คำถามข้อที่ ๗๔.
มีระบำกรมศิลปากรชุดใดบ้างที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องรามเกียรติ์ จงยกมา ๒ ชุด
พร้อมอธิบายรายละเอียดของระบำชุดนั้นๆ ว่าใครคิดค้นขึ้น เคยแสดงครั้งแรกเมื่อไร
มีคำร้องทำนองเพลงอย่างไร การแต่งกายของผู้แสดง และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข้อนี้ ๑๐ คะแนน เริ่มตอบได้ ตั้งแต่ ๑๓.๓๐ น. ตอบหน้าไมค์
ใครตอบซ้ำคนอื่นแต่สามารถตอบได้ดี และละเอียดกว่า ให้คะแนนเต็ม
แต่ถ้าตอบไม่ดีกว่า จะหัก ๒ คะแนนในตัวอย่างที่ซ้ำ
ขอตอบค่ะ

1.ชื่อ :
ระบำวานรพงศ์ประวัติที่มา: ระบำวานรพงศ์เป็นชุดการแสดงที่สร้างสรรค์ใหม่ โดยนาย เสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๑ สาขาศิลปการละคร ( ถึงแก่กรรม ๒๕๕๐ ) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองการสังคีต กรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบและสร้างบท
นำออกแสดงในโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดหนุมานชาญสมร ณ โรงละครแห่งชาติ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
ผู้ประดิษฐ์ท่ารำ : นาย กรี วรศะริน ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๑ สาขานาฏศิลป์โขน ( ถึงแก่กรรม ๒๕๔๑ )
ผู้รับถ่ายทอดท่ารำ : นาย ประสิทธิ์ ปิ่นแก้ว ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลป ( เกษียณฯ ๒๕๔๕ )
การแสดงชุดนี้เป็นการนำให้ผู้ชมทราบชื่อลิงสิบแปดมงกุฏและลิงพญาวานรที่เป็นกำลังสำคัญในกองทัพฝ่ายพลับพลาของพระราม และได้เห็นลักษณะการแต่งกายและสีประจำกายของลิงแต่ละตัว
เครื่องแต่งกาย : การแต่งกายนั้นแต่งตามรูปแบบลิงสิบแปดมงกุฎ และลิงพญายืนเครื่องเต็มตัว พร้อมอาวุธประจำตัว สีเสื้อและศีรษะเป็นสีเดียวกันตามพงศ์ในเรื่องรามเกียรติ์
รูปแบบ และลักษณะการแสดง : ลักษณะท่ารำนั้น ลิงสิบแปดมงกุฏออกท่าเพลงหน้าพาทย์รุกร้น แล้วตีบทในเพลงแขกโหม่งชั้นเดียว ต่อจากนั้นลิงพญาออกท่าเพลงหน้าพาทย์รัวสามลาและเพลงกราวกลาง โดยตีบทตามความหมายของบทร้อง ในกิริยาอาการของลิงผสมผสานกับลีลานาฏศิลป์เรียงตามลำดับตามชื่อด้วยความคล่องแคล่วว่องไวการแสดงชุดนี้ใช้เวลาแสดงประมาณ ๑๒ นาที
ดนตรี และเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง : ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า หรือเครื่องคู่ หรือเครื่องใหญ่
บทร้องระบำวานรพงศ์ :
ชุดแรก : วานรสิบแปดมงกุฏ ปี่พาทย์ทำเพลงรุกร้น ร้องเพลงแขกโหม่งชั้นเดียว
นำดัวยไชยามพวานทหารหน้า เกสรทมาลากล้ากลั่น
ถัดมานิลราชกาจฉกรรจ์ เคียงคู่นิลขันชาญชัย
นิลเอกฤทธิไกรดังไฟกัลป์ คู่นิลปานันทหารใหญ่
วิมลรณรบว่องไว ถัดไปชื่อวิสันตราวี
มาลุนเริงแรงกำแหงหาญ เคียงขนานเกยูรกระบี่ศรี
ทั้งมายูรพูนพลังแข็งขันดี คู่กับสัตพลีมีเดชา
สุรเสนเจนจบรบรอนราญ คู่กับสุรกานต์ทหารกล้า
โกมุทวุฒิไกรไวปัญญา เคียงมากับกระบี่กุมิตัน
ไวยบุตรรำบาญราญแรง เคียงแข่งกับนิลปาสัน
ครบสิบแปดมงกุฎสุดฉกรรจ์ ทหารเอกทรงธรรม์รามราชา
ชุดที่ 2 : เหล่าพญาวานร ปี่พาทย์ทำเพลงรัวสามลา ร้องเพลงกราวกลาง
สุครีพโอรสพระสุริย์ฉาน คำแหงหนุมานทหารหน้า
นิลพัทฝ่ายชมพูนัครา องคตบุตรพญาพาลี
ชมพูพานศิวะโปรดประสาท ชามภูวราชชาติเชื้อพญาหมี
นิลนนท์ลูกพระอัคนี ล้วนกระบี่พงศ์พญาวานร
2. ชื่อ :
ระบำมฤคระเริง หรือ ( ระบำกวาง ) ประวัติ : เป็นระบำที่ประดิษฐ์ขึ้นแสดงเนื่องในงานแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ณ ประเทศสหภาพพม่า เมื่อปีพุทธศักราช 2498 โดยจัดให้มีการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอนลักนางสีดา มีหมู่ระบำกวางออกมาร่ายรำเพื่อความสวยงาม เพลินเพลิน เร้าใจ ตามท่วงทำนองเพลงมฤคระเริง ที่นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติ ได้แต่งทำนองเพลงขึ้น ประกอบท่ารำของหมู่กวางอย่างสนิทสนมกลมกลืน ก่อนที่กวางทอง (มารีศ) จะออกมาล่อให้นางสีดาเห็น และเกิดความใหลหลง ขอร้องให้พระรามไปจับมาให้ เมื่อพระรามตามไปทศกัณฐ์ได้แปลงตนเป็นฤษี ลักนางสีดาไปกรุงลงกา
ผู้แต่งทำนองเพลงมฤคระเริง : นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติ
ผู้เรียบเรียงเสียงประสาน : คุณมานิตย์ บูชาชนก
ผู้ประดิษฐ์ท่ารำระบำมฤคระเริง : คุณครูลมุล ยมะคุปต์
การแต่งกาย : แต่งกายเลียนแบบกวาง
เพลงมฤคระเริงเป็นเพลงที่มีแต่ทำนองเพื่อประกอบระบำ ไม่มีบทร้อง ค่ะ