VesinaH
อสุรผัด

ตอบ: 18
L'vesinah va tire
|
เนื่องด้วยผมกำลังเขียนบทความเกี่ยวกับ โลมา อยากจะได้โลมาที่ปรากฏในวรรณคดี
ที่มีอายุในชั้น รัตนโกสินทร์ตอนต้น และสมัยอยุธยา กำลังเริ่มหา รบกวนท่านที่เคยอ่านผ่านตา
ได้โปรดชี้ตำแหน่งด้วยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 05 มี.ค. 11, 22:26
|
|
พระอภัยมณีก็น่าจะพึ่งได้นะคะ
อิเหนาก็ไม่เลว นึกถึงเพลงไทยเดิมบางเพลง
เท่าที่ชี้ตำแหน่งเล่ม ปีพืมพ์หรือหน้า ส่วนมากเป็นการอ้างข้อมูลมาแลกเปลี่ยนกัน หรืออาศัยพจนานุกรมพิเศษบางเล่ม หรือพจนานุกรมโบราณ
ขนาดอยู่กองพลเดียวกันในเรือนไทยนี้ ปรึกษากันทำงานที่ได้รับมอบหมาย เรายังไม่เคยเชื่อกันและกันเลยค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
VesinaH
อสุรผัด

ตอบ: 18
L'vesinah va tire
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 05 มี.ค. 11, 23:07
|
|
นึกถึงอิเหนาอยู่ครับ เพราะว่าโลมามาจากภาษาชวา คงมีบ้าง แต่อิเหนาหนาเหลือเกิน
เลยแอบมาขอพึ่งที่นี่เป็นทางลัด แล้วผมจะไปดูต่อเอง ^^
**เพิ่งทราบว่ามีตู้หนังสือเรือนไทยด้วย ทำให้ง่ายต่อการสืบค้นมากลเยครับ**
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 05 มี.ค. 11, 23:38
|
|
ตอนอิเหนาอุ้มนางวิยะดาขึ้นนั่งตัก
เพลงถอนสมอ เถา
ลมดีพระก็ใช้ใบไป ภูวนัยอุ้มองค์ขนิษฐา
ขึ้นนั่งยังท้ายเภตรา ชมหมู่มัจฉาในสาชล
พิมทองล่องลอยแลคล่ำ วาฬผุดพ่นน้ำเป็นฝอยฝน
ฉนากฉลามว่ายตามวน โลมาหน้าคนนนทรี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 06 มี.ค. 11, 09:28
|
|
จากเรื่องพระอภัยมณี อยู่กับนางผีเสื้อสมุทรจนกระทั่ง
กับด้วยนางอสุรีนฤมิต เป็นคู่ชิดเชยชมสมสมาน ต้องรักใคร่ไปตามยามกันดาร จนนางมารมีบุตรบุรุษชาย
.................................
วันหนึ่งนางอสุรีผีเสื้อน้ำ ออกจากถ้ำเที่ยวหาภักษาหาร จับกระโห้โลมากุมภาพาล กินสำราญรื่นเริงบันเทิงใจ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 06 มี.ค. 11, 10:29
|
|
คำบรรยายทิวทัศน์ทางทะเล เมื่อพ้นปากอ่าว
กรุงกษัตริย์ตรัสชวนพระลูกแก้ว ให้ชมแถวที่ชลาคงคาใส เหล่าละเมาะเกาะเกียนเหมือนเขียนไว้ มีเขาไม้โขดคุ่มงุ้มชะเงื้อม บ้างงอกง้ำน้ำท่วมถึงเชิงผา แผ่นศิลาแลลื่นคลื่นกระเพื่อม เสียงดังโครมใหญ่ไม่กระเทื้อม เป็นไคลเลื่อมเลื่อมผาศิลาลาย พอลมเรื่อยเฉื่อยชื่นคลื่นสงัด ให้แล่นตัดไปตามวนชลสาย ชมมัจฉาสารพัดพวกสัตว์ร้าย เห็นคล้ายคล้ายว่าเคล้าสำเภาจร ฝูงกระโห้โลมาขึ้นคลาคล่ำ บ้างผุดดำเคลื่อนคล้อยลอยสลอน ทั้งกริวกราวเต่าปลาในสาคร เที่ยวสัญจรหากินในสินธู ฝูงฉลามล้วนฉลามมาตามคลื่น ฉนากตื่นชมฉนากไม่จากคู่ ปลาวาฬวนพ่นฟองขึ้นฟ่องฟู ทั้งราหูเหราสารพัน 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
VesinaH
อสุรผัด

ตอบ: 18
L'vesinah va tire
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 06 มี.ค. 11, 14:10
|
|
ขอบคุณมากครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ohm md
มัจฉานุ
 
ตอบ: 87
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 07 มี.ค. 11, 19:11
|
|
มีอีกเพลงนะคับ เหราเล่นน้ำ ใช้บทร้องจากกากี เวลาค่ำน้ำค้างลงพร่างพร้อย แพน้อยลอยซัดมาเท้งเต้ง ลมกระพือพาคลื่นเสียงครื้นเครง ให้วังเวงเปลี่ยวเปล่าเศร้าอุรา เหลียวหลังฝั่งฝาก็ห่างหาย เหนแต่ฝูงปลาว่ายทั้งซ้ายขวา ฉนากฉลามกระโห้โลมา เหราปลาวาฬขึ้นพ่นน้ำ
อ่านแล้วพวกปลาก็คล้ายๆเรื่องอิเหนาเหมือนกัน คนสมัยก่อนคงคุ้นเคยกับบรรยากาศปากอ่าวนะครับ เพราะสัตว์ที่บรรยายก็เป็นพันธุ์ที่อาศัยอยู่ตามบริเวณที่น้ำจืดชนนำเค็มทั้งนั้น ปลาฉนากนี่มีในวรรณคดีเก่าๆตลอด และมีหลักฐานเป็นตัวเป็นตนอยู่ตามศาลเพียงตาแถวจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม แต่ทุกวันนี้ไม่พบในเมืองไทยแล้วครับ
ข้อสังเกตอีกอย่าง เพลงไทยที่เกี่ยวกับทะเลๆเนี่ย มักจะมีกลอนเพลงคล้ายๆกัน บันไดเสียงคล้ายๆกัน ก็น่าศึกษานะครับ ทั้งเพลงบังใบเถา ทางฟากโน้น เพลงถอนสมอ เรื่องชมสมุทร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 08 มี.ค. 11, 19:12
|
|
ในหนังสือ "พระอภัยมณีมาจากไหน?" ของ ดร.ทศพร วงศ์รัตน์ ราชบัณฑิต หน้า ๓๑
ได้ลงชื่อสัตว์น้ำที่มีใน พระอภัยมณี ดร.ทศพรใช้ เล่มพิมพ์ครั้งที่ ๑๓ พ.ศ. ๒๕๑๔
เรื่องโลมา ท่านแจ้งว่ามีอยู่ในหน้า ๒๑, ๑๓๔, ๑๖๓, ๒๐๐, ๒๐๑, ๒๗๕, ๑,๐๕๗ ๑,๑๑๘
น่าใช้เป็นคู่มือค่ะ
ที่จริงดิฉันหยิบหนังสือเล่มนี้ออกมาตั้งแต่แรก แต่วางผิดที่ไป เพิ่งไปพบเข้าเมื่อครู่เองค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
VesinaH
อสุรผัด

ตอบ: 18
L'vesinah va tire
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 09 มี.ค. 11, 20:09
|
|
ขอบคุณมากครับ เรื่องเพลงกล่อมเด็กน่าสนใจมาก คำว่า กระโห้โลมา เป็นคู่คำที่คล้องกัน แต่ความเป็นจริง
ผมร้สึกว่ามันแปลกๆ ท่าจะมีต้นฉบับซักอัน แล้วกวียืมๆสำนวนกันมา หรือไงซักอย่าง แต่ผมไม่มีความรู้เลย
หนังสือ พระอภัยมณีมาจากไหน? เคยอ่าน แต่คืนผู้แต่งไปหมดแล้ว ผมเขียนเป็นบทความเล็กๆในบล็อกน่ะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 09 มี.ค. 11, 20:44
|
|
กระโห้โลมา มีเสียงสอดคล้องกัน เหมาะกับเขียนสัมผัสในในแต่ละวรรคกลอน เลยเข้าคู่กันบ่อย กวีไทยคำนึงถึงวรรณศิลป์มากกว่าสนใจสายพันธุ์ของมัน ปลากระโห้กับโลมาคงไม่ค่อยได้เจอว่ายคู่กันบ่อยนัก เพราะกระโห้เป็นปลาน้ำจืด ส่วนโลมาส่วนใหญ่อยู่ในทะเล แม้ว่าอยู่ได้ในน้ำกร่อยและน้ำจืด แต่ก็พบน้อยกว่าในทะเล หน้าตาปลากระโห้  ส่วนเหรา ในบทกลอนและเป็นชื่อเพลงไทย ไม่ใช่แมงดาทะเลเปลือกแข็งอย่างในรูปนี้  แต่เป็นสัตว์น้ำในจินตนาการชนิดหนึ่ง รูปร่างเหมือนนาคแต่มีตีน  สรุปว่าในวรรณคดีไทย กวีท่านปนปลาน้ำจืด น้ำเค็ม เต่า และสัตว์ในวรรณคดีไว้ในฉากเดียวกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
VesinaH
อสุรผัด

ตอบ: 18
L'vesinah va tire
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 10 มี.ค. 11, 21:55
|
|
ผมแค่มองว่า กระโห้ อาจจะมาจากชื่ออื่น เหมือนที่โบราณว่า กะพง มาจากภาษาชวา ลองค้นกับ webster กะพง(Snapper) ได้คำว่า kakap ในภาษาอินโดนีเซียเดี๋ยวนี้ ไม่ทราบว่าจะใช่คำเดิมของกะพงในภาษาไทยหรือไม่ ถ้า กระโห้ มาจากคำอื่นก่อนที่เสียงใกล้ๆกับคำกระโห้ในภาคกลาง ก็อาจเลื่อนมาเป็นกระโห้นี่ก็ได้ แต่ผมยังไม่เจอความเชื่อมโยงนั้น ก็เลยได้แค่คิดเล่นๆ จากความรู้สึกว่ามันต่างกันเกินกว่า จะจับมารวมเพราะเสียงสัมผัสกันครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ohm md
มัจฉานุ
 
ตอบ: 87
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 14 มี.ค. 11, 00:17
|
|
คุณ vesinaH ค้นเรื่องปลาอย่างเดียวเหรอคับ จะเขียนลงที่ไหนคับอยากติดตามอ่าน สนใจเรื่องนกในวรรณคดี หรือเมืองไทยโบราณมั่งมั้ยอ่ะคับ เพราะผมแอบสงสัยว่า มีนกอยู่ตัวนึง เขียนอยู่ในตูลายทองสมัยอยุธยา บานประตูรัตนโกสินทร์ตอนต้น รูปร่างเหมือนนกเลขานุการ ที่ตอนนี้พบแต่ในแอฟริกา ไม่รู้สมัยก่อนมีในเมืองไทยป่าว เพราะตั้งแต่หลังรัชกาลที่ ๕ ลงมา การเปิดพื้นที่ปลูกข้าวทำให้สัตว์หลายๆอย่างหายไปจากเมืองไทย มีสายพันธุ์ต่างถื่นมากขึ้น ผมแอบคิดเล่นๆว่า บรรยากาศทุงหญ้าภาคกลางสมัยอยุธยา คงไม่เหมือนสมัยนี้ คงไม่มีหญ้าพม่ารกรุงรัง ผักตบเต็มแม่น้ำ
อ่อ อีกอย่างคับ ในกาพย์ชมนกเจ้าฟ้ากุ้งมีนกแก้วหลายสายพันธุ์มาก บางพันธุ์ไม่พบในเมืองไทย ไม่รู้ว่าท่านได้มาจากพ่อค้าต่างชาติ หรือว่ามันเคยมีอยู่ในเมืองไทยเราจริงๆกันแน่คับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
hobo
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 14 มี.ค. 11, 09:08
|
|
มาแย้งเรื่อง snapper กับกะพงครับ snapper ที่ Australia New Zealand คลีบหางปลายแฉก ขณะที่เคยกินในเมืองไทย กะพงมีคลีบหางกลมมน snapper ตกได้จากทะเลใหม่ๆ สีแดงสด เนื้อแน่นกว่ากะพงไทย ที่นุ่มและค่อนข้างฟู
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
VesinaH
อสุรผัด

ตอบ: 18
L'vesinah va tire
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 14 มี.ค. 11, 16:42
|
|
จริงอย่างคุณ hobo ว่า เรื่องเทียบศัพท์ไทยไปฝรั่ง กลับชวา เป็นข้อบกพร่องใหญ่ของผมเลยครับ
บางทีจะเป็นจุดอ่อนระหว่างการสื่อสาร เทียบศัพท์อยู่ เลยเป็นได้แค่สมัครเล่น ไม่อาจเทียบนักวิชาการใหญ่ได้
คุณ ohm md ผมไม่แน่นเรื่องนกเลยครับ เคยสนใจขวนขวายอยู่สามสี่ปีก่อนแต่คืนป่าไปแล้ว
ถ้าจะเขียนต้องสะสมความรู้ใหม่ บางทีจะเป็นทำนองเดียวกับที่คนสมัยก่อนวาด
ระมาดมีเกล็ด(สัตว์หิมพานต์ - ส.พลายน้อย) ได้ไม๊ครับ ผมพอมีภาพตู้พระธรรมวัดเชิงหวายอยู่บ้าง
แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นนกตัวไหน หมอบุญส่งเคยเขียนบทความเรื่องนกวายุภักษ์(bird of paradise)
ที่ไม่มีในไทย แต่อาศัยสั่งขนหางขนปีกจากพ่อค้าอินเดียมาประดับหมวกในกรุงสยาม
จินตนาการของกวีหรือจิตรกรท่านก็อาจจะไปถึงก็ได้นะครับ
แนบรูป ikan kakap ไว้ประกอบ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|