tb
อสุรผัด

ตอบ: 46
|
อยากขอความรู้จากผู้รู้ทั้งหลายในเรือนไทยวิชาการแห่งนี้ใครพอจะทราบเรื่องราวของท่านอาจารย์ เยื้อน ภาณุทัตบ้าง คือข้าพเจ้าได้เรียนรู้งานใบตอง งานปักดิ้นเลื่อม ที่เป็นทางของท่านอาจารย์มาบ้างจากศิษย์เอกด้านงานใบตอง,ปักดิ้นเลื่อมและได้รับฟังเรื่องราวของท่านมาบ้าง และอ่านหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพของท่านมา แต่อยากขอความอนุเคราะห์จากผู้รู้ณ.ที่นี้อยากทราบเรื่องราวเพิ่มเติม เกี่ยวกับงานแกะสลักผักผลไม้ งานดอกไม้สด การทำอาหาร ฝีมือท่านอาจารย์ เยื้อน ขอขอบพระคุณล่วงหน้านะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tb
อสุรผัด

ตอบ: 46
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 14 มี.ค. 11, 21:18
|
|
คุณพระช่วยไม่มีผู้รู้ท่านไหนรู้ข้อมูลเลยรึเนี่ย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33414
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 14 มี.ค. 11, 21:40
|
|
ดิฉันไม่มีความสามารถทางแกะสลักผักผลไม้ ทำดอกไม้สด ทำอาหาร ตามแนวทางของอาจารย์เยื้อน เลยไม่อาจจะตอบได้ ต้องรอผู้รู้ท่านอื่น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
tb
อสุรผัด

ตอบ: 46
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 22 มี.ค. 11, 11:30
|
|
ขอขอบคุณๆเทาชมพูสำหรับข้อมูลมากๆ แต่อยากรบกวนผู้รู้ในนี้อีกอย่างคืออยากเรียนงานร้อยดอกไม้แบบในวังมากแต่ทุนทรัพย์น้อยคือสอบถามไปในหลายๆที่ค่าเรียนก็แพงมากพอจะมีใครแนะนำได้ขอความกรุณาด้วยนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tb
อสุรผัด

ตอบ: 46
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 03 เม.ย. 11, 21:42
|
|
เอาล่ะขอบคุณที่เพื่อนๆพี่ๆในนี้เข้ามาสนใจอ่านกันตอนนี้ข้าพเจ้าได้น้องจากวิทยาลัยในวังหญิงมาสอนงานดอกไม้สดให้แล้ว และนับจากวันนี้เป็นต้นไปก็จะนำประวัติท่านอาจารย์ เยื้อน ภาณุทัต อย่างย่อมาเล่าเพื่อเป็นความรู้แก่เพื่อนๆพี่ๆในเรือนไทยวิชาการแห่งนี้ตามที่ชื่อหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพที่ว่า ' อาจารย์ เยื้อน ภาณุทัต ผู้ให้คำแนะนำอันอุดมไปด้วยประโยชน์ '
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tb
อสุรผัด

ตอบ: 46
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 04 เม.ย. 11, 22:24
|
|
วันที่14 พฤศจิกายน 2529 ประเทศไทยได้สูญเสียท่านอ.เยื้อน ภาณุทัต ปรมาจารย์ด้านงานประณีตศิลป์ทั้งปวง ตลอดระยะเวลาอันยาวนานถึง 5 รัชกาล ท่านได้สั่งสมวิชาความรู้นานัปประการ และได้สร้างผลงานทางประณีตสิลป์ ตลอดจนถ่ายทอดวิชาแก่บรรดาศิษยืรุ่นแล้วรุ่นเล่า ตราบจนวาระสุดท้าย คุณลุงของท่านคือ พระยาอัพภันตริกามาตย์(กระจ่าง ภาณุทัต) จางวางกรมพระราชพิธีในราชสำนักและกรมสนมพลเรือนผู้รับใช้ใกล้ชิดใต้เบื้องพระยุคลบาทพระพุทธเจ้าหลวง ชีวิตปฐมวัยของท่านอยู่ในความอุปการะของคุณลุง จึงเป็นโอกาสให้ท่านได้ศึกษาและสังเกตจดจำจารีตประเพณีและงานศิลปกรรมในราชสำนักอันจัดเป็นงานชั้นสูงสุด ท่านอ.เยื้อน ภาณุทัต ได้แสดงฝีมืองานประณีตศิลปและการเรือนให้ปรากฏในราชสำนักตั้งแต่อายุ8ขวบ จนถึงกับสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนี พันปีหลวง ต้องพระราชประสงค์ขอทอดพระเนตรตัวผู้ทำ ตลอดระยะสมัยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ท่านได้รับการไว้วางพระราชหฤทัย โปรดเกล้าฯ ให้เป็นแม่กองในงานประณีตศิลปหลายแขนง โดยเฉพาะการปักม่านบังพระเพลิงพระเมรุมาศในการถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้าหลวง, งานราขาภิเษกในรัชกาลที่6 , งานปักม่านข้างหลังที่ประทับบนพระที่นั่งจักรี,ปักพระเขนยที่บนแท่นพระเศวตฉัตร, และเครื่องใบตอง ที่ใช้ในงานพระราชพิธีต่างๆจนเป็นที่เลื่องลือและโปรดปรานของเจ้านาย และในรัชกาลที่7ท่านอ.เยื้อน ได้เป็นผู้ปักฉลองพระองค์บรมราชาภิเษกถวาย ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ท่านได้ไปใช้ชีวิตอยู่ในราชสำนักเขมรและลาว ได้แสดงฝีมือให้ปรากฏจนเป็นที่รู้จักเรียกกันว่า"คุณยายไทย" ท่านได้นำความช่างประดิษฐ์และความประณีตอันเป็นเอกลักษณ์ของสตรีไทยไม่มีชาติใดเหมือน ไปยังประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ และปีนัง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tb
อสุรผัด

ตอบ: 46
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 05 เม.ย. 11, 18:33
|
|
ท่านอ.เยื้อน มีอุดมการณ์อย่างแรงกล้าที่จะทำให้ผู้หญิงไทยมีความรู้ความสามารถ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและประเทศชาติให้มากที่สุดท่านจึงได้ตั้งโรงเรียนสตรีภาณุทัตขึ้นที่เสาชิงช้า ถ.บำรุงเมือง รับนักเรียนโดยที่ไม่ต้องมีการสอบเข้า ทั้งจะศึกษาโดยเสียค่าเล่าเรียนก็ได้หรือไม่เสียก็ได้ ไม่จำกัดวัยและฐานะ ร.ร.สตรีภาณุทัต เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะร.ร.การเรือนและประณีตศิลป์ชั้นสูงของสตรียุคนั้น ลูกศิษย์หลายท่านของร.ร.นี้ต่อมาภายหลังได้เป็นผู้มีเกียรติยศสูงถึงระดับท่านผู้หญิงและคุณหญิง ต่อมาร.ร.สตรีภาณุทัตได้ย้ายมาตั้งที่วังบูรพา แต่อาจเป็นความโชคร้ายของสตรีไทย ในยุคต่อมาร.ร.สตรีภาณุทัตต้องล้มเลิกการสอนลง ด้วยอำนาจของผู้ใหญ่บางท่านของกระทรวงศึกษาในสมัยนั้น แต่ความรู้ความสามารถอันเป็นเอกของท่านก็มิได้ถูกปิดกั้นไปด้วย ท่านได้ถูกเชิญตามไปสอนตามร.ร.ต่างๆอีกหลายแห่งเช่น ร.ร.สตรีวิทยา,ร.ร.สายปัญญา,ร.ร.การช่างเสาวภา,ร.ร.เพชรบุรีวิทยาลงกรณ์,วิทยาลัยครูสวนดุสิต ฯลฯ และยังได้รับเชิญจากสภาวัฒนธรรมหญิงให้เป็นกรรมการในการประกวดงานฝีมือต่างๆต่อมาอีกหลายยุคหลายสมัย อาจกล่าวได้ว่าวิชางานประณีตศิลปในปัจจุบันนี้ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ไม่มีศิษย์หรืออาจารย์ท่านไหนเลย ที่จะแหวกวงล้อมพ้นไปจากความรู้อันกว้างขวางของท่านได้ ดังจะเห็นได้จากตำราการสอนของของอาจารย์ร.ร.การช่างและการเรือนโดยทั่วไป ที่กรมวิชาการได้จัดพิมพ์และบรรจุไว้ในหลักสูตรต้นแบบของการทำใบตอง,ดอกไม้สดและแห้ง,และบายศรีในยุคหลังนี้ ตลอดจนการแกะสลักของสด ผักและผลไม้ในปัจจุบัน ล้วนมาจากสกุลขช่างของท่านอ.เยื้อน ภาณุทัต ทั้งสิ้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tb
อสุรผัด

ตอบ: 46
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 06 เม.ย. 11, 21:52
|
|
ท่านอ.เยื้อน ภาณุทัต ได้แสดงฝีมมือในการแกะสลัผลไม้ ตั้งเครื่องเสวยถวายเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบธฯเสด็จเยือนประเทศไทย และได้เสด็จเมืองโบราณที่บางปูทรฝมีรับสั่งว่า"ทำด้วยมือรึนี่" ตลอดชีวิตของท่าน ท่านเป็นผู้ให้ และเป็นผู้เสียสละตลอด เต็มไปด้วยความหนักแน่น อดทน มักน้อย ต่อสู้เพื่อสังคมและเกียรติของสตรี ยึดมั่นในบวรพระพุทธศาสนา เป็นปูชนียบุคคลที่ควรแก่การบูชา แต่เป็นที่น่าเสียดายของประเทศไทยเรา ที่ได้สูญเสียทรัพยากรบุคคลอันประเสริฐ ผู้ไม่เคยต้องการ เครื่องหมายเชิดชูยกย่องหรือคำสดุดีจากสถาบันไหน ท่านได้กล่าวไว้ไนบั้นปลายชีวิตของท่านว่า "วิชาความรู้ที่อิฉันสอนนั้น เป็นเพียงส่วนน้อย ที่มีผู้รับถ่ายทอดไป ยังจะต้องนำติดตัวตายตามอิฉันไปอีกเป็นอันมาก" ที่ข้าพเจ้านำข้อความทั้งหมดมาพิมพ์ไว้ในเรือนไทยวิชาการแห่งนี้เพื่อที่จะทำให้หลายท่านที่สนใจงานประณีตศิลป์ว่าส่วนหนึ่งมาจากที่ไหนและจะได้ภาคภูมิใจว่ายังมีบุคคลเช่นท่านอ.เยื้อน ภาณุทัต ที่เป็นปูชนียบุคคลที่น่ายกย่อง ปล.ไว้จะนำข้อความในหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพมาเล่าอีกนะครับเพราะช่วงนี้ต้องทำงานปักผ้าและงานดอกไม้สดคู่กันไป แต่ไม่แน่ใจว่าหลายท่านในเรือนไทยวิชาการแห่งนี้ชอบกันรึเปล่าเพราะไม่เห็นมีใครมาแสดงความคิดเห็นเลย ถ้าเป็นเช่นนี้ก็แล้วแต่โอกาสเหมาะแล้วกันนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Ptikky
อสุรผัด

ตอบ: 3
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 07 เม.ย. 11, 08:25
|
|
ชอบมากค่ะ...แต่อยากเห็นภาพการแกะสลักดอกไม้สด ผัก ผลไม้ประกอบด้วยน่ะค่ะ
อิฉันเคยได้ยินผู้ใหญ่พูดถึงการแทงหยวก ว่าเป็นงานประณีตศิลป์อีกแขนงหนึ่ง ไม่ทราบว่า คุณ TB พอจะให้ความรู้ด้านนี้ประกอบด้วยได้ไหมคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tb
อสุรผัด

ตอบ: 46
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 07 เม.ย. 11, 21:28
|
|
ขอขอบคุณ คุณPtikky ที่ชื่นชอบงานประณีตศิลป แต่ข้าพเจ้ายังไม่ได้เรียนถึงขั้นแทงหยวกขนาดนั้นจึงมิอาจให้ความรู้ได้ขอประทานโทษด้วยจริงๆ ไว้จะเอารูปมาลงแต่ขอเวลาซักระยะนะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
bkkk
อสุรผัด

ตอบ: 14
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 19 เม.ย. 11, 02:41
|
|
Khun TB,
Wow, good topic. ท่านอาจารย์ เยื้อน ภาณุทัต was the best.
BKKK
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tb
อสุรผัด

ตอบ: 46
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 19 เม.ย. 11, 13:25
|
|
;Dขอบคุณๆbkkk ที่ชอบอ่ะจ๊ะ วันนี้จะพูดถึงศิษย์เอกของท่านอ.เยื้อน ภาณุทัต ด้านงานปักดิ้นเลื่อม,งานใบตอง,งานแกะสลัก ด้านงานใบตอง ในวาระสุดท้ายของชีวิตท่านได้ยกย่องครูท่านหนึ่งที่เป็นลูกศิษย์ว่าเป็นศิษย์เอกจริงๆคือ ครูชื่อ ประถม โรจนานนท์ ด้านงานปักดิ้นเลื่อม คือ อ.จักรพันธ์ โปษยกฤตและ อ.วัลภิศ สดประเสริฐ ด้านแกะสลัก คือ อ.ถนอมศรี อภัยพลชาญ tbได้เป็นลูกศิษย์ของครูประถม ได้เรียนรู้งานใบตองจากท่านมาได้ประมาณ3ปีแล้วแต่ไม่ได้นำมาประกอบอาชีพนะที่ไปเรียนนี่เพราะใจรักอยากจะทำของให้กับคนที่เรารัก ครูประถมท่านก็ดีมากๆเลยคือตอนที่ไปขอเรียนกับท่านๆไม่คิดค่าเรียนเลย ท่านได้สอนงานใบตองแบบเดียวกับที่ท่านอ.เยื้อนสอนไว้ล้วนแล้วแต่เป็นงานโบราณทั้งสิ้น มีงานใบลานและงานทางมะพร้าวด้วย ท่านสอนหมดเลย เรียนได้ประมาณ1ปีอ่ะ แต่เสียดายตัวเองว่าเอามาใช้น้อยมาก แล้วมีอีกอย่างนึง คือ ครูประถม ท่านเป็นลูกศิษย์ด้านงานดอกไม้สดของ หม่อมหลวง ป้อง มาลากุล หลายท่านในนี้คงจะคุ้นๆรึเปล่าไม่รู้คือ หม่อมหลวงป้อง ท่านเคยเปิดโรงเรียนสอนงานประณีตศิลป์ในหลายแขนงแต่ที่เลื่องชื่อคือ การปอกมะปรางริ้วที่สวยงาม หม่อมหลวงป้อง มาลากุล ท่านเป็นหลานสาวของ ม.ร.ว. ปั้ม มาลากุล หรือ คุณท้าววรคณานันท์ คุณข้าหลวงผู้ใหญ่ ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ท่านหม่อมหลวงป้องจึงได้เรียนรู้งานดอกไม้สดตั้งแต่ยังเด็ก แต่หลายคนในที่นี้คงมีความคิดว่าทำไมtb ไม่เรียนงานดอกไม้สด จากครูประถมกล่าวคือยังไม่กล้าขอไปเรียนกับท่านต้องรอจังหวะเหมาะๆก่อน แต่มีงานดอกไม้สดอันนึงที่ครูประถมบอกว่าถ้ามีโอกาสได้เรียนงานดอกไม้กับท่านๆจะสอนให้คือ งานดอกไม้คลุมไตร ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจาก หม่อมหลวง ป้อง tbได้เห็นรูปเก่าที่ครูประถมทำไว้แล้วแหละสวยมากกกกกกก ไม่ค่อยเหมือนงานในสมัยนี้เท่าไหร่ วันนี้แค่นี้ก่อนแล้วกันนะจ๊ะ เดี๋ยวไว้มาเล่าใหม่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
bkkk
อสุรผัด

ตอบ: 14
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 19 เม.ย. 11, 14:31
|
|
อ.ถนอมศรี อภัยพลชาญ is my lovely teacher.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tb
อสุรผัด

ตอบ: 46
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 19 เม.ย. 11, 17:01
|
|
 จริงเหรอค่ะคุณbkkkงั้นอย่างนี้คุณเคยได้ยินเรื่องของท่านอ.เยื้อนบ้างรึเปล่า แล้วเป็นลูกศิษย์นานยัง ถ้านานแล้วฝีมือคุณต้องสุดยอดแน่เลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|