เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 46
  พิมพ์  
อ่าน: 272507 ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 08 มี.ค. 11, 09:56

คำถามข้อที่  ๘๔.

คำถามนี้ย้อนไปถึงเรื่องต้นเหตุอันเป็นทำให้เกิดเรื่องรามเกียรติ์
เรื่องต้นเหตุที่ว่านั้น  คือ  เรื่อง "หัวล้าน"  เจ๋ง

เป็นที่ทราบกันดีว่า หัวล้าน แบ่งประเภทตามมาตรฐานที่รู้จักทั่วไปนั้น
มีอยู่ ๗ ประเภท  ได้แก่  ทุ่งหมาหลง   ดงช้างข้าม   ง่ามเทโพ
ชะโดตีแปลง    แร้งกระพือปีก   ฉีกหาง (ขวาน) ฟาด    และ ราชคลึงเครา
ลักษณะเป็นอย่างไรนั้น  ก็รู้จักกันโดยมากแล้ว  
ซึ่งเราจะไม่เอามะพร้าวห้าวมาขายสวนให้เสียเวลา

แต่เราจะถามถึงชื่อหัวล้านที่ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ดังต่อไปนี้
ว่ามีลักษณะอย่างไร  และเป็นชื่อเรียกหัวล้านของคนท้องถิ่นใด
ท่านทั้งหลาย  อย่าได้คิดมากจนเครียดผมร่วงหัวล้านไปเลย
ข้อนี้ไม่ยากหรอก   (เพราะยากกว่านี้   ก็ยังตอบได้เพียงลัดมือเดียว)

กติกา   กำหนดให้ตอบได้คนละ  ๑๐  ชื่อ  ต้องบอกลักษณะหัวล้านชื่อนั้นๆ
และบอกด้วยว่าเป็นชื่อหัวล้านของท้องถิ่นใด จะบอกเป็นภูมิภาคหรือจังหวัดก็ได้
มูลค่าข้อละ  ๒  คะแนน  มีรูปประกอบแถมให้อีก  ๓  คะแนน
เริ่มตอบเวลา  ๑๓.๐๐  น.   สิ้นสุดเวลาตอบ  ๒๒.๐๐  น.
ตอบซ้ำข้อกัน  คนตอบถูกทีหลังตั้งแต่คนที่ ๒ เป็นต้นไป ได้ ๑/๒ คะแนน

๑.หัวล้านผาลไถ
๒.ล้านเพชรหน้าทั่ง
๓.ล้านแก้วมาเมือง
๔.ล้านกบาลทองเหลือง
๕.ล้านกระเบื้องหม้อใหม่
๖.ครึ่งซีกพระจันทร์
๗.สุริยันหมดเมฆ
๘.ห้ามไม่หยุด
๙.หลุดท้ายทอย
๑๐.ห้อยหนองปรือ
๑๑.ลือทั่วบ้าน
๑๒.หัวโอง
๑๓.หัวอ๋อย
๑๔.ล้านเฉลิมรอยควาย
๑๕.ล้านกำแหง
๑๖.ล้านน้ำเต้า
๑๗.ตาฝั่งโยด
๑๘.ยีบนกระหม่อม
๑๙.ดินดงเข้าหมิ้น
๒๐.งวงช้างหลั่ง
๒๑.ท่อมค่อมทางหลัง
๒๒.ทังโคตบ่มี
๒๓.ล้านกิ่วกวาง
๒๔.ปีนลาดหน้าผา
๒๕.หน้าจักแตน

 ยิ้ม ยิ้มเท่ห์ ยิ้มกว้างๆ ยิงฟันยิ้ม ตกใจ
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 08 มี.ค. 11, 13:00

คำถามข้อที่  ๘๔.

คำถามนี้ย้อนไปถึงเรื่องต้นเหตุอันเป็นทำให้เกิดเรื่องรามเกียรติ์
เรื่องต้นเหตุที่ว่านั้น  คือ  เรื่อง "หัวล้าน"  

เป็นที่ทราบกันดีว่า หัวล้าน แบ่งประเภทตามมาตรฐานที่รู้จักทั่วไปนั้น
มีอยู่ ๗ ประเภท  ได้แก่  ทุ่งหมาหลง   ดงช้างข้าม   ง่ามเทโพ
ชะโดตีแปลง    แร้งกระพือปีก   ฉีกหาง (ขวาน) ฟาด    และ ราชคลึงเครา
ลักษณะเป็นอย่างไรนั้น  ก็รู้จักกันโดยมากแล้ว  
ซึ่งเราจะไม่เอามะพร้าวห้าวมาขายสวนให้เสียเวลา

แต่เราจะถามถึงชื่อหัวล้านที่ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ดังต่อไปนี้
ว่ามีลักษณะอย่างไร  และเป็นชื่อเรียกหัวล้านของคนท้องถิ่นใด
ท่านทั้งหลาย  อย่าได้คิดมากจนเครียดผมร่วงหัวล้านไปเลย
ข้อนี้ไม่ยากหรอก   (เพราะยากกว่านี้   ก็ยังตอบได้เพียงลัดมือเดียว)

กติกา   กำหนดให้ตอบได้คนละ  ๑๐  ชื่อ  ต้องบอกลักษณะหัวล้านชื่อนั้นๆ
และบอกด้วยว่าเป็นชื่อหัวล้านของท้องถิ่นใด จะบอกเป็นภูมิภาคหรือจังหวัดก็ได้
มูลค่าข้อละ  ๒  คะแนน  มีรูปประกอบแถมให้อีก  ๓  คะแนน
เริ่มตอบเวลา  ๑๓.๐๐  น.   สิ้นสุดเวลาตอบ  ๒๒.๐๐  น.
ตอบซ้ำข้อกัน  คนตอบถูกทีหลังตั้งแต่คนที่ ๒ เป็นต้นไป ได้ ๑/๒ คะแนน

๒. ล้านเพชรหน้าทั่ง               ภาคใต้         ลักษณะเป็นการล้านทางข้างหน้า
๓. ล้านแก้วมาเมือง               ภาคใต้         ลักษณะเป็นการล้านทางข้างหลัง
๔. ล้านกบาลทองเหลือง          ภาคใต้         ลักษณะเป็นการล้านตรงกลางศีรษะ
ดังมีคำจากวรกรรมท้องถิ่นเรื่องวรวงศ์ว่า
"คนหัวล้านมีอยู่มั่ง ล้านข้างหน้าเพชรหน้าทั่ง ล้านข้างหลังแก้วมาเมือง ล้านตรงกลางเรียก กระบาลทองเหลือง ล้านไม่ต้องเรื่อง เป็นเบื้องหม้อใหม่"

๖. ครึ่งซีกพระจันทร์              ภาคกลาง       ล้านตรงหน้าผากเว้าขึ้นไปด้านบน เป็นรูปครึ่งวงกลม เหมือนพระจันทร์ครึ่งซีก
๗. สุริยันหมดเมฆ                ภาคกลาง       ล้านเกลี้ยงทั้งหัว เห็นหัวแดงเหมือนดวงอาทิตย์

๘. ห้ามไม่หยุด                   จันทบุรี          ล้านเถิกขึ้นไปสองข้างขมับ มีผมไว้ตรงกลาง หรือกระหม่อมไปจนถึงด้านหลัง เหมือน "ง่ามเทโพ"
๙. หลุดท้ายทอย                 จันทบุรี          ล้านเป็นวง กลางกบาล มีผมรอบๆทั้งซ้ายขวาหน้าหลัง เหมือน "ชะโดตีแปลง"
๑๐. ห้อยหนองปรือ               จันทบุรี          ล้านเถิกไปทั้งสองข้างขมับ ลึกโอบกระหม่อม ไปต่อกันด้านหลัง เหลือกระจุกผมอยู่เพียงด้านหน้า
เหมือน "แร้งกระพือปีก"

ทางจันทบูร (จันทบุรี) เรียกชื่อหัวล้านไม่เหมือนทางภาคกลาง แต่ลักษณะของการล้านนั้นเหมือนกัน
ฉอกหมาหลง (ทุ่งหมาหลง) ดงช้างข้าม (ดงช้างข้าม) ห้ามไม่หยุด (ง่ามเทโพ) หลุดท้ายทอย (ชะโดตีแปลง)
ห้อยหนองปรือ (แร้งกระพือปีก) ลือทั่วบ้าน (ฉีกขวานฟาด)

๑๖. ล้านน้ำเต้า                   ภาคอีสาน        มีคำอธิบายไว้ในเสภาเรื่องศรีธนญไชยเชียงเมี่ยง   
บ้างหัวล้านแต่รอบนอกมีผมกลาง ตำราอ้างล้านน้ำเต้าเค้าดูขัน

๒๒. ทังโคตรบ่มี                  ภาคเหนือ         ล้านเกลี้ยงทั้งหัว ลักษณะเหมือน "สุริยันหมดเมฆ" ของทางภาคกลาง
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 08 มี.ค. 11, 13:00

คำถามข้อที่  ๘๔.
คำถามนี้ย้อนไปถึงเรื่องต้นเหตุอันเป็นทำให้เกิดเรื่องรามเกียรติ์
เรื่องต้นเหตุที่ว่านั้น  คือ  เรื่อง "หัวล้าน"  เจ๋ง
เป็นที่ทราบกันดีว่า หัวล้าน แบ่งประเภทตามมาตรฐานที่รู้จักทั่วไปนั้น
มีอยู่ ๗ ประเภท  ได้แก่  ทุ่งหมาหลง   ดงช้างข้าม   ง่ามเทโพ
ชะโดตีแปลง    แร้งกระพือปีก   ฉีกหาง (ขวาน) ฟาด    และ ราชคลึงเครา
ลักษณะเป็นอย่างไรนั้น  ก็รู้จักกันโดยมากแล้ว  
ซึ่งเราจะไม่เอามะพร้าวห้าวมาขายสวนให้เสียเวลา
แต่เราจะถามถึงชื่อหัวล้านที่ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ดังต่อไปนี้
ว่ามีลักษณะอย่างไร  และเป็นชื่อเรียกหัวล้านของคนท้องถิ่นใด
ท่านทั้งหลาย  อย่าได้คิดมากจนเครียดผมร่วงหัวล้านไปเลย
ข้อนี้ไม่ยากหรอก   (เพราะยากกว่านี้   ก็ยังตอบได้เพียงลัดมือเดียว)

กติกา   กำหนดให้ตอบได้คนละ  ๑๐  ชื่อ  ต้องบอกลักษณะหัวล้านชื่อนั้นๆ
และบอกด้วยว่าเป็นชื่อหัวล้านของท้องถิ่นใด จะบอกเป็นภูมิภาคหรือจังหวัดก็ได้
มูลค่าข้อละ  ๒  คะแนน  มีรูปประกอบแถมให้อีก  ๓  คะแนน
เริ่มตอบเวลา  ๑๓.๐๐  น.   สิ้นสุดเวลาตอบ  ๒๒.๐๐  น.
ตอบซ้ำข้อกัน  คนตอบถูกทีหลังตั้งแต่คนที่ ๒ เป็นต้นไป ได้ ๑/๒ คะแนน

ขอตอบค่ะ
๑๒.หัวโอง : ภาคเหนือ  : ลักษณะ ล้านจนหัวใส โล่งไม่มีผม
๑๓.หัวอ๋อย : ภาคเหนือ : ลักษณะ หัวล้านแบบผมบาง ยังมีผมอยู่แต่ผมบางจนมองเห็นหนังหัว
๕.ล้านกระเบื้องหม้อใหม่:ภาคใต้ :ลักษณะ ล้านไม่มีรูปแบบ ล้านไม่ตรงเรื่อง
๖. ครึ่งซีกพระจันทร์ : ภาคกลาง : ลักษณะ ล้านตรงหน้าผากเว้าขึ้นไปด้านบน เป็นรูปครึ่งวงกลม เหมือนพระจันทร์ครึ่งซีก
๗. สุริยันหมดเมฆ : ภาคกลาง :ลักษณะ: ล้านเกลี้ยงทั้งหัว ล้านสมบูรณ์แบบ เห็นหัวแดงเหมือนดวงอาทิตย์
๑๔. ล้านเฉลิมรอยควาย : ภาคเหนือตอนล่าง : ล้านเว้าหน้า ล้านตรงหน้าผากเว้าขึ้นไปด้านบนเป็นรูปครึ่งวงกลม
๑๕. ล้านกำแหง : ภาคกลาง : ล้านตรงกลางหัว เหมือนกับ ล้านชะโดตีแปลง คือล้านเป็นวงกลางกบาล มีผมรอบๆ ทั้งซ้ายขวาหน้าหลัง มองจากด้านบนจะเห็นชัดเจน
๑๘. ยีบนกระหม่อม : ภาคเหนือ : ลักษณะ ล้านลึกเข้าไปทั้งสองขมับต่อกันถึงด้านหลัง เหลือผมอยู่ตรงกลางหนึ่งกระจุก และเป็นผมหยิกหนึ่งกระจุก
๒๑. ท่อมค่อมทางหลัง : ภาคเหนือ :ลักษณะ  ล้านทางด้านหลัง
๒๒. ทังโคตบ่มี : ภาคเหนือ : ลักษณะ ล้านเกลี้ยงทั้งหัว ไม่มีผมเหลืออยู่เลย เหมือนกันกับสุริยันหมดเมฆ

อันนี้แถมค่ะ เพลงคนหัวล้าน ของ สุรพล สมบัติเจริญ  





บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 08 มี.ค. 11, 13:48

หนังสือวรรณกรรมท้องถิ่นเรื่องวรวงศ์กล่าวว่า “คนหัวล้านมีอยู่มั่ง ล้านข้างหน้าเพชรหน้าทั่ง ล้านข้างหลังแก้วมาเมือง ล้านตรงกลางเรียก กระบาลทองเหลือง ล้านไม่ต้องเรื่อง เป็นเบื้องหม้อใหม่”
๑.หัวล้านผาลไถ เป็นท้องถิ่นภาคใต้
๒.ล้านเพชรหน้าทั่ง เป็นท้องถิ่นภาคใต้ภาคใต้ ลักษณะผมล้านด้านหน้า
๓.ล้านแก้วมาเมือง เป็นท้องถิ่นภาคใต้ภาคใต้ ลักษณะผมล้านข้างหลัง
๔.ล้านกบาลทองเหลือง เป็นท้องถิ่นภาคใต้ภาคใต้ ลักษณะผมล้านตรงกลาง
๕.ล้านกระเบื้องหม้อใหม่ เป็นท้องถิ่นภาคใต้ภาคใต้ ลักษณะผมล้านไม่ตรงกับประเภทใดเลย
๖.ครึ่งซีกพระจันทร์ คือล้านที่ด้านหน้าตรงหน้าผากเว้าขึ้นไปด้านบน เป็นรูปครึ่งวงกลม เหมือนพระจันทร์ครึ่งซีก ล้านแบบนี้ดูคล้าย “ล้านรอยควาย” ของภาคเหนือตอนล่าง
๗.สุริยันหมดเมฆ คือล้านเกลี้ยงทั้งหัว ล้านสมบูรณ์แบบ เห็นหัวแดงเหมือนดวงอาทิตย์ เหมือนกับล้านเฉ่งเหม่งของจันทบูร และ ล้านแบบตังโคตรบ่มีของล้านนา
๘.ห้ามไม่หยุด ทางจันทบุรี
๙.หลุดท้ายทอย ทางจันทบุรี
๑๐.ห้อยหนองปรือ ทางจันทบุรี
๑๑.ลือทั่วบ้าน ทางจันทบุรี
๑๒.หัวโอง
๑๓.หัวอ๋อย
๑๔.ล้านเฉลิมรอยควาย คือ ล้านเว้าหน้า
๑๕.ล้านกำแหง
๑๖.ล้านน้ำเต้า
๑๗.ตาฝั่งโยด
๑๘.ยีบนกระหม่อม
๑๙.ดินดงเข้าหมิ้น
๒๐.งวงช้างหลั่ง
๒๑.ท่อมค่อมทางหลัง
๒๒.ทังโคตบ่มี
๒๓.ล้านกิ่วกวาง
๒๔.ปีนลาดหน้าผา
๒๕.หน้าจักแตน

รูป http://www.moomkafae.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=156684&Ntype=5


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 08 มี.ค. 11, 13:49

ลักษณะการผมร่วงเป็นขั้นต่างๆ


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 08 มี.ค. 11, 16:03

คุณอาร์ตตอบคำถามข้อที่  ๘๔.


/ ๑/๒ ๒. ล้านเพชรหน้าทั่ง               ภาคใต้        
ลักษณะเป็นการล้านทางข้างหน้า
/ ๑/๒ ๓. ล้านแก้วมาเมือง               ภาคใต้        
ลักษณะเป็นการล้านทางข้างหลัง
/ ๑/๒ ๔. ล้านกบาลทองเหลือง          ภาคใต้        
ลักษณะเป็นการล้านตรงกลางศีรษะ
/ /๖. ครึ่งซีกพระจันทร์              ภาคกลาง       
ล้านตรงหน้าผากเว้าขึ้นไปด้านบน เป็นรูปครึ่งวงกลม เหมือนพระจันทร์ครึ่งซีก
/ /๗. สุริยันหมดเมฆ                ภาคกลาง      
ล้านเกลี้ยงทั้งหัว เห็นหัวแดงเหมือนดวงอาทิตย์
/๘. ห้ามไม่หยุด                   จันทบุรี          
ล้านเถิกขึ้นไปสองข้างขมับ มีผมไว้ตรงกลาง หรือกระหม่อมไปจนถึงด้านหลัง เหมือน "ง่ามเทโพ"
/๙. หลุดท้ายทอย                 จันทบุรี          
ล้านเป็นวง กลางกบาล มีผมรอบๆทั้งซ้ายขวาหน้าหลัง เหมือน "ชะโดตีแปลง"
/๑๐. ห้อยหนองปรือ               จันทบุรี         
ล้านเถิกไปทั้งสองข้างขมับ ลึกโอบกระหม่อม ไปต่อกันด้านหลัง เหลือกระจุกผมอยู่เพียงด้านหน้า
เหมือน "แร้งกระพือปีก"
//๑๖. ล้านน้ำเต้า                   ภาคอีสาน        
มีคำอธิบายไว้ในเสภาเรื่องศรีธนญไชยเชียงเมี่ยง
“บ้างหัวล้านแต่รอบนอกมีผมกลาง ตำราอ้างล้านน้ำเต้าเค้าดูขัน”
//๒๒. ทังโคตรบ่มี                  ภาคเหนือ        
ล้านเกลี้ยงทั้งหัว ลักษณะเหมือน "สุริยันหมดเมฆ" ของทางภาคกลาง

ได้ไป  ๑๕  ๑/๒  คะแนน 
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 08 มี.ค. 11, 16:10

คุณดีดี  ตอบมาดังนี้

/๑๒.หัวโอง : ภาคเหนือ  : ลักษณะ ล้านจนหัวใส โล่งไม่มีผม
//๑๓.หัวอ๋อย : ภาคเหนือ : ลักษณะ หัวล้านแบบผมบาง ยังมีผมอยู่แต่ผมบางจนมองเห็นหนังหัว
/๕.ล้านกระเบื้องหม้อใหม่:ภาคใต้ :ลักษณะ ล้านไม่มีรูปแบบ ล้านไม่ตรงเรื่อง
//๖. ครึ่งซีกพระจันทร์ : ภาคกลาง : ลักษณะ ล้านตรงหน้าผากเว้าขึ้นไปด้านบน เป็นรูปครึ่งวงกลม เหมือนพระจันทร์ครึ่งซีก
//๗. สุริยันหมดเมฆ : ภาคกลาง :ลักษณะ: ล้านเกลี้ยงทั้งหัว ล้านสมบูรณ์แบบ เห็นหัวแดงเหมือนดวงอาทิตย์
//๑๔. ล้านเฉลิมรอยควาย : ภาคเหนือตอนล่าง : ล้านเว้าหน้า ล้านตรงหน้าผากเว้าขึ้นไปด้านบนเป็นรูปครึ่งวงกลม
//๑๕. ล้านกำแหง : ภาคกลาง : ล้านตรงกลางหัว เหมือนกับ ล้านชะโดตีแปลง คือล้านเป็นวงกลางกบาล มีผมรอบๆ ทั้งซ้ายขวาหน้าหลัง มองจากด้านบนจะเห็นชัดเจน
//๑๘. ยีบนกระหม่อม : ภาคเหนือ : ลักษณะ ล้านลึกเข้าไปทั้งสองขมับต่อกันถึงด้านหลัง เหลือผมอยู่ตรงกลางหนึ่งกระจุก และเป็นผมหยิกหนึ่งกระจุก
/๒๑. ท่อมค่อมทางหลัง : ภาคเหนือ :ลักษณะ  ล้านทางด้านหลัง
//๒๒. ทังโคตบ่มี : ภาคเหนือ : ลักษณะ ล้านเกลี้ยงทั้งหัว ไม่มีผมเหลืออยู่เลย เหมือนกันกับสุริยันหมดเมฆ

ได้ไป  ๑๖  คะแนน  บวกคะแนนแถมจากรูป  ๓  คะแนน เป็น  ๑๙  คะแนน
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 08 มี.ค. 11, 16:25

คุณไซมีสตอบมาดังนี้


/๑.หัวล้านผาลไถ เป็นท้องถิ่นภาคใต้
/ ๑/๒  ๒.ล้านเพชรหน้าทั่ง เป็นท้องถิ่นภาคใต้ภาคใต้ ลักษณะผมล้านด้านหน้า
/ ๓.ล้านแก้วมาเมือง เป็นท้องถิ่นภาคใต้ภาคใต้ ลักษณะผมล้านข้างหลัง
/ ๑/๒  ๔.ล้านกบาลทองเหลือง เป็นท้องถิ่นภาคใต้ภาคใต้ ลักษณะผมล้านตรงกลาง
/ ๕.ล้านกระเบื้องหม้อใหม่ เป็นท้องถิ่นภาคใต้ภาคใต้ ลักษณะผมล้านไม่ตรงกับประเภทใดเลย
//๖.ครึ่งซีกพระจันทร์ คือล้านที่ด้านหน้าตรงหน้าผากเว้าขึ้นไปด้านบน เป็นรูปครึ่งวงกลม เหมือนพระจันทร์ครึ่งซีก ล้านแบบนี้ดูคล้าย “ล้านรอยควาย” ของภาคเหนือตอนล่าง
//๗.สุริยันหมดเมฆ คือล้านเกลี้ยงทั้งหัว ล้านสมบูรณ์แบบ เห็นหัวแดงเหมือนดวงอาทิตย์ เหมือนกับล้านเฉ่งเหม่งของจันทบูร และ ล้านแบบตังโคตรบ่มีของล้านนา
/๘.ห้ามไม่หยุด ทางจันทบุรี
/๙.หลุดท้ายทอย ทางจันทบุรี
/๑๐.ห้อยหนองปรือ ทางจันทบุรี
/๑๑.ลือทั่วบ้าน ทางจันทบุรี
/๑๔.ล้านเฉลิมรอยควาย คือ ล้านเว้าหน้า

รวมได้  ๑๕  คะแนน  บวกคะแนนรูป  ๓ คะแนน  ได้ ๑๘  คะแนน


หมายเหตุ   ไม่ได้ตัดคะแนนตามกติกาว่า
ตอบซ้ำข้อกัน  คนตอบถูกทีหลังตั้งแต่คนที่ ๒ เป็นต้นไป ได้ ๑/๒ คะแนน
เพราะเห็นว่า  คนตอบอุตสาหะหาข้อมูลมาตอบดี 
ผู้ตั้งคำถามก็ไม่มีประสงค์จะตัดคะแนนให้เสียกำลังใจของนักรบ

(หัวล้านที่เหลือ  อยากให้ช่วยกันหาคำตอบมาตอบด้วย 
คนอื่นๆ จะได้รู้ว่าเป็นหัวล้านแบบไหน  อย่างไร   จักขอบคุณยิ่ง)
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 08 มี.ค. 11, 17:03

ไม่ได้ชำนาญด้านหัวล้านนะคะ พยายามหามาตอบค่ะ
ได้แค่ว่าภาษาถิ่นไหนค่ะ ลักษณะอย่าไรคงต้องพิจารณาเอาจากชื่อนะคะ

๑.หัวล้านผาลไถ = ภาคใต้
๒.ล้านเพชรหน้าทั่ง= ภาคใต้
๓.ล้านแก้วมาเมือง= ภาคใต้
๔.ล้านกบาลทองเหลือง= ภาคใต้
๕.ล้านกระเบื้องหม้อใหม่= ภาคใต้
๖.ครึ่งซีกพระจันทร์=ภาคกลาง
๗.สุริยันหมดเมฆ=ภาคกลาง
๘.ห้ามไม่หยุด= จันทบุรี
๙.หลุดท้ายทอย= จันทบุรี
๑๐.ห้อยหนองปรือ= จันทบุรี
๑๑.ลือทั่วบ้าน= จันทบุรี
๑๒.หัวโอง= ภาคเหนือ
๑๓.หัวอ๋อย= ภาคเหนือ
๑๔.ล้านเฉลิมรอยควาย= ภาคเหนือตอนล่าง
๑๕.ล้านกำแหง= ภาคกลาง
๑๖.ล้านน้ำเต้า= ภาคอีสาน
๑๗.ตาฝั่งโยด= ภาคเหนือ(ต๋าฝั่งโหยด)
๑๘.ยีบนกระหม่อม= ภาคเหนือ
๑๙.ดินดงเข้าหมิ้น= ภาคเหนือ
๒๐.งวงช้างหลั่ง= ภาคเหนือ (งวงจ้างหลั่ง)
๒๑.ท่อมค่อมทางหลัง= ภาคเหนือ (ต้อมก้อมตางหลัง)
๒๒.ทังโคตบ่มี= ภาคเหนือ (ตึงโคตรบ่มี)
๒๓.ล้านกิ่วกวาง= ภาคเหนือ (ล้านกิ๋วกว่าง)
๒๔.ปีนลาดหน้าผา= ภาคเหนือ
๒๕.หน้าจักแตน= ภาคเหนือ (หน้าจั๊กแต๋น)
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 09 มี.ค. 11, 15:26

ขอบคุณคุณดีดี  ในรายละเอียดลักษณะหัวล้านแต่ละชื่อ 
เดี๋ยวว่างๆ  ผมจะเอามาลงไว้ให้อ่านกันเป็นความรู้


คำถามข้อที่  ๘๕.

สหายของคุณหลวงส่งมา  สหายท่านนี้มีสหายคนหนึ่งเป็นแขกฮินดู
วันหนึ่ง  สหายเกิดไปเถียงกันกับสหายชาวภารตะเรื่องรามเกียรติ์เข้า
ส่วนจะเถียงกันว่าอย่างไรบ้าง   รายละเอียดยาวมาก  ไม่จำเป็นต้องเล่า

แต่สหายของผมเถียงกับสหายชาวภารตะว่า   รามเกียรติ์ไทย
มีอะไรที่สะท้อนวัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิตของคนไทยสมัยก่อน
อยู่หลายตอน  ซึ่งสิ่งเหล่านั้นไม่ปรากฏในรามายณะของอินเดีย
สหายชาวภารตะท้าว่า  งั้นเอามาแสดงตัวอย่างให้ดูหน่อยซิ
เอาล่ะสิ  สหายของผมดันไปอวดรู้เข้าอย่างนี้  ร้อนถึงผมด้วย
อย่ากระนั้นเลย   เอามาให้นักรบเรือนไทยช่วยหาตัวอย่างดีกว่า

คำสั่ง    จงยกตัวอย่างจากบทละครเรื่องรามเกียรติ์ รัชกาลที่ ๑ และ ๒
ที่สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิตของคนไทยสมัยก่อน มาสัก  ๓  ตัวอย่าง
พร้อมอธิบายประกอบด้วยว่า  ตัวอย่างนั้นแสดงให้เห็นวัฒนธรรม
ประเพณีไทยอย่างไรบ้าง 

ข้อตกลง  ตอบหน้าม่าน  ได้ตั้งแต่เวลา  ๑๖.๐๐  น. จนกระทั่งถึงเวลา  ๒๒.๐๐  น.
ราคาตัวอย่างละ  ๕  คะแนน  เขียนสะกดผิดตกหล่น  หัก ๑ คะแนนขึ้นไป
ตามความบกพร่องมากน้อย   ยกตัวอย่างซ้ำกับของคนอื่นที่ตอบไปแล้ว
ไม่มีคะแนนให้   และจะหักคะแนนด้วย  ๑  คะแนน



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 09 มี.ค. 11, 16:13

ตอบข้อ 85

1. ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์
    ในเรื่องรามเกียรติ์มีความเชื่อด้านไสยศาสตร์มากมาย เช่นไมยราพ ใช้อาคาประกอบบริกรรมคาถาต่างๆนานา ซึ่งเป็นความเชื่อพื้นฐานของคนไทย
     "จึงหยุดยืนอยู่เหนือลม   ทำตามอาคมยักษา
       เทยาสะกดนิทรา         ใส่กล้องรัตนาแล้วเป่าไป"


2. ความเชื่อซึ่งโชคลางต่างๆ มีอยู่ด้วยกันหลายตอน เช่น ทศกัณฐ์ฝันร้าย จึงได้ขับภิเภกออกจากกรุงลงกา, ตอนหนุมานแปลงเป็นหมาเน่าลอยน้ำมา ส่วนองคตก็แปลงเป็นอีกาจิกไส้ ตายลอยน้ำมา ทำลายพิธีชุบหอกโมกศักดิ์ของกุมภกรรณทำให้พิธีสิ้นความขลังไป, การออกรบทับจับศึกก็ต้องดูเวลา ยาม จับยามต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งฤกษ์ อันอุดมมงคล
    "ขอให้วายุบุตรวุฒิไกร    องคตผู้ไวปัญญา          
     นิมิตเป็นกาจิกสุนัขเน่า   ลอยเข้าใกล้ยักษา"

3. การกระทำพิธีดื่มน้ำพิพัฒน์สัตยา ซึ่งไทยได้อยุธยา - รัตนโกสินทร์ มีพระราชพิธีดังกล่าวเพื่อเป็นขวัญกำลังใจและการสาบานตนให้ซื่อสัตย์ต่อพระมหากษัติรย์ เช่น ตอน ภิเภกถวายตัวแก่พระราม เป็นต้น

4. การละครใน เป็นศิลปะการร่ายรำในราชสำนัก ก็ปรากฎให้เห็นในเรื่องรามเกียรติ์ เช่น ตอนศึกอินทรชิตครั้งที่ 2
    "มีทั้งนางรำระบำใน   มิได้เคยเห็นแต่ก่อนมา"


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 09 มี.ค. 11, 18:56

คำถามข้อที่  ๘๕.
สหายของคุณหลวงส่งมา  สหายท่านนี้มีสหายคนหนึ่งเป็นแขกฮินดู
วันหนึ่ง  สหายเกิดไปเถียงกันกับสหายชาวภารตะเรื่องรามเกียรติ์เข้า
ส่วนจะเถียงกันว่าอย่างไรบ้าง   รายละเอียดยาวมาก  ไม่จำเป็นต้องเล่า
แต่สหายของผมเถียงกับสหายชาวภารตะว่า   รามเกียรติ์ไทย
มีอะไรที่สะท้อนวัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิตของคนไทยสมัยก่อน
อยู่หลายตอน  ซึ่งสิ่งเหล่านั้นไม่ปรากฏในรามายณะของอินเดีย
สหายชาวภารตะท้าว่า  งั้นเอามาแสดงตัวอย่างให้ดูหน่อยซิ
เอาล่ะสิ  สหายของผมดันไปอวดรู้เข้าอย่างนี้  ร้อนถึงผมด้วย
อย่ากระนั้นเลย   เอามาให้นักรบเรือนไทยช่วยหาตัวอย่างดีกว่า

คำสั่ง    จงยกตัวอย่างจากบทละครเรื่องรามเกียรติ์ รัชกาลที่ ๑ และ ๒
ที่สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิตของคนไทยสมัยก่อน มาสัก  ๓  ตัวอย่าง
พร้อมอธิบายประกอบด้วยว่า  ตัวอย่างนั้นแสดงให้เห็นวัฒนธรรม
ประเพณีไทยอย่างไรบ้าง  

ข้อตกลง  ตอบหน้าม่าน  ได้ตั้งแต่เวลา  ๑๖.๐๐  น. จนกระทั่งถึงเวลา  ๒๒.๐๐  น.
ราคาตัวอย่างละ  ๕  คะแนน  เขียนสะกดผิดตกหล่น  หัก ๑ คะแนนขึ้นไป
ตามความบกพร่องมากน้อย   ยกตัวอย่างซ้ำกับของคนอื่นที่ตอบไปแล้ว
ไม่มีคะแนนให้   และจะหักคะแนนด้วย  ๑  คะแนน


ขอตอบค่ะ

1. เกี่ยวกับการแต่งกาย ที่งดงามตามแบบเอกลักษณ์ไทย ทั้งตัวพระและตัวนาง

ตัวอย่างตอนทัพนาคได้เปรียบ พระยากาลนาคคิดแค้นท้าวสหะมลิวันยักษา จึงยกทัพไปตีเมืองมาร    
  ประทุมแก้วโปรยปรายดังสายฝน    ทรงสุคนธานทิพย์เกสร
  สอดใส่สนับเพลาเชิงงอน              อุทุมพรภูษาพื้นแดง
  ชายแครงชายไหวประดับพลอย      ฉลององค์อย่างน้อยเครือแย่ง
  ตาบทิศทับทรวงลายแทง               สังวาลเพ็ชรลูกแดงชิงดวง
  พาหุรัดทองกรมังกรเกี้ยว                ธำมรงค์พลอยเขียวรุ้งร่วง
  มงกุฎแก้วสุรกานต์ดอกไม้พวง         ห้อยห่วงกุณฑลกรรเจียกจร
  จับพระแสงขรรค์แก้วแววฟ้า           งามสง่าดั่งพระยาไกรสร
  เสด็จจากแท่นทิพย์อลงกรณ์           บทจรขึ้นรถสุรกานต์

ตัวอย่างตอนท้าวโรมพัดส่งธิดา (อรุณวดี) ไปทำลายตละฤาษีกไลโกฎ       
  ชำระสระสนานสำราญองค์    ทรงสุคนธ์ธารกลิ่นเกสร
  ภูษาลายเครือกินนร            ช่อเชิงมังกรกระหวัดกาย
  สไบตาดพื้นทองกรองริม      สอดสีทับทิมเฉิดฉาย
  ทับทรวงมรกตจำหลักลาย     ตาบทิศสร้อยสายสังวาลวรรณ
  สะอิ้งแก้วแววเลื่อมมุกดาหาร ดวงประพาฬบานพับประดับถัน
  พาหุรัดทองกรมังกรพัน         ธำมรงค์เพชรกุดั่นพรายตา
  ทรงมหามงกุฎเนาวรัตน์         กรรเจียกจรจำรัสซ้ายขวา
  งามเพียงนางเทพกินรา          นวยนาดยาตรามาขึ้นรถ

2. เกี่ยวกับการรบ การจัดทัพและการตั้งค่ายใน
มีการจัดกระบวนทัพและการตั้งค่ายเป็นแบบต่างๆ ตามค่านิยมและความเชื่อของคนไทย เพื่อความเป็นสิริมงคล ความได้เปรียบในการรบ สร้างขวัญกำลังใจ มีการแบ่งกำลังพลและการบังคับบัญชา รวมถึงมีการกล่าวถึงอาวุธที่ใช้ในการรบแบบไทย เช่น ศร ขรรค์ ดาบ โล่ ง้าว ปืน ธนู โตมร ฯลฯ

ตัวอย่างการจัดทัพ ตอน หนุมานเผากรุงลงกา
             ทัพหน้าเกณฑ์ให้นิลนน          คุมพลสิบสมุทรเป็นนายใหญ่
 ทัพหนุนองคตฤทธิไกร                       คุมพลสิบสมุทรวานร
 เกียกกายคำแหงหนุมาน                     คุมทหารสิบสมุทรชาญสมร
 ทัพหลวงโยธาพลากร                        ซับซ้อนยี่สิบสมุทรตรา
 ยกกระบัตรนิลพัทชาญยุททธ์                คุมพลสิบสมุทรแกล้วกล้า
 กองขันสิบสมุทรโยธา                        นิลราชศักดาบัญชาการ
 กองหลังนิลเอกคุมไพร่                       นับได้เจ็ดสมุทรทวยหาญ
 รายเรียงเพียบพ้นสุธาธาร                    เสียงสะเทื้อนสะท้านเป็นโกลี

3. เกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่
มีการบรรยายเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์ สอดแทรกไว้ในบทพระราชนิพนธ์
ทำให้มองเห็นภาพผู้คนในสมัยนั้นได้อย่างชัดเจน

ตัวอย่างตอน หนุมานเผากรุงลงกา
           รู้ว่าสมโภชธานี                     ต่างตนยินดีเกษมสันต์
 แต่งตัวผัดหน้าใส่น้ำมัน                      ชวนกันมาดูวุ่นไป

และ
           บัดนั้น                                ฝ่ายหมู่อสุราน้อยใหญ่
 บ้างกินเหล้ากินแกล้มวุ่นไป                 เมามายไม่สมประดี
 บ้างเต้นบ้างรำทำเพลง                      ตบมือโฉงเฉงอึงมี่
 อื้อฉาวไปทั้งธานี                             อสุรีชื่นชมปรีดา
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 09 มี.ค. 11, 21:20

คำถามข้อที่  ๘๕.

สหายของคุณหลวงส่งมา  สหายท่านนี้มีสหายคนหนึ่งเป็นแขกฮินดู
วันหนึ่ง  สหายเกิดไปเถียงกันกับสหายชาวภารตะเรื่องรามเกียรติ์เข้า
ส่วนจะเถียงกันว่าอย่างไรบ้าง   รายละเอียดยาวมาก  ไม่จำเป็นต้องเล่า

แต่สหายของผมเถียงกับสหายชาวภารตะว่า   รามเกียรติ์ไทย
มีอะไรที่สะท้อนวัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิตของคนไทยสมัยก่อน
อยู่หลายตอน  ซึ่งสิ่งเหล่านั้นไม่ปรากฏในรามายณะของอินเดีย
สหายชาวภารตะท้าว่า  งั้นเอามาแสดงตัวอย่างให้ดูหน่อยซิ
เอาล่ะสิ  สหายของผมดันไปอวดรู้เข้าอย่างนี้  ร้อนถึงผมด้วย
อย่ากระนั้นเลย   เอามาให้นักรบเรือนไทยช่วยหาตัวอย่างดีกว่า

คำสั่ง    จงยกตัวอย่างจากบทละครเรื่องรามเกียรติ์ รัชกาลที่ ๑ และ ๒
ที่สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิตของคนไทยสมัยก่อน มาสัก  ๓  ตัวอย่าง
พร้อมอธิบายประกอบด้วยว่า  ตัวอย่างนั้นแสดงให้เห็นวัฒนธรรม
ประเพณีไทยอย่างไรบ้าง  

ข้อตกลง  ตอบหน้าม่าน  ได้ตั้งแต่เวลา  ๑๖.๐๐  น. จนกระทั่งถึงเวลา  ๒๒.๐๐  น.
ราคาตัวอย่างละ  ๕  คะแนน  เขียนสะกดผิดตกหล่น  หัก ๑ คะแนนขึ้นไป
ตามความบกพร่องมากน้อย   ยกตัวอย่างซ้ำกับของคนอื่นที่ตอบไปแล้ว
ไม่มีคะแนนให้   และจะหักคะแนนด้วย  ๑  คะแนน


เดือนร้อนกระผมนาคุณหลวงที่ต้องตอบคำถามของนายห้างแขกนักกุด่า

1. การจัดพระราชพิธีบรมศพของท้าวพระยาผู้ครองเมือง
ซึ่งในสมัยนี้ไม่จัดทำแบบโบราณกันแล้ว เนื่องด้วยคิดเห็นกันว่าสิ้นเปลืองโดนใช้เหตุ
จึงทอดลดยุบดุลเหลือเพียงสิ่งสำคัญเท่านั้น ส่วนประกอบอื่นๆ ก็เลิกหายไป
ตัวอย่าง ตอนงานพระเมรุของทศกัณฐ์
"จึ่งให้ตั้งมหาเมรุมาศ                อันโอภาสพรรณรายฉายฉาน
สี่มุขห้ายอดดั่งวิมาน                 สูงตระหง่านเงื้อมง้ำอัมพร
ทั้งเมรุทิศเมรุแทรกรายเรียง         ดูเพียงสัตภัณฑ์สิงขร
มีชั้นอินทร์พรหมประนมกร          รายรูปกินนรคนธรรพ์
ประดับด้วยราชวัติฉัตรจรง           พนมแก้วแถวองค์สลับคั่น
ชั้นในพระเมรุทองนั้น                มีบัลลังก์รัตน์รูจี
เพดานปักทองเป็นเดือนดาว         แสงวาวด้วยแก้วมณีศรี
ทั้งระย้าพู่พวงดวงมณี               ก็เสร็จตามมีพระบัญชา
เมื่อนั้น                              พญาพิเภกยักษา
จึ่งให้เชิญพระศพเจ้าลงกา          ขึ้นมหาพิชัยราชรถ
ประดับด้วยเครื่องสูงเศวตฉัตร       กรรชิงรัตน์พัดโบกอลงกต
ขนัดพลเกณฑ์แห่เป็นหลั่นลด       รถโยงรถนำเรียบเรียง
กลองชนะปี่ฆ้องก้องกึก             พันลึกครึกครั่นสนั่นเสียง
แตรงอนแตรฝรั่งเป็นคู่เคียง         สำเนียงเอิกเกริกเป็นโกลา
จึ่งให้เคลื่อนรถทรงบรมศพ         พระจอมภพธิราชยักษา
โดยกระบวนไปตามรัถยา           ยังมหาเมรุมาศรูจี"

2. สมโภชเด็กเกิดใหม่
ในอดีตไม่ว่าจะเป็นลูกชาวบ้าน บุตรขุนนาง หรือพระราชกุมารของพระเจ้าแผ่นดิน
ก็ย่อมมีงานสมโภชให้เด็กเกิดใหม่อยู่ทั่วไป แต่ปัจจุบันประเพณีนี้กลับหาเห็นยากนัก
ตัวอย่าง ตอนสมโภชพระราชกุมารท้าวทศรถ
"บัดนั้น                              ปุโรหิตพฤฒาผู้ใหญ่
ได้ฤกษ์ก็จุดเทียนชัย                ติดในแว่นแก้วรจนา
เวียนเอยเวียนเทียน                 ให้เวียนแต่ซ้ายไปขวา
โหรเฒ่าลั่นฆ้องสามครา             ประโคมทั้งกาหลดนตรี
ขับไม้ขับขานประสานเสียง         ดุริยางค์จำเรียงอึงมี่
ราชครูปุโรหิตเสนี                   พระศรีสุริยวงศ์พร้อมกัน
เจ็ดรอบชอบราชตำรับ              จึ่งดับเทียนชัยเฉลิมขวัญ
ชีพ่อจบหัตถ์แล้วโบกควัน           ให้พระพงศ์เทวัญกุมารา
เอาจุณเจิมเฉลิมพระนลาฏ          สี่องค์อัครราชโอรสา
แล้วโอมอ่านพระเวทพรหมา         ถวายอาเศียรพาทสวัสดี"

3. การลงทัณฑ์นักโทษ
สมัยนี้เขาไม่ทำกันแล้ว จารีตนครบาล ไม่มีหรอก
ยกเลิกไปแต่รัชกาลที่ 5 โน่น (แต่อาจจะยังมีจารีตภูธร จารีตสันติบาล รูดซิบปาก)
ตัวอย่าง ตอนหนุมานเผาลงกา
"ครั้นถึงจึ่งช่วยกันผูกมัด             รึงรัดกรกายกระบี่ศรี
แทงด้วยแหลนหลาวทวนตรี         บ้างตีด้วยตระบองเท่าลำตาล
บ้างเอาค้อนเหล็กรุมรัน              บ้างหมู่ก็ฟันด้วยขวาน
บ้างเอาพะเนินค้อนรอนราญ         บ้างประหารด้วยง้าววุ่นไป"
...............
"ครั้นถึงช่วยกันอุตลุด               กลิ้งฉุดซึ่งครกเหล็กใหญ่
ที่เหนื่อยก็หยุดหายใจ               บ้างได้สากเหล็กก็แบกมา"
...............
"จับเท้าจับกายจับหัตถ์              ซัดลงในครกเหล็กใหญ่
บ้างฉวยเอาสากด้วยว่องไว          ตำไล่กันเป็นโกลา"
...............
"บัดนั้น                              จึ่งขุนคชาขาญสมร
รับสั่งท้าวยี่สิบกร                    ก็รีบบทจรออกไป"
...............
"ครั้นถึงก็ไสเข้าให้แทง             ด้วยแรงหัสดินตัวกล้า
โจมจ้วงทะลวงลงงา                 บาทาถีบฉัดวุ่นไป"
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 10 มี.ค. 11, 11:36

คำถามข้อที่  ๘๖.

คำถามนี้   ใครก็ไม่รู้ส่งมาจากสนามม้านางเลิ้ง
คำถามถามว่า   
๑. ม้า ๔ ตระกูล  มีลักษณะสังเกตได้อย่างไร?
๒. ลักษณะขวัญม้าที่ดี  เป็นอย่างไร ?
๓. ลักษณะขวัญม้าที่ร้ายเป็นอย่างไร ?
๔. ขวัญม้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง ?
๕. ถ้าม้าพยศวิ่งมิตรงทาง  พยศขบอกมันเอง  พยศถอยหลัง  และดีดขบ  แก้ไขอย่างไร ?
๖.  ผู้เริ่มขี่ม้าตามอย่างตำราเก่า  ท่านสอนไว้ว่าอย่างไรบ้าง ?

ข้อนี้ ให้เลือกทำ ๓ ข้อ เป็นชุดตามนี้  คือ  ๑-๓-๕   ๒-๔-๖   เท่านั้น
ตอบถูกหมด  ข้อละ ๕ คะแนน  ตอบหน้าม่าน  ตั้งแต่เวลา  ๑๔.๐๐  น.
จนถึงเวลา  ๒๒.๐๐  น.   ตอบหลังเวลานี้  หัก  ๓  คะแนน
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 10 มี.ค. 11, 14:28

ตอบข้อ 85

1. ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์
    ในเรื่องรามเกียรติ์มีความเชื่อด้านไสยศาสตร์มากมาย เช่นไมยราพ ใช้อาคาประกอบบริกรรมคาถาต่างๆนานา ซึ่งเป็นความเชื่อพื้นฐานของคนไทย
     "จึงหยุดยืนอยู่เหนือลม   ทำตามอาคมยักษา
       เทยาสะกดนิทรา         ใส่กล้องรัตนาแล้วเป่าไป"


2. ความเชื่อซึ่งโชคลางต่างๆ มีอยู่ด้วยกันหลายตอน เช่น ทศกัณฐ์ฝันร้าย จึงได้ขับภิเภกออกจากกรุงลงกา, ตอนหนุมานแปลงเป็นหมาเน่าลอยน้ำมา ส่วนองคตก็แปลงเป็นอีกาจิกไส้ ตายลอยน้ำมา ทำลายพิธีชุบหอกโมกศักดิ์ของกุมภกรรณทำให้พิธีสิ้นความขลังไป, การออกรบทับจับศึกก็ต้องดูเวลา ยาม จับยามต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งฤกษ์ อันอุดมมงคล
    "ขอให้วายุบุตรวุฒิไกร    องคตผู้ไวปัญญา          
     นิมิตเป็นกาจิกสุนัขเน่า   ลอยเข้าใกล้ยักษา"

3. การกระทำพิธีดื่มน้ำพิพัฒน์สัตยา ซึ่งไทยได้อยุธยา - รัตนโกสินทร์ มีพระราชพิธีดังกล่าวเพื่อเป็นขวัญกำลังใจและการสาบานตนให้ซื่อสัตย์ต่อพระมหากษัติรย์ เช่น ตอน ภิเภกถวายตัวแก่พระราม เป็นต้น

4. การละครใน เป็นศิลปะการร่ายรำในราชสำนัก ก็ปรากฎให้เห็นในเรื่องรามเกียรติ์ เช่น ตอนศึกอินทรชิตครั้งที่ 2
    "มีทั้งนางรำระบำใน   มิได้เคยเห็นแต่ก่อนมา"


ตัวอย่างที่ ๑  ยังไม่บ่งบอกวัฒนธรรมไทยที่ชัดเจนนัก
เพราะชนชาติอื่นในแถบนี้ก็มีความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์เช่นเดียวกับคนไทย
ตัวอย่างให้  ๐  คะแนน

ตัวอย่างที่  ๒ ความเชื่อเรื่องโชคลางน่ะใช่  แต่ยกตัวอย่างคนละเรื่อง
องคตหนุมานแปลงเป็นกาจิกกินหมาเน่าลอยน้ำมาผ่าน
หน้าปะรำที่กุมภกรรณตั้งพิธีลับหอกโมกขศักดิ์
อันนี้เป็นเรื่องของค่านิยมในการประกอบพิธีกรรม 
ข้อนี้  ให้  ๐  คะแนน

ตัวอย่างที่  ๓  เรื่องการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
อันนี้ใช้ได้  แต่ไม่เอาตัวอย่างกลอนมาให้ดู  ให้  ๓ คะแนน

ตัวอย่างที่ ๔ ไม่มีคะแนนให้  เพราะยกมาเกินที่กำหนด
และไม่มีตัวอย่างที่ชัดเจนมาประกอบพร้อมอธิบาย


คุณไซมีสได้  ๓  คะแนน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 46
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.083 วินาที กับ 20 คำสั่ง