เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 31 32 [33] 34 35 ... 46
  พิมพ์  
อ่าน: 271722 ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 480  เมื่อ 03 มิ.ย. 11, 12:18

คำถามข้อย่อยข้อที่ ๙๙.๐๖
คำถามข้อนี้เป็นคำถามอันสืบเนื่องมาจากโจทย์ของคุณเพ็ญชมพูให้ผมไว้แต่คราวก่อน

จงเล่าเรื่องราวของนางอัปสรที่ชื่อ "ปุญชิกสถลา"
มาให้ละเอียดที่สุด   ราคา  ๓๐ คะแนน
สะกดผิด หักคะแนนที่ละ ๒ คะแนน
ตอบหน้าม่าน   ตั้งแต่บัดนี้จนกระทั่งถึงเวลา  ๑๕.๐๐ น.
และตั้งแต่เวลา ๑๕.๐๑ น.เป็นต้นไป  คะแนนจะลดลง เหลือ ๒๐ คะแนน
และถ้าพ้นเวลา ๒๔.๐๐ น.ของวันที่  ๓  มิถุนายน  ๒๕๕๔ ไปแล้ว
คะแนนลดลงเหลือ ๑๐ คะแนน

จึงแจ้งมาให้ทราบโดยทั่วกัน

ป.ล.  จงใส่ที่มาแหล่งข้อมูลที่ใช้อ้างอิงลงในท้ายคำตอบด้วย
         ไม่เช่นนั้น   หัก  ๑๐  คะแนน

หนูดีดีขอตอบค่ะ  ยิงฟันยิ้ม

นางปุญชิกสถลา เป็นนางฟ้าที่งดงาม หนึ่งในเหล่า "เทพกัญญา" (นางฟ้าแถวหน้า รูปงามนามเพราะ ที่สวยที่สุดบนสวรรค์ ๑๑ นางฟ้า)
เป็นลูกสาวของพระสุริยเทพ และเป็นภรรยาของพระพาย หรือ วายุเทพ
วันหนึ่ง 2 สามีภรรยาไปเที่ยวป่าเล่นน้ำกันจนน้ำกระเด็นไปโดนฤาษี มะตัง ฤาษีไม่พอใจจึงสาปให้นางกลายเป็นลิง และบอกวิธีถอนคำสาปคือให้ไปบูชาพระศิวะแล้วจะคืนร่างเดิม
ขณะเดียวกันท้าวเกศรีออกป่าล่าสัตว์จนเข้าไปถึงในอาศรมฤาษี พระฤาษีไม่พอใจการที่มีคนมาฆ่าสัตว์ตัดชีวิตในอาศรมและยังเป็นการรบกวนการทำสมณกิจของฤาษี จึงสาปให้กลายเป็นลิงวิธีถอนคำสาปก็เช่นเดียวกัน แล้วบังเอิญทั้ง 2 ได้มาบูชาพระศิวะด้วยกัน พระศิวะพอใจแล้วมอบพรว่าให้ทั้งคู่ไปเกิดเป็นพญาวานรในชาติต่อไป  
ทั้งคู่จึงมาเกิดเป็นพญาวานร โดย นางปุญชิกสถลา เกิดเป็น นางอัญชนา และท้าวเกศรีเกิดเป็นพญาวานรชื่อ เกสรี และได้เป็นสามีภรรยากัน อาศัยอยู่บนภูเขา ริศีมุก
ทั้งคู่อยากมีบุตรจึงบูชาขอจากพระศิวะ พระศิวะให้พรว่า การปรากฏเป็นองค์อวตารครั้งที่สิบเอ็ดของพระองค์จะเกิดเป็นบุตรของเธอ ซึ่งต่อมาในวันอังคาร พระจันทร์เต็มดวงเดือนไจตระ พระศิวะได้อวตารเป็นบุตรของนาง
ก่อนอวตารพระศิวะมีโองการให้พระพายเป็นผู้นำดวงไฟอวตารไปใส่ครรภ์ของนางอัญชนา พร้อมด้วยเทพอาวุธ คฑาเพชร ตรี และจักรแก้ว
โดยพระพายได้ขอพรจากพระศิวะ ขอให้ตนได้เป็นพ่อของลูกนางอัญชนาด้วย เพราะอดีตชาติของนางคือ นางปุญชิกสถลา นางฟ้าซึ่งเป็นภรรยาของตน
พระศิวะซึ่งอวตารมาเป็น หนุมาน บุตรของนางจึงนับถือพระพายเหมือนพ่ออีกคนหนึ่ง จึงมีอีกชื่อหนึ่งคือ วายุบุตร หรือพาวันบุตร หมายถึงบุตรของเทพแห่งลม ก็คือพระพายนั้นเอง

: สรุปความจาก :
http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=3630.5;wap2
http://www.sukhothai.ru.ac.th/inforusc/info_regis/pitsanu/pitsanu.htm
http://www.thammachuk.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%99.html
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 481  เมื่อ 03 มิ.ย. 11, 14:14

อ้างถึง
นางปุญชิกสถลา เป็นนางฟ้าที่งดงาม
หนึ่งในเหล่า "เทพกัญญา" (นางฟ้าแถวหน้า
รูปงามนามเพราะ ที่สวยที่สุดบนสวรรค์ ๑๑ นางฟ้า)


ขอรายชื่อ เทพกัญญาทั้ง ๑๑ คน ด้วยครับ
เพื่อความสมบูรณ์ของข้อมูล

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 482  เมื่อ 03 มิ.ย. 11, 14:16

"เทพกัญญา" มี ๑๑ นางได้แก่ นางเมนะกา ๑  นางสหชันยา ๑  นางกรรณิกา ๑  นางปุญชิกสถาลา ๑  นางฤตุสถาลา ๑  นางฆฤตาจี ๑  นางปูรวจิตตี ๑  นางอุลโลจา ๑  นางปรัมโลจา ๑ นางอุรวศี ๑  และ นางวิศวาจี ๑

http://www.sukhothai.ru.ac.th/inforusc/info_regis/pitsanu/pitsanu.htm
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 483  เมื่อ 03 มิ.ย. 11, 14:18


นางอัญชนาเคยเป็นนางฟ้าบนสวรรค์มาก่อน ตอนที่อยู่บนสวรรค์ชื่อว่านางปุญชิกาสถาลา
ต่อมาถูกสาปให้เป็นนางพญาวานรชื่อนางอัญชนา

ผมถามเรื่องราวของนางอัปสรชื่อ ปุญชิกสถลา
แต่ตอบนางอัญชนามาอย่างนี้  เอาไป ๐  คะแนน  
แถมเขียนชื่อผิดอีก  หัก ๒ คะแนน  เอาไป - ๒ คะแนน
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 484  เมื่อ 03 มิ.ย. 11, 14:38

"เทพกัญญา" มี ๑๑ นางได้แก่ นางเมนะกา ๑  นางสหชันยา ๑  นางกรรณิกา ๑  นางปุญชิกสถาลา ๑  นางฤตุสถาลา ๑  นางฆฤตาจี ๑  นางปูรวจิตตี ๑  นางอุลโลจา ๑  นางปรัมโลจา ๑ นางอุรวศี ๑  และ นางวิศวาจี ๑

http://www.sukhothai.ru.ac.th/inforusc/info_regis/pitsanu/pitsanu.htm


นางเมนะกา ๑  (เมนกา)
นางสหชันยา ๑  (สหชนฺยา)
นางกรรณิกา ๑  (กรฺณิกา)
นางปุญชิกสถาลา ๑  X (ปุญฺชิกสฺถลา)
นางฤตุสถาลา ๑  X (ฤตุสฺถลา)
นางฆฤตาจี ๑  (ฆฺฤตาจี)
นางปูรวจิตตี ๑  (ปูรฺวจิตฺตี)
นางอุลโลจา ๑  (อุลฺโลจา)
นางปรัมโลจา ๑ (ปฺรมฺโลจา)
นางอุรวศี ๑  (อุรฺวศี)
และ นางวิศวาจี ๑ (วิศฺวาจี)


แล้วแต่ละคน ยกเว้นนางปุญชิกสถลา
มีประวัติหรือเรื่องราวเป็นมาอย่างไรบ้าง
พอจะหามาเสนอได้หรือไม่
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 485  เมื่อ 03 มิ.ย. 11, 14:48

๑.
นางอัปสรชื่อเมนกา เคยไปทำลายตบะของฤาษีวิศวามิตรสำเร็จ  มีลูกสาวออกมาชื่อศกุนตลา  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าทรงพระราชนิพนธ์เรื่องของนางไว้ชื่อ "ศกุนตลา" เป็นของขวัญแด่พระคู่หมั้น คือพระวรกัญญาปทาน

๖.
นางฆฤตาจีเป็นชายาพระวิศวกรรม มีลูกสาวชื่อว่านางสัญชญา มีลูกเขยคือสุริยเทพ  

๙.
นางปรัมโลจาถูกพระอินทร์ส่งลงไปทำลายตบะฤๅษีกัณฑุ เมื่อภารกิจเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระกัณฑุมุนีไม่ยอมให้นางจากไป เวลาก็ผ่านไปเป็นหลายร้อยปี และนางก็ขอร้องหลายครั้ง พระฤๅษีก็ยังไม่ยอม นางก็จำทนอยู่ต่อไปอีก วันหนึ่งพระฤๅษีตะลีตะลานจะรีบออกไปนอกอาศรม ปรัมโลจารู้สึกแปลกใจก็ถามว่า “ท่านจะรีบไปไหน” พระฤๅษีตอบว่า “นางเอย นางไม่ได้สังเกตเลยหรือว่าเวลาผ่านไปนานเท่าใด เราพบนางที่ริมฝั่งน้ำเมื่อเช้านี้และได้พานางมาอยู่ด้วยกันในอาศรมนี้ บัดนี้ก็เกือบจะสิ้นวันแล้ว พระอาทิตย์กำลังคล้อยต่ำ เราจะต้องรีบออกไปทำพิธีสนธยาก่อนพระอาทิตย์จะตก”

นางปรัมโลจาได้ฟังก็กลั้นหัวเราะไว้ไม่อยู่กล่าวแก่สามีของนางว่า “พระมุนี ท่านว่าอะไรอย่างนั้น เวลามิได้ผ่านไปวันเดียวหรอก แท้ที่จริงท่านอยู่กับข้าพเจ้านานถึง ๙๐๗ ปี ๖ เดือน ๓ วันแล้ว” นั่นแหละพระมุนีจึงรำลึกได้ว่าแท้ที่จริงตนได้เสพสุขกับนางจนลืมวันลืมคืนถึงเกือบพันปีแล้ว มิใช่วันเดียวดังที่เข้าใจ พระฤๅษีคิดได้ดังนี้ก็เสียใจยิ่งนักที่ตบะซึ่งตนสู้อุตส่าห์บำเพ็ญมาช้านานต้องมาสูญสิ้นเพราะผู้หญิงเพียงคนเดียว นี่ก็แสดงให้เห็นว่าเสน่ห์นางอัปสรผูกมัดรัดรึงใจเพียงใด เมื่อได้คิด พระฤๅษีจึงขับไล่นางไปทันที

http://www.uniserv.buu.ac.th/forum2/post.asp?method=TopicQuote&TOPIC_ID=119&FORUM_ID=6
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 486  เมื่อ 03 มิ.ย. 11, 14:52

แล้วแต่ละคน ยกเว้นนางปุญชิกสถลา
มีประวัติหรือเรื่องราวเป็นมาอย่างไรบ้าง
พอจะหามาเสนอได้หรือไม่

แต่ละคนมีประวัติหรือเรื่องราวเป็นมาต่างกันค่ะ

นางอุรวศี
Uravasi

O Uravasi, dweller of the Celestial Garden,
You are perfect feminine form.
You are not a mother, you are not a daughter or bride.
When evening descends upon the earth,
Covering her weary limbs with a mantle of gold,
You do not light any lamps on homely doorsteps.
You are revealed like the coming dawn,
O Uravasi, wholly unperturbed, unconcerned.

อุรวศี นงพาล อุทยานสวรรค์
สุดเฉิดฉัน ทั่วเอวองค์ ทรงอิตถี
มิเคยเป็น มารดามนุษย์ หรือบุตรี
มิเคยมี เป็นเจ้าสาว เข้าวิวาห์

ยามอัศดง เริ่มคล้อยเคลื่อน เยือนพิภพ
เหนื่อยอ่อนซบ คลุมเสื้อทอง ป้องสังขาร์
ไม่ต้องจุด ประทีปตาม ยามมืดมา
ดุจอุษา นางเผยโฉม ประโลมใจ

In the primal spring of creation
You arose from the foaming ocean,
Like a flower without a stem.
The mighty ocean fell at your feet
Like a thousand-hooded serpent (หมายถึงพญาอนันตนาคราช มี ๑๐๐๐ เศียร)
Tamed by the charmer's mantra.
Jasmine-white, your unclothed beauty
Received the worship of the gods,
O Uravasi, flawless Uravasi.

อุรวศี สูงสง่า ด้วยราศี
ไร้ราคี วรรณะสุด ผุดผ่องใส
ดั่งมะลิ ขาวผ่อง เป็นยองใย
ปลอดฝ้าไฝ ไร้อาภรณ์ ทอนความงาม

กำเนิดจาก ฟองธารา มหาสมุทร
เปรียบประดุจ หนึ่งดอกไม้ ไร้ก้านหนาม
แม้นเกลียวคลื่น พิโรธฝั่ง ดังครืนคราม
ยังซบตาม แทบเท้า เจ้าแก้วตา

ประดุจดั่ง นาคราช อนันตเศียร
เฝ้าวนเวียน พ่ายแพ้ แก่คาถา
อุรวศี นิ่งสงบ สยบธารา
ทวยเทพมา บูชาเจ้า เฝ้าภักดิ์เอย.

ประพันธ์โดย : ท่านรพินทรนาถ ฐากูร
ถอดความโดย : ท่านแอ็ด ปากเกร็ด

คัดลอกมาแสดงโดย : หนูดีดี  ยิงฟันยิ้ม

ต่อมานางอุรวศีก็มารักกับมนุษย์ ชื่อ ท้าวปุรุรวัส เป็นกษัตริย์นักรบ วันหนึ่งอสูรกำเริบไปฉุดนางอุรวศี  ท้าวปุรุรวัสยกทัพมาช่วย เลยได้พบรักกัน แต่ไม่อาจอยู่ร่วมกันได้เพราะนางอุรวศีต้องกลับไปทำหน้าที่บนสวรรค์เป็นนางละคร แต่ความที่คิดถึงแต่ท้าวปุรุรวัส ทำให้นางท่องบทละครผิด พระภรตฤาษีเจ้าแห่งละครโกรธมาก  จึงสาปนางให้ลงมายังโลกมนุษย์ พระอินทร์ทราบเรื่องก็สงสารจึงส่งนางให้มาอยู่กินกับท้าวปุรุรวัส โดยมีข้อแม้ว่าเมื่อใดก็ตามที่นางมีลูกและสามีเห็นหน้าลูก นางก็จะพ้นคำสาป ได้กลับมาเป็นนางฟ้าบนสวรรค์
ในที่สุดนางอุรวศีก็มีลูกชายชื่อ อายุส นางพยายามเลี่ยงคำสาป  ด้วยการซ่อนลูกชายไว้ไม่ให้ท้าวปุรุรวัสได้เห็น
จนกระทั่งวันหนึ่งนางไปเที่ยวป่ากับท้าวปุรูรวัส ได้เจอนางวิทยาธรรูปงามเข้า ท้าวปุรูรวัสเผลอจ้องนางวิทยาธร ทำให้นางอุรวศีหึง นางจึงหนีเข้าไปในเขตหวงห้ามของเทพสกันทกุมาร นางจึงถูกสาปให้กลายเป็นเถาวัลย์ ท้าวปุรูรวัสเสียใจมาก หาทางแก้คำสาปโดยต้องนำลูกแก้ววิเศษมาแก้คำสาป
ในขณะที่จะนำลูกแก้วมาแก้คำสาปนั้น ได้มีเหยี่ยวมาโฉบลูกแก้วไป แต่มีเด็กคนหนึ่งยิงเหยี่ยวตกลงมาและนำลูกแก้วมาคืนให้
ปรากฏว่าเด็กหนุ่มคนนี้คือ อายุส ลูกชายของนางอุรวศีกับท้าวปุรุรวัส นั่นเอง ทันทีที่พ่อลูกพบกัน คำสาปของพระภรตฤาษี ก็หมดไป นางอุรวศีกลับเป็นนางฟ้าขึ้นสวรรค์ตามเดิม....
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 487  เมื่อ 06 มิ.ย. 11, 08:15

|| वाल्मीकि रामायण - किष्किन्धाकाण्ड ||

|| सर्ग ||

६५
अनेकशतसाहस्रीं विषण्णां हरिवाहिनीम् |
जाम्बवान्समुदीक्ष्यैवं हनुमन्तमथाब्रवीत् || १||

वीर वानरलोकस्य सर्वशास्त्रमथाब्रवीत् |
तूष्णीमेकान्तमाश्रित्य हनुमन्किं न जल्पसि || २||

हनुमन्हरिराजस्य सुग्रीवस्य समो ह्यसि |
रामलक्ष्मणयोश्चापि तेजसा च बलेन च || ३||

अरिष्टनेमिनः पुत्रौ वैनतेयो महाबलः |
गरुत्मानिव विख्यात उत्तमः सर्वपक्षिणाम् || ४||

बहुशो हि मया दृष्टः सागरे स महाबलः |
भुजगानुद्धरन्पक्षी महावेगो महायशाः || ५||

पक्षयोर्यद्बलं तस्य तावद्भुजबलं तव |
विक्रमश्चापि वेगश्च न ते तेनापहीयते || ६||

बलं बुद्धिश्च तेजश्च सत्त्वं च हरिसत्तम |
विशिष्टं सर्वभूतेषु किमात्मानं न बुध्यसे || ७||

अप्सराप्सरसां श्रेष्ठा विख्याता पुञ्जिकस्थला |
अज्ञनेति परिख्याता पत्नी केसरिणो हरेः || ८||

अभिशापादभूत्तात वानरी कामरूपिणी |
दुहिता वानरेन्द्रस्य कुञ्जरस्य महात्मनः || ९||

कपित्वे चारुसर्वाङ्गी कदा चित्कामरूपिणी |
मानुषं विग्रहं कृत्वा यौवनोत्तमशालिनी || १०||

अचरत्पर्वतस्याग्रे प्रावृडम्बुदसंनिभे |
विचित्रमाल्याभरणा महार्हक्षौमवासिनी || ११||

तस्या वस्त्रं विशालाक्ष्याः पीतं रक्तदशं शुभम् |
स्थितायाः पर्वतस्याग्रे मारुतोऽपहरच्छनैः || १२||

स ददर्श ततस्तस्या वृत्तावूरू सुसंहतौ |
स्तनौ च पीनौ सहितौ सुजातं चारु चाननम् || १३||

तां विशालायतश्रोणीं तनुमध्यां यशस्विनीम् |
दृष्ट्वैव शुभसर्वाग्नीं पवनः काममोहितः || १४||

स तां भुजाभ्यां पीनाभ्यां पर्यष्वजत मारुतः |
मन्मथाविष्टसर्वाङ्गो गतात्मा तामनिन्दिताम् || १५||

सा तु तत्रैव सम्भ्रान्ता सुवृत्ता वाक्यमब्रवीत् |
एकपत्नीव्रतमिदं को नाशयितुमिच्छति || १६||

अञ्जनाया वचः श्रुत्वा मारुतः प्रत्यभाषत |
न त्वां हिंसामि सुश्रोणि मा भूत्ते सुभगे भयम् || १७||


मनसास्मि गतो यत्त्वां परिष्वज्य यशस्विनि |
वीर्यवान्बुद्धिसम्पन्नः पुत्रस्तव भविष्यति || १८||

अभ्युत्थितं ततः सूर्यं बालो दृष्ट्वा महावने |
फलं चेति जिघृक्षुस्त्वमुत्प्लुत्याभ्यपतो दिवम् || १९||

शतानि त्रीणि गत्वाथ योजनानां महाकपे |
तेजसा तस्य निर्धूतो न विषादं ततो गतः || २०||

तावदापततस्तूर्णमन्तरिक्षं महाकपे |
क्षिप्तमिन्द्रेण ते वज्रं क्रोधाविष्टेन धीमता || २१||

ततः शैलाग्रशिखरे वामो हनुरभज्यत |
ततो हि नामधेयं ते हनुमानिति कीर्त्यते || २२||

ततस्त्वां निहतं दृष्ट्वा वायुर्गन्धवहः स्वयम् |
त्रैलोक्ये भृशसङ्क्रुद्धो न ववौ वै प्रभञ्जनः || २३||

सम्भ्रान्ताश्च सुराः सर्वे त्रैलोक्ये क्षुभिते सति |
प्रसादयन्ति सङ्क्रुद्धं मारुतं भुवनेश्वराः || २४||

प्रसादिते च पवने ब्रह्मा तुभ्यं वरं ददौ |
अशस्त्रवध्यतां तात समरे सत्यविक्रम || २५||

वज्रस्य च निपातेन विरुजं त्वां समीक्ष्य च |
सहस्रनेत्रः प्रीतात्मा ददौ ते वरमुत्तमम् || २६||

स्वच्छन्दतश्च मरणं ते भूयादिति वै प्रभो |
स त्वं केसरिणः पुत्रः क्षेत्रजो भीमविक्रमः || २७||

मारुतस्यौरसः पुत्रस्तेजसा चापि तत्समः |
त्वं हि वायुसुतो वत्स प्लवने चापि तत्समः || २८||

वयमद्य गतप्राणा भवानस्मासु साम्प्रतम् |
दाक्ष्यविक्रमसम्पन्नः पक्षिराज इवापरः || २९||

त्रिविक्रमे मया तात सशैलवनकानना |
त्रिः सप्तकृत्वः पृथिवी परिक्रान्ता प्रदक्षिणम् || ३०||

तदा चौषधयोऽस्माभिः सञ्चिता देवशासनात् |
निष्पन्नममृतं याभिस्तदासीन्नो महद्बलम् || ३१||

स इदानीमहं वृद्धः परिहीनपराक्रमः |
साम्प्रतं कालमस्माकं भवान्सर्वगुणान्वितः || ३२||

तद्विजृम्भस्व विक्रान्तः प्लवताम् उत्तमो ह्यसि |
त्वद्वीर्यं द्रष्टुकामेयं सर्वा वानरवाहिनी || ३३||

उत्तिष्ठ हरिशार्दूल लङ्घयस्व महार्णवम् |
परा हि सर्वभूतानां हनुमन्या गतिस्तव || ३४||

विषाण्णा हरयः सर्वे हनुमन्किमुपेक्षसे |
विक्रमस्व महावेगो विष्णुस्त्रीन्विक्रमानिव || ३५||

ततस्तु वै जाम्बवताभिचोदितः
प्रतीतवेगः पवनात्मजः कपिः |
प्रहर्षयंस्तां हरिवीर वाहिनीं
चकार रूपं महदात्मनस्तदा || ३६||

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 488  เมื่อ 06 มิ.ย. 11, 08:54

.. vālmīki rāmāyaṇa - kiṣkindhākāṇḍa ..

sarga - 65

anekaśatasāhasrīṃ viṣaṇṇāṃ harivāhinīm .
jāmbavānsamudīkṣyaivaṃ hanumantamathābravīt .. 1..

vīra vānaralokasya sarvaśāstramathābravīt .
tūṣṇīmekāntamāśritya hanumankiṃ na jalpasi .. 2..

hanumanharirājasya sugrīvasya samo hyasi .
rāmalakṣmaṇayoścāpi tejasā ca balena ca .. 3..

ariṣṭaneminaḥ putrau vainateyo mahābalaḥ .
garutmāniva vikhyāta uttamaḥ sarvapakṣiṇām .. 4..

bahuśo hi mayā dṛṣṭaḥ sāgare sa mahābalaḥ .
bhujagānuddharanpakṣī mahāvego mahāyaśāḥ .. 5..

pakṣayoryadbalaṃ tasya tāvadbhujabalaṃ tava .
vikramaścāpi vegaśca na te tenāpahīyate .. 6..

balaṃ buddhiśca tejaśca sattvaṃ ca harisattama .
viśiṣṭaṃ sarvabhūteṣu kimātmānaṃ na budhyase .. 7..

apsarāpsarasāṃ śreṣṭhā vikhyātā puñjikasthalā .
ajñaneti parikhyātā patnī kesariṇo hareḥ .. 8..

abhiśāpādabhūttāta vānarī kāmarūpiṇī .
duhitā vānarendrasya kuñjarasya mahātmanaḥ .. 9..

kapitve cārusarvāṅgī kadā citkāmarūpiṇī .
mānuṣaṃ vigrahaṃ kṛtvā yauvanottamaśālinī .. 10..

acaratparvatasyāgre prāvṛḍambudasaṃnibhe .
vicitramālyābharaṇā mahārhakṣaumavāsinī .. 11..

tasyā vastraṃ viśālākṣyāḥ pītaṃ raktadaśaṃ śubham .
sthitāyāḥ parvatasyāgre māruto.apaharacchanaiḥ .. 12..

sa dadarśa tatastasyā vṛttāvūrū susaṃhatau .
stanau ca pīnau sahitau sujātaṃ cāru cānanam .. 13..

tāṃ viśālāyataśroṇīṃ tanumadhyāṃ yaśasvinīm .
dṛṣṭvaiva śubhasarvāgnīṃ pavanaḥ kāmamohitaḥ .. 14..

sa tāṃ bhujābhyāṃ pīnābhyāṃ paryaṣvajata mārutaḥ .
manmathāviṣṭasarvāṅgo gatātmā tāmaninditām .. 15..

sā tu tatraiva sambhrāntā suvṛttā vākyamabravīt .
ekapatnīvratamidaṃ ko nāśayitumicchati .. 16..

añjanāyā vacaḥ śrutvā mārutaḥ pratyabhāṣata .
na tvāṃ hiṃsāmi suśroṇi mā bhūtte subhage bhayam .. 17..


manasāsmi gato yattvāṃ pariṣvajya yaśasvini .
vīryavānbuddhisampannaḥ putrastava bhaviṣyati .. 18..

abhyutthitaṃ tataḥ sūryaṃ bālo dṛṣṭvā mahāvane .
phalaṃ ceti jighṛkṣustvamutplutyābhyapato divam .. 19..

śatāni trīṇi gatvātha yojanānāṃ mahākape .
tejasā tasya nirdhūto na viṣādaṃ tato gataḥ .. 20..

tāvadāpatatastūrṇamantarikṣaṃ mahākape .
kṣiptamindreṇa te vajraṃ krodhāviṣṭena dhīmatā .. 21..

tataḥ śailāgraśikhare vāmo hanurabhajyata .
tato hi nāmadheyaṃ te hanumāniti kīrtyate .. 22..

tatastvāṃ nihataṃ dṛṣṭvā vāyurgandhavahaḥ svayam .
trailokye bhṛśasaṅkruddho na vavau vai prabhañjanaḥ .. 23..

sambhrāntāśca surāḥ sarve trailokye kṣubhite sati .
prasādayanti saṅkruddhaṃ mārutaṃ bhuvaneśvarāḥ .. 24..

prasādite ca pavane brahmā tubhyaṃ varaṃ dadau .
aśastravadhyatāṃ tāta samare satyavikrama .. 25..

vajrasya ca nipātena virujaṃ tvāṃ samīkṣya ca .
sahasranetraḥ prītātmā dadau te varamuttamam .. 26..

svacchandataśca maraṇaṃ te bhūyāditi vai prabho .
sa tvaṃ kesariṇaḥ putraḥ kṣetrajo bhīmavikramaḥ .. 27..

mārutasyaurasaḥ putrastejasā cāpi tatsamaḥ .
tvaṃ hi vāyusuto vatsa plavane cāpi tatsamaḥ .. 28..

vayamadya gataprāṇā bhavānasmāsu sāmpratam .
dākṣyavikramasampannaḥ pakṣirāja ivāparaḥ .. 29..

trivikrame mayā tāta saśailavanakānanā .
triḥ saptakṛtvaḥ pṛthivī parikrāntā pradakṣiṇam .. 30..

tadā cauṣadhayo.asmābhiḥ sañcitā devaśāsanāt .
niṣpannamamṛtaṃ yābhistadāsīnno mahadbalam .. 31..

sa idānīmahaṃ vṛddhaḥ parihīnaparākramaḥ .
sāmprataṃ kālamasmākaṃ bhavānsarvaguṇānvitaḥ .. 32..

tadvijṛmbhasva vikrāntaḥ plavatām uttamo hyasi .
tvadvīryaṃ draṣṭukāmeyaṃ sarvā vānaravāhinī .. 33..

uttiṣṭha hariśārdūla laṅghayasva mahārṇavam .
parā hi sarvabhūtānāṃ hanumanyā gatistava .. 34..

viṣāṇṇā harayaḥ sarve hanumankimupekṣase .
vikramasva mahāvego viṣṇustrīnvikramāniva .. 35..

tatastu vai jāmbavatābhicoditaḥ
pratītavegaḥ pavanātmajaḥ kapiḥ .
praharṣayaṃstāṃ harivīra vāhinīṃ
cakāra rūpaṃ mahadātmanastadā .. 36..

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 489  เมื่อ 09 มิ.ย. 11, 11:09

นี่ก็ผ่านไปหลายเพลา ไยคุณหลวงไม่เยี่ยมกรายมาเยือนสักที จนกระทู้ตกหน้าไปแล้ว

ทิ้งตัวเทวนาครีไว้ตั้งเยอะแยะ ลองแกะดูก็ทราบแต่การออกเสียง (งู ๆ ปลา ๆ)

ขอเชิญคุณหลวงมาอธิบายโศลกข้างบนที

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 490  เมื่อ 09 มิ.ย. 11, 11:17

อยากให้คุณหลวงตั้งคอร์สสอนการอ่านอักษรเทวะนาครี  จุมพิต จุมพิต จุมพิต
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 491  เมื่อ 09 มิ.ย. 11, 11:21

ปรึกษา อากู๋ ไปพลางๆ ก่อนค่ะ มีเสียงอ่านให้ฟังด้วย... ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 492  เมื่อ 09 มิ.ย. 11, 11:22

ตามโจทย์ที่คุณเพ็ญฯ ให้ผมมานั้น
ผมได้ไปอ่านดูแล้ว  เห็นว่า คำแปลของฝรั่งยังเก็บความไม่ครบถ้วน
จึงว่าคิดจะย้อนไปเอาโศลกภาษาสันสกฤตในเรื่องรามายณะ
ตรงตอนที่ฝรั่งคนนั้นเอามาแต่งแปลเป็นภาษาอังกฤษนั้น
มาแปลเลยทีเดียวเลยจะได้อรรถรสดีกว่าฉบับแปลภาษาอังกฤษ
และจะได้ทราบด้วยว่าอรรถรสเดิมในภาษาสันสกฤตนั้นเป็นเช่นไร
และเรื่องของนางอัญชนามารดาของหนุมานมาปรากฏในเรื่องรามายณะ
ตอนใด  ใครเป็นคนเล่า  และเล่าไว้ทำไม

ผมกำลังแปลโศลกภาษาสันสกฤตดังกล่าวอยู่  อาจจะต้องใช้เวลาอีกพอสมควร
ยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะเอามาลงเมื่อไร   แต่คิดว่าน่าจะก่อนวันแม่แห่งชาติ

ไม่ต้องห่วงเรื่องกระทู้นี้ตกกระดานหรอกครับ
กระทู้ตกกระดานเป็นเรื่องธรรมดา   กระทู้เกิดใหม่มีหลายกระทู้
กระทู้เก่าๆ ก็ย่อมตกกระดานไป  แต่ถ้าเป็นกระทู้ดีมีคุณค่าแล้ว
ถึงจะตกกระดานไป  ก็ยังคงมีคนไปตามอ่านใน General Category จนได้
อย่าได้กังวลไปเลย
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 493  เมื่อ 09 มิ.ย. 11, 11:32

อยากให้คุณหลวงตั้งคอร์สสอนการอ่านอักษรเทวะนาครี  จุมพิต จุมพิต จุมพิต

ก็ได้  คอร์สละ ๒๐,๐๐๐  บาท  สอนตามอารมณ์คนสอน
และอาจจะเก็บค่าเรียนเพิ่มหากเป็นช่วงที่คนสอนกำลังหาหนังสือดีเข้ากรุ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 494  เมื่อ 09 มิ.ย. 11, 11:41

อยากให้คุณหลวงตั้งคอร์สสอนการอ่านอักษรเทวะนาครี  จุมพิต จุมพิต จุมพิต

ก็ได้  คอร์สละ ๒๐,๐๐๐  บาท  สอนตามอารมณ์คนสอน
และอาจจะเก็บค่าเรียนเพิ่มหากเป็นช่วงที่คนสอนกำลังหาหนังสือดีเข้ากรุ


สนใจหนังสือกรุวังหน้าไหม เดี๋ยวจะลองทาบทามให้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 31 32 [33] 34 35 ... 46
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.081 วินาที กับ 20 คำสั่ง