siamese
|
ความคิดเห็นที่ 135 เมื่อ 30 เม.ย. 11, 09:33
|
|
ต่อไป.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 136 เมื่อ 30 เม.ย. 11, 09:37
|
|
ต่อไป...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 137 เมื่อ 02 พ.ค. 11, 08:57
|
|
พระนิพนธ์บทความเรื่องนี้ กรมหมื่นสถิตย์ฯ ทรงเรียบเรียงลงในวชิรญาณวิเศษ น่าจะเป็นพระประสงค์ของเจ้านายผู้ทรงทำหน้าที่บรรณาธิการ ที่จะให้มีผู้รู้ช่วยเขียนเรื่องลงในวารสาร หมุนเวียนกันไป ที่มาก็คือก่อนหน้านี้มีพระราชนิพนธ์เรื่องลอยพระประทีปกระทงหลวง จากนั้นก็คงลงความเห็นกันว่า มีเรื่องพระราชพิธีหลวงแล้ว ก็น่าจะเขียนเล่าต่อไปว่า ประชาชนเขาลอยกระทงกันอย่างไร กรมหมื่นสถิตย์ฯ คงจะได้รับคำขอ หรือไม่ก็ได้รับคัดเลือกให้เขียน ท่านก็เลยทรงเล่าไว้ในหน้าแรก เก็บความจากประสบการณ์ส่วนพระองค์ และสอบถามผู้รู้ถึงที่มาด้วย
กรมหมื่นสถิตย์ฯ ทรงเล่าแบบง่ายๆ เป็นกันเอง เหมือนทรงชวนคุยให้ฟัง สมกับเป็นเรื่องของราษฎร เก็บรายละเอียดเล็กๆน้อยๆถี่ถ้วน เช่นกระทงของชาวบ้านทำด้วยอะไรบ้างก็ทรงแจกแจงให้เห็น กระทงดอกบัวยังมีอยู่จนทุกวันนี้ แต่วัสดุคงไม่เหมือนกันอีกแล้ว สมัยนั้นใช้วัสดุจากธรรมชาติ เพราะมีเหลือเฟือ กระทงพลับพลึง คิดว่าทำจากกาบพลับพลึง ไม่ใช่ดอก ดอกมีกลีบเรียวเล็กเป็นเส้น คงไม่เหมาะจะทำอะไร กระทงหยวกกล้วยยังเคยเห็น เพราะมันเบาลอยน้ำได้ กระทงใบตองก็ยังเคยเห็น แต่ที่ทำเป็นกระทงเจิม มีกระจังยังนึกภาพไม่ออก อาจจะต้องขอผู้ที่เคยเห็นมาอธิบาย
ตำนานยกเสาแขวนโคม ก็เป็นความเชื่อที่แพร่หลาย ว่าเป็นการบูชาพระรัตนตรัยในพรหมโลกและเทวโลก บูชาพระเกตุธาตุที่เจดีย์จุฬามณีในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เช่นเดียวกับการลอยกระทงเพื่อขอขมาลาโทษแม่พระคงคา ที่ได้ใช้น้ำ และถ่ายเทของเสียลงน้ำมาตลอดปี กรมหมื่นสถิตย์ฯ ทรงรวบรวมความเชื่อของชาวบ้านมาลงไว้ในบทความ ก็คงสดับฟังมาจากหลายแห่ง ข้างบนนี้คือความเชื่ออย่างที่รู้ๆกัน แต่ก็มีตำนานหนึ่งที่ไม่ค่อยได้ยินกันนัก คือความเชื่อว่ายักษ์คอยเฝ้าดูว่าพระพุทธเจ้าเสด็จสู่ปรินิพพานหรือยัง ถ้ายังก็ยังเห็นพระรัศมีสว่าง ถ้านิพพานแล้วก็จะมืดไปทั่ว จึงต้องจุดประทีปโคมไฟหลอกยักษ์ที่ขึ้นมาดูในคืนนี้ อ่านแล้วก็นึกขำความไม่ประสีประสาของยักษ์ ความเชื่อแบบนี้ก็คงจะเป็นเรื่องเล่าสืบต่อๆกันมา ไม่ได้เป็นแก่นสารอะไรมากมาย แต่ก็ทำให้สนุกสำหรับชาวบ้านจะจุดโคมไฟสว่างไสวไปทั่วเมือง ก่อบรรยากาศรื่นเริงบันเทิงของหนุ่มสาวอย่างที่ทรงเล่าไว้ในลำดับต่อไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 138 เมื่อ 02 พ.ค. 11, 17:16
|
|
บรรยากาศงานรื่นเริงในวันลอยกระทงที่ประทีปจุดสว่างไสวกันทั้งเมือง มีการบรรยายไว้สั้นๆในตอนท้ายบทความ แต่ก็๋ทรงเก็บภาพได้ใจความละเอียดลออดี อ่านแล้วสนุกไปด้วย กรมหมื่นสถิตย์ฯทรงมีวังอยู่ริมแม่น้ำ ตรงที่เป็น ASTV ถนนพระอาทิตย์ในปัจจุบัน วังเจ้านายไทยก็ไม่ได้ห่างไกลจากบ้านเรือนชาวบ้าน ท่านจึงทรงเห็นราษฎรชายหญิงข้างนอกวัง "...แต่งกายอย่างสุภาพบ้าง แต่งกายอย่างวิปลาศให้แปลกให้ขันบ้าง" พวกนี้ก็ลงเรือเก๋ง เรือนาง เรือเป็ด เรือสำปั้นใหญ่น้อย มาเที่ยวงาน ซึ่งถ้าเป็นการชุมนุมกันก็ต้องไปที่วัดริมแม่น้ำ ซึ่งมีอยู่หลายวัดด้วยกัน หรือลึกเข้าไปคลองต่างๆก็มีวัดใหญ่น้อยอีกมาก การสัญจรในรัชกาลที่ ๕ ยังใช้ทางน้ำอยู่เป็นส่วนใหญ่ ถนนที่ตัดในรัชกาลที่ ๔ มีจริงแต่ก็น้อย แค่ไม่กี่สาย สภาพเมืองหลวงในต้นรัชกาลที่ ๕ จนถึงตอนกลาง จึงมีชีวิตชีวากันที่ริมแม่น้ำลำคลอง ลึกเข้าไปในฝั่งก็เป็นสวนปนป่าเสียเป็นส่วนใหญ่ อย่างที่บรรยายไว้ในประวัติเจ้าพระยาวรพงษ์พิพัฒน์ ส่วนประกอบอีกอย่างของความรื่นเริงสนุกสนาน มาจากเสียงเพลง ทั้งเสียงร้องเสียงเล่น กรมหมื่นสถิตย์ฯท่านทรงเก็บเสียงมาให้ได้ยินกันหลากหลาย มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง เสียงดนตรี "...แอ่วลาวเป่าแพนตีฆ้องโหม่ง กลองโทนรำมะนาฉิ่งกรับ" เสียงร้อง " ขับร้องลำนำเพลงดอกสร้อยสักระวา เพลงครึ่งท่อน เพลงปรบไก่ เพลงเรือ เพลงตวันตกตวันออกโต้ตอบกัน" ไม่เคยได้ยินเพลงครึ่งท่อน และเพลงตวันตกตวันออก สมัยนั้นคงเป็นที่นิยมไม่แพ้เพลงแบบอื่น จึงทรงกล่าวถึงไว้ด้วย
ชาวบ้านไกลๆก็เดินทางมาแต่วัน แวะไปมาหาสู่กับญาติมิตรบ้าง บางคนไม่ได้เอาของกินติดเรือมาด้วย ก็แวะซื้ออาหารตามเรือตามแพกินกัน กรมหมื่นสถิตย์ฯทรงบอกละเอียดถึงขั้นว่า ซื้อเมล็ดบัวถั่วยะสง (ถั่วลิสง)อาหารคาวหวาน ท่านคงจะได้เคยเสด็จลงเรือ ผ่านไปท่ามกลางชาวบ้านชาวช่องทั้งหลายในวันลอยกระทงมาแล้ว จึงทรงสังเกตได้ว่าซื้อขายของกินอะไรกันบ้าง แสดงว่าชีวิตเจ้านายไทยในสมัยนั้นก็ไม่ได้ห่างไกลจากราษฎร ทั้งบ้านช่องที่อยู่อาศัย และการดำเนินชีวิต ท่านทรงเล่าจนกระทั่งว่าวันงานรื่นเริงแบบนี้ก็เป็นโอกาสที่หนุ่มๆ จะได้พายเรือไปดูสาวๆที่ออกจากบ้านมาเที่ยวงาน เพราะตามธรรมดา โอกาสจะพบสาวๆเป็นเรื่องยาก ผู้หญิงมักจะถูกเก็บตัวอยู่กับบ้าน งานรื่นเริงต่างๆจึงเป็นโอกาสดีจะสานสัมพันธ์กัน
ก็คงจะจบเรื่องพระนิพนธ์แต่เพียงแค่นี้ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 139 เมื่อ 02 พ.ค. 11, 18:02
|
|
ขอบคุณมากครับที่นำมาลง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|