เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 53710 “นิราศกรมหมื่นสถิตย์” ว่าด้วยวิกฤตวังหน้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 22 มี.ค. 11, 11:06


อ้างถึง
ส่วนพระเถ้าอัฐิของ Queen  ที่ว่ามา    ดิฉันเข้าใจว่าหมายถึงเถ้าพระอัฐิพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ หรือพระนางเรือล่ม ที่สิ้นพระชนม์ในพ.ศ. ๒๔๒๓
^
ตรงนี้ฟังดูหม่างๆอยู่

ตามธรรมเนียมไทย ไม่มีใครเที่ยวเอาอัฐิอังคารของบุคคลที่ตนรัก ไปเที่ยวมอบให้ผู้ที่มิใช่ญาติสนิทของผู้ตาย ฝรั่งคงจะเข้าใจอะไรผิดสักอย่าง อ่านเอกสารฝรั่งแล้วจึงไม่สามารถจะเชื่อทุกอย่างได้


ก่อนจะผ่านเรื่องนี้ไป ผมพยายามทำใจให้เป็นกลางที่จะวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยสรุป
 
เหนือสิ่งอื่นใด กรณีย์วิกฤตวังหน้านี้ ผมขอกราบถวายบังคมด้วยเศียรเกล้าฯแทบพระบาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ในพระปรีชาสามารถสมเป็นมหาราชที่ยิ่งใหญ่ของชาติไทย ที่ทรงใช้ความสุขุมคัมภีรภาพ ทั้งอ่อนทั้งแข็ง แก้ไขวิกฤตการณ์ที่มาจากต่างประเทศและในประเทศอย่างสุขุมคัมภีรภาพ สยบข้อขัดแย้งทั้งปวงลงโดยทิ้งความร้าวฉานไว้น้อยที่สุด ส่งให้เกิดพระบารมีจนผู้ใดในแผ่นดินมิอาจทัดทาน และเป็นพลานุภาพให้ทรงปฏิรูประบบระบอบอันล้าสมัยของสยาม ให้เทียมเท่าบรรดาอารยะประเทศได้เป็นอย่างบรรลุผลในรัชสมัยของพระองค์

ในด้านผู้แพ้นั้น ผมเห็นว่า ไม่ว่าจะผิดอย่างใด กรมพระราชวังบวรท่านก็มีเหตุผลรับฟังได้ ในการเลือกที่จะหนีตายไปพึ่ง”ร่มธงอังกฤษ” ในยามที่สถานการณ์เฉพาะหน้าบังคับนั้นไปทีหนึ่งก่อน  แต่เรื่องที่มิอาจปฏิเสธได้ คือท่านได้ทำให้เกิดความสุ่มเสี่ยงอย่างยิ่งต่อการที่มหาอำนาจจะฉวยเป็นโอกาสปล้นเอกราชของชาติ โดยใช้ตัวท่านนั่นแหละเป็นเหยื่อ

โชคดีที่อังกฤษยังไม่พร้อม เพราะกำลังอยู่ในระหว่างศึกยืดเยื้อกับพม่า และต้องรีบปิดเกมก่อนที่ฝรั่งเศสซึ่งพร้อมกว่า จะเข้ามาหาเหตุแทรกแซง เรื่องร้ายจึงยุติลงอย่างที่เราทราบๆกัน

เหตุการณ์ในระหว่างความตึงเครียด นายนิวแมนจะเล่นเกมการเมืองข้างนอกกงศุลอย่างไร กรมพระราชวังบวรฯจะทรงทราบหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน ผมก็ไม่อยากเดา จากนิราศ ก็เห็นได้ว่า นายนิวแมนก็มิได้บอกอะไรทั้งหมด จนฝ่ายที่หิวข่าวรู้สึกได้ว่ามีอะไรที่ดูเหมือนเสแสร้งอยู่เหมือนกัน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 22 มี.ค. 11, 11:08

เมื่อพิจารณาข้อเรียกร้อง๑๐ข้อของกรมพระราชวังบวรฯต่อพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ก็เป็นเพราะไม่เข้าพระทัยพระบรมราโชบายที่จะปฏิรูปการปกครองของประเทศจากระบบที่ล้าสมัย ซึ่งวังหน้าก็เป็นความล้าสมัยประการหนึ่งด้วย เท่าๆกับระบบอำมาตยาธิปไตยของสมเด็จเจ้าพระยา เมื่อไม่แจ่มแจ้งในพระบรมราโชบายที่คงจะไม่มีการประชุมชี้แจงใดๆมาก่อน จึงเห็นว่าเป็นความอยุติธรรมที่ทรงถูกรอนสิทธิ์ ในขณะที่สมเด็จเจ้าพระยาประกาศแขวนนวมไปปลีกวิเวกอยู่ราชบุรี เพื่อหลีกทางให้กลุ่มสยามหนุ่ม วังหน้าจึงเป็นเป้าของการยั่วยุในขณะนั้น จนเหตุการณ์นำไปสู่จุดวิกฤตที่เราคุยกัน

ข้อต่อรองที่เห็นได้ชัดของกรมพระราชวังบวรฯคือความต้องการจะรักษาสถานภาพของพระองค์ไว้ดังเดิม แต่เมื่อพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิเสธอย่างชัดเจน และพระราชวินิจฉัยดังกล่าว คนกลาง คือเซอร์แอนดรู คลากเห็นว่าชอบแล้ว ท่านก็หมดทิษฐิมานะที่จะดันทุรัง ยอมรับคำวินิจฉัยโดยอารยะ ตอนจะกลับวังยังได้เสด็จไปลาและขอบพระทัยเซอร์แอนดรู คลาก ที่เข้ามาช่วยให้ทุกอย่างจบลงไปอย่างดีที่สุด และถวายความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งพระองค์เองและโครตตระกูลจวบจนชีวิตหาไม่

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 22 มี.ค. 11, 11:17

ข้อความในเชิงอรรถคือการอธิบายเพิ่มเติม     หมายเหตุให้รู้ว่าเป็นของที่เซอร์แอนดรูได้รับในภายหลัง   คงจะอีกหลายปีต่อมาเมื่อเกษียณราชการแล้ว   ส่วนพระเถ้าอัฐิของ Queen  ที่ว่ามา    ดิฉันเข้าใจว่าหมายถึงเถ้าพระอัฐิพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ หรือพระนางเรือล่ม ที่สิ้นพระชนม์ในพ.ศ. ๒๔๒๓

จะห่างกันถึง ๕ ปีเลยหรือครับผม ดังพระราชสาส์นลงปี ค.ศ. ๑๘๗๕ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๑๘ ส่วนพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ สิ้นพระชนม์ในพ.ศ. ๒๔๒๓
ในเบื้องต้นพูดถึง Queen ก็สังสัยเช่นกัน แต่ด้วยระยะเวลาคงไม่ใช่กระมังครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 22 มี.ค. 11, 11:36

อย่างที่คุณ Navarat.C ว่า คือเรื่องเถ้าพระอัฐิของเจ้านายฝ่ายใน   คงไม่พระราชทานไปให้ฝรั่งเป็นแน่     เรื่องนี้อาจเข้าใจผิดอะไรกันสักอย่าง
ส่วนระยะเวลา ไม่เป็นปัญหาค่ะ  ข้อความในเชิงอรรถเขียนเพิ่มเติมทีหลังจดหมาย   เป็นคำอธิบายของผู้เขียนหนังสือ เพิ่มเติมขยายความในตอนหลัง  ไม่ใช่คำอธิบายของเซอร์แอนดรู  เพราะในเชิงอรรถเรียกเซอร์แอนดรูในฐานะบุคคลที่ 3   
เชิงอรรถนี้เขียนห่างจากปี 1875 นานเท่าใดก็ได้ไม่จำกัด -( แก้ไขเพิ่มเติม โดย เทาชมพู)


มีข้อสังเกตอีกข้อหนึ่งจากนิราศของกรมหมื่นสถิตย์ฯ



กลอนบทนี้บอกให้รู้ว่า การหนีเข้าสถานกงศุลที่ยืดเยื้อไปตั้งห้าสิบกว่าวันนั้นไม่ใช่กำหนดที่คิดกันมาแต่แรก    แต่เวลายืดเยื้อไปเพราะเกาวนาฝรั่งยังไม่เข้ามาสักที      ฝ่ายรอก็รอกระวนกระวายอยู่นั่นแล้ว  หวังว่าจะให้เรื่องจบๆลงไปเสียที
ดิฉันเชื่อว่าสาเหตุหนึ่งที่กรมพระราชวังบวรฯ ไม่อาจจะเสด็จกลับออกมาจากสถานกงศุลได้  ก็เพราะแรงเหนี่ยวรั้งจากนายนิวแมน ที่หวังว่าเซอร์แอนดรู คลาค จะมาทำให้แผนการใหญ่เกินตัวของแกเป็นจริง    นายนิวแมนเองก็อ้ำๆอึ้งๆปิดๆบังๆเอาไว้หลายเรื่อง  ไม่ได้บอกกันหมด   แสดงว่าแกก็ไม่ปล่อยให้วังหน้าได้รู้เรื่องทั้ง ๑๐๐ %

เมื่อเรื่องจบลงได้    กรมพระราชวังบวรฯ ก็มิได้ทรงมีทิฐิสิ่งใดอีก  เสด็จกลับบ้านอาจจะอย่างโล่งพระทัยเสียด้วยซ้ำ ที่มิได้กระทบกระเทือนมากกว่านี้     กลอนนิราศที่เป็นไดอารี่บันทึกเหตุการณ์เอาไว้ให้ลูกหลานรู้ความจริงก็ถูกเก็บเงียบ ไม่ให้เป็นการฟื้นฝอยหาตะเข็บขึ้นมาอีก
หลังจากนั้นเมื่อมีการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาขึ้นมาใหม่อีกครั้ง     กรมพระราชวังบวรฯ ก็เสด็จมาทรงกระทำสาบานอย่างราบรื่นเรียบร้อย    และปลีกพระองค์จากการเมืองนับแต่นั้นเป็นต้นมา  
ทรงหันไปสนพระทัยกับงานช่าง งานศิลปะ    ซึ่งคงทำให้สบายพระทัยมากกว่าเรื่องการเมืองหลายเท่าตัว     จากบันทึกของคาร์ล บ็อกก็พอจะเห็นได้ว่า ทรงรักษาไมตรีกับฝรั่งไว้ได้อย่างสนิทสนมเหมือนเดิม   ไม่มีการห้ามปรามกวดขันจากวังหลวง  แต่อย่างใด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 22 มี.ค. 11, 13:01

สำหรับบุคคลนี้หมายถึงใครครับ "he sent him some of the ashed of his Queen, who died a few months before" ซึ่ง Queen ในที่นี้จะหมายถึงเจ้าจอมท่านใดครับ  ฮืม
เนื่องจากในระหว่างการมาเยือนของ Sir Andrew Clarke ท่านได้กล่าว่า สมเด็จเจ้าพระยานั้น นำท่านไปชมงานพระศพของ Daugther-in-Law ซึ่งเสียชีวิตไป ๒ เดือนที่ผ่านมา

ลูกสะใภ้ของสมเด็จเจ้าพระยา   ไม่ใช่เจ้านาย  จึงไม่ต้องใช้ราชาศัพท์ว่าพระศพ   
เจ้าคุณแพ ท่านเป็นชั้นหลานปู่ของสมเด็จเจ้าพระยา   ถ้าชั้นลูกสะใภ้ก็ต้องถือว่าแก่กว่าสมเด็จพระจุลจอมเกล้ามาก    และในเมื่อเป็นสะใภ้ก็น่าจะมาจากสกุลอื่น ไม่ใช่สกุลบุนนาค
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 22 มี.ค. 11, 13:12

       ในวิกฤตวังหน้า  มีพระราชหัตถเลขา ๒ ฉบับที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีถึงกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญโดยตรง    เห็นว่าควรอัญเชิญมาลงไว้ให้อ่านกัน  เพื่อประจักษ์ถึงน้ำพระราชหฤทัยและพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อกรมพระราชวังบวรฯ
    ร. ที่  ๑๖๕                                                                             สมมุติเทวราชอุปบัต
                                                                                             วัน ๓ ฯ ๑ ค่ำ ๑๒๓๖

ถึง  กรมพระราชวังบวรสถานมงคล

                     ด้วยการเกิดขึ้นครั้งนี้เป็นการใหญ่ไม่เคยมีเลย  ฉันมีความเสียใจมาก  เธอไปอาศัยอยู่ที่บ้านกงสุลอังกฤษนี้ด้วยเหตุใด  ฉันไม่ได้คิดจะฆ่าเธอๆ มีความหวาดหวั่นข้อใด  เธอก็รู้อยู่เองว่าในแผ่นดินเราทุกวันนี้ ผู้ใดไม่มีความผิดใหญ่ที่ควรจะต้องฆ่าแล้ว ก็ฆ่ากันไม่ได้  ด้วยอาศัยความยุติธรรมเป็นที่ตั้ง  ที่เธอมีความสะดุ้งหวั่นหวาดถึงชีวิต  จะคิดการเกินไปดอกกระมัง  หรือมีความผิดใหญ่อยู่ในใจจึงได้มีความร้อนระแวงกัน  นี่ก็ไม่มีความสำคัญเลย ไม่ควรจะเป็น  ฉันไม่ได้โกรธเธอๆ มาโกรธฉันข้างเดียวฉันเสียใจนัก  เธอทำการถึงเพียงนี้จะพาให้เสียชื่อติดแผ่นดินไปทั้งสองฝ่าย  ก็เธอจะคิดต่อไปอย่างไรจึงจะเป็นการดีการชอบ  อย่าให้ราษฎรได้รับความเดือดร้อนหวั่นหวาดต่อไป  การที่เป็นไปนี้ฉันก็ไม่ทราบชัด  ต่อเจ้าคุณมาบอกว่า เธอกลัวฉันจะฆ่าเธอ  การนี้ฉันไม่ได้คิดเลย  ถ้าเธอคิดเห็นการอย่างไร  จะเป็นการเรียบร้อยสิ้นสงสัยเลิกแล้วเป็นการดี  จงมีหนังสือเป็นสำคัญมาให้รู้ด้วย

                                                                                            Chulalongkorn  R.S.
   

     ฉบับที่สอง
     เมื่อปัญหายุติลงแล้ว  มีพระราชหัตถเลขามาพระราชทานกรมพระราชวังบวรฯ ทรงจัดเรือพระที่นั่งมารับเสด็จจากสถานกงศุลกลับไปวังหน้า ให้สมพระเกียรติยศ

          ร.ที่ ๒๑๒                                                                                       สมมุติเทวราชอุปบัต
                                                                                                              วัน ๕ฯ๓ ค่ำ ๑๒๓๖
          ถึงกรมพระราชวังบวรสถานมงคล

                    ด้วยฉันได้ทราบว่า เจ้าคุณท่านจัดจะให้มาเรือเก๋ง บัดนี้ฉันมีความยินดี ได้จัดเรือเก๋งที่นั่งของฉัน
         ให้เจ้าหมื่นเสมอใจราชคุมมา ขอให้เธอลงเรือนั้นไป จะได้สมควรแก่เกียรติยยศ
                                                                                                               จุฬาลงกรณ์
              
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 22 มี.ค. 11, 21:16

     ท่านเจ้าของกระทู้ อาจจะจบกระทู้ของท่านแล้ว      ส่วนดิฉันในเมื่อไปเริ่มเรื่องม.จ.ฉวีวาดเอาไว้    ก็เลยต้องต่อจนจบ ไม่งั้นคนดูอาจจะนึกว่านางเอกหนีไปเขมร  แล้วก็สาบสูญไปไม่ได้ข่าวคราวอีก
     ตามประวัติ  เขมรในตอนนั้นมีสมเด็จนโรดมเป็นพระเจ้าแผ่นดินเขมร   พระเจ้านโรดมเคยอยู่ในสยามมาตั้งแต่เล็ก  รู้ภาษาไทยและขนบธรรมเนียมศิลปวัฒนธรรมไทยดี    ตอนอยู่ในกรุงเทพก็มีวังของตัวเอง     รู้จักมักคุ้นกับเจ้านายไทยเป็นอย่างดี
     เมื่อมีเจ้านายไทยหนีไปพึ่งพระบารมี  สมเด็จนโรดมก็รับท่านไว้เป็นฝ่ายใน   และรับละครในของไทยไว้ด้วยความยินดีพระทัยมาก   ในที่สุด  ก็มีพระองค์เจ้าด้วยกัน ๑ องค์ชื่อพระองค์เจ้าชายพานคุลี   
    อย่างไรก็ตาม ม.จ.ฉวีวาดไม่ได้อยู่ในเขมรจนสิ้นพระชนม์อย่างที่บางคนอาจเดากัน    แต่ท่านกลับมาสยามในรัชกาลที่ ๖   เพียงลำพัง      ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ไม่ได้เล่าว่าทำไมท่านถึงกลับ    บอกแต่ว่ากลับมาท่านก็มาบวชชี จนสิ้นชีพิตักษัยเมื่อพระชนม์ได้ 80 ปี   ส่วนพระองค์เจ้าพานคุลียังอยู่ในเขมร แต่เคยเสด็จมาเยี่ยมท่านแม่หนหนึ่งในรัชกาลที่ 6
 
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 27 มี.ค. 11, 10:39


ด้วยความใคร่รู้เรื่องราวของหม่อมเจ้าฉวีวาดต่อ ทำให้ผมต้องค้นหนังสือเกี่ยวกับราชวงศ์เขมรในอดีตมาพลิกๆดู ไม่เจอเรื่องของหม่อมเจ้าฉวีวาด หรือแม้นแต่ชื่อพระองค์เจ้าชายพานคุลี แต่ไปเจอเรื่องของนางสาวแพน เรืองนนท์นางละครคนไทยอีกคนหนึ่ง ที่เผอิญชีวิตพลิกผัน ได้ไปเป็นเจ้าจอมคนโปรดคนหนึ่งในราชสำนักเขมรของพระบาทสีสวัสดิ์ มณีวงศ์ (Preah Bat Sisowath Monivong)
เรื่องของเธอ มีอยู่เยอะแยะ หาอ่านได้ไม่ยากจากเวป ผมจึงไม่ขอฉายซ้ำ แต่จะขอแนะนำเวปนี้ให้ท่านเข้าไปอ่านกันเอง

http://www.artgazine.com/shoutouts/viewtopic.php?t=9328

กระทู้ดังกล่าวโปรยหัวไว้ดังนี้

เจ้าจอมที่ถูกลืมของกษัตริย์กัมพูชา - โศกนาฏกรรมสยาม
กษัตริย์กัมพูชา นางละครสยาม และข่าวที่ถูกห้ามเขียน


สุภัตรา ภูมิประภาส : นักวิชาการอิสระ
นักวิชาการอิสระที่สนใจในประเด็นสิทธิสตรีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


บทความนี้ได้รับมาจากผู้เขียน ซึ่งเคยได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกใน
นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๓๐ ฉบับที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๒
เป็นเรื่องความผันผวนของชีวิตนางละครไทยซึ่งเคยก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดของชีวิต
ในราชสำนัก แต่ภายหลังคืนกลับสู่สามัญชน ด้วยเหตุผลทางการเมืองอันลึกลับซับซ้อน
ทั้งในส่วนของราชสำนักและการเมืองในเอเชียอาคเนย์สมัยอาณานิคม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 27 มี.ค. 11, 10:40

รูปประกอบของนางสาวแพน ในวัยหกสิบ ที่คุณเอนก นาวิกมูลถ่ายไว้นี้ ดูเหมือนจะเป็นภาพเดียวของเธอ ที่เผยแพร่อยู่ในหนังสือภาษาไทย และเวปต่างๆ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 27 มี.ค. 11, 10:44

ผมได้เจอรูปเข้ารูปหนึ่งในหนังสือ Picture Postcards of Cambodia 1900-1950 ที่ลงทุนซื้อไว้นานแล้ว เป็นรูปที่บรรยายภาพว่า On the reverse it states that this is an image of a Siamese wife of King Sisowath. November 1905.(ด้านหลัง บรรยายว่านี่คือภาพของพระชายาชาวสยามของกษัตริย์สีสวัสดิ์ พฤศจิกายน ๒๔๔๘)


เมื่อเห็นแล้ว ก็อดที่จะนำมาบรรณาการท่านผู้อ่านกระทู้ของผมในเรือนไทยมิได้ และขอนำลงที่นี่เพื่อแสดงความขอบคุณห้องสมุด “เรือนไทย” ด้วย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 27 มี.ค. 11, 10:45

พระฉายาลักษณ์ของพระบาทสีสวัสดิ์


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 27 มี.ค. 11, 10:48

ความจริงถ้าจะเขียนเรื่องละครในราชสำนักสยามไปสู่ราชสำนักเขมร คุณเพ็ญชมพูและอีกหลายท่านคงช่วยกันเขียนได้ยาว น่าจะแยกกระทู้ออกไปนะครับ (ถ้ามีคนสนใจจะอ่าน)

ส่วนผม ขอจบเพียงเท่านี้แหละครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 27 มี.ค. 11, 11:32

ความจริงถ้าจะเขียนเรื่องละครในราชสำนักสยามไปสู่ราชสำนักเขมร คุณเพ็ญชมพูและอีกหลายท่านคงช่วยกันเขียนได้ยาว น่าจะแยกกระทู้ออกไปนะครับ (ถ้ามีคนสนใจจะอ่าน)

ส่วนผม ขอจบเพียงเท่านี้แหละครับ

สนใจใคร่รู้เรื่องราวด้วยครับ การถ่ายทอดของศิลปะการรำ สยาม-กัมพูชาครับ
แนบภาพนางรำในราชสำนักกัมพูชา วาดโดยชาวยุโรปสมัยรัชกาลที่ ๖


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 28 มี.ค. 11, 09:05

                                                                                          
     ฉบับที่สอง
     เมื่อปัญหายุติลงแล้ว  มีพระราชหัตถเลขามาพระราชทานกรมพระราชวังบวรฯ ทรงจัดเรือพระที่นั่งมารับเสด็จจากสถานกงศุลกลับไปวังหน้า ให้สมพระเกียรติยศ

          ร.ที่ ๒๑๒                                                                                       สมมุติเทวราชอุปบัต
                                                                                                              วัน ๕ฯ๓ ค่ำ ๑๒๓๖
          ถึงกรมพระราชวังบวรสถานมงคล

                    ด้วยฉันได้ทราบว่า เจ้าคุณท่านจัดจะให้มาเรือเก๋ง บัดนี้ฉันมีความยินดี ได้จัดเรือเก๋งที่นั่งของฉัน
         ให้เจ้าหมื่นเสมอใจราชคุมมา ขอให้เธอลงเรือนั้นไป จะได้สมควรแก่เกียรติยยศ
                                                                                                               จุฬาลงกรณ์
 
            

พระราชหัตถเลขาในสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีถึงกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ


 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 30 มี.ค. 11, 10:15

เชิญอ่านต่อได้ในกระทู้นี้ค่ะ

ละครในราชสำนักสยามไปสู่ราชสำนักเขมร

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4316.msg81046#msg81046


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 20 คำสั่ง