เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24 25 ... 46
  พิมพ์  
อ่าน: 271692 ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 330  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 13:35

ปฏิทินอาราย..กันเนี่ย  ฮืม

เรียนถามคุณ luanglek ค่ะ
ข้อนี้ วันขึ้น หรือวันแรมคะ (พอดีเจอแต่ข้อมูลวันแรมค่ะ เลยเรียนถามเพื่อความแน่ใจ)

๓.วันขึ้น  ๑๐  ค่ำ  เดือน  ๑๑

อ้อ  อันนี้เป็นปฏิทินฮินดูของชาวแคว้นเบงกอล ที่ใช้อักษรเบงคาลีเขียน   อาจจะไม่คุ้นตา
เพราะตัวอักษรหลายตัวเขียนแตกต่างจากอักษรเทวนาครีมาก   คุณไซมีสก็ช่างค้นหามาเสนอดีแท้
มีปฏิทินของชาวแคว้นอื่นๆ ให้ดูอีกไหม  อยากดูอีก (ไม่มีคะแนนให้หรอกครับ)

ส่วนข้อ ๓  วันขึ้น  ๑๐  ค่ำ  เดือน  ๑๑  ที่คุณดีดีสงสัยนั้น 
ใช่ครับ  ที่ถูกต้องเป็นวันข้างแรมครับ   ผมกำลังดูว่าใครจะสังเกตบ้าง
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 331  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 13:40

คำถามข้อที่ ๙๗.

รามเกียรติ์กับการใช้บนเกี่ยวข้องกันอย่างไร ?
จงอธิบายมาอย่างละเอียด 

ราคา  ๓๐ คะแนน
ตอบหน้าม่าน   เริ่มตอบวันเนา
เพลาย่ำรุ่งแล้ว ๒ นาฬิกา  ๕ บาท

ตอบก่อนเพลา  ไม่ตรวจ 
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 332  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 14:35

ปฏิทินอาราย..กันเนี่ย  ฮืม

เรียนถามคุณ luanglek ค่ะ
ข้อนี้ วันขึ้น หรือวันแรมคะ (พอดีเจอแต่ข้อมูลวันแรมค่ะ เลยเรียนถามเพื่อความแน่ใจ)

๓.วันขึ้น  ๑๐  ค่ำ  เดือน  ๑๑

อ้อ  อันนี้เป็นปฏิทินฮินดูของชาวแคว้นเบงกอล ที่ใช้อักษรเบงคาลีเขียน   อาจจะไม่คุ้นตา
เพราะตัวอักษรหลายตัวเขียนแตกต่างจากอักษรเทวนาครีมาก   คุณไซมีสก็ช่างค้นหามาเสนอดีแท้
มีปฏิทินของชาวแคว้นอื่นๆ ให้ดูอีกไหม  อยากดูอีก (ไม่มีคะแนนให้หรอกครับ)

ส่วนข้อ ๓  วันขึ้น  ๑๐  ค่ำ  เดือน  ๑๑  ที่คุณดีดีสงสัยนั้น 
ใช่ครับ  ที่ถูกต้องเป็นวันข้างแรมครับ   ผมกำลังดูว่าใครจะสังเกตบ้าง


ปฏิทินแบบนี้เรียบง่าย ไม่รกเท่าอันแรก  แลบลิ้น


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 333  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 14:43

คำถามข้อที่ 97 เข้าทางท่าน siamese เลยค่ะ..  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 334  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 14:46

ปฏิทินอักษรคุชราตี   ตัวอักษรคล้ายอักษรเทวนาครีเป็นส่วนใหญ่ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 335  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 18:06

คำถามข้อที่ ๙๖.

จงคิดว่าคำถามนี้ง่ายเหลือเกิน แล้วพิมพ์คำตอบส่งมาก่อนวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๔

๑.วันขึ้น  ๙  ค่ำ  เดือน ๕

๒.วันขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือน ๕

๓.วันขึ้น  ๑๐  ค่ำ  เดือน  ๑๑

กติกาการตอบข้อนี้   ให้พิมพ์ตอบด้วยภาษาไทยเท่านั้น  และต้องถูกต้องด้วย
พิมพ์ตอบมาหน้าม่าน  ได้ตั้งแต่เวลา  ๑๘.๐๐ น.  ของวันที่ ๑๑ เมษายน  ๒๕๕๔
ข้อละ  ๕  คะแนน  ตอบถูกหมดได้ ๑๕ คะแนน  
มีรูปภาพประกอบ  ตั้งแต่ ๓ ภาพขึ้นไป  ให้เพิ่มอีก ๕ คะแนน

ขอให้โชคดีในเทศกาลสงกรานต์ ปีเถาะ  ตรีศก  ๑๓๗๓  ยิงฟันยิ้ม
  

ขอตอบค่ะ  ยิงฟันยิ้ม

1.วัน ราม นวมี ตรงกับวัน ขึ้น 9 ค่ำ  เดือน 5 (ปี 2554 ตรงกับวันที่  12 เมษายน 2554)
การอวตารของพระนารายณ์ลงมาเป็นพระรามนั้น ในมหากาพย์รามายณะกล่าวว่าพระรามได้ประสูติตรงกับวันขึ้น 5 ค่ำเดือนจิตรา (เดือน 5 ไทย) โดยมีชื่อเรียกวันนี้แบบเต็มๆ ว่า “จิตรามาสศุกลปักษ์นวมี” จึงถือว่าเป็นวันนักขัตฤกษ์ที่สำคัญวันหนึ่งของชาวฮินดู
ในวันนี้ชาวฮินดูจะประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ไปวัดสวดมนต์ ฟังเทศน์ ฟังธรรม โดยเฉพาะการสวดร่ายรามายณะ หรือการฟังเรื่องราวในมหากาพย์รามเกียรติ์ และจัดพิธีเฉลิมฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่ทั่วประเทศ มีการอัญเชิญพระรามพร้อมพระแม่สีดาและพระลักษมณ์มาเป็นประธานในพิธี การสรงสนานอาบน้ำเทวรูปของพระรามพระแม่สีดาด้วยน้ำปัญจามฤต ซึ่งเป็นน้ำมงคล 5 อย่างอันได้แก่ น้ำนมสด, โยเกิร์ต, น้ำมันเนย, น้ำผึ้ง และน้ำตาลกรวดอ้อย อีกทั้งยังมีการอัญเชิญและสวดบูชาศรีหนุมาน อันเป็นตัวแทนของเหล่าวานรและสาวกที่จงรักภักดีของพระรามด้วย
การเฉลิมฉลองนี้จะมีติดต่อกันไปถึง 9 วัน 9 คืน เหมือนกับงานนวราตรี หรือเทศกาลนวทุรคาบูชา

2.วัน หนุมาน ชยันตี ตรงกับวัน ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ถือเป็นวันกำเนิดของหนุมาน  (ปี 2554 ตรงกับวันที่ 18 เมษายน 2554)
ตามธรรมเนียมของชาวฮินดูจะตั้งรูปปั้นหนุมานพร้อมของถวายต่างๆ ได้แก่ ผงสีแดง เม็ดงา น้ำมันงา กล้วย มาลัยคล้องคอ ใบรัก ใบพลู และในวันนี้จะมีการอ่านบทสวดสรรเสริญหนุมาน การท่องนามอันศักดิ์สิทธิ์ของพระราม ทั้งยังมีการอดอาหารตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนพระอาทิตย์ตกดินเป็นการบูชาด้วย ผู้ที่มาร่วมงานมักจะนำผงสีแดงป้ายบนรูปเคารพหนุมานแล้วนำมาป้ายที่หน้าผากตนเองเพื่อความเป็นสิริมงคล เมื่อสิ้นสุดพิธีกรรมทางวัดมักจะจัดอาหารมังสวิรัตมาเลี้ยงผู้มาร่วมในพิธีหลังจากอดอาหารมาตลอดทั้งวัน

3.วัน ธันเตราส วันแรกของเทศกาล ดีปวาลี(ดิวาลี) ตรงกับวัน แรม 10 ค่ำ เดือน 11 (ซึ่งในปี 2554 นี้ตรงกับ วันที่ 22 ตุลาคม 2554) เป็นการฉลองการกลับมาครองเมืองอโยธยาของพระรามและนางสีดา หลังจากต้องจากบ้านจากเมืองไปนานถึง 14 ปี ชาวอโยธยาจึงจัดพิธีต้อนรับการกลับคืนมายังพระนคร โดยการจุดประทีป โคมไฟ (ดิยา) ตั้งวางเรียงรายเป็นแถวตามถนนหนทาง ตามอาคารบ้านเรือน สว่างไสวไปทั่วทั้งเมือง ดังนั้นจึงถือว่า ดิยา–ตะเกียงดินเผาใบเล็กๆ ใส่น้ำมันเนยเป็นเชื้อเพลิง เป็นสัญญลักษณ์ของงานนี้  
และวันนี้ถือเป็นวันเริ่มเทศกาลขึ้นปีใหม่ของชาวฮินดู ที่เรียกว่า เทศกาลดีปวาลี(ดิวาลี) จะมีการฉลองยาวนานถึง 5 วัน โดยจะมีการทำความสะอาดบ้าน สวมใส่เสื้อใหม่ นำของขวัญและขนมหวานไปกราบขอพรจากญาติๆ และแลกเปลี่ยนกันกับเพื่อนฝูง และวันสุดท้าย ซึ่งก็คือวันเดือนดับ(แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปี 2554 ตรงกับวันที่ 26 ตุลาคม 2554) พวกเขาก็จะออกมาจุดตะเกียงดินเผาอันเล็กๆ (ดิยา) ที่มีน้ำมันอยู่ในตะเกียง โดยจะวางไว้บนหลังคาบ้าน หน้าประตูบ้าน และตามแนวรั้วบ้าน นอกจากนี้ก็ยังมีการจุดพลุ เล่นดอกไม้ไฟ และจุดประทัดเสียงดังเปรี้ยงป้างด้วย






บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 336  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 19:42

คุณหลวง ตั้งกฏเกณฑ์
คุณไซมีส ตอบก่อนเกณฑ์
คุณดีดี ตอบตามเกณฑ์
...
ส่วนข้าเจ้า เป็นอิสระ ไม่ตามกฏเกณฑ์ใคร  ยิงฟันยิ้ม
(ไม่ตอบจ้า เค้าตอบไปแล้ว)
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 337  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 20:04

คุณหลวง ตั้งกฏเกณฑ์
คุณไซมีส ตอบก่อนเกณฑ์
คุณดีดี ตอบตามเกณฑ์
...
ส่วนข้าเจ้า เป็นอิสระ ไม่ตามกฏเกณฑ์ใคร  ยิงฟันยิ้ม
(ไม่ตอบจ้า เค้าตอบไปแล้ว)

เล่นลิ้นน่าดู ... หักคะแนนดีปะ เจ๋ง
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 338  เมื่อ 12 เม.ย. 11, 08:19

คุณหลวง ตั้งกฏเกณฑ์
คุณไซมีส ตอบก่อนเกณฑ์
คุณดีดี ตอบตามเกณฑ์
...
ส่วนข้าเจ้า เป็นอิสระ ไม่ตามกฏเกณฑ์ใคร  ยิงฟันยิ้ม
(ไม่ตอบจ้า เค้าตอบไปแล้ว)

เล่นลิ้นน่าดู ... หักคะแนนดีปะ เจ๋ง

น่าสนใจ   หักย้อนหลังก็ไม่เลวนะ
ไม่ตอบแล้วยังมารบกวนบรรยากาศสังคมอุดมปัญญา เจ๋ง
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 339  เมื่อ 12 เม.ย. 11, 09:58

หนูดีดี ขอโทษคุณ luanglek ด้วยนะคะ ที่ทำให้สับสนเรื่อง ข้างขึ้น ข้างแรม
คำถามของคุณหลวง ที่เป็นข้างขึ้นถูกต้องแล้วค่ะ.... อายจัง

คำถามข้อที่ ๙๖.
๓.วันขึ้น  ๑๐  ค่ำ  เดือน  ๑๑

เลยขออนุญาตตอบข้อนี้ใหม่ให้ถูกต้องนะคะ  ยิงฟันยิ้ม

3.วัน ดุชเชห์ร่า หรือ วิชยทัสมิ หรือ วิชยาทศมี ตรงกับวัน ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 11 (ปี 2554 ตรงกับวันที่ 7 ตุลาคม 2554) เป็นวันฉลองชัยชนะของความดีเหนือความชั่วร้าย เป็นวันที่พระรามปราบอสูร โดยสังหารทศกัณฑ์(อสูรราวัณ)ได้ เชื่อกันว่าพระรามได้ทำพิธีจันดิบูชาขอพรจากพระแม่ทุรคา ทำให้พระรามได้รู้ความลับของทศกัณฑ์ และสังหารทศกัณฑ์ได้ จากนั้นพระรามพร้อมทั้งนางสีดาและพระลักษณ์ได้เสด็จกลับนครอโยธยาในวันที่เรียกว่า "ดิวาลี"
ในวันดุชเชห์ร่า จะมีการแสดงละครพื้นบ้านรามลีลา เล่าเรื่องเกี่ยวกับการต่อสู้ระหว่างพระรามและทศกัณฑ์ คำว่าดุชเชห์ร่า หมายถึงการตัดเศียรทั้งสิบของทศกัณฑ์ นักแสดงจะแต่งกายเป็นพระรามแล้วยิงศรไปยังหุ่นอสูรซึ่งมีประทัดซ่อนไว้ ทำให้หุ่นระเบิดและมีไฟลุกท่วม เป็นสัญญลักษณ์ที่แสดงถึงชัยชนะ ของความดีที่มีเหนือความชั่วร้าย หลังจากนั้นผู้แสดงเป็นพระราม สีดา และพระลักษณ์ ก็จะขึ้นรถม้าแห่แหนไปรอบๆ ฝูงชนจะตะโกนว่า ชัย-ศรี-ราม หมายถึงชัยชนะของพระราม (เป็นการเตือนตนเองให้ทำลายอสูร-ความชั่วร้าย ความไม่ดี ที่อยู่ในตัวของเรา ให้หมดไป)
ดุชเชห์ร่า ถือเป็นวันมงคลมากที่สุดวันหนึ่งของชาวฮินดู เชื่อว่าถ้าเริ่มต้นทำกิจการงานใดๆ ในวันนี้ก็จะประสพความสำเร็จอย่างงดงาม ดังนั้นในวันนี้จึงมักมีการวางฐานอาคารใหม่ๆ เปิดตัวธุรกิจใหม่ๆ ทั้งยังมีการนำเครื่องมือเกษตร เครื่องจักรกล เครื่องใช้ในครัวเรือน หนังสือเรียนของเด็ก รวมถึงอาวุธทุกประเภทที่มีอยู่ในบ้าน มาเข้าร่วมในพิธีให้พราหมณ์เจิม เพื่อความเป็นสิริมงคล




บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 340  เมื่อ 12 เม.ย. 11, 11:27

หนูดีดี ขอโทษคุณ luanglek ด้วยนะคะ ที่ทำให้สับสนเรื่อง ข้างขึ้น ข้างแรม
คำถามของคุณหลวง ที่เป็นข้างขึ้นถูกต้องแล้วค่ะ.... อายจัง



นั่นน่ะสิครับ  ผมไปนั่งคิดอยู่ทั้งคืนว่า 
ตกลงมันเป็นข้าขึ้นหรือข้างแรมกันแน่
คิดไปคิดมาคิดไม่ตก เลยหลับไป ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 341  เมื่อ 17 เม.ย. 11, 22:20

คำถามข้อที่ ๙๗.

รามเกียรติ์กับการใช้บนเกี่ยวข้องกันอย่างไร ?
จงอธิบายมาอย่างละเอียด 

ราคา  ๓๐ คะแนน
ตอบหน้าม่าน   เริ่มตอบวันเนา
เพลาย่ำรุ่งแล้ว ๒ นาฬิกา  ๕ บาท

ตอบก่อนเพลา  ไม่ตรวจ 


ว่า "มหรสพหน้าขึ้นตาของชาวไทยในสมัยโบราณอีกอย่างหนึ่งคือ หนัง ซึ่งเราเรียกกันในภายหลังว่า หนังใหญ่ เพราะหนังตะลุงซึ่งเป็นหนังตัวเล็ก เกิดขึ้นอีกอย่างหนึ่ง จึงเติมคำเรียกให้แตกต่างกันออกไป สำหรับหนังใหญ่ตามหลักฐานที่ปรากฎในสมุทรโฆษคำฉันท์บอกว่ามีมาก่อนสมัยพระนารายณ์ฯ" ดังนั้น ตามทรรศนะของธนิต อยู่โพธิ์ หนังตะลุงจึงเกิดขึ้นหลังรัชกาลดังกล่าว แต่จะเป็นช่วงใดไม่ได้สันนิษฐานไว้

         สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวว่า หนังตะลุงเป็นของใหม่ เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยชาวบ้านควนพร้าว จังหวัดพัทลุง คิดเอาอย่างหนังชวามาเล่นเป็นเรื่องไทยขึ้นก่อนแล้วแพร่หลายไปยังที่อื่น และในสมัยรัชกาลที่ 5 นี้เองที่หนังตะลุงได้แสดงถวายหน้าพระที่นั่งเป็นครั้งแรก เมื่อปีชวด พ.ศ.2419

         สุธิวงศ์  พงศ์ไพบูลย์ มีความเห็นว่า หนังตะลุงคงได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมต่างชาติมากกว่าจะคิดขึ้นเอง และคงเป็นวัฒนธรรมต่างชาติมากกว่าจะคิดขึ้นเอง และคงเป็นวัฒนธรรมของกลุ่มที่มีวัฒนธรรมอินเดียปนอยู่ด้วยโดยยกเหตุผลประกอบดังนี้ 
         1. การออกรูปฤาษีและรูปพระอิศวรของหนังตะลุงมักขึ้นต้นด้วย โอม ซึ่งเป็นคำแทนเทพเจ้าสามองค์ของพราหมณ์ (โอม มาจาก อ + ม อ = พระวิษณุ, อุ = พระศิวะ, ม = พระพรหม)
         2. รูปหนังตัวสำคัญ ๆ มีชื่อเป็นคำสันสกฤต เช่น ฤาษี อิศวร ยักษ์ นุด (มนุษย์ = รูปที่เป็นพระราชโอรสของเจ้าเมือง) ชื่อตัวประกอบที่เป็นภาษาบาลีสันสกฤตก็มี เช่น ทาสี เสหนา (เสนา) 
         3. ลักษณะรูปหนังตัวสำคัญๆ มีสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมอินเดีย เช่น พระราชาทรงศรหรือไม่ก็ทรงพระขรรค์เครื่องทรงของกษัตริย์ก็เป็นแบบอินเดีย รูปประกอบก็บอกลักษณะวัฒนธรรมอินเดีย เช่น ปราสาท ราชวัง ต้นรัง (ต้นสาละ)
         4. ลักษณะนิสัยตัวละครบางตัวมีสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมอินเดีย เช่น พระอินทร์คอยช่วยเหลือผู้ตกยาก มียักษ์เป็นตัวมาร ตัวละครบางตัวมีความรู้ทางไสยศาสตร์ 
         5. เนื้อเรื่องแบบโบราณจริงๆ นิยมเล่นเรื่องรามเกียรติ์ตอนหลังแม้จะเล่นเรื่องอื่นๆ แต่ในพิธีแก้บนจะเล่นเรื่องรามเกียรติ์
อุดม  หนูทอง มีทรรศนะเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของหนังตะลุงว่า หนังตะลุงเป็นการเล่นที่ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมพราหมณ์อย่างชัดเจน ดังจะเห็นได้จากขนบนิยมในการแสดงและหลักฐานอื่นๆ ดังนี้
         1. เรื่องที่แสดง ปรากฏจากคำบอกเล่าและบทกลอนไหว้ครูหนังหลายสำนวนว่า เดิมทีหนังตะลุงเล่นเรื่องรามเกียรติ์ดังตัวอย่างกลอนไหว้ครูของหนังอนันต์ตอนหนึ่งว่า 

         "เรื่องรามเกียรติ์เล่นแต่ตอนปลาย หนุมานพานารายณ์ไปลงกา"

         2. ลำดับขั้นตอนในการแสดง มีการออกลิงดำลิงขาวหรือ ออกลิงหัวค่ำ (ปัจจุบันเลิกไปแล้ว) ออกฤาษี ออกโค (ออกรูปพระอิศวรทรงโค) ออกรูปฉะ คือ รูปพระรามกับทศกัณฐ์ต่อสู้กัน (ปัจจุบันเลิกไปแล้ว) ธรรมเนียมเหล่านี้แสดงร่องรอยของอิทธิพลพราหมณ์ทั้งสิ้น
 
พิธีแก้บนหรือพิธี เห.ม.รย       

  เป็นการเล่นเพื่อบวงสรวงครูหมอหนังหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามพันธะที่บนบานไว้ซึ่งเรียกว่า เห.ม.รย หนังที่จะทำพิธีนี้ได้ต้องรอบรู้ในพิธีกรรมและที่สำคัญต้องผ่านพิธีครอบมือมาแล้ว มิเช่นนั้นพันธะสัญญาจะไม่ขาดกัน เรียกว่า ไม่ขาดเห.ม.รย ขนบนิยมในการเล่นทั่วๆ ไปเป็นแบบเดียวกับการเล่นเพื่อความบันเทิง แต่ตอนเบิกโรงต้องใช้หมากพลู ๙ คำ เทียน ๙ เล่ม บางคณะอาจเพิ่มดอกไม้ ข้าวสาร และด้ายดิบ
         ในการแก้บน เจ้าภาพต้องเตรียมของแก้บนเอาไว้ให้ครบถ้วนตามที่บนบานไว้ เมื่อหนังโหมโรง ก็ยกมาจัดวางไว้ข้างโรงหนัง ฝ่ายหนังเล่นไปเหมือนกันกับเล่นเพื่อให้ความบันเทิง คือ โหมโรงแล้วออกฤาษี ออกรูปฉะหรือไม่ก็ออกรูปพระอิศวร พอออกรูปกาศก็เริ่มพิธีแก้บน โดยร้องกลอนชุมนุมเทวดา เชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่บนบานไว้มาสู่มณฑลพิธี ขณะที่หนังร้องเชิญสิ่งที่บนบานไว้นั้น ทางฝ่ายเจ้าภาพซึ่งเป็นผู้บนบานก็จุดเทียนเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่บนบานไว้มารับ
         เครื่องสังเวยตามที่บนบานไว้ เช่น ถ้าบนบานว่าจะยิงปืนถวายก็ยิงขึ้นในตอนนั้นเสร็จแล้วนายหนังจะผูกเรื่องมาเล่นถวายแก้บน เรื่องที่ใช้เล่นต้องใช้เรื่องรามเกียรติ์ โดยจับเพียงตอนใดตอนหนึ่งพอเป็นเคล็ดว่า ตัดเห.ม.รย ได้มาเล่นอย่างสั้นๆ เช่น ตอนเจ้าบุตรเจ้าลพ ตอนจองถนน ตอนหนุมานพบพระราม ตอนทศกัณฐ์ล้ม เป็นต้น นอกจากนี้อาจเล่นแบบออกลิงหัวค่ำก็ได้ จบแล้วนายหนังจะเอารูปฤาษี เจ้าเมือง พระ นาง พระอินทร์ ฯลฯ ปักชุมนุมกันที่หน้าจอเป็นทำนองว่าได้ร่วมรู้เห็นเป็นพยานว่าเจ้าภาพได้แก้บนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขอให้พันธะสัญญาขาดกันแต่บัดนี้ แล้วนายหนังจุดเทียน จับเทียนรวมกับมีดครูและไม้ผูกมือรูปทุกตัว ใช้มีดตัดต่อเห.ม.รย (เป็นห่อกระดาษที่เขียนคำบนบานและเครื่องบูชาตอนบนบานเอาไว้) ขว้างออกนอกโรง เรียกว่า ตัดเห.ม.รย เป็นเสร็จพิธี จากนั้นหนังจะแสดงให้เห็นความบันเทิงแก่ชาวบ้านต่อไป
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 342  เมื่อ 18 เม.ย. 11, 09:39

คำถามข้อที่ ๙๗.

รามเกียรติ์กับการใช้บนเกี่ยวข้องกันอย่างไร ?
จงอธิบายมาอย่างละเอียด  

ราคา  ๓๐ คะแนน
ตอบหน้าม่าน   เริ่มตอบวันเนา
เพลาย่ำรุ่งแล้ว ๒ นาฬิกา  ๕ บาท

ตอบก่อนเพลา  ไม่ตรวจ  


วันเนาตอบไม่ทันค่ะ ตอบวันนี้ละกันนะคะ... ยิงฟันยิ้ม

รามเกียรติ์เป็นเรื่องที่ต้องใช้ในการแสดงหนังตะลุงเพื่อการใช้บนหรือการตัดเหมรย

การใช้บน (แก้บน แก้เหมรย หรือ ตัดเหมรย) คือการแก้บน เป็นกิจกรรมที่ช่วยปลดเปลื้องความผูกพันที่ติดค้างทางใจ เป็นสื่อกลางในเรื่องการช่วยเหลือและการตอบแทนระหว่างผู้บนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์เร้นลับ
 
เหมรย เป็นข้อตกลงที่ให้ไว้กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เร้นลับ เมื่อบรรลุเป้าประสงค์ ก็นำหนังตะลุงมาแสดงเพื่อตัดเหมรย ห่อเหมรยที่บรรจุหมากพลู มอบให้แก่นายหนัง การตัดเหมรยต้องแสดงเรื่องรามเกียรติ์ ปัจจุบันยกเอาตอนใดตอนหนึ่งมาแสดงพอเป็นพิธี เช่น ตอนพระรามแผลงศรไปสังหารทศกัณฑ์ ดนตรีทำเพลงเชิด มีพระอินทร์มาเป็นสักขีพยานด้วย ฤาษีจับห่อเหมรยขึ้น นายหนังถือเขียน ตัดห่อเหมรยด้วยมีดครู บริกรรม รมคาถาตัดเหมรยว่า “พุทธัง ปัจจักขามิ เดนิพะวัง อิมังเรถะ ตัสสะธัมมัง ปัจจักขามิ เดนิพะวัง อิมังเรถะ ตัสสะ สังฆัง ปัจจักขามิ เดหิพะวัง อิมังเรถะ ตัสสะ” เจ้าภาพจุดเทียนหน้าโรงหนัง ประกาศแก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนมีข้อตกลงไว้โดยสมบูรณ์ถูกต้องแล้ว

พิธีแก้บนหรือแก้เหมรย เป็นการเล่นเพื่อบวงสรวงครูหมอหนังหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามพันธะที่บนบานไว้ซึ่งเรียกว่า เหมรย  หนังที่จะทำพิธีนี้ได้ต้องรอบรู้ในพิธีกรรมและที่สำคัญต้องผ่านพิธีครอบมือมาแล้ว มิเช่นนั้นพันธะสัญญาจะไม่ขาดกัน เรียกว่า ไม่ขาดเหมรย ขนบนิยมในการเล่นทั่วๆ ไปเป็นแบบเดียวกับการเล่นเพื่อความบันเทิง แต่ตอนเบิกโรงต้องใช้หมากพลู ๙ คำ เทียน ๙ เล่ม บางคณะอาจเพิ่มดอกไม้ ข้าวสาร และด้ายดิบด้วย

ในการแก้บน เจ้าภาพต้องเตรียมของแก้บนเอาไว้ให้ครบถ้วนตามที่บนบานไว้ เมื่อหนังโหมโรง ก็ยกมาจัดวางไว้ข้างโรงหนัง ฝ่ายหนังเล่นไปเหมือนกันกับเล่นเพื่อให้ความบันเทิง คือ โหมโรงแล้วออกฤาษี ออกรูปฉะหรือไม่ก็ออกรูปพระอิศวร พอออกรูปกาศก็เริ่มพิธีแก้บน โดยร้องกลอนชุมนุมเทวดา เชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่บนบานไว้มาสู่มณฑลพิธี ขณะที่หนังร้องเชิญสิ่งที่บนบานไว้นั้น ทางฝ่ายเจ้าภาพซึ่งเป็นผู้บนบานก็จุดเทียนเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่บนบานไว้มา เครื่องสังเวยตามที่บนบานไว้ เช่น ถ้าบนบานว่าจะยิงปืนถวายก็ยิงขึ้นในตอนนั้นเสร็จแล้วนายหนังจะผูกเรื่องมาเล่นถวายแก้บน เรื่องที่ใช้เล่นต้องใช้เรื่องรามเกียรติ์ โดยจับเพียงตอนใดตอนหนึ่งพอเป็นเคล็ดว่า ตัดเหมรย ได้มาเล่นอย่างสั้นๆ เช่น ตอนเจ้าบุตรเจ้าลพ ตอนจองถนน ตอนหนุมานพบพระราม ตอนทศกัณฐ์ล้ม เป็นต้น นอกจากนี้อาจเล่นแบบออกลิงหัวค่ำก็ได้ จบแล้วนายหนังจะเอารูปฤาษี เจ้าเมือง พระ นาง พระอินทร์ ฯลฯ ปักชุมนุมกันที่หน้าจอเป็นทำนองว่าได้ร่วมรู้เห็นเป็นพยานว่าเจ้าภาพได้แก้บนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขอให้พันธะสัญญาขาดกันแต่บัดนี้ แล้วนายหนังจุดเทียน จับเทียนรวมกับมีดครูและไม้ผูกมือรูปทุกตัว ใช้มีดตัดห่อเหมรย (เป็นห่อกระดาษที่เขียนคำบนบานและเครื่องบูชาตอนบนบานเอาไว้) ขว้างออกนอกโรง เรียกว่า ตัดเหมรย เป็นเสร็จพิธี จากนั้นหนังจะแสดงเพื่อให้เห็นความบันเทิงแก่ชาวบ้านต่อไป



บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 343  เมื่อ 18 เม.ย. 11, 13:41

ผมนึกว่าจะไม่มีคนตอบคำถามข้อที่ ๙๗ เสียแล้ว

คุณไซมีสตอบมายาวพอสมควร  ผมให้  ๒๐ คะแนน

คุณดีดีตอบมายาวแต่ละเอียดกว่า  ให้ ๒๕ คะแนน

รายละเอียดของคำตอบข้อนี้ ผมจะเอาเฉลยให้ภายหลังนะครับ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 344  เมื่อ 18 เม.ย. 11, 14:17

คำถามข้อที่ ๙๘.


จงหาโคลงที่ต่อจากโคลง ๓ บทที่ให้ไว้นี้อีก  ๑๐  บท
พร้อมระบุด้วยว่า ได้คำตอบมาหนังสือหรือแหล่งข้อมูลใด

๑.ลูกลมสงบแล้ว              แหงนมอง
ทั่วมรรคในเมฆี                เพื่อค้น
หาสมรซึ่งราพณ์ตระกอง    กอดเห็จ  หาวแฮ
วายุบุตรห้าวด้น                ดิ่งหา


๒.รามจันทร์บรรลุเบื้อง       บึงปัม   ปาเอย
สัตตบุษย์สัตตบรรณฟู         ฟ่องน้ำ
ทอดทัศน์มัตสยาสำ           ราญว่าย   เวียนแล
รามเมศวุ่นว้าช้ำ                ชอกครวญ


๓.ทรงยินวายุบุตรซ้อง      สัจวา  จาเนอ
รามรื่นหฤทัยพลัน             พลุ่งถ้อย
"โอ้สุครีพเคลื่อนทัพครา    สูรย์เที่ยง
ชนะแน่ฤกษ์นี้ข้อย            คาดการณ์"

ข้อนี้ราคา  ๔๐ คะแนน   ตอบหน้าม่าน   เลือกทำข้อเดียว
ตั้งแต่เพลา  ๑๘.๐๐ น. ของวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๔
สิ้นสุดการตอบในวันศุกร์ที่ ๒๒ เมษายน  ศกนี้  เวลา ๑๐.๐๐ น.
ตอบก่อนเพลาไม่ตรวจ  ตอบไม่ครบไม่ตรวจ 
ทำผิดคำสั่งไม่ตรวจ (แถมหักคะแนน ๕ คะแนน)
แซว  หัก  ๒๐ คะแนน   ให้ใบ้ข้อมูล  ลดคะแนนครั้ง ๑๐ คะแนน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24 25 ... 46
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.099 วินาที กับ 20 คำสั่ง