิกมาส ในปฏิทินเขียนเดือนแปดที่เพิ่มมาเป็น ๘ ๘ หรือ 8 8 หรือ อาจจะเขียน ๘,๘ หรือ 8.8

เดือนในจันทรคติมีสองช่วงหรือ ๒ ปักษ์ (ช่วง หรือปักษ์ละ ๑๕ วัน) คือข้างขึ้นและข้างแรม  

ข้างขึ้น   เรียกตามศัพท์ว่า ชุณหปักษ์ หรือชุษณปักษ์ หรือศุกลปักษ์ เป็นต้น เดือนหนึ่งมี ๑๕ วัน ใช้ตัวย่อว่า ข.

ข้างแรม เรียกตามศัพท์ กาฬปักษ์นับเป็นปลายเดือนใช้ตัวย่อว่า ร. ข้างแรมนี้มีข้อสังเกตคือ ถ้าเป็นเดือนคู่ จะมี ๑๕ วัน (มีถึงแรม ๑๕ ค่ำ) แต่ถ้าเป็นเดือนคี่จะมีเพียง ๑๔ วัน (มีเพียงถึงแรม ๑๔ ค่ำ) เท่านั้นด้วยเหตุนี้เดือนคี่จึงมักเรียกกันว่า เดือนขาดเป็นการบอกให้รู้ในตัวว่า ข้างแรมมีเพียง ๑๔ วัน   นอกจากเดือน ๗ ที่เป็นอธิกวารจึงมีแรม ๑๕ ค่ำ

ที่มา :  สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 30 มี.ค. 11, 11:28

ส่วนเดือนแปดหลังนั้นเรียกว่า "เดือนแปดทุติยาสาฬห"  เรียนถามคุณ art47 ว่าอ่านแบบนี้อยู่ในหนังสืออะไรครับ (อยากจะเก็บข้อมูลครับ)

เพราะที่เคยเจอมีหลายแบบ แต่ถ้าแบบของ คุณหลวงวิศาลดรุณกร (อั้น สาริกบุตร) ท่านจะต้องอ่านว่า " เดือนแปด อุตราสาฬห " ตามชื่อฤกษ์ ทั้ง

27 ดาวฤกษ์ครับ

คำว่า "ทุติยาสาฬหะ" นี้
มีอยู่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานครับ
มาจากคำภาษามคธว่า ทุตย + อาสาฬหะ

พบได้ในเอกสารโบราณ เช่น
จดหมายเหตุเมืองถลางและหัวเมืองปักษ์ใต้ สมัยกรุงธนบุรี เรื่องกปิตันมังกูขายปืน (ต้นฉบับของศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต)
"กฎหมายให้ไว้ ณ วันศุกร์ เดือนแปด ทุตวิยลาด ขึ้นเจ็ดค่ำ ปีระกา นพศก"
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 30 มี.ค. 11, 11:30

การเรียกชื่อเดือนมีอีกวิธีหนึ่งคือโดยเรียกตามตำแหน่งดวงจันทร์ กับกลุ่มดาวฤกษ์ ๑๒ กลุ่ม  คือ พระจันทร์เต็มดวง ณ ตำแหน่งกลุ่มดาวใด ก็จะนำชื่อกลุ่มดาวนั้นมาเป็นชื่อเดือน(คำว่า "มาส" แปลว่า เดือน)

เดือนอ้าย เรียก มิคสิรมาส มิคสิระมาส มิคเศียรมาส มฤคศิรมาส มฤคศิรษมาส พระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ที่ ๕ คือ มฤคศิระ มฤคศีรษะ หรือ มิคสิระ (ดาวหัวเนื้อ)

เดือนยี่ เรียกว่าบุษยมาส ปุสสะมาส ปุษยมาส พระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ที่ ๘ คือ บุษยะ ปุสสะ หรือปุษยะ หรือสิธยะ (ดาวปุยฝ้ายหรือดาวสมอสำเภา)

เดือนสาม เรียก มาฆะ (ดาวแข้งม้า ดาวถัง ดาวงอนไถ หรือดาวงูผู้)

เดือนสี่  เรียก ผัคคุณมาส ผัคคุณะมาส พระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ที่ ๑๑ – ๑๒ คือ ผัคคุณี เรียกเต็ม ๆ ว่า บุรพผลคุณี (ดาวงูเมีย) และอุตรผลคุณี (ดาวเพดาน)

เดือนห้า เรียกว่า จิตมาส, จิตตมาส, จิตตะมาส หรือจิตรมาส พระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ที่ ๑๔ คือ จิตตะ หรือจิตรา (ดาวจระเข้ หรือดาวหมู)

เดือนหก เรียกว่า วิสาขมาส วิสาขะมาส ไพศาขมาส พระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ที่ ๑๖ คือ วิศาขา (ดาวคันฉัตร ดาวเขากระบือ หรือดาวแขนนาง)

เดือนเจ็ด  เรียก เชษฐมาส เชฏฐมาส เชฏฐะมาส พระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ที่ ๑๘ คือ เชษฐา, เชฏฐา (ดาวแพะหรือดาวช้างใหญ่)

เดือนแปด  เรียก อาษาฒมาส หรืออาสาฬหมาส พระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ที่ ๒๐ – ๒๑ คืออาษาฒะหรืออาสาฬหะ เรียกเต็มอีกแบบหนึ่งว่า บุรพาษาฒและอุตราษาฒ (ดาวสัปคับช้าง ดาวแตรงอนหรือดาวแรด)

เดือนเก้า เรียก สาวนมาส หรือ ศราวณมาส พระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ที่ ๒๒ คือ สาวนะ หรือ ศราวะณะ (ดาวหลักชัยหรือดาวคนฟังธรรมจำศีล)

เดือนสิบ  เรียกภัทรบทมาส ภัททปะทะมาส พระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ที่ ๒๕-๒๖ คือภัทรปทา หรือภัทรบท (ดาวราชสีห์)

เดือนสิบเอ็ด เรียก อัสสยุชะมาส อัสยุชมาส อัศวยุชมาส พระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ที่ ๑ คือ อัสสยุชะ อัสวนี หรืออัสวยุช (ดาวม้า)

เดือนสิบสอง  เรียก กิตติกะมาส กัตติกมาส กัตติกามาส หรือ กฤติกามาส พระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ที่ ๓ กัตติกา กฤตติกา หรือ กฤติกา (ดาวลูกไก่หรือดาวธงสามเหลี่ยม)


ที่มา :  สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

http://www.culture.go.th/knowledge/story/vid/newyear/vid.html
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 30 มี.ค. 11, 12:16

ขอบพระคุณค่ะ สำหรับทุกคำตอบ...
เข้าใจมากขึ้นค่ะ แต่ยังมีงงอยู่บ้าง คงต้องใชเเวลาทำความเข้าใจอีกนานเลยค่ะ...ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
ธีร์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 54



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 30 มี.ค. 11, 13:09

ขอบคุณๆ art47 และ คุณ Bhanumet   ยิ้ม ครับ แถมได้ความรู้ใหม่จากโหรสายใต้ ซึ่งหาตำรายากมากกกก ครับ ขนาดให้คนที่อยู่ทางใต้หาเองยัง

ยาก

ขออนุญาติเสริมท่านอาจารย์เพ็ญชมภูหน่อยนะครับ  ดาวฤกษ์ไทยมี 27 กลุ่มดาวฤกษ์ไทยเราใช้นับแบบเป็นช่วงหรือคาบ ทำให้มีแค่ 27 กลุ่ม ส่วน

ของจีนมี 28 กลุ่ม นับที่กลุ่มดาวครับ  ส่วนที่ท่านอาจารย์เพ็ญชมภู บอกว่ามี 12 กลุ่มดาวเพราะท่านนับจากดาวจันทร์ครบรอบ 1 เดือนคือตั้งแต่ขึ้น ๑

ค่ำ ถึงแรม ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำตามแต่ละเดือน

ของไทยมีเดือนซ้ำกันแค่เดือน ๘ เดือนเดียวส่วนของจีนนั้นแล้วแต่ปีว่าจะซ้ำกันเดือนใดก็อยู่ที่การคำนวณครับ
บันทึกการเข้า
Bhanumet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 199


Sleeping Red Lion


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 30 มี.ค. 11, 13:59

บุรพ (สันสกฤต) บุพพ (บาลี) แปลว่า ก่อน, แรก
อาษาฒ (สันสกฤต) อาสาฬห (บาลี) คือ เดือนแปด  (ตามชื่อฤกษ์)

 บุรพาษาฒ (สันสกฤต) บุพพาสาฬห (บาลี) คือ เดือนแปด (อาสาฬห) แรก (บุพพ)


ทุติย แปลว่า ที่สอง

ทุติยาสาฬห แปลว่า เดือนแปด (อาสาฬห) หน (ครั้งที่) สอง (ทุติย)

ขอแก้ศัพท์เล็กน้อยครับ แหะ ๆ

บูรพ, ปูรพ (ปูรฺว) - สันสกฤต ไม่ใช่ บุรพ (แต่ไทยแผลงมาใช้ บุรพ)
ส่วนบาลี ถูกต้องแล้ว คือ บุพพ (ปุพฺพ)

บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 20 คำสั่ง