เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 26 ก.พ. 11, 18:49
|
|
ได้ข่าวว่าคลิปมี แต่ยังไม่ได้รับ แต่ถึงได้รับ ก็ไม่รู้จะเอามาลงให้เห็นอย่างไรค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 04 มี.ค. 11, 09:58
|
|
(ต่อ) เมื่อสังคามาระตาน้องเลี้ยงที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาแนะนำอิเหนาว่ามีทางเดียวที่จะได้ตัวบุษบาก็คือลุยลูกเดียว คุณอดุล จันทรศักดิ์ คอลัมนิสต์ดีเด่นรางวัลกองทุนม.ร.ว.อายุมงคล โสณกุลปี ๒๕๔๘ในบทอิเหนาก็รับลูกว่า
“สักวาอิเหนาเอาทุกท่า ที่สังคามาระตาชี้แนะให้ งานนี้ต้องใช้ทุนมากเท่าใด ที่ขนมาจากเมืองไทยก็ยังมี (ฮา-ถ้าเทียบกับนักโทษสารขัณฑ์น่าจะว่า”ที่โกงมาจากสารขัณฑ์นั้นมากมี” แล้วทำปากหวานเหมือนนักการเมืองอาชีพ)” เราจงรักภักดีท้าวดาหา บุษบาก็รักสุดพิเศษศรี แต่พอถึงจรกาคู่กรณี ก็สั่งตีโดยไม่ต้องปรองดองเอย “
บทมันๆอยางนี้คุณกัญจนปกรณ์ แสดงหาญ อาสาขับร้องเองด้วยทำนอง “เพลงแขกยิงนก”(ปรบมือ) เข้าบรรยากาศกลอน แถมตอนท้ายยังส่งเสียงสั่งด้วยเสียงดังว่า “ยิง !-ยิง !!-ยิ้ง !!!” เต็มที่ มันจริงๆ
ด้านดร.ญาดา อารัมภีร นักอ่านทำนองเสนาะเสียงหวานที่กลายมาหาความสุขจากงานที่ชอบด้วยการเป็นนักเขียนอิสระและนักจัดรายการวิทยุหลายสถานี ในบทบุษบา ก็บ่นอึดอัดขัดใจว่า “ สักวาทุกข์ที่สุดบุษบา จวนบ้าเพราะอิเหนาทำหมองไหม้ ส่งซิกฮุนเซ็นเข่นคนไทย เกินตัวเกินไปไม่กลัวนรก สารลำเจียกเจ็บแสบแปลบจิต ฉายกริชต้องตาพาตระหนก ต่อหน้าพระปฏิมาทำลามก แค้นแน่นอกพี่เลี้ยงช่วยน้องด้วยเอย” (ปรบมือ)บทรำพึงรำพันด้วยความน้อยอกน้อยใจเช่นนี้ ครูสุรางค์ ดุริยพันธุ์ก็ใส่ “เพลงสดายงแปลง”อันมีทำนองไพเราะ หวานปนเศร้าลึกๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 04 มี.ค. 11, 10:01
|
|
เมื่อบุษบาร้องขอคำปรึกษา ในฐานะพี่เลี้ยง ม.ร.ว.อรฉัตร ซองทอง ผู้เพิ่งรับยกย่องเป็นกวีตัวอย่างปี ๒๕๕๓ จากสมาคมกวีร่วมสมัยเมื่อ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๓ ก็ให้คำแนะนำไปว่า “สักรวาพี่เลี้ยงเสี่ยงดวงห้าม สมควรปรามความเกลียดอย่าเดียดฉันท์ ถึงหย่าร้างทิ้งขว้างไปไม่สำคัญ เคยผูกพันลงชื่อให้ได้รัชดา (ฮา –ที่เมืองหมันหยาก็มีคดีเหมือนกันด้วย...) แม้ระเด่นมนตรีมีเมียมาก ทำใจยากต้องทำใจไม่อิจฉา สักวันหนึ่งพ้นกรรมที่ทำมา ได้เงินตราดอกเบี้ยบานสำราญเอย” (ปรบมือ) บทนี้ครูดวงเนตร ดุริยพันธุ์ทำหน้าที่ปลอบด้วยทำนอง “เพลงถนอมนวล“เข้าบรรยากาศกับบทตอนนี้อย่างดี
กล่าวถึงตัวละครอีกตัวที่ไม่ได้ทำผิดคิดร้ายใคร ถ้าจะผิดก็แค่ไม่หล่อเหลาเท่าใครๆไม่ว่าหล่อใหญ่หล่อเล็กหล่อจิ๋ว อาจารย์เอนก แจ่มขำ ผู้รับบทจรกาหน้าขาวจึงรำพึงถึงตัวเองว่า “สักวาจรกาหน้าไม่ดำ วุฒิศักดิ์เขาทำหมดสิวฝ้า(ฮา.. ที่เมืองโน้นก็มีสาขาของวุฒิศักดิ์ด้วย...) รองานแต่งแห้งเหี่ยวเปลี่ยวอุรา เป็นเขยขวัญท้าวดาหาแสนยากเย็น มาก็มาถูกทางอย่างเห็นชัด แต่ก็ถูกลอบกัดอย่างเห็นเห็น แถมอิเหนาก็ก่อกวนล้วนลำเค็ญ พรรคร่วมก็แตกเป็นเสี่ยงเสี่ยงเอย”(ฮา พรรคการเมืองก็ไปเกี่ยวกันด้วยหรืองานนี้...งง?) บทอย่างครูณรงค์ รวมบรรเลงจึงเลือกขับร้องด้วย “เพลงตาลีกีปัส” ซึ่งมีจังหวะเร้าใจ ท่านที่คิดถึงภาพและทำนองเพลงนี้จากระบำฝ่ายปักษ์ใต้ก็จะได้บรรยากาศเหมาะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 07 มี.ค. 11, 09:48
|
|
กลับไปกล่าวฝ่ายอิเหนาซึ่งไม่สบายใจเหมือนกันที่พระเจ้าอาและอาสะใภ้ยังมึนตึง จึงต้องอาศัยสมองของสังคามาระตาอีกครั้ง ซึ่งคุณอำพล สุวรรณธาดา หรือ ทิดก้อน อินคำ-นักกลอนผู้นิยมลงท้ายวรรคด้วยกลอนตายและเนื้อหาเสียดสีชั้นยอด-ผู้รับบทเป็นที่ปรึกษาพระเอกจึงว่า
“สักวา’มาระตาทูลอิเหนา (บ่นว่าชื่อยาวนักตัดเอาสั้นๆก็แล้วกัน) แกนนำเราก็ร่างวางแผนเด็ด แต่การเมืองยอกย้อนซ่อนกลเม็ด มีข้อหาสูตรสำเร็จ “ก่อการร้าย” (ฮา) ชอบเอาดีใส่ตัวชั่วให้คนอื่น จมูกยื่นทุกยามหมดความหมาย ถ้าอิเหนาเผาเมืองเรื่องวุ่นวาย ก็เข้าข่ายว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเองเอย (ฮา-ปรบมือ)
บทยอกย้อนซ่อนเงื่อนเช่นนี้ คุณกัญจนปกรณ์ แสดงหาญเลยขับร้องในทำนอง “เพลงแขกกะเร็ง”สนุกสนานไปเลย เมื่อเข้าทางเช่นนั้น คุณอดุล จันทรศักดิ์ผู้เคยได้รับพระราชทานรางวัลหนังสือกวีนิพนธ์ดีเด่นจากพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีจากรวมบทกวีชื่อ “ดอกไม้ไฟ”ก็สวมบทอิเหนาเจ้าเล่ห์ตอนที่เราเลือกมาเป็นชื่อสักวาตอนนี้ไปว่า
“สักวาสั่งให้ไปพร้อมขวดเปล่า น้ำมันให้ไปหาเอาที่ปั๊มหน้า ไปราชประสงค์เลือกตรงย่านศูนย์การค้า แล้วเผาเมืองดาหาให้วอดวาย (ช่างหมือนความคิดอันแยบคายของอดีตนักร้องอมฮอลล์ในเหตุการณ์เผาบ้านเผาเมืองที่รัฐสารขัณฑ์จริงๆ เป็นแก๊กตลกร้ายที่ผู้ฟังสักวาจะหัวเราะก็ไม่ได้ร้องไห้ก็ไม่ออก) เราจะลอบเข้าไปทูลพระธิดา ชวนหนีไฟให้มาพ้นที่หมาย อ้างเหตุรักบุษบาจึงทำอุบาย คิดแบบควายได้เต็มที่เท่านี้เอย”(ฮาดัง -ปรบมือ) บทที่มีแก่นสำคัญบทนี้คุณณรงค์ รวมบรรเลงก็เลยบรรเลงด้วยทำนอง “เพลงแขกหนังชั้นเดียว”ทันอกทันใจดี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 07 มี.ค. 11, 09:50
|
|
ตามมาด้วยดร.ญาดา อารัมภีร อดีตอาจารย์งานสอนวรรณคดีที่ขอเกษียณก่อนเวลาอันควร ในบทบุษบาที่เห็นเหตุการณ์เลวร้ายในเมืองดาหา ก็จำเป็นต้องเปิดใจว่า
“สักวาถามพี่เลี้ยงเสียงร้อนรน เพลิงผลาญเพราะคนสุดทนไหว เซ็นทรัลเวิลด์เดือดแดงด้วยแสงไฟ ช้าไปช่วยไม่ทันพลันย่อยยับ (มีเหตุการณ์เผาเมืองในวรรณคดีเป็นตัวอย่างที่เลวร้ายอย่างนี้นี่เอง จึงไปถูกใจคนที่คิดแบบควายเอามาใช้ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ในประเทศ(ที่คน)ด้อยพัฒนา จำลองเป็นโมเด็ล) เคยเที่ยวชมหลายหลากมากสินค้า แพ้งแพงดูแต่ตามิกล้าจับ แบรนด์เนมมากมายหายวับ ไปกับมือใครใคร่รู้เอย”(ปรบมือ)
บทน่าอเนจอนาถใจในกลางเมืองหลวงหมันหยาอย่างนี้ ครูสุรางค์ ดุริยพันธุ์ขับร้องด้วย “เพลงแขกขาว”ฟังแล้วอยากร้องไห้เอามากๆ พี่เลี้ยงในร่างของม.ร.ว.อรฉัตร ซองทอง หนึ่งในผู้ได้รับยกย่องเป็นผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นปี ๒๕๕๓พร้อมๆรศ.นภาลัย สุวรรณาดา ตอบคำถามของบุษบาว่า “ปัญหาที่ถามคงยังหาคำตอบไม่ได้เพราะคดียังไม่สิ้นสุด”ก่อนที่จะบอกบทว่า “สักรวาพี่เลี้ยงคอยเคียงข้าง เพ็ดทูลพลางว่ามีข่าวคราวไฟไหม้ ทั้งเวิลด์เทรดราชประสงค์เป็นดงไฟ ซ้ำคนไล่ยิงกันสนั่นเมือง (นึกเห็นภาพพจน์ไปด้วย) วัดปทุมวนารามยามมีเคราะห์ อาวุธเหมาะถูกทิ้งน้ำทำลายเรื่อง เราต้องหนีภัยร้ายระคายเคือง พึ่งผ้าเหลือง-ใส่เสื้อดำอำพรางเอย” (ปรบมือ แถมอธิบายว่า “ผ้าเหลืองที่วัดปทุมวนารามนะคะ” คงเกรงว่าคนจะเข้าใจไขว้เขวเป็นเสื้อเหลืองเข้า ?)
บทนี้ครูดวงเนตร ดุริยพันธุ์ขับร้องด้วย”เพลงกะดีรี”ซึ่งเป็นเพลงจังหวะเร็วและมีลูกคู่คอยรับเป็นบางช่วง สนุกสนานถึงอกถึงใจดี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 10 มี.ค. 11, 16:42
|
|
(ต่อ)
ฝ่ายอิเหนาซึ่งมีน้องเลี้ยงเป็นที่ปรึกษา เวลาคิดอะไรไม่แน่ใจก็อาศัยสังคามาระตา ซึ่งอาจารย์อำพล สุวรรณธาดา อดีตผู้อำนวยการศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย(และต่อมาไปว่าตำแหน่งเดียวกันนี้ที่มหาวิทยาลัยรังสิต ก่อนจะเกษียณมารับ-ส่งหลานปู่ไปโรงเรียน) รับบทที่ปรึกษาเหมือนในชีวิตจริงหลายช่วงอายุก็ทูลอิเหนาไปว่า “สักวาสังคามาระตา โฟนอินมาทุกครั้งยังอิเหนา แต่งบ้านไว้พนมเปญเป็นของเรา สวยเหมือนเก่า “จันทร์ส่องหล้า”ที่บางพลัด (ฮา-เคยได้ยินแต่ไปแต่งถ้ำ ไม่นึกว่ามาแต่งไว้ที่นี่ด้วย) ถ้ารีบพาบุษบาออกมาได้ ขึ้นเครื่องสู่ดูไบไปหลัดหลัด ปล่อยเมืองไทยให้ยุ่งยามมาตามนัด ปฏิวัติเมื่อใดกลับไทยเอย” (ฮา-ปรบมือ)
บทนี้คิดสดๆเพราะนึกว่าบทของตัวหมดแล้ว พอจวนตัว พบว่ายังมีอีกบท ผู้ดำเนินรายการต้องคุยขัดตาทัพ ก่อนกลอนบทนี้จะสำเร็จ แล้วคุณกัญจนปรณ์ แสดงหาญก็ขับร้องด้วยทำนอง “เพลงยะวาใหม่”ทันอกทันใจครึ้มดีเหมือนกัน
เมื่อสังคามาระตาที่ปรึกษาโฟนอินมาว่าได้แต่งบ้านรออพยพไว้แล้ว คุณอดุล จันทรศักดิ์นักศึกษาเก่าดีเด่นของคณะรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตจากธรรมศาสตร์ในบทอิเหนาก็ตกลงใจดำเนินการทันที
“สักวาปลอมกายเป็นจรกา จากสถานีรถไฟฟ้าย่านสยาม (ฮา) ไปถึงแยกปทุมวนาราม เพียงเพื่อจะติดตามหาบุษบา พบนางอยู่เคียงข้างสองพี่เลี้ยง ลวงว่าอุตส่าห์เสี่ยงมาตามหา เชิญเสด็จไปกับจรกา จะอารักขาทั้งหมดให้พ้นไฟเอย”(ปรบมือ)
เวลาที่จะทำอะไรที่ไม่ดี คนที่คิดไม่ซื่อมักอ้างชื่อคนอื่นเช่นนี้เอง พอเขาจับได้ไล่ทันก็เบี่ยงเบนว่าเป็นพวกตัวปลอม ครูณรงค์ รวมบรรเลงก็เลยขับร้องด้วย “เพลงพราหมณ์เข้าโบสถ์” ซึ่งถ้าใครนึกไม่ออก ให้นึกถึงทำนอง “พราหมณ์ดีดน้ำเต้า” ที่ครูสอนให้ขับร้องสมัยชั้นมัธยม สำเนียงใกล้เคียงกันมากๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 10 มี.ค. 11, 16:48
|
|
ฝ่ายผู้คนในเมืองดาหา ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นจึงมีการเผาบ้านเผาเมือง โดยเฉพาะมะเดหวี มเหสีรองที่อิเหนาขอให้เป็นผู้เร่งเร้าให้ท้าวดาหาจัดการอภิเษกกับบุษบาเสียที คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์ผู้มีความสามารถหลายอย่าง จนได้รับยกย่องเป็นนิสิตเก่าดีเด่นคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯปี ๒๕๔๔ และเป็นนักศึกษาต่างชาติคนแรกที่ได้รับปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยนอร์ธเทิร์นโคโลราโดในฐานะศิษย์เก่าที่ได้รับรางวัลระดับชาติมากมาย และทำชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัย เธองงไปหมด จึงว่า
“สักวาตื่นตระหนกอกใจสั่น มะเดหวีเสียขวัญทูลดาหา ราชประสงค์ไฟไหม้ไม่ทันรา (ฮา-ต้องว่าให้เข้าเรื่องเดียวกัน) บัดนี้เจ้าบุษบามาหายไป เกรงพลัดไปชายแดนแคว้นกัมโพช (ใช้ชื่อเก่าในประวัติศาสตร์ ในฐานะนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านประวัติศาสตร์และวรรณคดี ) เป็นนักโทษจำจองให้หมองไหม้ (เหมือนนักการเมืองสารขัณฑ์ที่ถูกจองจำที่พนมเปญไม่ผิดเพี้ยน) จะรบหรือสมานฉันท์กันแบบใด จึงจะได้บุษบากลับมาเอย” (ปรบมือ)
ถึงอย่างไรก็ไม่ทิ้งโครงเรื่องเดิม บทนี้ครูสุรางค์ ดุริยพันธุ์( ผู้เคยโด่งดังที่ไทยทีวี-บางขุนพรหม จนมาเป็น”อสมท”ที่บางลำพูจนเกษียณที่ “อสมท”พระราม๙)ใส่ทำนองต้นวรเชษฐ์ที่ผู้ชมโทรทัศน์สมัยไทยโทรทัศน์ช่อง ๔ บางขุนพรหมจะคุ้นหูมากเพราะคุณจำนง รังสิกุลหัวหน้าฝ่ายจัดรายการเจาะจงนำมาเป็นเพลงนำรายการภาคดึก ซึ่งนักกลอนที่ไปประชันกลอนในรายการ “ลับแลกลอนสด”สมัยปี ๒๕๐๒เป็นต้นมา จะใจเต้นระทึกทันทีเมื่อเพลงนี้เริ่ม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 11 มี.ค. 11, 08:41
|
|
รศ.นภาลัย สุวรรณธาดานิสิตเก่าดีเด่นคณะครุศาสตร์ จุฬาฯซึ่งสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติยกย่องเป็น “ครูกวีศรีสุนทร”ในวันสุนทรภู่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๐ ในบทประไหมสุหรี ก็ตกใจยิ่งกว่าใคร “สักวาประไหมสุหรีศรีเมียใหญ่ (ฮา-อธิบายว่า “ต้องย้ำบ่อยๆหลายหนหน่อย) แสนตกใจรู้ข่าวลูกสาวหาย ถูกจับซุกคุกเขมรเป็นหรือตาย (ฮา-มาเรื่องเดียวกัน) หรือถูกชายชื่ออิเหนาเข้าลักพา จะไปฟ้องศาลโลกว่าลูกหาย (ฮา-เรื่องใหญ่ขนาดฟ้องศาลโลกเชียว ?) จ้างทนายอัมสเตอร์ดัมให้ตามหา เพราะอิเหนาเกิดอังกฤษมีฤทธา (ฮา) ต้องรีบฆ่าแล้วจะได้กลับไทยเอย”(ปรบมือ)
เรื่องใหญ่โตขนาดนี้บ้านเมืองจะเป็นอย่างไรฉันไม่แคร์ ขอแต่ผลประโยชน์ตนต้องเป็นใหญ่ไว้ก่อน ครูดวงเนตร ดุริยพันธุ์รีบใส่ “เพลงแขกหวน”ขับร้องเจื้อยแจ้วหมายใจให้ก้องโลกเลยเชียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 11 มี.ค. 11, 08:42
|
|
ทำเอาคุณประยอม ซองทองอดีตผู้แทนนิสิตคณะอักษรศาสตร์ปี ๒๕๐๒-นายกสมาคมนิสิตเก่าปี ๒๕๓๔ ในบทท้าวดาหา รีบออกมาปลอบ “สักวาท้าวดาหาไม่ประจักษ์ องครักษ์รายงานมาน่าสงสัย ว่าคนคล้ายจรกาลักพาไป ตอนไฟไหม้ศูนย์การค้าพาชุลมุน ดีเอสไอไปสืบอยู่ไม่รู้แจ้ง ว่าเหลืองแดงหรือหลากสีที่พาวุ่น ดูตัวอย่างต่างแดนแสนทารุณ (เตือนให้นึกถึงชาวโลกกำลังวุ่นวายในอิยิปต์ แล้วลามไปลิเบีย,บาห์เรนและกำลังจะลามไปในยุโรปที่ผู้มีอำนาจครองบ้านเมืองนานๆ จนพวกทาสของสัมภเวสีที่รัฐสารขัณฑ์กระดี๊กระด๊าจะเอาอย่างทั้งๆที่ต่างกันคนละโยชน์) สมานฉันท์จะเป็นบุญบ้านเมืองเอย” (ปรบมือ พึมพำว่าในฐานะเห็นโลกมา ๓ เสี้ยวศตวรรษ “ต้องย้ำเตือนกันหน่อย”) บทนี้ คุณกัญจนปกรณ์ แสดงหาญขับร้องด้วยทำนอง “แขกโศก”อ้อยสร้อยทีเดียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 13 มี.ค. 11, 09:44
|
|
ถึงบทอิเหนาพระเอกซึ่งกลายเป็นผู้ร้ายไปแล้วในสายตาผู้คน คุณอดุล จันทรศักดิ์ ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง และศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ๒๕๕๑ ก็ไว้ลายอดีตหัวหน้าทีมกลอนจากวรรณศิลป์จุฬาฯที่ไปนำถ้วยรางวัลจากธรรมศาสตร์กลับจุฬาฯ ว่า “สักวาพานางออกไปนอกเมือง แล้วปลดเปลื้องภูษาที่สวมใส่ ทูลว่าพระธิดาอย่าตกใจ ขาวอย่างนี้หรือจะใช่จรกา “( แล้วบ่นว่าฟังดูแล้วออกแนวโป๊ไปหน่อย เดี๋ยวคนฟังสับสนแล้วตีความผิดจะไปกันใหญ่ (ฮา) จึงขอเปลี่ยนเป็น) “สักวาพานางออกไปนอกเมือง ก็ปลดเปลื้องเสื้อดำให้จำได้ ทูลว่าพระธิดาอย่าตกใจ หม่อมฉันมิใช่จรกา ที่อาจที่หาญทำการใหญ่ เหตุก็เพราะหัวใจเสน่หา ขอเชิญแม่ดอกไม้บานบุษบา ไปหมันหยาไปอยู่บ้านหม่อมฉันเอย”(ปรบมือ)
บทเปิดเผยตัวให้เห็นใจจริงและออดอ้อนอย่างนี้ครูณรงค์ รวมบรรเลงจึงขับร้องด้วยทำนอง “เพลงห่วงอาลัย” อันออดอ้อนอ่อนหวาน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 14 มี.ค. 11, 10:31
|
|
บุษบากำลังตกอกตกใจในเหตุการณ์ที่ไม่เคยคาดฝัน รศ.ดร.ญาดา อรุณเวช อารัมภีร บัณฑิตอักษรศาสตร์ จุฬาฯทั้งปริญญาตรี-โท-เอก ผู้เคยทำหน้าที่พิธีกรดำเนินการแสดงสักวาที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดฯให้กวีสโมสรสยามวรรณศิลป์โดยเสด็จมาแล้ว ในบทบุษบาจึงใส่เป็นชุดๆว่า “สักวาบุษบาหน้าซีดเผือด ถึงจุดเดือดด่าเป็นชุดหาหยุดไม่ อิเหนาข่มเหงมิเกรงใคร วงศ์เทวาจะบรรลัยไร้ความคิด หนีคุกแพ้คดีที่รัชดา หนีหน้าหลบลี้หนีความผิด ลักข้าก่อกรรมทำอวดฤทธิ์ หมดสิทธิ์คืนแผ่นดินถิ่นไทยเอย” (ปรบมือ)
บทออกบรรยากาศดุเดือดอย่างนี้ครูสุรางค์ ดุริยพันธุ์จึงใช้เพลงที่มีลีลาและจังหวะเร็วคือ “นาคราช”ทันอกทันใจดียิ่งนัก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 14 มี.ค. 11, 10:33
|
|
ถึงตอนนี้อากาศขมุกขมัวมากแล้ว ม.ร.ว.อรฉัตร ซองทอง นิสิตเก่าดีเด่นปี ๒๕๕๓ แห่งคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ผู้ดำเนินรายการจึงรำพึงว่า “เล่นไปๆสงสัยจะไม่ปลอดภัย แถมยุงก็เริ่มมาชุมนุมมากแล้ว ควรว่าบทลาแทนนักสักวาและนักร้อง-นักดนตรีเสียที”แล้วก็ว่าบทลาดังนี้ “สักรวาลาทีกวีแก้ว กังวานแว่วเพลินเพลงวังเวงหวาน จำใจลาวันอายุมงคลวาร มาขับขานสมานรักษ์สักรวา (สร้อย) ดอกเอ๋ยเจ้าดอกจำปา เชิญฟังเพลงบรรเลงลา ไว้ปีหน้ามาอีกเอย ตะวันวายแม้คลายร้อน เอื้อนอาวรณ์หวั่นหวาด สงสารคนสงสารชาติ ใจจะขาดเสียแล้วเอย ทั้งสืบทอดเจตนารมณ์คมวาที ยกย่องคนเขียนสารคดีมีคุณค่า หยุดแบ่งสีแบ่งข้างอย่างเคยมา ขอประชาไทยอย่าแยกแตกกันเอย (สร้อย) ดอกเอ๋ยเจ้าดอกอัญชัน เขารบราฆ่าฟัน ขวัญจะหายเสียแล้วเอย ขอคนไทยจงเป็นไท รวมหัวใจเป็นหนึ่งดวง รักชาติและแหนหวง ห่วงแผ่นดินของเราเอย” (ปรบมือ)
บทอาลัยลาซึ้งๆอย่างนี้ครูสุรางค์-ครูดวงเนตร สองพี่น้องสกุลดุริยพันธุ์จึงแบ่งกันร้องคนละบทในทำนอง “เต่ากินผักบุ้ง”อันหวานไพเราะจับใจ ก่อนจะแยกย้ายกลับด้วยความอาลัย ปีหน้าฟ้าใหม่คงได้พบกันอีก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|