เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 20
  พิมพ์  
อ่าน: 130218 เจ้าชายยอร์ช วอชิงตัน แห่งสยาม กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ วังหน้าพระองค์สุดท้าย
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 08 มี.ค. 11, 15:23

ลักษณะหุ่นนางที่สวมกรอบหน้า


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 08 มี.ค. 11, 15:32

พระราชลัญจการ พระบรมราชโองการ (องค์ใหญ่) ที่ผูกลายเครื่องมงคล ๕ ประการ หรือ เบญจราชกกุธภัณฑ์ ใช้กรอบหน้าเป็นเครื่องหมายหลัก


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 08 มี.ค. 11, 15:34

ภาพวาดสีน้ำมัน ฝีมือ อ.จักรพันธุ์ วาดนางละคร สวมรัดเกล้ายอด


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 08 มี.ค. 11, 15:43

ลักษณะการใช้เกี้ยว รัดผม เนื่องจากหากอยู่ในวัยก่อนโกนจุก จะมีมุ่นผมขนาดเล็ก เกี้ยวจึงรัดครอบได้หมด แต่เมื่อไว้ผมยาวขึ้นก็จะเทินเส้นผมขึ้นไป หากเส้นผมยาวขึ้นเรื่อยๆ ก็จะมีการนำเกี้ยวรัดอีกเป็นชั้นๆ ช่างไทยจึงพัฒนากลายเป็นไม้กลึงปิดทองทำเป็นยอดแหลมไป และพัฒนาให้ใหญ่ขึ้น กลายเป็น มงกุฎ ชฎา ต่อไป แถมยังใส่ดอกไม้ไหว เพื่อให้เกิดความสวยงามเพิ่มเข้าไปอีก


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 08 มี.ค. 11, 15:49

เครื่องประดับศีรษะนางมีทั้งมงกุฎกษัตริย์ รัดเกล้ายอด รัดเกล้าเปลวกะบังหน้าและกรอบหน้า ตามยศตำแหน่งเช่นกัน นางกษัตริย์และนางฟ้าเวลาทรงเครื่องใหญ่สวมมงกุฎกษัตริย์และเกล้าผมขึ้นหมด รัดเกล้ายอดใช้สำหรับเจ้าฟ้ามเหสีชั้นรอง นางกษัตริย์พระธิดาชั้นเจ้าฟ้ารวบผมไว้ ท้ายทอยมีเกี้ยวรัดรอบโคนผมมีเครื่องสวมมวยเป็นยอดแหลม กรรเจียกจอน ดอกไม้ทัดห้อยอุบะรัดเกล้ายอดนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศห้ามใช้ในละคอนสงวนไว้เฉพาะ เครื่องทรงเจ้านายเท่านั้น ส่วนรัดเกล้าเปลวสร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ใช้สำหรับ เจ้านายชั้นต่ำกว่าเจ้าฟ้า เช่น นางเบญกายซึ่งเป็นลูกพิเภกเป็นหลานกษัตริย์คือทศกัณฐ์ (แต่ในระยะหลังดูจะใช้ทั่วไปไม่มีหลักเกณฑ์อะไร)

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงห้ามไว้ในประกาศฉบับเดียวกันว่าเมื่อใช้รัดเกล้าในละคอน ทรงห้ามใช้ กรรเจียกจอน ดอกไม้ทัดอย่างเจ้านายตลอดไปจนถึงทรงห้ามละคอนชายมิให้จีบโจง หางหงส์และใช้เครื่องของเป็นทอง เช่น พานหีบหมากทองหรือลงยาราชาวดีอย่าง เจ้านายชั้นสูง ทั้งนี้คือการสงวนสิทธิ์ของพระมหากษัตริย์และเจ้านายมิให้นำมาเล่นให้เสื่อมเสีย แต่มาในระยะหลังตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา ก็มิได้มีผู้ใดบังคับกวดขัน จึงล้มเลิกกฎเกณฑ์ไปจนเกือบหมดใช้สับสนปะปนไปมาก ยิ่งในสมัยหลังเกิดละคอนรำรูปแบบใหม่มากขึ้น เครื่องสวมหัวเหล่านั้นก็ใช้กันตามอำเภอใจเพื่อความสวยงาม เท่านั้น


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 08 มี.ค. 11, 16:22

ขอบคุณค่ะ   คุณ siamese เอามาให้ดูจนลานตาทีเดียว
เจอรูปนี้ ฝีมืออ.จักรพันธุ์
สิ่งที่นางละครถืออยู่ คือเกี้ยวยอดแหลม ใช่ไหมคะ
ส่วนนางละครที่ยืนหันหลังสวมอยู่ คงจะเป็นกะบัง หรือกรอบหน้า

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 08 มี.ค. 11, 16:29

รูปในความเห็นที่ ๙๓  เป็นมวยสูง  อย่างนี้หรือเปล่า  ที่เรียกว่า  โซงโขดง
อันหมายถึงการเกล้ามวยผมสูงของสตรีชั้นสูงสมัยอยุธยาตอนต้น 
ซึ่งคงจะได้อิทธิพลเขมรมากระมัง ฮืม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 08 มี.ค. 11, 16:44

ขอบคุณค่ะ   คุณ siamese เอามาให้ดูจนลานตาทีเดียว
เจอรูปนี้ ฝีมืออ.จักรพันธุ์
สิ่งที่นางละครถืออยู่ คือเกี้ยวยอดแหลม ใช่ไหมคะ
ส่วนนางละครที่ยืนหันหลังสวมอยู่ คงจะเป็นกะบัง หรือกรอบหน้า


ตัวนางที่ถืออยู่ นั้นคือ ชฎานาง ครับ ส่วนที่หันหลังให้สวมกรอบหน้าครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 08 มี.ค. 11, 16:50

กรอบหน้าเกี้ยวยอด


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 08 มี.ค. 11, 17:05

ขอแก้ตัว

บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 08 มี.ค. 11, 17:14

เคยได้ยินคำว่า เกี้ยวหางหงส์ ค่ะ ลักษณะคล้ายรัดเกล้าเปลว ไม่ทราบว่าต่างกันตรงไหนคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 08 มี.ค. 11, 17:15

แล้วเครื่องสวมศีรษะ ในรูปทั้งสองนี้ เขาเรียกว่าอะไรคะ




ป.ล. แก้ไขรูปแล้วค่ะ


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 08 มี.ค. 11, 17:22

ภาพบนเป็น ปันจุเหร็จเพชร ค่ะ  เป็นเครื่องประกอบศรีษะ ใช้ในความหมายแทนผ้าโพก
มักใช้ในการแสดงเรื่องอิเหนา ตัวพระบางตัวจะสวมศีรษะด้วยปันจุเหร็จในบางตอน
เช่นตอนที่อิเหนาปลอมตัวเป็นชาวป่าและเปลี่ยนชื่อเป็นมิสาระปันหยี

ภาพล่างเพิ่งเห็นครั้งแรกค่ะ งามแบบโบราณ น่าจะเรียกว่ ปันจุเหร็จ เหมือนกันนะคะ เป็นรัดเกล้าแบบไม่มียอด
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 08 มี.ค. 11, 18:10

ชิ้นนี้เรียกว่า กระบังหน้า ค่ะ
รำที่ใช้กระบังหน้า ที่เห็นบ่อยๆ ก็ ฉุยฉายพราหมณ์ ค่ะ
สวมกระบังหน้า และด้านหลังไว้ผมมวยรัดเกล้า



บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 08 มี.ค. 11, 18:27

สองภาพนี้ บรรยายภาพว่า เกี้ยว ค่ะ
ภาพบนเป็น เกี้ยวยอด ภาพล่างเป็น เกี้ยว ทีถอดส่วนยอดออกค่ะ


รัดเกล้า หมายถึง เครื่องประดับศีรษะสตรีสูงศักดิ์ในราชสํานักแต่โบราณ ซึ่งได้พัฒนามาจากมาลัยรัดผมจุก ช่างไทยได้ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้คลุมมุ่นผมให้สวยงาม

รัดเกล้าเปลว  หมายถึง รัดเกล้าประเภทหนึ่งซึ่งตอนบนจะติดกระจังปฏิญาณไว้ พริ้วไหวเหมือนเปลวไฟ จึงได้ชื่อตามสิ่งที่เห็นว่า รัดเกล้าเปลว

เกี้ยว เครื่องประดับสวมศีรษะพัฒนาจากดอกไม้รัดผมจุก เช่นเดียวกัน และพัฒนาทำด้วยทองคำ หรือ โลหะมีค่า พร้อมใส่ลายไทย ดอกไม้ไหวประกอบ ซึ่งตัวดอกไม้ไหวจะมีขายาวไว้สำหรับเสียบแทนปิ่นปักผม เพื่อให้ตรึงอยู่กับศีรษะ

เรียนถามท่าน siamese ว่า รัดเกล้า กับ เกี้ยว ต่างกันอย่างไรคะ สังเกตจากตรงไหนคะ



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 20
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 20 คำสั่ง