เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 20
  พิมพ์  
อ่าน: 129903 เจ้าชายยอร์ช วอชิงตัน แห่งสยาม กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ วังหน้าพระองค์สุดท้าย
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 24 ก.พ. 11, 11:02

ได้อ่านจดหมายเหตุราชกิจรายวัน รัชกาลที่ ๕

วันที่ ๔๓๓๙ วันจันทร์ แรม ๙ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะโรง โทศก จุลศักราช ๑๒๔๒ (ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๒๓)

วังหน้าทำของมาทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ มี กล่องจันทน์ กระโถน เขียนเรื่องรามเกียรติ์ ดุมกระ สายนาฬิกากระ

จึงนำมาฝากครับ

เกิดสงสัยครับ
ว่าพระยานรรัตน์ที่ถวายนั้น ใช่พระยานรรัตนราชมานิต (โต มานิตยกุล) หรือไม่ (ภายหลังเป็นเจ้าพระยา)

เจ้าคุณนรรัตน์เป็นจางวางมหาดเล็กวังหลวง ทำไมต้องเป็นนายไปรษณีย์ส่งของจากวังหน้ามาวังหลวง
หรือว่าขุนนางวังหน้าไม่มีสิทธิมาก้าวก่ายในวังหลวงเลย แม้กระทั่งทูลเกล้าถวาย ยังต้องให้ขุนนางวังหลวงไปรับเอามา

ถ้าเป็นเช่นนั้น ทำไมกรมพระราชวังถึงไม่มาทูลถวายด้วยพระองค์เองเล่า หรือช่วงนั้นมองหน้ากันไม่ติด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 24 ก.พ. 11, 12:57

เป็นขั้นตอนของการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายค่ะ     รายละเอียดคุณหลวงเล็กน่าจะอธิบายได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 24 ก.พ. 11, 13:10

ต่อ  เรื่องหุ่นวังหน้า

      หุ่นวังหน้าเรื่องรามเกียรติ์ ได้แสดงถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในงานสมโภชช้างเผือกที่หน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์  บันทึกไว้ในหนังสือข่าวราชการ เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๙ ว่า
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกประทับ ณ พลับพลาหน้าโรง    ทอดพระเนตรหุ่นอย่างใหม่ของกรมพระราชวังบวรสถานมงคลได้ทรงคิดขึ้นใหม่นั้น    ปลูกโรงลงในท้องถนนตรงหน้าพลับพลา    โรงนั้นยาวประมาณ ๑๐ วา    ตัวหุ่นนั้นสูงประมาณ ๑๐ นิ้ว ฯลฯ   เมื่อเชิดนั้นไม่เห็นตัวคนเชิด    และเจรจาหรือพากย์ก็ดี   ไม่เห็นตัวคนพากย์คนเจรจา    มีแต่ตัวหุ่นออกมาเต้นรำทำท่าต่างๆ    และในโรงนั้น รางพื้น รางเพดานเพื่อจะได้เชิดแลเหาะ"


     และใน  ราชกิจจานุเบกษา บันทึกว่า
     "ในงานทำบุญสมภพในสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ครบ ๗๑ ปี    กรมพระราชวังบวรสถานมงคลจัดหุ่นไปช่วยเพลา ๑"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 24 ก.พ. 11, 13:59

กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ประชวรด้วยพระโรควักกะ(ไต) พิการ    เสด็จทิวงคตเมื่อพ.ศ. ๒๔๒๘  คือ ๔ ปีหลังบ็อกเข้าเฝ้า    ในเมื่อไม่มีพระบรมราชโองการตั้งเจ้านายพระองค์ใดเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล สืบต่อ     วังหน้าก็เริ่มร่วงโรยลงเหมือนบ้านที่ขาดเจ้าของ     
เจ้านายวังหน้าที่เป็นชาย ต่างก็เสด็จออกไปมีวังส่วนพระองค์ ตั้งแต่เจริญพระชันษา     ในวังหน้าเหลือแต่เจ้านายสตรีและเจ้าจอม   การช่างและการละเล่นต่างๆก็คงเลิกรากันไป    ขุนนางและข้าราชบริพารวังหน้าจะไปอยู่ไหนไม่ทราบ แต่เดาว่าคงจะโอนไปสังกัดวังหลวงตามประเพณี     เห็นได้จากบางตำแหน่งก็ยังมีอยู่   เช่นตำแหน่งเจ้าพระยามุขมนตรี (อวบ เปาโรหิตย์)
หุ่นวังหน้าก็คงจะถูกเก็บเข้ากรุ  ไม่ได้นำมาเล่นอีก     หรือถ้าเล่นกันเป็นการภายใน ก็เดาว่าอาจจะหมดการแสดงไป เมื่อเจ้าคุณจอมมารดาเอมถึงแก่อนิจกรรม      แต่ก็ยังดีที่ตัวหุ่นไม่ได้สูญหายไป ยังคงถูกเก็บรวบรวมเอาไว้ ณ พระที่นั่งทักษิณาภิมุข   ตกอยู่ในความดูแลของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ    เพียงแต่ชำรุดผุพังไปตามกาลเวลา
โชคดีที่ล่วงมาถึงปัจจุบัน มีบุคคลหลายท่านเห็นคุณค่าของงานช่างอันล้ำเลิศชุดนี้   จึงช่วยกันบูรณะซ่อมแซมให้หุ่นวังหน้ากลับฟื้นคืนชีพขึ้นมาในสภาพสมบูรณ์เท่าที่จะทำได้       หัวเรี่ยวหัวแรงในงานนี้คืออ.จักรพันธุ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งชาติ      ท่านเขียนเบื้องหลังการซ่อมหุ่นเอาไว้ในหนังสือ หุ่นวังหน้า   ไว้เป็นวิทยาทานแก่ผู้สนใจศิลปะแขนงนี้

หุ่นวังหน้า เล่มใหญ่มาก  จะวางคว่ำเพื่อสแกนรูปหุ่นมาลงให้ดูกันก็เกรงหนังสือจะบอบช้ำ    เลยต้องหาจากในกูเกิ้ล และถ่ายรูปมาตามเคย   สวยสู้ภาพจากในหนังสือไม่ได้ ต้องขออภัย
รายละเอียดที่อ.จักรพันธุ์ท่านเล่าไว้ก็สนุกมาก   ท่านเล่าละเอียดลออทุกขั้นตอน      คนเขียนเขียนได้คล่องเพราะเป็นศิลปินด้านวิจิตรศิลป์   เชี่ยวชาญในงานที่ทำ   แต่คนอ่านผู้มีหน้าที่ย่อยมาให้อ่าน ไม่มีความรู้ทางนี้   อ่านได้แต่ย่อยยาก  จึงต้องขอเวลาบ้าง ที่จะค่อยๆเก็บความมาให้อ่านกัน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 24 ก.พ. 11, 14:14

อ.จักรพันธุ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นแม่แรงในการจัดซ่อมหุ่นหลวงในกรมพระราชวังบวร และผู้สนับสนุนด้านการเงินคือ บริษัทในเครือซิเมนต์ไทย เป็นผู้พลิกฟื้นวิญญาณของหุ่นในตู้กระจกเหล่านั้นให้ออกมาโลดแล่นสู่สังคมภายนอก เนื่องในวโรกาสงานฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี

ผมว่าเป็นความยิ่งใหญ่ที่ อ.จักรพันธุ์ โปษยกฤต ทุ่มเทการอนุรักษ์ให้กับงานฝีมือชิ้นนี้มาก ทั้งเลื่อม ทั้งผ้า การแกะหินสบู่ งานกระจก งานปิดทอง ล้วนทำออกมาได้อย่างปราณีต


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 24 ก.พ. 11, 21:24

อ.จักรพันธุ์ โปษยกฤต  ซ่อมหุ่นหลวง (๒๕๒๖-๒๕๒๙) และซ่อมหุ่นวังหน้า (๒๕๓๖-๒๕๔๐)

"ของสวยงามมันมีอยู่ในโลกนะ แต่ไม่มีคนทำ" อ.จักรพันธุ์กล่าว

พ.ศ. ๒๕๒๖ จักรพันธุ์และคณะรับคำเชิญให้ซ่อม "หุ่นหลวง" ๕ ตัว เป็นหุ่นไม้ขนาดใหญ่สูงราวเมตรกว่า ทั้งหุ่นตัวพระ นาง ยักษ์ และลิง ใส่เครื่องประดับและแต่งกายเช่นเดียวกับคนสวมชุดโขนละครทุกประการ เพียงแต่ย่อส่วนให้เล็กลง

ต่อมาในปี ๒๕๓๖ จักรพันธุ์และคณะได้รับการติดต่อจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ให้ช่วยซ่อม "หุ่นวังหน้า" ชุดรามเกียรติ์ ๑๐๐ ตัว ซึ่งคิดค้นทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เป็นหุ่นไทยขนาดเล็ก สูงราว ๒๘-๓๗ เซนติเมตร มีลักษณะเฉพาะแขนขาเต็มตัว ตัวหุ่นทำจากไม้ มีไม้แกนกับสายใยชักส่วนต่างๆ ของหุ่นให้เคลื่อนไหว หุ่นที่ทางพิพิธภัณฑสถานฯ เก็บไว้มีสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก ชิ้นส่วนกระจัดกระจาย ศีรษะและแขนขาบางตัวถูกแมลงกิน จักรพันธุ์และคณะซ่อมหุ่นจำเป็นต้องหล่อ-เหลาขึ้นใหม่ และยังต้องหาวัสดุในการซ่อมเครื่องแต่งกายหุ่นให้ใกล้เคียงของเดิมมากที่สุด ทั้งเส้นไหมทองที่ใช้ปักลาย หรือเนื้อผ้าซึ่งในช่วงเวลาที่ซ่อมนั้นหาไม่ได้แล้ว แม้ว่าหุ่นวังหน้าจะมีขนาดเล็กกว่าหุ่นหลวง ก็ต้องใช้ความประณีตในการปักเย็บไม่แพ้กัน ขนาดที่ว่าเข็มเบอร์เล็กสุดยังไม่สามารถร้อยเข้าไปในลูกปัดขนาดจิ๋วที่ประดับชุดหุ่นวังหน้าได้ จักรพันธุ์และคณะต้องใช้วิธีทากาวที่เส้นด้ายให้แข็งแล้วใส่เข้าไปในลูกปัดก่อน จึงค่อยร้อยเข็มเพื่อให้ปักได้ต่อ ทำอย่างนี้ทีละเม็ดๆ

ช่างฝีมือมีหน้าที่สร้างความสวยงาม และจักรพันธุ์เห็นว่าตนไม่ใช่ช่าง "ซ่อม" แต่เป็นช่าง "สร้าง" การจะสร้างสรรค์งานศิลปะไทย แม้ต้องเคารพตำรา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการซ่อมแซมงานดั้งเดิม) แต่เหนือสิ่งใดก็คือ ความพอใจของช่าง

"ทั้งนี้ก็สุดแต่ฝีมือของช่างจะบันดาลให้เป็นไป" จักรพันธุ์กล่าว

เมื่อใดที่จักรพันธุ์ได้รับมอบหมายให้ "ซ่อม" งานโบราณ โดยเฉพาะการซ่อมหุ่นครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๒๖ จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากบางกลุ่มว่า ควรปล่อยให้งานเหล่านั้นอยู่ในสภาพเดิมหรือไม่ เพราะเห็นว่าการซ่อมหุ่นรวมไปถึงภาพเขียนนางละคร "แบบจักรพันธุ์" ณ ช่วงเวลานั้นก่อให้เกิดความ "วิบัติ"

คำตอบรับที่ได้จากจักรพันธุ์คือ

"ตามที่ได้มีผู้เกิดความคับข้องใจขึ้นมาอย่างบอกไม่ถูกในการซ่อมหุ่นและการเขียนรูปละครของข้าพเจ้านั้น แต่แรกคิดว่าจะไม่บอก เพราะพูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง...แต่เอาเถอะ ถึงจะบอกถูกหรือบอกไม่ถูก ข้าพเจ้าก็ต้องถูกอยู่ดี"


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 25 ก.พ. 11, 09:16

ได้อ่านจดหมายเหตุราชกิจรายวัน รัชกาลที่ ๕

วันที่ ๔๓๓๙ วันจันทร์ แรม ๙ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะโรง โทศก จุลศักราช ๑๒๔๒ (ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๒๓)

วังหน้าทำของมาทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ มี กล่องจันทน์ กระโถน เขียนเรื่องรามเกียรติ์ ดุมกระ สายนาฬิกากระ

จึงนำมาฝากครับ

เกิดสงสัยครับ
ว่าพระยานรรัตน์ที่ถวายนั้น ใช่พระยานรรัตนราชมานิต (โต มานิตยกุล) หรือไม่ (ภายหลังเป็นเจ้าพระยา)

เจ้าคุณนรรัตน์เป็นจางวางมหาดเล็กวังหลวง ทำไมต้องเป็นนายไปรษณีย์ส่งของจากวังหน้ามาวังหลวง
หรือว่าขุนนางวังหน้าไม่มีสิทธิมาก้าวก่ายในวังหลวงเลย แม้กระทั่งทูลเกล้าถวาย ยังต้องให้ขุนนางวังหลวงไปรับเอามา

ถ้าเป็นเช่นนั้น ทำไมกรมพระราชวังถึงไม่มาทูลถวายด้วยพระองค์เองเล่า หรือช่วงนั้นมองหน้ากันไม่ติด

เป็นขั้นตอนของการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายค่ะ     รายละเอียดคุณหลวงเล็กน่าจะอธิบายได้

ผมมาตอบเพราะได้รับการเอ่ยชื่อถึง ยิงฟันยิ้ม

ที่พระยานรรัตนราชมานิต(บรรดาศักดิ์ในขณะนั้น) ได้ทำหน้าที่เป็นไปรษณีย์
นำสิ่งของจากกรมพระราชบวรวิไชยชาญมาทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ ๕

ทำไมต้องเป็นเจ้าคุณนรรัตนฯ  ทำไมกรมพระราชบวรวิไชยชาญไม่เสด็จมาเข้าเฝ้าถวายเอง
ข้อนี้  ผมคิดว่า  คงไม่ใช่เพราะเหตุบาดหมางระหว่างวังหน้าวังหลวง  
แต่การที่จะให้กรมพระราชบวรวิไชยชาญซึ่งเป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่  และมีพระชนมายุมากกว่า
รัชกาลที่ ๕  เสด็จลงมาเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายสิ่งของเพียงเล็กน้อย  ดูเป็นการไม่สมพระเกียรติ
ของวังหน้า   และจะกลายเป็นที่ครหาได้   ฉะนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าคุณนรรัตนฯ  ไปรับประทาน
สิ่งของนั้นมาทูลเกล้าฯ ถวายย่อมดูเหมาะสมกว่า  

ตรงนี้อาจจะมีคำถามว่า  ทำไมต้องเป็นเจ้าคุณนรรัตนฯ  ทำไมไม่โปรดเกล้าฯ ให้มหาดเล็กคนอื่น
ไปทำการแทน   เพราะเจ้าคุณนรรัตนฯ เป็นถึงจางวางมหาดเล็ก    ผมคิดว่า  
ด้วยว่ากรมพระราชวังบวรฯ เป็นเจ้านายมีพระอิสริยยศใหญ่  
การจะโปรดเกล้าฯ ให้มหาดเล็กอื่นๆ ที่ไม่ใช่เจ้าคุณนรรัตนฯ
ย่อมไม่สมควรและดูไม่เป็นการถวายพระเกียรติวังหน้า  

อีกประการหนึ่งเจ้าคุณนรรัตนฯ ก็เป็นขุนนางที่รัชกาลที่ ๕
โปรดเกล้าฯ ให้ทำการสิ่งต่างๆ เสมอ  
โดยเฉพาะการที่เกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์สวยงาม  
หลายคนอาจจะจำเรื่องเจ้าคุณนรรัตนฯ ได้รับโปรดเกล้าฯ
ให้ออกไปจัดหาสิ่งของที่ใช้การพระศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์
ยังมีเรื่องสร้างอาคารสถานที่อื่นๆ อีก  ให้คนอื่นเล่าดีกว่า

อนึ่ง   การที่เจ้านายผู้ใหญ่จะเฝ้าฯ พระเจ้าแผ่นดินซึ่งมีพระชนมายุน้อยกว่า
ในเรื่องที่ไม่ใช่ราชการ   อย่างทูลเกล้าฯ ถวายสิ่งของเล็กๆ น้อยๆ
เท่าที่ทราบมา  จะโปรดเกล้าฯ ให้ มหาดเล็กไปเชิญของนั้นมาทูลเกล้าฯ ถวาย
ตอบอย่างนี้  ไม่รู้ว่าช่วยไขข้อข้องใจได้บ้างหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 28 ก.พ. 11, 11:44

ขอบคุณคุณหลวงเล็กที่ช่วยตอบ

ขอส่งรูปลายปักเครื่องทรงของหุ่นวังหน้ามาให้ดูก่อน เป็นตัวอย่างการบ้านที่จะส่งทีหลัง    ภาพที่คร็อพมานี้จะเห็นความละเอียดลออเหลือพรรณนาของลายปัก   ยังไม่รวมเครื่องประดับถนิมพิมพาภรณ์ของหุ่น ซึ่งต้องจัดทำโดยเฉพาะให้เข้ากับตัว
เป็นงานช่างที่ล้ำเลิศ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 01 มี.ค. 11, 10:37

ขอบคุณคุณหลวงเล็กค่ะ
*************
ขอกลับมาถึงเรื่องซ่อมหุ่นวังหน้า ของอ.จักรพันธุ์


เมื่อใดที่จักรพันธุ์ได้รับมอบหมายให้ "ซ่อม" งานโบราณ โดยเฉพาะการซ่อมหุ่นครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๒๖ จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากบางกลุ่มว่า ควรปล่อยให้งานเหล่านั้นอยู่ในสภาพเดิมหรือไม่ เพราะเห็นว่าการซ่อมหุ่นรวมไปถึงภาพเขียนนางละคร "แบบจักรพันธุ์" ณ ช่วงเวลานั้นก่อให้เกิดความ "วิบัติ"

คำตอบรับที่ได้จากจักรพันธุ์คือ

"ตามที่ได้มีผู้เกิดความคับข้องใจขึ้นมาอย่างบอกไม่ถูกในการซ่อมหุ่นและการเขียนรูปละครของข้าพเจ้านั้น แต่แรกคิดว่าจะไม่บอก เพราะพูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง...แต่เอาเถอะ ถึงจะบอกถูกหรือบอกไม่ถูก ข้าพเจ้าก็ต้องถูกอยู่ดี"


เห็นใจอ.จักรพันธุ์ ในเรื่องนี้มาก    เพราะคนที่ตั้งใจดีจะทำงานอนุรักษ์ของเก่า  ต้องมาเจอนักอนุรักษ์เก่ายิ่งกว่า ไม่ว่าใครก็คงหมดกำลังใจ  แต่ก็เป็นโชคดีของหุ่นวังหน้าที่อ.จักรพันธุ์ไม่ท้อถอย   เราจึงเห็นหุ่นวังหน้าบางส่วนกลับฟื้นคืนสภาพงดงามอย่างที่เห็นอยู่ในกระทู้นี้
ต้องขออธิบายว่า หุ่นวังหน้าแบ่งเป็น ๒ ส่วน  ส่วนหนึ่งตั้งโชว์อยู่ในพระที่นั่งทักษิณาภิมุข  พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ มาจนปัจจุบันนี้  อ.จักรพันธุ์ไม่ได้ไปแตะต้อง  เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เห็นฝีมือแท้ๆของช่างสมัยวังหน้ารัชกาลที่ ๕     แต่หุ่นอีกส่วนซึ่งเก็บเอาไว้ในบนคลังอาคารประพาสพิพิธภัณฑ์  นับร้อยตัว    ปิดตายพ้นจากสายตาการรับรู้ของผู้คนภายนอกนั่นต่างหาก ที่อ.จักรพันธุ์และทีมงานบุกบั่นขึ้นไปค้นหา  นำลงมาชุบชีวิตให้ฟื้นคืนขึ้นมาอีกครั้ง

     ห้องคลังที่ว่า เป็นห้องติดหลังคามืดๆ อับๆ ร้อนอบอ้าวเต็มไปด้วยฝุ่นผงจากศิลปวัตถุเก่าใหม่ที่นำมาเก็บไว้  วางลดหลั่นทับถมกันเต็มทุกซอกทุกมุม    อ่านแล้วก็รู้สึกว่าเป็นห้องเก็บของขนาดใหญ่เราดีๆนี่เอง     เจ้าหน้าที่เตรียมหุ่นแยกใส่ถุงพลาสติคใสเตรียมให้เลือกว่าจะเอาตัวไหนมาซ่อม   หุ่นทุกตัวไม่มีหัว  หัวเก็บแยกไว้อีกถุงต่างหาก   แขนขาก็กระจัดกระจายแยกไปอีกถุง ไม่รู้หัวใครแขนใครขาใคร
    อ.จักรพันธุ์แยกหุ่นที่ต้องตาออกมาได้ยี่สิบกว่าตัว   ส่วนอวัยวะน้อยใหญ่ที่แยกถุง ขนเอาไปหมด เพื่อจะมาปะติดปะต่อกันเข้าเป็นร่างได้ครบถ้วน    
    ท่านสรุปไว้ว่า
     " ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าหุ่นชุดนี้ชำรุดหักพังทั้งหมด     ไม่มีหุ่นตัวไหนสมบูรณ์   มีแขนขาครบ  มีแต่ชำรุดมากหรือชำรุดน้อย   หุ่นที่มีหัวติดอยู่กับตัวมีอยู่เพียง ๒-๓ ตัว   บางตัวมีแขนข้างเดียว  ครึ่งแขน  หรือไม่มีแขนเลย    ส่วนขาก็เช่นกัน
     จึงเป็นที่อุปมาเล่นกันในหมู่คณะพวกช่างซ่อมหุ่นของเราว่า   ดูไม่ผิดกับซากผู้โดยสารที่เรือบินตก   หัวไปทาง ตัวไปทาง  แขนขาไปทาง เสื้อผ้ากะรุ่งกะริ่งย่อยยับไม่มีชิ้นดี"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 01 มี.ค. 11, 11:13

น่าสังเกตว่าหุ่นรามเกียรติ์ชุดวังหน้า   มิได้ทำสีเสื้อและแขนเสื้อตามสีตัวหรือสีกายหุ่น    ตามที่กำหนดเป็นแบบแผนในพงศ์รามเกียรติ์  หรืออย่างที่โขนแต่งกัน
ทศกัณฐ์แทนที่จะแต่งเขียว ก็กลับใส่เสื้อแดงเกราะม่วง แขนม่วงแดง
พระพรตน้องของพระราม  ซึ่งผิวกายสีแดงแก่ แทนที่จะสวมเสื้อแดงก็สวมเสื้อเหลืองแขนม่วง
แสดงว่าหุ่นไม่ได้แต่งตามโขน แต่ไปแต่งกายตามแบบรูปเขียนงานจิตรกรรมไทยประเพณี   หรือตามแต่ช่างสร้างหุ่นจะเห็นงาม   อ.จักรพันธุ์เชื่อว่าช่างผู้กำหนดสีเครื่องแต่งกายน่าจะเป็นช่างเขียน  เพราะเจนจัดในการวางองค์ประกอบสีให้ตัดกัน  และกลมกลืนกันได้น่าดู

การทำงานของทีมอ.จักรพันธุ์ แค่อ่านก็เหนื่อยในความอุตสาหะตั้งแต่ขั้นต้นคือผสมหุ่นให้่เป็นตัวตนขึ้นมาแล้ว      อย่างแรกคือแยกเป็นหมวดหมู่  หัวก็จัดรวมกลุ่มไว้เป็นหัวล้วนๆ    แยกเป็นหัวพระ หัวนาง หัวยักษ์ หัวลิง
ส่วนมือและขา แยกออกไปอีกกลุ่มจากกลุ่มหัว    และแยกกลุ่มย่อยลงไปอีก  มือขาที่มีกำไลของหุ่นตัวเอกๆ ก็แยกไว้ต่างหาก   มือขาของไพร่พลที่ลุ่นๆไม่มีเครื่องประดับก็แยกไว้อีกกอง
ช่างซ่อมก็มีหน้าที่ค้นหาอวัยวะที่ขนาด และสีผิวที่ซุกซ่อนในกองอวัยวะนับร้อยๆชิ้น   มาจัดให้เข้าชุดกันว่าเป็นของตัวไหนบ้าง    ซึ่งเป็นงานยากเย็นแสนเข็ญ   แต่ท่านเหล่านี้ก็อุตสาหะทำกันจนสำเร็จ   ได้หุ้นเป็นตัวเป็นตนมาครบ หรือเกือบครบ

อ.จักรพันธุ์เล่าไว้อย่างน่าขนลุก ด้วยความประทับใจ ว่า

"มีเรื่องจะต้องบันทึกไว้เป็นหลักฐาน   ก่อนที่กาลเวลาจะล่วงเลย ลืมเลือนไป   คือข้าพเจ้าและช่างทุกท่านที่ร่วมกันซ่อมหุ่นชุดนี้  มีความเห็นต้องกันอยู่ประการหนึ่ง  แม้ไม่เอ่ยออกมาเป็นคำพูด    เพียงแต่สบสายตาก๋จะรู้สึกสัมผัสได้เหมือนๆกัน
คือ  ทุกคราวที่มีการผสมตัวหุ่นที่ต้องคอยมานาน    นานหนักหนานับร้อยปี   ที่จะมีผู้ใดใครมาจัดหัวจัดตัวและอวัยวะของเขา   ที่กระจัดกระจายพิกลพิการอยู่  ให้เข้าที่เข้าทางเป็นตัวหุ่นที่สมบูรณ์งดงามอลังการอย่างที่เขาเคยเป็นมา"


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 01 มี.ค. 11, 11:15

หุ่นนาง ฝีมือวาด อ.จักรพันธุ์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 01 มี.ค. 11, 14:13

หุ่นวังหน้า มีขนาดสูงโดยเฉลี่ยน ๓๗ ซ.ม. สำหรับตัวมียอด  และ ๓๘ ซ.ม. สำหรับตัวไม่มียอด  (ก็ประมาณ ๑ ไม้บรรทัดกว่าๆ)
ร่างทำด้วยไม้เนื้อเบา แกะเหลาเป็นรูปร่างคนตั้งแต่อกถึงสะโพก   ข้างในกลวงสำหรับร้อยเส้นสายในการเชิดหุ่น
หัวหุ่นทำด้วยไม้เนื้อเบา  โกลนเป็นรูปหัวและลำคอ  สำหรับเสียบกับตัว  หน้าหุ่นปั้นแต่งรายละเอียดด้วยรัก แล้วปิดด้วยกระดาษเขียนสี 
แขนแบ่งเป็น ๓ ท่อน จากต้นแขนถึงศอก  จากศอกถึงข้อมือ  และมือ
ฝ่ามือหุ่นตัวสำคัญๆเช่นตัวพระ  ช่างแกะมือแค่ฝ่ามือกับนิ้วโป้ง   ส่วนอีกสี่นิ้วเป็นลวดดัดโค้งยาวงอนปิดทอง  มีแผ่นหนังบางๆเชื่อมระหว่างฝ่ามือกับข้อมือ   ต่อแบบแกนพับ และต่อด้วยการร้อยเชือกอีกอย่าง
ขาหุ่นเป็น ๒ ท่อนจากขาถึงเข่า และเข่าถึงปลายเท้า เชื่อมด้วยแผ่นหนัง
เท้า มีทั้งสวมรองเท้าและไม่สวมรองเท้า


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 01 มี.ค. 11, 14:15

หุ่นที่ประกอบเข้าเป็นตัวได้แล้ว แต่ยังไม่ได้ซ่อมให้บริบูรณ์


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 01 มี.ค. 11, 14:19

อวัยวะหุ่นที่ยังแยกอยู่เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย    ต้องอาศัยความอุตสาหะและความประณีตของคณะอ.จักรพันธุ์ที่ค่อยๆประกอบกันกลับเข้าเป็นตัวหุ่น   ได้อย่างน่าอัศจรรย์
เป็นงานที่ควรแก่การคารวะอย่างยิ่ง


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 01 มี.ค. 11, 14:31

เห็นภาพนางเบญกาย ที่ผ่านกาลเวลามาถึงบัดนี้ เมื่อซ่อมแล้วก็เหมือนการสร้างใหม่ การร้อยเส้นเชือกเพื่อให้หุ่นกล เกิดการเคลื่อนไหว เป็นเทคนิคที่สูญหายไป แม้ว่าในหนังสือหุ่นวังหน้า จะมีการร้อยเรียงเส้นเชือกตามกลไกเดิมก็ตาม

เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓ ในคราวงานเทศกาลวัดอรุณ ผมมีโอกาสได้ไปร่วมงานดูการเชิดหุ่นหลวงที่ทางกรมศิลปากรได้จัดแสดงเรื่อง "ปล่อยม้าอุปการ" เห็นตัวหุ่นหลวงนั้นสูงใหญ่เกือบเมตร เบื้องล่างเป็นสายกลไก เรียงกันร้อยผ่านลงมายังวงแหวนทองเหลือกระทบกันกรุ๋งกริ๋ง จำนวนห่วงมากเกินนิ้วมือจะสวมร้อยได้หมด แถมยังต้องประคองน้ำหนักของตัวหุ่นซึ่งมีความหนักเอาการ แต่การแสดงหุ่นหลวงก็ติดตา ตรึงใจไม่น้อย ยิ่งตอนลีลาร่ายรำของพระลบงามสง่า นิ้วกระดกได้และงอนงาม ด้วยช่างเชิดหุ่นกระตุกสายกลไลกระดกข้อมือ พร้อมกันเสียงปรบมือดังเกรียวไม่ขาดสาย

ด้วยหุ่นหลวงเหล่านี้เมื่อได้นำขึ้นเบิกโรง ดูราวกับว่าหุ่นนั้นจะมีชีวิตโลดแล่นบอกเล่าเรื่องอดีตที่ผ่านเวลามานาน เครื่องทรง สังวาลย์ แพรวพราวฉายส่องกับแฟลตจากกล้องถ่ายภาพมากมาย กระดิ่งของม้าอุปการก็เขย่ากังวาน สะกดสายตาผู้ชมให้หลงไหลไปกับลีลาเยื้องย่างของม้า แม้ว่าเจ้าพนักงานเชิดหุ่นจะไม่เคยชินกับการเชิดหุ่นหลวงมาก่อน แต่ก็ได้ทำเต็มที่เพื่อให้หุ่นหลวงเหล่านี้มีชีวิต ลีลาอย่างน่าอัศจรรย์ครับ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 20
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.08 วินาที กับ 20 คำสั่ง