เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10
  พิมพ์  
อ่าน: 53692 “นิราศกรมหมื่นสถิตย์” ว่าด้วยวิกฤตวังหน้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 23 เม.ย. 11, 23:30

ยังไม่จบค่ะ   เอาตัวอย่างหน้าต่อไปมาให้ดู ก่อนจะย่อยให้ฟัง



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 24 เม.ย. 11, 20:52

การอธิบายศัพท์  อย่างในตัวอย่างข้างบนนี้  อธิบายมากบ้างน้อยบ้าง    ไม่เสมอกัน    เหมือนกับว่าท่านทรงได้คำตอบจากผู้รู้หรือจากหนังสือที่ทรงค้นคว้าหาคำตอบมาได้     ก็ให้อาลักษณ์เขียนลงสมุดไทยรวบรวมไว้       แต่ไม่ได้จัดระเบียบมากกว่านั้น
บางคำ ถ้าปรากฏอยู่ในวรรณคดีเล่มไหนก็บอกตัวอย่างจากเรื่องนั้นเอาไว้เป็นที่มาของคำ    เช่นคำว่า บรรเจิด    ก็ทรงจดโคลงลงไว้ทั้งบาท     ว่า
        สิงหาสน์ปรางค์รัตน์   บรร เจิดหล้า  
แต่ไม่ได้บอกชื่อว่ามาจากนิราศนรินทร์    คำว่า รางชาง ก็เช่นกัน   จดโคลงลงทั้งบาท แต่ไม่บอกที่มาว่าหนังสืออะไร    เห็นจะเป็นด้วยว่าไม่จำเป็นสำหรับท่าน  ความประสงค์คือต้องการศัพท์ไว้ใช้งาน    มากกว่าต้องการจดจำว่ามาจากเรื่องอะไร

     ที่ดิฉันคิดว่าทรงรวบรวมศัพท์ไว้ใช้งาน  เห็นได้ในหน้า ๓๑  ทรงรวบรวมศัพท์ที่แปลว่า อ่อน ไว้หลายคำ  
     ชด    = อ่อน   อ่อนในที่นี้คือ งุ้ม น้อม  
     ช้อย   =  อ่อนยิ่งกว่าชด
     เราเอาคำสองคำนี้มารวมเป็นคำเดียว เป็น ชดช้อย   ใช้ในความหมายเดียวกัน   ไม่เคยได้ยินว่า ช้อย เทียบกันแล้ว หมายถึงสิ่งที่อ่อนกว่าชด
เพิ่งเห็นเจ้านายวังหน้าเจ้าของสมุดเล่มนี้ ทรงแจกแจงถึงขั้นละเอียดลออว่า ช้อย อ่อนกว่า ชด    ก็มองเห็นได้อย่างเดียวว่า  ที่ต้องแจกแจงยิบย่อยลงไปขนาดนี้   ก็เพื่อจะได้ใช้คำได้ถูกต้องพอดิบพอดี   ในการแต่งคำประพันธ์ร้อยกรอง พวกโคลงฉันท์กาพย์กลอน


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 24 เม.ย. 11, 21:08

"ชด" ที่จำได้ในเนื้อร้องระบำดาวดึงส์ ตอนหนึ่งว่า

"ราชยานเวชยันต์รถแก้ว      เพริศแพร้วกำกงอลงกต
แอกงอนอ่อนสลวยชวยชด     เครือขดช่อตั้งบัลลังก์ลอย
รายรูปสิงห์อัดหยัดยัน         สุบรรณจับนาคหิ้วเศียรห้อย"


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 24 เม.ย. 11, 21:14

หน้าถัดมา รวบรวมคำที่มีความหมายว่า อ่อน อีกหลายคำ    อย่างคำว่า โอน ท่านก็ทรงบอกความหมายไว้ว่า  อ่อน  ยิ่งกว่าชดช้อย     ปัจจุบันเราใช้ในคำว่า โอนอ่อนผ่อนตาม 
ลมุน ลไม ลม่อม พวกนี้แปลว่า อ่อน ทั้งหมด แต่อ่อนกันคนละแบบ    ลมุน ลไม เป็นอ่อนชนิดอ่อนงามเรียบร้อย  อ่อนพอดี (สะกดว่า ภอดี) ส่วนลม่อมนั้นอ่อนนุ่ม อ่อนกลมกล่อม
ลำเภา กับลำยอง ก็อ่อนเหมือนกัน แต่ต่างกันไปอีกแบบ  เชิญอ่านในหน้าที่สแกนไว้ข้างล่างนี้

หน้าต่อๆไป เป็นการรวบรวมคำในแบบเดียวกันนี้ มากบ้างน้อยบ้าง   ไม่ได้เรียงตามอักษร หรือเรียงตามความหมาย 



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 24 เม.ย. 11, 21:30

เมื่อได้อ่านเอกสารชิ้นนี้  ผมนึกถึง "คำฤษฎี"  
พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร
และเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ (ทรงพระนิพนธ์ร่วมกัน)

คำฤษฎี

คำนำ
โดยพระดิฐการภักดี เมื่อพิมพ์ครั้งแรก
ลงวันที่ ๑ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๔

"ข้าพเจ้าได้พบศัพท์ภาษามคธและภาษาอื่นบ้าง  ซึ่งแปลเป็นภาษาไทย  เป็นของพระเจ้าบรมไอยกาเธอ กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมสมเด็จพระเดชาดิศร  และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์  ช่วยกันทรงไว้  ข้าพเจ้าจึงได้นำมาให้โรงพิมพ์บำรุงนุกุลกิจเรียบเรียงโดยถูกต้องตามฉบับเดิม  เพื่อจะให้เห็นว่าเป็นของเก่าๆ ของท่านทำไว้เช่นนั้น

หนังสือคำมคธแผลงเป็นสังกฤษแลคำมคธตรง  คำเขมร คำลาว คำโบราณ เก็บมาเรียบเรียงไว้  เพื่อจะให้ชายผู้รักรู้ในการกาพย์ โคลง ลิลศ ฉันท์ เข้าใจจำเป็นแบบอย่างคล้ายกันกับอถิธานศัพท์"


รายละเอียดเข้าไปอ่านได้ในลิ้งก์ข้างล่าง

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/02/K5115945/K5115945.html#170

ตั้งแต่ความคิดเห็นที่ ๑๗๐ เป็นต้นไป

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 24 เม.ย. 11, 21:44

คุณเพ็ญชมพูเคยเอาศัพท์จากคำฤษฎี มาลงไว้ในกระทู้เว็บ pantip ก่อนนี่เอง       มีความเห็นเกี่ยวกับพระนิพนธ์วังหน้าเล่มนี้อย่างไรบ้างล่ะคะ

มีศัพท์บางคำในตอนต้นๆ  ลอกมาจากคำฤษฎีแน่นอน   แต่มีไม่มาก    ศัพท์อื่นๆน่าจะทรงรวบรวมมาจากที่อื่น    มีการอธิบายเพิ่มจากคำฤษฎีด้วย เช่นลงโคลงหรือคำร้อยกรองที่มาของศัพท์นั้น   ในคำฤษฎีไม่มี
 
จากที่อ่าน  คิดว่าหนังสือวังหน้าเล่มนี้ พิมพ์ขึ้นจากสมุดไทยหลายเรื่อง  เอามารวมกัน   ไม่ใช่เรื่องเดียว   เพราะวิธีรวบรวมศัพท์มีมากกว่า ๑ แบบ 
เดิมคงจะเป็นสมุดไทยที่เก็บรวมรวมเอาไว้ในที่เดียวกัน    เมื่อนำมาพิมพ์จึงพิมพ์รวมกันไปเป็นเล่มเดียว
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 24 เม.ย. 11, 22:03

คุณเพ็ญชมพูเคยเอาศัพท์จากคำฤษฎี มาลงไว้ในกระทู้เว็บ pantip ก่อนนี่เอง     

เรื่อง "คำฤษฎี" นี้ คุณกัมม์เขาฝากไว้ในความคิดเห็นที่ ๑๖๙ คงหวังเผยแพร่ให้ผู้สนใจใช้ศึกษา

กลับมาค้นหนังสือ  ได้เรื่อง "คำฤษฎี" 
พระนิพนธ์ในสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส
สมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร กับกรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์
แต่อาจจะไม่ถูกหลักของท่านเดี๋ยวนี้  บอกว่าเป็นคำเก่า เป็นกุญแจไขวรรณคดีไทยของเราเอง   
และอาจจะมีประโยชน์กับผู้ชอบการประพันธ์ฉันทลักษณ์ต่างๆ 
กระทู้ของคุณ เพ็ญชมพู นี้  คงได้เก็บในคลังกระทู้อย่างแน่แท้
จึงขออนุญาตคัด "คำฤษฎี"  ฝากไว้ในห้องสมุดด้วยนะครับ


 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 24 เม.ย. 11, 22:06

อ้าว ผิดคน  ไม่เป็นไร  ขอบคุณที่ลิ้งค์ให้อ่าน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 14:57

ในเมื่อเจ้านายวังหน้าผู้รวบรวมศัพท์เหล่านี้ นำศัพท์บางคำมาจาก คำฤษฎีของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ  คำถามต่อไปก็คือ ทรงนำมาในฐานะใด
ดิฉันสันนิษฐานว่า ทรงนำมาในฐานะนักเรียน  เมื่อทรงอ่านคำฤษฎี   หรือเรียนกันตัวต่อตัวกับอาจารย์ผู้ถือคำฤษฎีเป็นตำรา

ดิฉันเคยเล่าไว้ในกระทู้กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญว่า  ฉันท์พระนิพนธ์วังหน้า แสดงให้เห็นแนวการศึกษาของพระองค์ท่าน ที่ไม่ใช่มาจากแนวเขียนของสุนทรภู่   แต่มีร่องรอยว่ามาจากแนวของกรมสมเด็จฯ ท่านมากกว่า     
ท่าน NAVARAT ช่วยบวกลบพ.ศ. ให้   แจ้งมาว่า กรมสมเด็จพระปรมานุชิต สิ้นพระชนม์เมื่อพระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ พระชันษา 15 ปี   ส่วนพระองค์เจ้าเนาวรัตน์ กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์  พระชันษาเพียง 11 ปี      พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ ถ้าทรงศึกษาเป็นศิษย์ก็เห็นจะทันเรียนฉันท์ และวรรณคดียากๆที่ศัพท์ปรากฏอยู่ในพระนิพนธ์    ส่วนพระองค์เจ้าเนาวรัตน์เห็นจะทรงเรียนไม่ทัน  ยังโตไม่พอ

ดิฉันไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับสำนักวัดโพธิ์ ว่าเมื่อสิ้นกรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯแล้ว   ใครเป็นผู้สืบทอดการสอนวิชากาพย์กลอน  ตลอดจนได้สมุดไทยของพระองค์ท่านไปสอนลูกศิษย์ต่อ     ได้แต่เดาว่าเป็นสมเด็จในวัดที่เชี่ยวชาญทางด้านนี้  สืบทอดต่อไปได้   จึงถวายพระอักษรเจ้านายวังหน้า

สิ่งที่พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศทรงศึกษาจากพระอาจารย์ ก็ทรงจดลงเอาไว้ อาลักษณ์เขียนลงในสมุดไทย  เก็บเอาไว้จนทรงขึ้นเป็นวังหน้า   ก็ใช้เป็นตำราประกอบการแต่งกาพย์กลอนโคลงฉันท์ในเวลาต่อมา 
การคิดคำลงในบทกวี ทรงละเอียดลอออย่างยิ่ง  ขนาดคำที่แปลว่า อ่อน  ยังแยกแยะรายละเอียดว่า อ่อนอย่างไรแบบไหน

ศัพท์ในสมุดนี้คงไม่ได้มาในคราวเดียว  อาจจะทยอยได้กันมา   บางคำก็มีอาจารย์อธิบายศัพท์ให้   บางคำอาจทรงไปเจอในสมุดไทยเก่าๆ เข้า  ทรงเห็นแปลกก็รวบรวมไว้  แต่ยังหาความหมายที่ชัดเจนไม่ได้ จึงทรงทิ้งว่างไว้   อย่างในหน้าที่ยกมาข้างล่างนี้
มีคำว่า  เลียมสาร และ  มนิมนา


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 16:47

ความสนุกในการอ่านพระนิพนธ์เล่มนี้ อย่างหนึ่งคือเรียนรู้ศัพท์แปลกๆ  ไม่เคยเห็นที่อื่น     คิดว่าเจ้านายวังหน้าก็คงสนพระทัยในนัยยะนี้เหมือนกัน   ทุกหน้าจึงมีศัพท์แปลกให้เห็นอยู่เสมอ  
ขอยกเอามาหน้าละคำสองคำ   มีคำแปลบ้าง ไม่มีบ้าง

หน้า ๓๓  ลำนักโฉมสวรรค์    ทรงแปลว่า เหมือนโฉมสวรรค์     คือสวยเหมือนนางฟ้า
            รุหาร       ทรงแปลว่า เหมือน
หน้า ๓๔  ประเลห์          ทรงแปลว่า คล้าย   แล้วทรงขยายว่า นักรู้บางแห่งเอาตัว ลอ (หมายถึง ล.) ขึ้นหน้าใส่ไม้เอก เป็นเล่ห์
            (คำว่าเล่ห์ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเล่ห์กล   แต่หมายถึงคล้าย หรือเหมือน  เช่นเดียวกับคำว่า เพี้ยง     ในพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๕  เรื่องลิลิตนิทราชาคริต  ทรงใช้สองคำนี้ควบกันไป ว่า "ดำสนิทนิลแล้    เล่ห์เพี้ยงขุนมาร)
            เตรียบ         ทรงแปลว่า เคียง
หน้า ๓๖   มึคำว่า โพรงพราย   ไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร  แต่ดูจากบริบทแล้วน่าจะแปลว่า สว่าง    ปัจจุบันมีคำว่า พร่างพราย ซึ่งความหมายเดียวกัน   ใช้ประกอบคำว่า สว่าง




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 19:59

ศัพท์แปลกๆมีอยู่อีกมาก     เช่น
กำนฎ  มาจาก กฎ   
ทำนูล จาก ทูล   
จำโนท มาจาก  โจท   
คำแบบนี้เราเรียกว่าแผลงศัพท์   

นอกจากนี้ความหมายของศัพท์บางคำในรัชกาลที่ ๕  ก็ไม่เหมือนกับความหมายปัจจุบัน
เฉลย  จำเลย        =  ผู้แก้
แก้ในที่นี้ไม่ได้แปลว่า แก้เชือก หรือแก้เสื้อผ้า   แต่หมายถึงแก้ข้อกล่าวหา   
ที่แปลกคือ คำว่า บริหาร  แปลว่า ผู้แก้ เช่นกัน

(ยังมีต่อ)


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 29 เม.ย. 11, 14:30

       การรวบรวมศัพท์เป็นหมวดหมู่แบบที่่ว่ามา  มีอยู่ต่อเนื่องกันไปแต่ละหน้า    มีหลากหลายตั้งแต่ราชาศัพท์เกี่ยวกับฉลองพระองค์และเครื่องประดับ  ศัพท์ที่แปลว่าช้าง  ม้า พาหนะ    ศัพท์แปลกๆที่เราไม่เห็นในปัจจุบันก็มีให้เห็น เกือบทุกหน้าก็ว่าได้
      อันขยม           =    อัน แปลว่าข้า  ขยม แปลว่าข้า   รวมความว่า ข้าพระเจ้า (หมายถึงข้าพเจ้า)
      ขยมหญิงชาย    =  ข้าหญิงชาย
      ฝ้า                =   ฟ้า   ( ยังเหลือร่องรอยอยู่ในคำว่า "ฝ้าเพดาน"
      ถ้าจะยกมาก็กินเนื้อที่กระทู้ไปอีกมาก   ขอรวบรัดว่าเป็นอย่างนี้ไปจนหน้า ๑๒๑  จึงจบเรื่อง 
      คิดว่าสมุดไทยที่รวมรวมไว้ด้วยกัน  คงจบชุดลงแค่ ๑๒๑ หน้า       ส่วนหน้าต่อมา เป็นข้อคิดเห็นเกี่ยวกับศัพท์ในหนังสือ  ทำขึ้นในภายหลัง    ผู้ที่เขียน ได้ออกความเห็นเกี่ยวกับศัพท์พวกนี้ ในรูปของคอมเม้่นท์เรื่องตัวเขียนว่าชัดไม่ชัด  คล้ายกับท่านทำหน้าที่บรรณาธิการตรวจต้นฉบับ
     อาจจะเป็นกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงออกความเห็นเพิ่มเติมกับต้นฉบับก็เป็นได้   
     ลักษณะที่เขียนแสดงว่าเป็นคนละคนกับผู้รวบรวม   



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 29 เม.ย. 11, 14:42

การอธิบายศัพท์ในลักษณะนี้ไปจบลงในหน้า ๑๓๑  จากนั้นเป็นอนุกรม   ซึ่งเห็นได้ว่าทำขึ้นเพื่อสะดวกในการค้นศัพท์ในหน้าต่างๆ ก่อนหน้านี้  เรียงตามอักษร ก. ถึง ฮ.   ซึ่งก็คงทำขึ้นทีหลังสมุดไทย   
คนทำอาจเป็นเสมียนหรือเลขาฯ  ไม่จำเป็นว่าเจ้าของสมุดไทยต้องทำเอง   สังเกตว่าน่าจะทำขึ้นในระยะหลังเมื่อสมุดไทยของเดิมนำมาพิมพ์เป็นตัวพิมพ์แล้ว

จากต้นฉบับที่ท่าน NAVARAT ให้มานี้     เดิมเป็นของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญหรือกรมหมื่นสถิตย์ฯ ยังฟันธงลงไปไม่ได้ เพราะทั้งสองพระองค์ต่างก็เป็นกวี   พระชนม์ห่างกันไม่กี่ปี    ก็คงจะทรงเล่าเรียนมาจากสำนักเดียวกัน     ซึ่งเดาว่าเป็นสำนักวัดโพธิ์  เพราะแนวทางการแต่งฉันท์ของกรมพระราชวังบวรฯ ออกมาคล้ายคลึงกับแนวของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส     
ถ้าเรียนกับท่านไม่ทันจบ เพราะสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ สิ้นพระชนม์ไปก่อน     ก็คงจะทรงเรียนกับพระสงฆ์ที่เชี่ยวชาญรูปอื่น ที่สอนเรื่องการกวีได้เช่นกัน        ทั้งกรมพระราชวังบวรฯ และกรมหมื่นสถิตย์ฯ จึงแต่งบทกวีได้    ทรงรู้ศัพท์บาลีและศัพท์โบราณยากๆ ได้ไม่ผิดพลาด



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 29 เม.ย. 11, 22:34

พระนิพนธ์เรื่องอื่นๆ เท่าที่คุณเอนก นาวิกมูลรวบรวมเอาไว้  มี ๕ เรื่อง
๑   เรื่องลอยกระทงแข่งกับเรือราษฎร  ลงในวชิรญาณวิเศษ
๒   เรื่องขับร้อง   ลงในวชิรญาณวิเศษ
๓   พระราชพิธีฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคล
๔   นิราศเรื่องที่เป็นหัวข้อกระทู้นี้
๕   ตำราเล่นหนังในงานมหรสพ   เรื่องนี้ คุณเอนกไม่แน่ใจว่าเป็นพระนิพนธ์ของท่าน หรือของพระองค์เจ้าโตสินี  พระราชโอรสในสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯอีกพระองค์หนึ่ง ซึ่งทรงรู้ตำราเล่นหนังเหมือนกัน

    เรื่องลอยกระทง เป็นบทความสั้นๆประมาณ ๒ หน้า   ทรงบรรยายถึงภาพการลอยกระทงในสมัยรัชกาลที่ ๕ ไว้อย่างสนุกสนานมีชีวิตชีวา   ให้รายละเอียดถึงสิ่งเล็กสิ่งน้อยเช่นกระทง ว่ามีรูปอะไรบ้าง    เช่นทำด้วยดอกบัวบานบ้าง   จีบพลับพลึงบ้าง  ทำเป็นเรือหยวกบ้าง    เอาใบตองมาเย็บเป็นกระทงเจิม   มีกระจังและรูปภาพเล็กน้อย   มีธูปเทียนดอกไม้หมากพลูอยู่ในกระทงลอยบูชา
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 30 เม.ย. 11, 09:26

พระนิพนธ์เรื่องอื่นๆ เท่าที่คุณเอนก นาวิกมูลรวบรวมเอาไว้  มี ๕ เรื่อง
๑   เรื่องลอยกระทงแข่งกับเรือราษฎร  ลงในวชิรญาณวิเศษ
๒   เรื่องขับร้อง   ลงในวชิรญาณวิเศษ
๓   พระราชพิธีฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคล
๔   นิราศเรื่องที่เป็นหัวข้อกระทู้นี้
๕   ตำราเล่นหนังในงานมหรสพ   เรื่องนี้ คุณเอนกไม่แน่ใจว่าเป็นพระนิพนธ์ของท่าน หรือของพระองค์เจ้าโตสินี  พระราชโอรสในสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯอีกพระองค์หนึ่ง ซึ่งทรงรู้ตำราเล่นหนังเหมือนกัน

    เรื่องลอยกระทง เป็นบทความสั้นๆประมาณ ๒ หน้า   ทรงบรรยายถึงภาพการลอยกระทงในสมัยรัชกาลที่ ๕ ไว้อย่างสนุกสนานมีชีวิตชีวา   ให้รายละเอียดถึงสิ่งเล็กสิ่งน้อยเช่นกระทง ว่ามีรูปอะไรบ้าง    เช่นทำด้วยดอกบัวบานบ้าง   จีบพลับพลึงบ้าง  ทำเป็นเรือหยวกบ้าง    เอาใบตองมาเย็บเป็นกระทงเจิม   มีกระจังและรูปภาพเล็กน้อย   มีธูปเทียนดอกไม้หมากพลูอยู่ในกระทงลอยบูชา

ผมได้คัดลอก "เรื่องลอยกระทงแข่งกับเรือราษฎร" มาให้อ่านกัน หวังว่าคงจะได้ประโยชน์กับผู้สนใจไม่น้อยครับ



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 20 คำสั่ง