เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 6159 "ลอร์ดหลุยส์ กับ เมืองไทย" สุกิจ นิมมานเหมินท์ เขียนใน บุพพการีบูชา
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


 เมื่อ 06 มี.ค. 11, 07:24


รวมเรื่องเขียน   แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ       นายหยี  นิมมานเหมินท์   นางจันทร์ทิพย์  นิมมานเหมินท์

วันที่  ๒๘  ธันวาคม  ๒๕๑๑

ณ  ฌาปนสถานบ้านเด่น   จังหวัดเชียงใหม่


ประวัติย่อ

นายมาอี่ และ นางจันทร์  นิมมานเหมินทร์  มีบุตรชายหญิงทั้งหมด ๘​ คน

หญิงชื่อ คำเย็น  ตันตรานนท์    (๒๔๑๖ - ๒๔๖๓)

หญิงชื่อ  กองแก้ว  ชูรัตน์​ (๒๔๑๘ - ๒๔๕๗)

หญิงชื่อ บัวเขียว   (เสียชีวิตแต่เยาว์วัย)

ชายชื่ออู (เสียชีวิตแต่เยาว์วัย)

ชายชื่อขลุ่ย หรือน้อย (๒๔๒๔  - ๒๔๘๐)

ชายชื่อหยี (๒๔๓๐ - ๒๔๕๕)

ชายชื่อ กี๊ (๒๔๓๐ - ๒๔๕๕)

ชายชื่อกี (๒๔๓๑ - ๒๕๐๘)
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 06 มี.ค. 11, 07:35



นางจันทร์ทิพย์  นิมมานเหมินท์  เกิดมาในตระกูลที่ประกอบการทำมาค้าขายทำนองเดียวกัน

บิดามารดา  นายเทียนสื่อ นางคำใส  เธียรสิริ  มีบุตรชายหญิงดังต่อไปนี้

นายจินต์  เธียรสิริ

นายโรง   เธียรสิริ

นายอู๋  เธียรสิริ

นางจันทร์ทิพย์   นิมมานเหมินทร์

เมื่อนายเทียนสื่อถึงแก่กรรมแล้ว       นางคำใสแต่งงานอีกครั้งหนึ่งกับนายน้อย  จุลาสัย  และมีบุตร ซึ่งเป็นน้องร่วมมารดากับนางจันทรทิพย์ ดังต่อไปนี้

นางจันทรเปง  ติยาภรณ์

น.ศ. จันทา  จุลาสัย

นายป่วนนี้  จุลาสัย

นายตงเจี่ย  จุลสสัย

พระภิกษุสุวรรณรังษี (เม่งเจี่ย)

นายไล่เจี่ย  จุลาสัย

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 06 มี.ค. 11, 22:55


       
       เป็นที่ทราบกันดีในบรรดาลูกหลานและญาติพี่น้องมิตรสหายง่าคุณพ่อคุณแม่มีอุปนิสัยที่มีรสนิยมมที่แตกต่าง

กันก็มี  ที่คล้ายคลึงกันก็ไม่น้อย   คุณพ่อเป็นคนที่มีน้ำใจสุขุมเยือกเย็นละเอียดรอบคอบเป็นพิเศษ   ทางคุณแม่ก็มีนิสัย

ที่แตกต่างไป     กล่าวคือใจเร็ว  ตัดสินใจประหนึ่งว่าเป็นสัญชาตญาณ        เมื่อนิสัยของท้ังสองคนมารวมกันเข้าแล้วจึง

นับว่าพอดีพอเหมาะไม่มากไม่น้อย        ทำให้การดำเนินชีวิตในครอบครัวเป็นไปตามปกติวิสัยไม่เนิบนาบหรือยืดเยื้อเกินไป

และไม่เป็นไปในทำนองใจเร็วด่วนได้  นับได้ว่าเป็นกุศลอย่างหนึ่งซึ่งลูก ๆ ทั้งหลายก็สำนึกดีถึงความพอเหมาะพอสมของผู้ให้กำเนิดทั้งคู่

คุณพ่อนั้นเป็นคนรักการอ่านหนังสือ  นิยมเหตุผล  และเป็นคนพากเพียรยากที่จะหาใครเหมือนได้        และแม้นสมัยนั้นจะเป็นสมัย

ที่ยังไม่มีสถารการศึกษาชั้นสูงก็ตาม   ทั้งคุณพ่อและคุณแม่ก็มีความรู้เขียนอ่านภาษาไทยได้ดี    โดยเฉพาะเกี่ยวกับลายมือแล้ว

ครั้งหนึ่งเป็นที่รับรองและถือกันว่าลายมือของคุรพ่องดงามเป็นระเบียบเรียบร้อยที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่    และทั้งๆที่คุณพ่อและคุณแม่

ต่างก็มีความรู้ภาษาไทยอย่างที่ใช้ในภาคกลาง   ทั้งคุณพ่อคุณแม่ก็มิได้ทอดทิ้งละเลยอุตส่าห์เขียนภาษาไทยเหนือด้วยตัวอักขระอย่าง

ที่ใช้กันในมณฑลภายัพ  ทั้งในการอ่านและการเขียนได้อย่างดี

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 07 มี.ค. 11, 01:09



       นิสัยที่คุณพ่อคุณแม่ส่อว่ามีรสนิยมตรงกัน  คือต่างคนต่างมีพรสวรรค์ทางด้านศิลปะ  กล่าวคือ รักสวยรักงาม

ในแทบทุกด้านแห่งชีวิต    คุณพ่อและคุณแม่ชอบการปลูกไม้ดอกเป็นชั้นที่เรียกว่า  เป็นนักเลงทางนี้ก็ว่าได้   และ

เป็นคนขวนขวายเสาะแสวงและสั่งเข้ามา  บรรดาพันธ์พืชไม้ดอกไม้หัวจากต่างประเทศเข้ามาหลายอย่าง    สิ่งที่

คุณพ่อคุณแม่ชอบอีกอย่างหนึ่งก็คือ  นิยมเลี้ยงสัตว์บางชนิด  เช่นเลี้ยงนกต่าง ๆ จนกระทั่งเป็นนิสัยมรดกตกทอดถึง

บรรดาลูก ๆ เกือบทุกคน         งานอดิเรกของคุณพ่อนอกจากจะเป็นการอ่านหนังสือบรรดาวรรณคดีและนวนิยาย

ซึ่งแทบจะกล่าวได้ว่าบรรดาวรรณคดีและนวนิยายต่าง ๆ ตั้งแต่เดิม ๆ มาถึงปลายรัชกาลที่ ๖ แล้ว     ก็แทบจะกล่าว

ได้ว่ามีน้อยเล่มนักที่คุณพ่อมิได้อ่าน      บางครั้งบางคราวพวกลูก ๆ ยังจำได้ว่า  คุณพ่อชอบนำเอาหนังสือเรื่อง

ความพยาบาทของแม่วัน  ซึ่งเป็นหนังสือที่ท่านเจ้าคุณสุรินทรราชา (นกยูง  วิเศษกุล) ได้แปลและเรียบเรียงจากนวนิยายของ

นักเขียนชาวอังกฤษชื่อ แมรี่  คอเรลลี่   มาอ่านดังๆให้ลูกหลานฟัง    นอกจากนั้นบางครั้งบางคราวท่านก็นำเอาหนังสือ

เรื่องเด็กกำพร้่า  ซึ่งท่านผู้ใช้นามปากกาว่าไทยใต้  ได้แปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทย  ซึ่งมีทั้งโศกทั้งรักทั้งน่าเวทนา

ซึ่งทำให้ผู้อ่านเองถึงกับต้องใช้ผ้าเช็ดหน้าคอยเช็ดน้ำตาซึ่งคอยจะร่วงออกมาด้วยความสงสารเห็นอกเห็นใจผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน


       นอกจากทางด้านวรรณคดีแล้ว  คุณพ่อก็มีนิสัยรักทางช่างไม้อีกโสดหนึ่ง     มีเครื่องใช้ในบ้านหลายชิ้นหลายอัน

เป็นพยานแห่งความประณีตวิจิตรพิสดารเป็นต้นว่า  กรงนกแบบแปลก ๆ แปรงสำหรับปัดกวาด  โต๊ะ  เตียง  ตลอดจน

เครื่องใช้ไม้สอยเล็ก ๆ น้อย ๆ หลายสิ่งหลายอย่าง   และใคร ๆ ที่ได้เห็นตู้เก็บเครื่องมือของท่านแล้วก็อดที่จะชมว่าเป็นระเบียบเรียบร้อยที่สุด

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 07 มี.ค. 11, 08:15



       ส่วนทางด้านคุณแม่เล่านิสัยทางด้านศิลป์ก็แสดงออกมาหลายสิ่งหลายอย่าง   ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการแต่งตัว

หรือการประดิษฐ์เสื้อผ้า  และในการฝีมือของสตรี  ไม่ว่าจะเป็นการสะดึงรึงไหม  การปรุงอาหารหรือการจัดดอกไม้เย็บบายศรีและอะไรต่อมิอะไร

ซึ่งเป็นหน้าที่ของกุลสตรีพึงจะรู้และหาความชำนาญให้นำมาใช้ได้ทุกครั้งทุกคราวที่มีความจำเป็นจะต้องใช้สิ่งเหล่านั้น   คุณสมบัติพิเศษ

ของคุณแม่่อีกอย่างหนึ่งคือไม่รังเกียจที่จะยอมตัวไปรับใช้หรือช่วยเหลือผู้อื่นที่มีศิลปที่ท่านต้องการจะศึกษา   ถ้าหากว่าท่านทราบว่าผู้ใดมีความรู้

ในการปรุงอาหารชนิดที่ทางมณฑลพายัพไม่ค่อยมีโอกาสประดิษฐประดอยทำ   ท่านก็ยอมตัวเข้ารับใช้เพื่อได้ความรู้ด้านปรุงอาหาร  เช่นแกงมัสหมั่น

แกงฮังเล  แกงบวน  ยำใหญ่  และอะไรต่อมิอะไรดังที่ได้ปรากฏมนหนังสือกาพย์ห่อโคลงเห่เรือที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรง

พระราชนิพนธ์เพิ่มเติมจากที่เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ทรงไว้ไม่ครบทั้งของคาวและของหวาน       จนแทบจะกล่าวได้ว่า

ไม่มีอาหารชนิดไหนที่ปรากฎในหนังสือแม่ครัวหัวป่าก์ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ได้บรรยายไว้ที่คุณแม่จะปรุงตามมิได้


       คุณพ่อคุณแม่อยู่ด้วยกันเป็นเวลากว่า ๕๐ ปี       มีบุตรชายบุตรหญิงทั้งหมด ๑๑ คน  คือ

นายสุเทพ

นายสุกิจ

นางทองใบ  กาญจนากร

นางสาวทองฝอย

นางทองหลาง  สันทรารชุน

นางสาวทองคำ

นางทองชาย  ชาญศิลป์

นางสาวทองช้อน

นางสาวทองพูน

ด.ช. น้อย(ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ ๓ วัน  แฝดคู่ นางสาวทองพูน

นายสุภาพ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 07 มี.ค. 11, 09:00

       คุณพ่อเสียชีวิตเมื่อ วันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๐๓  อายุได้ ๗๖ ปีเศษ ด้วยโรคหัวใจวาย

คุณแม่จากไปเมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม  พ.ศ. ๒๕๐๖  อายุ ๗๘ ปีเศษ       ลูกหลานได้ปลงศพในวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๑๑

เมื่อเป็นโอกาสที่ลูกทุกคนสามารถมาร่วมปลงศพให้เรียบร้อยไป



       สารบาญ  ผลงานของนายสุกิจ  นิมมานเหมินท์ที่รวบรวมมาพิมพ์ในหนังสือ "บุพการีบูชา"

ใครเป็นศัตรูของพระพุทธศาสนา

เมื่อน้ำมาปลากินมด  ครั้นน้ำลดมดกินปลา

ลอร์ดหลุยกับเมืองไทย

วิจารณ์ "สิบกวี" ของ พ.ณ. ประมวลมารค

โดญากีมาร์ -  แม่ศรีของหวาน

เอมิน  ราบัด  ขุนนางจากเมืองมะริกา

หรั่งไย  ไทยเป็น  หรั่งเขิน  ไทยหัว

ไซทีเรา  ไซทีใหม่  ไซที่ไหน  ไซทีเรา

เถียงกันเปล่า ๆไม่เข้ายา โบราณว่า  อดใจไว้ได้เป็นพระ

ดาวเดือนเลือนลับสัตภัณฑ์  สุริยันเยี่ยมยอดบรรพตา

ความผิดแบบวิลันดา

วันเกิด หรือ วันคล้ายวันเกิด

การบูนบอร์เนียว

เดินตามรอยเท้าผู้ใหญ่หมาไม่กัด  ไปพูดขัดเขาทำไม  ขัดใจเขา

ประวัติของคำบางคำ

เชียงตุง  เชียงรุ้ง

กว่าง

มิตรพลีต่อคุณเสงี่ยม  คงตระกูล

จดหมายจากอินเดีย  


        อาจารย์สุกิจ เขียนไว้ว่า   "ถ้อยคำสำนวนก็ดี   เรื่องราวก็ดี  ย่อมแล้วแต่กาละเทศะของการเขียนการพูด   จึงทำให้บางตอน

เป็นที่แปร่งหรือฟุ่มเฟือยสำหรับบางแห่ง   แต่อาจพอดีหรือเป็นที่ต้องการทราบของผู้อ่านหรือผู้ฟังอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ห่างไกลกันก็ได้  

ฉะนั้น  จึงขอให้เลือกเฟ้นอ่านดูเท่าที่จะศรัทธา

       ขออย่างเดียวว่า  อย่าฝืนใจอ่านบางบทที่ไม่ใช่ของใหม่สำหรับท่าน    เพราะอย่างไรก็ดี   ผู้แต่งผู้เขียนหรือผู้พูด  ไม่มีความปรารถนา

จะให้ท่านเกิดความรำคาญในจิตใจของท่านเลย   มุ่งจิตก็เพียงแต่จะจาระไนความนึกคิดของตนลงบนแผ่นกระดาษ  หรือพูดออกมาเพื่อผู้ที่

สนใจจะได้รู้ได้ทราบถึงความนึกคิดของเอกชนคนหนึ่งซึ่งอยากจะให้เกิดความเข้าใจดีต่อกันและกันเท่านั้น"

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 07 มี.ค. 11, 17:23



       ลอร์ดหลุยส์ กับ  เมืองไทย   (หน้า ๓๓ -  ๔๓)



       "เมื่อไม่กี่เดือนมานี้   ข้าพเจ้าได้มาร่วมการเลี้ยงอาหารค่ำเนื่องในการต้อนรับท่านเซอร์ เอสเลอร์เด็นนิง (Sir Esler Denning)

ซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการทำสัญญาสมบูรณ์แบบระหว่างอังกฤษกับไทย  เมื่อครั้งเสร็จสงครามใหม่ ๆ      ข้าพเจ้าได้ถามเขาว่า

เขามีความเห็นอย่างไรสำหรับหนังงสือเรื่องชีวประวัติของ นายพลเรือตรี เออร์ล เมานท์ แบทแทน แห่งพม่า 

(Rear Admiral  Earl Mount Batten of Burma)   (หรือที่เราชอบเรียกกันสั้น ๆ เล่น ๆ ว่า ลอร์ดหลุยส์) ฉบับที่นายเรย์  เมอร์ฟี่

(Ray Murphy)  ได้แต่งขึ้น  โดยใช้ชื่อว่า  "อุปราชคนสุดท้าย"  (Last viceroy)   ท่านเซอร์ก็ได้แสดงความแปลกใจ

ที่คนอย่างข้าพเจ้าก็ยังอุตส่าห์สนใจ และรู้จักหนังสือเล่มนี้   และท่านก็ให้ความเห็นแบบกว้าง ๆ ว่า   "ก็พออ่านได้    ข้อความมีบางตอน

ที่ถูกและบางตอนก็ไม่สู้ถุกนัก"


        ในฐานะที่ข้าพเจ้าชอบอ่านหนังสือทำนองนี้มาอยู่บ้าง   แต่จะให้ตรัสรู้ไปว่าข้อไหนถูกหรือไม่ถูกอย่างที่ท่านเซอร์ เอสเลอร์  จะทราบนั้น

ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้         เพราะตัวข้าพเจ้าไม่ใช่เป็นตัวการหรือเป็นพระเอกในเรื่อง       แต่เมื่อพบข้อความบางตอนในหนังสือเล่มนี้เกี่ยว

พาดพิงมาถึงประเทศไทย  และการเจรจาสัญญาสันติภาพระหว่างไทยและจักรภพอังกฤษ  ก็เห็นว่ามีบางตอนก็น่าขัน      ทั้งจะได้เป็นบทเรียนประกอบ

การศึกษาพิจารณาจากอดีตมาถึงปัจจุบัน  และปัจจุบัน  เพื่ออนาคตของพวกเราเอง   แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น  ก็ขอให้ถือเสมือนกนึ่งว่าเขามาอย่างไร  ข้าพเจ้าก็ชักใยต่ออย่างนั้น

ในระหว่างหน้า ๒๒๗ ถึง ๒๓๑  ของหนังสือเล่มนั้นมีความเกี่ยวกับประเทศไทย   ดังที่ข้าพเจ้าจะพยายามเก็บความรวบรวมมาพอได้ความดังต่อไปนี้


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 07 มี.ค. 11, 22:42

แก้คำผิดในกระทู้ที่ผ่านมาค่ะ


ขอให้ถือเสมือนหนึ่งว่า  เขามาอย่างไร



       เมื่อพูดถึงภาคใต้ของประเทศไทยแล้ว   ปัญหาข้อยุ่งยากก็ได้เกิดขึ้นระหว่างฝ่ายอังกฤษและฝ่ายไทย

หลังจากที่ญี่ปุ่นได้ยินยอมแพ้แล้ว    เพราะว่าเมื่อประเทศไทยโดยอาศัยอิทธิพลญี่ปุ่นได้ประกาศสงครามกับประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกานั้น 

ฝ่ายอังกฤษได้รับเอาการประกาศสงครามของไทยไว้  แต่ทางอเมริกาไม่ยอมรับ   เรื่องนี้ทำให้เกิดบรรยากาศอบอวลป่วนปั่นทางอารมณ์

เพราะการกระทำหรือเว้นกระทำบางอย่างของอเมริกัน  ซึ่งเปิดฉาก ณ กระทรวงต่างประเทศแห่งสหรับอเมริกาเมื่อ ค.ศ. ๑๙๔๒   และตัวละครตอนนั้น

ก็คืออัครราชทูตไทย  ซึ่งเป็นคนแบบบางร่างน้อบ  หน้าเกลี้ยง เสียงแหลม  แถมมีสำเนียงกระเดียดเป็นชาวอ๊อกซฟอร์ดเสียด้วย   และท่านรัฐมนตรี

ต่างประเทศ คอร์เดล ฮัล (Cordell Hull)     เขาเล่ากันว่า  อัครราชทูตไทยได้มาพบท่านรัฐมนตรีต่างประเทศเพื่อนำความมาแจ้งด้วยน้ำตาอันฟูมฟายให้ทราบว่า   

ตั้งแต่บัดนั้นไป   ภาวะแห่งสงครามได้อุบัติขึ้นแล้วระหว่างประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา          ท่านคอร์เดล ฮัล  ผู้เฒ่าใจดีก็เกิดความเห็นอกเห็นใจ

รู้สึกสงสารทูตไทยมาก    จึงพยายามประเล้าประโลมปลอบโยนเอาใจในทำนองที่ว่า  ไม่เป็นไร   อย่างไร ๆ สหรัฐอเมริกากจะไม่ยอมรับการประกาศสงคราม

แบบตบมือข้างเดียวนี้เลย       และข้อรับรองอันนี้เองแหละทำให้เกิดความยุ่งยากระหว่างไทยกับอังกฤษภายหลังเป็นอันมาก




       เมื่อสงครามสิ้นสุดลงแล้ว          ก็ได้มีการเจรจาขึ้นระหว่างผู้แทนอังกฤษและไทย           ทางอังกฤษฉลาดและไหวทันเลยถือโอกาสเกี่ยงงอนเรียกร้องค่า

ปฎิกรรมสงครามโดยอ้างว่า   ประเทศไทยไม่เพียงแต่ปล่อยให้ญี่ปุ่นยาตรากรีฑาทัพผ่านประเทศไทยไปจนถึงสิงคโปร์เท่านั้น       มิหนำซ้ำยังรวมและร่วม

กับญี่ปุ่นประกาศสงครามต่อประเทศอังกฤษ   ซึ่งเป็นการละเมิดกติกาสัญญาไม่รุกรานซึ่งกันและกัน            อันได้กระทำไว้เมื่อค.ศ. ๑๙๔๑ เสียอีก

ยิ่งกว่านั้นประเทศไทยยังแถมได้เคยส่งข้าวของและกำลังคน  คิดเป็นเงินหลายล้านเหรียญ   พร้อมกับให้ใช้ฐานทัพและตั้งกองทหารร่วมกันหลายแห่ง

มิหนำซ้ำฝ่ายไทยยังรับเอาจากประเทศญี่ปุ่นทำนองเป็นของขวัญสี่รัฐในมลายูเหนือ  และรัฐฉานอีกสองรัฐในประเทศพม่า   ซึ่งฝ่ายไทยได้เข้าไปยึดครอง

ไว้ทั้งหมด  เช่นทางมาลายูและบางส่วน  เช่นในทางเมืองเงี้ยว

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 08 มี.ค. 11, 08:47



       กระนั้นก็ดี   ก็ได้มีขบวนต่อต้านชาวญี่ปุ่นซึ่งมีผู้นำอันไม่ใช่ใครอื่นเลย  กล่าวคือหลวงประดิษฐ์ ฯ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ที่ใช้นามระหัสเหมือนกับชื่อสตรีเรืองนามในคัมภีร์ไบเบิ้ลว่า "รูธ" (​​Ruth)  ซึ่งได้พยายามติดต่อกองบัญชาการภาคอาเซียอาคเนย์ 

โดยอาศัยเครื่องวิทยุที่ตนมีอยู่ในบ้าน  ตั้งแต่เริ่มตั้งกองบัญชาการในเดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๙๔๔  หลวงประดิษฐ์​ ฯ ถึงงกับได้เคยบอกไปยัง

ลอร์ดหลุยส์ให้ทราบว่า   พลพรรคใต้ดินไทยซึ่งได้รับการฝึกหัดและได้รับอาวุธอย่างเงียบ ๆ จากเจ้าหน้าที่บางคนแห่งองค์การยุทธศาสตรือเมริกัน (O.S.S.)

และพลพรรคพวกนั้นพร้อมจะลุกฮือขึ้นแล้ว     แต่เนื่องด้วยเหตุที่ลอร์ดหลุยส์ในขณะนั้นไม่สามารถที่จะจัดให้ทหารของตนเข้ามาสมทบในประเทศไทย

ให้ำด้จังหวะกับการลุกฮือของฝ่ายใต้ดินไทย  เหมือนอย่างที่ตนสามารถกระทำร่วมกับกองทัพของท่านอูอองซานในประเทศพม่า   และเนื่องด้วยเหตุ

ที่ว่าลอร์ดหลุยส์เกรงไปว่า          การลุกฮือขึ้นนี้จะต้องถูกญี่ปุ่นประหัสประหารเสียอย่างสิ้นเชิง    จึงได้แนะนำหลวงประดิษฐ์ ฯ ให้รอเวลาไปก่อน

อนึ่งผลจากการแนะนำนี้ก็เพื่อที่จะรักษาสถานะของประเทศไทยยังให้คงอยู่ในฐานะเป็นลูกน้องของฝ่ายอักษะ   เพื่ออังกฤษจะเรียกค่าปฎิกรรสงครามได้อีกโสดหนึ่งด้วย


       เพราะการต่อต้านใต้ดินนี้ไม่น้อยเหมือนกัน        ทางลอร์ดหลุยส์จึงได้ตัดสินใจว่าอย่างน้อยถ้าพูดถึงด้านการทหารแล้ว   ก็ควรจะถือประเทศไทยเป็นมิตร

ไว้ก่อน         แต่หากกระทรวงต่างประเทศอังกฤษได้วางเกณฑ์ไว้ว่า  ประเทศไทยจะต้องแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งถึงเจตนารมณ์อันดีของตนเสียก่อน     และ

ประเทศไทยจะต้องทดแทนใช้ค่าเสียหายต่าง ๆที่เกิดขึ้นกับผลประโยชน์ของแว่นแคว้นรอบ ๆ ประเทศไทยซึ่งอังกฤษมีส่วนรับผิดชอบ       อนึ่งทางกระทรวง

ต่างประเทศอังกฤษก็พร้อมอยู่แล้วที่จะไม่เอาเรื่องกับการเป็นปฏิปักษ์ของไทย        ทั้งนี้เพื่อแลกเปลี่ยนเอาข้าวและผลประโยชน์อื่น ๆ ที่พึงจะได้รับ   

ถึงกับได้เตรียมยกร่างกำหนดวางข้อตกลงเรียกร้องไว้ถึง ๒๑ ข้อ   เพื่อที่จะได้นำมาเจรจากับผู้แทนฝ่ายไทยที่เดินทางมายังเมืองแคนดี ที่เกาะลังกาก่อน

ที่จะได้ลงนามในสัญญาสันติภาพระหว่างสองประเทศ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 08 มี.ค. 11, 14:39



        พอผู้แทนไทยกลับจากเมืองแคนดีถึงกรุงเทพไม่ทันไร   ประเทศไทยก็เริ่มแสดงฝีไม้ลายมือทางกีฬา   ซึ่งประเทศไทย

ชำนิชำนาญเป็นอย่างดีมาตั้งสองศตวรรษแล้ว      จากการเล่นผัดเจ้าล่อระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศสในเรื่องทางผลประโยชน์ทางเมืองขึ้นของ

สองประเทศนั้น   จริงอยู่ตามค้มภีร์ไบเบิลถึงแม้รูธผู้เข็ญใจอาจจะพิลาปน่ำไห้ขณะเก็บเมล็ดข้าวที่ตกหล่นในท้องนาต่างถิ่นนอกด้าวของตนก็ตาม   แต่ รูธ

หลวงประดิษฐ์ ฯ นั้น  แคล่วคล่องว่องไวในปัญหาเรื่องข้าวดีไม่น้อย         การหารือกับกรุงวอชิงตันก็เริ่มขึ้น   แฃะทางฝ่ายนายกรัฐมนตรีไทย

ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช  ก็ได้ส่งข้อแย้งขึ้น   โดยอ้างง่าข้อเรียกร้องของอังกฤษนั้นทารุณร้ายแรงแสนสาหัสเพียงพอที่จะทำให้ "เมืองไทยกลายเป็นเมืองทาส

ไปอีกหลายปีดีดักทีเดียว"


       ว่ากันตามจริง   ถึงแม้ฝ่ายไทยจะต้องส่งสินค้าขาออกบางอย่างเป็นต้นว่า  ดีบุก  ยาง  น้ำมัน  และข้าวให้อังกฤษ    ก็คงยังไม่ทำให้ประเทศไทยต้อง

เป็นประเทศทาสไปอีกหลายปี            แต่กระนั้นฝ่ายไทยก็หวังพึ่งความเป็นคนใจอ่อนจากสหรัฐอเมริกาที่แรกเริ่มมาก็ไม่ยอมประกาศสงคราม

ตอบโต้ประเทศไทยเมื่อ ๓ ปีเศษมาแล้ว        นอกจากนั้นประเทศไทยก็คาดถูกถึงทางการอเมริกาว่า   มีทัศนวิสัยขัดกันกับการผูกขาดแบบโโนโปลี

และคาร์เตลล์ของประเทศอื่น            และจารีคของกระทรวงต่างประเทศอเมริกัน  ที่เชื่อกันมาแต่ไหนแต่ไรแล้วว่าปะเหมาะฝ่ายอังกฤษนั้น  มักจะไม่

รังเกียจในอันที่จะถือโอกาสแอบลอบตัดหน้าฉานพ่อค้าอเมริกันเป็นเนืองนิตย์     ฉะนั้นฝ่ายไทยได้ทีก็ถือโอกาสเล่นกีฬาดั้งเดิม   โดยวิธีผัดเจ้าล่อจับเมริกา

มาชนกับอังกฤษ   เพื่อจะเลี่ยงไม่ต้องชำระค่าเสียหายใด ๆ ทั้งหมด     และในขณะเดียวกันก็เพื่อที่จะได้สินค้าสำเร็จรูปจากสหรัฐอเมริกามาสู่ตนให้พอ

การกระทำเช่นนี้เป็นไปในทำนองกระทบกระเทียบป้ายสีนโยบายเศรษฐกิจของอังกฤษให้เป็นไปในทางอกุศลเช่นนี้        จึงทำให้กระทรวงต่างประเทศ

ของอังกฤษเคียดแค้นขุ่นใจเป็นอย่างยิ่ง
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 08 มี.ค. 11, 23:30



       ในข้อนี้ประเทศไทยทายใจและท่าทีของอเมริกันได้ถูกเป๋งทีเดียว  เพราะอเมริกันสวมรอยยื่นมือเข้ามาทันทีและขอร้อง

ให้ฝ่านไทยจงสงบไว้ก่อน   อย่าเพิ่งลงนามอะไรไปจนกว่าฉันจะบอกให้ก่อนนะ    ในระหว่างนี้ฝ่ายไทยก็ยังใช้วิธีแยบยลกลนัยอยู่เรื่อยๆมา

เป็นต้นว่า  ได้จัดให้มีการต้อนรับสมาชิกขององค์การยุทธศาสตร์อเมริกันที่ได้เข้ามาร่วมกับองค์การใต้ดินของไทยอย่างเอิกเกริกขนานใหญ่

ถึงกับได้ยกวังสองวังให้เป็นที่พำนักของกองบัญชาการขนส่งทางอากาศ   โดยที่จัดให้มีการกินการอยู่สุราปลาปิ้งสำหรับบรรดาทหารอเมริกันที่เดินทาง

ผ่านไปมาอย่างไม่อั้นประตู   โดยไม่คิดมูลค่าอย่างใดเลย           แล้วฝ่ายข้าราชการไทยก็ถือโอกาสโพนทะนาป่าวร้องถึงข้อเรียกร้อง

ที่ทารุณอย่างน่าอดสู   ที่ฝ่ายอังกฤษเป็นผู้เคี่ยวเข็ญรีดเลือดเอากับปูที่เมืองแคนดีให้กรอกหูบรรดาชาวอเมริกันที่ผ่านไปมา      และยังกล่าวหา

พาดพิงเลยเถิดไปว่า   ฝ่ายอังกฤษใช้สนามบินในประเทศไทยเพื่อเป็นฐานทัพสำหรับรังแกข่มหมูชาวญวน   ไม่น้อยไปกว่าความตั้งใจที่จะบีบคั้นเสรีภาพต่าง ๆ

ในฝ่ายตะวันออก          มิหนำซ้ำฝ่ายไทยยังได้ประท้วงอย่างเดือดดาลเสมือนหนึ่งตนเป็นผู้บริสุทธิ์ในเมื่อฝรั่งเศส  พยายามเรียกร้องเอาดินแดนฝ่ายใต้ของเขมรคืน

ซึ่งฝ่ายไทยโดยการสนับสนุนของญี่ปุ่นได้ยื้อแย่งมาจากรัฐบาลวิชีย์   โดยจะยอมเสียค่าป่วยการชดใช้ได้ไม่เกินสองไพเบี้ยเสียอีก

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 08 มี.ค. 11, 23:46

  


    แต่ในระหว่างที่ฝ่ายไทยได้ร่ำร้องอย่างเอ็ดอึงและยืดยาวกับ  เจ้่าหน้าที่ของสหรัฐอเมริกาถึงวิธีจักรวรรดินิยมของอังกฤษ

คนไทยก็ยังคงแสดงความเป็นมิตรและทำดีด้วยอังกฤษไม่น้อยเลย   ทั้งนี้เพราะไทยเข้าใจดีว่า   ในประเทศมาลายูและพม่า  ซึ่งเนื่องมา

จากการยึดครองของญี่ปุ่นยังขาดข้าวอยู่อีกไม่ต่ำกว่า  ๑.๕ ล้านตัน       ฉะนั้นถ้าอังกฤษยินยอมสนับสนุนการสมัครเข้าเป็นสมาชิกแห่งองค์การสหประชาชาติ

ของไทยแล้ว      ฝ่านไทยยินดีส่งข้าว ๑.๕ ล้านตันที่เหลือใช้นี้  ไปช่วยบรรเทาความขาดแคลนในสองประเทศนั้น        ฉะนั้นการเจรจาสงบศึก

โดยถือเอาสิ่งนี้เป้นหลักจึงได้ดำเนินการจนถึงกับได้ลงนามกัน  เมื่อวันที่ ๑ มกราคม   เพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างไทยกับอังกฤษให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

ลอร์ดหลุยส์จึงได้ตัดสินใจเข้ามาเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลที่กรุงเทพ ฯ ในปลายเดือนมกราคมนั้นเอง   เพื่อจะฉลองความตกลงซึ่งทำให้

ภาวะสงครามระหว่างสองประเทศนั้นสิ้นสุดลง

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 09 มี.ค. 11, 00:07




       ในการมาเยี่ยมกรุงเทพฯ​ ครั้งนี้     ลอร์ดหลุยส์ได้ถือโอกาสด้านส่วนตัวที่จะทำให้การมาประเทศไทยได้ประสบผลสำเร็จดียิ่ง 

เป็นต้นว่าด้วยการถวายรถจี๊ปแด่พระราชาธิบดีหนุ่มของไทย   แต่ครั้นแล้วรถคันนี้ในไม่ช้าก็ถูกไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์เอง

ขโมยไปจากหน้าพระที่นั่งเสียอีก


       นอกจากนี้ลอร์ดหลุยส์ยังได้พยายามไปในงานสันนิบาต  ณ สโมสรนายทหารฝ่ายไทย  ซึ่งได้จัดให้มีลีลาศเวลาเย็นเสมอ ๆ

จึงทำให้สัมพันธภาพระหว่างไทยกับอังกฤษดีขึ้น


       ลอร์ดหลุยส์ได้เคยแจ้งให้นายกรัฐมนตรีไทยในขณะนั้นทราบว่า   การที่ไทยจะต้องให้ข้าว ๑.๕ ล้านตันนั้น   อาจจะทำให้เศรษฐกิจภายใน

ของไทย  ต้องได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง   ฉะนั้น   อังกฤษจึงเต็มใจที่จะรับซื้อแทนที่จะเรียกเอาเปล่า ๆอย่างเมื่อแรก
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 09 มี.ค. 11, 00:17



        ในขณะที่ลอร์ดหลุยส์ยังอยู่ในกรุงเทพ ฯ   ก็ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุดแห่งประเทศไทย

(มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก)  แต่เนื่องด้วยเหตุที่จะต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงต่างประเทศอังกฤษเสียก่อน

เพราะฉะนั้นในขั้นแรกลอร์ดหลุยส์จึงต้องกราบทูลขอปฎิเสธไว้ชั่วคราวหนึ่งก่อน     


       หลังจากสามวันลอร์ดหลุยส์ถึงได้รับแจ้งจากทางอังกฤษว่า  การจะรับตราของไทยนั้นให้รับได้      แต่ห้ามมิให้ประดับ     

เพราะเหตุว่า      ขณะนั้นภาวการณ์อันตึงเครียดยังมีอยู่ระหว่างอังกฤษและอดีตพันธมิตรของญี่ปุ่น

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 09 มี.ค. 11, 08:09



       วันหนึ่ง  เมื่อลอร์ดหลุยส์กับภรรยากำลังชมดาราแห่งตราช้างเผือกนี้  ซึ่งเป็นของที่มีความงดงามและมีค่าสูงยิ่งนักที่ผู้แต่งชีวประวัติ

เล่มนี้ได้เคยเห็นมา   เลดีเมาท์แบทแทน  ซึ่งรู้ดีว่าสามีของตนมีจุดอ่อนแอสำหรับตราต่างๆอยู่แล้ว        จึงแสร้งเอ่ยขึ้นว่า

"นี่เธอไม่คิดดอกหรือว่า  ถ้าเอาดาราดวงนี้มาทำฝาตลับแป้งของฉัน   จะงามไม่น้อยนะ         เพราะอย่างไรก็ดีเธอคงไม่ได้รับอนุญาตให้ประดับดอก"

แต่แล้วคำตอบของลอร์ดหลุยส์ก็คือ   หันไปค้อนภรรยาให้ขวับหนึ่ง   แล้วปิดหีบตรากำมะหยี่นั้นดังฉับ


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 19 คำสั่ง