คุณwillyquiz คำว่า ราชันย แปลว่า ความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
คำนี้จะนำมาใช้แทนคำว่า ราชัน ไม่ได้ ราชันเป็นคำภาษาสันสกฤตแปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน
แต่อยู่ในรูปที่ยังไม่ได้แจกวิภัติ เช่นเดียวกับคำว่า ราช กับ ราชย
ราช แปลว่ากษัตริย์ หรือเกี่ยวข้องกับกษัตริย์ แต่ ราชย แปลว่า ความเป็นกษัตริย์
ฉะนั้น ครองราชสมบัติ หรือ ครองราชย์ ควรเลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง
ไม่ใช่ ครองราชยสมบัติ
4. สองบทสุดท้ายที่คุณหลวงกล่าวถึงอาจเป็นเพราะอวิชชาของผมเอง ก่อนแต่งคำฉันท์บทนี้ผมได้วางโครงเรื่องเอาไว้แล้วและกำหนดไว้แล้วว่าจะต้องจบลงแบบนี้
ไม่ทราบว่าคุณหลวงพอจะรับฟังเหตุผลของผมได้ไหม เวลาผมสวดมนต์ผมจะเริ่มด้วยบทชุมนุมเทวดาก่อนเสมอ และเมื่อสวดเสร็จผมก็จะปิดท้ายด้วย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ........... เพื่อเป็นการบูชาคุณพระรัตนตรัยเป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งผมคิดว่าเปรียบเหมือนผมแต่ง
คำฉันท์นั่นเอง ผมขอบูชาคุณแห่งพุทธอำนาจอันบริสุทธิ์เป็นครั้งสุดท้ายเพื่อให้ทรงคุ้มครองในหลวงของผม ผมจึงแต่งไว้เป็นบทสุดท้ายครับ แต่ไม่ทราบ
มาก่อนว่าการแต่งในลักษณะนี้เป็นการผิดธรรมเนียม ยามปกติเวลาผมแต่งเรื่องยาวผมก็จะเริ่มบูชาครูด้วยคุณพระศรีรัตนตรัยก่อนเสมอแล้วตามด้วยเทพองค์อื่น
แต่ครั้งนี้มาผิดพลาดไป เพราะคาดไปไม่ถึง ขอบพระคุณที่ตักเตือนครับ
อ๋อ บทชุมนุมเทวดาที่ขึ้นว่า สัคเค กาเม จะ รูเป ... แล้วลงท้ายว่า ธัมมะสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา ๓ จบ นั่นหรือครับ
บทชุมชุมเทวดา ไม่ใช่บทที่บ่งบอกว่าเป็นการนมัสการขอพรเทวดา แต่เป็นเชื้อเชิญเทวดาอมนุษย์ให้มาประชุมกันเพื่อฟังธรรม
บทชุมนุมเทวดานั้น ปกติแล้ว พระภิกษุสงฆ์จะกล่าวขึ้นก่อนที่เริ่มเจริญพระปริต (จะเป็น ๗ หรือ ๑๒ ตำนานก็แล้วแต่)จากนั้นจะตามด้วย
บทขัดตำนาน แล้วจึงจะเริ่มเจริญพระปริต ถ้าจะหาแนวยึด คุณชอบสวดมนต์คุณควรใช้ลำดับตามบทมงคลจักรวาฬใหญ่
ย้ำอีกครั้ง การเชิญเทวดา ไม่ใช่การขอพรครับ
กระทรวงมุรธาธร เป็นกระทรวงที่ทำหน้าที่รักษาตราประทับที่ใช้สำหรับแต่งตั้งขุนนางสัญญาบัตร
ตลอดจนทำหน้าที่เขียนใบสัญญาบัตรแต่งตั้งข้าราชการทั้งหลาย จริงๆ แล้วคงมีงานด้านอื่นๆ อีก
มุรธา แปลว่า ศีรษะ หรือ ตรา ก็ได้ มุรธาภิเษก แปลว่า การรดน้ำที่ศีรษะ หรือการรดน้ำพระเจ้าอยู่หัว
คุณอาร์ทชมผมมากไปแล้ว
