เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 20
  พิมพ์  
อ่าน: 129863 เจ้าชายยอร์ช วอชิงตัน แห่งสยาม กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ วังหน้าพระองค์สุดท้าย
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 210  เมื่อ 23 มี.ค. 11, 11:43

ดีครับ   ขอบคุณมากที่เอามาให้อ่านตามคำขอร้อง ยิงฟันยิ้ม

เชิญคุณเทาชมพูเปิดประเด็นพระบวรราชนิพนธ์ต่อไปได้ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 211  เมื่อ 24 มี.ค. 11, 18:36

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุรยวงศ์ ได้เลือก กรมหมื่นบวรวิชัยชาญ พระโอรสพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในขณะที่พระองค์พระชนมายุ ๓๑ พรรษา ซึ่งเป็นเหตุการณ์วันเดียวกันกับการประชุมเสนาบดียกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติแห่งกรุงสยาม

ขอย้อนไปขยายความค.ห.เก่าที่คุณ siamese โพสไว้ในหน้า ๑๒   เพื่อดูที่มาที่ไปของความระแวงแคลงใจของวังหลวงกับวังหน้า
ดิฉันเห็นว่ากรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ทรงเป็นเจ้านายที่น่าเห็นใจที่สุดพระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์     เพราะเรื่องอะไรต่อมิอะไรที่เกิดขึ้นกับพระองค์ท่าน    ท่านก็ไม่ได้ไปเสาะหามาใส่ตัว    แต่เป็นฝีมือคนอื่นกำหนดให้    โดยที่ท่านเองก็ไม่อยู่ในฐานะจะขัดขืน  เรียกว่าจำยอมอยู่กลายๆ
โดยส่วนพระองค์ ก็ทรงเป็นศิลปิน มีโลกส่วนตัวอยู่กับสิ่งสุนทรียะ  มากกว่าจะใฝ่สูงทะเยอทะยานในด้านการเมือง     เห็นได้จากพระอัธยาศัยอ่อนน้อมถ่อมพระองค์   คบหาสมาคมกับเจ้าชั้นพระอนุวงศ์อย่างหม่อมเจ้า    
ข้อนี้อาจจะทรงเลือกที่อายุอานามไล่เลี่ยกัน หรือสนพระทัยอะไรเหมือนๆกัน  มากกว่าคำนึงถึงฐานันดรศักดิ์
แต่การถ่วงดุลย์อำนาจในการเมืองสมัยต้นรัชกาลที่ ๕ ในพ.ศ. ๒๔๑๑  ก็ทำให้ท่านต้องถูกดึงเข้าไปมีบทบาทมากกว่าที่คิด

เรื่องในต้นรัชกาลมีอยู่ว่า   เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต  มิได้ทรงมอบหมายราชสมบัติให้เจ้านายพระองค์ใด   ตอนนั้น พระราชโอรสพระองค์ใหญ่คือเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ก็ทรงติดเชื้อไข้มาเลเรียจากหว้ากอ พระอาการหนักอยู่เช่นกัน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเสด็จสวรรคต   สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ หรือในตอนนั้นคือเจ้าพระยาศรีสุริยะวงศ์ ที่สมุหกลาโหม ออกคำสั่งให้หมู่องครักษ์และกรมอาสาตั้งกองล้อมวังทั้งชั้นนอกและชั้นใน    แล้วทูลเชิญพระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง ข้าราชการสามัญชนและ พระสงฆ์ราชาคณะ มาประชุมใหญ่พร้อมกันในพระบรมมหาราชวัง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 มี.ค. 11, 16:26 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 212  เมื่อ 24 มี.ค. 11, 18:37

เมื่อทั้งหมดมาพร้อมกัน  เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ก็แถลงว่า พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ " โปรดฯให้ประชุมปรึกษาเพื่อเลือกพระราชวงศ์พระองค์ใดที่เพียบพร้อมด้วยสติ ปัญญาวัยวุฒิรอบรู้สรรพสิ่ง ปกป้องสมณะชีพราหม์ อาณาประชาราษฎร์ได้ ก็ให้ยกพระองค์นั้นขึ้นเถิด....."

พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงเทเวศรวัชรินทร์ เจ้านายอาวุโสสูงสุดได้เสนอ พระนามสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานารถ ขึ้นครองแผ่นดินต่อจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ   ข้อนี้ก็เป็นที่รู้กันมานานแล้วว่าพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งรัชทายาท  แม้ไม่มีการประกาศออกมาเป็นทางการก็ตาม

เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ก็ถาม ในที่ประชุมว่าเห็นชอบ ตามที่กรมหลวงเทเวศร์ฯเสนอหรือไม่  ที่ประชุมมิได้เห็นเป็นอื่น จึงมีมติอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ขึ้นสืบสันตติวงศ์

มาถึงนาทีสำคัญ  ครั้งแล้ว เจ้าพระยาก็ขอให้ที่ประชุมเสนอนามผู้ดำรงตำแหน่งอุปราช คือ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระองค์ใหม่
กรม หลวงเทเวศรวัชรินทร์ได้เสนอพระนามพระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ  พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ    ข้อนี้ก็คงดูกันออกว่า  มีการตกลงกันเอาไว้ล่วงหน้ากับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์แล้ว   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 213  เมื่อ 24 มี.ค. 11, 18:47

น่าสังเกตว่าในแผ่นดินก่อนๆตั้งแต่รัชกาลที่ ๑  จนถึงรัชกาลที่ ๔   ผู้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรฯ ถ้าไม่ใช่พระอนุชาแท้ๆของพระเจ้าแผ่นดิน ก็เป็นพระราชโอรส    มีเว้นแผ่นดินเดียวคือรัชกาลที่ ๓ ทรงตั้งพระปิตุลา หรือพระเจ้าอาขึ้นเป็นวังหน้า

ในแผ่นดินนี้  มีพระราชอนุชาพระองค์รองในเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์  คือ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี  ถ้าหากมีข้อแย้งว่าทรงพระเยาว์เกินกว่าจะรับตำแหน่งวังหน้า  ก็ยังมีเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ระดับ "อา" ก็ยังมีอีกหลายพระองค์   แม้แต่กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์เองก็อยู่ในฐานะ "อา" เช่นกัน
พระองค์ อื่นๆ ก็ยังมีเจ้าฟ้ามหามาลา  กรมขุนบำราบปรปักษ์   พระองค์เจ้าปราโมช กรมขุนวรจักรธรานุภาพ  และอีกหลายๆพระองค์ซึ่งอยู่ในชุมนุมครั้งนั้นด้วย

ส่วนพระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ เป็นพระญาติชั้นห่างออกไป  คือเป็นลูกพี่ลูกน้อง   แตกต่างไปจากวังหน้าทุกพระองค์ในอดีต

อาจ ด้วยเหตุ นี้    กรมขุนวรจักรธรานุภาพ จึงได้รับสั่งแย้งขึ้นมาว่า ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ตามราชประเพณี พระเจ้าแผ่นดินโปรดเกล้าฯแต่งตั้งด้วยพระองค์เอง
เจ้าพระยาศรีสุริย วงศ์ก็ย้อนถามกลับไปว่า " อยากเป็นเองหรือ"  คำย้อนเจ้านายชั้นผู้ใหญ่อย่างนี้   แสดงอำนาจของสมุหกลาโหมอย่างแจ่มแจ้ง   ว่าขณะนั้น อำนาจในการบริหารแผ่นดินนั้นอยู่ในมือใคร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 214  เมื่อ 24 มี.ค. 11, 18:49

ด้วยเหตุนี้ ในหนังสือประวัติศาสตร์ไทยที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ  บางเล่ม จึงเรียกสมเด็จเจ้าพระยาว่า The Kingmaker

ขอแยกซอยไปอธิบายคำนี้  ในประวัติศาสตร์อังกฤษ

ที่ มาของคำนี้ ใช้เรียกขุนนางชื่อริชาร์ด เนวิลล์  เอิร์ลแห่งวอริค ย้อนกลับไปตั้งแต่ "สงครามดอกกุหลาบ" ของตระกูลยอร์คและตระกูลลานคาสเตอร์  ตั้งแต่ยุคกลางของอังกฤษ  เนวิลล์เป็นขุนนางที่มั่งคั่งและมีอำนาจแผ่ไพศาลที่สุดในยุคของเขา จนถึงกับกล้าสนับสนุนกษัตริย์ขึ้นครองบัลลังก์ได้ถึง ๒ องค์ และโค่นลงมาได้เมื่อแตกคอกัน
ต่อมาคำนี้ใช้ในความหมายกว้าง ถึงใครก็ตามที่มีอำนาจทางการเมืองมากพอจะเข้าไปขวางระบบการสืบทอดอำนาจ  และจัดการให้เป็นไปตามความประสงค์ของตน

   เมื่อสมุหกลาโหมย้อนแบบตีแสกหน้ากลางที่ประชุม  กรมขุนวรจักรฯก็รับสั่งว่า "ถ้าจะให้ยอมก็ต้องยอม"   ที่ประชุมจึงลงมติอัญเชิญพระองค์เจ้ายอดยิ่งยศขึ้นรับตำแหน่งกรมพระราชวัง บวรสถานมงคล    
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 215  เมื่อ 24 มี.ค. 11, 19:18

     กรมขุนวรจักรฯไม่ต่อความยาวสาวความยืดต่อ  เมื่อออกจากที่ประชุมก็เสด็จกลับวัง และไม่เสด็จออกจากวังอีกเลยตลอดเวลาที่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์มีอำนาจอยู่

    เหตุการณ์นี้เป็นคำอธิบายได้อย่างดี  ถึงความหมายพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ พระราชทานสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศฯ สยามมกุฎราชกุมาร

    “ในเวลานั้นอายุพ่อเพียง ๑๕ ปี กับ ๑๐ วัน ไม่มีมารดา  มีญาติฝ่ายมารดาก็ล้วนแต่โลเลเหลวไหล หรือไม่โลเลเหลวไหลก็มิได้ตั้งอยู่ในตำแหน่งราชการอันใดเป็นหลักฐาน ฝ่ายญาติข้างพ่อคือเจ้านายทั้งปวง ก็ตกอยู่ในอำนาจสมเด็จเจ้าพระยา และต้องรักษาตัวรักษาชีวิตอยู่ด้วยกันทั่วทุกองค์    ที่ไม่เอื้อเฟื้อต่อการอันใดเสียก็มีโดยมาก ฝ่ายข้าราชการ ถึงว่ามีผู้ที่ได้รักใคร่สนิทสนมอยู่บ้าง ก็เป็นแต่ผู้น้อยโดยมาก   ที่เป็นผู้ใหญ่ก็ไม่มีกำลังสามารถอาจจะอุดหนุนอันใด    ฝ่ายพี่น้องซึ่งร่วมบิดาหรือที่ร่วมทั้งมารดาก็เป็นเด็ก มีแต่อายุต่ำกว่าพ่อลงไป ไม่สามารถจะทำอะไรได้ทั้งสิ้น    ส่วนตัวพ่อเองยังเป็นเด็กอายุเพียงเท่านั้น ไม่มีความสามารถรอบรู้ในราชการอันใดที่จะทำการตามหน้าที่ … ยังซ้ำเจ็บเกือบจะถึงแก่ความตาย อันไม่มีผู้ใดสักคนเดียวซึ่งจะเชื่อว่าจะรอด ยังซ้ำถูกอันตรายใหญ่ คือทูลกระหม่อมเสด็จสวรรคต ในขณะนั้นเปรียบเหมือนคนที่ศีรษะขาดแล้ว จับเอาแต่ร่างกายขึ้นตั้งไว้ในที่สมมุติกษัตริย์     เหลือที่จะพรรณนาถึงความทุกข์อันต้องเป็นกำพร้าในอายุเพียงเท่านั้น และความหนักของมงกุฎอันเหลือที่คอจะทานไว้ได้ ทั้งมีศัตรูซึ่งมุ่งหมายอยู่โดยเปิดเผยรอบข้าง ทั้งภายในภายนอก   หมายเอาทั้งในกรุงเองและต่างประเทศ ทั้งโรคภัยในกายเบียดเบียนแสนสาหัส”
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 216  เมื่อ 25 มี.ค. 11, 09:31

ด้วยเหตุนี้ ในหนังสือประวัติศาสตร์ไทยที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ  บางเล่ม จึงเรียกสมเด็จเจ้าพระยาว่า The Kingmaker

ขอแยกซอยไปอธิบายคำนี้  ในประวัติศาสตร์อังกฤษ

ที่ มาของคำนี้ ใช้เรียกขุนนางชื่อริชาร์ด เนวิลล์  เอิร์ลแห่งวอริค ย้อนกลับไปตั้งแต่ "สงครามดอกกุหลาบ" ของตระกูลยอร์คและตระกูลลานคาสเตอร์  ตั้งแต่ยุคกลางของอังกฤษ  เนวิลล์เป็นขุนนางที่มั่งคั่งและมีอำนาจแผ่ไพศาลที่สุดในยุคของเขา จนถึงกับกล้าสนับสนุนกษัตริย์ขึ้นครองบัลลังก์ได้ถึง ๒ องค์ และโค่นลงมาได้เมื่อแตกคอกัน
ต่อมาคำนี้ใช้ในความหมายกว้าง ถึงใครก็ตามที่มีอำนาจทางการเมืองมากพอจะเข้าไปขวางระบบการสืบทอดอำนาจ  และจัดการให้เป็นไปตามความประสงค์ของตน
    

เหตุการณ์นี้ก็น่าศึกษาไม่แพ้กัน สงครามดอกกุหลาบ (Wars of the Roses; ค.ศ. 1455 - ค.ศ. 1489) เป็นสงครามกลางเมืองในการแย่งราชบัลลังก์อังกฤษระหว่างผู้เกี่ยวข้องกับราชวงศ์แลงคาสเตอร์และผู้เกี่ยวข้องกับราชวงศ์ยอร์ค โดยใช้สัญลักษณ์แห่งกษัตริย์อังกฤษ 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายหนึ่งใช้สัญลักษณ์รูปกุหลาบสีขาว อีกฝ่ายใช้สัญลักษณ์รูปกุหลาบสีแดง แย่งชิงอำนาจระหว่างกัน และท้ายที่สุดในสมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 7 ทรงปราบปรามทำให้บ้านเมืองสงบได้และได้ยุบสัญลักษณ์ทั้งสองลง ยุบเป็นดอกกุหลาบที่ผสมกันระหว่างแดงและขาว เรียกว่า กุหลาบแห่งทิวดอร์ (Tudor Rose)

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=10-2009&date=05&group=11&gblog=29

ภาพวาดเหตุการณ์สงครามดอกกุหลาบนำมาจากภาพกล่องจิ๊กซอว์ และดอกกุหลาบทิวดอร์


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 217  เมื่อ 25 มี.ค. 11, 09:44

  เมื่อสมุหกลาโหมย้อนแบบตีแสกหน้ากลางที่ประชุม  กรมขุนวรจักรฯก็รับสั่งว่า "ถ้าจะให้ยอมก็ต้องยอม"   ที่ประชุมจึงลงมติอัญเชิญพระองค์เจ้ายอดยิ่งยศขึ้นรับตำแหน่งกรมพระราชวัง บวรสถานมงคล    

อ้างถึงจดหมายเหตุเหตุการณ์ต้นรัชกาลที่ ๕ กล่าวว่า

"เรื่องตอนประชุมถวายราชสมบัติที่กล่าวมานี้ ได้ทูลถามกรมหมื่นราชศักดิ์สโมสรท่านตรัสเล่าให้ฟัง ด้วยเวลานั้นท่านทรงผนวชเป็นสามเณรได้ประทับอยู่ในที่ประชุม ทรงจำความที่กล่าวกันในที่ประชุมถ้วนถี่ละเอียดกว่าจดหมายเหตุที่เจ้าพระยาทิพากรวงศ์และเจ้าพระยามหินทรได้จดไว้ เนื้อความก็ไม่เคลื่อนคลาดกัน

ความในจดหมายเหตุของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ และเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง กล่าวถึงการเลือกกรมพระราชวังบวรฯ แต่ตอนปลาย ว่าที่ประชุมยอมพร้อมกัน เห็นแต่จะเป็นเพราะแต่งหนังสือนั้นในเวลาผู้ซึ่งเกี่ยวข้องยังอยู่ในที่ประชุมนั้น ท่านเล่าเป็นอยงที่กล่าวมานี้ ทราบด้วยกันโดยมาก

ต่อมาได้ฟังเจ้าพระยาภาณุวงศ์ฯ เล่าเมื่อก่อนจะอสัญกรรมไม่ช้านักอีกครั้งหนึ่ง ว่าการเลือกกรมพระราชวังบวรฯ ครั้งนั้น ถ้อยคำที่กรมหลวงเทเวศร์ฯ ตรัส เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จดถวาย ให้เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (พุ่ม) แต่ยังเป็นขุนสมุทรโคจร นั่งเขียนที่พระทวารเมื่อก่อนเวลาประชุม และในเมื่อปรึกษากันนั้น ในข้อจะถวายราชสมบัติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น ยินยอมพร้อมกันด้วยความยินดีจรง แต่เมื่องเลือกพระมหาอุปราช ท่านสังเกตุผู้ที่อยู่ในที่ประชุมไม่เห็นชอบโดยมาก ที่ยอมเป็นด้วยกลัวเจ้าพระยาศรีสุสริยวงศ์เท่านั้น"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 218  เมื่อ 28 มี.ค. 11, 17:54

      ดิฉันลองไล่เรียงว่าพระบรมวงศานุวงศ์ที่เสด็จมาชุมนุมกันพร้อมเพรียงใน พ.ศ. ๒๔๑๑   มีพระองค์ใดบ้าง  ลองนับดู  (อาจจะตกหล่นไปบ้าง กรุณานับเองอีกทีถ้าอยากตรวจสอบให้แน่นอน)
      เจ้านายชั้นพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๑  ไม่เหลือเลยสักพระองค์     สิ้นพระชนม์กันไปหมดแล้ว
     
      เจ้านายชั้นพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๒   ที่ยังมีพระชนม์อยู่ก็คือ
         - พระองค์เจ้าชายกลาง  กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์  พระชันษา ๖๓  ปี
         - พระองค์เจ้าชายนวม   กรมหลวงวงศาธิราชสนิท  พระชันษา ๖๐ ปี
         - พระองค์เจ้าชายขัตติยา   กรมหมื่นถาวรวรยศ    พระชันษา  ๕๙ ปี
         - พระองค์เจ้าชายอรุณวงศ์  กรมหมื่นวรศักดาพิศาล  พระชันษา ๕๖ ปี
         - พระองค์เจ้าชายกปิตถา  กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์    พระชันษา ๕๕ ปี
         - พระองค์เจ้าชายปราโมช  กรมขุนวรจักรธรานุภาพ  พระชันษา ๕๒ ปี
         - เจ้าฟ้ามหามาลา  กรมขุนบำราบปรปักษ์ (ภายหลังทรงเลื่อนขึ้นเป็นกรมพระยา) พระชันษา ๔๙ ปี

         เจ้านายชั้นพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๓ ที่ยังมีพระชนม์อยู่  คือ
         - พระองค์เจ้าชายคเนจร   กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์  พระชันษา ๕๓ ปี
         - พระองค์เจ้าชายลดาวัลย์   กรมหมื่นภูมินทรภักดี  พระชันษา ๕๓ ปี
         - พระองค์เจ้าชายอุไร    กรมหมื่นอดุลยลักษสมบัติ พระชันษา ๔๙ ปี
         - พระองค์เจ้าชายอมฤก  กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย  พระชันษา ๔๒ ปี
         - พระองค์เจ้าชายสุบรรณ    กรมหมื่นภูวนัยนฤเบนทราธิบาล  พระชันษา ๔๒ ปี
         - พระองค์เจ้าชายสิงหรา   กรมหมื่นอักษรสาสนโสภณ  พระชันษา ๔๒ ปี 
         - พระองค์เจ้าชายชมพูนุท     กรมหมื่นเจริญผลพูลสวัสดิ  พระชันษา ๔๑ ปี

          ทุกพระองค์ล้วนมีพระชันษาสูงกว่าพระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ   ถ้านับทางสายเลือดก็ใกล้ชิดราชบัลลังก์มากกว่า เพราะเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าแผ่นดินทั้งสิ้น   แต่ไม่มีพระองค์ใดได้รับการเสนอพระนามเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล

         หมายเหตุ : ไม่นับรวมพระองค์เจ้า พระราชโอรสในวังหน้าแผ่นดินก่อนๆ  และพระองค์เจ้าชั้นพระราชนัดดา  กับพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 219  เมื่อ 28 มี.ค. 11, 17:56


เหตุการณ์นี้ก็น่าศึกษาไม่แพ้กัน สงครามดอกกุหลาบ (Wars of the Roses; ค.ศ. 1455 - ค.ศ. 1489) เป็นสงครามกลางเมืองในการแย่งราชบัลลังก์อังกฤษระหว่างผู้เกี่ยวข้องกับราชวงศ์แลงคาสเตอร์และผู้เกี่ยวข้องกับราชวงศ์ยอร์ค โดยใช้สัญลักษณ์แห่งกษัตริย์อังกฤษ 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายหนึ่งใช้สัญลักษณ์รูปกุหลาบสีขาว อีกฝ่ายใช้สัญลักษณ์รูปกุหลาบสีแดง แย่งชิงอำนาจระหว่างกัน และท้ายที่สุดในสมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 7 ทรงปราบปรามทำให้บ้านเมืองสงบได้และได้ยุบสัญลักษณ์ทั้งสองลง ยุบเป็นดอกกุหลาบที่ผสมกันระหว่างแดงและขาว เรียกว่า กุหลาบแห่งทิวดอร์ (Tudor Rose)

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=10-2009&date=05&group=11&gblog=29

ภาพวาดเหตุการณ์สงครามดอกกุหลาบนำมาจากภาพกล่องจิ๊กซอว์ และดอกกุหลาบทิวดอร์

ถ้าไม่ลืม    จะมาเล่าเรื่องสงครามดอกกุหลาบให้ฟัง  ในห้องหน้าต่างโลก นะคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 220  เมื่อ 29 มี.ค. 11, 12:17


อ้างถึงจดหมายเหตุเหตุการณ์ต้นรัชกาลที่ ๕ กล่าวว่า


 ในข้อจะถวายราชสมบัติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น ยินยอมพร้อมกันด้วยความยินดีจริง แต่เมื่อเลือกพระมหาอุปราช ท่านสังเกตผู้ที่อยู่ในที่ประชุมไม่เห็นชอบโดยมาก ที่ยอมเป็นด้วยกลัวเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เท่านั้น"


ในเมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทรงขึ้นสู่ตำแหน่งวังหน้า ด้วยการสนับสนุนของสมเด็จเจ้าพระยาฯ     เจ้านายอื่นๆถึงไม่เต็มพระทัยก็ขัดไม่ได้  จึงไม่แปลกอะไร ถ้าจะมองว่าวังหน้ารัชกาลนี้ เหมือนถูก "โดดเดี่ยว" มาแต่แรก     
จะหามิตรสนิทจากวังไหนก็คงจะยาก    สมัยพระองค์ท่านทรงดำรงพระยศพระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ ก็ทรงสมาคมแต่กับหม่อมเจ้า  ซึ่งสมัยนั้นถือว่าเป็นเจ้านายชั้นผู้น้อย   ไม่มีสิทธิ์มีเสียงอะไรในการบริหารบ้านเมือง
เมื่อสมเด็จเจ้าพระยาฯท่านล้างมือในอ่างทองคำ   ปลีกตัวไปพำนักที่ราชบุรี  ก็เท่ากับท่านออกจากแวดวงการเมืองไปแล้วโดยสิ้นเชิง   กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญก็ยิ่งหาที่พึ่งที่ปรึกษาไม่ได้      เพื่อนฝูงอีกกลุ่มหนึ่งที่พอจะมีอำนาจก็คือฝรั่ง   โดยเฉพาะกงศุลน็อกซ์
ซึ่งส่งลูกสาวมาออกหน้าอยู่ในวังหน้า  เป็นข่าวซุบซิบว่าแกหวังจะได้เป็นพ่อตา    ความจริงก็อาจเป็นข่าวลือกันไปเกินเหตุ  เพราะในที่สุดแฟนนี่ก็แต่งงานไปกับพระปรีชากลการ   
ส่วนแคโรไลน์ลูกสาวคนเล็ก  ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เล่าไว้ในโครงกระดูกในตู้ว่าติดตามม.จ.ฉวีวาดไปเขมรด้วย     ข้อนี้สงสัยว่าคลาดเคลื่อน  เพราะแคโรไลน์แต่งงานไปกับหลุยส์  เลียวโนเวนส์ ลูกชายของหม่อมแอนนา   ไม่ทราบว่าเอาเวลาที่ไหนไปอยู่เขมร หรือไปช่วงสั้นๆแล้วกลับมา

อย่างไรก็ตาม    เมื่อเหตุการณ์วิกฤตวังหน้าจบลงด้วยสันติ    เราก็เห็นจากบันทึกของคาร์ล บอร์ก ว่ากรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทรงใช้ชีวิตอย่างสงบ  ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง      ใช้เวลาไปกับงานช่างและงานศิลปะทั้งหลาย
ซึ่งจะเล่าถึงผลงานอีกด้านที่งดงามไม่แพ้งานหุ่นวังหน้า คือพระบวรราชนิพนธ์ ที่หาอ่านได้ยากเย็นจนกระทั่งคนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าวังหน้าพระองค์สุดท้าย เป็นกวีฝีมือเอกคนหนึ่งในรัชกาลที่ ๕
ขอเริ่มด้วย "นิราศนครศรีธรรมราช"  ซึ่งแต่งเป็นฉันท์ ทั้งเรื่อง     
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 221  เมื่อ 30 มี.ค. 11, 15:31

นิราศเรื่องนี้กรมพระราชวังบวรฯ ทรงแต่งในรัชกาลที่ ๔    เมื่อพระชันษาได้ ๒๒ ปี    จากเหตุการณ์ตามเสด็จสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทางเรือ  ประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายทะเลฝั่งตะวันตก เมื่อพ.ศ. ๒๔๐๓
เริ่มเส้นทางจากประทับเรือรบกลไฟ "อาสาวดีรส" ออกจากกรุงเทพ   ผ่านเพชรบุรี  ปราณบุรี  ประจวบฯ  ชุมพร นครศรีธรรมราช จนถึงสงขลา
ประทับแรมอยู่ที่สงขลา ๑๐ คืน จึงเสด็จกลับมาที่นครศรีธรรมราช  นมัสการพระบรมธาตุ ประทับแรมอยู่ ๓ คืน จึงเสด็จกลับกรุงเทพฯ

สิ่งที่น่าทึ่งมากในนิราศเรื่องนี้ คือทรงทรงแต่งเป็นฉันท์ขนาดยาวมาก     ปกติ  ฉันท์เป็นคำประพันธ์ที่แต่งยากที่สุดในบรรดาโคลง ฉันท์ กาพย์และกลอน   เพราะถูกบังคับด้วยฉันทลักษณ์ คือคำครุลหุสลับกันในแบบต่างๆตลอดบท    กระดิกกระเดี้ยไม่ได้เลย       
คำไทยดั้งเดิมหรือไทยท้องถิ่นมีไม่มากพอจะนำมาแต่งฉันท์ได้ทั้งหมด     ก็ต้องอาศัยคำบาลีสันสกฤต ซึ่งมีครุลหุในตัวและมีคำมากมายหลายหลากมาแต่ง      คนที่แต่งฉันท์ได้จึงต้องเชี่ยวชาญภาษาบาลีสันสกฤตพอจะหยิบคำมาบรรจุลงในจังหวะคำตามบังคับให้ได้ลงตัวพอดี     และรู้วิธีแผลงคำด้วย ถ้าหากว่าเจอครุลหุในจังหวะที่ต้องแผลงคำ เพื่อไม่ให้เสียฉันทลักษณ์
บทกวีคำฉันท์ส่วนใหญ่ในสมัยอยุธยา  จึงไม่ค่อยยาวนัก  โดยมาก แต่งเพื่ออ่านในโอกาสสำคัญ เช่นในพระราชพิธีต่างๆ   จังหวะเสียงครุลหุ และถ้อยคำบาลีสันสกฤตที่เพริศพริ้ง ทำให้ออกเสียงได้สง่างามน่าเลื่อมใสเหมาะกับบรรยากาศ      มีส่วนน้อยที่แต่งเป็นเรื่องยาวๆ   อย่างสมุทรโฆษคำฉันท์ ที่แต่งด้วยกวีถึง ๓ คน จากอยุธยามาจนถึงรัชกาลที่ ๓ 

ส่วนนิราศ  เป็นขนบการแต่งบทกวีบันทึกการเดินทางไกล    จะเป็นเพราะกวีแต่งแก้เหงาฆ่าเวลา หรืออยากจะบันทึกชื่อสถานที่เอาไว้กันลืม อะไรก็ตาม  ส่วนใหญ่นิยมแต่งด้วยคำประพันธ์แบบกลอน หรือโคลง เสียมากกว่าจะบรรจงแต่งเป็นฉันท์ยากๆ
ก็เห็นนิราศนครศรีธรรมราชเรื่องนี้  ที่แต่งเป็นฉันท์ และไม่ใช่ฉันท์แบบเดียว  มีหลากหลาย ล้วนเป็นฉันท์ยาก เช่นวสันตดิลก  ๑๔   แทรกด้วยสัททุลวิกีฬิตฉันท์ ๑๙  ซึ่งยากที่สุด     นอกจากนี้ก็มีอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑  และฉันท์ที่ไม่ค่อยเคยเห็นกันนัก คือโตฎกฉันท์ ๑๒  มีกาพย์ฉบังปนอยู่บ้าง

บทแรกของนิราศ  เป็นโคลงกระทู้
และต่อด้วย วสันตดิลก ๑๔


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 222  เมื่อ 30 มี.ค. 11, 15:37

ขอความกรุณา  ถอดวันเดือนปีในฉันท์บทนี้ให้หน่อยนะคะ  ว่าเสด็จออกจากพระนครในวันเดือนปีอะไร

 อาสาธมาสะพุธวาร                นวกาฬปักษ์ไพ
บูลย์ศักราชยุติใน                   อติกาลกำหนดมี
ในสังวัจฉรสหสา                    พิสตาและพาวี
วานรโทศกบดี                      ศรราชเสด็จไคล ฯ
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 223  เมื่อ 30 มี.ค. 11, 18:15

ขอความกรุณา  ถอดวันเดือนปีในฉันท์บทนี้ให้หน่อยนะคะ  ว่าเสด็จออกจากพระนครในวันเดือนปีอะไร

 อาสาธมาสะพุธวาร                นวกาฬปักษ์ไพ
บูลย์ศักราชยุติใน                   อติกาลกำหนดมี
ในสังวัจฉรสหสา                    พิสตาและพาวี
วานรโทศกบดี                      ศรราชเสด็จไคล ฯ


อาสาธมาส      - เดือนแปด
พุธวาร           - วันพุธ
นว               - เก้า
กาฬปักษ์        - ข้างแรม
สังวัจฉระ        - ปี
สหัสสะ          - หนึ่งพัน
พิสตา           - สองร้อย
พาวี (พาวีส)    - ยี่สิบสอง
วานร            - ลิง

รวมความได้ว่า

"วันพุธ เดือนแปด แรม ๙ ค่ำ ปีวอกโทศก จุลศักราช ๑๒๒๒"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 224  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 13:10

^
ขอบคุณค่ะคุณ Art

นิราศของกรมพระราชวังบวรฯ  ทรงดำเนินรอยตามขนบการแต่งนิราศเป็นส่วนใหญ่ คือเริ่มด้วยการคารวะผู้เป็นใหญ่  จากนั้นก็เริ่มที่จุดเริ่มต้นการเดินทาง   บอกสถานที่วันเวลา  จากนั้นเมื่อเริ่มเดินทางก็เริ่มรำพึงรำพันถึงนางควบคู่กันไป   
ระหว่างเดินทาง ก็บันทึกชื่อสถานที่ที่ไปถึง  โยงเข้ากับอารมณ์เศร้าสร้อยละห้อยหานางผู้ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง 

มีข้อสังเกตนิดเดียวว่า    ไม่มีบทไหว้พระรัตนตรัย  ไม่มีบทไหว้ครู    แต่มีบทคารวะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ และสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ  แทน

ส่วนบทรำพึงรำพันถึงนาง  ทรงกล่าวไว้ยาวและละเอียดลออ   ฝีพระโอษฐ์หวานจับใจทีเดียว 

ความชำนาญบทกวีอีกอย่างหนึ่งเห็นได้จากทรงเลือกแบบคำประพันธ์ให้เข้ากับเนื้อหาได้ลงตัว      นิราศที่แต่งเป็นฉันท์ ยากเย็นกว่าแต่งเป็นโคลงกลอน เพราะชื่อสถานที่ต่างๆในสยามเกือบ ๑๐๐%  เป็นภาษาถิ่น  หรือภาษาอื่นที่ไม่ใช่บาลีสันสกฤต   เดินทางไปถึงไหนก็มีชื่อสถานที่นั้นเป็นเงื่อนตาย  ไม่สามารถจะแปลงเป็นบาลีสันสกฤตได้   ทำให้ลงคำครุลหุตามจังหวะฉันท์ได้ยากมาก
ดังนั้น กรมพระราชวังบวรฯ ท่านก็ทรงเลือกกาพย์ฉบัง ๑๖ มาใช้ตอนเอ่ยถึงสถานที่   เพราะฉบัง ๑๖ อนุโลมให้ใช้ในการแต่งฉันท์ได้    ส่วนดีคือไม่มีครุลหุ   ยืดหยุ่นให้ใช้คำบรรยายได้ง่ายกว่าบรรยายด้วยฉันท์

อย่างที่นำมาลงตอนล่างของหน้านี้


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 20
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.138 วินาที กับ 20 คำสั่ง