เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
  พิมพ์  
อ่าน: 53695 “นิราศกรมหมื่นสถิตย์” ว่าด้วยวิกฤตวังหน้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 05 เม.ย. 11, 18:46

ขอบันทึกท้ายกระทู้  แก่ผู้สนใจศึกษา  คือพระนามหม่อมเจ้า พระโอรสธิดาในพระองค์เจ้าเนาวรัตน์  กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์
ราชสกุล นวรัตน

1 หม่อมเจ้าหญิงประไพพิศ
2 หม่อมเจ้าหญิงสถิตย์สถาพร (หม่อมเจ้าหญิงสถิตย์ถาวร) นวรัตน
3 หม่อมเจ้าชายอาภรณ์ธราไภย  นวรัตน
4 หม่อมเจ้าหญิงแจ่มใสฉวี  นวรัตน
5 หม่อมเจ้าชายปรานีเนาวบุตร  นวรัตน
6 หม่อมเจ้าหญิงขนิษฐนารี  นวรัตน
7 หม่อมเจ้าชายนพมาศ ( หม่อมเจ้าชายสุขศรีนพมาศ )  นวรัตน
8 หม่อมเจ้าชายอัมพร  นวรัตน
9 หม่อมเจ้าชายธำรงวรวัฒน์ ( หม่อมเจ้าชายธรรมรง )  นวรัตน
10 หม่อมเจ้าชายบุตรารัตนานพ ( หม่อมเจ้าชายบุตรรัตนานพ )  นวรัตน
11 หม่อมเจ้าประสบภูลเกษม  นวรัตน
12 หม่อมเจ้าหญิงกมลเปรมปรีดา ( หม่อมเจ้าหญิงกมลเปรมปรี)  นวรัตน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 14 เม.ย. 11, 13:41

       ขณะที่วิเคราะห์ การเล่าเรียนของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ในอีกกระทู้หนึ่ง      พบว่าท่านไม่น่าจะเป็นศิษย์สุนทรภู่ เพราะลีลาการแต่งบทกวีไม่มีวี่แววกลอน โคลง หรือกาพย์ในแบบสุนทรภู่แม้แต่น้อย   ก็นึกสงสัยต่อไปว่า  สุนทรภู่มีโอกาสถวายพระอักษรพระราชโอรสพระองค์อื่นๆของสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯบ้างหรือเปล่า
      จึงย้อนกลับมากลอนของกรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ อีกครั้ง

      วิเคราะห์จากกลอนนิราศกรมหมื่นสถิตย์ฯ    ก็พบว่าลีลาการแต่งไม่ใช่แนวของสุนทรภู่        สุนทรภู่และศิษย์อย่างนายมี    มีสัมผัสนอกที่เคร่งครัดอยู่อย่างคือ คำสุดท้ายของวรรคส่ง  จะสัมผัสกับคำที่สามของวรรครับ

      แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์                                มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
      ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด                              ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน

     ไม่ข้ามไปสัมผัสกับคำที่ห้าและหก  อย่างในกลอนนิราศกรมหมื่นสถิตย์ฯ


    พันสองร้อยสามสิบหกศักราช                                แถลงเรื่องที่บำราศนิวาสถาน
ไว้อ่านดูรู้เล่นเป็นนิทาน                                           เยี่ยงอย่างปางโบราณไม่เคยมี   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 14 เม.ย. 11, 15:33

กลอนเริ่มเมื่อใดไม่ทราบ  แต่สมัยปลายอยุธยามีการแต่งกลอนกันแล้ว  อยู่ในรูปของเพลงยาว ของกวีหลายคนด้วยกัน รวมทั้งเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ด้วย  กลอนบทละครของเจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ    กลอนกลบทของหลวงศรีปรีชา ฯลฯ
กลอนพวกนี้ มีจำนวนคำแต่ละวรรค ตั้งแต่ ๗-๙ คำ   สัมผัสก็ลงที่คำที่สองบ้างที่สามบ้าง    ไม่ตายตัว      แต่เมื่อสุนทรภู่ทำให้กลอนตลาดแพร่หลายขึ้นในรัชกาลที่ ๓    กลอนที่มีสัมผัสนอกสัมผัสในเคร่งครัดตายตัวก็กลายเป็นที่นิยม  แต่ละวรรคมีสัมผัส ๒ คู่ ทั้งคู่หน้าและคู่หลัง   ส่วนใหญ่มักเน้นสัมผัสในคู่หลัง
       ในเพลงปี่ว่าสามพี่พราหมณ์เอ๋ย               ยังไม่เคยชมชิดพิศมัย
       ถึงร้อยรสบุปผาสุมาลัย                        จะชื่นใจเหมือนสตรีไม่มีเลย

       จนกลายเป็นว่าถ้ากวีคนไหนแต่งกลอน ก็จะเดินรอยตามแนวของสุนทรภู่เสียส่วนใหญ่

      แม้แต่ล่วงมาถึงยุคสงครามโลกครั้งที่สอง   พระโอรสในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ  พระราชวรวงศ์เธอพระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส  กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์  ก็ทรงแต่งกลอนตามแบบกลอนตลาดของสุนทรภู่  ซึ่งมาเรียกกันทีหลังว่า "กลอนสุภาพ"  เห็นตัวอย่างได้จากพระนิพนธ์ "สามกรุง"  ตอนที่ทรงบรรยายถึงสวรรค์ชั้นกวี

      ย้อนกลับมาถึงรัชกาลที่ ๑-๔   กวีอื่นๆร่วมสมัยกับสุนทรภู่ ที่ไม่ใช่ลูกศิษย์   ส่วนใหญ่คือพวกขุนนางสังกัดกรมอาลักษณ์  แต่งกลอนตามแนวโบราณ  คือ ๗-๘ คำ    เห็นตัวอย่างได้จากกลอนเสภาขุนช้างขุนแผน    ไม่เคร่งครัดเรื่องสัมผัสใน  บางวรรคก็ไม่มี   และถ้ามี ก็อาจเป็นคู่หน้าหรือคู่หลังในแต่ละวรรคก็ได้
        กลอนแบบนี้ละค่ะ คือกลอนแบบของกรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์

         สละบุตรบริจาเอ้กาสกล                      ลงไปในชลวิถี
     โปร่งปลอดตลอดท้องนที                 เหตุภัยไม่มีมาปะปน

        จึงเห็นว่า นอกจากกรมพระราชวังวิไชยชาญแล้ว   พระอนุชาคือกรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ก็ไม่ได้เรียนกลอนแบบของสุนทรภู่เช่นกัน
        (ยังมีต่อ)
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 14 เม.ย. 11, 15:56

กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ทรงมีผลงานด้ายกวีนิพนธิ์ทิ้งไว้ประปราย ลูกหลานไม่ค่อยจะทราบว่าอยู่ที่ไหนบ้าง สักสิบกว่าปีมาแล้วผมไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หอศิลป์วังเจ้าฟ้า ห้องชั้นบนที่นั่นแสดงภาพเขียนสีน้ำมันแบบฝรั่ง มีโคลงบรรยายภาพประกอบตามเนื้อหาในพระราชพงศาวดาร งานดังกล่าวเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่โปรดให้สร้างขึ้น จำนวนทั้งหมด๙๒ภาพ เมื่อสร้างสำเร็จแล้ว โปรดเกล้าฯให้ติดแสดงให้ประชาชนชม ในงานออกพระเมรุเจ้านายฝ่ายในหลายครั้ง
 
ปัจจุบันภาพชุดดังกล่าวอยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวัง และถูกนำแยกไปติดตั้งยังสถานที่ต่างๆหลายแห่ง ส่วนที่แสดงอยู่ที่วังท่าพระมีสักสิบกว่าภาพ หนึ่งในนั้นผมแลเห็นภาพหนึ่งปรากฏพระนามของท่านทรงเป็นผู้ประพันธ์โคลงประกอบ จึงได้พยายามจะขอถ่ายภาพโดยรับรองว่าจะไม่ใช้แฟรช แต่ยังไงๆพนักงานที่เฝ้าอยู่ก็ไม่ยอม

หลายปีต่อมาจึงได้หนังสือที่กรมศิลปากรพิมพ์ขึ้น มีทั้งภาพและโคลงบรรยายดังกล่าว ขออนุญาตนำมารวมไว้ในกระทู้นี้ด้วยครับ




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 14 เม.ย. 11, 16:27

รอท่าน NAVARAT  เล่าถึงพระนิพนธ์ในกรมหมื่นสถิตย์ฯ ให้จบก่อน แล้วจะมาเล่าถึงฝีพระหัตถ์ที่เห็นได้จากกลอนพระนิพนธ์

สังเกตว่าใต้ภาพใช้คำว่า พระเจ้าบวรวงศ์เธอ  กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์     ไม่ได้ใช้คำว่า พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ     ไม่เคยได้ยินคำนำหน้าพระนามคำนี้มาก่อน
ไปถามคุณกู๊ก  เธอตอบมาว่า

"คำนำพระนามว่า ‘พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ’ นี้ใช้มาตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๕
จนถึงรัชกาลที่ ๖ จึงโปรดฯ ให้พรองค์เจ้า พระราชโอรสธิดา ๔ รัชกาล แต่ก่อนมา ใช้คำนำพระนามว่า ‘พระเจ้าบรมวงศ์เธอ’ และให้ใช้ชั้น ๑ ๒ ๓ ๔ กำกับให้ทราบว่าในรัชกาลใด
ส่วนคำนำพระนามพระราชโอรสธิดาในรัชกาลที่ ๓ ว่า ‘พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ’ นั้น โปรดฯ ให้ยกไปเป็นคำนำพระนาม พระราชโอรสธิดาฝ่ายวังหน้าตั้งแต่รัชกาลที่ ๑-๔"

โดยส่วนตัวชอบคำว่า พระเจ้าบวรวงศ์เธอ มากกว่า  เพราะอ่านก็เข้าใจทันทีว่าเป็นเจ้านายพระองค์เจ้าของวังหน้า     เพราะวังหลังนั้นหมดพระองค์เจ้าไปตั้งแต่รัชกาลที่ ๓ แล้ว
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 15 เม.ย. 11, 11:01

มีของมีค่าที่ผู้เคารพนับถือในเวปนี้ เมตตาสำเนามาให้ผม เก็บไว้นานแล้วไม่มีความสามารถจะใช้ประโยชน์อันใดจากสิ่งนี้ได้

ขอเอามาฉายเป็นตัวอย่างเพียงสักหน้าสองหน้า ส่วนทั้งหมดจะส่งต่อให้ท่านอาจารย์เทาชมพู เพื่อสกัดออกมาเป็นองค์ความรู้แก่ผู้สนใจต่อไปครับ




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 15 เม.ย. 11, 11:07

หนังสือนี้เรียกโดยย่อว่า ว.น. (วังหน้า?)

เป็นประหนึ่งพจนานุกรม ศัพท์แสงต่างๆที่เจ้านายวังหน้าสองพี่น้องท่านใช้ในกวีนิพนธ์ของท่าน
มีทั้งหมด๑๘๐หน้า

ขออนุญาตท่านผู้ให้แล้ว ที่จะต่อประโยชน์เพื่อการศึกษา ท่านอนุญาตและอนุโมทนา




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 15 เม.ย. 11, 11:08

เชิญท่านอาจารย์เทาชมพูต่อเลยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 15 เม.ย. 11, 12:38

ได้ไฟเขียวแล้ว ก็ขอต่อ  ยิ้มกว้างๆ

กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ ทรงเล่าเรียนกับครูบาอาจารย์ท่านไหนก็ตาม   ครูคนนั้นต้องสอนลูกศิษย์ให้แต่งบทกวีได้เก่ง    และโดยส่วนพระองค์  คงต้องโปรดหนังสือหนังหาอยู่มาก      ถึงได้ทรงทำงานในหอสมุดวชิรญาณมาตลอดพระชนม์ชีพ

นิราศกรมหมื่นสถิตย์ฯ บอกถึงความเป็นกวีของเจ้านายพระองค์นี้ได้หลายอย่าง    อย่างหนึ่งคือมีคนกี่คนที่เวลาบันทึกเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ให้ลูกหลานอ่าน  จะเลือกบันทึกเป็นกลอน  แทนที่จะเป็นไดอารี่ หรือจดหมายธรรมดาๆ ที่เขียนง่ายกว่า   ใส่รายละเอียดก็สะดวกกว่า  และเขียนได้ยาวกว่าอีกด้วย
คนที่เลือกทำแบบนี้ มีแต่กวีที่จัดเจนงานกวีมาก่อน  ไม่ใช่หัดแต่ง   หรือนานๆแต่งที     ท่านเชื่อมือตัวเองว่าเรียบเรียงเหตุการณ์ยากๆ เป็นกลอนได้โดยไม่ผิดพลาด  เป็นคนมีใจรักด้านกวีนิพนธ์ พอจะฝากทั้งข้อเท็จจริงและฝากฝีมือไว้ให้ลูกหลานอ่าน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 15 เม.ย. 11, 12:38

ภาษาที่ใช้ มีสัมผัสยากๆหลายคำ  พระองค์ท่านทรงใช้ไม่ติดขัดเลย    บางวรรคเห็นชัดว่า  ถ้าจะเลี่ยงลงท้ายวรรคด้วยเสียงสัมผัสง่ายก็ได้   แต่ก็ไม่ทรงเลี่ยง  ใช้สัมผัสที่ยากกว่าอย่างไม่เกรงจนมุม   
อย่างวรรคท้ายที่ลงด้วยเสียง  อืน    คนแต่งกลอนจะรู้ว่าเป็นคำหาสัมผัสยาก  คำง่ายที่สุดคือคำลงด้วยสระ อา  ต่อมาคือ สระอี 
ตัวสะกดคำตายถือเป็นคำยาก  เขียนให้เพราะก็ยาก    ตัวสะกดคำเป็นหาง่าย  แต่คำเป็นก็มีเสียงยากง่ายต่างกัน  เช่น  คำที่ลงเสียง อืน  เป็นคำยากกว่าคำลงเสียง อัน 

ทหารปืนเล็กใหญ่ทั้งไพร่นาย               มากมายเพิ่มขึ้นทุกวันคืน

ถ้าทรงเปลี่ยนเป็น ทุกคืนวัน    จะหาคำมาสัมผัสในบทต่อไปได้ง่ายขึ้น  แต่ก็ทรงลงด้วย เสียงอืน   และหาคำเสียงอืน อื่นๆมาสัมผัสอย่างไม่จนคำ  ไม่มีคำซ้ำ   และยังได้ความหมายครบถ้วน   ไม่มีการลากคำมาใส่ลงไป  สักแต่ว่าให้รับกัน   

กองตระเวนตรวจกระทั่งถึงวังหน้า           เสียงรถมาลั่นพิลึกจนดึกดื่น
ทั้งคนขี่พาชีมีดาบปืน                        เที่ยวเดินยืนรอบราชวังบวร

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 17 เม.ย. 11, 21:12

นิราศเรื่องนี้ยากกว่านิราศอื่นๆตรงที่ว่า นิราศส่วนใหญ่นั้นเป็นการบันทึกอารมณ์ส่วนตัว จะเขียนมากเขียนน้อยอย่างใดก็แล้วแต่ใจกวี   ไม่มีอะไรมาบังคับ     จะแสดงลูกเล่น คารม โวหารอย่างใดก็ทำได้ตามใจชอบ   อย่างนายนรินทร์ธิเบศร์ก็เพลิดเพลินกับการเล่นอธิพจน์ หรือ hyperbole เสียเกือบทุกบทที่ครวญถึงนาง  แบบเดียวกับศรีปราชญ์ผู้เป็นต้นแบบ  
แต่นิราศเรื่องนี้  กวีถูกจำกัดกรอบด้วยถูกต้องของเหตุการณ์   เพราะวางจุดมุ่งหมายไว้ว่าบันทึกให้ลูกหลานอ่านข้อเท็จจริง ก็ต้องมุ่งไปทางนี้    ซ้ำข้อเท็จจริงที่ว่าก็เป็นเรื่องละเอียดอ่อน   บอกมากไปภัยอาจมาถึงตัว   บอกน้อยไปก็คลุมเครือไม่ชัดเจน    
ข้อกำหนด ที่ทรงวางกรอบไว้   ทำให้เห็นฝีมือกรมหมื่นสถิตย์ฯ ว่าทรงสามารถเรียบเรียงเรื่องราว ทั้งที่ไปที่มาได้ชัดเจน  ลำดับเหตุการณ์ในแต่ละโมงยามได้เป็นระเบียบ     รายละเอียดที่จำเป็นท่านก็เลือกใส่มาได้อย่างเห็นภาพ   เช่นอาการประชวรของกรมพระราชวังบวรฯในคืนนั้น     หรือการลำดับการลี้ภัยที่วังหน้าเสด็จไปก่อน  แล้วจึงส่งคนมาตามท่านไปทีหลัง  
อ่านแล้วก็เห็นถึงความฉุกละหุกและอกสั่นขวัญหายในคืนนั้น     ตัวท่านเองก็คงพระทัยหาย แต่ด้วยขัตติยะมานะ จะมัวละล้าละลังอยู่ไม่ได้  ก็ต้องสะกดกลั้นอารมณ์   ไม่รำพี้รำพันออกมามากมาย   แต่คำไม่กี่คำนั้นก็ทำให้รู้ว่าทรงเป็นทุกข์ห่วงลูกห่วงเมียขนาดไหน


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 เม.ย. 11, 20:26 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 22:17

เป็นเพราะจุดมุ่งหมายคือเล่าข้อเท็จจริงให้ลูกหลานฟัง     นิราศเรื่องนี้จึงใช้ถ้อยคำเรียบๆ  ไม่เล่นโวหารพริ้งพราย อวดฝีมือกวีอย่างนิราศโดยมาก      แต่การเรียบเรียงคำและความก็แสดงความจัดเจนในการแต่ง   กลอนของท่านลื่นไหลไม่มีตะกุกตะกัก  ไม่มีการใส่คำไร้ความหมายเข้าไป เพียงหาสัมผัสให้ได้ และเรียบเรียงเรื่องได้เนื้อถ้อยกระทงความจนกระทั่งตอนจบ



แต่ก็ยังไม่วายถ่อมพระองค์ ตามขนบของกวีตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์    ว่ามิใช่นักปราชญ์  นักปราชญ์ในที่นี้หมายถึงผู้เชี่ยวชาญหนังสือรวมทั้งแต่งกวีนิพนธ์ได้ด้วย    ไม่ได้หมายถึงนักปรัชญาอย่างโสเครตีส

ในเมื่อทรงแต่งกลอนได้จัดเจน  ก็เชื่อว่าทรงมีผลงานไว้ที่อื่นแน่นอนนอกจากนิราศเรื่องนี้    ก็ได้คำตอบมาจากท่าน Navarat

กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ทรงมีผลงานด้ายกวีนิพนธิ์ทิ้งไว้ประปราย ลูกหลานไม่ค่อยจะทราบว่าอยู่ที่ไหนบ้าง สักสิบกว่าปีมาแล้วผมไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หอศิลป์วังเจ้าฟ้า ห้องชั้นบนที่นั่นแสดงภาพเขียนสีน้ำมันแบบฝรั่ง มีโคลงบรรยายภาพประกอบตามเนื้อหาในพระราชพงศาวดาร งานดังกล่าวเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่โปรดให้สร้างขึ้น จำนวนทั้งหมด๙๒ภาพ เมื่อสร้างสำเร็จแล้ว โปรดเกล้าฯให้ติดแสดงให้ประชาชนชม ในงานออกพระเมรุเจ้านายฝ่ายในหลายครั้ง
 
ปัจจุบันภาพชุดดังกล่าวอยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวัง และถูกนำแยกไปติดตั้งยังสถานที่ต่างๆหลายแห่ง ส่วนที่แสดงอยู่ที่วังท่าพระมีสักสิบกว่าภาพ หนึ่งในนั้นผมแลเห็นภาพหนึ่งปรากฏพระนามของท่านทรงเป็นผู้ประพันธ์โคลงประกอบ จึงได้พยายามจะขอถ่ายภาพโดยรับรองว่าจะไม่ใช้แฟรช แต่ยังไงๆพนักงานที่เฝ้าอยู่ก็ไม่ยอม

หลายปีต่อมาจึงได้หนังสือที่กรมศิลปากรพิมพ์ขึ้น มีทั้งภาพและโคลงบรรยายดังกล่าว ขออนุญาตนำมารวมไว้ในกระทู้นี้ด้วยครับ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 22:21

ขอขยายโคลงพระนิพนธ์ให้อ่านกันชัดๆ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 22:37

สิ่งที่มองเห็นจากโคลงนี้ ก็คือกรมหมื่นสถิตย์ฯ ทรงรู้จักใช้ภาษาได้หลายระดับ   ภาษาในนิราศ กับภาษาในโคลง  เป็นคนละระดับกัน   
นิราศเขียนด้วยภาษาเรียบๆ  มีศัพท์ไม่มากนัก  บรรยายให้อ่านเข้าใจง่าย  เป็นระดับภาษาในชีวิตประจำวันในสมัยนั้น      เหตุผลก็อย่างที่ว่าแล้วคือท่านเขียนให้ลูกหลานอ่านในราชสกุลของท่าน    ไม่ได้แต่งเพื่อประกวดประขันหรือแต่งเป็นตำรับตำราอะไร   ก็ไม่ต้องใช้ภาษาวิจิตรพิสดาร

แต่เมื่อมาแต่งโคลงประกอบภาพวาดจากพระราชพงศาวดาร    งานนี้ไม่ธรรมดา  ทำถวาย ฉลองพระเดชพระคุณเจ้านายสูงสุด  และยังมีกวีเด่นๆมาประชันแสดงฝีมือกันอีกไม่รู้ว่ากี่คน     กรมหมื่นสถิตย์ฯ ท่านได้รับคัดเลือกให้แต่ง ก็แสดงว่าท่านต้องมีผลงานก่อนหน้านี้เป็นที่ประจักษ์กันอยู่  จะเขียนอะไรเรียบๆ อย่างไรได้    ดีไม่ดีกลายเป็นจืดสนิทเมื่อเทียบกับฝีมือกวีอื่น    ท่านก็เลยเลื่อนระดับภาษาของท่านขึ้นมาให้เห็นชัด    ให้รู้กันว่า แต่งแบบนี้ไม่น้อยหน้าใคร
โปรดสังเกตคำ

ภูบาลนฤเบศรเบื้อง                รามัญ
เถลิงคชกระโจมสุวรรณ           เวียดล้อม

รามัญ ในที่นี้ไม่ได้แปลว่ามอญ  แต่หมายถึงพม่า    เรามาใช้ควบกันว่า พม่ารามัญ      เถลิงคช แปลว่าขึ้นช้าง    ถ้าถามว่าเปลี่ยนจากเถลิงคชเป็นขึ้นช้างให้เข้าใจง่ายๆไม่ได้หรือ   คำตอบคือได้ แต่ไม่เพราะ     เพราะว่าโคลงเป็นคำประพันธ์ที่มีจำนวนคำน้อยมาก  โดยลักษณะแล้วบังคับให้รวบรัดอยู่ในตัว บรรยายยืดยาวไม่ได้    กวีผู้แต่งโคลง จึงต้องพิถีพิถันเลือกศัพท์ เพื่อให้โคลงฟังบรรเจิด    คำที่นิยมกันว่าไพเราะก็คือคำศัพท์ที่ต้องแปล  จะเป็นบาลีหรือสันสกฤตหรือเขมรก็ตาม    ไม่ใช่คำง่ายๆอย่างคำไทย
ส่วน เวียดล้อม คือแวดล้อม    กรมหมื่นสถิตย์ฯ ท่านก็ไม่ใช้ภาษาประจำวันในคำนี้อีกนั่นละค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 17:04

    ศรเพลิงแผลงพลุ่งเปรี้ยง             ปรึงยุทธ
ถอนถีบท้ายเรือทรุด                       ซัดเต้า
สูงส่งกระสุนสดุด                           สเดาะกิ่ง โพธิ์แฮ
ฉินท์เฉียดคเชนทรเจ้า                     เจิดหล้าแหล่งเตลง

ตัวหนังสือสีแดง ที่ทำไว้  เพื่อให้เห็นว่าโคลงสี่สุภาพบทนี้ กรมหมื่นสถิตย์ฯท่านทรงเล่นคำเพิ่ม  คล้ายโคลงกลบท    คือมีอักษรเดียวกันสองตัวซ้อนในบาทที่ ๒ ๓ และ ๔  คือแสดงฝีมือที่แต่งยากหนักขึ้นไปกว่าโคลงธรรมดา     ในแต่ละบาท มีอักษรเดียวกัน ๒ ตัว  และมีเสียงเดียวกัน ๓ เสียงทุกบาท
   บาทที่ ๑    เพลิง แผลง พลุ่ง   เสียง PL
   บาทที่ ๒    ถอน ถีบ  ท้าย      เสียง T
   บาทที่ ๓    สูง ส่ง  (กระ)สุน   เสียง S      สดุด สเดาะ   เสียง SD
   บาทที่ ๔    ฉินท์ เฉียด  (ค)เชนทร        เสียง Sh
  
   กวีที่กล้าเล่นคำ เล่นเสียง ทั้งๆไม่มีข้อกำหนดให้เขียน  คือกวีที่เชี่ยวชาญด้านแต่ง  เคยแต่งบทมามาก    จนกระทั่งรู้สึกว่าถ้าเขียนแบบธรรมดาๆ ไม่มีบังคับอะไรเพิ่มจากบังคับหลัก  รสชาติก็จะงั้นๆ      จึงต้องพลิกเพลงเพิ่มเติมให้มีลูกเล่นพิเศษขึ้นมา  ถือเป็นรสชาติของกวีนิพนธ์
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.202 วินาที กับ 20 คำสั่ง