เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 63 64 [65] 66 67 ... 88
  พิมพ์  
อ่าน: 254202 ฉากประทับใจในหนังเก่า SPOILER ALERT
watanachai4042
อสุรผัด
*
ตอบ: 42


ความคิดเห็นที่ 960  เมื่อ 29 ก.ย. 11, 11:28

รอชมราโชมอนด้วยใจจดจ่อ

ตั้งคำถามกับตัวเองว่าถ้านึกถึงหนังเศร้า ดูแล้วร้องไห้ นึกถึงหนังของชาติไหน คำตอบแรกคือ หนังอินเดีย อาจารย์กับคุณศิลาและผู้ชมท่านอื่นคิดอย่างไรฮะ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 961  เมื่อ 29 ก.ย. 11, 15:33

          กลืนน้ำลาย(เอื้อก)ก่อนที่จะตอบอาจารย์ว่าจะ ลองพยายาม ครับ

          หนังอินเดียเป็นสิ่งที่ไกลตัวมากในเวลานี้ ตอนเด็กๆ เคยดูอยู่หลายเรื่องเหมือนกัน
ทั้งจอใหญ่ในโรง, จอกลางแปลง และจอโทรทัศน์ พอโตขึ้นมาก็ไม่ได้ติดตามดูอีกเลย
ขาดช่วงไปนานมาก
          เมื่อไม่นานนัก หนังอินเดียพยายามจะกลับมาเข้าโรงในบ้านเราอย่างเช่น หนังดังหนังใหญ่เรื่อง
อโศกา (มหาราช) แต่ก็ไม่อาจเรียกความนิยมกลับคืนมาได้เหมือนก่อน
          เคยคุยกับเพื่อนที่มีเชื้อสายชาวอินเดียทำให้ได้ทราบว่า เขามีการนำหนังอินเดียบางเรื่อง
มาฉายในโรงใหญ่เป็นรอบพิเศษสำหรับชาวเขาโดยเฉพาะ

คลิปหนังอินเดียในตำนานเรื่อง ธรณีกรรแสง Mother India ครับ

         
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 962  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 20:29

มาดึงกระทู้ขึ้นมาอีกครั้งค่ะ คุณศิลา

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 963  เมื่อ 05 ต.ค. 11, 09:38

               Rashomon (1950)

              เมื่อยังเป็นเด็กได้รู้จักราโชมอนจากละครโทรทัศน์ซึ่งสร้างจากบทละครของอาจารย์คึกฤทธิ์
ออกอากาศทางช่องสี่ บางขุนพรหม จำได้ว่า คุณอาคม มกรานนท์ รับบทโจร และคุณสุพรรณ บูรณพิมพ์
เป็นภรรยาซามูไร
              ต่อมา เมื่อโตขึ้นเป็นนักเรียนก็เคยดั้นด้นไปดูละครเวทีเรื่องนี้ของคณะนิเทศ จุฬาฯ จัดแสดง
ณ หอประชุมเอยูเอ

               ราโชมอน ที่โด่งดังเป็นที่รู้จักไปทั่วเป็นภาพยนตร์ผลงานชิ้นเอกของบรมครูผู้กำกับชาวญี่ปุ่น
อากิระ คุโรซาวา


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 964  เมื่อ 05 ต.ค. 11, 09:40

              สร้างขึ้นในปี  1950 ได้รับรางวัล Grand Prize จากเทศกาลภาพยนตร์เวนิซในปี 1951
และออสการ์ปี 1952 สาขา Best Foreign Language Film

           หนังเล่าเรื่องชายสามคน(พระ คนตัดฟืน และชายชาวบ้านไม่ระบุอาชีพ) ซึ่งติดฝนในราโชมอน
นั่งสนทนาถึงคดีฆาตกรรมและข่มขืนในป่า
             มีผู้ร่วมและรู้เห็นเหตุการณ์รวมสี่คน ได้แก่ ซามูไร(ผู้ตาย) ภรรยา(ผู้ถูกข่มขืน) โจร และ
คนตัดฟืน
           ทั้งสี่คนเล่าเรื่องราวที่มีรายละเอียดแตกต่างกันไป ประเด็นสำคัญคือมีคนที่รับว่าเป็นผู้ฆ่าถึงสามคน


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 965  เมื่อ 05 ต.ค. 11, 09:44

           ราโชมอน  แต่เดิมเริ่มจากเรื่องสั้นของ  Ryunosuke Akutagawa ผู้แต่ง
ตามเค้าโครงเรื่องจาก Konjaku Monogatarishu - Anthology of Tales from the Past
ซึ่งรวมเรื่องเล่ากว่าหนึ่งพันเรื่องที่เขียนขึ้นตอนปลายยุคเฮอัน (Heian period - ช่วงระหว่างปี 794-1185)

Ryunosuke Akutagawa


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 966  เมื่อ 05 ต.ค. 11, 09:46

            คำว่า ราโชมอน หมายถึง ประตูเมืองของกรุงนาราและเกียวโต ราโชมอนในเรื่องสั้นนั้น
คือราโชมอนของเกียวโตซึ่งมีขนาดใหญ่โตโอ่อ่ากว่า
            ประตูนี้สร้างขึ้นในยุคเฮอันปี 789 ครั้นถึงศตวรรษที่สิบสองประตูนี้ก็ตกอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม
กลายเป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของทุรชนโจรผู้ร้าย ทั้งยังเป็นสถานที่ชาวเมืองใช้เป็นที่นำศพคนตายและ
ทารกเป็นๆ มาทิ้ง    

            ปัจจุบันนี้ ไม่มีทรากราโชมอนเหลือให้เห็น มีแต่เสาหลักปักบอกตำแหน่งว่าราโชมอน
เคยอยู่ตรงไหน

แบบจำลองราโชมอนในอดีต


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 967  เมื่อ 05 ต.ค. 11, 09:53

           ผลงานเรื่องสั้นชิ้นนี้ออกตีพิมพ์ลงในนิตยสารวรรณกรรม  Teikoku Bungaku ในปี 1915
           คุโรซาวา หยิบชื่อเรื่อง และสารบางส่วนจากเรื่องสั้นเรื่องนี้มาใช้ในหนัง ราโชมอน นั่นคือ
ความคลุมเครือทางจริยธรรมเรื่องการลักขโมยเพื่อความอยู่รอด
            ในขณะที่พล็อตหนังนั้นคุโรซาวานำมาจากเรื่องสั้นอีกเรื่องหนึ่งของ Akutagawa (เช่นกัน)
นั่นคือเรื่อง -
          "In a Grove" ซึ่งมีเนื้อเรื่องกล่าวถึงคดีฆาตกรรมซามูไรในป่าไผ่ที่สืบสาวราวเรื่องได้
หลากหลายถึงเจ็ดแบบทำให้ผู้อ่านเกิดความสับสนสงสัยในขบวนการรับรู้และถ่ายทอดเรื่องราวความจริง


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 968  เมื่อ 05 ต.ค. 11, 10:00

           ในปี   1959 Fay และ  Michael Kanin ได้นำบทหนังราโชมอนของคุโรซาวา
มาดัดแปลงเป็นละครบรอดเวย์
            เนื้อหาคงตามบทหนังเล่าเรื่องราวที่เกิดในนครเกียวโต ญี่ปุ่น ประมาณหนึ่งพันปีก่อน
มีการเพิ่มตัวละครจากในหนัง ได้แก่ Mother (น่าจะเป็นแม่ของภรรยาซามูไร) และปรับบทตัวละคร
ชายชาวบ้านไม่ระบุอาชีพให้เป็น  Wigmaker (คนทำช้อง) -
          ทั้งสองนี้ก็ได้มาปรากฏในบทละครราโชมอนของอาจารย์คึกฤทธิ์ที่จะกล่าวถึงต่อไป
                   
            ต่อมาทั้งสอง Kanin ยังเป็นผู้เขียนบทดัดแปลงราโชมอนให้เป็นหนังฮอลลีวู้ด
สไตล์ตะวันตก (western) ในชื่อเรื่อง 
 
                       The Outrage (1964)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 969  เมื่อ 05 ต.ค. 11, 10:13

          เล่าเรื่องราวคดีฆาตกรรมและข่มขืนจากผู้อยู่และรู้เห็นเหตุการณ์รวมสี่คน
สี่อย่างเหมือนกัน
          เคยได้ดูหนังเรื่องนี้ตอนมาฉายทางโทรทัศน์เมื่อนานมากจนจำไม่ค่อยได้แล้ว

  



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 970  เมื่อ 05 ต.ค. 11, 10:16

          Paul Newman เป็นโจร  Laurence Harvey เป็นสามีที่เสียชีวิต
และ      Claire Bloom เป็นภรรยาที่ถูกข่มขืน            


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 971  เมื่อ 05 ต.ค. 11, 10:22

          มาถึงไทยในรูปแบบละครเวทีแล้วสู่ทีวี -
                โดยอาจารย์คึกฤทธิ์ เรียบเรียง ราโชมอน ฉบับละครเวทีขึ้นเมื่อปี 2508

จากบทความ - อาจารย์คึกฤทธิ์กับราโชมอน ในสยามรัฐ โดย สมบัติ ภู่กาญจน์ -

          อาจารย์คึกฤทธิ์ เคยเล่าเรื่องความเป็นมาของการเขียนบทละครเวทีเรื่องราโชมอนให้ผมฟัง

             “เริ่มต้น ผมได้ดูหนังเรื่องราโชมอนครั้งแรกที่ฝรั่งเป็นคนทำ ซึ่งมันก็ทำอย่างที่ฝรั่งทำกันนั่นแหละ..
ยังบอกไม่ได้ว่าดีหรือไม่ดี ..แต่ด้วยความสนใจในเนื้อเรื่อง  จึงทำให้ผมขวนขวายที่จะหาบทที่เป็นต้นฉบับ
มาอ่าน ได้มาครั้งแรกเป็นบทหนังภาษาอังกฤษ  อ่านแล้วก็ยังไม่แน่ใจนักว่า ภาษาอังกฤษนั้นมันจะตรง
กับบทเดิมที่เป็นภาษาญี่ปุ่นนั้นมากน้อยเพียงใด  
             ต่อมา ผมได้รู้จักกับคนญี่ปุ่นที่ทำงานเป็นข้าราชการอยู่ในสถานทูตญี่ปุ่นที่กรุงเทพฯ ได้พูดคุยกัน
ถึงเรื่องนี้ ด้วยความที่เขาพูดและเขียนภาษาไทยได้ เขาก็รับอาสาว่าจะค้นบทเดิมของญี่ปุ่นแล้วแปลเป็นไทย
มาให้ผมดู แต่ก็ไม่ได้ทำถึงขั้นแปลทั้งหมด เพราะผมขอเพียงให้เขาเลือกแปลเฉพาะตอนที่สำคัญ ๆ

-------------
 
             อ่านแล้วอดข้องใจไม่ได้ตรงที่ อาจารย์คึกฤทธิ์ว่า ราโชมอน เป็นหนังซึ่งฝรั่งเป็นคนทำ
และยังมีความเห็นต่อหนังว่า - ยังบอกไม่ได้ว่าดีหรือไม่ดี
               (หรืออาจารย์คึกฤทธิ์จะหมายถึงราโชมอนฝรั่ง - The Outrage ?)
             และเนื่องจาก บทละครที่ท่านเขียนมีตัวละครเพิ่มเติมและมีการปรับตัวละครคือ
คนทำช้อง - wigmaker เหมือนบทละครบรอดเวย์ ทำให้น่าคิดว่า อาจารย์คึกฤทธิ์คงจะเขียน
บทละครราโชมอนจากบทละครบรอดเวย์(กับบทหนังของคุโรซาวา)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 972  เมื่อ 05 ต.ค. 11, 10:27

           จากขั้นนี้ จึงทำให้ผมเกิดความคิดที่จะเขียนบทละครเรื่องนี้เป็นภาษาไทยขึ้นมา
โดยมีเจตนาให้คงลักษณะของละครญี่ปุ่นเอาไว้เป็นหลัก  แต่ผมจะแทรกความคิดเล็ก ๆน้อย ๆ
บางประการที่เป็นไทยของผมเข้าไปด้วย มันก็เลยกลายเป็นละครราโชมอน ในไทยเวอร์ชั่นขึ้นมา

           ต่อจากนั้น ผมได้จัดการแสดงละครเรื่องนี้ ในรูปแบบของละครเวที  ที่หอประชุมใหญ่
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและสมเด็จพระบรมราชินีนาถฯ เสด็จฯ
ทอดพระเนตรในรอบปฐมทัศน์ด้วย  ผมพยายามทำละครนี้ให้เหมือนละครเวทีญี่ปุ่น ผสมกับ
การแสดงแบบละครโทรทัศน์ แต่อยู่บนเวที  มีการเปลี่ยนฉากโดยไม่ปิดม่านแต่ใช้วิธีเปิดไฟ ดับไฟ
เป็นจุด ๆ ที่มุมต่าง ๆของเวที ตามเหตุการณ์ในท้องเรื่อง

              เริ่มตั้งแต่ฉากประตูราโชมอน หรือประตูผี-ซึ่งอาจารย์คึกฤทธิ์อธิบายว่า ราโชมอนแปลว่าประตูผี
มีความหมายคล้าย ๆ กับประตูผีที่สำราญราษฏร์ของกรุงเทพฯในยุคอดีตเช่นเดียวกัน-ซึ่งมีคนมานั่งพูดคุยกัน
ระหว่างหลบพายุฝนอยู่ที่บริเวณประตู

ภาพประกอบจากละครเวที ของคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2514
หอประชุม AUA โดย แคน ไทเมือง (ผู้รับบทพระ)

http://www.oknation.net/blog/canthai/2010/12/02/entry-2

คุณจันทรา ชัยนาม รับบทภรรยาซามูไร


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 973  เมื่อ 05 ต.ค. 11, 10:37

           จากนั้น ก็เป็นฉากป่า ฉากศาล ฉากการพิจารณาคดีที่ศาล ซึ่งเจตนาทำให้คนดูเป็นศาล
โดยตัวละครหันหน้าเข้าพูดให้การกับคนดู 
           ทั้งหมดนี้ ผมทำด้วยความตั้งใจให้เป็นของแปลกใหม่ และมีความรู้สึกว่ามันดูเข้าทีดี

           พอเสร็จการแสดงหน้าที่นั่ง – มีข้อสังเกตว่าอาจารย์คึกฤทธิ์ใช้คำว่าหน้าที่นั่ง ,ไม่ใช่หน้าพระที่นั่ง,
ซึ่งอาจารย์ยืนยันว่าเป็นการใช้ภาษาที่ถูกต้องที่สุดแล้ว - ครั้งนั้นแล้ว  ผมก็เอาไปทดลองแสดงอีกครั้ง
ทางโทรทัศน์เพื่อเปรียบเทียบว่าจะเป็นอย่างไร 
           ผลออกมาว่า ...คราวนี้เชยแหลกเลยครับ... เพราะละครโทรทัศน์มันก็ละครโทรทัศน์
มันคนละอารมณ์กับละครเวที หรือการดูแบบละครเวที ”

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 974  เมื่อ 05 ต.ค. 11, 10:43

        อาจารย์คึกฤทธ์ เปิดฉากละครเรื่อง ราโชมอน ด้วยลายลักษณ์อักษรดังนี้

         บทละครเรื่อง ‘ราโชมอน’ หรือ ‘ประตูผี’

        จากนิยายเก่าแก่พันปีของญี่ปุ่น โดย ริวโนสุเกะ อากิตางาวะ (ริวโนสุเกะ อากิตางาวะ แต่งขึ้นจากนิยายเก่า)

        ทำบทโดย คึกฤทธิ์ ปราโมช

                                องก์ที่หนึ่ง

          ฉาก   ประตูผีที่เมืองเกียวโต  ที่เรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า ราโชมอน เวลาเมื่อพันปีมาแล้ว
เสียงเพลงญี่ปุ่นบรรเลงจากค่อยไปจนดังแล้วกลืนเข้ากับเสียงลมและฝน ขณะที่แสง สว่างขึ้นที่ประตูผี
อันเป็นประตูเมืองเก่าๆ ผุพังเพราะขาดการบำรุงรักษา หัวมังกรทำด้วยไม้อันหนึ่งซึ่งเคยประดับอยู่เบื้องบน
ซุ้มประตู ร่วงหล่นลงมาวางอยู่ข้างล่างตรงมุมหนึ่งข้างเสาประตู ชาดที่เคยทาอยู่ที่หัวมังกรนั้น ลอกไป
ตามอายุและมีมูลนกกาจับอยู่เต็มตามซอกหินซึ่งเป็นฐานประตู มีหญ้าขึ้นรก

          เสียงลมดังขึ้นอีก ในเวลาใกล้ค่ำ

          ใต้ซุ้มประตู ตรงมุมแห้งที่สุด มีพระญี่ปุ่นนั่งอยู่บนพื้นหิน มีกองไฟเล็กๆ กองหนึ่งอยู่ตรงหน้า
ข้างตัวมีย่ามใส่อัฐบริขาร และมีไม้เท้ายาวๆ พิงไว้ที่เสาประตู พระญี่ปุ่นรูปนี้อยู่ในวัยสามสิบ แต่ดูแก่กว่าอายุ
เพราะเป็นผู้ที่พ่ายแพ้ และเหนื่อยหน่ายต่อชีวิต พระนั่งอยู่อย่างสงบ เอามือรวบเสื้อสีแก่เข้ามาพันตัว
เพื่อให้อบอุ่น นัยน์ตามองออกไปข้างหน้า

        สักครู่หนึ่ง คนตัดฟืนวิ่งกระหืดกระหอบเข้ามา มีขวานเหน็บอยู่ที่เข็มขัด คนตัดฟืนวิ่งขึ้นไปบนประตู
เหลียวซ้ายแลขวา หยุดชะงักอยู่ครู่หนึ่งเมื่อเห็นพระ แล้ววิ่งไปคุกเข่าตรงหน้าพระ ลงกราบแบบญี่ปุ่น

        คนตัดฟืน – ขออภัยครับท่านครับ ผมวิ่งมาจากในเมือง (ชี้ไปที่ทางเข้า) เขาพูดกันว่า ท่านทิ้งวัดเสียแล้ว
จะไปอยู่ที่อื่น ผมไม่เชื่อ ผมบอกเขาไปว่า ไม่จริงกระมั้ง ท่านอาจจะแค่ไปธุระชั่วคราว แล้วก็คงกลับมาอีก
(มองดูที่ย่ามพระ) เอ.....หรืออาจจะจริง อย่างที่เขาว่าก็ไม่รู้ ท่านจะไปจริงๆ หรือครับท่านครับ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 63 64 [65] 66 67 ... 88
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 19 คำสั่ง