เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 20
  พิมพ์  
อ่าน: 130230 เจ้าชายยอร์ช วอชิงตัน แห่งสยาม กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ วังหน้าพระองค์สุดท้าย
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 195  เมื่อ 19 มี.ค. 11, 02:15

คุณ samun 007 มีรูปอื่นๆจากงานเดียวกันไหมคะ อยากเห็น
ถ้ามี กรุณาไปโพสในกระทู้ รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก  จะขอบคุณมาก
**************************

มีบางรูปครับ แต่ถ้ารอได้ ผมจะพยายามไปถ่ายรูปกระบวนต่าง ๆ มาให้ชมนะครับ ไม่กล้ารับปากว่านานแค่ไหนนะครับ เพราะเนื่องจากติดภารกิจงานที่ทำในปัจจุบันครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 196  เมื่อ 19 มี.ค. 11, 21:25

" เกาวนา" อังกฤษที่เข้ามาประนีประนอม คือ Sir Andrew Clarke  หน้าตาเป็นอย่างนี้



ส่วนหนึ่งในประวัติของเซอร์แอนดรู  กล่าวไว้ว่า

He maintained great friendship throughout his life with King Chulalongkorn of Siam whom he met when he was sent to Siam to settle a political dispute.

เขาได้ดำรงมิตรภาพอันดียิ่งยาวนานตลอดชีวิต กับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งสยาม  ผู้ที่เขาได้พบเมื่อถูกส่งตัวมาสยาม เพื่อไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางการเมือง

ท่า ทีแข็งกร้าวของนายนิวแมนที่จะเฉือนสยามแบ่งออกเป็นสองหรือสามส่วน   คงจะดำเนินการโดยพลการ    เซอร์แอนดรูถึงไม่เห็นด้วย   แต่กลับสนับสนุนให้วังหลวงและวังหน้าตกลงกันได้เอง   หลังจากนั้นเหตุก็สงบ   กรมพระราชวังบวรฯ ก็เสด็จกลับวังหน้าตามเดิม
เหมือนอย่างที่กรมหมื่นสถิตย์ฯ นิพนธ์ไว้ว่า

      นิพนธ์พจน์บอกเบื้อง        บทปฐม
บำราศที่สราญรมณ์                เร่าร้อง
ต่างประเทศมาระดม               ดับเหตุ หายแฮ
ลุสวัสดิ์กลับห้อง                  เสร็จสิ้นอวสาน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 197  เมื่อ 19 มี.ค. 11, 22:42

    ย้อนกลับไปถึงตอนต้นของกระทู้นี้    คาร์ล บ็อก เข้ามาในสยาม หลังวิกฤตวังหน้าจบไปแล้ว ๗ ปี      เขาบันทึกไว้ว่า
   
    "...พระองค์ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องการเมืองนัก    ทรงเป็นนักศึกษาเกี่ยวกับแร่ธาตุต่างๆ    และได้สะสมแร่ไว้เป็นจำนวนมาก   ทั้งยังโปรดวิชาวิศวกรรมเครื่องกล    พระองค์มีแบบจำลองของโรงงานที่ใช้เครื่องยนต์ และได้ให้ข้าพเจ้าชมเครื่องยนต์ไอน้ำ ที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นมาเองด้วย 
     วังหน้าทรงมีตำแหน่งเป็นแม่ทัพของกองทัพไทย   ซึ่งคงไม่เหมาะกับพระองค์เลย   ถ้าเกิดรบทัพจับศึกกันขึ้นมาจริงๆ"


     ก็ตีความได้ว่า เมื่อจบปัญหาลงไปแล้ว  กรมพระราชวังบวรฯ ก็วางพระองค์ห่างจากงานบ้านงานเมือง     แม้ว่ายังทรงสมาคมกับฝรั่งอยู่อย่างเดิม ก็เป็นไปเพื่อมิตรภาพล้วนๆ      พระบุคลิกภาพและกิจกรรมต่างๆที่ทรงกระทำ ก็ออกมาในลักษณะของนักวิชาการ    นอกจากนี้ยังทรงสุภาพละมุนละม่อม   นายบ็อกถึงได้พูดเต็มปากว่า ทรงไม่เหมาะกับการรบทัพจับศึก
     ส่วนสัมพันธไมตรีระหว่างวังหลวงกับวังหน้าเป็นอย่างไร  หลังพ.ศ. ๒๔๑๗ จนมาถึงพ.ศ. ๒๔๒๔  ที่บ็อกเดินทางมาถึง     ก็ได้คำตอบว่าเป็นไมตรีจิตที่ราบรื่น   เจ้ากรมข่าวลือทั้งหลายก็สลายตัวไปหมด     เห็นตัวอย่างได้จากเรื่องพงศาวดารกระซิบที่นายบ็อกเล่าต่อให้คนอ่านฟัง

     " วันหนึ่งพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำรัสถามวัง หน้าว่ามีชายาทั้งหมดเท่าไร    เพราะพระองค์มีพระราชประสงค์จะพระราชทานแหวนให้คนละวง   วังหน้าไม่สามารถจะนึกจำนวนที่ถูกต้องได้ทันที   จึงทูลตอบว่ามีอยู่ราว ๕๐ คน  ซึ่งก็นับว่าเป็นการคาดคะเนที่ใกล้เคียงต่อความจริงอยู่  แต่เมื่อได้รับพระราชทานแหวน ๕๐ วง ในระยะสองสามวันต่อมาเป็นการแสดงความโปรดปราน   และวังหน้าได้นำแหวนเหล่านี้ไปวัดนิ้วประทานแก่บรรดาสนมทั้งหลายแล้ว  จึงได้ทราบว่าแหวนขาดไป ๔ วง    เลยต้องกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าพระองค์ทรงกะ พลาดไปเล็กน้อย    เพราะมีชายาทั้งหมด ๕๔ องค์ด้วยกัน    ชายาอีก ๔ องค์ย่อมจะริษยาบรรดาชายาอีก ๕๐ องค์เป็นแน่   ถ้าพวกตนมิได้รับพระราชทานแหวนด้วย"

    เรื่องนี้จะตรงกับความจริง ๑๐๐%  หรือสัก ๗๐-๘๐   ไม่อาจทราบได้  แต่ที่แน่ใจคือแสดงให้เห็นถึงการติดต่อสัมพันธ์กันฉันญาติสนิท   พระเจ้าอยู่หัวทรงมีของพระราชทานเล็กๆน้อยๆให้วังหน้า แสดงน้ำพระทัย     และทางฝ่ายวังหน้าก็สามารถจะกราบบังคมทูลขอเพิ่มได้  อย่างเป็นกันเอง   ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน
     หลักฐานอีกอย่างในกระทู้นี้คือเครื่องเคลือบฝีพระหัตถ์กรมพระราชวังบวรฯ ที่นำขึ้นถวายพระเจ้าอยู่หัว   ก็แสดงถึงการติดต่อกันด้วยไมตรีจิตมิตรภาพทั้งสองพระองค์    ไม่มีเรื่องบาดหมางกันอีก   ตราบจนกระทั่งกรมพระราชวังบวรฯ เสด็จทิวงคตในพ.ศ. ๒๔๒๘
 
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 198  เมื่อ 19 มี.ค. 11, 23:22

แนบภาพครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 199  เมื่อ 22 มี.ค. 11, 13:44

ในเมื่อเรื่องวิกฤตวังหน้า มีอีกกระทู้หนึ่งแล้ว  กระทู้นี้คงจบเรื่องวิกฤตวังหน้าไว้แค่นี้  เว้นแต่คุณ siamese อยากจะเข้ามาคุยอีก ก็ทำได้ตามสบาย

มีเกร็ดเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับกรมพระราชวังบวรฯ อีกบางเรื่อง ที่จะขอบันทึกไว้ในกระทู้นี้
- พระอัธยาศัยส่วนพระองค์ สุภาพ เป็นผู้ถ่อมพระองค์    เมื่อสมาคมกับเจ้านายวังหลวง ก็พอพระราชหฤทัยจะสมาคมคบหาพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าที่เป็นพระโอรสผู้ใหญ่ในเจ้านายต่างกรม    วางพระอัธยาศัยเป็นกันเองอย่างสนิทสนม
- ทรงมีความรู้เรื่องเล่นมายากลแบบฝรั่ง    เจ้าจอมม.ร.ว.ปริก ซึ่งในนิราศกรมหมื่นสถิตย์ฯ ทรงเรียกว่า "น้องหญิงปริก" เล่าถวายม.จ.พูนพิสมัย ดิศกุลว่า ทรงมีคาถาอาคม สามารถเสกนกกระจอกให้บินปร๋อจากพระหัตถ์ได้   
ตอนทรงพระเยาว์ท่านหญิงพูนฯก็ได้แต่ฟังสนุกสนาน    ไม่เข้าพระทัยว่าคืออะไร  จนเจริญพระชนม์ขึ้นเห็นฝรั่งมาเล่นมายากลให้ดู  จึงเพิ่งทรงทราบว่าอะไรเป็นอะไร
- ทรงบูรณะวัดไว้หลายแห่ง เช่นวัดส้มเกลี้ยง(วัดราชผาติการาม  เชิงสะพานซังฮี้)  วัดดาวดึงส์  วัดชนะสงคราม และวัดหงส์รัตนาราม
- ทรงชำนาญด้านกวีนิพนธ์ ไม่น้อยกว่างานช่าง    มีพระบวรราชนิพนธ์ ๓ เรื่อง และบทร้อยแก้ว ๒ เรื่อง  คือ
   นิราศนครศรีธรรมราชคำฉันท์
   อิเหนาคำฉันท์
   บทละครเรื่องพระสมุท
   บทเล่นหุ่นจีน ๒ เรื่อง
   รามายณะคำฉันท์   แปลจากบทรามายณะภาษาอังกฤษของ Griffith (น่าเสียดายที่ค้นไม่พบต้นฉบับจนปัจจุบันนี้) 

 
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 200  เมื่อ 22 มี.ค. 11, 14:27

สำหรับเรื่องวิกฤตวังหน้า ผู้เข้ามาอ่านทั้งสองกระทู้คงได้รับข้อมูลไปอย่างมาก ทำให้เราได้ทราบถึงข้อมูลอันสำคัญ ความเป็นมาเป็นไปในมุมมองต่างๆ ซึ่งกรมพระราชวังบวรฯ มิได้เป็นดังคำเล่าลือแต่อย่างใด และพระองค์ทรงเป็นนักศิลปะชั้นเลิศ ผู้สร้างสรรค์ของล้ำค่าต่างๆให้กับแผ่นดินนี้มากมาย

สำหรับวังหน้า ยังมีเรื่องราวที่ต้องค้นคว้าอีกมากครับ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๗ กรมศิลปากรได้ทำการบูรณะพระอุโบสถวัดพระแก้ว วังหน้าพบพระพิมพ์ดินเผาปิดทอง ศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น คาดว่าตกอยู่ในช่วง รัชกาลที่ ๔-๕ จึงนำมาให้ชมพระพิมพ์ดินเผาฝีมือสกุลช่างวังหน้าครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 201  เมื่อ 22 มี.ค. 11, 14:59

กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เสด็จทิวงคตเมื่อวันศุกร์ เดือน ๙ แรม ๓ ค่ำ ปีระกา จุลศักราช ๑๒๔๗ (๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๘) พระชนมายุ ๔๘ พรรษา พระราชทานเพลิง ณ พระเมรุท้องสนามหลวง

และเมื่อวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๒๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศยกเลิกตำแหน่งวังหน้า

"ฝ่ายผู้ที่อยู่ต่างประเทศก็ไม่อาจเข้าใจตำแหน่งนี้นได้ชัดเจน จึงให้เกิดเป็นที่ฉงนสงสัยต่างๆ การบ้านการเมืองซึ่งจะเป็นการเรียบร้อยเป็นคุณแก่แผ่นดินอย่างใดก็เป็นที่ขัดข้องไป หาสะดวกไม่ เป็นตำแหน่งลอยอยู่มิได้เป็นคุณแก่แผ่นดินอย่างใด เป็นแต่ต้องใช้เงินแผ่นดินซึ่งจะต้องใช้รักษาตำแหน่งยศพระมหาอุปราชอยู่เปล่าๆโดยมาก...."

จึงได้ทรงรื้อฟื้นตำแหน่งรัชทายาทที่กำหนดไว้ในมณเฑียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยา พระราชโอรสองค์ใหญ่ มีฐานันดรศักดิ์เป็นสมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า คือ องค์รัชทายาท เพื่อให้สอดคล้องกับการสืบสันตติวงศ์ตามแบบนานาอารยประเทศ

ดังนั้นตั้งแต่วันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๒๘ เป็นต้นมา ตำแหน่งวังหน้าก็ได้กลายเป็นตำนานเล่าขานกันสืบมาจนถึงวันนี้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 202  เมื่อ 22 มี.ค. 11, 15:20

อยากได้รูปพระที่นั่งสาโรชรัตนประพาส ที่กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญประทับอยู่ค่ะ  ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหรือเปล่าคะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 203  เมื่อ 22 มี.ค. 11, 15:38

ตั้งใจจะเล่าต่อถึงพระบวรราชนิพนธ์    แต่ขอไปตั้งหลักก่อนค่ะ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 204  เมื่อ 22 มี.ค. 11, 15:57

เอ...ครั้งก่อนเล่าเรื่องหุ่นไทยของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญแล้ว
แต่อยากจะฟังเรื่องหุ่นจีนของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญที่ใช้เล่น
งิ้วพงศาวดารเรื่อง ซวยงัก ต่อสักหน่อย  ไม่ทราบว่า  จะขอลัดคิว
ให้เอานำเสนอก่อนได้หรือไม่ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 205  เมื่อ 22 มี.ค. 11, 16:15

ดิฉันไม่มีหนังสือเรื่องหุ่นจีน มีแต่บทเชิดหุ่นเรื่องซวยงัก  
ถ้าคุณหลวงมีหลักฐานเรื่องหุ่นจีนอยู่ในสต๊อคส่วนตัวบ้าง     พอเล่าสู่กันฟังได้ก็เชิญเล่าไปก่อนค่ะ

http://www.anurakthai.com/thaidances/thaipuppets/hoonlek/hoon_chin.asp
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 206  เมื่อ 22 มี.ค. 11, 16:57

ดิฉันไม่มีหนังสือเรื่องหุ่นจีน มีแต่บทเชิดหุ่นเรื่องซวยงัก  
ถ้าคุณหลวงมีหลักฐานเรื่องหุ่นจีนอยู่ในสต๊อคส่วนตัวบ้าง     พอเล่าสู่กันฟังได้ก็เชิญเล่าไปก่อนค่ะ

http://www.anurakthai.com/thaidances/thaipuppets/hoonlek/hoon_chin.asp

แหะ  ๆ  ไม่มีขอรับกระผม  อยากมาขออ่านในกระทู้นี้  
เห็นมีศิลปินผู้เชี่ยวชาญอยู่คนหนึ่ง  
ไม่รู้ว่าตอนนี้ท่านว่างจากการตอบกระทู้รามเกียรติ์หรือยัง
หรือว่าท่านกำลังแวะกระทู้ทำสำรับคาวหวานอยู่ก็ไม่รู้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 207  เมื่อ 22 มี.ค. 11, 17:03

ไม่รู้ว่าท่านไหน
แต่ถ้าเป็นท่านที่มาแวะกระทู้นี้บ่อยๆ  คิดว่าท่านนั้นกำลังหุงข้าวบุหรี่อินเดียอยู่ค่ะ   เสร็จ จัดใส่จานเมื่อไรคงกลับมาที่นี่

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 208  เมื่อ 23 มี.ค. 11, 11:24

ดิฉันไม่มีหนังสือเรื่องหุ่นจีน มีแต่บทเชิดหุ่นเรื่องซวยงัก  
ถ้าคุณหลวงมีหลักฐานเรื่องหุ่นจีนอยู่ในสต๊อคส่วนตัวบ้าง     พอเล่าสู่กันฟังได้ก็เชิญเล่าไปก่อนค่ะ

http://www.anurakthai.com/thaidances/thaipuppets/hoonlek/hoon_chin.asp

แหะ  ๆ  ไม่มีขอรับกระผม  อยากมาขออ่านในกระทู้นี้  
เห็นมีศิลปินผู้เชี่ยวชาญอยู่คนหนึ่ง  
ไม่รู้ว่าตอนนี้ท่านว่างจากการตอบกระทู้รามเกียรติ์หรือยัง
หรือว่าท่านกำลังแวะกระทู้ทำสำรับคาวหวานอยู่ก็ไม่รู้

ไม่รู้ว่าท่านไหน
แต่ถ้าเป็นท่านที่มาแวะกระทู้นี้บ่อยๆ  คิดว่าท่านนั้นกำลังหุงข้าวบุหรี่อินเดียอยู่ค่ะ   เสร็จ จัดใส่จานเมื่อไรคงกลับมาที่นี่


ยังหาหญ้าฝรั่น มาผสมในข้าวบุหรี่ อยู่  ยิงฟันยิ้ม

เรื่องหุ่นจีน กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
ในเบื้องต้นนี้กล่าวกันว่า กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ได้โปรดให้สร้างหุ่นแบบจีน ขึ้นทำการแสดงก่อน แล้วจึงต่อยอดสร้างไปหุ่นแบบไทยขึ้น และใช้สำหรับเล่นในวังหน้า และจัดไปตามพระประสงค์ เช่น วันสมภพสมเด็จเจ้าพระยาบรมหมาศรีสุริยวงศ์ ครบรอบ ๗๑ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๑ ก็จัดให้หุ่นวังหน้าไปทำการแสดง
หุ่นจีนในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ นั้นสร้างขึ้นตามแบบฉบับของจีนโดยแท้ โดยอาศัยการประดิษฐ์ให้เหมือนหุ่นกระบอกของฮกเกี้ยน (อ.จักรพันธุ์ โปษยกฤต กล่าวไว้) ซึ่งเป็นการเชิดหุ่นแบบใช้มือสอดเข้าไปในเสื้อ และใช้นิ้วบังคับคอ มือ ซึ่งการสร้างหุ่นจีนนี้ อ.จักรพันธุ์ได้ให้ข้อสังเกตุว่า อาจจะเป็นการร่วมมือกันทั้งช่างจีนและช่างไทยช่วยกันสร้างหุ่นชุดนี้ขึ้นมา เนื่องจาก เครื่องแต่งกายตลอดจนหน้าตา ถูกต้องตามตำแหน่งวรรณะ และมีเครื่องแต่งกายถูกต้องตามแบบแผนตัวละครในนาฏกรรมจีน

เครื่องแต่งกายของหุ่นจีน จะปักด้วยผ้าไหมทอง ตรึงลวดลายอันวิจิตร เช่น ลายมังกร ลายคลื่น และแซมด้วยไหมสีต่างๆ มีเลื่อมขนาดเล็กปักแซมบ้างประปราย ไม่มีการใช้ดิ้นโปร่งเงิน หรือ ทองแบบที่ใช้ปักเสื้อโขนละครไทยเลย

เครื่องประดับศีรษะ ทำลวดลายด้วยรักตีลาย ปิดทองและประดับกระจกเกรียบ แต่ลวดลายเป็นอย่างกระบวนจีน นอกจากจะมีมือแล้วหุ่นชนิดนี้ยังมีขาโผล่ออกมาจากชายเสื้อด้านล่าง ในบางบทบาทผู้เชิดสามารถใช้นิ้วสอดเข้าไปบังคับขาให้เคลื่อนไหวได้
มือของหุ่นจีนกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ทำด้วยไม้แกะ มี ๔ นิ้วกระดิกได้พร้อมกัน นอกจากนิ้วโป้งที่กางไว้อยู่เฉยๆ ฝ่ายมือที่กำอาวุธนั้นเป็นมือถาวร กระดุกกระดิกไม่ได้

ลักษณะของตัวหุ่นสูงประมาณ ๑ ฟุตเศษ ซึ่งตามบัญชีที่พระที่นั่งทักษิณาภิมุขกล่าวว่า เป็นหุ่นผ้าแต่ละตัวสูงไม่เท่ากัน ตัวใหญ่สุดสูง ๔๔.๑ เซนติเมตร ในขณะที่ตัวเล็กสุดสูง ๒๓ เซนติเมตร ส่วนใหญ่เป็นหุ่นผู้ชาย มีหุ่นผู้หญิงเพียง ๕ ตัวเท่านั้น
การแต่งกายแต่งกายแบบงิ้ว คือ สวมเสื้อยาวถึงเท้า ซึ่งทำอย่างเดียวกับหุ่นจีนที่เคยมีมา และเครื่องแต่งกายก็ประดับไว้บ่งบอกฐานะของหุ่น คือ ฮ่องเต้ ขุนนาง นักรบ คนสามัญ ตัวตลก


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 209  เมื่อ 23 มี.ค. 11, 11:32

แม้ว่าบรรดาหุ่นไทยและหุ่นจีนจะหยุดบทบาทลงเมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เสด็จทิวงคตลงเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ แต่ยังมีพระโอสรองค์หนึ่ง ได้สืบทอดการเล่นหุ่นต่อไป คือ “มหาอำมาตย์ตรีพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทัศน์นิภาธร” ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ ๑๔ ในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญและเจ้าจอมมารดา หม่อมหลวงนวม ปาลกวงศ์ ณ อยุธยา

การเล่นหุ่นของพระองค์เจ้าสุทัศน์ฯ คงเริ่มมีบทบาทหลังปี พ.ศ. ๒๔๓๐ ได้ตั้งคณะหุ่นกระบอกขึ้นและสร้างสรรค์หุ่นกระบอกตามแบบฉบับขององค์เอง แต่จะขอกล่าวเพียงเท่านี้ เพราะเกินเลยจากเรื่องหุ่นของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญครับ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 20
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.367 วินาที กับ 20 คำสั่ง