เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 34 35 [36] 37 38 ... 46
  พิมพ์  
อ่าน: 271717 ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 525  เมื่อ 13 มิ.ย. 11, 10:25

ถามคุณหลวง 

พระชันษาได้สามโกฎิ์ปี 

สามโกฎิ์ปี นานเท่าไรใคร่ขอทราบ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 526  เมื่อ 13 มิ.ย. 11, 10:38

คำถามข้อที่ ๙๙.๐๙ (ก)


ดูนะ  ตกใจ มีวงเล็บ (ก) เข้ามาอีก นั่นหมายหมายถึง 99.091 ทำดั่งข้อปลีกย่อยข้อกฎหมาย สงสัยจะมีแบบนี้ (ก)ทิว ๑ เตรส ๑
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 527  เมื่อ 13 มิ.ย. 11, 10:50


แพร่พิทยา พิมพ์อย่างนี้ จริงๆค่ะ
ตามความรู้ระดับประถม  คิดว่า เน้น อัค-คะ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 528  เมื่อ 13 มิ.ย. 11, 11:03

ห้องที่ ๕๘ พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ยิ่งคิดยิ่งแคันแน่น ทรวงใน
ชบเนตรอาบพักตร์ไหล เล่ห์น้ำ
ขึ้นยังพระโรงชัย เฝ้าบาท เชษฐ์นา
เหลือบสบหมู่อมาตย์ซ้ำ พักตร์ก้มเกี่ยงอาย
ทศเศียรเห็นพระน้อง ทักถาม
ใดพ่อออกรบราม คาบนี้
ย่อยยับลับหลงความ กลก่อ งๅ
ฤๅศึกแรงกว่ากี้ ก่อล้างปางปฐม
(หม่อมเจ้าอลังการ แต่ง)

คนนี้ขยันเหมือนกัน  ให้ ๑๐ คะแนน  แต่พิมพ์ผิด (แก้ไม่ถูก)
ตัด ๒ คะแนน  เหลือ ๘ คะแนน  (ตอบเฉียดฉิวมาก)

นี่ถ้าแปลศัพท์ที่ยกมาได้ด้วยจะให้อีก ๒ คะแนน


ชบเนตรอาบพักตร์ไหล ก็น่าจะแปลว่า "น้ำตาอาบแก้มไหล" หรือ "หลับตาแล้วน้ำตาไหล"
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 529  เมื่อ 13 มิ.ย. 11, 11:18


แพร่พิทยา พิมพ์อย่างนี้ จริงๆค่ะ
ตามความรู้ระดับประถม  คิดว่า เน้น อัค-คะ


คนเรียงพิมพ์ ตก ร ไป ๑ ตัว  คนพิสูจน์อักษรก็พลาด
เพราะหนังสือบทละครรามเกียรติ์หนาหลายหน้า
ย่อมจะที่หลุดลอดสายตาคุณละเอียดไป
แต่กระนั้น  คนคัดลอกเอามาก็ต้องรู้ว่าเขาผิดตกหล่นตรงไหน

ฉบับที่ผมใช้ปัจจุบันของศิลปาบรรณคาร
ยังมีที่ตกหล่นผิดพลาดหลายแห่งเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 530  เมื่อ 13 มิ.ย. 11, 11:21

คำว่า ชบ เป็นภาษา เขมร แปลว่า หยุด  ยิงฟันยิ้ม

(ภาษาเขมรถิ่นไทย เป็นภาษาย่อยของภาษาเขมร
พูดโดยชาวเขมรในประเทศไทยที่อยู่ในจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ และร้อยเอ็ด)
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 531  เมื่อ 13 มิ.ย. 11, 11:23

ตอบคุณไซมีส  ผมให้ค่าพยายามแปล ๒ คะแนน
ตามที่ได้ลั่นวาจาไว้   เป็น ๑๐ คะแนน

ส่วนคุณเพ็ญชมพู  สามโกฏิปี  ก็ คือ ๓๐,๐๐๐,๐๐๐ ปี
นานเท่าไรนั้น   ก็นานพอที่จะจัดงานเคานต์ดาวน์ได้  ๒๙,๙๙๙,๙๙๙ ครั้ง
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 532  เมื่อ 13 มิ.ย. 11, 11:26

ถามคุณหลวง

หนังสือเก่าเล่มหนึ่ง  บอกว่า  คนแต่งโคลงที่วัดพระแก้ว ที่ ดี คือ

วาน
หรุ่น
ปาน
เวศ
เลื่อน
น้อย
สุด
ช่อง

ใครคะ

สยามประเภทเล่มสามค่ะ  หน้า ๑๓๘๘

เข้าใจว่าเล่ม ๗  มีคนเห็นและใช้อ้างอิงแล้ว
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 533  เมื่อ 13 มิ.ย. 11, 11:27

สามโกฏิปี พอทราบความหมาย  แต่ สามโกฎิ์ปี  นี่ซิยังกังขา

 ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 534  เมื่อ 13 มิ.ย. 11, 12:02

สามโกฏิปี พอทราบความหมาย  แต่ สามโกฎิ์ปี  นี่ซิยังกังขา

 ยิ้มเท่ห์

การเขียนของคนโบราณ  คำบางคำที่สะกดด้วยตัวสะกดมีสระ
อย่าง ชาติ ธาตุ เหตุ เกียรติ   บางทีท่านก็ใส่ไม้ทัณฑฆาต
เพื่อให้คนอ่าน ไม่อ่านเป็น ชา ติ  เห ตุ  เกียร ติ 
กรณีนี้ก็เช่นเดียวกัน  ต้องการให้อ่าน โกฏิ  ไม่ใช่ โก ฏิ  จึงใส่ไม้ทัณฑฆาต
ไม้ทัณฑฆาตนั้นฆ่าเสียงเฉพาะสระ  ไม่ฆ่าเสียงพยัญชนะตัวสะกด
หวังว่าจะเข้าใจตรงกัน

ไหนก็สงสัยแล้ว  คุณเพ็ญฯ ตอบผมได้ไหมว่า คำเขมรที่สะกดด้วย จ
ในคำบางคำ  ทำไมคนโบราณถึงต้องใส่ไม้ทัณฑฆาตที่ตัว จ ด้วย
เช่น  สมเดจ์  เสดจ์  เผดจ์  เสรจ์
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 535  เมื่อ 13 มิ.ย. 11, 12:06

คำว่า ชบ เป็นภาษา เขมร แปลว่า หยุด  ยิงฟันยิ้ม

(ภาษาเขมรถิ่นไทย เป็นภาษาย่อยของภาษาเขมร
พูดโดยชาวเขมรในประเทศไทยที่อยู่ในจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ และร้อยเอ็ด)

ไม่ทราบว่า  "ชบ" ภาษาเขมรล่างมีเหมือนภาษาเขมรบนหรือไม่
มีความหมายเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
และความหมายที่คุณดีดีค้นมาใช้กับบริบทที่คุณไซมีสหามาได้ไหม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 536  เมื่อ 13 มิ.ย. 11, 12:42

^ ภาษาเขมรถิ่นไทย กับเขมรต่ำ (กัมพูชา) มีคำว่า ชบ เหมือนกันค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
ภาษาพูดอาจจะมีสำเนียงต่างกันไปบ้าง แต่จะไม่มีเสียงวรรณยุกต์ค่ะ

สำหรับบริบทที่คุณไซมีสหามา

"ยิ่งคิดยิ่งแคันแน่น ทรวงใน
ชบเนตรอาบพักตร์ไหล เล่ห์น้ำ
ขึ้นยังพระโรงชัย เฝ้าบาท เชษฐ์นา
เหลือบสบหมู่อมาตย์ซ้ำ พักตร์ก้มเกี่ยงอาย"

คำว่า "ชบ" หนูดีดี ลองหาคำแปลในภาษาไทยแล้ว ไม่มี
ถ้าในความหมายว่า "หยุด" น่าจะแปลว่า หยุด(ใช้)ตา หรือ หลับตา นะคะ  ยิงฟันยิ้ม
...หลับตาแล้วมีน้ำตาไหลออกมา...
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 537  เมื่อ 13 มิ.ย. 11, 13:05

ถามคุณหลวง

หนังสือเก่าเล่มหนึ่ง  บอกว่า  คนแต่งโคลงที่วัดพระแก้ว ที่ ดี คือ

วาน
หรุ่น
ปาน
เวศ
เลื่อน
น้อย
สุด
ช่อง

ใครคะ

สยามประเภทเล่มสามค่ะ  หน้า ๑๓๘๘

เข้าใจว่าเล่ม ๗  มีคนเห็นและใช้อ้างอิงแล้ว


ขอตอบดังนี้

๑.วาน  คนนี้ไม่แน่ใจว่าเป็นใครแน่

๒.หรุ่น คนที่แต่งโคลงรามเกียรติ์ มีชื่อ หรุ่น ๒ คน แต่คิดว่าคนที่แต่งดี
น่าจะเป็น  พระยาศรีสหเทพ  (หรุ่น  ศรีเพ็ญ)  ต่อมาได้เป็นที่พระยามหาอำมาตยาธิบดี

๓.ปาน คนนี้เป็นพระภิกษุ  ตอนที่แต่งโคลงรามเกียรติ์เป็นที่พระพินิตพินัย  
ต่อมาได้เป็นพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปาน)  อยู่วัดพระเชตุพน

๔.เวศ น่าจะเป็น เวก  คือ  พระยาราชวรานุกูล (เวก  บุณยรัตพันธุ์)
ต่อมาได้เป็นที่เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช

๕.เลื่อน  คนนี้คือ พระยาสัมภารากร (เลื่อน  สุรนันทน์)

๖.น้อย   คนนี้คือ  พระยาศรีสุนทรโวหาร  (น้อย  อาจารยางกูร)
เจ้ากรมพระอาลักษณ์  เป็นชาวแปดริ้ว

๗.สุด  คือ  หลวงบรรหารอรรถคดี  (สุด  สามะสุทธิ)
ต่อมาเป็นที่พระภิรมย์ราชา

๘.ช่อง  น่าจะเป็น  ช่วง   คือ  ขุนท่องสื่อคนเก่า  (ช่วง  ไกรฤกษ์)
ต่อมาได้เป็นที่หลวงมงคลรัตนราชมนตรี  เป็นบรรพบุรุษของตระกูลไกรฤกษ์
บันทึกการเข้า
bangplama
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 538  เมื่อ 13 มิ.ย. 11, 13:10

ชบเนตรอาบพักตร์ไหล เล่ห์น้ำ
มันคือ ชบ จริงหรือ
ถ้าผมเขียนโคลงบทนี้
ผมคงใช้ ชลเนตร อาบ พักตร์ ไหล   เล่ห์น้ำ
แปลว่า น้ำตาไหลอาบหน้าเหมือนกับน้ำไหล
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 539  เมื่อ 13 มิ.ย. 11, 13:20

จริงของคุณ bangplama ค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
หนูดีดี ก็ว่าทำไมต้องเอาภาษาเขมรมาเขียนด้วยนะคะ
เลยตามรอยท่านsiamese เข้าไปดู โคลงภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ ห้องที่ ๕๘ จากตู้หนังสือเรือนไทย เขาเขียนไว้ว่า

แผ่นที่ ๒๒๙ - หม่อมเจ้าอลังการ
  
๑๕๙๘ ยิ่งคิดยิ่งแค้นแน่น  ทรวงใน  
ชลเนตรอาบภักตรไหล  เล่ห์น้ำ  
ขึ้นยังพระโรงไชย  เฝ้าบาท เชฐนา  
เหลือบสบหมู่อมาตย์ซ้ำ  ภักตรก้มเกี่ยงอาย ฯ  
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 34 35 [36] 37 38 ... 46
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.217 วินาที กับ 20 คำสั่ง