เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 30 31 [32] 33 34 ... 46
  พิมพ์  
อ่าน: 272503 ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 465  เมื่อ 30 พ.ค. 11, 16:16


คำถามข้อย่อยข้อที่ ๙๙.๐๕

ดูภาพด้านล่างแล้วตอบ
๑.ภาพนี้เป็นภาพรามเกียรติ์ตอนใด  จงเล่าเรื่องอธิบายภาพมา  (๑๐  คะแนน)
๒.ภาพนี้วาดอยู่ที่ไหน   ที่แห่งนั้นสำคัญอย่างไร  จงเล่ามา อย่างละเอียด  (๑๕  คะแนน)
๓.ภาพวาดนี้มีประวัติการซ่อมแซมอย่างไร  เล่ามา (๕ คะแนน)

ตอบได้ครบ  ๓ ข้อ ถูกต้องครบถ้วน เอาไป ๓๐  คะแนน
ตอบได้บางข้อ ได้คะแนนตามข้อนั้นๆ
สะกดผิด  หักที่ละ  ๒ คะแนน   คนที่ตอบถูกคนแรกได้เต็ม
คนตอบถูกซ้ำคำถามคนต่อไป  หักคะแนนออก ๓ คะแนนในทุกคำตอบข้อที่ตอบถูก

ตอบมาที่หน้าม่าน  ภายในสิ้นเดือนพฤษภาคม  ศกนี้  เวลา ๒๔.๐๐ น.
พ้นกำหนดนี้   ไม่ตรวจ  ถึงตอบถูกก็ไม่ให้คะแนน

หนูดีดีขอตอบค่ะ  ยิงฟันยิ้ม

๑.ภาพนี้เป็นภาพรามเกียรติ์ตอนใด  จงเล่าเรื่องอธิบายภาพมา
ภาพข้างบนนี้เป็นภาพรามเกียรติ์ ตอนศึกภุมภกรรณ
จับความตั้งแต่ สุครีพถอนต้นรัง(ภาพบน) จนอ่อนแรงและเป็นเหตุให้พลาดพลั้งเสียทีในการต่อสู้
สุครีพถูกกุมภกรรณโถมทะยานเข้าใส่ (ภาพกลาง)
ในที่สุด กุมภกรรณก็สามารถหนีบสุครีพไว้ใต้ซอกรักแร้(ภาพล่าง)

๒.ภาพนี้วาดอยู่ที่ไหน   ที่แห่งนั้นสำคัญอย่างไร  จงเล่ามา อย่างละเอียด
ภาพวาดนี้เป็นผลงานของพระอาจารย์นาค วาดไว้บนแผ่นไม้ด้านข้างและเหนือประตูทางเข้า ในหอพระไตรปิฎก วัดระฆังโฆสิตาราม
หอพระไตรปิฎกนี้เคยเป็นพระตำหนักและหอประทับนั่งของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขณะทรงรับราชการในสมัยธนบุรี และโปรดเกล้าฯ ให้รื้อมาถวายวัด เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว มีพระราชประสงค์จะบูรณปฏิสังขรณ์ให้สวยงามเพื่อเป็นหอพระไตรปิฎก

๓.ภาพวาดนี้มีประวัติการซ่อมแซมอย่างไร  เล่ามา
อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ ( ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖) ได้ทำการซ่อมแซมภาพวาด และอนุรักษ์หอพระไตรปิฎก วัดระฆังโฆสิตาราม แล้วเสร็จสมบูรณ์ทันฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ และได้รับการยกย่องว่า เป็นงานบูรณะที่มีรูปแบบของการอนุรักษ์ศิลปกรรมที่สมบูรณ์ที่สุด

อาจารย์เฟื้อเริ่มสนใจศิลปกรรมในหอไตร วัดระฆังฯ ตั้งแต่กลับจากอินเดียประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๙ โดยแวะเวียนหมั่นไปเยี่ยมชมอยู่เนือง ๆ ควบคู่กับใช้น้ำยาทำความสะอาดภาพเขียนนับครั้งไม่ถ้วน จากแผ่นไม้มืดคล้ำดำทึบ มองไม่เห็นรายละเอียดไร้ร่องรอยของงานจิตรกรรมใด ๆ อยู่เลย จนกระทั่งภาพเขียนค่อย ๆ ปรากฏขึ้นทีละน้อย ดังพระดำรัสของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ที่ว่า "ภาพเขียนบนฝาปะกนทั้งสองฝา (ด้านตะวันออกและตะวันตก) นั้น เป็นฝีมือพระอาจารย์นาค นอกนั้นเป็นฝีมืออาจารย์อื่นที่ไม่ทราบนาม คาดว่ามีอยู่หลายท่านด้วยกัน"
เมื่อพบภาพเขียนของพระอาจารย์นาค ที่อยากเห็นแล้ว อาจารย์เฟื้อก็ทำเรื่องเสนอกรมศิลปากร เพื่อขอย้ายภาพทั้งสองนี้ไปเก็บไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ
จากนั้นในปีพ.ศ. ๒๕๑๑ ทางวัดได้หาช่างมารื้อกุฏิเพื่อจะได้เปลี่ยนเสาที่เริ่มผุ อาจารญ์เฟื้อเห็นว่าจะกระทบกับภาพเขียนนี้ด้วย จึงขอให้อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ช่วยเจรจากับทางวัด ผลคือได้มีการก่อตั้งคณะกรรมการบูรณะหอไตรขึ้น เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๑๑ และงานบูรณะหอไตร ฯ เริ่มต้นขึ้นในวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๑๓ (ใช้เวลาในการ วางแผน ระดมเงินทุน กำหนดรายละเอียดว่าจะซ่อมแซมเปลี่ยนแปลงแก้ไขอย่างไร ประมาณ ๒ ปี) การบูรณะเสร็จสิ้นลงเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๑๔ รวมเป็นเวลา ๑ ปี กับ ๔ เดือนครึ่ง โดยได้มีการย้ายที่ตั้งหอไตร จากตำแหน่งเดิมในเขตสังฆาวาส ใกล้ ๆ เมรุเผาศพ มาอยู่ข้างพระวิหาร ในเขตพุทธาวาส เปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคา, เสาบางต้น ไม้กระดานปูพื้น, รางน้ำฝน, เสาต่อม่อ ฯลฯ
งานของอาจารย์เฟื้อยังไม่เสร็จ “หน้าที่ผมหลังจากย้ายหอพระไตรมาแล้ว ก็รักษาภาพ ผมมานั่งล้างความสกปรกอยู่หลายปี พยายามเสาะหาน้ำยาดี ๆ ที่ใช้ในการอนุรักษ์มาใช้.."

จากจุดเริ่มต้นเพียงแค่อยากเห็นจิตรกรรมฝีมือพระอาจารย์นาค นำมาสู่การทำความสะอาดเพื่อให้สามารถมองเห็นผลงานของปรมาจารย์, คลี่คลายมาเป็นการซ่อมแซมบูรณะหอไตรฯ ที่ผุเก่าจวนพัง ให้กลับมาสวยงามมั่นคง ท้ายสุดอาจารย์เฟื้อก็เยียวยาแทบทุกตารางนิ้วในหอไตรฯ
บันทึกการเข้า
bangplama
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 466  เมื่อ 30 พ.ค. 11, 17:18

๑.ตอนศึกภุมภกรรณ เริ่มตั้งแต่สุครีพถอนต้นรังจนอ่อนแรง(ภาพ ๑)
                            ตามด้วยการต่อสู้กับกุมภกรรณ(ภาพ๒)
                            และเป็นเหตุให้พลาดพลั้งเสียทีในการต่อสู้ (ภาพ๓)
                           
๒.ผลงานของพระอาจารย์นาค     สัณนิษฐานว่าท่านเป็นจิตรกรในสมัยอยุธยาตอนปลาย ที่มีชีวิตยืนยาวล่วง
มาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๑แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ท่านเขียน(วาด)ไว้ บนแผ่นไม้ทั้งด้านข้างและเหนือประตูทางเข้าในหอไตร วัดระฆังฯ  ธนบุรี
จัดเป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่แฝงความรู้สึกนึกคิด ชีวิต และวิญญาณของผู้คนในยุคกรุงเก่า   เป็นตัวอย่างความสืบเนื่องของ
งานศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลายและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

๓.อาจารย์เฟื้อ  หริพิทักษ์ ท่านเริ่มสนใจศิลปกรรมในหอไตร วัดระฆังฯ ตั้งแต่กลับจากอินเดียประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๙ และพยายามใช้น้ำยาทำความสะอาดลงบนฝาปะกนทั้งสองฝา (ด้านตะวันออกและตะวันตก) จากแผ่นไม้มืดคล้ำดำทึบ มองไม่เห็นรายละเอียดไร้ร่องรอยของงานจิตรกรรมใด ๆ อยู่เลย จนกระทั่งภาพเขียนค่อย ๆ ปรากฏขึ้นทีละน้อย เมื่อเช็ดทำความสะอาด ยิ่งเช็ดมากขึ้น ดูง่ายขึ้น จึงประจักษ์สมดังพระดำรัสของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ว่า ภาพเขียนบนฝาปะกนทั้งสองฝานั้น เป็นฝีมือพระอาจารย์นาคแน่นอน นอกนั้นเป็นฝีมืออาจารย์อื่นที่ไม่ทราบนาม คาดว่ามีอยู่หลายท่านด้วยกัน
ท่านจึงทำการอนุรักษ์ส่วนของภาพตั้งแต่ปี ๒๕๑๔-๒๕๒๕ใช้เวลา ๑๐กว่าปี จึงเสร็จทันการสมโภชกรุง ๒๐๐ปี

บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 467  เมื่อ 30 พ.ค. 11, 21:58


คำถามข้อย่อยข้อที่ ๙๙.๐๕

ดูภาพด้านล่างแล้วตอบ
๑.ภาพนี้เป็นภาพรามเกียรติ์ตอนใด  จงเล่าเรื่องอธิบายภาพมา  (๑๐  คะแนน)
๒.ภาพนี้วาดอยู่ที่ไหน   ที่แห่งนั้นสำคัญอย่างไร  จงเล่ามา อย่างละเอียด  (๑๕  คะแนน)
๓.ภาพวาดนี้มีประวัติการซ่อมแซมอย่างไร  เล่ามา (๕ คะแนน)

ตอบได้ครบ  ๓ ข้อ ถูกต้องครบถ้วน เอาไป ๓๐  คะแนน
ตอบได้บางข้อ ได้คะแนนตามข้อนั้นๆ
สะกดผิด  หักที่ละ  ๒ คะแนน   คนที่ตอบถูกคนแรกได้เต็ม
คนตอบถูกซ้ำคำถามคนต่อไป  หักคะแนนออก ๓ คะแนนในทุกคำตอบข้อที่ตอบถูก

ตอบมาที่หน้าม่าน  ภายในสิ้นเดือนพฤษภาคม  ศกนี้  เวลา ๒๔.๐๐ น.
พ้นกำหนดนี้   ไม่ตรวจ  ถึงตอบถูกก็ไม่ให้คะแนน

วันนี้ไปราชการมาทั้งวัน
ตกเย็นเล่นกีฬา ตกค่ำเลี้ยงสังสรรค์

เค้าตอบกันไปหมดแล้ว
ไม่อยากซ้ำรอยใคร

ไปนั่งแอบดูสงครามพระเจ้าเชียงใหม่แถวป่าจิกป่ากระทุ่มดีกว่าจ้า ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 468  เมื่อ 30 พ.ค. 11, 22:06


คำถามข้อย่อยข้อที่ ๙๙.๐๕

ดูภาพด้านล่างแล้วตอบ
๑.ภาพนี้เป็นภาพรามเกียรติ์ตอนใด  จงเล่าเรื่องอธิบายภาพมา  (๑๐  คะแนน)
๒.ภาพนี้วาดอยู่ที่ไหน   ที่แห่งนั้นสำคัญอย่างไร  จงเล่ามา อย่างละเอียด  (๑๕  คะแนน)
๓.ภาพวาดนี้มีประวัติการซ่อมแซมอย่างไร  เล่ามา (๕ คะแนน)

ตอบได้ครบ  ๓ ข้อ ถูกต้องครบถ้วน เอาไป ๓๐  คะแนน
ตอบได้บางข้อ ได้คะแนนตามข้อนั้นๆ
สะกดผิด  หักที่ละ  ๒ คะแนน   คนที่ตอบถูกคนแรกได้เต็ม
คนตอบถูกซ้ำคำถามคนต่อไป  หักคะแนนออก ๓ คะแนนในทุกคำตอบข้อที่ตอบถูก

ตอบมาที่หน้าม่าน  ภายในสิ้นเดือนพฤษภาคม  ศกนี้  เวลา ๒๔.๐๐ น.
พ้นกำหนดนี้   ไม่ตรวจ  ถึงตอบถูกก็ไม่ให้คะแนน

วันนี้ไปราชการมาทั้งวัน
ตกเย็นเล่นกีฬา ตกค่ำเลี้ยงสังสรรค์

เค้าตอบกันไปหมดแล้ว
ไม่อยากซ้ำรอยใคร

ไปนั่งแอบดูสงครามพระเจ้าเชียงใหม่แถวป่าจิกป่ากระทุ่มดีกว่าจ้า ยิงฟันยิ้ม


เช่นกัน ติดธุระนายวง ทั้งวัง กลับมาไม่อยากซ้ำรอยคุณอาร์ท  แลบลิ้น
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 469  เมื่อ 31 พ.ค. 11, 08:30


วันนี้ไปราชการมาทั้งวัน
ตกเย็นเล่นกีฬา ตกค่ำเลี้ยงสังสรรค์

เค้าตอบกันไปหมดแล้ว
ไม่อยากซ้ำรอยใคร

ไปนั่งแอบดูสงครามพระเจ้าเชียงใหม่แถวป่าจิกป่ากระทุ่มดีกว่าจ้า ยิงฟันยิ้ม



เช่นกัน ติดธุระนายวง ทั้งวัง กลับมาไม่อยากซ้ำรอยคุณอาร์ท  แลบลิ้น

เป็นเหตุผล (ภาษาปากว่า ข้ออ้าง) ในการเลี่ยงทัพยามสงครามที่น่าสนใจ
ที่ไม่ลงทำศึก  คงไม่เกี่ยวกับว่า  ถึงตอบถูก  ก็ไม่พ้นต้องถูกตัดคะแนน
เพราะตอบซ้ำคนอื่น  ใช่ไหม
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 470  เมื่อ 31 พ.ค. 11, 11:06


วันนี้ไปราชการมาทั้งวัน
ตกเย็นเล่นกีฬา ตกค่ำเลี้ยงสังสรรค์

เค้าตอบกันไปหมดแล้ว
ไม่อยากซ้ำรอยใคร

ไปนั่งแอบดูสงครามพระเจ้าเชียงใหม่แถวป่าจิกป่ากระทุ่มดีกว่าจ้า ยิงฟันยิ้ม



เช่นกัน ติดธุระนายวง ทั้งวัง กลับมาไม่อยากซ้ำรอยคุณอาร์ท  แลบลิ้น

เป็นเหตุผล (ภาษาปากว่า ข้ออ้าง) ในการเลี่ยงทัพยามสงครามที่น่าสนใจ
ที่ไม่ลงทำศึก  คงไม่เกี่ยวกับว่า  ถึงตอบถูก  ก็ไม่พ้นต้องถูกตัดคะแนน
เพราะตอบซ้ำคนอื่น  ใช่ไหม


ใต้เท้าคิดมากแล้วขอรับ

กระผมเพียงแต่เลี่ยงทางให้ช้างต้นคนสุพรรณ (เอ๊ะ หรือคนนครนายก)
กับคุณหนูแสนน่ารัก เท่านั้นเองขอรับ

ช่วงนี้เรียกว่า "ช่วงผลัดใบ"

คิดมากๆๆ แลบลิ้น
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 471  เมื่อ 31 พ.ค. 11, 11:11

มาตอบไม่ทันเขา  จะอ้างอะไรก็อ้างได้สารพัด
น่าฟังทั้งนั้น 

ผมไม่ใช่คนคิดมาก   แต่คิดไม่เหมือนคนบางคนที่คิดเข้าข้างตนเอง
ก็เท่านั้น
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 472  เมื่อ 31 พ.ค. 11, 11:17

มาตอบไม่ทันเขา  จะอ้างอะไรก็อ้างได้สารพัด
น่าฟังทั้งนั้น 

ผมไม่ใช่คนคิดมาก   แต่คิดไม่เหมือนคนบางคนที่คิดเข้าข้างตนเอง
ก็เท่านั้น

เอ๊ะ ตกใจ

ใครกันน่ะ "คนที่คิดเข้าข้างตนเอง"

(นายวงหายไปไหน ไม่มาช่วยกันบ้างเลย โดนอยู่คนเดียว)
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 473  เมื่อ 31 พ.ค. 11, 11:53

อะไรกัน  ร้องหาพวกเหรอ  ช่วงนี้นายวงไม่ค่อยว่างหรอก
เพราะต้องออกรอบเวียนไปรำที่วงอื่นด้วย 
ทราบว่า  อุปกรณ์ทำมาหากินก็เพิ่งมีปัญหาด้วย
ช่วยเหลือตัวเองไปก่อนดีกว่ามั้ง
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 474  เมื่อ 31 พ.ค. 11, 14:20


หนูดีดีขอตอบค่ะ  ยิงฟันยิ้ม

๑.ภาพนี้เป็นภาพรามเกียรติ์ตอนใด  จงเล่าเรื่องอธิบายภาพมา

ภาพข้างบนนี้เป็นภาพรามเกียรติ์ ตอนศึกภุมภกรรณ
จับความตั้งแต่ สุครีพถอนต้นรัง(ภาพบน) จนอ่อนแรงและเป็นเหตุให้พลาดพลั้งเสียทีในการต่อสู้
สุครีพถูกกุมภกรรณโถมทะยานเข้าใส่ (ภาพกลาง)
ในที่สุด กุมภกรรณก็สามารถหนีบสุครีพไว้ใต้ซอกรักแร้(ภาพล่าง)

๒.ภาพนี้วาดอยู่ที่ไหน   ที่แห่งนั้นสำคัญอย่างไร  จงเล่ามา อย่างละเอียด

ภาพวาดนี้เป็นผลงานของพระอาจารย์นาค วาดไว้บนแผ่นไม้ด้านข้างและเหนือประตูทางเข้า
ในหอพระไตรปิฎก วัดระฆังโฆสิตาราม
หอพระไตรปิฎกนี้เคยเป็นพระตำหนักและหอประทับนั่ง
ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ขณะทรงรับราชการในสมัยธนบุรี และโปรดเกล้าฯ ให้รื้อมาถวายวัด
เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว มีพระราชประสงค์จะบูรณปฏิสังขรณ์ให้สวยงาม
เพื่อเป็นหอพระไตรปิฎก

๓.ภาพวาดนี้มีประวัติการซ่อมแซมอย่างไร  เล่ามา

อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ ( ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๒๘
ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖)
ได้ทำการซ่อมแซมภาพวาด และอนุรักษ์หอพระไตรปิฎก วัดระฆังโฆสิตาราม
แล้วเสร็จสมบูรณ์ทันฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕
และได้รับการยกย่องว่า เป็นงานบูรณะที่มีรูปแบบของการอนุรักษ์ศิลปกรรมที่สมบูรณ์ที่สุด

อาจารย์เฟื้อเริ่มสนใจศิลปกรรมในหอไตร วัดระฆังฯ ตั้งแต่กลับจากอินเดีย
ประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๙ โดยแวะเวียนหมั่นไปเยี่ยมชมอยู่เนือง ๆ
ควบคู่กับใช้น้ำยาทำความสะอาดภาพเขียนนับครั้งไม่ถ้วน จากแผ่นไม้มืดคล้ำดำทึบ
มองไม่เห็นรายละเอียดไร้ร่องรอยของงานจิตรกรรมใด ๆ อยู่เลย
จนกระทั่งภาพเขียนค่อย ๆ ปรากฏขึ้นทีละน้อย ดังพระดำรัส
ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ที่ว่า "ภาพเขียนบนฝาปะกนทั้งสองฝา
(ด้านตะวันออกและตะวันตก) นั้น เป็นฝีมือพระอาจารย์นาค
นอกนั้นเป็นฝีมืออาจารย์อื่นที่ไม่ทราบนาม คาดว่ามีอยู่หลายท่านด้วยกัน"
เมื่อพบภาพเขียนของพระอาจารย์นาค ที่อยากเห็นแล้ว
อาจารย์เฟื้อก็ทำเรื่องเสนอกรมศิลปากร เพื่อขอย้ายภาพทั้งสองนี้
ไปเก็บไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ

จากนั้นในปีพ.ศ. ๒๕๑๑ ทางวัดได้หาช่างมารื้อกุฏิ
เพื่อจะได้เปลี่ยนเสาที่เริ่มผุ อาจารญ์เฟื้อเห็นว่าจะกระทบกับภาพเขียนนี้ด้วย
จึงขอให้อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ช่วยเจรจากับทางวัด
ผลคือได้มีการก่อตั้งคณะกรรมการบูรณะหอไตรขึ้น
เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๑๑ และงานบูรณะหอไตร ฯ
เริ่มต้นขึ้นในวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๑๓ (ใช้เวลาในการ วางแผน
ระดมเงินทุน กำหนดรายละเอียดว่าจะซ่อมแซมเปลี่ยนแปลงแก้ไขอย่างไร ประมาณ ๒ ปี)
การบูรณะเสร็จสิ้นลงเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๑๔ รวมเป็นเวลา ๑ ปี กับ ๔ เดือนครึ่ง
โดยได้มีการย้ายที่ตั้งหอไตร จากตำแหน่งเดิมในเขตสังฆาวาส ใกล้ ๆ เมรุเผาศพ
มาอยู่ข้างพระวิหาร ในเขตพุทธาวาส เปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคา,
เสาบางต้น ไม้กระดานปูพื้น, รางน้ำฝน, เสาต่อม่อ ฯลฯ
งานของอาจารย์เฟื้อยังไม่เสร็จ “หน้าที่ผมหลังจากย้ายหอพระไตรมาแล้ว
ก็รักษาภาพ ผมมานั่งล้างความสกปรกอยู่หลายปี พยายามเสาะหาน้ำยาดี ๆ
ที่ใช้ในการอนุรักษ์มาใช้.."

จากจุดเริ่มต้นเพียงแค่อยากเห็นจิตรกรรมฝีมือพระอาจารย์นาค
นำมาสู่การทำความสะอาดเพื่อให้สามารถมองเห็นผลงานของปรมาจารย์,
คลี่คลายมาเป็นการซ่อมแซมบูรณะหอไตรฯ ที่ผุเก่าจวนพัง ให้กลับมาสวยงามมั่นคง
ท้ายสุดอาจารย์เฟื้อก็เยียวยาแทบทุกตารางนิ้วในหอไตรฯ

ตอบได้ละเอียดครบถ้วนดี ทันเวลาที่กำหนด  สะกดถูกต้อง
เอาไป ๓๐ คะแนน 
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 475  เมื่อ 31 พ.ค. 11, 14:25

๑.ตอนศึกภุมภกรรณ เริ่มตั้งแต่สุครีพถอนต้นรังจนอ่อนแรง(ภาพ ๑)
                            ตามด้วยการต่อสู้กับกุมภกรรณ(ภาพ๒)
                            และเป็นเหตุให้พลาดพลั้งเสียทีในการต่อสู้ (ภาพ๓)
(๑๐ - ๓  เหลือ ๗ คะแนน)
                           

๒.ผลงานของพระอาจารย์นาค     สัณนิษฐานว่าท่านเป็นจิตรกร
ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ที่มีชีวิตยืนยาวล่วง มาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ท่านเขียน(วาด)ไว้ บนแผ่นไม้ทั้งด้านข้างและเหนือประตูทางเข้าในหอไตร
วัดระฆังฯ  ธนบุรี จัดเป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่แฝงความรู้สึกนึกคิด ชีวิต
และวิญญาณของผู้คนในยุคกรุงเก่า   เป็นตัวอย่างความสืบเนื่อง
ของงานศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลายและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (๑๕ - ๓ - ๒  เหลือ ๑๐ คะแนน)

๓.อาจารย์เฟื้อ  หริพิทักษ์ ท่านเริ่มสนใจศิลปกรรมในหอไตร
วัดระฆังฯ ตั้งแต่กลับจากอินเดียประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๙
และพยายามใช้น้ำยาทำความสะอาดลงบนฝาปะกนทั้งสองฝา
(ด้านตะวันออกและตะวันตก) จากแผ่นไม้มืดคล้ำดำทึบ
มองไม่เห็นรายละเอียดไร้ร่องรอยของงานจิตรกรรมใด ๆ อยู่เลย
จนกระทั่งภาพเขียนค่อย ๆ ปรากฏขึ้นทีละน้อย เมื่อเช็ดทำความสะอาด
ยิ่งเช็ดมากขึ้น ดูง่ายขึ้น จึงประจักษ์สมดังพระดำรัส
ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ว่า ภาพเขียนบนฝาปะกนทั้งสองฝานั้น
เป็นฝีมือพระอาจารย์นาคแน่นอน นอกนั้นเป็นฝีมืออาจารย์อื่น
ที่ไม่ทราบนาม คาดว่ามีอยู่หลายท่านด้วยกัน
ท่านจึงทำการอนุรักษ์ส่วนของภาพตั้งแต่ปี ๒๕๑๔-๒๕๒๕
ใช้เวลา ๑๐ กว่าปี จึงเสร็จทันการสมโภชกรุง ๒๐๐ปี
(๕-๓  เหลือ ๒  คะแนน)

รวมแล้วได้  ๑๙  คะแนน ครับ 
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 476  เมื่อ 31 พ.ค. 11, 14:53

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 477  เมื่อ 03 มิ.ย. 11, 10:40

คำถามข้อย่อยข้อที่ ๙๙.๐๖
คำถามข้อนี้เป็นคำถามอันสืบเนื่องมาจากโจทย์ของคุณเพ็ญชมพูให้ผมไว้แต่คราวก่อน

จงเล่าเรื่องราวของนางอัปสรที่ชื่อ "ปุญชิกสถลา"
มาให้ละเอียดที่สุด   ราคา  ๓๐ คะแนน
สะกดผิด หักคะแนนที่ละ ๒ คะแนน
ตอบหน้าม่าน   ตั้งแต่บัดนี้จนกระทั่งถึงเวลา  ๑๕.๐๐ น.
และตั้งแต่เวลา ๑๕.๐๑ น.เป็นต้นไป  คะแนนจะลดลง เหลือ ๒๐ คะแนน
และถ้าพ้นเวลา ๒๔.๐๐ น.ของวันที่  ๓  มิถุนายน  ๒๕๕๔ ไปแล้ว
คะแนนลดลงเหลือ ๑๐ คะแนน

จึงแจ้งมาให้ทราบโดยทั่วกัน

ป.ล.  จงใส่ที่มาแหล่งข้อมูลที่ใช้อ้างอิงลงในท้ายคำตอบด้วย
         ไม่เช่นนั้น   หัก  ๑๐  คะแนน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 478  เมื่อ 03 มิ.ย. 11, 10:53

คำถามข้อย่อยข้อที่ ๙๙.๐๖
คำถามข้อนี้เป็นคำถามอันสืบเนื่องมาจากโจทย์ของคุณเพ็ญชมพูให้ผมไว้แต่คราวก่อน

จงเล่าเรื่องราวของนางอัปสรที่ชื่อ "ปุญชิกสถลา"
มาให้ละเอียดที่สุด   ราคา  ๓๐ คะแนน
สะกดผิด หักคะแนนที่ละ ๒ คะแนน
ตอบหน้าม่าน   ตั้งแต่บัดนี้จนกระทั่งถึงเวลา  ๑๕.๐๐ น.
และตั้งแต่เวลา ๑๕.๐๑ น.เป็นต้นไป  คะแนนจะลดลง เหลือ ๒๐ คะแนน
และถ้าพ้นเวลา ๒๔.๐๐ น.ของวันที่  ๓  มิถุนายน  ๒๕๕๔ ไปแล้ว
คะแนนลดลงเหลือ ๑๐ คะแนน

จึงแจ้งมาให้ทราบโดยทั่วกัน

นางอัญชนาเคยเป็นนางฟ้าบนสวรรค์มาก่อน ตอนที่อยู่บนสวรรค์ชื่อว่านางปุญชิกาสถาลา
ต่อมาถูกสาปให้เป็นนางพญาวานรชื่อนางอัญชนา
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 479  เมื่อ 03 มิ.ย. 11, 10:59

ปุญชิกสถาลา เป็นธิดาของสุริยเทพและชายาของวายุเทพ วันหนึ่ง ๒ สามีภรรยาไปเที่ยวป่าเล่นน้ำกันจนน้ำกระเด็นไปโดนฤๅษีนาม  มะตัง ฤๅษีไม่พอใจจึงสาปให้นางกลายเป็นลิง และบอกวิธีถอนคำสาปคือให้ไปบูชาพระศิวะแล้วจะคืนร่างเดิม ขณะเดียวกันท้าวเกศรีออกป่าล่าสัตว์จนเข้าไปถึงในอาศรมฤๅษี พระฤๅษีไม่พอใจการที่มีคนมาฆ่าสัตว์ตัดชีวิตในอาศรมและยังเป็นการรบกวนการทำสมณกิจของฤๅษี จึงสาปให้กลายเป็นลิง วิธีถอนคำสาปก็เช่นเดียวกัน

เมื่อทั้งสองกลายเป็นลิงแล้ว จึงมาบูชาพระศิวะเพื่อแก้คำสาปพร้อมกันโดยบังเอิญ พระศิวะพอใจแล้วมอบพรว่าให้ทั้งคู่ไปเกิดเป็นพญาวานรในชาติต่อไป นางปุญชิกสถาลาไปเกิดเป็นธิดาพญาวานร ชื่อว่านางอัญชนา และได้แต่งงานกับท้าวเกศรี พระศิวะจึงสั่งให้วายุเทพนำดวงไฟอวตารไปใส่ครรภ์ของนางอัญชนา แต่ก่อนไปวายุเทพได้ขอพรให้ตนได้เป็นพ่อของลูกนางอัญชนาด้วยเพราะอดีตชาติของนางคือภรรยาของตน ลูกของนางในชาตินี้ก็เหมือนลูกของตน หลังจากเกิดมาหนุมานก็นับถือวายุเทพเหมือนพ่ออีกคนหนึ่ง จึงมีอีกชื่อหนึ่งคือ วายุบุตรหรือพาวันบุตร หมายถึงบุตรของเทพแห่งลม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 30 31 [32] 33 34 ... 46
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 20 คำสั่ง