siamese
|
ความคิดเห็นที่ 60 เมื่อ 01 มี.ค. 11, 15:28
|
|
นำบทความจากหนังสือหุ่นไทย มาให้อ่านกันครับ
"เรื่องหุ่นไทยของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ"
จักรพันธุ์ โปษยกฤต เล่าอธิบายว่า นอกจากที่ตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ จำนวน ๕๓ ตัว คือ หุ่นตัวพระนาง ยักษ์ ลิงแล้วยังมีหุ่นที่ชำรุดอีกเป็นจำนวนมากซึ่งเก็บบรรจุไว้ในหีบไม้ขนาดใหญ่บนคลังของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ "...หุ่นเหล่านี้แม้จะชำรุดหักพังหมดสิ้น แต่ก็ยังเห็นว่างามวิจิตรด้วยฝีมืออันประณีตในการสร้างการทำ ความฉลาดรอบรู้และวิริยะอุตสาหะของช่างแต่ก่อนอย่างที่ไม่สามารถบรรยายออกมาเป็นตัวหนังสือได้หมด..."
หุ่นเหล่านี้ประดิษฐ์ด้วยไม้เนื้อเบาเป็นรูปร่างคนลงมาจนถึงตะโพก ทว่าเอวนั้นมิได้มีเส้นหวายเสริมจึงเคลื่อนไหวไม่ได้อย่างหุ่นหลวง มีเส้นเชือกร้อยเป็นสายไยจากแขนและขาสำหรับบังคับหุ่นให้เคลื่อนไหวได้ สายไยเหล่านี้มารวมกันออกที่ก้นหุ่นซึ่งเป็นที่เดียวกันกับที่มีแกนไม้สำหรับจับเชิดเสียบอยู่โดยมีผ้าดำบางเย็บเป็นปลอกคลุมแกนไม้และสายไยร้อยแขนขาไว้มิให้คนเห็น
"...หน้านางและหน้าพระที่เป็นหน้ามนุษย์ ไม่ได้เขียนเส้นฮ่ออย่างหน้าพระนางของหัวโขนหรือหุ่นหลวง หากทำผิวสีนวลจันทร์ เขียนสีเป็นเส้น คิ้ว เส้นตา และปากด้วยสีบางๆ ล้อด้ายเส้นทองเล็กๆ งดงามปราณีตเป็นที่สุด..."
เครื่องแต่งกายหุ่นกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ปักเย็บด้วยเลื่อมเงิน เลื่อมทองขนาดเล็กโดยมีลูกปัดแก้วสีขนาดเล็กและไหมทองตรึงตามไหวชายแครง ผ้ารัดสะเอว สนับเพลา และผ้าห่มนาง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33423
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 61 เมื่อ 01 มี.ค. 11, 18:47
|
|
การซ่อมเครื่องแต่งกายของหุ่น ก็เป็นเรื่องฟังได้สนุกสนาน ชวนตื่นเต้นในความพากเพียรของคณะซ่อมหุ่น แค่ถอดเสื้อผ้าเก่าแก่ออกจากหุ่นก็ยากแล้ว เพราะถอดออกเหมือนถอดเสื้อตุ๊กตาไม่ได้ ต้องใช้กรรมวิธี อย่างแรกคืออังด้วยไอน้ำ ต้องต้มน้ำแล้วเอาหุ่นสวมเสื้อไปอังตรงไอน้ำ ผ้าที่ทากาวไว้หนานแน่นก็จะหลุดออก อย่างที่สองคือเอาพู่กันจิ้มน้ำอุ่นมาแจะๆตรงกาวที่ทาติดเสื้อผ้าไว้ ใช้เวลาพอสมควรให้กาวอ่อนตัว แล้วค่อยๆใช้คีมดึงผ้าออกมา ต้องระมัดระวัง เพราะถ้าแรงไปผ้าอายุนับร้อยปีก็จะขาดวิ่น
เมื่อดึงเสื้อผ้าออกมาได้ ก็นำไปซักแห้งในร้านซักแห้ง ใช้ซักด้วยน้ำมัน ไม่ผ่านน้ำ จะทำให้ผ้าคงสีและรูปทรงตามเดิม ส่วนคราบกาวที่ยังติดอยู่ก็ต้องแช่น้ำอุ่นจัดอีกทีให้อ่อนตัว ส่วนพวกเลื่อมเม็ดลูกปัดตามเสื้อผ้าหุ่น ล้างด้วยน้ำยาฟอกเงินจนสะอาด อ.จักรพันธุ์เล่าว่าผ้าโบราณคงทนมาก สีสันไม่ตกเลย มีแต่คราบฝุ่นสกปรกเท่านั้นที่หลุดออกจากเนื้อผ้า จากนั้นก็ค่อยซ่อมแซมประกอบเป็นเสื้อผ้าสมบูรณ์ สวมเข้ากับหุ่นในขั้นตอนต่อไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33423
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 62 เมื่อ 03 มี.ค. 11, 10:52
|
|
ภาพนี้คือหุ่นพร้อมด้วยเสื้อผ้ากะรุ่งกะริ่งของเดิม เมื่อคณะทำงานจัดการรวบรวมชิ้นส่วนเข้าด้วยกัน ได้ครบเป็นตัวแล้ว แต่ยังไม่มีหัว เรายังมองเห็นร่องรอยของผ้าจีบหน้านางที่นุ่งเข้ากับตัวอย่างประณีต เข็มขัดเล็กๆคาดเอว มีรายละเอียดประณีตงดงาม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33423
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 63 เมื่อ 03 มี.ค. 11, 10:53
|
|
หุ่นที่บูรณะซ่อมแซมเสร็จแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 64 เมื่อ 03 มี.ค. 11, 11:11
|
|
งดงามมากครับ วัสดุที่หุ้มโครงไม้คือ ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ซึ่งทำจากธรรมชาติ กาลเวลา ความชื้น ทำให้วัสดุเหล่านี้กรอบ คืนตัว เปื่อยยุ่ยเป็นผงไปหมด ถือเป็นโชคของหุ่นเหล่านี้ ที่ได้รับการรื้อฟื้นให้กลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33423
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 65 เมื่อ 03 มี.ค. 11, 13:56
|
|
ใช่ค่ะ พูดถึงผ้าที่ใช้ซ่อมแซมเครื่องแต่งกายหุ่น มีผ้าเข้มขาบ ผ้าตาด ผ้าเยียรบับ ผ้ายกทองเนื้อบาง ริมผ้าส่าหรี ผ้าแพรเนื้อบาง เสื้อผ้าหุ่นของเดิมนอกจากมีแพรไหมเนื้อบางหุ้มแขนหุ่นแทนผิวเนื้อ ก็มีผ้าไหมราคาแพงต่างๆดังที่บอกมานี้ ซึ่งคณะซ่อมหุ่นไปเสาะหามาให้ละม้ายของเดิมที่สุด บางอย่างก็ได้รับการบริจาคจากนักสะสมผ้า
เรื่องหนึ่งที่ควรบันทึกไว้คือ ลวดลายปักผ้าหุ่นนั้นละเอียดพิสดารเหลือหลาย เมื่อนึกว่าตัวหุ่นโตกว่าตุ๊กตาบาร์บี้ไม่กี่มากน้อย ผ้าปักก็ย่อมชิ้นเล็ก ปักกันได้ขนาดนี้เรียกว่ายอดฝีมือจริงๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33423
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 66 เมื่อ 03 มี.ค. 11, 14:07
|
|
ในภาพนี้ึ โปรดสังเกตลูกปัดแก้วเม็ดจิ๋วๆหลากสีที่ปักอยู่บนลายผ้า เป็นลูกปัดที่หาซื้อจากร้านไหนๆไม่ได้เลย แต่เป็นโชคดีที่อ.จักรพันธุ์เคยได้ลูกปัดแก้วมาจากซานฟรานซิสโก เมื่อพ.ศ. ๒๔๓๔ คุณพันธุ์ศักดิ์ จักกะพากไปซื้อมา จากร้าน General Beads เป็นลูกปัดแก้วขนาดเล็กมากจนใช้ไม่ได้กับเสื้อผ้าหุ่นกระบอกของอ.จักรพันธุ์ จึงเก็บไว้เฉยๆ ต่อเมื่อมาถึงคราวซ่อมหุ่นวังหน้า เอาออกมาเทียบจึงเห็นว่าไม่ผิดเพี้ยนกับของเดิม ราวกับมาจากแหล่งผลิตเดียวกัน คือทำมาจากเบลเยี่ยมและออสเตรีย
สรุปว่า หุ่นวังหน้าสมัยรัชกาลที่ ๕ มีเครื่องแต่งกายประดับด้วยลูกปัดแก้วอิมพอร์ตจากยุโรป ที่แสนจะหายาก โก้จริงๆ ลูกปัดแก้วอิมพอร์ตมาวังหน้าได้อย่างไร ? เรื่องนี้ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย คงมี "ออเดอร์" ไปโดยตรงผ่านทางกงสุลต่างๆ หรือราชอาคันตุกะที่มีไมตรีจิตเป็นอันดีกับวังหน้าตั้งแต่สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เรื่อยมาจาก เจ้าชายยอร์ช วอชิงตัน เพราะคิดว่าลูกปัดแก้วเม็ดเล็กจิ๋วจนเข็มร้อยไม่เข้า ต้องใช้กาวชุบด้ายให้แข็งร้อยเข้าไปในลูกปัด ทีละเม็ด ไม่ใช่สินค้าดาษดื่นที่ส่งมากับเรือสำเภาแน่นอน ต้องเป็นสินค้าที่อาจทรงดูจากแคตตาล็อก แล้วสั่งไปที่ยุโรป ก็เป็นได้ ลักษณะมันเฉพาะเจาะจงเหลือเกินที่จะนำมาใช้ประดับเครื่องแต่งกายขนาดเล็กของตุ๊กตาหุ่น ถ้าประดับเสื้อผ้าสตรีคงใช้เม็ดใหญ่กว่านี้ อีกอย่างฉลองพระองค์เจ้านายสมัยต้นรัชกาลที่ ๕ ก็ยังไม่มีเสื้อแบบยุโรปเข้ามา ยังเป็นเสื้อแขนกระบอกคอปิดแบบไทย จึงไม่มีการประดับประดาบนเสื้อ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 67 เมื่อ 03 มี.ค. 11, 16:28
|
|
เห็นภาพขยายการปักเลื่อม ลูกแก้วแล้วทึ่ง และขนลุกมากกับความพยายามในฝีมือของช่างไทยเป็นอย่างยิ่ง
เรื่องที่สงสัยคือ
๑. ที่ อ.เทาชมพู กล่าวไว้ว่า เม็ดลูกปัดและเลื่อมแบบนี้เป็นสินค้าที่อิมพอร์ตมาจากเมืองนอก เป็นความจริงแน่แท้ เนื่องจากการผลิตของไทยแม้จะมีฝีมือมาก แต่ก็เน้นไปยังงานฝีมือเชิงช่างมากกว่าจะทำของจิ๋วเช่นนี้ การออเดอร์สินค้า มีเรือจากล่องจากสิงค์โปร์-สยาม อยู่ตลอดเวลา เพียงวังหน้าทำหนังสือถึงกงสุลสิงค์โปร์ ให้ช่วยจัดหาให้ก็สามารถทำได้ (ทำอย่างเดียวกับสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีหนังสือถือกงสุลเมืองสิงคโปร์ ช่วยจัดซื้อหาผ้าม่วง)
๒. เมื่อได้เลื่อมและลูกปัดมาแล้ว ถึงวิธีการขึ้นสะดึง ขึงผ้าให้ตึง ลงร้อยด้าย ใส่เข็มเป็นงานที่ไทยถนัดนัก ปักนูน ปักลายไทย เพียงแต่ อ.เทาชมพูกล่าวว่า ลูกปัดมีขนาดเล็กมาก เข็มร้อยไม่ได้ จะต้องนำด้ายมาชุบกาวให้แข็งแล้วร้อยลงลูกปัด ซึ่งฟังแล้วนึกภาพตามได้เลยว่า คงเป็นการปักที่กินเวลานานพอสมควร เนื่องจาก ปักด้ายผ่านเข็ม ๑ ถอดเข็ม ๑ ชุบกาว ๑ ร้อยลูกปัด ๑ ร้อยเข็มเข้าด้าย ๑ ปักด้ายพร้อมลูกปัดตรึงผ้า ๑ แล้วจึงเริ่มกระบวนการใหม่ ใช้เวลานานโขพอสมควร หากเป็นไปได้ผมจะขอให้ช่างสิบหมู่ ฝนเข็มให้เล็ก ฝนจนมีขนาดบางเส้นผม เพื่อจัดการร้อยลูกปัดแก้ว เพื่อให้การปักเป็นไปอย่างดีทุกฝีเข็ม
๓. อ.เทาชมพู ช่วยดูให้สักนิดว่า มีงานปีกแมลงทับในหุ่นวังหน้าไหมครับ งานปีกแมลงทับให้สีเหลือบเขียว วาว มัน คงทนเป็นร้อยปี และมีปีกแมลงทับสีทอง สีน้ำเงินครามอีกด้วย
๔. การทำวัสดุเล็กจิ๋ว ทำกันมานานแล้วในต่างประเทศ จึงไม่แปลกที่จะมีเลื่อม ลูกปัดขายในแถบยุโรป เขามี Doll House เล่นกันในหมู่ราชวงศ์ยุโรปกันมานานแสนนาน ทุกอย่างย่อส่วนตามสเกลครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33423
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 68 เมื่อ 03 มี.ค. 11, 17:44
|
|
อ.จักรพันธุ์ระบุว่ามีปีกแมลงทับปักผ้าหุ่นด้วย ดิฉันก็ไม่รู้ว่ารูปไหน เลย ถ่ายรูปที่คิดว่าน่าจะเป็นปีกแมลงทับนำมาลง หรือถ้าหากว่าไม่ใช่ เพราะของเดิมชำรุดไปหมดแล้ว เลยใช้วัสดุอื่นแทน คุณ siamese อาจจะพอมองออก ว่าเมื่อก่อนปักปีกแมลงทับแบบไหน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33423
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 69 เมื่อ 03 มี.ค. 11, 17:46
|
|
เอาลายปักมาให้ชมกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33423
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 70 เมื่อ 03 มี.ค. 11, 17:46
|
|
.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33423
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 71 เมื่อ 03 มี.ค. 11, 17:47
|
|
เสื้อผ้าชุดเดิมของหุ่นเมื่อยังไม่ได้ซ่อม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 72 เมื่อ 03 มี.ค. 11, 19:12
|
|
ขอบคุณครับ อ.เทาชมพูที่คัดสรรภาพมาให้ชม ยิ่งเห็นยิ่งลึกซึ้งในความงาม สำหรับปีกแมงทับที่เห็นในภาพแรก ได้ทำภาพประกอบไว้ให้แล้ว จะเห็นว่าปีกแมลงทับจะมีสีเขียวสด พื้นผิวเมื่อมองใกล้ๆจะหยาบเป็นเม็ดทราย การตัดปีกแมลงทับไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำ เคยลองทำแล้ว
๑.มีความลื่น ๒.มีความเหนียวแต่กรอบ ๓.มีความกรอบ แตกร้าวได้ง่ายหากตัดไม่ดี ๔.เลื่อมมีขนาดเล็ก แถมยังต้องเจาะรูอีก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 73 เมื่อ 03 มี.ค. 11, 19:27
|
|
ถ้าข้อสันนิฐานในภาพนี้ของผมถูกต้อง วัสดุท่อกลมแท่งๆนี้ ควรจะเป็น ขาที่อยู่คู่แรก ของแมลงทับ ซึ่ง ๑ ตัวสามารถนำมาใช้เพียง ๒ ชิ้นเท่านั้น เนื่องจากเท้าคู่อื่นจะไม่กลมเป็นหลอด ซึ่งเป็นทักษะการนำมาใช้ได้อย่างสุดยอด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 74 เมื่อ 03 มี.ค. 11, 20:01
|
|
อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม คือ ผ้านุ่งยก ผ้าพื้นสอดดิ้น เดินลายเหมาะสมกับขนาดของหุ่น
งานที่เกี่ยวเนื่องกันคือ งานรัก ปิดทอง ประดับกระจก ที่นำมาลงให้ชมเป็นการแกะหินสบู่ เพื่อนำรักเคี่ยวเหนียวมาปั้น ปั๊มลาย ทำเครื่องประดับต่างๆของตัวหุ่น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|