เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33414
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 720 เมื่อ 16 ส.ค. 11, 09:55
|
|
Waterloo Bridge ประสบความสำเร็จงดงามเรื่องรายได้ และถูกเสนอชิงรางวัลออสคาร์ใน 2 สาขาคือดนตรีประกอบยอดเยี่ยมและถ่ายภาพยอดเยี่ยม เป็นหนังโปรดของสองดารานำในเรื่องนี้อีกด้วย
ภาพยนตร์เรื่องนี้นอกจากเป็นหนังดังในอเมริกา แล้วยังข้ามมาดังในประเทศจีนในปี 1940 อีกด้วย จนถูกดัดแปลงเป็นโอเปร่าจีน เรื่อง "Yue Opera"และ" Shanghai Opera" เพลงธีมในเรื่อง "Auld Lang Syne"เป็นที่นิยมทั้งในไต้หวันและจีนแผ่นดินใหญ่ โดยเฉพาะในไต้หวัน, เกาหลีและญี่ปุ่น หนังเรื่องนี้ได้รับความนิยมยั่งยืนข้ามหลายทศวรรษ จนในช่วงปี 1980 ก็ยังมีให้ดูกันในโรงหนังดังๆของไต้หวัน
ไม่รู้ว่าคนไทยจะชอบละครทีวีเศร้าเคล้าน้ำตาแบบนี้หรือเปล่า คุณวัฒนชัยว่ายังไงคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 721 เมื่อ 16 ส.ค. 11, 15:47
|
|
ได้ดู(บางส่วน)ในยูทูบแล้ว เข้าใจครับว่าทำไมจึงเป็นที่นิยมข้ามทวีป พระเอกหล่อ นางเอกสวย เนื้อเรื่องรักซึ้งแสนเศร้าระหว่างสงคราม พล็อตชีวิตนางเอกรันทดต้องขายตัวเพราะความจำเป็นนี้ เป็นพล็อตคุ้นเคยในอดีต มาช่วงหลังนี้เป็นของหายาก ที่นึกออกเป็นหนังอิตาลีเมื่อ 10 ปีก่อนของผู้กำกับดัง ซึ่งจะได้นำมาชวนชมต่อไป ครับ
ยูทูบมีหนังให้ดูด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 722 เมื่อ 16 ส.ค. 11, 15:54
|
|
คลิปนี้แนวมิวสิควิดีโอเล่าเรื่องพร้อมเพลง Auld Lang Syne น่าจะเป็นผลงาน ของแฟนหนังชาวจีน ยอดวิวส์เกือบสองล้าน ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
watanachai4042
อสุรผัด

ตอบ: 42
|
ความคิดเห็นที่ 723 เมื่อ 16 ส.ค. 11, 18:49
|
|
ชอบฮะอาจารย์เทาชมพู แก่ป่านนี้แล้วก็ยังฝัน(อิน)ไปกับหนังกับนวนิยายอยู่เลยฮะ เรื่องวอเตอร์ลู บริดจ์นี่ไม่เคยดูเลย แต่สงสัยว่านางเอกนึกยังไงต้องไปฆ่าตัวตายก็ไม่รู้ ทั้งที่พระเอกก็ไมได้ถือสา และการขายตัวของนางเอกก็เป็นเรื่องจำเป็นในขณะนั้น คนตะวันตกไม่น่าจะถือสากับเรื่องแบบนี้ น่าสงสารพระเอกหล่อก็หล่อแต่ต้องมาอยู่เดียวคิดถึงนางเอก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33414
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 724 เมื่อ 16 ส.ค. 11, 20:12
|
|
ถ้าพูดถึงฉากก็ไม่ได้ประทับใจฉากไหนเป็นพิเศษ แต่ยอมรับว่าฉากสุดท้าย เมื่อโรเบิร์ต เทเลอร์กลับมาในสภาพชายสูงวัย (แต่ยังหล่อเช่นเดิม) มารำพึงพร้อมด้วยเครื่องรางนำโชค สร้างอารมณ์ได้มาก ไม่จำเป็นต้องพูดสักคำ ที่ไม่ชอบคือเป็นหนังขาวดำค่ะ มันมัวๆ อึดอัดไม่สบายตา
หนังเรื่องนี้ใช้ฉากย้อนยุคไปสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๑ ค่านิยมแบบวิคตอเรียนยังครอบงำอยู่มาก ผู้หญิงถูกมองว่าเสียหายง่าย หลังสงครามโลกจบลง สังคมอังกฤษเข้าสู่ยุคใหม่ ผู้หญิงจึงค่อยปลดเปลื้องโซ๋ตรวนค่านิยมลงได้บ้าง ถ้าเป็นสมัยนี้ ถือว่านางเอกฆ่าตัวตายนั่นแหละผิด แต่ไปขายตัวไม่ผิด
คุณ SILA ชอบเรื่อง A Streetcar Named Desire ไหมคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 725 เมื่อ 17 ส.ค. 11, 09:55
|
|
ในยูทูบมีคลิปทดลองใส่สี สะพานวอเตอร์ลูช่วงต้นเรื่อง ครับ
เรื่องรถรางสายปรารถนา ได้ดูเป็นละครเวทีที่ธรรมศาสตร์ ครับ ยังจำวันนั้นได้ ว่าเป็นนักเรียนนุ่งขาสั้นดั้นด้นไปดูคนเดียว ที่นั่งอยู่ชั้นสองแสนไกล มองไม่เห็นถนัด แต่ได้ยินนักแสดงส่งเสียงดังฟังค่อนข้างชัด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33414
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 726 เมื่อ 17 ส.ค. 11, 10:21
|
|
ดิฉันเรียนเรื่อง A Street Car Named Desire กับศาสตราจารย์สดใส พันธุมโกมล ทั้งที่ไม่ชอบเรื่องนี้เลย ก็สนุกและจำได้จนบัดนี้ เพราะอาจารย์สอนเก่งมาก Tennessee Williams เขียนเป็นบทละคร ไม่ใช่นิยาย เมื่อเอามาทำเป็นหนังก็มีการปรับเล็กน้อย แต่ก็ยังคงรสชาติแบบละครเวทีอยู่ เป็นเรื่องของบลานช์ ดูบัวส์ อดีตสาวลูกผู้ดีแห่งรัฐภาคใต้ของอเมริกา เหมือนสคาเล็ตต์ โอฮาร่า แต่ปัจจุบันเธอเป็นเพียงกุหลาบโรยที่ผ่านความบอบช้ำมาหลายอย่างในชีวิต ติดเหล้า และมีอาการทางจิตประสาท เธอเดินทางไกล นั่งรถรางชื่อ"ปรารถนา" มาเยี่ยมและพักกับน้องสาวที่นิวออลีนส์ สเตลล่าได้ผัวเป็นหนุ่มคนงานชื่อสแตนลีย์ ในหนัง มาร์ลอน แบรนโดเป็นดาราหน้าใหม่ หล่อล่ำในแบบของสิบล้อ เขาสวมบทบาทได้เหมาะเจาะราวกับเดินออกมาจากหนังสือ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33414
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 727 เมื่อ 17 ส.ค. 11, 10:39
|
|
มาร์ลอน แบรนโดในบทสแตนลีย์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33414
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 728 เมื่อ 17 ส.ค. 11, 11:19
|
|
บลานช์จมปลักอยู่ในอาการ delusions หลงเพ้อฝันว่าตัวเองยังเป็นสาวผู้ดีอยู่ในคฤหาสน์ Belle Reve ซึ่งแปลว่าฝันหวาน หรือฝันดี เทนเนสซี่เป็นคนเล่นกับสัญลักษณ์ทางคำ เรื่องของเขาเกือบทุกเรื่องจะแฝงสัญลักษณ์ผ่านทางชื่อต่างๆในละคร อย่างเรื่องนี้ รถรางชื่อ desire ที่นำบลานช์มาสู่ที่พักของน้องสาวและน้องเขย ก็เป็นสัญลักษณ์สื่อถึงแนวคิดใหญ่ของเรื่อง คือทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ล้วนถูกผลักดันด้วย desire ซึ่งในที่นี้ แปลว่าตัณหามากกว่าความปรารถนาอย่างธรรมดาๆ
ความเพ้อฝันและการวางท่าทีเป็นผู้ดีจัดของบลานช์ ไปกระทบปมด้อยของน้องเขยเข้าอย่างแรง เพราะเขาต่ำต้อยทั้งชาติกำเนิด การงานและนิสัย ความรักที่มีต่อสเตลล่าผู้ภรรยาก็ออกไปในทางพระเอกในละครแนวมนตร์รักอสูรทั้งหลาย คือรักแบบข่มเหงอยู่ตลอดเวลา ส่วนสเตลล่าก็มีปฏิกิริยาแบบนางเอกในละคร คือยิ่งถูกทารุณเท่าไรยิ่งรักสามีมากเท่านั้น ในขณะที่คนดูละครทีวีไทยอาจไม่เข้าใจว่าทำไมถึงออกมาในรูปนี้ วิลเลียมส์อธิบายให้เข้าใจได้ชัดเจนคือความรักระหว่างชายหญิงคู่นี้ เกิดจากสัญชาตญาณทางเพศล้วนๆ ถ้าผู้ชายยังมีเซกส์ให้ ผู้หญิงก็ไปไหนไม่รอด
สิ่งนี้เป็นเรื่องที่บลานช์ไม่อาจเข้าใจได้เลย ว่าทำไมน้องสาวผู้เป็น "คุณหนู" เช่นเดียวกับเธอ ถึงยอมสยบให้กับสามีที่ต่ำต้อยถ่อยเถื่อน เมื่อบลานช์พยายามจะเตือนให้สเตลล่ามองเห็นคุณค่าตัวเอง ก็เป็นการสั่นคลอนอำนาจของสแตนลีย์ขึ้นมาอย่างรุนแรง เขารู้ว่าถ้าผู้หญิงคนนี้อยู่ในที่พักเดียวกันต่อไป ชีวิตคู่ของเขาก็จะมีปัญหา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
watanachai4042
อสุรผัด

ตอบ: 42
|
ความคิดเห็นที่ 729 เมื่อ 17 ส.ค. 11, 16:45
|
|
เห็นวิเวียน ลีห์แล้วนึกถึงพอลล่า เห็นมาร์ลอน แบรนโดแล้วนึกถึงเกชา เปลี่ยนวิถีนะฮะอาจารย์ คล้ายๆกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33414
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 730 เมื่อ 17 ส.ค. 11, 18:35
|
|
บลานช์โปรยเสน่ห์ให้มิทช์หนุ่มใหญ่หน้าซื่อ เพื่อนของสแตนลีย์ จนเกือบจะกลายเป็นแฟนกันอยู่รอมร่อ สแตนลีย์ผู้จงเกลียดจงชังบลานช์มานานแล้วก็สืบประวัติของเธอจนพบ ตามคำบอกเล่าของเพื่อนร่วมงาน ที่เดินทางไปเมืองเก่าของบลานช์อยู่บ่อยๆ เขารู้ว่าบลานช์ตกต่ำ ถูกไล่ออกจากงานครูเพราะไปมีความสัมพันธ์กับนักเรียนหนุ่ม สามีก็ฆ่าตัวตายด้วยปัญหาส่วนตัว สแตนลีย์ได้โอกาสที่จะกระชากหน้ากากเธอออก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33414
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 731 เมื่อ 17 ส.ค. 11, 18:36
|
|
วิธีของสแตนลีย์ถ่อยสมกับนิสัยของเขา เขาไม่ได้ทำเพียงแค่เปิดโปงตัวจริงของบลานช์อย่างไม่ปรานีเท่านั้น เมื่อบลานช์ต่อต้านเขาก็ข่มขืนเธอ ไม่ใช่ด้วยความพึงพอใจ แต่เพื่อเอาชนะ ความกระทบกระเทือนจิตใจรุนแรงทำให้บลานช์เสียสติต้องถูกนำตัวไปสถานบำบัดโรคจิต ส่วนชีวิตของสเตลลากับสามี ในหนังกับละครจบไม่เหมือนกัน ในละครที่เทนเนสซี่ วิลเลียมส์เขียนไว้ สเตลลาตัดสินใจพาลูกน้อยอำลาไปจากสามี เพราะรับไม่ได้อีกต่อไป แต่ในหนัง หลังจากฟูมฟายอยู่สักพัก สแตนลีย์ก็เข้ามาปลอบโยนภรรยา เราก็เดาได้ว่าคู่นี้ก็คงอยู่กันต่อไปตามเดิม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33414
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 732 เมื่อ 17 ส.ค. 11, 18:40
|
|
เรื่องนี้ถูกส่งเข้าชิงออสการ์ ติดรอบสุดท้ายหลายรางวัล ได้ตุ๊กตาทองถึง 4 ตัว คือดารานำหญิงยอดเยี่ยม -วิเวียน ลีห์ ดาราประกอบชายยอด -คาร์ล มาลเดน ในบทมิทช์ ดาราประกอบหญิงยอดเยี่ยม - คิม ฮันเตอร์ และกำกับศิลป์ยอดเยี่ยม
เป็นตุ๊กตาทองตัวที่สองของวิเวียน ลีห์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33414
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 733 เมื่อ 17 ส.ค. 11, 18:48
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33414
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 734 เมื่อ 18 ส.ค. 11, 15:34
|
|
ระหว่างรอคุณ SILA มาเล่าถึงหนังประทับใจเรื่องต่อไป ขอคั่นโปรแกรมไปพลางๆ ในเมื่อเล่าถึงดาราสาวสุดสวยอย่างวิเวียน ลีห์และอีกหลายคนก่อนหน้านี้ไปแล้ว จะไม่พูดถึงดาราชายเสียบ้างก็ไม่สมดุลย์กัน จึงขอเลือกดาราชายในอดีต ที่ได้ชื่อว่ารูปหล่อแถวหน้าของฮอลลีวู้ดมาเล่าให้ฟัง คุณร่วมฤดีคงเคยผ่านหูผ่านตามาบ้างตอนเล็กๆ แต่คุณวัฒนชัยอาจจะเกิดไม่ทัน เขาได้สมญาว่า The Man with the Perfect Face ในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ใครจะหล่อเกินหน้าโรเบิร์ต เทเลอร์เป็นไม่มี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|