เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21 22 ... 46
  พิมพ์  
อ่าน: 272553 ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 285  เมื่อ 22 มี.ค. 11, 16:47


ตอบ

พี่เลี้ยงของอินทรชิต คือ "ฤาษีโคบุตร" เลี้ยงมาจนอายุ ๑๕ พรรษาพร้อมทั้งสั่งสอนวิชาการต่างๆให้หลายกระบวนวิชา

นุ่งผ้าลายเสือ สีน้ำตาลพาดดำ พร้อมไม้เท้า ยิงฟันยิ้ม
X ยิงฟันยิ้ม

ต้องร้องแบบลูกกรุง  "เป็นไปไม่ด้ายยยยยย...."  ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้  xxx
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 286  เมื่อ 22 มี.ค. 11, 16:49

คุณไซมีส  ตอบมาดังนี้


๔.ลอย เป็นนาฏยศัพท์ที่หมายถึงการแบก ต้องใช้พลังขามาก โดยท่าพื้นฐานต้องเต้นเสาเพื่อฝึกกำลังไว้ เช่น ยกตัวอย่างการขึ้นลอยของลิง ต้องเหยียบตัวยักษ์ ซึ่งจะมีอยู่หลักๆ ๒ ท่า
- ท่าลอยที่หนึ่ง เมื่อยักษ์เข้าตีสองครั้งแล้วย่อเหลี่ยมอัด มือขวาที่ถืออาวุธตั้งวงบนมือซ้ายมาจับที่รัดสะเอวของลิง โดยจับอ้อมเอวไปด้านหลัง ฝ่ายลิงใช้เท้าซ้ายเหยียบที่หน้าขาด้านซ้ายของฝ่ายยักษ์ ให้ชิดสะโพก โดยตะแคงเท้า มือซ้ายจับอาวุธ ถีบตัวขึ้นไปยืนบนขายักษ์ ตึงเข่าซ้าย ยกขวาหนีบน่อง มือขวาทำท่าเงื้อ
-ท่าลอยสอง เมื่อฝ่ายยักษ์เข้าตีสองครั้งย่อเหลี่ยมอัด มือขวาที่ถืออาวุธตั้งวงบนมือซ้ายมาจับที่รัดสะเอวของลิง โดยจับอ้อมเอวไปด้านหลัง ฝ่ายลิงใช้เท้าขวาเหยียบที่หน้าขาซ้ายของยักษ์ ให้ชิดสะโพก โดยตะแคงเท้า มือซ้ายจับอาวุธ ถีบตัวขึ้นไปบนขายักษ์ ตึงเข่าขวา ขาซ้ายเหยียบที่ต้นแขนขวายักษ์ (เอาไป  ๑  ๑/๒)

๘. กระดกเสี้ยว คล้ายกระดกหลัง แต่ย้ายลำขามาไว้ข้าง ๆตรงระดับไหล่ กระดกส้นเท้าให้ฝ่าเท้าหงายอยู่ข้างตัว กันเข่าห่างออกไปจากเข่าที่ยืนอยู่ ที่เรียกว่ากระดกเสี้ยว ก็เพราะอาการกระดกเหมือนกัน แต่มิได้อยู่ข้างหลัง ด้วยย้ายส่วนขาที่กระดกมาข้าง ๆ จึงเรียกกระดกเสี้ยว เช่น ท่ารำเมขลาล่อแก้ว (เอาไป  ๑  คะแนน)

๙.ท่ากระทืบกลับ มีหลักการปฏิบัติดังนี้
-ยกเท้าขวากระทืบพื้น ๑ ครั้ง พร้อมกับมือทั้ง ๒ จีบคว่ำบริเวณหน้าขา หน้ามองด้านซ้าย
-ยกเท้าซ้ายขึ้นแล้ววางลงตำแหน่งเดิม พร้อมกับปล่อยจีบออกหงายมือ
-ยกเท้าขวาขึ้นวางไปด้านขวา เฉียง ๔๕ องศา หลบเข้าซ้าย ตั้งเข่าขวา พลิกมือมาตั้งวงล่าง (แบมือ) หน้าสะบัดกลับมามองทางขวา เอียงซ้าย ลำตัวตั้งตรง เปิดปลายคาง ตามองไกล
(เอาไป  ๓ คะแนน)

๑๐ ท่ากระทืบฟัน
เป็นท่ารำของทางฝ่ายลิง ซึ่งเป็นท่าต่อเนื่องจากท่าฉะใหญ่ คือ การยกเท้าขวากระทืบลงพื้น ๑ ครั้ง มือขวายังยกข้อศอกระดับหัวไหล่อย่างเดิม
 (เอาไป  ๑ ๑/๒  คะแนน)


๑๑.อันทพา/พาสุริน
ใช้สำหรับฝึกหัดเป็นตัวลิง  เป็นท่าโลดโผนสำหรับการแสดงออกตามลักษณะที่เป็นธรรมชาติของลิง เป็นส่วนหนึ่งของท่าหกคะเมนโดยยืนในท่าตรง  ใช้ฝ่ามือทั้งสองของตนยันกับพื้น  ต่อจากนั้นจึงค่อยยกเท้าทั้งสองขึ้นไปในอากาศ  แล้วหกเท้าลงข้างหลังหรือข้างหน้า
ท่าหกคะเมนมีชื่อเรียกต่างกัน ดังนี้
๑.หกคะเมนหงายไปข้างหลัง  เรียกว่า “ตีลังกาหกม้วน”
๒.หกคะเมนไปข้างหน้า เรียกว่า “อันธพา”
๓.หกคะเมนไปข้าง ๆ เรียกว่า “พาสุริน”
(เอาไป  ๓  คะแนน)

รวมได้  ๑๐  คะแนน  (เฉลยเอาไว้วันหลังละกัน  เพราะมันยาวมาก)
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 287  เมื่อ 22 มี.ค. 11, 16:52


ต้องร้องแบบลูกกรุง  "เป็นไปไม่ด้ายยยยยย...."  ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้  xxx

ปี่พาทย์ทำเพลงกราวรำสัก  ๓  รอบ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 288  เมื่อ 28 มี.ค. 11, 16:23

ในคำถามข้อที่ ๘๘.

ผมได้ถามเกี่ยวกับศิลปินกรมศิลปากรที่ได้แสดงเป็นพระราม
ขออนุญาตเฉลยย้อนหลัง  เพิ่อเป็นข้อมูลแก่ท่านผู้สนใจ ดังนี้

ศิลปินกรมศิลปากรผู้ที่เคยแสดงเป็นพระราม  มีดังต่อไปนี้

๑.นายอาคม  สายาคม
๒.นายจำนง  พรพิสุทธิ์
๓.นายธีรยุทธ  ยวงศรี
๔.นายทองสุข  ทองหลิม
๕.นายอุดม  อังศุธร
๖.นายธงไชย  โพธยารมย์
๗.นายสมบัติ  แก้วสุจริต
๘.นายสัญชัย  สุขสำเนียง
๙.นายเผด็จ  พลับกระสงค์
๑๐.นายไพฑูรย์  เข้มแข็ง

๑๑.นายวีระชัย   มีบ่อทรัพย์
๑๒.นายปกรณ์   พรพิสุทธิ์
๑๓.นายศุภภัย  จันทร์สุวรรณ์
๑๔.นายปัญญา  ธรรมมน
๑๕.นายประสิทธิ์  คมภักดี
๑๖.นายชวลิต  สุนทรานนท์
๑๗.นายคมสัณฐ  หัวเมืองลาด
๑๘.นายสมรัตน์  ทองแท้
๑๙.นายฤทธิเทพ  เถาว์หิรัญ
๒๐.นายสัจจะ  ภู่แพ่งสุทธิ์

๒๑.นายธีรเดช  กลิ่นจันทร์
๒๒.นายฉันทวัฒน์  ชูแหวน
๒๓.นายสมเจตน์  ภู่นา
๒๔.นายพงษ์ศักดิ์  บุญล้น
๒๕.นายวัลลภ  พรพิสุทธิ์

๒๖.นางสุวรรณี  ชลานุเคราะห์
๒๗.นางศิริวัฒน์  ดิษยนันทน์
๒๘.นางเทียมแข  กุญชร  ณ  อยุธยา
๒๙.นางรัตติยะ   วิกสิตพงษ์
๓๐.นางอิงอร  ศรีสัตตบุษย์

๓๑.นางนฤมล (สมุทรโคจร) พ่วงบุญมาก
๓๒.นางเวณิกา  บุนนาค
๓๓.นางนงลักษณ์  เทพหัสดิน  ณ  อยุธยา

หมายเหตุ ข้อมูลจากวารสารศิลปากร ปีที่ ๕๓  ฉบับที่ ๑  มกราคม-กุมภาพันธ์  ๒๕๕๓
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 289  เมื่อ 28 มี.ค. 11, 19:04

จากรายชื่อผู้แสดงเป็นพระราม
มีศิลปินแห่งชาติ ด้านศิลปการแสดง นาฏศิลป์ไทย 3 ท่านค่ะ
และมี นามสกุล พรพิสุทธิ์ 3 ท่าน
 ยิงฟันยิ้ม




บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 290  เมื่อ 29 มี.ค. 11, 16:46

เออ......

ยังไงกัน
คุณหลวงไปต่างเมืองเสียแล้วกระมั้งนี่
ทิ้งงานให้คั่งค้างได้อย่างไร ฮืม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 291  เมื่อ 29 มี.ค. 11, 18:40

ท่านคงหนาว ครับ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 292  เมื่อ 29 มี.ค. 11, 21:08

ท่านคงหนาว ครับ ยิงฟันยิ้ม

หนาวกายเราไม่ว่า
แต่
หนาวใจซินะ... เราว่าไม่ได้
 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 293  เมื่อ 30 มี.ค. 11, 08:18

อะแฮ่มๆ!!!...ผมติดธุระและต้องไปประชุมนอกสถานที่มาครับ
ตอนนี้อาจจะยังไม่มีเวลาจะเข้ามาตั้งคำถามต่อให้จบ ๑๐๐ ข้อ
ในภายสัปดาห์นี้ได้   คงต้องขอยืดไปถึงต้นเดือนเมษายน

นักรบทั้งหลายคงเข้าใจ   จึงแจ้งมาเพื่อทราบ(เท่านั้น) เจ๋ง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 294  เมื่อ 30 มี.ค. 11, 08:42

ท่านคงหนาว ครับ ยิงฟันยิ้ม

หนาวกายเราไม่ว่า
แต่
หนาวใจซินะ... เราว่าไม่ได้
 ยิงฟันยิ้ม

บทแรกใน โคลงนิราศสุพรรณ ของสุนทรภู่

๏ เดือนช่วงดวงเด่นฟ้า          ดาดาว  
จรูญจรัสรัศมีพราว               พร่างพร้อย  
ยามดึกนึกหนาวหนาว            เขนยแนบ แอบเอย  
เย็นฉ่ำน้ำค้างย้อย                เยือกฟ้าพาหนาว ฯ  

ตอนนี้ ใคร ๆ ก็หนาว

 ยิ้ม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 295  เมื่อ 30 มี.ค. 11, 08:52

นอนรอ...คร้าบ...


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 296  เมื่อ 30 มี.ค. 11, 10:24

เฉลยคำถามข้อที่  ๙๓.

พี่เลี้ยงของอินทรชิต  มีกี่คน  มีชื่อว่าอะไร
และมีบทบาทอยู่ในรามเกียรติ์ตอนใด 
จึงเล่าเรื่องตอนนั้นมาโดยละเอียด
พร้อมระบุเอกสารที่ใช้ในการตอบ

บทพากย์หนังใหญ่ วัดขนอน  จังหวัดราชบุรี
เรื่องรามเกียรติ์  ตอนนาคบาศ

"...บุตรทศเศียรสุริย์วงศ์พงศ์พรหมมาน   ยกทวยหาญมาเขาไกรลาสคิรี
ท้าวยักษีจึงตรัสกับพี่เลี้ยงทั้งสองให้ประชุมพลอยู่ที่นี่   แล้วอสุราก็เสด็จลงจากรถ
บทจรไปยังต้นพฤกษาโรคันคี  บัดนี้ เพลงช้า

บุตรทศเศียรทรงดำเนินเลียบเหลี่ยมบรรพตา  ถึงต้นพฤกษาริม (นที)
ท้าวยักษีจึงตรัสสั่งกับวิจิตรไพรีบรรลัยหาญ  ตัวท่านทั้งสองจงกลับไปที่ประชุมโยธา
ต่อรุ่งพระสุริยาเวลาบ่ายตัวเราจึงจะออกการพิธีได้  สั่งเท่านั้นแล้วพลางทางเสด็จเข้าไปในโพรงไม้โรคันคี
ถือเอกฉาหิหลับพระเนตรสำรวมจิต  ยกศรประนมขึ้นเหนือเกศ   อ่านพระเวทพรหมประสิทธิ์  สมดังพระทัยคิด
บัดนี้  ตระรัว..."

พี่เลี้ยงของอินทรชิต มี ๒ ตน ชื่อ วิจิตรไพรี กับ บรรลัยหาญ
ข้อมูลจากหนังสือ วรรณกรรมประกอบการเล่นหนังใหญ่
วัดขนอน  จังหวัดราชบุรี  ของพันตรีหญิง ผะอบ  โปษะกฤษณะ
หน้า ๗๖
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 297  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 16:45

คำถามข้อที่ ๙๔.

จงค้นดูซิว่า  นอกจากโคลงรามเกียรติ์ที่จารึกติดไว้ที่พระระเบียง
วัดพระแก้วแล้ว   ยังมีวรรณกรรมเรื่องใดบ้างที่ผู้แต่งได้รับแรงบันดาลใจ
ในการแต่งจากภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ที่วัดพระแก้ว
จงระบุรายละเอียดของวรรณกรรมเรื่องนั้นมาให้ละเอียด  พร้อมยกตัวอย่าง
มาให้ดูสัก ๕ บท ซึ่งบทที่อยู่ติดต่อเนื่องกัน  (โปรดระบุผู้แต่ง  วันเดือนปีที่แต่ง
คำประพันธ์  เนื้อเรื่องย่อๆ  และอื่นๆ ที่เห็นว่าเกี่ยวข้อง)

ราคา  ๓๐  คะแนน  พิมพ์ตกหล่น สะกดผิด  หักที่ละ ๑ คะแนน
ตอบที่หน้าม่าน   ได้ตั้งแต่เพลา ๒๐.๐๐ น.เป็นต้นไป จนถึง เวลา ๐๖.๐๐ น.
วันจันทร์ที่  ๔  เมษายน  ๒๕๕๔

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 298  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 20:00

คำถามข้อที่ ๙๔.

จงค้นดูซิว่า  นอกจากโคลงรามเกียรติ์ที่จารึกติดไว้ที่พระระเบียง
วัดพระแก้วแล้ว   ยังมีวรรณกรรมเรื่องใดบ้างที่ผู้แต่งได้รับแรงบันดาลใจ
ในการแต่งจากภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ที่วัดพระแก้ว
จงระบุรายละเอียดของวรรณกรรมเรื่องนั้นมาให้ละเอียด  พร้อมยกตัวอย่าง
มาให้ดูสัก ๕ บท ซึ่งบทที่อยู่ติดต่อเนื่องกัน  (โปรดระบุผู้แต่ง  วันเดือนปีที่แต่ง
คำประพันธ์  เนื้อเรื่องย่อๆ  และอื่นๆ ที่เห็นว่าเกี่ยวข้อง)

ราคา  ๓๐  คะแนน  พิมพ์ตกหล่น สะกดผิด  หักที่ละ ๑ คะแนน
ตอบที่หน้าม่าน   ได้ตั้งแต่เพลา ๒๐.๐๐ น.เป็นต้นไป จนถึง เวลา ๐๖.๐๐ น.
วันจันทร์ที่  ๔  เมษายน  ๒๕๕๔



โคลงภาพพระราชพงศาวดาร เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่รวบรวมกวีนิพนธ์ไว้มากมาย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้วาดภาพเรื่องราวในพระราชพงศาวดารและมีคำอธิบายประกอบโคลงจำนวน ๙๒ ภาพ และนำไปติดในกรอบภาพที่จัดทำขึ้นอย่างสวยงาม ติดประดับไว้รายรอบบริเวณพระเมรุเพื่อให้ประชาชนได้เข้ามาอ่าน เข้ามาดูเมื่อหน้าแล้งปีพุทธศักราช ๒๔๓๐ ซึ่งเป็นงานพระเมรุของเจ้านายที่สิ้นพระชนม์ใกล้เคียงกัน ๔ พระองค์ คือ

๑.สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๐
๒.พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคนารีรัตน์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๐
๓.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๐
๔.สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๐

ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้เจ้านายทั้งหลายร่วมกันแต่งโคลงตามภาพที่ได้ทรงคัดเลือกไว้ หนึ่งในนั้นคือพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม (ที่เคยทรงกลอนเรื่องรามเกียรติ์ไว้ที่ห้องเลขที่ ๕๐-วัดพระแก้ว)
กลอนที่ทรงนิพนธ์ไว้อยู่ใน รูปที่ ๔ แผ่นดินสมเด็จพระนครินทราธิราช ภาพเจ้าอ้ายเจ้ายี่ชนช้าง

นครินทร์ปิ่นธเรศไท้   ทิวงคต
สองราชวะโรรส      เรื่องรู้
รีบยกคชพลบท      จรสู่ กรุงนา
เจ้ายี่ตั้งทัพสู้      ป่าพร้าวพลับพลาฯ

เจ้าอ้ายมาตั้งทัพ      วัดไชย ภูมิเฮย
สองยกเข้ากรุงไกร      แต่เช้า
หวังชิงราชมไห      สวรรค์แก่ ตนนา
ถึงป่าถ่านช้างเข้า      ปะทะทั้งโททรงฯ

สององค์ทรงเงือดเงื้อ   ง้าวขอ
สองฟากสบสองสอ      ขาดม้วย
สองบุญไม่มีภอ      ผ่านภพ แลพ่อ
สองจึ่งสิ้นชีพด้วย      บาปกี้กอบผลฯ

มนตรียินข่าวเจ้า      มรณา
ต่างตริตรึกปฤกษา      เสร็จแล้ว
เชิญพระบาทสามพระยา   นุชนารถ น้อยเฮย
มาครอบครองกรุงแก้ว   ปกเผ้าเหล่าประชาฯ


บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 299  เมื่อ 03 เม.ย. 11, 22:34

คำถามข้อที่ ๙๔.

จงค้นดูซิว่า  นอกจากโคลงรามเกียรติ์ที่จารึกติดไว้ที่พระระเบียง
วัดพระแก้วแล้ว   ยังมีวรรณกรรมเรื่องใดบ้างที่ผู้แต่งได้รับแรงบันดาลใจ
ในการแต่งจากภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ที่วัดพระแก้ว
จงระบุรายละเอียดของวรรณกรรมเรื่องนั้นมาให้ละเอียด  พร้อมยกตัวอย่าง
มาให้ดูสัก ๕ บท ซึ่งบทที่อยู่ติดต่อเนื่องกัน  (โปรดระบุผู้แต่ง  วันเดือนปีที่แต่ง
คำประพันธ์  เนื้อเรื่องย่อๆ  และอื่นๆ ที่เห็นว่าเกี่ยวข้อง)

ราคา  ๓๐  คะแนน  พิมพ์ตกหล่น สะกดผิด  หักที่ละ ๑ คะแนน
ตอบที่หน้าม่าน   ได้ตั้งแต่เพลา ๒๐.๐๐ น.เป็นต้นไป จนถึง เวลา ๐๖.๐๐ น.
วันจันทร์ที่  ๔  เมษายน  ๒๕๕๔



ชื่อเรื่อง - กรุงเทพทวาราวดีจารึกไว้ในปีที่ 200 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ผู้แต่ง   - เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

...รู้มาแค่นี้....
 อายจัง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21 22 ... 46
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.078 วินาที กับ 20 คำสั่ง