เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 7452 ประวัติศาตร์แผ่นดินไหวที่เชียงราย
nokki
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


 เมื่อ 26 มี.ค. 11, 15:41

แผ่นดินไหวที่เชียงราย ที่ผ่านมาถึง 6.8 ริกเตอร์ที่ผ่านมา ทำให้นักโบราณคดีชาวบ้านแบบผมกลับไปค้นคว้าประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงราย และก็ได้พบว่า ในแถบนี้สมัยโบราณกว่า 700 ปีมาแล้วก็ยังได้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใญ่มาแล้วหลายครั้ง การบันทึกประวัติศาสตร์ในสมัยก่อน คุณพ่อผม ได้เคยบอกเล่าไว้ว่า การจะสืบค้นประวัติศาสตร์เก่าๆให้ตามดูตำนาน หรือเรื่องเล่า เพราะเป็นหนึ่งในการบันทึกประวัติศาตร์ในรูปแบบเรื่องเล่า เช่นประวัติเมืองเชียงแสน (ทิศเหนือของ อ.เมืองเชียงราย)

เวียงหนองหล่ม ตั้งอยู่ที่เขตติดต่อระหว่างตำบลโยนก อำเภอเชียงแสน กับตำบลจันจว้าอำเภอแม่จัน จากหลักฐานที่ได้จากการสำรวจ สันนิษฐานว่าอยู่ระหว่างยุคหินใหม่ ถึงไม่เกินพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ตำนานและพงศาวดารหลายเล่มกล่าวตรงกันว่า เจ้าชายสิงหนวัติ พาผู้คนมาหาที่ตั้งเมือง พอมาถึงแม่น้ำโขง ก็พบนาคจำแลงเป็นชายมาบอกสถานที่สร้างเมือง จึงตั้งเมืองโยนกนาคพันสิงหนวัติ โดยเอาชื่อองค์ผู้สร้างเมืองรวมกับชื่อนาค หรือโยนกนครหลวง
มีกษัตริย์ปกครองสืบจนถึงสมัยพระเจ้ามหาไชยชนะ ผู้คนจับปลาไหลเผือกได้ที่แม่น้ำกก จึงนำมาแบ่งกันกินทั่วเมือง เว้นแต่หญิงม่ายนางหนึ่งไม่มีลูกหลานไม่มีใครให้กิน ตกกลางคืนเกิดแผ่นดินไหว เมืองถล่มลงเหลือแต่บริเวณบ้านของหญิงม่ายจึงเรียกน้ำนั้นว่าเกาะแม่ม่าย และเรียกเมืองนั้นว่าเวียงหนองล่ม หรือเวียงหนอง จากโครงการอนุรักษ์เมืองโบราณและประวัติศาสตร์เชียงแสน มีการสำรวจพื้นที่ของเวียงหนองล่มหลายครั้ง
เกาะดอนแท่น หรือเกาะหลวง เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่มีความคลุมเครือในเรื่องสถานที่ตั้ง แต่มีปรากฏในตำนานและพงศาวดารหลายเล่ม ต่างกล่าวตรงกันว่า เมื่อพระเจ้าแสนภูสร้างเมืองเชียงแสน ทรงประทับอยู่ในวังบนเกาะดอนแท่นที่บริเวณหน้าเมืองเชียงแสน จนสวรรคต และตั้งพระบรมศพบนเกาะดอนแท่นระยะหนึ่ง นอกจากนี้ เกาะดอนแท่นยังมีความสำคัญในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาด้วย กล่าวคือ สมัยพระเจ้ากือนาครองเมืองเชียงใหม่ ทรงนำพระสีหลปฏิมาทำพิธีอภิเษกพระบนเกาะดอนแท่น แล้วนำไปประดิษฐานไว้ ณ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงราย ราวพ . ศ . ๑๙๒๖ พระมหาเถรเจ้าศิริวังโนำเอาพระพุทธรูปสององค์ เรียกว่า พระแก้วและพระคำ มาสร้างเป็นวัดพระแก้ว และวัดพระคำบนเกาะดอนแท่น สมัยพระเจ้าอติโลกราช ทรงให้ร้อยขุนกับสิบอ้านนิมนต์พระพุทธรูปพระเจ้าทองทิพย์องค์หนึ่งจากจอมทอง เมืองเชียงใหม่ ที่เอามาจากเมืองลังกา มาประดิษฐานไว้ที่เกาะดอนแท่น พร้อมทั้งปลูกต้นโพธิ์ไว้ด้วยและเป็นที่เคารพสักการะของชาวเชียงแสนต่อมา เกาะดอนแท่นพังทลายลงในแม่น้ำโขงเมื่อใดไม่มีผู้ใดทราบ เนื่องจากเมืองเชียงแสนร้างไปตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ถึงรัชกาลที่ ๕ จึงฟื้นฟูขึ้นมาเป็นบ้านเมืองอีกครั้ง ส่วนพระแก้วพระคำนั้นมีผู้สันนิษฐานว่า พระแก้วนั้นอาจจะไปอยู่กับผู้อพยพชาวไทยยวนเมืองเชียงแสน ไปอยู่ที่เมืองลำปาง สำหรับพระคำไม่มีปรากฏว่าไปอยู่ที่ใด เคยมีการสำรวจหาที่ตั้งของเกาะดอนแท่นหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จเนื่องจากกระแสน้ำเชี่ยวกราก น้ำเย็นจัด ประกอบทัศนวิสัยใต้น้ำของแม่น้ำโขงเท่ากับศูนย์ ไม่สามารถมองเห็นใต้น้ำด้วยตาเปล่า จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการสำรวจหาที่ตั้งของเกาะดอนแท่นอย่างเป็นทางการ เนื่องจากแม่น้ำโขงเป็นเส้นทางแบ่งพรมแดนธรรมชาติระหว่างไทย - ลาว เมื่อมิได้มีการขออนุญาตอย่างเป็นทางการ การสำรวจไม่สามารถกระทำได้ เพราะจะกระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ


บันทึกการเข้า
nokki
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 26 มี.ค. 11, 15:42

การเกิดแผ่นดินไหวที่เชียงรายนั้น น่าจะเกิดต่อเนื่องกันมานาน จากรายงานการสำรวจชั้นดินและหินของสำนักงานธรณีวิทยาที่ผ่านมาโดยโครงสร้างของพื้นที่ ซึ่งมีรอยพับย่นของแผ่นดินอยู่ทั่วไป ภาคเหนือจึงเป็นพื้นที่ซึ่งเต็มไปด้วยภูเขาเกือบทั้งภาค ภูเขาเหล่านี้มีแนวทอดยาวจากเหนือลงมาใต้ และมีบ้างเป็นบางแห่งที่เป็นแนว จากตะวันตกไปตะวันออก ทิวเขาดังกล่าวเหล่านี้พอจะแบ่งออกได้เป็น ๖ ทิวด้วยกัน คือ
ทิวเขาแดนลาว อยู่ตอนเหนือสุด จากชื่อของภูเขา สันนิษฐานว่า เดิมคงจะเป็นทิวเขาที่เป็นพรมแดนระหว่างละว้ากับไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๑๔๐๐
ทิวเขาแดนลาว เป็นทิวเขาเหนือสุดของประเทศไทย เป็นทิวเขาใหญ่ มีทิศทางส่วนใหญ่ทอดตัวจากด้านทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่แผ่ไปทางเหนือในรัฐฉาน และทางใต้ในดินแดนไทย อาการแผ่ของทิวเขานี้มีลักษณะเป็นแนวแขนงหลายแนว มีทิศทางจากเหนือลงใต้ ทิวเขานี้ใช้แนวสันเขาเป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับรัฐฉานของพม่า เริ่มจาก ลำน้ำแม่สาย ในเขตจังหวัดเชียงราย เป็นทิวทอดตัวไปทางตะวันตก ตามเขตจังหวัดเชียงใหม่ แล้ววกลงทางใต้ ตามเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ไปสุดที่ ลำน้ำปาย ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตกับทิวเขาถนนธงชัย

ทิวเขานี้มีช่องเขาที่เคยใช้เป็น ทางเดินทัพในสมัยโบราณ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เคยยกทัพไปทำสงครามกับพม่า และไปสวรรคตที่เมืองห้างหลวงในรัฐเมืองพาน และในสงครามมหาเอเซียบูรพา กองพลที่ ๒ ก็ได้เดินทัพรุกออกไปทางช่องทางนี้
ทิวเขานี้ประกอบด้วยยอดเขาต่าง ๆ อยู่เป็นจำนวนมากที่สำคัญพอประมวลได้ดังนี้
ดอยตุง สูง ๑๙๒๘ เมตร อยู่ในเขตอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
ดอยสามเส้า สูง ๑๖๗๓ เมตร อยู่ในเขตอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
ดอยช้าง สูง ๑๗๙๕ เมตร อยู่ในเขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
ดอยผ้าห่มปก สูง ๒๒๙๗ เมตร อยู่ในเขาอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
ดอยเชียงดาว สูง ๒๑๘๕ เมตร อยู่ในเขตอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่


ที่เห็นไกลๆๆคือเกาะแม่ม่ายนะครับ


บันทึกการเข้า
nokki
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 26 มี.ค. 11, 15:43

และโดยเหตุนี้กระมังครับที่กว่า 700 ปีมาแล้ว นักสร้างเมืองอย่าง พ่อขุนเม็งรายมหาราชจึงได้ทำการย้ายเมืองถึง 3 ครั้งกล่าวคือ เชียงราย เวียงกุมภกาม และ เชียงใหม่ในที่สุด


บันทึกการเข้า
nokki
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 26 มี.ค. 11, 15:45

ผิดพลาดประการใดพี่ช่วยชี้แนะด้วยนะครับ  มือใหม่แต่บ้านอยู่ในที่เกิดเหตุครับ
บันทึกการเข้า
chatchawan
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 26 มี.ค. 11, 17:15

ผมก็เชื้อสายคนเชียงรายเหมือนกันครับ
บันทึกการเข้า
kui045
มัจฉานุ
**
ตอบ: 94


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 27 มี.ค. 11, 16:06

นึกถึงเหตุการณ์กรณี เศียรพระพุทธรูปทองคำ ที่จมอยู่ใน ลำน้ำโขง
ไม่แน่ใจพระนามว่า พระเจ้าตนหลวงหรือเปล่า

ถ้าจำไม่ผิดก็เนื่องจากแผ่นดินไหวเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
pathuma
ชมพูพาน
***
ตอบ: 110


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 27 มี.ค. 11, 17:40

 ดู ทีวี ช่อง 9 เมื่อค่ำวันที่ 25 มีนาคม 2554 คุณ สมิทธ ธรรมสโรช ประธานอำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้พูดถึงเรื่องแผ่นดินไหวในภาคเหนือว่า ในปี พ.ศ. 2003 เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ที่เชียงแสนและพูดต่อว่าตรงกว๊านพะเยานั้นเกิดจากแผ่นดินไหวทำให้ดินยุบตัวลงไปกลายเป็นกว๊านพะเยา
บันทึกการเข้า
pathuma
ชมพูพาน
***
ตอบ: 110


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 27 มี.ค. 11, 20:29

ในพระราชพงศวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ มีการบันทึก เหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทยครั้งโบราณไว้ดังนี้
   ศักราช 887 ระกาศก (พ.ศ.2068) น้ำน้อย ข้าวเสียสิ้นทั้งปวง อนึ่งแผ่นดินไหวทุกเมือง แล้วเกิดอุบาทว์เป็นหลายประการ…….
   ศักราช 908 มะเมียศก(พ.ศ.2089) .......จึงสมเด็จพระเจ้ายอดฟ้าพระราชกุมารท่านเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยา  ในปีนั้นแผ่นดินไหว
     ศักราช 946 วอกศก(พ.ศ.2127)........เสด็จออกตั้งทัพชัยตำตำบลวัดยม ท้ายเมืองกำแพงเพชร ในวันนั้นแผ่นดินไหว
   ศักราช 950 ชวดศก(พ.ศ.2131) ณ วันจันทร์ แรม 8 ค่ำ เดือน 12 แผ่นดินไหว
   ศักราช 951 ฉลูศก(พ.ศ.2132) ......ณ วันศุกร์ แรม 7 ค่ำ เดือน 2 แผ่นดินไหว
บันทึกการเข้า
chatchawan
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 27 มี.ค. 11, 22:01

ใช่ครับ พระเจ้าตนหลวง ครับที่จมน้ำ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 27 มี.ค. 11, 22:24

น่าจะลองตรวจสอบสภาพโบราณสถานที่เมืองเชียงแสนว่าเสียหายแค่ไหน เห็นข่าวว่าพระธาตุเจดีย์หลวงหัก คงมีอีกหลายองค์ที่ชำรุดเช่นกันครับ
บันทึกการเข้า
nokki
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 28 มี.ค. 11, 11:34

เจดีย์เก่าตกสำรวจตามวัดร้างบ้านนอกอย่างแถวอ.ป่าแดดและสันมะเค็ดเยอะนะครับ ลองตราวจสอบที
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 19:41

เชียงแสนเป็นแหล่งอารยะธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองไทย เต็มไปด้วยงานช่างและศิลปะชั้นเลิศหลายแขนง
ยกตัวอย่างเช่น งานหล่อโลหะ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 19:48

และสมบัติชิ้นสำคัญที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด ก็คืองานปูนปั้นที่วัดป่าสัก
ประเทศไทยแม้ไม่ได้ตั้งอยู่บนรอยเลื่อนทวีปแต่ก็มีรอยเลื่อน ที่มีลักษณะคล้ายรอยร้าวหลายรอย พาดผ่านตามพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ
ถ้าจำไม่ผิดรอยเลื่อนที่พาดผ่านอำเภอเชียงแสนน่าจะเป็นรอยเลื่อนแม่จัน ยิ่งระยะนี้ข่าวแผ่นดินไหวมีถี่ขึ้นจากหลายๆประเทศ
นอกจากความสูญเสียในเรื่องชีวิต และทรัพย์สินที่ดูน่าเศร้าใจแล้ว ยังมีงานสถานที่ๆสำคัญหลายที่ที่น่าเป็นห่วงเช่นกัน


บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 19 คำสั่ง