SILA
|
ความคิดเห็นที่ 165 เมื่อ 04 เม.ย. 11, 10:01
|
|
แต่แล้วสามชีวิตต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในปี 1941 เมื่อญี่ปุ่นเปิดสงครามกับอเมริกา โจมตีเพิร์ล ฮาร์เบอร์โดยไม่มีการประกาศสงคราม เทรี่เป็นหนึ่งในส่วนน้อยของผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับสงครามระหว่างญี่ปุ่นกับอเมริกาและต้องการที่จะยับยั้ง แต่ไม่สัมฤทธิ์ผล
เมื่อรัฐบาลอเมริกาขับชาวญี่ปุ่นออกนอกประเทศ เกวนซึ่งสามารถเลือกได้ที่จะอยู่ในอเมริกา กลับตัดสินใจติดตามสามีไปญี่ปุ่นแม้ทั้งคู่จะรู้ดีว่าช่วงเวลาแห่งความยากลำบากยามสงครามรออยู่ที่นั่น เทรี่บอกเธอว่า ญี่ปุ่นจะถูกบุกโจมตีอย่างย่อยยับในที่สุด แต่เกวนบอกว่า เธอจะอยู่เคียงข้างเขาและ เผชิญอันตรายจากภัยสงครามด้วยกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 166 เมื่อ 04 เม.ย. 11, 10:05
|
|
หนังนำเสนอภาพของสงครามโลกครั้งที่สองในมุมมองอีกด้านหนึ่งที่ไม่ค่อยปรากฏในหนังตะวันตก นั่นคือ ภาพชีวิตชาวญี่ปุ่นในประเทศของเขาผ่านมุมมองของคนอเมริกันที่อาศัยอยู่ที่นั่นในช่วงเวลานั้น
เมื่อมาถึงญี่ปุ่น เทรี่ก็เข้าร่วมกับขบวนการใต้ดินเคลื่อนไหวต่อต้านสงคราม ส่งผลให้เขา กลายเป็นบุคคลที่หน่วยตำรวจลับของรัฐบาลเฝ้าจับตาจ้องและต้องการตัวในเวลาต่อมา
ท่ามกลางความขัดแย้งของคู่สงครามระหว่างบ้านเกิดตนและบ้านเกิดสามีที่อาศัยในปัจจุบันนี้ เกวนพยายามปรับตัวใช้ชีวิตในถิ่นแปลกใหม่ไม่คุ้นเคย โดยมีเทรี่เป็นครูสอนวิชาความแตกต่างระหว่าง วัฒนธรรม แต่ในขณะเดียวกันเธอก็ยังคงความภูมิใจในชาติตนจนบางครั้งก็ละเลยคำสอนเรื่องวิถีภรรยาญี่ปุ่น ที่ต้องสงบปากสงบคำเชื่อฟังอย่างเดียว ออกปากปกป้องประเทศตนเมื่อถูกพรรคพวกของเทรี่กล่าวเหยียดหยัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 167 เมื่อ 05 เม.ย. 11, 09:18
|
|
ยิ่งนานวัน ความโหดร้ายของสงครามยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น อเมริกาส่งเครื่องบินโจมตีทางอากาศ ไม่หยุดหย่อน ผู้คนล้มตายมากมาย เธอกลายเป็นเป้าของความเคียดแค้นชิงชังจากชาวญี่ปุ่นชาตินิยม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 168 เมื่อ 05 เม.ย. 11, 09:21
|
|
ไม่พ้นแม้แต่ลูกสาวของตัวเองที่สูญเสียเพื่อนรักชาวญี่ปุ่นไปจากการโจมตีทางอากาศ สองแม่ลูกต้องเผชิญความหิวโหยจากภาวะขาดแคลนอาหาร และความว้าเหว่ เมื่อสามีหนี การติดตามตัวของทางการเข้าป่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 169 เมื่อ 05 เม.ย. 11, 09:27
|
|
ในที่สุด หลังจากถูกโจมตีด้วยระเบิดปรมาณูสองลูกญี่ปุ่นก็ประกาศยอมแพ้ เทรี่ผู้ที่ได้อุทิศ ชีวิตและสุขภาพเพื่อต่อต้านทัดทานสงครามได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ประสานงานระหว่างรัฐบาลญี่ปุ่นและอเมริกา ทำหน้าที่เป็นล่ามและถวายคำปรึกษาแด่จักรพรรดิได้ดีเยี่ยมจนได้รับคำยกกย่องว่า เป็นหนึ่งในบุคคลที่มีค่าสูงสุดในญี่ปุ่น ด้วยต้นทุนสุขภาพที่ไม่ค่อยดีอยู่เดิมของเขาซ้ำยังต้องผ่านช่วงเวลายากลำบากยามสงคราม เมื่อมารับภาระหนักหน่วงระดับชาติเช่นนี้จึงมีผลทำให้สุขภาพของเขาทรุดลง เทรี่ล้มป่วยด้วยอาการโรคหลอดเลือดหัวใจ และสมอง แต่ยังคงปฏิบัติภารกิจสำคัญนี้ต่อไป และเนื่องจากภาวะขาดแคลนหลังสงครามอีกทั้งเพื่ออนาคตทางการศึกษาของลูกสาว เกวนและมาริโกะ จึงเดินทางกลับอเมริกาในปี 1949 จากกันวันนั้นแล้ว เทรี่ไม่ได้เห็นหน้าทั้งสองอีกเลย เขาเสียชีวิตเมื่ออายุ 50 ปีด้วยภาวะหัวใจวาย
เทรี่(ตัวจริง)ในวัยหนุ่ม Terry at Brown University
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 170 เมื่อ 05 เม.ย. 11, 09:34
|
|
บทหนังแต่งเติมเพิ่มความเป็นดรามาในตอนจบโดยให้เทรี่ซึ่งรู้ตัวดีว่าวันเวลาบนโลกใบนี้ของเขา เหลืออยู่ไม่มาก บอกให้เกวนและลูกกลับไปอเมริกาแล้วเขาจะตามไป ในขณะที่ตัวเขาเองนั้นมีความเห็นว่า ความตายเป็นสิ่งสวยงาม แต่ สภาพที่กำลังจะตายนั้นไม่
ที่ท่าเรือเกวนร่ำลาอาวรณ์เทรี่ สามีที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขเคียงข้างผ่านความทุกข์ยากมาด้วยกัน ครั้นถึงเวลาที่จะได้อยู่พร้อมหน้าอย่างมีความสุขกลับต้องแยกจาก ความรู้สึกลึกๆ ภายในคือความหวั่น ว่าจากกันครั้งนี้เหมือนเป็นการจากลาตายของเทรี่ยิ่งเพิ่มเติมความโศกเศร้าให้ทบเท่าทวีคูณ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 171 เมื่อ 05 เม.ย. 11, 09:39
|
|
เกวนผู้อยู่หลังยังคงรำลึกถึงเทรี่เสมอ เธอยังคงติดต่อกับบรรดาเพื่อนเก่าชาวญี่ปุ่นและ มักจะพูดคุยกันถึงเรื่อง "สะพานข้ามมหาสมุทรแปซิฟิค" ที่เทรี่และเธอเคยฝันไว้ในวันแต่งงาน เธอกล่าวถึงเทรี่แทบทุกวันตราาบจนวันสุดท้ายของชีวิตในปี 1990
จากสิ่งของต่างๆ ที่แม่เก็บรักษาไว้ มาริโกะค้นพบจดหมายทุกฉบับที่พ่อเขียนถึงแม่ในช่วงที่คบหากัน บันทึกข้อความหวานซึ้งประทับใจว่า
สูงกว่าภูเขาฟูจียามา ลึกกว่ามหาสมุทรแปซิฟิค
Higher Than Mount Fujiyama / Deeper Than The Pacific
Gwen Teraski และ Carrol Baker กับท่านทูตญี่ปุ่นพร้อมภริยา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 172 เมื่อ 09 เม.ย. 11, 20:47
|
|
หนังฮอลลีวู้ดอีกประเภทหนึ่งที่ล้มหายตายจากไปพร้อมกับอายุของดารานักแสดง คือหนังเพลงไพเราะระบำงามตา ในช่วง 1930s -50s เนื้อเรื่องเป็นอย่างไรไม่ค่อยจะมีใครจำกันได้นัก เพราะศูนย์รวมความสนใจไปอยู่ที่ท่าเต้นที่แสนมหัศจรรย์ของดารานำชายหญิง จึงขอนำฉากท่าเต้นคลาสสิค ที่เดี๋ยวนี้ดาราปัจจุบันเขาไม่เต้นกัน แล้วมาให้ชม
ฉากนี้เป็นลีลาเต้นแท็บของเฟร็ด แอสแตร์และคู่ขวัญคนแรกของเขาคือจินเจอร์ รอเจอส์ โปรดสังเกตว่าเทคเดียว ไม่มีการตัดต่อให้รู้ว่าหยุดพักระหว่างเต้น หรือต้องเทคแล้วเทคอีก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 173 เมื่อ 09 เม.ย. 11, 21:07
|
|
ฉากนี้มาจากหนังเรื่อง Top Hat ปี 1935 ดาราคือเฟร็ด แอสแตร์และจินเจอร์ รอเจอส์ คู่เดิม เมื่อดูแล้ว เราอาจจะหลงเข้าใจว่ามันสะท้อนถึงวันคืนเก่าๆที่แสนจะโอ่อ่าหรูหรา แต่ความจริงตรงกันข้าม หนังเรื่องนี้สร้างขึ้นในยุคของเศรษฐกิจตกต่ำ The Great Depression ของอเมริกา ผู้คนตกงาน หดหู่ สิ้นหวัง อดอยากยากแค้น ความบันเทิงเท่าที่แสวงหาได้จากโรงหนัง จึงออกมาในรูปของโลกความฝันอันอลังการ ปลอบใจคนพวกนี้ให้อย่างน้อยก็ลืมโลกความจริงไปได้ชั่วคราว
ฉากนี้ถูกนำไปบรรจุเป็นเชิงสัญลักษณ์ ไว้ในหนังดังหลายเรื่องในยุคหลัง คุณ SILA คงได้ดูมาแล้ว อย่าง The Green Mile, Rain Man และ The Purple Rose of Cairo
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 174 เมื่อ 09 เม.ย. 11, 22:12
|
|
ถ้าจะดูเฟร็ดโชว์ลีลาแท็บเดี่ยว ก็ได้จากหนังเรื่อง Puttin´ on the Ritz
แล้วค่อยดูไมเคิล แจ๊กสันกับลา โทย่า จับคู่เต้นในสไตล์ของเฟร็ด แอสแตร์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 175 เมื่อ 10 เม.ย. 11, 11:32
|
|
ต่อจากจินเจอร์ รอเจอส์ คู่เต้นคนต่อมาของเฟรด แอสแตร์ คือเอลินอร์ เพาเวลล์ เธอเต้นแท็ปในจังหวะร็อคได้เก่งฉกาจ แต่ลีลาก็ไม่ต่างจากฉากที่เฟรดเต้นในหนังขาวดำก่อนหน้านี้ คือเต้นคู่ เรียงกันเป็นหน้ากระดาน ผู้ชายเต้นท่าไหน ผู้หญิงก็เต้นท่านั้น จาก "The Beat is Rockin"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 176 เมื่อ 10 เม.ย. 11, 11:38
|
|
พอล่วงเข้ายุค 1950s การเต้นคู่ก็เปลี่ยนสไตล์ไป เรื่องนี้เฟร็ดปฏิวัติลีลาและฉากจากยุค 1940s มาเป็นเทรนด์ใหม่ที่เริ่มเป็นที่นิยมกัน คู่ขวัญคนที่สามของเขาคือ ซิด ชาริสส์ เธอเป็นแดนเซอร์ฝีเท้าเลิศมาก่อนจะมาโด่งดังในหนังเพลง Singin' in the Rain เป็นหญิงสาวหุ่นเซกซี่ ขางามที่สุดในฮอลลีวู้ด และหน้าตาสวยหยาดเยิ้ม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 177 เมื่อ 10 เม.ย. 11, 11:41
|
|
ซิดดังมาจากฉากสั้นๆใน Singin' in the Rain จับคู่เต้นกับยีน เคลลี่ คลื่นลูกใหม่ที่ไล่หลังเฟรด แอสแตร์มาติดๆ แต่ลีลาของดาราชายทั้งสองไปคนละแบบ เฟรดเต้นรำแบบสง่างามอลังการ ส่วนยีนเต้นแบบอาติสต์ ความจริงฉากนี้มันไม่เข้ากับเนื้อเรื่อง Singing' in the Rain แต่ผู้กำกับใส่เข้ามาเพื่อโชว์ลีลาของซิด โดยเฉพาะ เธอก็ดังระเบิดสมใจ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 178 เมื่อ 10 เม.ย. 11, 11:43
|
|
ฉากเต้นคู่อีกครั้งหนึ่งในหนังเรื่องเดียวกัน เรียกว่าเป็นหนังเพลงไพเราะ ระบำงามตา ได้เกิน ๑๐๐ %
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 179 เมื่อ 10 เม.ย. 11, 18:21
|
|
ซิด ชาริสเล่นหนังได้ไม่เก่ง แต่เรื่องเต้นระบำแล้วเป็นระดับท็อปในฮอลลีวู้ด หนังของเธอจึงโชว์ลีลาศคู่ดาราชาย เสียมากกว่าจะโชว์เนื้อเรื่อง ดาราชายที่แสดงเข้าคู่กันก็เป็นนักเต้นชั้นยอดทั้งนั้น นอกจากเฟรดและยีน เคลลี่ก็มีอีกคนหนึ่งชื่อริคาร์โด มอลทันบัน เป็นหนุ่มหล่อเลือดละตินจากเม็กซิโก มีเสน่ห์แบบสาวๆในยุค 1950s ฮือฮา คืออกผายไหล่ผึ่ง มีกล้ามพองาม หน้าตาเข้มคมแบบสเปน และเต้นรำเป็นไฟ
สมัยนั้นเพลงละตินเข้ามาแทนบอลรูมแบบเดิมในยุค 1940s แทงโกถือเป็นชั้นยอดของลีลาศ เพราะไหนสเต็ปจะเยอะ ไหนจะต้องทรงตัวให้สง่างามในจังหวะก้าวที่แสนยาก ใครเต้นแทงโกได้ถือว่าเป็นยอด ฉากเพลง Orchids in the moonlight ที่ริคาร์โดเต้นคู่กับซิด ในหนังชื่อ On an Island with you เป็นฉากเต้นแทงโกที่น่าประทับใจ สองคนเคลื่อนไหวอย่างนิ่มนวลและสง่างาม ไม่ได้เต้นเหวี่ยงสะบัดจนน่ากลัวแขนขาเคล็ดอย่างการประกวดลีลาศ ที่เราอาจเคยดูกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|