เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 20
  พิมพ์  
อ่าน: 130229 เจ้าชายยอร์ช วอชิงตัน แห่งสยาม กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ วังหน้าพระองค์สุดท้าย
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 15 มี.ค. 11, 12:18

อ๋อ  มาจากกระทู้เก่าเรือนไทยนี่เอง    เดี๋ยวจะกลับไปอ่าน ทบทวนความจำอีกที
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 15 มี.ค. 11, 13:46

ขอบบคุณ คุณหลวงเล็กที่อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนายโหมด ผู้ซึ่งเรียนวิชาการทำช่างกล ได้อย่างยอดเยี่ยม

ที่อธิบายไว้ว่า ที่ตั้งของโรงหุงลมประทีบ นั้นตั้งอยู่ใกล้กับสิ่งสำคัญหลายอย่างในพระบรมมหาราชวัง เมื่อเกิดการไฟไหม้ขึ้นจึงเป็นที่เป็นห่วงว่า วัตถุสถานอะไรบ้างที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับโรงหุงลมประทีป มีดังนี้

"..ครั้นค่ำลงวันนั้นเวลาทุ่มเศษ เกิดเพลิงไหม้ขึ้นที่โรงแก๊สในพระบรมมหาราชวังที่โรงแก๊สซึ่งเกิดเพลิงขึ้นนั้นเป็นที่สำคัญน่ากลัวยิ่งนักคือ
- ข้างฝ่ายตะวันตกของโรงแก๊ส เป็นโรงภูษามาลา อันเป็นที่ไว้พระมหาพิไชยมงกุฎ และพระมหาชฎา และเครื่องต่างๆ ซึ่งเป็นเครื่องต้นสำหรับแผ่นดินสืบมาแต่โบราณ โรงที่ไว้เครื่องต้นนี้ห่างจากโรงแก๊ส ที่เพลิงติดขึ้นนั้น ๒ วา

- หลังโรงภูษามาลาติดกับฉนวนประตูดุสิตาศาสดา ทางซึ่งจะออกไปวัดพระศรีรัตนศาสาดาราม หลังฉนวนก็ติดกับหอปริตศาสตราคม และพระที่นั่งราชฤดี ใกล้กับพระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย และพระที่นั่งไพศาลทักษิณด้านใต้

- ด้านทิศใต้ของโรงแก๊สมีเขื่อนเพ็ชรพระราชวังชั้นใน ห่างจากโรงแก๊ส ๑๑ ศอก หลังเขื่อนเพ็ชรก็เป็นหมู่พระพุทธนิเวศ พระที่นั่งพุทธมณเฑียรใกล้ชิดกันทีเดียว

- ด้านตะวันออกของโรงแก๊ส นั้นมีโรงพิมพ์ห่างจากโรงแก๊ส ๔ วาศอก หลังโรงพิมพ์นั้นติดกับโรงคลังสำหรับไว้ดินประสิว และ โรงแสงต้นที่ไว้อาวุธต่างๆสำหรับแผ่นดิน

- สำหรับแผ่นดินข้างเหนือก็เป็นโรงน้ำมัน ห่างโรงแก๊ส ๑๔ วา ๓ ศอก


ลองกำหนดผังสถานที่ดูเบื้องต้น หากผิดพลาดอย่างไรก็ช่วยกันดู คุณหลวงเล็กน่าจะทำงานอยู่โรงพิมพ์  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
monologa
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 15 มี.ค. 11, 13:57

ผมอยากทราบมานานแล้วครับขอบคุณคับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 15 มี.ค. 11, 14:05

พื้นที่บริเวณหมู่พระที่นั่งอมริทรวินิจฉัย ต่อไปยังประตูดุสิตาภิรมย์ และฉนวนไปยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 15 มี.ค. 11, 14:23

ภายหลังจากเหตุการณ์สงบเรียบร้อย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยุ่หัว ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เพื่อให้ท่านกลับจากราชบุรี จะได้หาทางปรึกษาปรับความเข้าใจระหว่างวังหน้าและวังหลวงและทรงมีพระราชดำริที่จะลดอำนาจของกรมพระราชวังบวรฯ เพื่อไม่ให้เกิดความระแวงกันต่อไป

แต่การณ์กลับยังจัดการอะไรไม่เรียบร้อย ฝ่ายกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงพาครอบครัวและข้าราชการที่ไว้วางพระทัย เสด็จออกไปอยู่ในเขตกงสุลอังกฤษ เมือ่วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๗

อะไรทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างวังหลวง - วังหน้า เกิดความบาดหมางกันได้ถึงเพียงนี้  ฮืม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 15 มี.ค. 11, 15:10

ความสัมพันธ์ระหว่างวังหลวง - วังหน้า เกิดความบาดหมางกัน มีผลอันสืบเนื่องจากเหตุปัจจัยดังนี้

๑. การเมืองและพระราชอำนาจของวังหลวง

กล่าวคือ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเสวยราชสมบัติ ยังทรงพระเยาว์ จึงต้องมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งก็คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ อำนาจทั้งหลายจึงตกอยู่ในฝ่ายสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุรยวงศ์

"ในเวลานั้น อายุพ่อเพียง ๑๕ ปี ๑๐ วัน ไม่มีมารดา มีญาติฝ่ายมารดาก็ล้วนแต่โลเลเหลวไหล หรือไม่โลเลเหลวไหล ก็มิได้ตั้งอยู่ในตำแหน่งราชการอันใดเป็นหลักฐาน ฝ่ายญาติข้างพ่อกับเจ้านายทั้งปวง ก็ตกอยู่ในอำนาจของสมเด็จเจ้าพระยา และต้องรักษาตัว รักษาชีวิตอยู่ด้วยกันทั่วพระองค์ ที่ไม่เอื้อเฟื้อต่อการอันใดเสียก็มีโดยมาก ...... ทูลกระหม่อมเสด็จสวรรคตในขณะนั้น เปรียบเหมือนคนที่ศีรษะขาดแล้วลับเอาแต่ร่างกายขึ้นตั้งไว้ในที่สมมติกษัตรยิ์ เหลือที่จะพรรณาถึงความทุกข์อันต้องกำพร้าในอายุเพียงเท่านั้น และความหนักของมงกุฎ อันเหลือที่คอจะทานไว้ได้ ทั้งมีศัตรูซึ่งมุ่งหมายอยู่โดยเปิดเผยรอบข้างทั้งภายใน ภายนอก หมายจะเอาท้งกรุงเองและต่างประเทศทั้งโรคภัยในกายเบียดเบียนแสนสาหัส..."
พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ พระราชทานสอนสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศฯ สยามมกุฎราชกุมาร


ดังนี้การที่พระองค์จะกลับมามีพระราชอำนาจ จึงต้องเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มต้นจากการตั้งกองทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นการปูทางแห่งพระราชอำนาจภายใน และออกสู่ภายนอก คือ เริ่มรับเด็กหนุ่มเข้าสังกัดและปูทางไปสู่โรงเรียนพลเรือนเพื่อเข้ารับราชการ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 15 มี.ค. 11, 15:26

หลังจากนั้นพระองค์ก็เจริญพระชันษา และได้เวลาบรรลุนิติภาวะ ที่จะบริหารการแผ่นดินด้วยองค์เอง จึงโปรดเกล้าฯให้จัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นเป็นครั้งที่ ๒  และทรงเริ่มปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ซึ่งฐานอำนาจทางการเมืองตกอยู่กลุ่มของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุรยวงศ์ และเสนาบดีส่วนใหญ่ในตระกูลบุนนาค ซึ่งท่านสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุรยวงศ์ ได้เลือก กรมหมื่นบวรวิชัยชาญ พระโอรสพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในขณะที่พระองค์พระชนมายุ ๓๑ พรรษา ซึ่งเป็นเหตุการณ์วันเดียวกันกับการประชุมเสนาบดียกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติแห่งกรุงสยาม

อีกทั้งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุรยวงศ์ ได้บัญชาให้ข้าราชการที่สังกัดวังหน้าซึ่งได้ถุกโอนเข้าวังหลวงเมื่อครั้งสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ สวรรคต ให้กลับคืนไปสังกัดอยู่ในกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทำให้ฐานพระราชอำนาจของวังหน้ามีมากกว่าเดิม ทำให้เกิดข้อเปรียบเทียบระหว่างวังหลวง-วังหน้าอย่างชัดเจน


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 16 มี.ค. 11, 09:33

๒. ข่าวลือ ข่าวโจมตี ทำให้เกิดความบาดหมาง

ในช่วงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากที่ได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ ๒ แล้วได้เกิดภาวะทางการเมืองที่เกิดขึ้นโดยมีกลุ่มการเคลื่อนไหว ดังนี้

๑. กลุ่มสยามหนุ่ม

๒. กลุ่มสยามเก่า

๓. กลุ่มอนุรักษ์นิยม

ซึ่งทั้งสามกลุ่มมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองในระยะเวลานั้น โดยเฉพาะกลุ่มสยามหนุ่ม เป็นแกนหลักที่ประกอบด้วย ขุนนางและบรรดาพระเจ้าน้องยาเธอฯ ต้องการให้สยามนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงให้ทัดเทียม ผิดกับสยามเก่าที่ต้องการยึดระบอบความมั่นคงไว้อย่างเดิม

จนเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๑๗ ก่อนไฟไหม้วังหลวง เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ได้เขียนบทความโจมตีฝ่ายสยามเก่า ตีพิมพ์ลงในหนังสือดรุโณวาท กล่าวในเชิงต่อว่าสยามเก่า ทำงานล้มเหลว และระบุว่า คณะที่ปรึกษาส่วนพระองค์จะถวายความซื่อตรงและจงรักภักดีต่อผู้ที่สืบราชสมบัติที่เป็นโอรสของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งกระเทือนไปถึงวังหน้าโดยตรง อีกทั้งฝ่ายกรมพระราชวังบวร ได้รับหนังสือทิ้ง (บัตรสนเท่ห์) ว่าจะมีการลอบปลงพระชนม์

การณ์ดังกล่าวฝ่ายวังหน้านั้นตระหนักถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นจากการที่ถูกตีพิมพ์ในหนังสือ มีการระดมพลฝ่ายวังหน้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันจากเรื่องราวในบัตรสนเท่ห์ มีการเรียกทหารประชุม ๖๐๐-๗๐๐ คนหน้าพระที่นั่งศิวโมกข์ ความทราบถึงวังหลวง จึงโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าน้องยาเธอภาณุรังษี, พระองค์เจ้ากฤษฎาภินิหาร, พระองค์เจ้ากาพย์ ไปสืบดูความจริงว่ามีการระดมพลจริงหรือไม่

ประกอบกับฝ่ายวังหน้า ก็ส่งคนมาอยู่หน้าประตูวิเศษไชยศรี ๒ คน มาคอยถามว่าทหารวังหลวงมีมากน้อยเพียงใด ซึ่งการกระทำในลักษณะดังกล่าวทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันซ้ำสอง ด้วยการระดมพลและสืบความเป็นไปของวังหลวง มีโทษสถานหนัก แต่กลับเป็นการไม่สมควร ที่มีเหตุการณ์สงสัยก็ควรแจ้งให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทราบ ส่วนทางวังหน้าก็กลับปกปิดหนังสือนี้และคิดสงสัยในฝ่ายวังหลวงเป็นผู้กระทำ

สถานการณ์ยิ่งตอกย้ำลงเพิ่มขึ้น เนื่องจากฝ่ายวังหลวงเอง ก็ได้ระดมพลตามอย่างวังหน้า ทำให้ความตึงเครียดยิ่งลึกลงไป แต่มาเกิดเหตุไฟไหม้โรงหุงลมประทีปในพระบรมมหาราชวัง ฝ่ายวังหน้าจึงนำกำลังเข้าไปช่วย จึงได้เกิดการเข้าใจผิดกันนั่นเอง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 16 มี.ค. 11, 12:32

คำยุยง

และแล้ววันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๗ กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ พร้อมครอบครัวและขุนนางที่ไว้ใจได้ พากันเข้าไปประทับในเขตกงสุลอังกฤษ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ กสท. ไปรษณีย์กลาง บางรัก) เนื่องจากทรงคุ้นเคยกับ เซอร์ โธมัส น๊อกซ์ แต่ในเวลานั้นมิสเตอร์ น๊อกซ์ กลับบ้านที่อังกฤษ ดังนั้นจึงให้มิสเตอร์นิวแมน เป็นผู้รักษาการแทน

การณ์ครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงโกรธมากและมีพระราชหัรถเลขาถึงพระยานรินทรราชเสนี ดังความว่า "...ทำการครั้งนี้....เหมือนหนึ่งเอากระดูกบิดามารดาปู่ย่ายายไปขาย..." และทรงติว่าเป็นเพราะมีผู้ยุยง คือ นายน๊อกซ์ เพราะกงสุลอังกฤษผู้นี้หวังจะถวายบุตรสาวให้วังหน้า หากวังหลวงมีอันเสด็จสวรรคตไป กรมพระราชวังบวรก็คงได้ครองราชสมบัติ บุตรสาวของนายน๊อกซ์ก็ได้เป็นราชเทวี
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 16 มี.ค. 11, 13:38

คำยุยง

และแล้ววันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๗ กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ พร้อมครอบครัวและขุนนางที่ไว้ใจได้ พากันเข้าไปประทับในเขตกงสุลอังกฤษ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ กสท. ไปรษณีย์กลาง บางรัก) เนื่องจากทรงคุ้นเคยกับ เซอร์ โธมัส น๊อกซ์ แต่ในเวลานั้นมิสเตอร์ น๊อกซ์ กลับบ้านที่อังกฤษ ดังนั้นจึงให้มิสเตอร์นิวแมน เป็นผู้รักษาการแทน

การณ์ครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงโกรธมากและมีพระราชหัรถเลขาถึงพระยานรินทรราชเสนี ดังความว่า "...ทำการครั้งนี้....เหมือนหนึ่งเอากระดูกบิดามารดาปู่ย่ายายไปขาย..." และทรงติว่าเป็นเพราะมีผู้ยุยง คือ นายน๊อกซ์ เพราะกงสุลอังกฤษผู้นี้หวังจะถวายบุตรสาวให้วังหน้า หากวังหลวงมีอันเสด็จสวรรคตไป กรมพระราชวังบวรก็คงได้ครองราชสมบัติ บุตรสาวของนายน๊อกซ์ก็ได้เป็นราชเทวี

พอระบุได้ไหมว่า ข้าราชการครอบครัวและข้าราชการที่ไว้ใจได้ที่ตามเสด็จไปคราวนั้น
มีใครบ้าง   อยากรู้จริงๆ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 16 มี.ค. 11, 14:00

พอระบุได้ไหมว่า ข้าราชการครอบครัวและข้าราชการที่ไว้ใจได้ที่ตามเสด็จไปคราวนั้น
มีใครบ้าง   อยากรู้จริงๆ ยิงฟันยิ้ม

วันก่อนไม่ช่วยวังหลวงดับไฟ แล้วยังมาสืบเสาะฝ่ายวังหน้าอีกหรือ  ฮืม

ผู้ตามเสด็จในคราวนั้น มี
๑.เจ้าคุณเอม จอมมารดา
๒. พระองค์เจ้าเนาวรัตน์
๓. พระองค์เจ้าวรจันทร์
๔. พระยาวิสูทโกษา
๕. พระยาสุรินทรราชเสนี
๖. พระยาจำนงสรไกร
๗. พระยาภักดีภูธร
๘. พระยาโยธาเขื่อนพันธ์
๙. พระยาอัศดาเรืองเดช

โดยเสด็จออกจากวังหน้าราว ๘ ทุ่มเศษ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 มี.ค. 11, 16:05 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 16 มี.ค. 11, 14:54

วันก่อนไม่ช่วยวังหลวงดับไฟ แล้วยังมาสืบเสาะฝ่ายวังหน้าอีกหรือ  ฮืม

ผู้ตามเสด็จในคราวนั้น มี
๑.เจ้าคุณเอม จอมมารดา
๒. พระองค์เจ้าเนาวรัตน์
๓. พระองค์เจ้าวรจันทร์
๔. พระยาวิสูทโกษา
๕. พระยาสุรินทรราชเสนี
๖. พระยาจำนงสรไกร
๗. พระยาภักดีภูธร
๘. พระยาโยธาเขื่อนพันธ์
๙. พระยาอัศดาเรืองเดช

โดยเสด็จออกจากวังหน้าราว ๘ ทุ่มเศษ

นี่แหละ  หน่วยก่อกวนความสงบตัวจริง   เจ๋ง ยิงฟันยิ้ม แลบลิ้น
ขอทราบชื่อเอกสารที่ใช้อ้างข้อมูลด้วยได้ไหม
เผื่อมีผู้อ่านกระทู้คนใดสนใจอยากจะไปหาอ่านต่อ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 มี.ค. 11, 16:05 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 16 มี.ค. 11, 15:32

ขอทราบชื่อเอกสารที่ใช้อ้างข้อมูลด้วยได้ไหม
เผื่อมีผู้อ่านกระทู้คนใดสนใจอยากจะไปหาอ่านต่อ


เอกสารค้นคว้าเรื่องวิกฤตวังหน้า เหตุการณ์ทางการเมืองระหว่าง ๒๔๑๑ - ๒๔๒๘, ห้องสมุดมหาวิทยาลัยนเรศวร
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 16 มี.ค. 11, 15:48

การแก้ไขวิกฤตวังหน้า

เหตุการณ์ดังกล่าว ผู้คนเริ่มมีปฏิกิริยาเพิ่มมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากเรือสินค้าที่เข้ามายังสยาม มีจำนวนน้อยลง เนื่องจากมีความกังวลในเหตุการณ์ดังกล่าวว่าจะเกิดเหตุบานปลายเนื่องจากเกี่ยวเนื่องกับกงสุลอังกฤษ ซึ่งทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงมิโปรดให้ต่างชาติเข้ามายุ่ง จึงโปรดเกล้าฯให้ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาสุริยวงศ์เป็นผู้เจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เนื่องจากเห็นว่าสมเด็จเจ้าพระยาฯ นั้นเข้าข้างทางวังหน้า ความเห็นของสมเด็จเจ้าพระยา คือ

- ทูลขอให้กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ทรงออกจากตำแหน่ง กลับไปอยู่เสียที่พระราชวังเดิม และขอให้ได้รับเงินแผ่นดินตามสมควร

แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มิได้ทรงคิดที่จะให้สมเด็จเจ้าพระยากระทำการถึงเพียงนั้น เพียงว่าให้กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ มียศตามสมควร คือ ให้ลดจำนวนทหารลง และถ้ามีเหตุจำเป็นที่จะต้องเรียกคนก็ควรจะแจ้งให้พระองค์ทราบ


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 16 มี.ค. 11, 15:57


เอกสารค้นคว้าเรื่องวิกฤตวังหน้า เหตุการณ์ทางการเมืองระหว่าง ๒๔๑๑ - ๒๔๒๘, ห้องสมุดมหาวิทยาลัยนเรศวร

อ้อ  งั้นฤา  ขอบคุณ  จะได้ตามไปหามาอ่าน

ผมมีเอกสารชิ้นหนึ่งแต่งเป็นกลอนเล่าไว้ว่า

"ขุนนางลงไปเฝ้าแต่เช้าค่ำ              นอนประจำอยู่พิทักษ์ก็อักโข
ทรงปรึกษาข้อความตามเดโช          ที่มีมโนสัตย์ถวายหลายพระยา
ที่หนึ่งเนื้อเชื้อตระกูลไพบูลย์สมบัติ    ที่โทถัดนามวิสูตร์โกษา
ที่สามสุรินทร์ราชสมญา                  จัตวาจำนงสรไตรย
ที่ห้าอัศดาเรืองเดช                        พระยาประเสริฐหมอวิเศษที่หกใส่
ที่เจ็ดนี้ภักดีภูธรไซร้                       ที่แปดไว้ชื่อพระยาโยธาควร
เป็นผู้ทูลกิจจาสารพัด                     ขัตติยวงศ์ทรงดำรัสสำรวลสรวล
พอเคลื่อนคลายวายจิตต์คิดรัญจวน    ประมาณประมวลตั้งแต่มาห้าสิบวัน..."

น่าสนใจไหม  ถ้าสนใจจะคัดเอามาให้อ่านอีก ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 20
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.655 วินาที กับ 20 คำสั่ง