เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 20
  พิมพ์  
อ่าน: 130353 เจ้าชายยอร์ช วอชิงตัน แห่งสยาม กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ วังหน้าพระองค์สุดท้าย
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 08 มี.ค. 11, 21:30


หนังสือ เครื่องแต่งกายละครและการพัฒนา

การแต่งกายยืนเครื่องละครในของกรมศิลปากร

พิมพ์ ๒๕๔๗  หน้า  ๑๗๙


รัดเกล้า

เป็นเครื่องประดับศีรษะ  สำหรับละครตัวนางที่ได้แบบอย่างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา  ซึ่งสามารถพบหลักฐานได้จากภาพเขียน  บทละครในสมัยนั้น

ปรากฎเครื่องศิราภรณ์อยู่ ๓ แบบ  คือ

๑.   มงกุฎสตรี  มีมาลากับปิ่น       ระหว่างมาลากับปิ่นบางทีมีสาแหรกยึด   บางทีไม่มี

๒.   รัดเกล้าก็คือ มาลา นั่นเอง

      มาลาคือพวงดอกไม้สด หรือดอกไม้ทองสวมศีรษะในที่ใส่มงคล  บางทีเรียกว่า"เกี้ยว"    ที่เรียกว่ากระบังหน้าคือมาลานั่นเอง

      แต่เขาทำเอียงไปเสีย  ดังนั้น  เพื่อให้เข้ากับวงหน้่งามขึ้น  แต่มีเพียงครึ่งท่อน  เพราะมีจอนหูบัง (จากหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ 

      พันตรี หลวงจบกระบวนยุทธ : สมภพ  จันทรประภา)



หน้า ๑๘๖

รัดเกล้าที่ใช้ในการแสดงละครในกรมศิลปากรมี ๒ แบบ คือ

๑.   รัดเกล้ายอด      ทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔   ประกอบด้วย
   
      ตัวรัดเกล้า คือ มาลา และสนองเกล้า  ประกอบเข้าด้วยกัน  ประดับด้วยดอกไม้ทอง

      จอนหู หรือ กรรเจียกจอน  แต่งกุณฑลเป็นดอกไม้เพชร  ห้อยตุ้งติ้ง  ประดับดอกไม้ไหว   รัดท้ายช้อง  ทำด้วยหนังม้วนเป็นทรงกระบอก
     
      ใช้รัดปลายหางม้า  ประดับพลอย กระจก และเพชร     ใช้กับตัวละครที่สูงศักดิ์ที่เป็นตัวนาง


๒.   (หน้า ๑๘๘)   รัดเกล้าเปลว   เพิ่มดอกไม้ไหวรอบตัวมาลา  ลงรัก ปิดทอง  ประดับเพชรพลอย กระจก


      รัดเกล้าธรรมดาทำด้วยโลหะ   สูงกว่าเกี้ยว  งามกว่าเกี้ยว  มีกระจังโดยรอบ ๓ แบบ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 08 มี.ค. 11, 21:45

นำรูปหุ่นนางที่ซ่อมแซมเสร็จแล้วมาโพส   เพื่อให้ดูเครื่องประดับศีรษะ 
รอคุณ siamese มาอธิบายว่าเป็นชนิดไหน


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 08 มี.ค. 11, 21:47


คคห ๑๐๑  รูปล่าง     ปันจุเร็จเพชร  ของ ละครเจ้าคุณพระประยูรวงศ์



หนังสือ  การศึกษา และการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับ  การแต่งกายยืนเครื่องโขน - ละครรำ

ศิลปากร ๒๕๕๐    หน้า ๑๔๑


ปันจุเร็จเพชร  เกิดในสมัย ร.​๖   สันนิษฐานว่าได้นำเอาลักษณธของ "ที่คาดผมทรงมงกุฎฝรั่ง"

ถูกกำหนดให้ใช่สำหรับ อุนากรรณ และ ปันหยี  (มีเอกสารกล่าวว่า  ไกรทองก็เคยใช้/วันดี)


ปันจุเหร็จเงิน   เกิดขึ้นในปลายสมัยรัชกาลที่ ๕   ก่อนหน้านั้นละครกรมพระนราธิปประพันพงศ์ ในสมัยรัชกาลที่ ๕
ได้นำเพชรเทียมสองชนิดคือเพชรหลา(หรือเพชรแภว)  และเพชรก้นตัด(หรือพลอยกระจก)มาทำเครื่องประดับต่าง ๆ  รวมทั้งเครื่องประดับศีรษะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 08 มี.ค. 11, 21:48

อีกตัวหนึ่ง


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 08 มี.ค. 11, 22:06


       เครื่องประดับศีรษะใน คคห ๑๐๖    น่าจะเป็น เกี้ยวยอด ค่ะ

   ประกอบด้วยหุ่นที่ขึ้นด้วยกระดาษสาอัดแข็งเป็นโครงใส่ครอบศีรษะ  เป็นตัวผมปีก  ทาสีดำ  ตัดด้วยเส้นขาวเป็นเส้นแบ่งแนวผมตามลักษณะผมปีก

ส่วนที่เป็นตัวเรือนเกี้ยวยอด  คือเกี้ยวมาลาขนาดเล็ก   มี่มีฐานเป็นลายกระจังปฏิญญา ทรง "บัวคว่ำ"   เรียงแผ่รายออกรอบตัวเกี้ยว

ขอบบนของตัวเกี้ยวเป็นลายกระจังปำิญญาทรง "บัวหงาย"   เรียงตัวตามตั้งรายรอบตัวเกี้ยวเช่นเดียวกัน   ปลีบอดมีดอกไม้ไหวประดับตามกลุ่ม

ปลายเป็นยอดแหลม   

มีสุวรรณมาลา(กรอบหน้า)ที่ไม่สูงนัก       (บางเรือนอาจมีสุวรรณมาลาประดับรอบสุวรรณมาลา)  และมีกรรเจียกจรเป็นองค์ประกอบ


เกี้ยวยอดมีใช้มาจนสมัยรัตรโกสินทร์ตอนกลาง        ปัจจุบันไม่พบว่ามีการใช้ทั้งในโขนและละครรำ


(การแต่งกายยืนเครื่องโขน - ละครรำ      ศิลปากรพิมพ์  ๒๕๕๐  หน้า ๑๕๕)
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 09 มี.ค. 11, 08:39

แล้วเครื่องสวมศีรษะ ในรูปทั้งสองนี้ เขาเรียกว่าอะไรคะ


ใช่ครับ เครื่องสวมศีรษะประเภทนี้ตามที่คุณ ดีดี ตอบคือ "ปันจุเหร็จ"

ปันจุเหร็จ ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นแต่ละครหลวงในสมัยรัชกาลที่ ๒ เดิมใช้สำหรับแต่งเป็นปันหยี กับ อุณากรรณ ในละครเรื่องอิเหนาแทนการโพกผ้าที่ศีรษะ ภายหลังจึงนำไปแต่งทั่วไป (ภาพปันจุเหร็ด ชิ้นนี้ไปชมได้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 09 มี.ค. 11, 09:10

สองภาพนี้ บรรยายภาพว่า เกี้ยว ค่ะ
ภาพบนเป็น เกี้ยวยอด ภาพล่างเป็น เกี้ยว ทีถอดส่วนยอดออกค่ะ


เรียนถามท่าน siamese ว่า รัดเกล้า กับ เกี้ยว ต่างกันอย่างไรคะ สังเกตจากตรงไหนคะ


รัดเกล้า ต่างกับ เกี้ยว ดังนี้ครับ

๑. ดูจากขนาด-รูปร่าง
รัดเกล้าจะมีขนาดใหญ่กว่าเกี้ยวมากครับ รัดเกล้าจะวางคลุมศีรษะ ไว้ผมแสกกลาง ส่วนเกี้ยวจะครอบบนจุก มวยผม และรัดเกล้าขอบฐานล่างจะเรียบไม่ปรากฎกระจังล้อมรอบ อย่างที่คุณ Wandee กล่าวอธิบายไว้

๒. จุดประสวค์การใช้
ในด้านการละคร การแต่งกายตัวนางที่ยืนเครื่องด้วยรัดเกล้า จะมียศศักดิ์สูงกว่า ตัวนางที่ยืนเครื่องด้วยเกี้ยว เช่น นางรจจนา, นางเบญกาย จะทรงรัดเกล้าเปลว



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 09 มี.ค. 11, 09:20

นำรูปหุ่นนางที่ซ่อมแซมเสร็จแล้วมาโพส   เพื่อให้ดูเครื่องประดับศีรษะ 
รอคุณ siamese มาอธิบายว่าเป็นชนิดไหน

หุ่นนางสองตัวนี้งดงามมากครับ สำหรับเครื่องประดับศีรษะประกอบด้วย กรอบหน้า กรรเจียกจร เกี้ยวยอด ครับ ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 09 มี.ค. 11, 09:23

กราบขอบพระคุณ คุณWandee และ คุณsiamese สำหรับคำอธิบายและภาพประกอบค่ะ
เข้าใจขึ้นเยอะเลยค่ะ ทีนี้หนูก็แยกได้แล้ว ระหว่าง รัดเกล้า กะ เกี้ยว
ขอบคุณค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 09 มี.ค. 11, 09:39

นางสุพรรณมัจฉา ก็ประดับกรอบหน้า เกี้ยวยอด เห็นหางปลาแล้วนึกถึงภาพหางนางสุพรรณมัจฉา ที่อ. เทาชมพูนำมาให้ชมในความงาม


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 09 มี.ค. 11, 10:37



รูปของคุณไซมีส งามตรึงตา

ช่างสะสมไว้มากมายจริงหนอ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 09 มี.ค. 11, 10:52



รูปของคุณไซมีส งามตรึงตา

ช่างสะสมไว้มากมายจริงหนอ

ไม่มากหรอครับ คุณ Wandee พอจะมีถูไถๆ ไปได้เท่านั้น  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 09 มี.ค. 11, 11:04


       เหมือนนักสะสมหนังสือเลยค่ะ

       เมื่อโดนคำถาม  ก็จะพากันตอบว่า   พอมีบ้าง   พวกเราก็จะกระโดดไปรุมกันตุบตับ

ขอให้ท่านเล่าให้ฟัง   ถือว่าเมตตาที่ให้ความรู้

ผู้ใหญ่ที่แท้จริงท่านกรุณาคนที่วิ่งตามมาทุกคนค่ะ

คุณลุงสมบัติ  พลายน้อยเมื่อเจอขบวนการจากเรือนไทย  ปลื้มมาก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 09 มี.ค. 11, 11:16

เห็นปันจุเหร็จ แล้วนึกถึงทรงมงกุฏนางสาวสยาม   ในรูปซ้ายและกลาง



และรูปนี้ รูปกลางเห็นไม่ชัดนัก แต่ซ้ายขวา สวมแบบครอบรอบศีรษะ  ลงมาถึงหน้าผากด้านบน

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 09 มี.ค. 11, 11:32

มีของงามชิ้นน้อยในหุ่นวังหน้า มาให้คุณ siamese ดูอีกชิ้น   เป็นอุปกรณ์ประกอบการเล่นหุ่น   

อ.จักรพันธุ์บรรยายว่า คือธงสามเหลี่ยมทำด้วยกระดาษปิดทองเขียนสี    ริมธงด้านหนึ่งตัดเป็นกระหนกพลิ้วอย่างธงสะบัด ที่ติดอยู่ปลายงอนรถในภาพจิตรกรรมไทยประเพณี
ด้ามธงทำด้วยหวายเหลายอดเรียว สามารถดัดให้อ่อนโค้งได้   สันนิษฐานว่าเป็นงอนรถของราชรถหุ่น   น่าเสียดายว่าราชรถสูญหายไม่เหลือร่องรอย
เห็นแค่งอนรถ  ก็พอจะวาดภาพได้ว่าราชรถในหุ่นวังหน้า จะงามวิจิตรบรรจงสักแค่ไหน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 20
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.08 วินาที กับ 20 คำสั่ง