เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 53725 “นิราศกรมหมื่นสถิตย์” ว่าด้วยวิกฤตวังหน้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 21 มี.ค. 11, 21:14

ต่อจากค.ห. 57

ได้ช่วยกันผันผ่อนอพยพ    มาระคนสมทบไว้ตามควร



     กลอนนี้ระบุว่ามีคนไปเข้าเฝ้ากรมพระราชวังบวรฯในสถานกงศุลมิได้ขาด   ก็คงเป็นทั้งฝ่ายหน้าฝ่ายในของท่าน  บรรดาเจ้าจอมหม่อมห้ามคงพากันไปทั้งหมด   กรมหมื่นสถิตย์ฯ ถึงทรงเปรียบเปรยว่า  ร้องไห้ฟูมฟายน้ำตาตักได้เป็นขันสองขัน      
     ทำให้ดูออกว่า ยังไม่มีพระบรมราชโองการให้จับกุมคุมขัง หรือริบราชบาตรพระบวรวงศานุวงศ์ทั้งในวังหน้าและวังอื่นๆทั้งสิ้น    ทุกองค์และทุกคนสามารถจะไปเข้าเฝ้ากรมพระราชวังบวรฯได้เหมือนปกติ     ไม่มีใครขัดขวางห้ามปราม
     ผิดกับทางฝ่ายหม่อมเจ้าหญิงฉวีวาด   ที่ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ถ่ายทอดจากคำบอกเล่าของท่านพ่อ ม.จ.คำรบ ปราโมช อีกที  ว่า  เมื่อม.จ.ฉวีวาดหนีออกนอกพระราชอาณาจักร  เป็นโทษอุกฤษฎ์   ทางราชการก็ไปจับตัวญาติสนิทมาลงโทษแทนถ้าจับผู้ต้องหาไม่ได้
คนที่โดนเข้าคือหม่อมแม่ของม.จ.ฉวีวาด  ซึ่งเป็นมารดาของม.จ.คำรบ  ถูกเฆี่ยนหลัง ๓๐ ที จำสนม (คือถูกคุมขัง) และริบทรัพย์สินบริวารที่เรียกว่าริบราชบาตร
     ตอนนั้นม.จ.คำรบอายุ ๘ ขวบ  ตื่นขึ้นมาตอนดึก เจ้าพี่ผู้หญิง ๔ องค์ และหม่อมแม่รีบเก็บข้าวของกันอลหม่าน   ตอนเช้าเจ้าพี่ทุกองค์ก็ทรงย้ายจากตำหนัก  เข้าไปอยู่ในวังหลวง พึ่งพระบารมีพระอัครชายาเธอพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ (พระวิมาดาเธอฯ)  บ่าวไพร่ก็หลบหนีไปหมด  ไม่มีใครเอาใจใส่เด็กอายุ ๘ ขวบ    
     ท่านถูกทิ้งนั่งร้องไห้อยู่องค์เดียวจนเที่ยง  หม่อมยายคือหม่อมของหม่อมเจ้าทับทิมในกรมพระราชวังหลัง ก็เข้ามา   พอเห็นก็อุ้มท่านออกจากตำหนักไปอยู่ที่วังของท่านตาซึ่งเป็นบ้านหลังเล็กๆ  อยู่ติดกับวัดราชนัดดา
     ท่านตาหม่อมเจ้าทับทิมสิ้นชีพิตักษัยไปนานแล้ว  เหลือหม่อมยายซึ่งเลี้ยงชีพด้วยการทำขนมขาย   มีบ่าวออกเดินเร่ขาย  ชีวิตลำบากยากจน กินอยู่อดๆอยากๆ      ท่านยายสอนให้หลานชายเก็บพุทราหน้าบ้านใส่กระทงไปเดินขายหารายได้   กระทงละอัฐ    ท่านก็ไปเดินขายหน้าโรงบ่อนโรงหวย  ได้เงินมาก็เอามาให้ยาย  ส่วนหม่อมแม่ก็ไม่ได้ข่าวคราวเลย  รู้แต่ว่าติดสนมหรือถูกคุมขัง
     บรรดาคนที่ซื้อพุทรา  ไม่มีใครรู้เลยว่าเด็กน้อยเดินเร่ขายพุทรานั้นเป็นถึงหม่อมเจ้า  พระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 21 มี.ค. 11, 21:27

    ก็ยังนับว่ากรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ และพระบวรวงศานุวงศ์ยังโชคดีอยู่มาก ที่มิต้องเผชิญชะตากรรมขนาดหนักอย่างแบบข้างบนนี้     ในกลอนบอกว่า
    อันอาการกายานั้นผาสุก              แต่ใจทุกข์ยิ่งอย่างปางปฐม

   กายสุข แต่ใจทุกข์    ทุกท่านก็คงจะหวาดวิตกทุกข์ร้อน ไม่น้อยกว่ากันในช่วงเวลาเกือบ ๒ เดือนที่เกิดวิกฤตวังหน้า   มีข่าวดีเข้ามาก็ค่อยสบายใจ   มีข่าวร้ายเข้ามาก็หดหู่เศร้าหมองกันไปอีก  ก็คงอกสั่นขวัญแขวนกับอนาคตที่ไม่รู้ว่าจะลงเอยกันอย่างไร

     แม้ฟังความงามดีค่อยคลี่คลาย                 แม้ข่าวร้ายใครมาเล่าก็เศร้าทรวง

    ข่าวลือในสมัยนั้นคงแพร่สะพัดกันอลหม่านไม่รู้ว่าข่าวไหนเป็นข่าวไหน   ในเมื่อขุนนางวังหน้าและข้าราชบริพารสามารถเข้าสถานกงศุลได้ตามสะดวก ไม่ถูกห้ามปราม   ก็คงมีข่าวมาทูลเจ้านายทุกวัน   ดีบ้างร้ายบ้าง จริงบ้างลือบ้าง  จะไม่ฟังก็ไม่ได้เพราะต้องรู้ข่าวคืบหน้า  แต่ฟังแล้วก็ยิ่งร้ายเข้าไปอีก
     
     
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 21 มี.ค. 11, 22:38

ต้องขออธิบายเพิ่มว่า  หม่อมเจ้าฉวีวาดท่านไม่ได้โดนข้อหากบฏในพระราชอาณาจักรตรงๆ      ถ้าอย่างนั้นโทษอาจจะหนักกว่าริบราชบาตร   ความผิดของท่านที่กระทำแบบจับได้คาหนังคาเขา  คือท่านเสด็จออกไปเกินเขตเสาหินทั้งสี่ของพระนคร 
สมัยนั้นกรุงเทพฯยังมีหลักเขตสี่ทิศ  คือมีเสาหินปักอยู่เหนือใต้ออกตก เป็นเครื่องหมายสุดเขตเหมือนเสาหินปักเขตที่ดินสมัยนี้
พระบรมวงศานุวงศ์จะเสด็จไปไหนตามพระทัยชอบในพระราชอาณาจักรไม่ได้    ถ้าเสด็จออกพ้นเสาหินดังกล่าวต้องกราบถวายบังคมลา และได้รับพระบรมราชานุญาตเสียก่อน  ไม่งั้นเจอโทษหนัก ถือว่าเป็นโทษกบฎ
หม่อมเจ้าหญิงฉวีวาดละเมิดกฎข้อนี้อย่างชัดเจน    เสด็จลงเรือหนีออกนอกเขตสยามไปถึงเขมร  ถือว่าทำผิดเห็นๆ  โดยไม่ต้องไต่สวนสืบสาวเรื่องราวให้เยิ่นเย้อยืดยาว   

กฎข้อนี้   เจ้านายในชั้นหลังเช่นพระนางเจ้าสุว้ทนาในรัชกาลที่ ๖ ยังทรงรักษาเคร่งครัด     เมื่อเสด็จไปประทับพักร้อนที่หัวหิน ก็ต้องมีหนังสือกราบบังคมลาพระเจ้าอยู่หัวทุกครั้งไป    เรื่องนี้ขอให้คุณ V_Mee เล่ารายละเอียดจะดีกว่า
บันทึกการเข้า
natadol
ชมพูพาน
***
ตอบ: 171


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 22 มี.ค. 11, 02:56

รบกวนสอบถาม อ.navarat.c ครับว่า ในนิราศนี้ได้กล่าวถึงสาเหตุที่ มจ. ฉวีวาด หนี บ้างหรือเปล่าครับ หากสาเหตุเกิดจาก มจ. ฉวีวาด เรื่องวังหลวงกับวังหน้าคงไม่จบง่ายๆแน่  ส่วนที่ท่านหนี เป็นไปได้ไหมครับว่า มจ.ฉวีวาดท่านก็สร้างโจทย์ไว้เยอะ หลักๆ ก็ กรมพระพิชิต เรื่องขันหมาก  จนท่านต้องไปอยู่วังหน้า  และกรมขุนวรจักรก็เพิ่งสิ้น วังหน้าก็หนีไปอยู่กงศุล หากท่านอยู่ก็คงต้องโดนแน่ๆ อาจจะละครไปหน่อยนะครับ แต่เป็นความเห็นเล๊กๆครับ  และระดับ ท่านคึกฤทธิ์ จะผ่านเรื่องนิราศกรมหมื่นสถิตย์ ไปเขียน โครงกระดูกในตู้ได้อย่างไร หรือมีสาเหตุใดครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 22 มี.ค. 11, 07:10

ตัวอย่างเสาหิน หลักเขตแดนสยาม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 22 มี.ค. 11, 07:34

อ้างถึง
รบกวนสอบถาม อ.navarat.c ครับว่า ในนิราศนี้ได้กล่าวถึงสาเหตุที่ มจ. ฉวีวาด หนี บ้างหรือเปล่าครับ หากสาเหตุเกิดจาก มจ. ฉวีวาด เรื่องวังหลวงกับวังหน้าคงไม่จบง่ายๆแน่  ส่วนที่ท่านหนี เป็นไปได้ไหมครับว่า มจ.ฉวีวาดท่านก็สร้างโจทย์ไว้เยอะ หลักๆ ก็ กรมพระพิชิต เรื่องขันหมาก  จนท่านต้องไปอยู่วังหน้า  และกรมขุนวรจักรก็เพิ่งสิ้น วังหน้าก็หนีไปอยู่กงศุล หากท่านอยู่ก็คงต้องโดนแน่ๆ อาจจะละครไปหน่อยนะครับ แต่เป็นความเห็นเล๊กๆครับ  และระดับ ท่านคึกฤทธิ์ จะผ่านเรื่องนิราศกรมหมื่นสถิตย์ ไปเขียน โครงกระดูกในตู้ได้อย่างไร หรือมีสาเหตุใดครับ

คุณnatadolครับ

นิราศกรมหมื่นสถิตย์มีเนื้อความเท่าที่เห็น และผมก็ไม่แน่ใจว่าจะมีใครที่ไม่ใช่ลูกหลานของท่านจะได้อ่าน เพราะท่านไม่ได้เขียนแล้วนำออกเผยแพร่ตีพิมพ์ นอกจากประสงค์จะให้เชื้อสายที่เกิดหนหลังจะได้ทราบความจริงของบรรพบุรุษ

สมัยนั้นหรือสมัยนี้ก็คงเหมือนกัน ความเชื่อบางเรื่องเมื่อคนปักใจแบ่งฝ่ายแล้ว ต่อให้ฝ่ายที่ถูกกล่าวร้ายจะชี้แจงอย่างไร  ก็ยากที่อีกฝ่ายหนึ่งจะเชื่อ จนเมื่อไรเปลี่ยนยุค อคติของคนเปลี่ยนไปจนใจเป็นกลางเพราะไม่มีส่วนได้ส่วนเสียอะไรแล้ว ข้อเท็จจริงต่างๆจึงจะได้รับการยอมรับมากขึ้น ดังนั้นเมื่อได้รับพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯพระราชทานอภัย เรื่องจบลงแล้วก็ควรจบ ไม่ควรรื้อฝอยหาตะเข็บให้ระคายใจต่อกันอีก กรมหมื่นสถิตย์ท่านจึงเอานิราศของท่านใส่ตู้ตีตรา จวบจนสิ้นพระชนม์ลูกหลานจึงได้เห็น และคัดลอกกันเอาไว้   สมัยหลัง ปลายๆรุ่นหม่อมราชวงศ์ซึ่งเป็นหลานปู่  จึงพิมพ์แจกกันวงแคบๆในวันฉลองอายุบ้าง (ดังฉบับที่ผมได้ไว้) ลูกเอาไปพิมพ์ไว้ในหนังสืออนุสรณ์งานศพแม่บ้างดังที่คุณเอนก นาวิกมูลได้ไว้ แม้ว่าคุณเอนกจะเอาไปพิมพ์ต่อในหนังสือแนวตำนานประวัติศาสตร์ เรื่องนี้ก็ยังไม่ได้แพร่หลายมากนักอยู่ดี ผมจึงคิดว่า ท่านอาจารย์คึกฤทธิ์ไม่น่าจะได้อ่านนิราศฉบับนี้มาก่อน

เรื่องของหม่อมเจ้าฉวีวาด ถ้าถามผม ถ้าพิจารณาข้อมูลจากเรื่องโครงกระดูกในตู้ว่าท่านยกครัวเรือนที่เป็นละครหลายสิบคน ลงเรือหนีไปเขมรในวันรุ่งขึ้นของคืนที่กรมพระราชวังบวรฯเสด็จหนี ก็เชื่อได้ว่าเป็นแผนที่เตรียมไว้นานแล้วว่าจะย้ายสัมโนครัวไปเขมรกันด้วยเหตุอะไรก็ตาม แต่ไม่เกี่ยวกับกรมพระราชวังบวรฯ เป็นเรื่องบังเอิญที่มาพ้องกันพอดี เป็นเหตุง่ายที่นักเล่าทั้งหลายจะเอาเข้ามาผูก เพื่อเพิ่มน้ำหนักทางร้ายให้แก่วังหน้า แล้วโพทนาต่อๆกันไป (ตอนนั้นก็มีสงครามข่าวสารเช่นในสมัยนี้เหมือนกันแหละครับ ข่าวอะไรที่จะเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายตน ก็ปรุงความเท็จลงไปให้มีสีสรรน่าเชื่อถือหนักแน่น เพื่อจะได้ใจจากพวกที่ยังไม่ตัดสินใจจะเข้าข้างใคร) เมื่อวิกฤตการณ์ยุติลง เจ้านายวังหน้าก็ก้มหน้าปิดปากไม่ต่อคำใครอีก และไม่มีใครทางวังหน้าได้รับพระราชอาญาจากคดีนี้  การที่หม่อมเจ้าฉวีวาดโดนเข้าไปเต็มๆ ผมก็เชื่อเหมือนกันว่ามาจากการพาลครหนีไปเขมร สมัยนั้นเรื่องน่าจะจบ คนก็ลืมๆไปแล้ว เผอิญท่านอาจารย์คึกฤทธิ์ท่านไปเอาโครงกระดูกในตู้ของตระกูลท่านมาปัดฝุ่น เรื่องก็เลยฟุ้งขึ้นมาอีก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 22 มี.ค. 11, 07:38

ผมไม่มีเวลาจะช่วยท่านเป่าฝุ่นให้ฟุ้งต่อ ถ้าไล่พ.ศ.ว่าเขมรยังคงเป็นเมืองขึ้นของไทย หม่อมเจ้าฉวีวาดอาจจะไปทำให้ราชสำนักเขมรอยู่ไม่สุข สยามคงไม่เคารพในสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของเขมรเหมือนกงศุลชาติต่างๆในกรุงเทพ น่าจะกดดันอะไรไปบ้าง และอาจเป็นน้ำหนักอีกประการหนึ่งที่เขมรหันไปเสนอตัวให้ฝรั่งเศสที่ได้ญวนเป็นเมืองขึ้นไปแล้ว คุ้มครองตน โดยจะขอส่งส่วยให้ฝรั่งเศสแทน เวลาพระเจ้านโรดมเสด็จไปเยือนไซ่ง่อน ได้รับการต้อนรับเฉกเช่นพระราชา ประทับนั่งเก้าอี้ ยืนข้างเคียงฝรั่งโดยไม่ต้องหมอบคลานเหมือนกับมาราชสำนักสยาม

เราจึงต้องเผชิญหน้ากับฝรั่งเศส แล้วบานปลายมาจนถึงการเสียค่าปรับ เสียดินแดนของเราแท้ๆในที่สุด
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 22 มี.ค. 11, 08:47

จะขอหยิบยกเหตุการณ์วังหน้าที่กล่าวไว้ใน Life of Lieutenant General the Honorable Sir Andrew Clarke โดย Robert Hamilton Vetch ซึ่งพูดในทำนองเดียวกันอย่างที่เราเข้าใจกัน โดยเนื้อหาจากมิสเตอร์นิวแมน ระบุถึงความขัดแย้งวังหลวง-วังหน้า และโทรเลขไปยัง Sir Andrew Clarke ให้นำเรือรบมาช่วยแก้ปัญหา และข้อความยังระบุว่า มิสเตอร์นิวแมนเข้าข้างวังหน้าเกินไป พร้อมด้วยพระราชหัตถเลขาทางโทรเลขอธิบายเหตุการณ์เบื้องต้นว่า วังหลวงไม่มีการคิดร้ายใดๆต่อวังหน้าเลย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 22 มี.ค. 11, 08:56

การเข้าเฝ้ากินเวลากว่า ๓ ชั่วโมง ตามเนื้อความ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุจอมเกล้าฯ ได้ทรงอธิบายเรื่องจำนวนทหารในวังหน้าประกอบด้วย


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 22 มี.ค. 11, 09:09

พระราชหัตถเลขาถึง Sir Andrew Clarke เรื่องกรมพระราชวังบวรฯ เสด็จกลับวังหน้า


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 22 มี.ค. 11, 09:30

รบกวนสอบถาม อ.navarat.c ครับว่า ในนิราศนี้ได้กล่าวถึงสาเหตุที่ มจ. ฉวีวาด หนี บ้างหรือเปล่าครับ หากสาเหตุเกิดจาก มจ. ฉวีวาด เรื่องวังหลวงกับวังหน้าคงไม่จบง่ายๆแน่  ส่วนที่ท่านหนี เป็นไปได้ไหมครับว่า มจ.ฉวีวาดท่านก็สร้างโจทย์ไว้เยอะ หลักๆ ก็ กรมพระพิชิต เรื่องขันหมาก  จนท่านต้องไปอยู่วังหน้า  และกรมขุนวรจักรก็เพิ่งสิ้น วังหน้าก็หนีไปอยู่กงศุล หากท่านอยู่ก็คงต้องโดนแน่ๆ อาจจะละครไปหน่อยนะครับ แต่เป็นความเห็นเล๊กๆครับ  และระดับ ท่านคึกฤทธิ์ จะผ่านเรื่องนิราศกรมหมื่นสถิตย์ ไปเขียน โครงกระดูกในตู้ได้อย่างไร หรือมีสาเหตุใดครับ

ดิฉันก็นึกอย่างคุณ natadol ว่าม.จ.ฉวีวาดคงโจทย์แยะ     รู้องค์ว่าอยู่ในสยามไม่ได้นาน จึงเตรียมแผนหนีไปพึ่งเจ้านายใหม่นอกประเทศไว้ล่วงหน้าแล้ว  รอแต่ว่าจะหนีเมื่อใดเท่านั้น   
ก็คงกำหนดวันไว้ในระยะเดียวกัน  พอดีเกิดวิกฤตวังหน้า ท่านก็ไปตอนนั้นพอดี
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ท่านบอกไว้ชัดเจนว่าความผิดของม.จ.ฉวีวาด ไม่ใช่ถูกจับได้ว่าก่อกบฏ  แต่เป็นเพราะออกนอกพระราชอาณาเขตพ้นหลักเสาหิน   ขอลอกมาให้อ่านนะคะ

" ในสมัยนั้น กรุงเทพพระมหานครยังมีเสาหินปักเป็นอาณาเขตอยู่ทั้งสี่ทิศ     ผู้เขียนยังเคยเห็นเสาหินที่ปักอยู่ริมแม่น้ำทางทิศเหนือนั้นปักอยู่ใต้ตลาดขวัญลงมา     ส่วนทางทิศใต้รั้นปักอยู่ก่อนถึงพระประแดง      พระบรมวงศานุวงศ์จะเสด็จจากพระนครเกินเสาหินเหล่านั้นออกไปโดยไม่ได้กราบถวายบังคมลา และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตไม่ได้     ถ้าขืนเสด็จออกไปโดยพลการถือว่าเป็นกบฏ
ท่านป้าฉวีวาดท่านเป็นเจ้านายข้างใน   ซึ่งมีจารีตคุ้มครองหนักหนากว่าเจ้านายฝ่ายหน้าอยู่แล้ว    เมื่อท่านมิได้ไปเพียงนอกเสาหิน โดยมิได้รับพระบรมราชานุญาต   แต่ล่วงเลยออกนอกพระราชอาณาจักรไปถึงเมืองเขมร   โทษของท่านก็เป็นโทษอุกฤษฏ์โดยมิต้องพิจารณาแต่อย่างใดเลย"
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 22 มี.ค. 11, 09:37

แม้ว่า Sir Andrew Clarke จะกลับไปที่สิงคโปร์เรียบร้อยเพื่อเดินทางไปรับตำแหน่งใหม่ที่ประเทศอินเดีย และ Sir Andrew Clarke ยังมีจดหมายถึง Lady Clarke หลังจากมีการเจรจาเรื่องวังหน้าเสร็จสิ้นลง กล่าวชมในความฉลาดของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทั้งนี้หลังจากนั้นในเดือนมีนาคม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังมีพระราชสาส์นไปยัง Sir Andrew Clarke ซึ่งแสดงถึงมิตรภาพระหว่างกัน ในเนื้อความจดหมายแสดงความขอบพระทัยและ สยามกำลังจะส่งของเข้าร่วมงานนิทรรศกาลที่สหรัฐ และจะส่งของไปให้ท่านเซอร์ด้วยเช่นกัน และยังพระราชทานของที่ระลึกระหว่างกัน ตอนข้อความด้านล่างทรงนำชมชุดเชี่ยนหมากทองคำประดับอัญมณี ส่วนวังหน้าพระราชทานหีบบุหรีให้ Sir Andrew Clarke  และสำหรับ Lady Clarke ได้รับพระราชทานชุดเครื่องพระสำอางค์

สำหรับบุคคลนี้หมายถึงใครครับ "he sent him some of the ashed of his Queen, who died a few months before" ซึ่ง Queen ในที่นี้จะหมายถึงเจ้าจอมท่านใดครับ  ฮืม เนื่องจากในระหว่างการมาเยือนของ Sir Andrew Clarke ท่านได้กล่าว่า สมเด็จเจ้าพระยานั้น นำท่านไปชมงานพระศพของ Daugther-in-Law ซึ่งเสียชีวิตไป ๒ เดือนที่ผ่านมา



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 22 มี.ค. 11, 10:12

ของที่ระลึกพระราชทานเซอร์แอนดรู คลาค คือหีบหมากทองคำฝังเพชร(อาจจะมีพลอยด้วย) ค่ะ คุณ siamese ไม่ใช่ "นำชมเชี่ยนหมากอัญมณี"
คือพระองค์ท่านก็ทรงทราบว่าฝรั่งไม่กินหมาก   แต่พระราชทานหีบหมาก พร้อมด้วนคำอธิบายว่าจะได้นำไปให้เพื่อนฝูงชม ในฐานะงานฝีมือของช่างทองหลวงแห่งสยาม   และในฐานะของที่ระลึกจาก "มิตรผู้ซื่อตรงของท่าน"  
ทรงกล่าวเหตุผลได้ไพเราะ   น่าภูมิใจแก่ผู้รับจริงๆ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 22 มี.ค. 11, 10:24

ของที่ระลึกพระราชทานเซอร์แอนดรู คลาค คือหีบหมากทองคำฝังเพชร(อาจจะมีพลอยด้วย) ค่ะ คุณ siamese ไม่ใช่ "นำชมเชี่ยนหมากอัญมณี"
คือพระองค์ท่านก็ทรงทราบว่าฝรั่งไม่กินหมาก   แต่พระราชทานหีบหมาก พร้อมด้วนคำอธิบายว่าจะได้นำไปให้เพื่อนฝูงชม ในฐานะงานฝีมือของช่างทองหลวงแห่งสยาม   และในฐานะของที่ระลึกจาก "มิตรผู้ซื่อตรงของท่าน"  
ทรงกล่าวเหตุผลได้ไพเราะ   น่าภูมิใจแก่ผู้รับจริงๆ

ขอบคุณครับ อ.เทาชมพู กระผมก็พลอยนึกถึงชุดพระศรีทั้งชุดประดับอัญมณี เคยผ่านตามาก่อน  อายจัง หีบหมากพระราชทานคงงดงามมากนะครับ ตัวอย่างให้ชมสักเล็กน้อยๆพองาม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 22 มี.ค. 11, 10:52

^
ถ้าเป็นหีบหมากทำนองนี้  ฝรั่งต้องตื่นเต้นกับฝีมือช่างทองหลวงของสยามเป็นแน่

แต่อย่างไรก็ตาม    ยังไม่ได้พระราชทานของชิ้นนี้ในเวลานั้นค่ะ    เพราะจากที่ทรงเท้าความ   เข้าใจว่าคงมีกฎระเบียบอะไรสักอย่างของอังกฤษที่ห้ามข้าราชการของเขารับของกำนัลมีราคาจากต่างชาติ   เป็นสมบัติส่วนตัว  ข้อนี้คงจะเพื่อป้องกันคอรัปชั่น
(ระเบียบข้อนี้ประธานาธิบดีของอเมริกาก็อยู่ในเงื่อนไขนี้เหมือนกัน    ถ้าได้ของอะไรแพงๆ มาจากประมุขรัฐอื่น  ต้องตกเป็นของรัฐ  เก็บไว้ในทำเนียบขาว   ไม่ใช่ของส่วนตัว ที่จะหอบกลับไปใช้ที่บ้านได้)   

พระองค์ท่านจึงทรงกล่าวว่าน่าเสียดายที่พระราชทานได้แต่ของเล็กๆน้อยๆ  แต่วันไหนที่เซอร์แอนดรูพ้นจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการเกาวนาแห่งสิงคโปร์แล้ว    กงศุลสยามจะนำของที่ระลึกพระราชทานคือหีบหมากทองคำฝังเพชรไปมอบให้
ข้อความในเชิงอรรถคือการอธิบายเพิ่มเติม     หมายเหตุให้รู้ว่าเป็นของที่เซอร์แอนดรูได้รับในภายหลัง   คงจะอีกหลายปีต่อมาเมื่อเกษียณราชการแล้ว   ส่วนพระเถ้าอัฐิของ Queen  ที่ว่ามา    ดิฉันเข้าใจว่าหมายถึงเถ้าพระอัฐิพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ หรือพระนางเรือล่ม ที่สิ้นพระชนม์ในพ.ศ. ๒๔๒๓
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.081 วินาที กับ 20 คำสั่ง