เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 20
  พิมพ์  
อ่าน: 130236 เจ้าชายยอร์ช วอชิงตัน แห่งสยาม กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ วังหน้าพระองค์สุดท้าย
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 11 มี.ค. 11, 09:14

พนักงานกั้นกรรชิง       และพระฤๅษี

       
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 11 มี.ค. 11, 09:18

รูปแรก พราหมณ์ถือบัณเฑาะว์  และหุ่นสวมลอมพอก   รูปที่สองคือพรานธนู

สงสัยขึ้นมาว่าหุ่นตัวประกอบพวกนี้ อยู่ในรามเกียรติ์ตอนไหน    หรือว่าจะเป็นเรื่องอื่น?


       


รูปประกอบจาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=95944
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 11 มี.ค. 11, 12:31

    ก่อนจะเดินเรื่องต่อ ถึงพระนิพนธ์ในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ที่คนรู้จักกันน้อย ทั้งๆก็ทรงเป็นกวีมีฝีมือพระองค์หนึ่ง     ขอพูดถึงการซ่อมแซมหุ่นวังหน้าอีกเล็กน้อยว่า เป็นโชคดีของคนไทย ที่มีผู้มีใจรักศิลปะไทยอย่างอาจารย์จักรพันธุ์และทีมงาน อดทนสละเรี่ยวแรง เวลา ด้วยความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าสายตา กล้ามเนื้อและเส้นเอ็น  ตลอดจนความอดทนในการค้นหา จัดหุ่นให้เข้าชุด หาเสื้อผ้าเครื่องประกอบ   และอุปสรรคอื่นๆที่ท่านไม่ได้เล่าให้ฟัง    ต้องใช้ความอุตสาหะยาวนานเท่าใดคงไม่ต้องบอกกัน  กว่าจะเนรมิตหุ่นให้มีชีวิตกลับขึ้นมาอีกในครั้งนี้     นับเป็นคุณูปการอันควรสรรเสริญ และยากจะหาใครเทียบได้
     ดิฉันก็ไม่ทราบว่าอาจารย์และทีมงานได้ค่าซ่อมหุ่นมา ๒ แสนบาทด้วยความช่วยเหลือของภาคเอกชนนั้น ท่านได้งบประมาณจากที่อื่นมาช่วยอีกหรือไม่    ถ้าแค่นี้ก็นับว่าน้อยเหลือจะน้อย         หรือต่อให้ได้อีกสัก ๒๐ ล้าน ก็ยังถือว่าน้อยอยู่นั่นเอง  เมื่อเทียบกับบางโครงการของรัฐ  เช่นโครงการนำร่องชั่งไข่ขายเป็นกิโล ที่ว่าหมดงบประมาณไป ๖๙ ล้าน   แล้วยกเลิกไปเพราะไม่ได้ผล

     ขอยกข้อเขียนของอาจารย์จักรพันธุ์ มาลงไว้ ณ ที่นี้ ด้วยความคารวะ

     " สำหรับศิลปะอันประณีตแล้ว  มีอยู่ในชีวิตและสายเลือดคนไทยในอดีต อย่างมั่งคั่ง  เหนือกว่าใครๆ ชาติใดๆ
     หุ่นของไทยเรา ๒ ชนิด  มีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือหุ่นหลวง กับหุ่นเล็กของกรมพระราชวังบวรฯ    ไม่ปรากฏว่าเหมือนหุ่นของชาติไหนในโลก   ไม่ว่าจะเป็นการได้รับอิทธิพล หรือที่มาโยงใยจากชาติใดๆทั้งสิ้น   มีเอกลักษณ์จำเพาะ   และความวิจิตรงดงามเป็นทิพย์ดั่งเทพรจนาทำ
      เป็นข้อน่าอัศจรรย์ว่าในโบราณกาลที่ท่านสร้างนั้น  วัตถุดิบที่ท่านมีเพียง ๓ สิ่ง คือปัญญา ๑  ฝีมือ ๑ เวลา ๑   ความสะดวกอย่างอื่นแทบจะหาไม่ได้   เช่นการหล่อไฟเบอร์  หล่อเรซิ่น-เครื่องกลึง-เครื่องเจาะ-เครื่องเจียรไฟฟ้า    และวัสดุเครื่องทุ่นแรงต่างๆ ทุกชิ้น   ต้องทำทีละ ๑ ด้วยมือ    ทำด้วยความรักความศรัทธาอย่างบริสุทธิ์ใจต่อศิลปะ
     ความจริงหุ่นรามเกียรติ์ของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญชุดนี้   เป็นสิ่งมหัศจรรย์ มิใช่ของชาติไทยชาติเดียว   แต่เป็นของโลก  ซึ่งถูกซุกซ่อนนอนแอบอยู่นับ ๑๐๐ ปี   ภายใต้ความอาภัพอัปภาคย์ของอะไรสักอย่าง   ที่ไม่รู้จะเอาผิดเอาถูกกับใคร


            ข้าพเจ้าขอบูชาคารวะกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ   และเหล่าบรรดากองช่างทั้งหลาย   ที่ได้อุตสาหะพากเพียรสร้างมรดกโลกอันรวมสรรพวิชา  ควรแก่คำว่า "วิจิตรศิลป์"  คือรวมศิลปะอันวิจิตร  มีทั้ง
    จิตรกรรม ประติมากรรม  - คือการสร้างตัวหุ่นหน้าหุ่นเขียนสี
    ประณีตศิลป์    - คือการเย็บปักถักร้อยสร้างเครื่องแต่งกายและศิราภรณ์
    กลศาสตร์      - คือการคิดกลไกการเคลื่อนไหวสายชัก
    นาฏศิลป์   ดุริยางคศิลป์    -  คือการบรรเลงขับร้องในการแสดง
    วรรณศิลป์       - คือบทวรรณกรรมรามเกียรติ์ที่ใช้เล่นแสดง

    ไม่น่าเชื่อว่าตัวหุ่นเล็กๆ สูงเพียงคืบเศษ   จะเป็นที่รวมของศิลปศาสตร์แขนงต่างๆ ที่กว้างไกลลึกล้ำนับพันโยชน์  อุปมาเหมือนเมล็ดงาบรรจุขุนเขามหาสมุทรไว้ภายใน"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 11 มี.ค. 11, 12:37

ตอนนี้ ขอนั่งพัก รอความเห็นท่านอื่นๆ  ก่อนจะไปสู่เรื่องพระนิพนธ์กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ค่ะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 11 มี.ค. 11, 13:41

เห็นด้วยอย่างยิ่งและเป็นที่น่าเคารพอย่างสูงสุดให้แก่ อ.จักรพันธุ์ โปษยกฤตและทีมงานที่สร้างสรรค์ รื้อฟื้นหุ่นวังหน้าให้กลับมีชีวิตอีกครั้ง จิตวิญญาณของท่านได้หล่อหลอมในการรักศิลปะไทยมาตั้งแต่สมัยเด็กๆ เป็นศิลปินตั้งแต่วัยเยาว์ ดังเช่นหัวตุ๊กตาที่ท่านทำเล่นๆ สมัยอายุ ๗-๘ ขวบสร้างสรรค์ฝีมือได้ขนาดนี้

ไม่เพียงหุ่นวังหน้าเท่านั้น อ.จักรพันธุ์ยังกว้างขวางไปถึงหุ่นกระบอก ยายชื้น ประเสริฐกุล ต่อยอดพลิกฟื้นไม่ให้ศิลปะประเภทหุ่นหายไปจากแผ่นดินไทย อีกทั้งที่ผ่านมา อ.จักรพันธุ์ก็ได้สร้างหุ่นของตนเองไว้มากมาย เหลือที่จะพรรณา


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 11 มี.ค. 11, 13:50



อ.จักรพันธุ์ คงจะมีกุศลกรรมผูกพันเกี่ยวข้องกับหุ่น มาหลายชาติหลายภพแล้ว      ดิฉันเคยได้ยินหลายคนออกปากว่า หน้าตาอาจารย์ตอนหนุ่มๆ (หรือตอนอายุมากขึ้นก็เถอะ) งามเหมือนหน้าหุ่น    เห็นด้วยไหมคะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 11 มี.ค. 11, 14:21

หากความเชื่อเรื่อง ภพชาติ มีอยู่จริงจะผูกไว้ที่ "จิต" ดวงเดียว กุศลใดเคยทำ กุศลนั้นจะส่งผลต่อไป เคยทำมาอย่างไร ก็สนใจและทำต่อไป เมื่อจิตผูกพัน ตรึ่งเกี่ยวกันอยู่

เรื่องที่อ.เทาชมพูได้ยินมา ผมก็ได้ยินมาบ้าง ยิ่งมองยิ่งคล้าย ถ้าผูกพันกับหุ่นวังหน้าชาตินี้ ในส่วนอดีตก็คงเกี่ยวเนื่องไม่มากก็น้อย ผมเชื่อเช่นนั้น


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 11 มี.ค. 11, 14:33

ราวกับว่าชาติที่แล้วท่านอาจารย์จักรพันธุ์ได้มีส่วนในการสร้างหุ่นวังหน้าไว้ ชาตินี้จึงได้กลับมาซ่อมแซมให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง
จะเห็นได้ว่าเรื่องลงตัวทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น วัสดุอุปกรณ์ที่ท่านได้สะสมไว้ตั้งแต่ยังไม่เห็นประโยชน์ เพราะเล็กเกินไปสำหรับหุ่นหลวงที่ซ่อมก่อนหน้านี้ รวมถึงจังหวะเวลา กำลังคนที่มีความสามารถเหมาะสม ฯลฯ และท่านอาจารย์จักรพันธุ์ท่านก็เชื่ออย่างนั้นจริงๆ ค่ะ

จาก http://www.jobtopgun.com/content/profile/chakrabhand/cover.html ค่ะ

หุ่นทุกตัว อาจารย์จัดซ่อมอย่างประณีต ด้วยหัวใจที่รู้สึกว่า “เรานึกอยู่ตลอดเวลาว่า นี่คืองานที่เราทำไปแล้ว เรากลับมาซ่อมไง ตอนนั้นทางกรมศิลปากรบอกมีคนอยากจะซ่อมหุ่นมากมาย และขอยื่นมือเข้ามา แต่กรมศิลปากรไม่เลือก เราไม่ได้ไปเรียกร้องอะไร ก็อยู่ในรูนี้” อาจารย์ชอบเรียกบ้านตัวเองว่า “รู” “เขาก็โทรถามว่าจะมาซ่อมได้หรือยัง คือหลังจากซ่อมหุ่นหลวงแล้วเขาก็พอใจ อยากจะให้เราซ่อมหุ่นวังหน้า โทรมาบางช่วง ผมไม่มีเด็กไง พอช่วงนั้นเด็กเยอะเต็มบ้าน ช่างฝีมือดีๆทั้งนั้น เราก็รับซ่อม”
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 13 มี.ค. 11, 09:59

ราวกับว่าชาติที่แล้วท่านอาจารย์จักรพันธุ์ได้มีส่วนในการสร้างหุ่นวังหน้าไว้ ชาตินี้จึงได้กลับมาซ่อมแซมให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง
จะเห็นได้ว่าเรื่องลงตัวทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น วัสดุอุปกรณ์ที่ท่านได้สะสมไว้ตั้งแต่ยังไม่เห็นประโยชน์ เพราะเล็กเกินไปสำหรับหุ่นหลวงที่ซ่อมก่อนหน้านี้ รวมถึงจังหวะเวลา กำลังคนที่มีความสามารถเหมาะสม ฯลฯ และท่านอาจารย์จักรพันธุ์ท่านก็เชื่ออย่างนั้นจริงๆ ค่ะ

อ.จักรพันธุ์เล่าว่านอกจากท่านกับอ.วัลลภิศร์ สดประเสริฐแล้ว  คนอื่นๆไม่เคยมีใครทำงานด้านนี้มาก่อน   หลายคนเป็นช่างเขียน ซึ่งหมายความว่าสามารถหล่อ เหลา และแกะสลักได้ด้วย   บางคนไม่ได้เป็นช่างเขียน แต่ปัก เย็บ ชุนได้  บางคนก็มาทำเฉพาะชิ้นงานที่ถนัด
ทุกคนมีงานประจำอยู่แล้ว จึงปลีกตัวมาเฉพาะวันหยุด
บางท่านก็บริจาคอุปกรณ์มาให้   อุปกรณ์บางอย่างเช่นลูกปัดแก้วหลากสีจากซานฟรานซิสโก  ไหมสำหรับทำผมสีขาวเงินจากญี่ปุ่น ซึ่งไม่สามารถใช้ได้กับงานก่อนหน้านี้    ก็นำมาใช้กับงานนี้ได้เหมาะเจาะลงตัว
จนกระทั่งงานซ่อมหุ่นวังหน้า สำเร็จบริบูรณ์
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 13 มี.ค. 11, 13:18

มีของงามชิ้นน้อยในหุ่นวังหน้า มาให้คุณ siamese ดูอีกชิ้น   เป็นอุปกรณ์ประกอบการเล่นหุ่น   

อ.จักรพันธุ์บรรยายว่า คือธงสามเหลี่ยมทำด้วยกระดาษปิดทองเขียนสี   

ส่วนตัวคิดว่า น่าจะเรียกว่า ธงสามชาย มากกว่านะครับ เพราะในตำราพิไชยสงครามเรียกอย่างนั้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 14 มี.ค. 11, 10:27

ใช่ค่ะ    ธงสามเหลี่ยมมุมฉาก ปลายธงมี ๓ แฉก เรียกว่าธงสามชาย ถือเป็นธงมงคล ใช้นำริ้วกระบวน นำรูปเก่ามาลงให้ดูประกอบ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 14 มี.ค. 11, 10:59

ใช่ค่ะ    ธงสามเหลี่ยมมุมฉาก ปลายธงมี ๓ แฉก เรียกว่าธงสามชาย ถือเป็นธงมงคล ใช้นำริ้วกระบวน นำรูปเก่ามาลงให้ดูประกอบ

เป็นภาพเก่าเนื่องในโอกาสอันใดครับ อาจารย์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 14 มี.ค. 11, 11:06

ว่าจะถามคุณ siamese อยู่นี่ละค่ะ
ไปได้มาจากในเว็บ แล้วไม่ได้จดคำบรรยายไว้
ดิฉันนำรูปไปไว้อีกกระทู้ รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก แล้วนะคะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 14 มี.ค. 11, 11:38

ถ้าองค์ประกอบเครื่องประดับราชรถ ธงที่ประดับอยู่เบื้องหน้าราชรถจะมี ๑ ธง หรือ ๓ ธง แล้วแต่ความใหญ่ของราชรถ เราเรียกว่า "ธงงอนรถ"


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 14 มี.ค. 11, 11:43

สำหรับธงสามชาย ที่ถือเป็นเครื่องสูง คือ ธงกระบี่ธุช และ ธงพระครุฑพ่าห์

ธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วย ผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธง เดียวกันซึ่งเป็นเหล็ก และทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้าย และด้านขวา ปลายคันธงเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงบริเวณที่สวม ต่อคันธงท่อนล่างติดรูปพระกระบี่ คือหนุมานในท่ายืนยกขาหน้า และขาหลังข้างขวาเตรียมเหาะ เรียกเต็มว่า ธงชัยราชกระบี่ธุช หรือ ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ ใช้เชิญนำหน้าพระราชยานในกระบวน พยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราช พิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับธงพระครุฑพ่าห์ โดยธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย และธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา

ภาพพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ร.๗ เสด็จเลียบพระนครโดยทางสถลมารค


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 20
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 20 คำสั่ง