เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 53555 “นิราศกรมหมื่นสถิตย์” ว่าด้วยวิกฤตวังหน้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 17 มี.ค. 11, 00:58

กรมพระราชวังบวรฯนั้น พอทางอังกฤษทูลว่าไม่มีอะไรแล้ว ท่านก็รีบเสด็จกลับวังทันที คงจะทรงเป็นห่วงมาก



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 17 มี.ค. 11, 01:13

รับสั่งให้เรือกลับมารับพระชนนีและพระขนิษฐา



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 17 มี.ค. 11, 01:16

คำปรารภขององค์ผู้นิพนธ์



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 17 มี.ค. 11, 01:18

ท่อนจบ



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 17 มี.ค. 11, 07:37

ขอบคุณครับ อ.NAVARAT.C ที่นำมาให้อ่านได้รับทราบถึงนิราศฉบับนี้ ซึ่งเป็นมุมมองทางฝั่งของวังหน้า ซึ่งผมได้อ่านและดูในเอกสารจากทางวังหลวง ทราบดีว่าฝ่ายวังหน้านั้นมิได้มีการกระทำอย่างที่เล่าลือกัน

ซึ่งดูจากเอกสารต่างๆที่ตอบโต้กันของวังหลวงนั้นจะมีมากกว่าทางวังหน้า ผู้คนต่างๆจึงเอนไปทางนี้เสียมากกว่า แต่วิเคราะห์ดูแล้วเกิดจาก

๑. ความไม่เข้าใจกันในการได้เจรจา พูดคุยด้วยประการหนึ่ง
๒. เกิดการพบบัตรสนเท่ห์ จุดนี้เองธรรมชาติของมนุษย์ ทำให้เกิดความระแวง ทำให้เหตุแห่งข้อ ๑. หยุดชงักลง
๓. เมื่อฝ่ายหนึ่งระวังตัว เพิ่มกำลังกองทหารขึ้น อีกฝ่ายก็สอดแนมตาม แล้วไปรายงาน ทำให้เกิดความสงสัยได้หลายประการ ซึ่งล้วนจากมิได้พูดคุยอธิบายกัน
๔. ดังเห็นได้ชัดว่า เมื่อเกิดเพลิงไหม้ขึ้น มีการอ้างถึงแต่ละฝ่ายไม่ตรงกัน
         ๔.๑ ฝ่ายวังหลวงระบุว่า วังหน้าถืออาวุธครบมือเข้ามา (ทั้งที่เจตนาจะมาช่วยดับไฟ) แต่ทางวังหลวงไม่ยอมให้เข้า (เลยกลายเป็นเรื่องคิดร้ายผุดเข้ามา และต่อด้วยข้อหาความผิดไม่ช่วยดับไฟ ซึ่งตรงกับคำกลอนในนิราศฯ)
๕. การที่วังหน้านั้นกระทำการไปอาศัยกงสุลอังกฤษนั้น ฝ่ายวังหลวงก็มีมุมมองอย่างหนึ่ง ฝ่ายวังหน้าก็มีมุมมองอีกอย่างหนึ่ง (ทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันอย่างมาก)


ทั้งนี้เองจากหนังสือต่างๆที่เป็นพระราชหัตถเลขาถึงกรมพระราชวังบวรฯ ก็แสดงเจตนาว่ามิได้มีการบาดหมางกันมาก่อน มิเคยคิดร้ายต่อกัน ผมเชื่อได้ว่าเหตุการณ์ก่อนเพลิงไหม้ในวังหลวงนั้น จะต้องมีกลุ่มบุคคลที่คอยยุยงให้ทั้งสองฝ่ายแตกหักกัน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 17 มี.ค. 11, 07:47

อ้างถึงลิงค์ http://www.monnut.com/board/index.php?topic=1725.0

ข้อความตรงนี้น่าสนใจมากครับ

"หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์  ได้เขียนลงในคอลัมน์ตอบปัญหาประจำวันในหน้าหนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวันเอาไว้เมื่อวันที่  ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๒  โดยกล่าวถึงหม่อมเจ้าฉวีวาดผู้มีศักดิ์เป็นป้าของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์  ปราโมช ว่า  หม่อมเจ้าฉวีวาด ได้สมรสกับ พระองค์เจ้าเฉลิมลักษณวงศ์ ผู้เป็นอนุชาของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ  จึงได้ไปฝักใฝ่อยู่ทางวังหน้า  และโดยเหตุที่หม่อมเจ้าฉวีวาดเป็นผู้มักใหญ่ใฝ่สูงและขาดสติสัมปชัญญะ  จึงคิดที่จะยกย่องกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญให้ขึ้นเป็นใหญ่ในแผ่นดิน  โดยคิดกำจัดหรือลดพระราชอำนาจพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวลงไป  ในการนี้หม่อมเจ้าฉวีวาดได้คบคิดกับกงสุลใหญ่ของประเทศมหาอำนาจประเทศหนึ่ง  ซึ่งฝักใฝ่อยู่ข้างวังหน้าและมีนโยบายจะเอาเมืองไทยเป็นเมืองขึ้น  หม่อมเจ้าฉวีวาดจึงได้รับการสนับสนุนอย่างลับๆ จากกงสุลผู้นั้น  คิดแผนการร้ายขึ้นร่วมกับบุคคลอื่นๆอีกหลายคน  รอบจุดไฟเผาพระราชวังบริเวณใกล้กับตึกที่เก็บดินดำ  ประสงค์จะให้ดินดำนั้นระเบิดขึ้น  เมื่อกระทำการไม่สำเร็จ  หม่อมเจ้าฉวีวาดจึงหลบลี้หนีราชภัยไปอยู่เมืองเขมร  เป็นเหตุให้พระองค์เจ้าคำรบ พระบิดาของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์  ต้องตกระกำลำบาก  เพราะมารดาซึ่งชราภาพแล้วถูกริบราชบาตร  หากไม่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ  รัชกาลที่ ๕ ทรงชุบเลี้ยงไว้ ก็คงไม่อาจจะเป็นตัวเป็นตนขึ้นมาได้  หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ยืนยันว่า  เรื่องราวทั้งหมดนี้มีหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรปรากฏอยู่ที่เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาบดี  (หม่อมราชวงศ์ ปุ้ม  มาลากุล )   ที่ได้รับมาจากกรมหมื่น ปราบปรปักษ์ผู้เป็นพระบิดาอีกต่อหนึ่ง"
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 17 มี.ค. 11, 08:50

ขอบคุณคุณหนุ่มสยามที่เข้ามาเยี่ยมแต่เช้า

ผมมีความคิดเดียวกันว่า วิกฤตวังหน้าครั้งนั้น เป็นฝีมือของพวกอยู่ไม่สุข บ้านเมืองดีๆอยู่เป็นไม่ได้ ต้องสอพลอ ยุแยงตะแคงรั่วเจ้านายของตนให้มีเรื่องกับคนอื่น เพื่อจะเปิดช่องให้ตัวเองได้ประโยชน์ คนประเภทนี้ทุกวันนี้ได้กลายพันธุ์ไปบ้าง แต่ยังมีสันดานเหมือนเดิม การบ้านการเมืองไทยจึงไม่เคยอยู่นิ่งตามธรรมชาติของมัน

ส่วนข้อเขียนของท่านอาจารย์คึกฤทธิ์ ผมขออนุญาตที่จะไม่เชื่อเรื่องที่ท่านเล่าไว้ข้างบน โดยส่วนตัว ผมเชื่อว่าอัคคีภัยที่เกิดขึ้นที่โรงแกส เป็นอุบัติเหตุตามธรรมชาติของกระบวนการผลิตแกสชนิดนี้ การขาดการบำรุงรักษาหลังการใช้งาน บวกกับความหย่อนวินัยของคนทำงาน เป็นที่มาของการรั่วไหลของแกส แล้วติดไฟขึ้นจนระเบิด เมื่อเกิดเหตุขึ้นแล้ว ผู้รับผิดชอบโดยตรงก็พยายามหาแพะมารับบาปที่ตนบกพร่องในหน้าที่ เพ็ดทูลใส่ร้ายคนอื่นให้ตนพ้นผิด

ที่ว่าหม่อมเจ้าฉวีวาด(ผู้หญิงนะเนี่ย)สมคบกับกงสุลใหญ่ประเทศมหาอำนาจ ลอบจุดไฟหวังวินาศกรรมวังหลวง ถึงไม่เอ่ยตรงๆก็เข้าใจได้ว่า กงสุลผู้นั้นคือนายน๊อกซ์ ท่านผู้เล่าคงแกล้งลืมว่าขณะที่เกิดเหตุโรงแกสระเบิดนั้น ตัวนายน๊อกซ์อยู่ที่ประเทศอังกฤษ ส่วนหม่อมเจ้าหญิงฉวีวาด ยิ่งหากจะนิยามว่า เป็นผู้มักจะขาดสติสัมปัชชัญญะด้วยแล้ว ถ้าโรงแกสหลวงยังดีๆอยู่ ยิ่งไม่มีทางจะเล็ดลอดเข้าไปสุมไฟให้ถังแกสระเบิดได้เลย เหลือเชื่อครับ

ส่วนที่ว่าหม่อมเจ้าหญิงองค์นี้ ทรงหนีราชภัยไปอยู่เขมรนั้น ผมไม่มีความเห็น จะไปจริงหรือไม่ ไปด้วยสาเหตุอะไร ไม่ทราบ ไม่ขอติดตาม ถ้าเรื่องเหล่านี้มีมูล ทำไมพวกผู้ก่อการกบฏ เมื่อคิดว่าตนจะต้องลี้ภัย ทำไมไม่ไปรวมกันที่กงศุลอังกฤษ ที่ตอนนั้นเปิดให้คนเข้านอกออกในได้ตามสะดวก
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 17 มี.ค. 11, 09:08

ส่วนข้อเขียนของท่านอาจารย์คึกฤทธิ์ ผมขออนุญาตที่จะไม่เชื่อเรื่องที่ท่านเล่าไว้ข้างบน โดยส่วนตัว ผมเชื่อว่าอัคคีภัยที่เกิดขึ้นที่โรงแกส เป็นอุบัติเหตุตามธรรมชาติของกระบวนการผลิตแกสชนิดนี้ การขาดการบำรุงรักษาหลังการใช้งาน บวกกับความหย่อนวินัยของคนทำงาน เป็นที่มาของการรั่วไหลของแกส แล้วติดไฟขึ้นจนระเบิด เมื่อเกิดเหตุขึ้นแล้ว ผู้รับผิดชอบโดยตรงก็พยายามหาแพะมารับบาปที่ตนบกพร่องในหน้าที่ เพ็ดทูลใส่ร้ายคนอื่นให้ตนพ้นผิด


ในเบื้องต้นเมื่อผมทำภาพกราฟฟิค กลุ่มควันลอยขึ้นจากโรงหุงลมประทีปนั้น ผมก็นึกก๊าซอะเซทิลีน ซึ่งเกิดจากการหยดน้ำลงไปยังก้อนแคลเซียมคาร์ไบน์ ทำให้เกิดกลุ่มก๊าซอะเซทิลีน (ซึ่งได้นำภาพตัวอย่างทางวิทยาศาตร์มาลงไว้ในกระทู้เจ้าชายยอร์ช วอชิงตันฯ) ทั้งนี้เองในความคิดแรกมองถึงปัญหาถึงการระเบิด ซึ่งถ้าก้อนแคลเซียมคาร์ไบด์ อยู่ภายนอก มีน้ำหยด ก็จะฟุ้งกระจายไป แต่ไม่มีน้ำหยด เนื่องจากเกิดในเดือน ธันวาคม ไม่มีฝนตก ฮืม

ดังนั้นก้อนแคลเซียมคาร์ไบด์จึงต้องอยู่ในหม้อความดันพร้อมมีหยดน้ำ หยดตลอดเวลา จึงเกิดกลุ่มแก๊สอัดแน่นในหม้อความดันและไม่ได้ระบายออกทางท่อ จึงน่าจะเกิดระเบิดขึ้น (หาดูการระเบิดได้ในคลิปยูทิวป์)

สำหรับการวางเพลิงก็ไม่ควรตัดประเด็นออกไป ลองคิดเล่นๆว่า การวางเพลิงนั้นทำกันอย่างไร ใช้น้ำมันพร้อมไฟ หรือปล่อยหม้อให้ระเบิดตายตกไปตามกัน เมื่อจุดไฟแล้ว วิ่งหนี้ไปทางไหน มีใครเห็นตัว เข้ามาได้อย่างไร น่าคิดอีกเช่นกัน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 17 มี.ค. 11, 09:14

แถมอีกนิด

พระองค์เจ้าคำรบ(เดิมหม่อมเจ้า) ท่านบิดาของม.ร.ว. เสนีย์ และม.ร.ว. คึกฤทธิ์นั้น มิได้ตกระกำลำบากมั้ง ท่านได้รับพระราชทานวังของกรมหมื่นสถิตย์ หลังจากพระองค์เจ้าเนาวรัตน์สิ้นพระชนม์ แบบได้เป็นสิทธิ์ขาดมิได้ต้องคืนให้หลวง มีโฉนดสามารถตกทอดสู่ทายาทได้ด้วย จนถึงรุ่นหม่อมหลวงทุกวันนี้ได้ค่าเช่าเดือนละหลายแสนบาท (แต่เอ๊ะ..อาจได้มั่ง ไม่ได้มั่ง กระมั๊ง..ตอนนี้)
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 17 มี.ค. 11, 10:06

อ้างถึง
ดังนั้นก้อนแคลเซียมคาร์ไบด์จึงต้องอยู่ในหม้อความดันพร้อมมีหยดน้ำ หยดตลอดเวลา จึงเกิดกลุ่มแก๊สอัดแน่นในหม้อความดันและไม่ได้ระบายออกทางท่อ จึงน่าจะเกิดระเบิดขึ้น (หาดูการระเบิดได้ในคลิปยูทิวป์)

สำหรับการวางเพลิงก็ไม่ควรตัดประเด็นออกไป ลองคิดเล่นๆว่า การวางเพลิงนั้นทำกันอย่างไร ใช้น้ำมันพร้อมไฟ หรือปล่อยหม้อให้ระเบิดตายตกไปตามกัน เมื่อจุดไฟแล้ว วิ่งหนี้ไปทางไหน มีใครเห็นตัว เข้ามาได้อย่างไร น่าคิดอีกเช่นกัน

ผมก็คิดเล่นๆเช่นกันว่า ระบบป้องกันโรงไฟฟ้า คงมีการทำตามแผนแบบ ทั้งการจัดเวรยามไม่ให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าไปในจุดอ่อนได้ และการออกแบบทางวิศวกรรมที่กำหนดความแข็งแรงของส่วนต่างๆ ตัวถังปฏิกริยาและถังเก็บนั้น แน่นอนว่าต้องแข็งแรงเป็นพิเศษ การระเบิดส่วนนี้น่าจะยากยิ่ง ที่ว่าจะเข้าไปวางเพลิงแบบเอาไฟไปสุม ยากครับยาก เรื่องถังแกสนั้น มีRPGยังยากเลย บุ่มบ่ามไป ทหารยิงกระเจิง

แต่จุดอ่อนที่แกสจะรั่วไหลง่ายกว่าก็คือ ท่อ โดยเฉพาะรอยต่อที่ต้องทนแรงดันเป็นพิเศษ พวกนี้ต้องหมั่นตรวจตรา เพื่อบำรุงรักษา และซ่อมแซมเป็นระยะ

เอาเป็นว่า ผมไม่เชื่อวินัยของคนไทยสมัยโน้น ในเรื่องที่ไม่ใช่ภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างเรื่องนี้ คงไม่๑๐๐% ฝีมือช่างเชื่อมก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซ่อมแล้ว จะเหมือนฝรั่งซ่อมหรือไม่ ผมสงสัย

พอแกสรั่ว ก็ง่ายที่จะจุดระเบิด ต้นเพลิงอาจมาจากที่ใดก็ได้ แม้กระทั่งจากก้นบุหรีของพวกอวดดี ไม่เชื่อป้ายเตือนห้ามสูบในที่ห้าม ทุกวันนี้ บางทีผมยังเคยเห็นคนบางคน สูบบุหรี่ในปั๊มLPGเลย

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 17 มี.ค. 11, 20:37

เพิ่งจะนึกขึ้นได้อีกประการหนึ่งนะครับว่า เมื่อโรงแกสในพระบรมมหาราชวังระเบิดแล้ว จึงโปรดเกล้าฯให้ย้ายไปสร้างใหม่แถวหน้าวัดสุทัศน์ เพียงให้ไกลรัศมีที่จะเป็นอันตรายแก่พระบรมมหาราชวัง หากระเบิดขึ้นอีกเท่านั้น

อันนี้แสดงว่า น่าจะทรงทราบว่าการระเบิดเป็นเพราะอุบัติเหตุ หากชัดเจนว่าเป็นเพราะการก่อวินาศกรรม ก็หน้าจะย้ายไปอยู่ในสถานที่ซึ่งจะสามารถคุ้มกันได้แน่นหนากว่า เช่นกรมทหารที่อยู่แถวนั้น  เป็นต้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 17 มี.ค. 11, 20:59

มีคำถามค่ะ

๑   กรมพระราชวังบวรฯ ทรงพาเจ้าจอมมารดาเอม  พระขนิษฐาและพระอนุชา(ซึ่งอยู่อีกวัง) ไปสถานกงศุล   แล้วบรรดาเจ้าจอมหม่อมห้าม กับพระราชโอรสธิดา  ท่านมิได้พาไปด้วยสักพระองค์เลยหรือคะ ?  หรือว่าตามเสด็จกันไปทีหลัง

๒  ทำไม คืนนั้น  กรมพระราชวังบวรฯ ถึงไม่ตรงไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เพื่อยืนยันความบริสุทธิ์    หรือว่ามีคำตอบว่าสถานการณ์หน้าสิ่วหน้าขวานอย่างนั้น  ไม่อาจแน่พระทัยได้ว่าจะทรงถูกจับกุมหรือไม่  จากนั้น มีอะไรเป็นเหตุผลที่ไม่ทรงออกจากสถานกงศุล  เพื่อให้สถานการณ์คลี่คลายลงโดยเร็ว
 
๓  การที่ทรงให้คนไปเชิญเสด็จกรมหมื่นสถิตย์ฯเป็นการรีบด่วนในคืนนั้น เพื่อเข้าสถานกงศุลไปอีกพระองค์    แต่เจ้านายวังหน้าพระองค์อื่นๆที่เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯเช่นกัน  ไม่มีพระองค์ไหนถูกตามเลย      จะหมายความได้ไหมว่า เจ้านายวังหน้าที่มีความสำคัญลงมาจากกรมพระราชวังบวรฯคือกรมหมื่นสถิตย์ฯ     ตอนนั้นท่านทรงกำกับกรมสำคัญอะไรอยู่หรือเปล่า
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 17 มี.ค. 11, 21:03

ในบันทึกของหมอบรัดเลย์กล่าวว่า นาย ร.ศ. สกอตต์ เจ้าของห้างสกอตต์แอนด์โก ได้นำไฟแกสเข้ามาใช้ในกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๐๙ โดยตั้งโรงที่ในพระบรมมหาราชวัง ถึงรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๑๗ เกิดโรงแกสระเบิด จึงมาสร้างโรงแกสที่บริเวณเสาชิงช้า มีกำแพงทึบ ๔ ด้าน ด้านหน้าตรงกับวัดสุทัศน์เป็นประตูใหญ่ ข้างในขุดเป็นสระใหญ่เลี้ยงจรเข้ให้คนเข้าไปดูได้ ...จากคลองบางหลวง กาญจนาคพันธุ์


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 17 มี.ค. 11, 23:12

ส่วนข้อเขียนของท่านอาจารย์คึกฤทธิ์ ผมขออนุญาตที่จะไม่เชื่อเรื่องที่ท่านเล่าไว้ข้างบน โดยส่วนตัว ผมเชื่อว่าอัคคีภัยที่เกิดขึ้นที่โรงแกส เป็นอุบัติเหตุตามธรรมชาติของกระบวนการผลิตแกสชนิดนี้ การขาดการบำรุงรักษาหลังการใช้งาน บวกกับความหย่อนวินัยของคนทำงาน เป็นที่มาของการรั่วไหลของแกส แล้วติดไฟขึ้นจนระเบิด เมื่อเกิดเหตุขึ้นแล้ว ผู้รับผิดชอบโดยตรงก็พยายามหาแพะมารับบาปที่ตนบกพร่องในหน้าที่ เพ็ดทูลใส่ร้ายคนอื่นให้ตนพ้นผิด

ที่ว่าหม่อมเจ้าฉวีวาด(ผู้หญิงนะเนี่ย)สมคบกับกงสุลใหญ่ประเทศมหาอำนาจ ลอบจุดไฟหวังวินาศกรรมวังหลวง ถึงไม่เอ่ยตรงๆก็เข้าใจได้ว่า กงสุลผู้นั้นคือนายน๊อกซ์ ท่านผู้เล่าคงแกล้งลืมว่าขณะที่เกิดเหตุโรงแกสระเบิดนั้น ตัวนายน๊อกซ์อยู่ที่ประเทศอังกฤษ ส่วนหม่อมเจ้าหญิงฉวีวาด ยิ่งหากจะนิยามว่า เป็นผู้มักจะขาดสติสัมปัชชัญญะด้วยแล้ว ถ้าโรงแกสหลวงยังดีๆอยู่ ยิ่งไม่มีทางจะเล็ดลอดเข้าไปสุมไฟให้ถังแกสระเบิดได้เลย เหลือเชื่อครับ

ส่วนที่ว่าหม่อมเจ้าหญิงองค์นี้ ทรงหนีราชภัยไปอยู่เขมรนั้น ผมไม่มีความเห็น จะไปจริงหรือไม่ ไปด้วยสาเหตุอะไร ไม่ทราบ ไม่ขอติดตาม ถ้าเรื่องเหล่านี้มีมูล ทำไมพวกผู้ก่อการกบฏ เมื่อคิดว่าตนจะต้องลี้ภัย ทำไมไม่ไปรวมกันที่กงศุลอังกฤษ ที่ตอนนั้นเปิดให้คนเข้านอกออกในได้ตามสะดวก

เรื่องราวของหม่อมเจ้าหญิงฉวีวาด ปราโมช มีรายละเอียดอยู่ในเรื่อง "โครงกระดูกในตู้" ของม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช     เป็นโครงกระดูกโครงใหญ่ทีเดียวในสายตาของท่านผู้เขียน
ประเด็นที่ว่าหม่อมเจ้าหญิงองค์เดียวอาจหาญถึงกับวางแผนระเบิดโรงแกส  ก็น่าสงสัยเช่นเดียวกับที่คุณ Navarat.C บอกข้างบนนี้ ว่าทำได้อย่างไร   ไม่ต้องดูเหตุผลอื่น  ดูข้อเดียวว่า มีบารมีแค่ไหนถึงวางแผนสั่งคนทำได้ขนาดนั้น   ก็ไม่คิดว่าท่านจะทำได้เสียแล้ว

    ถ้าดูข้อเท็จจริงอื่นๆประกอบ ม.จ.ฉวีวาดน่าจะเป็น "แกะดำ" ตัวใหญ่ของวังหลวง   คือท่านเป็นเจ้านายสตรีฝ่ายในของวังหลวงองค์เดียวที่ไปเสกสมรสกับเจ้านายฝ่ายชายของวังหน้า  ซึ่งยุคนั้นไม่มีใครทำกัน   ผลคือท่านหญิงฉวีวาดจะต้องไม่ป๊อบปูล่าร์เอามากๆในสายพระเนตรของเจ้านายวังหลวงทั้งหลายไม่ว่าฝ่ายหน้าหรือฝ่ายใน
    นอกจากนี้ ท่านก็ยังไปสนิทสนมกับแคโรไลน์ลูกสาวคนเล็กของกงศุลน๊อกซ์    ซึ่งเจ้านายสตรีฝ่ายในก็ไม่มีใครทำกันอีก  ในพระราชหัตถเลขาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงมีไปถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์  ก็ทรงระบุไว้ชัดว่า
   "ลูกสาวสองคนนี้คนต่างประเทศไม่มีใครนับถือเลย   ไม่มีใครจะเอาเป็นภรรยาเลยเป็นแน่"
   การกระทำของม.จ.ฉวีวาด ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงชุบเลี้ยงอุปถัมภ์อย่างมีเกียรติ เท่ากับพระเจ้าลูกเธอ จนชาววังเรียกว่า "ลูกเธอปลอม"  คงเป็นที่ไม่พอพระราชหฤทัยของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เอามากๆ    แต่ม.จ.ฉวีวาดก็หัวแข็งเอาการ  ก็ยังแสดงว่าทรงฝักใฝ่ฝ่ายวังหน้าอยู่  แต่เราก็คงพอเดาได้ว่า ทรงรู้สึกกดดันอยู่ไม่น้อย  
    เมื่อเกิดไฟไหม้โรงแกสวังหลวง เป็นจุดระเบิด   วังหน้าเสด็จลี้ภัยในสถานกงศุล    ชวนให้คิดว่าต้องแตกหักกันแน่ระหว่างวังหลวงกับวังหน้า     ม.จ.ฉวีวาดรู้ว่าภัยมาถึงตัวแน่แล้วท่านก็หนีออกนอกสยามไปลี้ภัยในเขมร     เรื่องนี้พิสูจน์ได้ว่าจริง  เพราะมีพยานคือพระองค์เจ้าพานคุลี  โอรสของท่านที่ประสูติจากพระเจ้าแผ่นดินเขมรเป็นหลักฐานอยู่ว่าท่านไปถึงราชสำนักเขมรแน่ๆ
    ในเรื่องโครงกระดูกในตู้     ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ไม่ได้เล่าว่าพระสวามีของม.จ.ฉวีวาด  คือพระองค์เจ้าเฉลิมลักษณวงศ์  กรมหมื่นวรวัฒน์สุภากร   พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกระทบกระเทือนมากน้อยแค่ไหนจากการกระทำของพระชายา    ในวิกฤตวังหน้าไม่มีการเอ่ยถึงเจ้านายพระองค์นี้เลย   เจ้านายสำคัญของวังหน้าที่ตามเสด็จ หรือพูดให้ถูกว่าถูกตามให้ตามเสด็จกรมพระราชวังบวรฯเข้าสถานกงศุลคือกรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์พระองค์เดียว    
    ทางราชสกุลปราโมชของม.จ.ฉวีวาดถูกริบราชบาตร   เดือดร้อนกันไปทั่วแม้แต่เด็กอย่างม.จ.คำรบ ปราโมชก็ตกระกำลำบากต้องไปเดินเร่ขายพุดซา      แต่ดิฉันไม่ทราบว่าทางพระองค์เจ้าเฉลิมลักษณวงศ์ท่านทรงโดนริบราชบาตรหรือถูกลงโทษบ้างหรือไม่  คิดว่าคงไม่โดน    อาจเป็นได้ว่าท่านทรงแยกทางกับม.จ.ฉวีวาดมานานแล้ว   ตอนม.จ.ฉวีวาดหนีจากสยาม ขนละครผู้หญิงไปทั้งโรง จึงไม่มีพระสวามีร่วมทางไปด้วย
    นานหลายปีต่อมา  พระองค์เจ้าเฉลิมฯได้ทรงกรมเป็นกรมหมื่นวรวัฒน์สุภากร   เมื่อพ.ศ. ๒๔๔๖   แล้วมาสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 18 มี.ค. 11, 05:39

^
เสียดายจริงๆ ตอนเรียนมหาวิทยาลัย ผมเป็นศิษย์คนหนึ่งของท่านอาจารย์คึกฤทธิ์ วันเกิดของท่านปีนั้นมีงานใหญ่ที่บ้านซอยสวนพลู ใครไปร่วมงานจะได้รับแจกหนังสือเล่มหนึ่งเป็นของชำร่วย คือ"โครงกระดูกในตู้" ผมได้รับกับมือทีเดียวละครับ ตอนนั้นก็อ่านแบบสนุกๆไปเหมือนอ่านนิยาย ไม่ได้อ่านเอาความเท่าไร

ต่อมาย้ายบ้านหลายครั้ง พอนึกขึ้นมาได้ ก็หาหนังสือเล่มนี้ไม่พบเสียแล้ว

ตอบคำถามท่านอาจารย์เทาชมพู

อ้างถึง
๑   กรมพระราชวังบวรฯ ทรงพาเจ้าจอมมารดาเอม  พระขนิษฐาและพระอนุชา(ซึ่งอยู่อีกวัง) ไปสถานกงศุล   แล้วบรรดาเจ้าจอมหม่อมห้าม กับพระราชโอรสธิดา  ท่านมิได้พาไปด้วยสักพระองค์เลยหรือ ? หรือว่าตามเสด็จกันไปทีหลัง

เท่าที่ผมทราบ ไม่มีครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.086 วินาที กับ 19 คำสั่ง