เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 46
  พิมพ์  
อ่าน: 271699 ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 195  เมื่อ 11 มี.ค. 11, 17:17

เดี๋ยวพรุ่งนี้จะเป็นพระมหาอุด

"ไม่รู้ ไม่ชี้ ไม่พูด ไม่ฟัง ไม่เห็น" ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 196  เมื่อ 11 มี.ค. 11, 17:19

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 197  เมื่อ 11 มี.ค. 11, 17:21

เดี๋ยวพรุ่งนี้จะเป็นพระมหาอุด

"ไม่รู้ ไม่ชี้ ไม่พูด ไม่ฟัง ไม่เห็น" ยิงฟันยิ้ม

โอเค  แต่... ไม่อยากไปดูตุ๊กตาลงพุง ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 198  เมื่อ 14 มี.ค. 11, 08:45

คำถามข้อที่ ๘๗. 

เป็นที่ทราบกันดีว่า  อาจารย์เสรี  หวังในธรรม
เป็นศิลปินที่มีความสามารถทั้งในด้านการแสดงโขนละคร
ดนตรี  และการประพันธ์   ในด้านการประพันธ์นั้น
อาจารย์เสรีได้แต่งบทโขนเรื่องรามเกียรติ์ไว้เป็นจำนวนมาก
ฉะนั้น  เราจึงอยากให้ท่านยกตัวอย่างชื่อบทโชนชุดต่างๆ
(เฉพาะตอนที่เกี่ยวกับรามเกียรติ์เท่านั้น   ถ้าตอบที่ไม่ใช่มา
เราจะหักชื่อละ ๑ คะแนน  โดยไม่มีความปรานีแก่กัน  เพราะได้เตือนแล้ว)
ที่ อ.เสรี  หวังในธรรมได้แต่งไว้  มาให้ดูสัก  ๖๐ ชื่อ 

ข้อนี้  ๓๐  คะแนน   ตอบหน้าม่าน   เวลา ๑๒.๐๐  น.
ไปจนถึงเวลา  ๑๓.๐๐  น.  พ้นจากเวลาดังกล่าวแล้ว
คะแนนจะลดลงเหลือ  ๔ ข้อ ๑ คะแนน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 199  เมื่อ 14 มี.ค. 11, 09:29

โหว ตั้ง ๖๐ ชื่อ แถมยังหักข้อละ ๒๕ สตางค์  แลบลิ้น
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 200  เมื่อ 14 มี.ค. 11, 09:32

โหว ตั้ง ๖๐ ชื่อ แถมยังหักข้อละ ๒๕ สตางค์  แลบลิ้น


น้อยไปใช่มะ   จะได้เพิ่มอีก ๓๐ ชื่อ
และหักข้อละ  ๑๐  บาทแทน ยิงฟันยิ้ม
จะได้พอใจกันทั่วหน้า เจ๋ง
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 201  เมื่อ 14 มี.ค. 11, 09:53

โหว ตั้ง ๖๐ ชื่อ แถมยังหักข้อละ ๒๕ สตางค์  แลบลิ้น

น้อยไปใช่มะ   จะได้เพิ่มอีก ๓๐ ชื่อ
และหักข้อละ  ๑๐  บาทแทน ยิงฟันยิ้ม
จะได้พอใจกันทั่วหน้า เจ๋ง

นับวันยิ่งใจร้ายนะใต้เท้า
ราวกับรีดเลือดปู
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 202  เมื่อ 14 มี.ค. 11, 10:52

โหว ตั้ง ๖๐ ชื่อ แถมยังหักข้อละ ๒๕ สตางค์  แลบลิ้น

น้อยไปใช่มะ   จะได้เพิ่มอีก ๓๐ ชื่อ
และหักข้อละ  ๑๐  บาทแทน ยิงฟันยิ้ม
จะได้พอใจกันทั่วหน้า เจ๋ง

นับวันยิ่งใจร้ายนะใต้เท้า
ราวกับรีดเลือดปู

แหม  ยกย่องกันอย่างนี้  ผมก็เขินแย่สิ
ไม่ถึงอย่างนั้นหรอก  เรียกว่า  โหด  มันส์  ฮา  ดีกว่าครับ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 203  เมื่อ 14 มี.ค. 11, 11:04

คำถามข้อที่  ๘๘.

คุณยายท่านหนึ่งซึ่งเป็นแฟนโขนกรมศิลปากรอย่างเหนียวแน่น
ส่งมาถามว่า   อยากทราบว่า มีศิลปินกรมศิลปากรคนใด
ที่เคยแสดงโขนเป็นพระรามบ้าง  จงบอกชื่อมาสัก  ๕  คน

คุณยายท่านใจดีอีก  ท่านบอกว่า
ใครให้ข้อมูลประวัติศิลปินแต่ละคนมาด้วย
จะให้คะแนนเพิ่มอีกชื่อละ  ๑  คะแนน

ข้อนี้  ตอบหน้าม่าน   ตั้งแต่เวลา  ๑๕.๐๐  น.
ไปจนกระทั่งเวลา ๒๒.๐๐  น.  
ตอบชื่ออย่างเดียว  ชื่อละ ๑ คะแนน
มีประวัติด้วย  ให้ชื่อละ ๒ คะแนน  
ตอบซ้ำคนอื่น  ถูก  ให้ชื่อละ ๑/๒ คะแนน

ตอบเกินที่สั่ง  ไว้พิจารณากันอีกที
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 204  เมื่อ 14 มี.ค. 11, 12:00

คำถามข้อที่ ๘๗. 

เป็นที่ทราบกันดีว่า  อาจารย์เสรี  หวังในธรรม
เป็นศิลปินที่มีความสามารถทั้งในด้านการแสดงโขนละคร
ดนตรี  และการประพันธ์   ในด้านการประพันธ์นั้น
อาจารย์เสรีได้แต่งบทโขนเรื่องรามเกียรติ์ไว้เป็นจำนวนมาก
ฉะนั้น  เราจึงอยากให้ท่านยกตัวอย่างชื่อบทโชนชุดต่างๆ
(เฉพาะตอนที่เกี่ยวกับรามเกียรติ์เท่านั้น   ถ้าตอบที่ไม่ใช่มา
เราจะหักชื่อละ ๑ คะแนน  โดยไม่มีความปรานีแก่กัน  เพราะได้เตือนแล้ว)
ที่ อ.เสรี  หวังในธรรมได้แต่งไว้  มาให้ดูสัก  ๖๐ ชื่อ 

ข้อนี้  ๓๐  คะแนน   ตอบหน้าม่าน   เวลา ๑๒.๐๐  น.
ไปจนถึงเวลา  ๑๓.๐๐  น.  พ้นจากเวลาดังกล่าวแล้ว
คะแนนจะลดลงเหลือ  ๔ ข้อ ๑ คะแนน

1. ชื่อผลงาน หอกโมกขศักดิ์
    -กรมศิลปากร จัดแสดง ณ อุทยาน ร. 2 อัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533
2. ชื่อผลงาน ศึกสหัสเดชะ
    -จัดแสดง ณ พระราชอุทยาน ร. 2 อัมพวา สมุทรสงคราม วันอาทิตย์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2532
3. ชื่อผลงาน นาคบาศ
    -ณ พระราชอุทยาน ร.2 อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2534
4. ชื่อผลงาน สมโภชพระรามราชจักรี
    -กรมศิลปกรจัดแสดงฉลองพระราชพิธีกาญจนาภิเษก ณ เวทีท้องสนามหลวง วันที่ 9 มิถุนายน 2539
5. ชื่อผลงาน กไลโกฎหลงรส
   -บทประกอบการแสดง เรื่องรามเกียรติ์ ตอน กไลโกฎหลงรส
6. ชื่อผลงาน กำเนิดหนุมาน
   -จัดแสดงเนื่องในวันเปิดฤดูกาลดนตรีสำหรับประชาชน วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม 2546 เวลา 17.00 น. ณ สังคีตศาลา
   บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
7. ชื่อผลงาน กุเปรันรบทศกัณฐ์
   -จัดแสดงเนื่องในงานวันข้าราชการพลเรือนปี 2546 วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม 2546 เวลา 19.00 น. ณ โรงละครแห่งชาติ
8. ชื่อผลงาน เกสรทมาลาอาสา 1
   -จัดแสดงเนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ปี 2545 ณ โรงละครแห่งชาติ วันศุกร์ที่ 22  มีนาคม 2545 เวลา 19.00 น.
   และ วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2545 เวลา 10.00 น. และ 14.00 น.
9. ชื่อผลงาน เกสรทมาลาลิงตัวหอม
   -จัดแสดงเนื่องในรายการศรีสุขนาฏกรรม ประจำปีที่ 28 ครั้งที่ 4 วันเสาร์ที่ 29 เมษายน 2549 เวลา 14.00 น.
   ณ โรงละครแห่งชาติ (โรงเล็ก)
10. ชื่อผลงาน ไกยเกษีสละกร
   -จัดแสดงเนื่องในวันเปิดฤดูกาลดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ 52 ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
   วันที่ 4 ธันวาคม 2547 เวลา 17.00 น.
11. ชื่อผลงาน ฉลองพระบาทพระรามราชสุริยวงศ์
   -จัดแสดงเนื่องในงานวันข้าราชการพลเรือน ประจำปี 2550 ณ หอประชุมธรรมศาสตร์ วัน 28 มีนาคม 2550 เวลา 15.00 น.
12. ชื่อผลงาน ช้างสารหาญกล้าบ้าบ่มมันร่วมตลุงเดียวกันย่อมประงา
   -จัดแสดงเนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ปี 2541 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม 2541
13. ชื่อผลงาน สำมนักขาหึงสีดา
   -จัดแสดงเนื่องในรายการศรีสุขนาฏกรรม ปีที่ 27 ครั้งที่ 11 ณ โรงละครแห่งชาติ วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2548 เวลา 17.00 น.
14. ชื่อผลงาน พาลีสอนน้อง ตอน ทรพีรบทรพา
   -จัดแสดงเนื่องในงาน “คุรุปูชนีย์ 104 ปี หม่อมอาจารย์” ณ โรงละครแห่งชาติ (โรงเล็ก) วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม 2549 เวลา 14.00 น.
15. ชื่อผลงาน พาลีสอนน้อง
   -จัดแสดงในรายการ “มหกรรมลายลักษณ์อักษรศิลป์” ครั้งที่ 2 ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
   วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน 2544 เวลา 17.00 น.
16. ชื่อผลงาน ทศกัณฐ์เกี้ยวนางมณโฑ
   -จัดแสดงเนื่องในงานเผยแพร่ให้ประชาชนชม ในรายการศรีสุขนาฏกรรม ณ หอวชิราวุธานุสรณ์ วันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม 2551
   เวลา 17.00 น.
17. ชื่อผลงาน ท้าวมหาชมพูผู้ทรนง
   -จัดแสดงเนื่องในงานฤดูกาลดนตรีสำหรับประชาชนปีที่ 54 ครั้งที่ 37 ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
   วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน 2550 เวลา 17.00 น.
18. ชื่อผลงาน ท้าวมหาชมพูผู้ทรนง - จองถนน
   -จัดแสดงเนื่องในรายการศรีสุขนาฏกรรม ประจำปี 28 ครั้งที่ 8 วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม 2549 เวลา 17.00 น.
    ณ โรงละครแห่งชาติ (โรงเล็ก)
19. ชื่อผลงาน ท้าวมาลีวรราชว่าความ
   -จัดแสดงเนื่องในรายการศรีสุขนาฏกรรม ปีที่ 24 ครั้งที่ 8 วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2545 เวลา 17.00 น. ณ โรงละครแห่งชาติ
20. ชื่อผลงาน นางกาลอัคคี
   -จัดแสดงเนื่องในรายการศรีสุขนาฏกรรม ณ โรงละครแห่งชาติ ภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา 14.00 น.
21. ชื่อผลงาน นางลอย
   -จัดแสดงเนื่องในรายการศิลปิน-ศิลปากร (ปกรณ์ พรพิสุทธิ์) ณ โรงละครแห่งชาติ ภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี
   วันเสาร์ที่ 9 และ 16 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา 14.00 น.
22. ชื่อผลงาน นางสุพรรณมัจฉาจากมัจฉานุ
   -ณ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน 2549 เวลา 14.00 น.
23. ชื่อผลงาน นางอดูลปีศาจสิงรูป
   -จัดแสดงเนื่องในงานวันข้าราชการพลเรือนปี 2546 วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม 2546 เวลา 10.00 น. และ 14.00 น. ณ โรงละครแห่งชาติ
24. ชื่อผลงาน นิ้วเพชร
   -การแสดงไว้อาลัยท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศืเสนี ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
   วันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2543 เวลา 17.00 น. เสรี หวังในธรรม
25. ชื่อผลงาน ศูรปนขาชมป่า
   -ดำเนินเรื่องตามฉบับอินเดีย จัดแสดงเนื่องในรายการศรีสุขนาฏกรรม ประจำปี 2550 ครั้งที่ 3 ณ โรงละครแห่งชาติ (โรงละครเล็ก)
   วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม 2550 เวลา 17.00 น.
26. ชื่อผลงาน ปราบนนทุก ลักสีดา และยกรบ
   -จัดแสดงเนื่องในรายการศรีสุขนาฏกรรม ปีที่ 27 พ.ศ. 2548 ครั้งที่ 9 วันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2548 เวลา 17.00 น. ณ โรงละครแห่งชาติ
27. ชื่อผลงาน ปักหลั่นและนกสัมพาทีพ้นคำสาป
   -จัดแสดงเพื่อให้ประชาชนชม ในรายการศรีสุขนาฏกรรม ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2544 วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2544 เวลา 17.00 น.
28. ชื่อผลงาน พระมิ่งแม่เกาสุริยา
   -จัดแสดงเผยแพร่ให้ประชาชนชมในรายการสุขนาฏกรรม ณ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี
   วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม 2550 เวลา 14.00 น.
29. ชื่อผลงาน พระรามตามกวาง
   -จัดแสดงเนื่องในรายการศิลปิน-ศิลปากร ครั้งที่ 9 (วันทนีย์ ม่วงบุญ) ณ โรงละครแห่งชาติ (โรงเล็ก) วันพุธที่ 13 กันยายน 2549 เวลา 17.00 น.
30. ชื่อผลงาน กำเนิดหนุมาน
   -จัดแสดงเนื่องในวันเปิดฤดูกาลดนตรีสำหรับประชาชน วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม 2546 เวลา 17.00 น. ณ สังคีตศาลา
   บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
31. ชื่อผลงาน พุ่งหอกกบิลพัท
   -จัดแสดง ณ อุทยาน ร.2 วันที่ 19 มกราคม 2545
32. ชื่อผลงาน ศึกกุมภกรรณ  ตอนทดน้ำ 
   -โขนโทรทัศน์ แสดงเมื่อวันที่ 13 เมษายน  2511   โรงเรียนวิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร  ณ  สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7
33. ชื่อผลงาน สำมนักขา   
   -โขนโทรทัศน์ แสดงเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2511 โรงเรียนวิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร  ณ  สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7
34. ชื่อผลงาน ลักนางสีดา 
   -โขนโทรทัศน์ แสดงเมื่อวันที่ 13 เมษายน  2511 โรงเรียนวิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร  ณ  สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7
35. ชื่อผลงาน สุกรสารปลอมพล   
   -โขนโทรทัศน์ แสดงเมื่อวันที่  17 สิงหาคม 2511 โรงเรียนวิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร  ณ  สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 205  เมื่อ 14 มี.ค. 11, 12:03

แหม  มาตรงเวลาเป๊ะเชียว พ่ออาร์ท
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 206  เมื่อ 14 มี.ค. 11, 12:08

คำถามข้อที่ ๘๗.  

เป็นที่ทราบกันดีว่า  อาจารย์เสรี  หวังในธรรม
เป็นศิลปินที่มีความสามารถทั้งในด้านการแสดงโขนละคร
ดนตรี  และการประพันธ์   ในด้านการประพันธ์นั้น
อาจารย์เสรีได้แต่งบทโขนเรื่องรามเกียรติ์ไว้เป็นจำนวนมาก
ฉะนั้น  เราจึงอยากให้ท่านยกตัวอย่างชื่อบทโชนชุดต่างๆ
(เฉพาะตอนที่เกี่ยวกับรามเกียรติ์เท่านั้น   ถ้าตอบที่ไม่ใช่มา
เราจะหักชื่อละ ๑ คะแนน  โดยไม่มีความปรานีแก่กัน  เพราะได้เตือนแล้ว)
ที่ อ.เสรี  หวังในธรรมได้แต่งไว้  มาให้ดูสัก  ๖๐ ชื่อ  

ข้อนี้  ๓๐  คะแนน   ตอบหน้าม่าน   เวลา ๑๒.๐๐  น.
ไปจนถึงเวลา  ๑๓.๐๐  น.  พ้นจากเวลาดังกล่าวแล้ว
คะแนนจะลดลงเหลือ  ๔ ข้อ ๑ คะแนน

ขอตอบค่ะ
1.   ตอน ไมยราพสะกดทัพ
2.   ตอน สำมนักขาหึงสีดา
3.   ตอน พาลีเสียสัตย์ (ชุด พาลีสอนน้อง)
4.   ตอน พาลีได้นางเทพดารา (ชุด พาลีสอนน้อง)
5.   ตอน ทศกัณฑ์อาฆาต (ชุด พาลีสอนน้อง)
6.   ตอน พาลีรบกับปู (ทศกัณฑ์แปลง) (ชุด พาลีสอนน้อง)
7.   ตอน ทรพีฆ่าพ่อ (ชุด พาลีสอนน้อง)
8.   ตอน พาลีรบกับทรพี (ชุด พาลีสอนน้อง)
9.   ตอน สุครีพต้องโทษ (ชุด พาลีสอนน้อง)
10.   ตอน พาลีสอนน้อง (ชุด พาลีสอนน้อง)
11.   ชุด  พระรามตามกวาง
12.   ตอน ปักหลั่นและนกสัมพาทีพ้นคำสาป
13.   ตอน นางอดูลปีศาจสิงรูป
14.   ตอน อัญเชิญจักรีอวตาร
15.   ตอน เกสรทมาลาลิงตัวหอม
16.   ตอน บรรลัยกัลป์ตามทัพ
17.   ตอน สุครีพแจ้งสาร (ชุด ท้าวมหาชมพูผู้ทรนง)
18.   ตอน ถวายพลเมืองชมพู (ชุด ท้าวมหาชมพูผู้ทรนง)
19.   ตอน จองถนน (ชุด ท้าวมหาชมพูผู้ทรนง)
20.   ตอน พระรามข้ามสมุทร (ชุด ท้าวมหาชมพูผู้ทรนง)
21.   ตอน ศึกกุมภกรรณ (ชุด ศึกพรหรมมาสตร์)
22.   ตอน ศึกพรหมาสตร์ (ชุด ศึกพรหรมมาสตร์)
23.   ตอน หักคอช้างเอราวัณ (ชุด ศึกพรหรมมาสตร์)
24.   ตอน พระรามช่วยพระลักษมณ์ (ชุด ศึกพรหรมมาสตร์)
25.   ตอน หนุมานล่อกล่องดวงใจ (ชุด ศึกพรหรมมาสตร์)
26.   ตอน ยกรบ (ชุด ศึกพรหรมมาสตร์)
27.   ตอน หนุมานชูกล่องดวงใจ (ชุด ศึกพรหรมมาสตร์)
28.   ตอน สิ้นศึกลงกา (ชุด ศึกพรหรมมาสตร์)
29.   ตอน สีดาลุยไฟ (ชุด ศึกพรหรมมาสตร์)
30.   ตอน พระนารายณ์ปราบนนทุก (ชุด รามาวตาร)
31.   ตอน ทศกัณฐ์ลักพานางสีดา(ชุด รามาวตาร)
32.   ตอน ศึกฑูต ขร ตรีเศียร(ชุด รามาวตาร)
33.   ตอน พระรามตามกวาง(ชุด รามาวตาร)
34.   ตอน  สดายุถวายแหวน (ชุด รามาวตาร)
35.   ตอน พระรามพบหนุมาน (ชุด รามาวตาร)
36.   ตอน หนุมานถวายตัว (ชุด รามาวตาร)
37.   ตอน ยกพล (ชุด รามาวตาร)
38.   ตอน เกสรทมาลาอาสา
39.   ตอน ขับพิเภก (ชุด รามาวตาร)
40.   ตอน ทดน้ำ (ชุดศึกกุมภกรรณ)
41.   ชุด  สุกรสารปลอมพล
42.   ชุด  หอกกบิลพัสดุ์
43.   ชุด มารซื่อชื่อพิเภก
44.   ชุด พระรามสุริยวงศ์
45.   ชุด สีดามารศรี (ศรีดามารศรี)
46.   ชุด ท้าวมาลีวราชว่าความ
47.   ตอน กำเนิดหนุมาน (ชุด หนุมานชาญสมร)
48.   ตอน หนุมานต้องสาป (ชุด หนุมานชาญสมร)
49.   ตอน ถวายพล (ชุด หนุมานชาญสมร)
50.   ตอน สงคราม  (ชุด หนุมานชาญสมร)
51.   ตอน พระมิ่งแม่เกาสุริยา
52.   ตอน ศึกวิรุญจำบัง
53.   ตอน ศึกสุริยาภพ
54.   ตอน ศึกสัทธาสูร
55.   ตอน ศึกนาคบาศ
56.   ตอน พระพิราพปลูกต้นพวาทอง
57.   ตอน ปราบกากนาสูร
58.   ตอน หนุมานอาสา
59.   ตอน นางลอย
60.   ตอน นางสุพรรณมัจฉาจากมัจฉานุ
ที่มา http://www.finearts.go.th/saree.php
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 207  เมื่อ 14 มี.ค. 11, 12:09

แหม  มาตรงเวลาเป๊ะเชียว พ่ออาร์ท

ระดับโลกน่ะคุณหลวง ยิงฟันยิ้ม

ปล. ข้อมูลมาจากสำนักสังคีตกรมศิลป์นะจ๊ะ
เดี๋ยวหาว่ามั่วอีก
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 208  เมื่อ 14 มี.ค. 11, 12:19

คำถามข้อที่ ๘๗. 

เป็นที่ทราบกันดีว่า  อาจารย์เสรี  หวังในธรรม
เป็นศิลปินที่มีความสามารถทั้งในด้านการแสดงโขนละคร
ดนตรี  และการประพันธ์   ในด้านการประพันธ์นั้น
อาจารย์เสรีได้แต่งบทโขนเรื่องรามเกียรติ์ไว้เป็นจำนวนมาก
ฉะนั้น  เราจึงอยากให้ท่านยกตัวอย่างชื่อบทโชนชุดต่างๆ
(เฉพาะตอนที่เกี่ยวกับรามเกียรติ์เท่านั้น   ถ้าตอบที่ไม่ใช่มา
เราจะหักชื่อละ ๑ คะแนน  โดยไม่มีความปรานีแก่กัน  เพราะได้เตือนแล้ว)
ที่ อ.เสรี  หวังในธรรมได้แต่งไว้  มาให้ดูสัก  ๖๐ ชื่อ 

ข้อนี้  ๓๐  คะแนน   ตอบหน้าม่าน   เวลา ๑๒.๐๐  น.
ไปจนถึงเวลา  ๑๓.๐๐  น.  พ้นจากเวลาดังกล่าวแล้ว
คะแนนจะลดลงเหลือ  ๔ ข้อ ๑ คะแนน

อ.เสรี หวังในธรรม (ศิลปินแห่งชาติ ๒๕๓๑ สาขาศิลปะการละครได้จัดทำบทโขนละครเรื่องรามเกียรติ์ตั้งแต่ต้นจนจบ อีกทั้งยังแต่งเพลงไทยสากล กวีนิพนธ์อีกเป็นจำนวนมากมาย)
๑. ตอน สำมนักขา   แสดงเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๑๑         
๒. ตอนลักนางสีดา  แสดงเมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน  ๒๕๑๑
๓..ชุดสุกรสารปลอมพล   แสดงเมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๑๑
๔. ชุดศึกพรหมาสตร์

ตัวอย่าง                            บทโขน เรื่องรามเกียรติ์   ชุดศึกพรหมาสตร์
สร้างบทโดยอาจารย์เสรี   หวังในธรรม

-ปี่พาทย์ทำเพลงเชิด-
(อสูรสองสารัณออกเต้นผ่านหน้าเวทีแล้วเข้าโรง  เสนายักษ์ออกตั้งท้องพระโรงทศกัณฐ์ออกนั่งเตียง  สองสารัณคลานเข้าเฝ้า)
- -เจรจา-
สองสารัณ         ข้าแต่พระจอมอสูรผู้ร่มเกล้า  บัดนี้เล่ามังกรกัณฐ์ และแสงอาทิตย์  ต้องด่าวดิ้นสิ้นชีวิตลงกลางทัพ  ข้าพระบาทจึงรีบกลับมาทูลพระองค์  ขอได้ทรงทราบใต้เบื้องบาทบงสุ์พระทรงชัย
                                                             - ร้องเพลงสร้อยเพลง -
         เมื่อนั้น      ทศเศียรสะท้อนถอนใจใหญ่
         ชิชะมนุษย์นี้สุดใจ            ทำไฉนหนอจะล้างมันวางวาย
      จะใช้ใครไปรบก็แพ้ฤทธิ์         ปัจจามิตรคิดองอาจประมาทหมาย
     ยิ่งกลุ้มกลัดขัดใจไม่สบาย         แสนเสียดายสองนัดดายอดยาใจ
                                                              - ปี่พาทย์ทำเพลงโอด -
                                                               - เจรจา -
ทศกัณฐ์   จอมกษัตริย์รัฐลงกา  จึงมีพระราชบัญชาตรัสสั่งเสนากาลสูร  ว่าตัวเจ้าจงเร่งไปทูลอินทรชิต  ว่าบัดนี้แสงอาทิตย์สิ้นชีวัน มังกรกัณฐ์สิ้นชีวาตม์  ข้าศึกองอาจฮึกฮักหนักมาประชิดติดพระนคร  ให้ลุกกูเร่งชุบศรพระพรหมาสตร์  แล้วยกไปหมายพิฆาตพวกไพรี   จงเร่งไปในบัดนี้นะขุนยักษ์                                                                                                                                                       
-ร้องเพลงกราวใน -
บัดนั้น               กาลสูรเสนีมีศักดิ์
รับสั่งบังคมทศพักตร์               ขุนยักษ์รีบเหาะระเห็จไป

                          - ปี่พาทย์ทำเพลงกราวใน แล้วเชิด -
               - อินทรชิตออกนั่งตั้งสมาธิ ชุบศรอยู่ในโรงพิธี  มีเสนานั่งประจำที่รอบโรงพิธี -
 - กาลสูรออก -
- ร้องเพลงมอญรำดาบ -
ครั้นถึงโรงราชพิธี            กาลสูรเสนีบังคมไหว้
ทูลว่าพระองค์ผู้ทรงชัย               ให้มาทูลข่าวปัจจามิตร
แสงอาทิตย์ฤทธิรอนมังกรกัณฐ์            ไปโรมรันเสียทัพดับจิต
ขอให้พระองค์ทรงฤทธิ์               ไปเข่นฆ่าปัจจามิตรให้มรณา
- ร้องเพลงรื้อร่ายศัพทัย -
เมื่อนั้น                   อินทรชิตสิทธิศักดิ์ยักษา
ได้ยินบอกออกความอัปรา            โกรธาลืมเนตรเห็นเสนีย์
ลุกขึ้นกระทืบบาทหวาดไหว            เหม่ไอ้กาลสูรยักษี
มาพูดให้เป็นลางกลางพิธี            ชีวิตมึงถึงที่จะบรรลัย
หากคิดนิดเดียวว่ารับสั่ง               จึงหยุดยั้งยกโทษโปรดให้
ว่าพลางทางทรงศรชัย               คลาไคลออกจากโรงพิธี
- ปี่พาทย์ทำเพลงพราหมณ์ออก -
- อินทรชิตรำออกจากโรงพิธี  รุทการกับการุณราชหมอบเฝ้า  กาลสูรเข้าโรง -
- ร้องเพลงช้างประสานงา -
จึงตรัสสั่งรุทการชาญกำแหง      จะเปลี่ยนแปลงกายกูเป็นโกสีย์
ให้การุณราชอสุรี               แปลงอินทรีย์เป็นคชาเอราวัณ
อันโยธาทั้งหลายให้กลายเพศ         เป็นเทเวศร์สาวสุรางค์นางสวรรค์
ไว้สำหรับขับลำระบำบรรพ์         เร่งเตรียมไว้ให้ทันฤกษ์ดี
                                                               - ร้องเพลงฝรั่งควง -
   เมื่อนั้น   รุทการประณตบทศรี
   ออกมาเกณฑ์กันทันที   คอยเสด็จภูมีรณรงค์      
                                                      - ร้องเพลงตระนิมิต -
เมื่อนั้น               อินทรชิตชื่นชมสมประสงค์
จึงขึ้นบนแท่นสุวรรณบรรจง         แปลงองค์อสุรินทร์เป็นอินทร
                                            - ปี่พาทย์ทำเพลงตระนิมิต-รัว -
                                           - พระอินทร์แปลงออก –


๕. ตอนอัญเชิญจักรีอวตาร 
๖. ตอนพาลีเสียสัตย์
๗.  ตอน นางอดูลปีศาจสิงรูป จัดแสดงเนื่องในงานวันข้าราชการพลเรือนปี ๒๕๔๖
๘. ชุดศึกกุมภกรรณ  ตอนทดน้ำ  แสดงเมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน  ๒๕๑๑   
๙. ตอนท้าวมหาชมพูผู้ทรนง
๑๐.ตอนพระรามข้ามสมุทร
๑๑.ชุดหนุมานชาญสมร
๑๒.ชุดมารซื่อชื่อภิเภก
๑๓. ชุดท้าวมาลีวราชว่าความ
๑๔. ชุดจองถนน
๑๕.ตอนตอนพระแม่เจ้าเกาสุริยา
๑๖.ชุดหนุมานเข้าห้องสุวรรณกันยุมา
๑๗. ตอนลักนางสีดา
๑๘. ตอนนางลอย
๑๙.ตอนปราบโอรสทศกัณฐ์
๒๐. ตอนพระรามครองเมือง
๒๑. ตอนศึกวิรุญจำบัง
๒๒. ตอนศึกสุริยาภพ
๒๓. ตอนศึกสัทธาสูร
๒๔. ตอนพระพิราพปลูกต้นพวาทอง
๒๕. ตอนปราบกากนาสูร
๒๖. ตอนพิเภกสวามิภักดิ์
๒๗. ตอนหนุมานอาสา
๒๙. ตอนสีดาลุยไฟ
๓๐. ตอนนางมณโฑหุงน้ำทิพย์
๓๑.ตอนอัญเชิญจักรีอวตาร
๓๒. ตอนพระรามประชุมพล
๓๓. ตอนองคตสื่อสาร
๓๔.ชุดศรีดามารศรี
๓๕. ตอนกุมภกัณฑ์ทดน้ำ
๓๖. สุครีพถอนต้นรัง
๓๗.ตอนนารายณ์ปราบนนทุก
๓๘.ตอนศึกทูต ขร ตรีเศียร
๓๙.ตอนพระรามตามกวาง
๔๐. ตอนพระรามพบหนุมาน
๔๑. ตอนขับภิเภก
๔๒. ตอนหักคอช้างเอราวัณ
๔๓. ตอนพระรามช่วยพระลักษณ์
๔๔. ตอนหนุมานล่อกล่องดวงใจ
๔๕. ตอนยกรบ
๔๖. ตอนหนุมานชูกล่องดวงใจ
๔๗. ตอนสิ้นศึกลงกา
๔๘. ตอนสีดาลุยไฟ
๔๙ ตอนพระรามคืนนคร
๕๐. ตอนพาลีได้นางเทพดารา
๕๑. ตอนทศกัณฐ์อาฆาต
๕๒. ตอนพาลีรบกับปู
๕๓. ตอนทรพีฆ่าพ่อ
๕๔. ตอนพาลีรบกับพาลี
๕๕. ตอนสุครีพต้องโทษ
๕๖. ตอนกำเนิดสีดา
๕๗. ตอนหนุมานถวายแหวน
๕๘. ตอนสุครีพแจ้งสาส์น
๕๙. ตอนถวายพลเมืองชมพู
๖๐. ผลงานชิ้นสุดท้ายของท่านคือ ตอนไมยราพสะกดทัพ


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 209  เมื่อ 14 มี.ค. 11, 15:01

คำถามข้อที่  ๘๘.

คุณยายท่านหนึ่งซึ่งเป็นแฟนโขนกรมศิลปากรอย่างเหนียวแน่น
ส่งมาถามว่า   อยากทราบว่า มีศิลปินกรมศิลปากรคนใด
ที่เคยแสดงโขนเป็นพระรามบ้าง  จงบอกชื่อมาสัก  ๕  คน

คุณยายท่านใจดีอีก  ท่านบอกว่า
ใครให้ข้อมูลประวัติศิลปินแต่ละคนมาด้วย
จะให้คะแนนเพิ่มอีกชื่อละ  ๑  คะแนน

ข้อนี้  ตอบหน้าม่าน   ตั้งแต่เวลา  ๑๕.๐๐  น.
ไปจนกระทั่งเวลา ๒๒.๐๐  น.  
ตอบชื่ออย่างเดียว  ชื่อละ ๑ คะแนน
มีประวัติด้วย  ให้ชื่อละ ๒ คะแนน  
ตอบซ้ำคนอื่น  ถูก  ให้ชื่อละ ๑/๒ คะแนน

ตอบเกินที่สั่ง  ไว้พิจารณากันอีกที


ขอตอบค่ะ
ศิลปินกรมศิลปากร ที่เคยแสดงโขนเป็นพระราม คือ

1. อาคม สายาคม
ผู้เชียวชาญนาฏศิลป์ กรมศิลปกร เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๖๐ อยู่บ้านใกล้สี่แยกถนนหลานหลวง เป็นบุตรนายเจือ ศรียาภัย และนางผาด สกุลเดิม อิศรางกูร ณ อยุธยา เหตุที่ใช้นามสกุลสายาคม ซึ่งเป็นนามสกุลที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะเป็นบุตรบุญธรรมของนายสายและนางเพี้ยน สายาคม เฉพาะนางเพี้ยนมีศักดิ์เป็นป้าของนายอาคมด้วย
นายอาคม สายาคม มีนามเดิมว่าบุญสม ซึ่งพลตรี หลวงวิจิตรวาทการ อดีตอธิบดีกรมศิลปากรเปลี่ยนให้สมัยที่มีการฟื้นฟูวัฒนธรรม เพื่อให้มีความหมายเข้มแข็งสมเป็นผู้ชาย เริ่มต้นเรียนวิชาสามัญที่โรงเรียนพร้อมมูลวิทยาจนถึงชั้นประถมปีที่ ๒ จึงลาออกไปสมัครเรียนโขนที่บ้านเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (ม.ร.ว.เย็น อิศรเสนา) เสนาบดีกระทรวงวังในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้เรียนหนังสือที่โรงเรียนศรีอยุธยา ควบคู่กับการฝึกหัดโขน จนจบชั้นมัธยมปีที่ ๓ ได้เป็นโขนหลวงในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นตรงต่อพระยานัฏกานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต) ผู้กำกับกรมปี่พาทย์และโขนหลวงในรัชกาลที่ ๗ กับคุณหญิงเทศนัฏกานุรักษ์
เริ่มฝึกหัดโขนเมื่ออายุได้ ๑๒ ปี โดยพระยานัฏกานุรักษ์และคุณหญิงเทศ ได้มอบให้ครูลิ้นจี่ จารุจรณ ดูแลควบคุมการฝึกหัดเบื้องต้นอยู่กับพวกละครหลวง ในสมัยนั้น ตัวพระและตัวนาง จะฝึกหัดกันที่วังสวนกุหลาบ ส่วนยักษ์และลิงจะฝึกกันที่บ้านเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์
นายอาคมได้ออกแสดงเป็นครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ ๑๔ ปี เป็นตัวพระรามในเรื่องรามเกียรติ์ตอนขาดเศียรขาดกร เป็นการแสดงโขนนั่งราว แสดงหน้าพระที่นั่งถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว บริเวณสนามหญ้าหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม ในงานต้อนรับแขกเมือง คือนายดักลาส แฟร์แบงค์ นักแสดงภาพยนตร์ชาวอเมริกัน ต่อมาได้แสดงหน้าพระที่นั่งอีกหลายครั้งที่โรงโขนหลวงมิสกวัน
เข้ารับราชการในกรมมหรสพเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๒ ในแผนกโขนหลวง ตำแหน่งเด็กชา เงินเดือน ๔ บาท ต่อมารัฐบาลได้มีคำสั่งให้โอนงานการช่างและกองมหรสพไปอยู่ในสังกัดกรมศิลปากร ใน พ.ศ.๒๔๗๘ นายอาคมซึ่งขณะนั้นบวชอยู่ที่วัดสุนทรธรรมทาน (วัดแคนางเลิ้ง) จึงตกลงใจสึกมารับราชการอยู่ที่โรงเรียนศิลปากร แผนกนาฏดุริยางคศิลป์ กรมศิลปากร (ปัจจุบันคือวิทยาลัยนาฏศิลป) นายอาคมได้รับหน้าที่ให้เป็นครูสอนวิชานาฏศิลป์โขนฝ่ายพระ และเป็นศิลปินผู้แสดงด้วย
ครั้นถึงสมัยนายธนิต อยู่โพธิ์ เป็นอธิบดีกรมศิลปากร ได้ร่วมกับหลวงวิลาศวงงาม (หร่ำ อินทรนัฏ) และท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี รื้อฟื้นและส่งเสริมให้มีการแสดงโขนละครเพื่อให้ประชาชนชมทุกวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ ณ โรงละครศิลปากร (โรงละครนี้ถูกไฟไหม้ไปหมดเมื่อคืนวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๓) นายอาคมจึงมีโอกาสได้แสดงโขนและละครเป็นประจำ สำหรับการแสดงโขนนั้นนายอาคมแสดงเป็นตัวพระรามเพียงคนเดียว
หน้าที่สำคัญที่นายอาคม สายาคม ได้รับสืบทอดจากครูผู้ใหญ่ฝ่ายโขน ละครก็คือ การทำพิธีไหว้ครูและครอบโขน ละครของกรมศิลปากร โดยเริ่มทำพิธีไหว้ครูและครอบเป็นทางการครั้งแรกที่ โรงเรียนนาฏศิลป ในปี พ.ศ.๒๕๐๕ และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าให้สืบทอดท่ารำหน้าพาทย์องค์พระพิราพ จากนายรงภักดี (เจียร จารุจรณ) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๐๖ณ โรงละครพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
นายอาคม สายาคม รับราชการในกรมศิลปากรมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๘ จนครบเกษียณอายุเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๑ ในตำแหน่งศิลปินพิเศษของกรมศิลปากร ภายหลังจากเกษียณอายุราชการ กรมศิลปากรจึงให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญทางด้านนาฏศิลป์
นายอาคม สายาคม ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายนพ.ศ.๒๕๒๕ รวมอายุได้ ๖๔ ปี ๗ เดือน ๑๔ วัน
http://ongphra.multiply.com/photos/album/7/7

2. ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม 2499 ( ปีวอก) ที่กรุงเทพมหานครเป็นบุตรคนแรกในจำนวนพี่น้อง 4 คน เป็นบุตรของนายจำนงค์ พรพิสุทธิ์ อดีตนาฏศิลปิน กรมศิลปากร และนางสมศรี พรพิสุทธิ์ อดีตนักเรียนนาฎศิลป์ และนักแสดงของคณะพลายมงคล ( ของพลโทหม่อมหลวงขาบ กุญชร ณ อยุธยา) มีน้องสาว 2 คน และน้องชาย 1 คน  เริ่มเข้าเรียนในชั้นอนุบาลจากโรงเรียนอนุบาลจารุณี จากนั้นเข้าเรียนต่อในระดับประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ที่โรงเรียนประชาราษฎร์พิทยา ประถมศึกษาปีที่ 3 และปีที่ 4 ที่โรงเรียนวัดใหม่อมตรส และศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนนาฎศิลป ( วิทยาลัยนาฎศิลป ปัจจุบัน) โดยเลือกเรียนในสาขานาฏศิลป์โขน ( พระ) ฝึกหัดนาฎศิลป์พื้นฐานกับคุณครูอุดม อังศุธร และแม่ลมุล ยมะคุปต์ เรียนที่วิทยาลัยนาฎศิลป์จนถึงชั้นกลางปีที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2515 ลาออกไปศึกษาต่อที่วิทยาลัยกรุงเทพการบัญชี  
การทำงาน
คุณครูพนิดา สิทธิวรรณ อดีตศิลปินของกรมศิลปากร ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกนาฏศิลป์กองการสังคีต กรมศิลปากร ได้เป็นผู้ชวนให้มาสอบบรรจุเข้ารับราชการในแผนกนาฎศิลป์ เริ่มทดลองปฎิบัติราชการในตำแหน่งศิลปินจัตวา เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2518 อัตราเงินเดือน 750 บาท ต่อมาได้บรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนในตำแหน่งนาฎศิลป์จัตวาตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2519 อัตราเงินเดือน800 บาท โดยมีหน้าที่รับผิดชอบแสดงเป็นตัวพระ ( โขน) รับบทพระ ตัวเอก ตัวรอง และตัวประกอบในการแสดงโขน ละคร ฟ้อนรำ การละเล่นพื้นเมือง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักการสังคีต  กรมศิลปากร

3. ดร.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์
เกิดเมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๘ ที่บางซื่อ กรุงเทพมหานคร สำเร็จการศึกษาปริญญาเอก ศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขานาฏยศิลป์ไทย จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ สร้างสรรค์ผลงานด้านนาฏศิลป์มาตั้งแต่อายุเพียง ๘ ขวบ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนระดับประถมศึกษาที่มีการสอนนาฏศิลป์นอกเวลาอย่างจริงจัง และนำไปแสดงปีละหลายครั้ง ประกอบกับได้ดูศิลปินที่มีชื่อเสียงแสดงโขนละครอยู่เสมอ นายศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ ได้ศึกษานาฏศิลป์จากสถานศึกษาหลายแห่งจนมีความเชี่ยวชาญ สามารถสร้างเอกลักษณ์การฟ้อนรำที่โดดเด่นเป็นแบบฉบับของตนเอง ได้แก่ การรำโขนพระ รำด้วยท่วงท่างามสง่า การรำละครนอก รำไปพร้อมกับใช้อารมณ์ตามท้องเรื่อง การรำละครในด้วยความนิ่มนวล เป็นผู้ที่มีผลงานการแสดงโขนละครมาอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศมากมาย โดยรับบทแสดงเป็นตัวพระ ตัวนาง (ละครนอก) พระเอก นางเอก เช่น พระราม พระอภัยมณี พระสังข์ กระหมังกุหนิง พลายชุมพล คาวี เป็นต้น นอกจากนั้น ยังออกแสดงนาฏศิลป์ประเภทระบำชุดอีกเป็นจำนวนมาก การได้ออกแสดงบนเวทีให้ประชาชนชมในบทบาทตัวละครหลากหลาย ทำให้ได้เรียนรู้วิธีการรำตามแบบแผนนาฏศิลป์ไทยทุกประเภท จึงเปรียบเสมือนคลังแห่งความรู้ที่พร้อมจะถ่ายทอดไปสู่อนุชนรุ่นหลังได้ทุกเรื่องในวรรณคดี ได้รับรางวัลเพชรสยาม จากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จากการแสดงนาฏศิลป์จนเป็นที่ยอมรับของประชาชน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งคณบดีคณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรมศิลปากร
นายศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ ได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง(นาฏศิลป์) พุทธศักราช ๒๕๔๘

4. สมรัตน์ ทองแท้  
นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการ  สำนักการสังคีต กรมศิลปากร รักษาการตำแหน่งนักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งเลขที่ ๓๖๕ และเป็น อาจารย์พิเศษ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และคณะศิลปนาฏดุริยางค์   สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

5. ฤทธิเทพ เถาว์หิรัญ
นาฏศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร สมรสแล้ว ภรรยาชื่อ ดวงดาว เถาว์หิรัญ (แนน) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งคีตศิลปิน สังกัดกลุ่มดุริยางค์สากล สำนักการสังคีต กรมศิลปากร  มีบุตร 2 คน หญิง 1 คน ชื่อ ปริยอร ( โรส )เถาว์หิรัญ  และชาย 1 คน ชื่อ รัวฤทธิ (รัว) เถาว์หิรัญ ทั้งคู่ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนจิตรลดา
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 46
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.1 วินาที กับ 20 คำสั่ง