เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 46
  พิมพ์  
อ่าน: 271745 ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๔
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 02 มี.ค. 11, 15:45

คำถามข้อที่ ๘๐.

 “วันอาทิตย์เดือน 6 ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราช1132 ปีขาลโทศก
พระราชนิพนธ์ทรงแต่งชั้นต้นเป็นปฐม ยังทรามยังพอดีอยู่
     
จากข้อความข้างต้นที่ยกมานี้  โดยเฉพาะข้อความที่ขีดเส้นใต้
หมายความว่าอย่างไร  จงอธิบายมาตามความเข้าใจของท่าน
(อย่าลอกมาตอบเพราะเรารู้ว่าท่านไปลอกมาแต่เว็บใด) 
ยกตัวอย่างประกอบด้วย

ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบหน้าม่าน  ตั้งแต่เวลาย่ำคำแล้ว ๑ บาท
ไปจนถึงเวลาย่ำรุ่งของวันใหม่  ตอบล่ากว่านั้น ลบ ๑ คะแนน ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 02 มี.ค. 11, 17:30

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 02 มี.ค. 11, 18:07

คำถามข้อที่ ๘๐.

 “วันอาทิตย์เดือน 6 ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราช1132 ปีขาลโทศก
พระราชนิพนธ์ทรงแต่งชั้นต้นเป็นปฐม ยังทรามยังพอดีอยู่
     
จากข้อความข้างต้นที่ยกมานี้  โดยเฉพาะข้อความที่ขีดเส้นใต้
หมายความว่าอย่างไร  จงอธิบายมาตามความเข้าใจของท่าน
(อย่าลอกมาตอบเพราะเรารู้ว่าท่านไปลอกมาแต่เว็บใด) 
ยกตัวอย่างประกอบด้วย

ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบหน้าม่าน  ตั้งแต่เวลาย่ำคำแล้ว ๑ บาท
ไปจนถึงเวลาย่ำรุ่งของวันใหม่  ตอบล่ากว่านั้น ลบ ๑ คะแนน ยิงฟันยิ้ม

ขอตอบนะคะ  ยิงฟันยิ้ม

เป็นข้อความใน บานแผนกซึ่งบอกวันเวลาที่ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี(สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้น และออกตัวว่าบทพระนิพนธ์นี้ยังไม่ดีนัก(ตามความเห็นขององค์ผู้นิพนธ์)

หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกู้เอกราชของชาติได้ และปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 ก็ทรงทำนุบำรุงพระศาสนาและศิลปวัฒนธรรมรวมถึงวรรณคดีให้กลับคืนรุ่งเรืองเหมือนเดิม แต่ก็ยังต้องมีพระราชภารกิจ ไปปราบปรามก๊กต่างๆ ที่ตั้งตนเป็นใหญ่ กระด้างกระเดื่องอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ  และเมื่อคราวที่เสด็จกลับจากนครศรีธรรมราชในการปราบปรามก๊กเจ้านคร  ในปลาย พ.ศ. 2312   ก็ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ขึ้น โดยใช้เวลาเพียง 1 เดือน ทราบได้จากในบานแผนกมีบอกวันเวลาที่ทรงพระราชนิพนธ์ไว้หน้าต้นที่เล่มว่า “วันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราช 1132 ปีขาล โทศก พระราชนิพนธ์ทรงแต่งชั้นต้นเป็นปฐมยังทรามยังพอดีอยู่” และพระราชนิพนธ์นี้ได้ใช้เล่นละครหลวงในงานสมโภชครั้งสำคัญๆ ตลอดสมัยกรุงธนบุรี

- วันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราช 1132 ปีขาล โทศก หมายถึงทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้น เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีจุลศักราช1132 ซึ่งลงท้ายด้วยเลข 2 จึงเรียก "โทศก" และเป็นปีนักษัตร ปีขาล ตรงกับ พ.ศ. 2313 ตรงกับค.ศ. 1770

- ที่ว่า พระราชนิพนธ์ทรงแต่งชั้นต้นเป็นปฐมยังทรามยังพอดีอยู่ เพราะทรงใช้เวลาว่างจากการศึกเพียง 1 เดือน (เพราะหลังจากนั้นต้องเสด็จไปปราบก๊กเจ้าพระฝาง) ในการนิพนธ์ขึ้น ซึ่งเป็นเวลาที่สั้นมาก ดังนั้นจึงบันทึกไว้ว่า บทพระนิพนธ์นี้เป็นเพียง  ”ชั้นต้นป็นปฐม”  เท่านั้น  “ยังทรามยังพอดีอยู่” ยังไม่ไพเราะสละสลวยเท่าที่ควร แต่เนื่องจากทรงต้องการ ทำนุบำรุง ฟื้นฟู วรรณคดีของชาติ ที่ชะงักงันและกระจัดกระจายพลัดหายไปจากการสงคราม  ให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองเหมือนเมื่อครั้งที่กรุงศรีอยุธยายังไม่แตก จึงต้องใช้เวลาอันน้อยนิดนี้นิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ขึ้น  ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า “บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี”

ตัวอย่างบทพระราชนิพนธ์บางตอนที่ทรงใช้คำง่ายๆ กระชับ ไม่พรรณายืดยาว :

: ตอนที่ท้าวมาลีวราชปู่ของทศกัณฐ์   ปลอบทศกัณฐ์เพื่อให้คืนนางสีดา
      ๐ จงฟังคำกูผู้ปู่สอน                                ให้ถาวรยศยิ่งภายหน้า
      จะทำไมกับอีสีดา                                   ยักษาเจ้าอย่าไยดี
      มาดแม้นถึงทิพสุวรรณ                             สามัญรองบทศรี
      ดังฤาจะสอดสวมโมลี                              ยักษีอย่าผูกพันอาลัย
      หนึ่งนวลนางราชอสุรี                               ดิบดีดั่งดวงแขไข
      ประโลมเลิศละลานฤทัย                           อำไพยศยิ่งกัลยา
      ว่านี้แต่ที่เยาว์เยาว์                                  ยังอีเฒ่ามณโฑกนิษฐา
      เป็นยิ่งยวดเอกอิศรา                               รจนาล้วนเล่ห์ระเริงใจ ๐

: ตอน หนุมานเกี้ยวนางวานริน
      ๐ เจ้านี้ยศยิ่งยอดกัญญา                           สาวสวรรค์ชั้นฟ้าไม่มีสอง
      อย่าแคลงพี่จะให้แจ้งน้อง                          ขอต้องนิดหนึ่งนารี
      นี่แน่เมื่อพบอสุรา                                     ยังกรุณาบ้างหรือสาวศรี
      หรือว่าเจ้ากลัวมันราวี                                จูบทีพี่จะแผลงฤทธา ๐
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 02 มี.ค. 11, 20:51

คำถามข้อที่ ๘๐.

 “วันอาทิตย์เดือน 6 ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราช1132 ปีขาลโทศก
พระราชนิพนธ์ทรงแต่งชั้นต้นเป็นปฐม ยังทรามยังพอดีอยู่
      
จากข้อความข้างต้นที่ยกมานี้  โดยเฉพาะข้อความที่ขีดเส้นใต้
หมายความว่าอย่างไร  จงอธิบายมาตามความเข้าใจของท่าน
(อย่าลอกมาตอบเพราะเรารู้ว่าท่านไปลอกมาแต่เว็บใด)  
ยกตัวอย่างประกอบด้วย

ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบหน้าม่าน  ตั้งแต่เวลาย่ำคำแล้ว ๑ บาท
ไปจนถึงเวลาย่ำรุ่งของวันใหม่  ตอบล่ากว่านั้น ลบ ๑ คะแนน ยิงฟันยิ้ม

วันนี้โดนเกณฑ์ไปเฝ้าด่านแถวแขวงบางมด
กว่าจะยินข่าวว่ามีการณรงค์สงครามกันก็ย่ำค่ำแล้ว (ใต้เท้าพระกรุณาบอกมา)
ข้อแรกไม่ทัน ได้ข้อหลัง

จากคำถาม
พระราชนิพนธ์ทรงแต่งชั้นต้นเป็นปฐม ยังทรามยังพอดีอยู่ นั้น
หมายความว่า การพระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ฉบับพระเจ้ากรุงธนบุรีในครั้งนี้
ได้ทรงพระราชนิพนธ์เพียงแต่บางเรื่องบางตอนเท่านั้น เพราะการสงครามกับพม่ามอญยังร้างรากันอยู่
การทำนุบำรุงบทละครเพื่อความบันเทิงในพระราชสำนัก และเพื่อเป็นเกียรติยศของแผ่นดินนั้น
แม้เป็นสิ่งสำคัญ แต่ไม่ค่อยมีเวลามาใส่ใจ (เพิ่งจะใส่ใจกันก็เมื่อผลัดแผ่นดินแล้วในชั้นกรุงรัตนโกสินทร์)
การพระราชนิพนธ์บทละครจึงเพื่อแสดงเป็นครั้งเป็นคราว ยังไม่ถือฉบับว่าถูกต้อง สละสลวยไพเราะเป็นสำคัญ
จึงทรงพระราชนิพนธ์เพียงแค่ "พอประมาณ" เท่านั้น (ชั้นต้นเป็นปฐม)

ส่วนว่า "ยังทรามยังพอดีอยู่"
แปลความว่า พอแต่งได้ พอใช้ได้ ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ไม่ไพเราะเสียเท่าไร
พอจะเล่นบทละครได้ อะไรเทือกนั้น

ส่วนวันเดือนปีที่ปรากฏในฉบับพระเจ้ากรุงธนบุรี
คือวันเดือนปีที่การพระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ฉบับนี้สิ้นสุดลง
คงไม่ต้องอธิบายกันมาก คุณหนูดีดี พูดเอาไว้ยาวยืดแล้ว เดี๋ยวเป็นการทับเส้นทับลายกัน
 รูดซิบปาก

ปล. ข้อนี้เป็นการวิจารณ์ตามความเห็น ความเข้าใจ ไม่มีถูกผิดอันใด ฉะนั้นทุกคนที่ตอบย่อมถูกหมด
คุณหลวงต้องให้คะแนนทุกคนนะจ๊ะ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 03 มี.ค. 11, 07:27

คำถามข้อที่ ๘๐.

 “วันอาทิตย์เดือน 6 ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราช1132 ปีขาลโทศก
พระราชนิพนธ์ทรงแต่งชั้นต้นเป็นปฐม ยังทรามยังพอดีอยู่
     
จากข้อความข้างต้นที่ยกมานี้  โดยเฉพาะข้อความที่ขีดเส้นใต้
หมายความว่าอย่างไร  จงอธิบายมาตามความเข้าใจของท่าน
(อย่าลอกมาตอบเพราะเรารู้ว่าท่านไปลอกมาแต่เว็บใด) 
ยกตัวอย่างประกอบด้วย

ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบหน้าม่าน  ตั้งแต่เวลาย่ำคำแล้ว ๑ บาท
ไปจนถึงเวลาย่ำรุ่งของวันใหม่  ตอบล่ากว่านั้น ลบ ๑ คะแนน ยิงฟันยิ้ม

เทียบจุลศักราช ๑๑๓๒ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๑๓ อันเป็นช่วงรัชสมัยแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ (สมเด็จพระเจ้าตากสิน) ในเดือนหก นั้นเป็นช่วงที่ได้ข่าวว่าแผ่นดินเมืองเหนือ (เจ้าฝาง) ก่อการกำเริบจึงได้จัดทัพขึ้นไปปราบและต่อลงมายังเดือน ๘ เสด็จไปไหว้พระพุทธชินราช ด้วยบ้านเมืองอยู่ในภาวะการศึกสงครามและรอนแรมไปตามถิ่นต่างๆ

วรรณกรรมในแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี ถึงมีน้อยแต่ล้ำค่า เช่น ไตรภูมิพระร่วงฉบับธนบุรีเป็นต้น ดังนั้นคำว่า "พระราชนิพนธ์ทรงแต่งชั้นต้นเป็นปฐม ยังทรามยังพอดีอยู่”

จะหมายแปลได้ว่า วรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ทรงแต่งขึ้นในเบื้องต้นก่อน แล้วจึงเป็นหน้าที่ฝ่ายอาลักษณ์ ประพันธ์บทกลอนออกมา "ยังทรามยังพอดีอยู่" คือบทประพันธ์เรื่องรามเกียรติ์อาจจะสูญหาย ตกหล่นไปเสียมากในระหว่างเสียบ้านเมือง หนังสือตำราถูกเผาไปมากมาย หรืออาจจะกระจัดกระจายไปตามถิ่นต่างๆที่อาจเหลืออยู่ ซึ่งกระท่อนกระแท่น ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน (ยังทราม) แต่ก็ยังเหลือดีอยู่ให้สามารถเหลือเค้าโครงไว้ให้แต่งเป็นรูปแบบต่อมาได้ คือ สามารถที่จะแต่งเป็นเรื่องจากเค้าโครงที่สูญหายไปเสียมากนั่นเอง ซึ่งรัชสมัยนี้วรรณกรรมรามเกียรติ์ได้กำเนิดถึง ๔ ตอน คือ

ตอนที่ ๑ ตอนพระมงกุฎ
พระมงกุฎอยู่ป่า
พระรามเสี่ยงม้า
พระมงกุฎขี่ม้าเสี่ยงทาย หนุมานจะจับ ถูกพระมงกุฎเสกมนตร์มัดตัว
พระพรตจับพระมงกุฎ
พระลบแจ้งข่าวนางสีดา พระมงกุฎถูกจองจำ
พระลบช่วยพระมงกุฎหนี พระรามเตรียมยกทัพไปจับพระมงกุฎ

ตอนที่ ๒ ตอนหนุมานเกี้ยววานริน จนท้าวมาลีวราชมา
หนุมานเกี้ยววานริน
ทศกัณฑ์ให้นนยุเวกวายุเวกไปตามท้าวมาลีวราช
หนุมานเกี้ยววานริน
ท้าวมาลีวราชสอบคดีทศกัณฐ์
ท้าวมาลีวราชให้พระวิษณุกรรมไปตามพระราม

ตอนที่ ๓ ตอนท้าวมาลีวราชพิพากษาความ จนทศกัณฐ์เข้าเมือง
ท้าวมาลีวราชสอบความข้างพระราม
ท้าวมาลีราชสอบความนางสีดา
ท้าวมาลีวราชตัดสินความ
ทศกัณฑ์พาล ไม่ยอมรับคำตัดสิน
ทศกัณฑ์คืนเมือง คิดแค้นพระรามพระลักษมณ์และเหล่าเทวา

ตอนที่ ๔ ตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกรด, พระลักษมฌ์ต้องหอกกบิลพัท จนผูกผมทศกัณฐ์กับนางมณโฑ
ทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกรด
พระอินทร์ให้เทพพาลีไปทำลายพิธีทรายกรด
ทศกัณฑ์คิดว่าพิเภกเป็นต้นคิดทำลายพิธี ยกรบพระรามหมายฆ่าพิเภก
พระลักษมณ์ถูกหอกทศกัณฑ์ พิเภกบอกวิธีแก้
หนุมานหายาแก้พระลักษมณ์ให้ฟื้น ผูกผมทศกัณฐ์ติดกับนางมณโฑ
ทศกัณฐ์ให้ตามฤษีโคบุตรมมาช่วย

ยกตัวอย่างตอนพระมงกุฎอยู่ป่า
พระมงกุฎอยู่ป่า
 
๏ มาจะกล่าวบทไป  หน่อในอวตารรังสี 
หาผลปรนนิบ้ติชนนี  ทั้งพระฤษีมีญาณ 
ว้นหนึ่งชวนน้องเข้าพาที  พระมุนีจงโปรตเดฉาน 
ข้าไสร้เกลือกคนภัยพาล  ขอประทานรํ่าเรียนวิชา 
ฯ ๔ คำ ฯ 
 
๏ ฤษีรักจูบกระหม่อมเกศ  สอนให้เล่าเวทคาถา 
ฯ เจรจา ฯ 
 
๏ หุดีกุณฑ์กองวิทยา  เจ็ดราตรีศรผุดพลัน 
ฯ ตระ ฯ 
 
๏ จึงประสิทธิ์ประสาทธนูศิลป์  เจ้าจินดารมณ์หมายมั่น 
เมึ่อลั่นซั้นซ้ำมนตร์พลัน  สรรพโลกไม่ทนฤทธา 
ฯ เจรจา ๔ คำ ฯ 
 
๏ ฝ่ายสองกุมารเรียนเสร็จ  ได้ทั้งกลละเม็ดคาถา 
รบเอาธนูศิลป์มา  ลาล่าหาผลพนาลี 
ฯ เข้าม่าน ฯ 
 
๏ ครั้นถึงกาลวาตพนาลัย  ปราศัยน้องลบเรืองศรี 
ฝ่ายพี่จะแผลงฤทธี  ยิงรังด้นนี้ให้ขาดไป 
ฯ ๔ คำ ฯ 
 
๏ เจ้าลบว่าใหญ่ถึงแสนวา  ข้าเจ้าเห็นหาห้กไม่ 
๏ พระมงกุฎก็วางศรชัย  สนั่นไปถึงชั้นพรหมา 
ตระเชิด 
๏ ถูกรังต้นใหญ่สินขาด  ยับเยินวินาศดังฟ้าผ่า 
แล้วกลับต่อว่าอนุชา  น้องยาจะว่าประการใด 
ฯ ๔ คำ ฯ 
 
๏ พระลบสรรเสริญบุญญา  อานุภาพเป็นหาที่สุดไม่ 
พระชนนีจะมิตกใจ  ก็ชวนเก็บผลไม้กลับมา 
ฯ พญา เดิน ๒ คำ ฯ 
 
๏ ฝ่ายพระฤษีสนั่นเสียง  สำเนียงกึกก้องเวหา 
ตกใจทิ้งนางสีดา  ก็ลีลาออกตามกุมาร 
ฯ เชิด ๒ คำ ฯ 
 
๏      ฝ่ายพระพี่น้องเห็นฤษี  ก็วิ่งเข้าอัญชลีทูลสาร 
ทิ้งนางสีดาดวงมาลย์  พระอาจารย์มาไยชนนี 
ฯ ๒ คำ ฯ 
 
๏ พระมุนีสีดาว่าดูเอา  ให้เราตกใจถึงสองศรี 
สุ้งเสียงอะไรเมื่อกี้  คิดว่าอสุรีพะพาน 
ฯ ๒ คำ ฯ 
 
๏ ฝ่ายพระมงกฎทูลไข  หาไม่ดอกยิงไม้พฤกษาสาร 
๏ เจ้าลบว่าแสนอ้อมประมาณ  พฤกษาสารสูงเทียมเมฆา 
หักย้บสะบั้นสินขาด  วินาศดุจดั่งฟ้าผ่า 
ที่กาลวาตพนาวา  หาภ้ยมิได้พระมุนี 
ฯ ๔ คำ ฯ 
 
๏ สีดาว่ายิงทำไม  ให้ตกใจทั้งพระฤษี 
นี่ลูกอะไรน่าใคร่ตี  ก็พาทีขู่รู่กุมาร 
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 03 มี.ค. 11, 08:33

ปล. ข้อนี้เป็นการวิจารณ์ตามความเห็น ความเข้าใจ ไม่มีถูกผิดอันใด ฉะนั้นทุกคนที่ตอบย่อมถูกหมด
คุณหลวงต้องให้คะแนนทุกคนนะจ๊ะ ยิงฟันยิ้ม

จ้ะ  พ่อคุณ  เดี๋ยวกระผมจะจัดคะแนนให้ถ้วนทุกคน 
แต่จะว่าไม่มีที่ผิดนั้นคงไม่ใช่   เรื่องความคิดเห็นนั้น
เราจะขอพิจารณาก่อน  แต่อะไรที่เห็นว่าผิด เช่น ใช้ราชาศัพท์ผิด
สะกดคำผิด  และอื่นๆ ที่เห็นอยู่ว่าผิดแน่ๆ  เราก็จะหักคะแนนตามสมควร
คุณหลวงไม่ใช่พระเวสสันดร  จะให้ไล่แจกคะแนนกันสะเปะสะปะ
ทำมิได้หรอก  หากทำอย่างนั้นเท่ากับดูถูกผู้เข้าแข่งขัน
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 03 มี.ค. 11, 08:51

ขอตอบนะคะ  ยิงฟันยิ้ม

เป็นข้อความใน บานแผนกซึ่งบอกวันเวลาที่ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี(สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้น และออกตัวว่าบทพระนิพนธ์นี้ยังไม่ดีนัก(ตามความเห็นขององค์ผู้นิพนธ์)

หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกู้เอกราชของชาติได้ และปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 ก็ทรงทำนุบำรุงพระศาสนาและศิลปวัฒนธรรมรวมถึงวรรณคดีให้กลับคืนรุ่งเรืองเหมือนเดิม แต่ก็ยังต้องมีพระราชภารกิจ ไปปราบปรามก๊กต่างๆ ที่ตั้งตนเป็นใหญ่ กระด้างกระเดื่องอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ  และเมื่อคราวที่เสด็จกลับจากนครศรีธรรมราชในการปราบปรามก๊กเจ้านคร  ในปลาย พ.ศ. 2312   ก็ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ขึ้น โดยใช้เวลาเพียง 1 เดือน ทราบได้จากในบานแผนกมีบอกวันเวลาที่ทรงพระราชนิพนธ์ไว้หน้าต้นที่เล่มว่า “วันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราช 1132 ปีขาล โทศก พระราชนิพนธ์ทรงแต่งชั้นต้นเป็นปฐมยังทรามยังพอดีอยู่” และพระราชนิพนธ์นี้ได้ใช้เล่นละครหลวงในงานสมโภชครั้งสำคัญๆ ตลอดสมัยกรุงธนบุรี

- วันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราช 1132 ปีขาล โทศก หมายถึงทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้น เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีจุลศักราช1132 ซึ่งลงท้ายด้วยเลข 2 จึงเรียก "โทศก" และเป็นปีนักษัตร ปีขาล ตรงกับ พ.ศ. 2313 ตรงกับค.ศ. 1770

- ที่ว่า พระราชนิพนธ์ทรงแต่งชั้นต้นเป็นปฐมยังทรามยังพอดีอยู่ เพราะทรงใช้เวลาว่างจากการศึกเพียง 1 เดือน (เพราะหลังจากนั้นต้องเสด็จไปปราบก๊กเจ้าพระฝาง) ในการนิพนธ์ขึ้น ซึ่งเป็นเวลาที่สั้นมาก ดังนั้นจึงบันทึกไว้ว่า บทพระนิพนธ์นี้เป็นเพียง  ”ชั้นต้นป็นปฐม”  เท่านั้น  “ยังทรามยังพอดีอยู่” ยังไม่ไพเราะสละสลวยเท่าที่ควร แต่เนื่องจากทรงต้องการ ทำนุบำรุง ฟื้นฟู วรรณคดีของชาติ ที่ชะงักงันและกระจัดกระจายพลัดหายไปจากการสงคราม  ให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองเหมือนเมื่อครั้งที่กรุงศรีอยุธยายังไม่แตก จึงต้องใช้เวลาอันน้อยนิดนี้นิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ขึ้น  ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า “บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี”


คุณดีดี  ตอบมาหลังเวลาที่กำหนดให้เริ่มตอบไป ๑ นาที  นับว่าแม่นยำเรื่องเวลามาก
ที่ตอบมา  ผม หักเรื่องใช้ราชาศัพท์ ผิด หลายแห่ง  ๑  คะแนน 
ข้อความที่ขีดเส้นใต้  ไม่ใช่คำของพระเจ้าตากสิน  เป็นคำผู้อื่นวิจารณ์ไว้ต่างหาก
ตรงนี้ผิด  ผมหัก อีก ๑ คะแนน   การอธิบายนั้นกับตัวอย่างที่ยกมา  น่าจะอธิบายให้มากกว่านี้
ขอหักอีก ๑ คะแนน  รวมได้ ๗ คะแนน
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 03 มี.ค. 11, 09:02


จากคำถาม
พระราชนิพนธ์ทรงแต่งชั้นต้นเป็นปฐม ยังทรามยังพอดีอยู่ นั้น
หมายความว่า การพระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ฉบับพระเจ้ากรุงธนบุรีในครั้งนี้
ได้ทรงพระราชนิพนธ์เพียงแต่บางเรื่องบางตอนเท่านั้น เพราะการสงครามกับพม่ามอญยังร้างรากันอยู่
การทำนุบำรุงบทละครเพื่อความบันเทิงในพระราชสำนัก และเพื่อเป็นเกียรติยศของแผ่นดินนั้น
แม้เป็นสิ่งสำคัญ แต่ไม่ค่อยมีเวลามาใส่ใจ (เพิ่งจะใส่ใจกันก็เมื่อผลัดแผ่นดินแล้วในชั้นกรุงรัตนโกสินทร์)
การพระราชนิพนธ์บทละครจึงเพื่อแสดงเป็นครั้งเป็นคราว ยังไม่ถือฉบับว่าถูกต้อง สละสลวยไพเราะเป็นสำคัญ
จึงทรงพระราชนิพนธ์เพียงแค่ "พอประมาณ" เท่านั้น (ชั้นต้นเป็นปฐม)

ส่วนว่า "ยังทรามยังพอดีอยู่"
แปลความว่า พอแต่งได้ พอใช้ได้ ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ไม่ไพเราะเสียเท่าไร
พอจะเล่นบทละครได้ อะไรเทือกนั้น

ส่วนวันเดือนปีที่ปรากฏในฉบับพระเจ้ากรุงธนบุรี
คือวันเดือนปีที่การพระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ฉบับนี้สิ้นสุดลง
คงไม่ต้องอธิบายกันมาก คุณหนูดีดี พูดเอาไว้ยาวยืดแล้ว เดี๋ยวเป็นการทับเส้นทับลายกัน
 รูดซิบปาก


คุณอาร์ทตอบมา ไม่มีตัวอย่างประกอบ  หัก ๓ คะแนนก่อนเลย
อันที่จริง  ถ้ายกเหตุการณ์ในช่วงมาอธิบายประกอบให้ละเอียดอีก
ก็จะเห็นภาพชัดว่า  ตอนนี้ บ้านเมืองยังอยู่ในภาวะไม่ปกติ
การสงครามยังมีอยุ่ไม่ค่อยขาด   เรื่องความมั่นคงของรัฐ
จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องดำเนินการก่อน   ส่วนเรื่องศิลปวัฒนธรรม
เป็นงานที่จะดำเนินการได้ต่อเมื่อบ้างสงบราบคาบ  จึงมีเวลา
ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิต และตำรับตำราต่างๆ ที่กระจัดกระจายครั้งเสียกรุง
ให้คืนมา   เราจะบอกว่าในสมัยกรุงธนไม่ได้ทำเลยคงไม่ได้
แต่อาจจะทำได้ไม่มากเท่าสมัยรัชกาลที่ ๑  เพราะบ้านเมืองยังเพิ่งรวมกันได้
ภาวะเศรษฐกิจหลังสงครามยังไม่ค่อยดีนัก   จึงทำเท่าที่จะทำได้
คือ  แต่งวรรณคดีเฉพาะบางตอนก่อน  และสำนวนก็ยังไม่ใช่กวีแท้
จึงยังไม่ใช่วรรณคดีที่ดีเลิศ  แต่ก็ยังมีที่ดีไพเราะแทรกอยู่เหมือนกัน
ฉะนั้น  คุณอาร์ท เอาไป ๖ ๑/๒ คะแนน
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 03 มี.ค. 11, 09:15


เทียบจุลศักราช ๑๑๓๒ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๑๓ อันเป็นช่วงรัชสมัยแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ (สมเด็จพระเจ้าตากสิน) ในเดือนหก นั้นเป็นช่วงที่ได้ข่าวว่าแผ่นดินเมืองเหนือ (เจ้าฝาง) ก่อการกำเริบจึงได้จัดทัพขึ้นไปปราบและต่อลงมายังเดือน ๘ เสด็จไปไหว้พระพุทธชินราช ด้วยบ้านเมืองอยู่ในภาวะการศึกสงครามและรอนแรมไปตามถิ่นต่างๆ

วรรณกรรมในแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี ถึงมีน้อยแต่ล้ำค่า เช่น ไตรภูมิพระร่วงฉบับธนบุรีเป็นต้น ดังนั้นคำว่า "พระราชนิพนธ์ทรงแต่งชั้นต้นเป็นปฐม ยังทรามยังพอดีอยู่”

จะหมายแปลได้ว่า วรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ทรงแต่งขึ้นในเบื้องต้นก่อน แล้วจึงเป็นหน้าที่ฝ่ายอาลักษณ์ ประพันธ์บทกลอนออกมา "ยังทรามยังพอดีอยู่" คือบทประพันธ์เรื่องรามเกียรติ์อาจจะสูญหาย ตกหล่นไปเสียมากในระหว่างเสียบ้านเมือง หนังสือตำราถูกเผาไปมากมาย หรืออาจจะกระจัดกระจายไปตามถิ่นต่างๆที่อาจเหลืออยู่ ซึ่งกระท่อนกระแท่น ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน (ยังทราม) แต่ก็ยังเหลือดีอยู่ให้สามารถเหลือเค้าโครงไว้ให้แต่งเป็นรูปแบบต่อมาได้ คือ สามารถที่จะแต่งเป็นเรื่องจากเค้าโครงที่สูญหายไปเสียมากนั่นเอง ซึ่งรัชสมัยนี้วรรณกรรมรามเกียรติ์ได้กำเนิดถึง ๔ ตอน คือ

ตอนที่ ๑ ตอนพระมงกุฎ
พระมงกุฎอยู่ป่า
พระรามเสี่ยงม้า
พระมงกุฎขี่ม้าเสี่ยงทาย หนุมานจะจับ ถูกพระมงกุฎเสกมนตร์มัดตัว
พระพรตจับพระมงกุฎ
พระลบแจ้งข่าวนางสีดา พระมงกุฎถูกจองจำ
พระลบช่วยพระมงกุฎหนี พระรามเตรียมยกทัพไปจับพระมงกุฎ

ตอนที่ ๒ ตอนหนุมานเกี้ยววานริน จนท้าวมาลีวราชมา
หนุมานเกี้ยววานริน
ทศกัณฑ์ให้นนยุเวกวายุเวกไปตามท้าวมาลีวราช
หนุมานเกี้ยววานริน
ท้าวมาลีวราชสอบคดีทศกัณฐ์
ท้าวมาลีวราชให้พระวิษณุกรรมไปตามพระราม

ตอนที่ ๓ ตอนท้าวมาลีวราชพิพากษาความ จนทศกัณฐ์เข้าเมือง
ท้าวมาลีวราชสอบความข้างพระราม
ท้าวมาลีราชสอบความนางสีดา
ท้าวมาลีวราชตัดสินความ
ทศกัณฑ์พาล ไม่ยอมรับคำตัดสิน
ทศกัณฑ์คืนเมือง คิดแค้นพระรามพระลักษมณ์และเหล่าเทวา

ตอนที่ ๔ ตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกรด, พระลักษมฌ์ต้องหอกกบิลพัท จนผูกผมทศกัณฐ์กับนางมณโฑ
ทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกรด
พระอินทร์ให้เทพพาลีไปทำลายพิธีทรายกรด
ทศกัณฑ์คิดว่าพิเภกเป็นต้นคิดทำลายพิธี ยกรบพระรามหมายฆ่าพิเภก
พระลักษมณ์ถูกหอกทศกัณฑ์ พิเภกบอกวิธีแก้
หนุมานหายาแก้พระลักษมณ์ให้ฟื้น ผูกผมทศกัณฐ์ติดกับนางมณโฑ
ทศกัณฐ์ให้ตามฤษีโคบุตรมมาช่วย

ยกตัวอย่างตอนพระมงกุฎอยู่ป่า
พระมงกุฎอยู่ป่า
 
๏ มาจะกล่าวบทไป  หน่อในอวตารรังสี 
หาผลปรนนิบ้ติชนนี  ทั้งพระฤษีมีญาณ 
ว้นหนึ่งชวนน้องเข้าพาที  พระมุนีจงโปรตเดฉาน 
ข้าไสร้เกลือกคนภัยพาล  ขอประทานรํ่าเรียนวิชา 
ฯ ๔ คำ ฯ 
 
๏ ฤษีรักจูบกระหม่อมเกศ  สอนให้เล่าเวทคาถา 
ฯ เจรจา ฯ 
 
๏ หุดีกุณฑ์กองวิทยา  เจ็ดราตรีศรผุดพลัน 
ฯ ตระ ฯ 
 
๏ จึงประสิทธิ์ประสาทธนูศิลป์  เจ้าจินดารมณ์หมายมั่น 
เมึ่อลั่นซั้นซ้ำมนตร์พลัน  สรรพโลกไม่ทนฤทธา 
ฯ เจรจา ๔ คำ ฯ 
 
๏ ฝ่ายสองกุมารเรียนเสร็จ  ได้ทั้งกลละเม็ดคาถา 
รบเอาธนูศิลป์มา  ลาล่าหาผลพนาลี 
ฯ เข้าม่าน ฯ 
 
๏ ครั้นถึงกาลวาตพนาลัย  ปราศัยน้องลบเรืองศรี 
ฝ่ายพี่จะแผลงฤทธี  ยิงรังด้นนี้ให้ขาดไป 
ฯ ๔ คำ ฯ 
 
๏ เจ้าลบว่าใหญ่ถึงแสนวา  ข้าเจ้าเห็นหาห้กไม่ 
๏ พระมงกุฎก็วางศรชัย  สนั่นไปถึงชั้นพรหมา 
ตระเชิด 
๏ ถูกรังต้นใหญ่สินขาด  ยับเยินวินาศดังฟ้าผ่า 
แล้วกลับต่อว่าอนุชา  น้องยาจะว่าประการใด 
ฯ ๔ คำ ฯ 
 
๏ พระลบสรรเสริญบุญญา  อานุภาพเป็นหาที่สุดไม่ 
พระชนนีจะมิตกใจ  ก็ชวนเก็บผลไม้กลับมา 
ฯ พญา เดิน ๒ คำ ฯ 
 
๏ ฝ่ายพระฤษีสนั่นเสียง  สำเนียงกึกก้องเวหา 
ตกใจทิ้งนางสีดา  ก็ลีลาออกตามกุมาร 
ฯ เชิด ๒ คำ ฯ 
 
๏      ฝ่ายพระพี่น้องเห็นฤษี  ก็วิ่งเข้าอัญชลีทูลสาร 
ทิ้งนางสีดาดวงมาลย์  พระอาจารย์มาไยชนนี 
ฯ ๒ คำ ฯ 
 
๏ พระมุนีสีดาว่าดูเอา  ให้เราตกใจถึงสองศรี 
สุ้งเสียงอะไรเมื่อกี้  คิดว่าอสุรีพะพาน 
ฯ ๒ คำ ฯ 
 
๏ ฝ่ายพระมงกฎทูลไข  หาไม่ดอกยิงไม้พฤกษาสาร 
๏ เจ้าลบว่าแสนอ้อมประมาณ  พฤกษาสารสูงเทียมเมฆา 
หักย้บสะบั้นสินขาด  วินาศดุจดั่งฟ้าผ่า 
ที่กาลวาตพนาวา  หาภ้ยมิได้พระมุนี 
ฯ ๔ คำ ฯ 
 
๏ สีดาว่ายิงทำไม  ให้ตกใจทั้งพระฤษี 
นี่ลูกอะไรน่าใคร่ตี  ก็พาทีขู่รู่กุมาร 


คุณไซมีสยกตัวอย่างมายาว   แต่ไม่ได้อธิบายให้เห็นว่า ยังทรามพอดีหมายถึงอะไร ตรงใด หัก ๑ คะแนน
แต่ก่อนอื่น ต้องหักคะแนนที่ตอบล่ากว่าเวลาย่ำรุ่ง (๖ โมงเช้า) ๑  คะแนน

วรรณกรรมในแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี ถึงมีน้อยแต่ล้ำค่า เช่น ไตรภูมิพระร่วงฉบับธนบุรีเป็นต้น
จะหมายถึง  ใบลานที่จารเรื่องไตรภูมิพระร่วงเมืองปากน้ำ? หรือ สมุดภาพไตรภูมิสมัยธนบุรี?
แต่ไม่ว่าอย่างไร ก็จะเรียกว่าวรรณกรรมสมัยธนบุรีไม่ได้  คงเรียกได้แต่หนังสือหรือเอกสาร
ที่สร้างขึ้นคัดลอกขึ้นสมัยธนบุรีเท่านั้น   ตรงนี้ หัก ๑ คะแนน

จะหมายแปลได้ว่า วรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ทรงแต่งขึ้นในเบื้องต้นก่อน
แล้วจึงเป็นหน้าที่ฝ่ายอาลักษณ์ ประพันธ์บทกลอนออกมา "ยังทรามยังพอดีอยู่"


คำว่าพระราชนิพนธ์นั้นชื่อชัดอยู่  ไม่ว่าจะทรงพระราชนิพนธ์เองหรือมีรับสั่งให้ข้าราชการแต่งถวาย
แล้วนำมาอ่านเพื่อมีพระราชวินิจฉัยจะตัดแก้ไขอย่างไร  อย่างนี้ก็เรียกพระราชนิพนธ์
บทละครรามเกียรติ์รัชกาลที่ ๑ และ๒ ก็เป็นเช่นนี้  ส่วนจะเป็นหน้าที่อาลักษณ์หรือไม่นั้น
คิดว่าไม่ควรชี้ลงไปขนาดนั้น  เพราะจริงๆ อาลักษณ์เป็นผู้คัดลอกลงสมุดของหลวง
ขอหัก อีก ๑ คะแนน

รวมได้ไป ๖  คะแนน
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 03 มี.ค. 11, 09:18

วันนี้  คำถามจะมาเวลาบ่าย
นักรบทั้งหลาย โปรดเล่นกระทู้อื่นๆ ไปก่อนนะครับ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 03 มี.ค. 11, 13:25

คำถามข้อที่  ๘๑.

คำถามข้อนี้ คุณหลวงคนหนึ่งในกระทรวงมุรธาธรส่งมา

ตราทั้งหลายที่มีใช้ในราชการนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
มีอยู่มากมายหลายตรา   แต่ก็มีตราจำนวนหนึ่ง
ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องรามเกียรติ์   อยากให้ผู้แข่งขัน
ช่วยรวบรวมตราต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องรามเกียรติ์ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
พร้อมระบุด้วยว่า  ตราดังกล่าว มีลักษณะอย่างไร
(ถ้ามีภาพประกอบจะดีมาก) ใครเป็นผู้ถือ/ใช้
ใช้ในหน่วยงานราชการใด  ใช้ตราดังกล่าวในเรื่องใดบ้าง
และขอให้อ้างอิงแหล่งข้อมูลมาด้วย  
(ไม่มีอ้างอิง  หัก ๕ คะแนน)

ข้อนี้  ตอบหน้าม่าน   ตั้งแต่เวลา  ๑๖.๐๐  น.เป็นต้นไป
จนถึงเวลาสองยาม  พ้นกำหนดนี้แล้วหัก ๓ คะแนน
คะแนนที่จะให้พิจารณาจากข้อมูลคำตอบว่า ละเอียด
ถูกต้อง  และมีมากเพียงใด   ให้คะแนนสูงสุด  ๓๐  คะแนน

อ้อ  คุณหลวงท่านนั้นฝากชมมาด้วยว่า
แหม  เก่งกันทุกคนเลย  หวังว่าจะผ่านไปถึงข้อที่ ๑๐๐
กันได้ครบอาการสามสิบสองนะ ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 03 มี.ค. 11, 13:37

จะค้นหามาถวายอย่างดีเลิศ  แต่จะหามาให้ชมไม่แน่ใจ ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 03 มี.ค. 11, 16:00

คำถามข้อที่  ๘๑.

คำถามข้อนี้ คุณหลวงคนหนึ่งในกระทรวงมุรธาธรส่งมา

ตราทั้งหลายที่มีใช้ในราชการนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
มีอยู่มากมายหลายตรา   แต่ก็มีตราจำนวนหนึ่ง
ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องรามเกียรติ์   อยากให้ผู้แข่งขัน
ช่วยรวบรวมตราต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องรามเกียรติ์ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
พร้อมระบุด้วยว่า  ตราดังกล่าว มีลักษณะอย่างไร
(ถ้ามีภาพประกอบจะดีมาก) ใครเป็นผู้ถือ/ใช้
ใช้ในหน่วยงานราชการใด  ใช้ตราดังกล่าวในเรื่องใดบ้าง
และขอให้อ้างอิงแหล่งข้อมูลมาด้วย  
(ไม่มีอ้างอิง  หัก ๕ คะแนน)

ข้อนี้  ตอบหน้าม่าน   ตั้งแต่เวลา  ๑๖.๐๐  น.เป็นต้นไป
จนถึงเวลาสองยาม  พ้นกำหนดนี้แล้วหัก ๓ คะแนน
คะแนนที่จะให้พิจารณาจากข้อมูลคำตอบว่า ละเอียด
ถูกต้อง  และมีมากเพียงใด   ให้คะแนนสูงสุด  ๓๐  คะแนน

อ้อ  คุณหลวงท่านนั้นฝากชมมาด้วยว่า
แหม  เก่งกันทุกคนเลย  หวังว่าจะผ่านไปถึงข้อที่ ๑๐๐
กันได้ครบอาการสามสิบสองนะ ยิงฟันยิ้ม





๑.   ตราพระรามทรงรถ เป็นตราประจำกระทรวงคมนาคม
แต่เดิมดวงตรานี้เป็นตราสำหรับกระทรวงโยธาธิการ กระทรวงคมนาคมเดิมใช้ตราพระอินทร์ทรงช้าง แต่มีขนาดใหญ่โตเกินไป จึงโปรดเกล้าฯให้ใช้ตราพระรามทรงรถ ให้เข้าเรื่องตรวจถนนหรือสร้างเมือง ครั้นเลิกกระทรวงโยธาธิการมารวมกันกับราชการส่วนอื่น ตั้งเป็นกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมขึ้นในรัชกาลทที่ ๖ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ ตราดวงนี้จึงตกมาเป็นตราตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม

ครั้นเมื่อปรับปรุงกระทรวงใหม่ เปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงเศรษฐการ ตราพระรามทรงรถยังใช้เป็นตราตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการภายหลังเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ ยุบกระทรวงเศรษฐการ แยกเป็นกระทรวงพาณิชย์ และ กระทรวงคมนาคม ตราพระรามทรงรถจึงตกไปเป็นตราของกระทรวงคมนาคมจนบัดนี้

อ้างถึงหนังสือพระราชลัญจกรและตราประจำตำแหน่ง เรียบเรียงโดยพระยาอนุมานราชธน, สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงานพระศพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ พ.ศ. ๒๔๙๓ หน้าที่ ๔๒


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 03 มี.ค. 11, 16:00

คำถามข้อที่  ๘๑.

คำถามข้อนี้ คุณหลวงคนหนึ่งในกระทรวงมุรธาธรส่งมา

ตราทั้งหลายที่มีใช้ในราชการนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
มีอยู่มากมายหลายตรา   แต่ก็มีตราจำนวนหนึ่ง
ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องรามเกียรติ์   อยากให้ผู้แข่งขัน
ช่วยรวบรวมตราต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องรามเกียรติ์ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
พร้อมระบุด้วยว่า  ตราดังกล่าว มีลักษณะอย่างไร
(ถ้ามีภาพประกอบจะดีมาก) ใครเป็นผู้ถือ/ใช้
ใช้ในหน่วยงานราชการใด  ใช้ตราดังกล่าวในเรื่องใดบ้าง
และขอให้อ้างอิงแหล่งข้อมูลมาด้วย  
(ไม่มีอ้างอิง  หัก ๕ คะแนน)

ข้อนี้  ตอบหน้าม่าน   ตั้งแต่เวลา  ๑๖.๐๐  น.เป็นต้นไป
จนถึงเวลาสองยาม  พ้นกำหนดนี้แล้วหัก ๓ คะแนน
คะแนนที่จะให้พิจารณาจากข้อมูลคำตอบว่า ละเอียด
ถูกต้อง  และมีมากเพียงใด   ให้คะแนนสูงสุด  ๓๐  คะแนน

อ้อ  คุณหลวงท่านนั้นฝากชมมาด้วยว่า
แหม  เก่งกันทุกคนเลย  หวังว่าจะผ่านไปถึงข้อที่ ๑๐๐
กันได้ครบอาการสามสิบสองนะ ยิงฟันยิ้ม

ขอตอบค่ะ  ยิงฟันยิ้ม  (แบ่งตอบเป็นตอน ตอนละ 4 ข้อนะคะ เพราะลงภาพได้ทีละ 4 ภาพ)

1.   กระทรวงคมนาคม ตราพระรามทรงรถ
แต่เดิม ตราพระรามทรงรถ เป็นตราใหญ่ของ กระทรวงโยธาธิการ ซึ่งเดิมใช้ตราอินทร์ทรงช้าง แต่มีขนาดโตไป จึงโปรดให้เปลี่ยนเป็น ตราพระรามทรงรถ ให้เข้ากับเรื่องตรวจถนนหรือสร้างเมือง ครั้นเลิกกระทรวงโยธาธิการ มารวมกันกับราชการส่วนอื่น ตั้งกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ขึ้น ในรัชกาลที่ 7 เมื่อ พ.ศ. 2468 ตราดวงนี้จึงตกมาเป็นตราตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ครั้นเมื่อปรับปรุง กระทรวงนี้ขึ้นใหม่ เปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงเศรษฐการ ตราพระรามทรงรถยังใช้เป็นตราตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ ภายหลัง เมื่อ พ.ศ. 2484 ยุบกระทรวงเศรษฐการ แยกเป็นกระทรวงการเศรษฐกิจ และกระทรวง คมนาคม ตราพระรามทรงรถ จึงตกมาเป็นตราของกระทรวงคมนาคม จนบัดนี้ ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี วันที่ 3 ตุลาคม 2484
 http://www.news.mot.go.th/motc/portal/us/history_Logo.asp

2.   กระทรวงอุตสาหกรรม ตราพระนารายณ์กวนน้ำอมฤตในเกษียรสมุทร
สัญลักษณ์นี้สืบเนื่องมาจากเรื่องนารายณ์สิบปาง ปางที่สองหรือกูรมาวตาร โดยถือเอาสัญลักษณ์ ขณะที่พระนารายณ์ทรงแสดงอิทธิฤทธิ์ ประกอบพิธีกวนน้ำอมฤตในเกษียรสมุทร เพื่อช่วยให้เทพทั้งปวงมีภาวะเป็นอมตะ ซึ่งในการกวนน้ำอมฤตนี้ได้เกิดผลิตผลอย่างอื่น ๆ ขึ้นในโลกนี้ด้วย กระทรวงอุตสาหกรรม จึงนำตรานี้มาเป็นตรากระทรวงในความหมายว่าอุตสาหกรรมเป็นผู้สร้างให้เกิดสิ่งต่างๆ นั่นเอง

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1_(%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2)

3.   กระทรวงการคลัง ตรานกวายุภักษ์
เป็นนกที่ปรากฏชื่อในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ว่า อสูรวายุภักษ์ รูปร่างเป็นนกอินทรี ตัวและหน้าเป็นยักษ์ มีปีก มีหาง มีเท้าเหมือนครุฑ แต่หางมีแววเหมือนนกยูงตามประวัติในเรื่องรามเกียรติ์ว่า วายุภักษ์มีพ่อเป็นอสูรผู้ครองกรุงวิเชียร ซึ่งอยู่ที่เชิงเขาจักรวาล เป็นยักษ์ที่มีฤทธิ์มาก จึงมักจะเที่ยวข่มเหงรังแกเทวดาและฤาษีชีไพรอยู่เสมอ เมื่อพระรามพระลักษมณ์ออกเดินดงครั้งที่ 2 อสูรวายุภักษ์บินผ่านมาพบเข้าจึงโฉบลงมาจับพระราม พระลักษณ์จะนำไปกินเป็นอาหาร หนุมาน สุครีพ และไพร่พลลิงก็รีบตามไปช่วย และได้เข้าต่อตีกับอสูรวายุภักษ์  ในที่สุดก็ช่วยพระราม พระลักษมณ์ไว้ได้ และองคตกับนิลพัทก็ได้ฆ่าอสูรวายุภักษ์ตาย
รูปนกวายุภักษ์ เดิมเป็นตราตำแหน่งพระยาราชภักดี เจ้ากรมพระจำนวน ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับภาษีอากร ผู้มีหน้าที่เป็นหัวหน้าทำการคลังมาก่อน คณะเสนาบดีในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้กำหนดให้นำตรานกวายุภักษ์มาใช้เป็นตรากระทรวงพระคลัง และใช้เป็นตรากระทรวงการคลังติดต่อกันเรื่อยมา โดย สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงใช้รูปนกการเวกเป็นแบบการเขียนตราวายุภักษ์ โดยตรัสอธิบายว่า นกกินลม จึงเหมาะที่จะเป็นตราของกระทรวงการคลัง

http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C

4.   ตราประจำกรุงเทพมหานคร ตราพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
รูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ตามแบบภาพฝีพระหัตถ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
ตรานี้ เคยใช้เป็นตราเทศบาลนครหลวงกรุงเทพธนบุรี โดยมีข้อความที่อยู่เหนือรูปพระอินทร์ทรงช้าง เป็นคำว่า "เทศบาลนครหลวง"
ปัจจุบันเป็นตราประจำกรุงเทพมหานคร โดยมีข้อความที่อยู่เหนือรูปพระอินทร์ทรงช้าง เป็นคำว่ากรุงเทพมหานคร

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2





บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 03 มี.ค. 11, 16:01

๒.   ตราหนุมานสี่กร เป็นตราประจำตำรวจ
ตำรวจไทยเกิดเป็นรูปแบบองค์กรครั้งแรกในสมัยรัชการที่ 4 ทรงโปรดให้จัดตั้งองค์ตำรจและปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมของไทยให้เป็นระบบ แสดงความเป็นอารยะทัดเทียมตะวันตกโปรดให้ใช้สัญลักษณ์เป็นรูป  "หนุมานสี่กร"                       
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานเป็นพระราชหัตถเลขา อนุญาต ให้กรมตำรวจภูธรใช้พระรูปพระแสงดาบเขนและโล่ ประจำที่มุมธงและใช้เป็นตราประจำกระดาษสำหรับราชการในกรมตำรวจภูธร เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2445 ตราโล่เขนนี่ ออกแบบครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2440 โดย หม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย (ผู้ผุกลายพระราชลัญจกรแผ่นดิน เมื่อปี พ.ศ. 2416)

                      ถึงสมัยราชการที่ 6 ดาบเขนและโล่ได้ปรากฏอยู่ในพระธรรมนูญตราที่โปรดเกล้า ฯ ให้ตราขึ้น เมื่อ พ.ศ.2453 ให้เป็นตราประจำกรมพลตระเวน (ต่อมา พ.ศ. 2458 เปลี่ยนเป็นกรมพลตำรวจนครบาล) ปัจจุบันใช้ตราโล่ห์เขนเป็นสัญลักษณ์แทน
อ้างถึงแหล่งที่มา http://www.uttaradit.police.go.th/thar3.html


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 46
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.11 วินาที กับ 20 คำสั่ง