ตำบลหัวป่า เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี....พระยาอภัยราชา ที่สมุหเทภิบาลมณฑลอยุธยา เป็นผู้หนึ่งที่ไปเมืองพรหมบุรีบ่อย ๆ .....จึงนำคณะศรัทธามาสร้างโบสถ์ศาลาให้วัดชลอนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ...... ปีถัดมาจึงกราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทอดกฐินที่วัดชลอนนี้ ...... บันทึกในหมายเหตุรับเสด็จพระราชดำเนินครั้งนั้นว่า “แม่ครัวเครื่องคาวได้แก่ อำแดงเกลี้ยง อำแดงอึ่ง อำแดงแพ อำแดงสรวง ส่วนเครื่องคาวหวานได้แก่ อำแดงหงส์ อำแดงสิน อำแดงพลับ อำแดงพา”.....
ข้อมูลที่ถูกต้องคือ
จากสารคดี เสด็จประพาสต้น ตอนที่ ๑๒ : ร.ศ. ๑๒๕ ประพาสต้น ชัยนาท-อุทัยธานี
ในวันที่ ๗ ส.ค.พระองค์ได้เสด็จไปถ่ายรูป วัดชลอน ทรงทอดพระเนตรต้นโพธิ์ที่พระองค์โปรดให้นำกิ่งตอนมาจาก วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ มาปลูกที่วัดชลอนhttp://my.opera.com/Chulalongkorn/blog/show.dml/17629692เสด็จพระราชดำเนินไปที่ วัดชลอน หรือวัดพรหมเทพาวาส เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ หรือ ร.ศ. ๑๒๕ ก่อนตำราของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ๒ ปี

บันทึกของพระภาวนาวิสุทธิคุณ (เข้าใจว่าเป็นอดีตเจ้าอาวาสแห่งวัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี) ซึ่งคาดว่าจะเกี่ยวข้องไม่ทางใดทางก็หนึ่งกับท้องถิ่นหัวป่า กล่าวถึงรับสั่งของพระองค์เอาไว้
"
นี่แน่ะ แม่ครัวหัวป่า แม่ครัวทั้งหลาย ขออนุโมทนา ข้าพเจ้าขอบใจที่ทำอาหารอร่อย อาหารดี โปรดรักษารสอาหารอย่างนี้ไว้ถึงลูกหลาน..."เล่ากันว่านับแต่นั้นชาวบ้านตำบลหัวป่าก็ทำอาหารอร่อยมาจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน
และคำว่า "แม่ครัวหัวป่า" ก็ติดพระโอษฐ์ของรัชกาลที่ ๕ ลงไปจนถึงบางกอก เมื่อทรงพบพระกระยาหารที่มีรสชาติดี ก็ทรงตรัสเปรียบเทียบว่าอร่อยอย่างกับ "แม่ครัวหัวป่า" เสมอ ๆ เป็นเหตุให้คำว่า "แม่ครัวหัวป่า" ติดปากคนสยามบัดนั้นมาจนถึงบัดนี้ เมื่อพูดถึงคนทำอาหารอร่อย
"...เรื่องราวที่ว่ามีแม่ครัวที่นี่นำอาหารมาถวายรัชกาลที่ ๕ นั้นไม่ได้มีบันทึกชัดเจนในการเสด็จประพาสต้น ...สถาบันฟื้นฟูชุมชนกำลังจะเข้ามาทำโครงการที่นี่ ผมกำลังจะพยายามช่วยเขาเขียนประวัติหมู่บ้าน และพยายามสืบค้นอยู่ในขณะนี้"
อาจารย์บรรหาร ตันหยก แห่งวิทยาลัยเทพสตรี ลพบุรี ลูกบ้านหัวป่าแท้ ๆ ที่กลับมาศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของหมู่บ้านอย่างจริงจังนี้เล่าให้เราฟังเช่นนั้น
แต่หากลองไปสืบดูในทำเนียบประวัติเมืองพรหมบุรี จะมีบันทึกในหมายเหตุรับเสด็จครั้งนั้นอย่างชัดเจนว่า "แม่ครัวเครื่องคาวได้แก่ อำแดงเกลี้ยง อำแดงอึ่ง อำแดงแพร อำแดงสรวง ส่วนเครื่องหวานได้แก่อำแดงหงส์ อำแดงสิน อำแดงพลับ อำแดงพา"
"แม่ครัวหัวป่า" แห่งตำบลหัวป่า จังหวัดสิงห์บุรี ไม่ได้หมายถึงใครคนใดคนหนึ่งอย่างที่เราเข้าใจ ในอดีตที่รัชกาลที่ ๕ พระราชทานชื่อให้ "คณะ" แม่ครัวหัวป่า ซึ่งหมายถึงชาวบ้านหัวป่าทั้งหมดที่ทำอาหารรับเสด็จฯ ในครานั้น และมีการสืบทอดสูตรอาหารแบบปากต่อปากในหมู่ลูกหลานบ้านหัวป่า พร้อมคำกำชับกำชาให้รักษาความดีที่เคยทำไว้
"ทำมาดี มึ-ต้องรักษาให้ดี"
ช่วงที่พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จฯนั้นจังหวัดสิงห์บุรียังไม่เกิด แต่ก็เป็นพระองค์นี่เอง ที่มีรับสั่งให้ยุบเมืองพรหมนครลงในภายหลัง ไปรวมกับเมืองสิงห์บุรี
เรื่องเล่าของแม่ครัวหัวป่าไม่ได้จบแค่ที่บ้านหัวป่าเท่านั้น หลังการเสวยครั้งนั้นแล้ว นอกจากการที่คำว่าแม่ครัวหัวป่าติดพระโอษฐ์กลับมาบางกอก ยังมีการบันทึกว่าภายหลังยังทรงให้คุณหญิงโหมดจัดอำแดงเกลี้ยง อำแดงอึ่ง อำแดงหงส์ และอำแดงสิน มาเป็นแม่ครัวในวังหลวงอีกด้วย
บางส่วนจากหนังสือพิมพ์ ผู้จัดการรายวัน ๑๑ เมษายน ๒๕๔๘
