เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33422
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 21 ก.พ. 11, 15:35
|
|
ตอนอ่าน ดิฉันไม่ได้นึกอย่างที่คุณ siamese ค่ะ เมื่อบอกว่าเป็นฉากจีน ก็เลยเข้าใจว่าเป็นฉากพับ ลับแล ที่กางออกมาเต็มที่แล้วเป็นที่กั้นห้องหรือทางเดินได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 21 ก.พ. 11, 17:07
|
|
ขอบพระคุณคุณเทาชมพูค่ะ
พยายามจะเก็บประวัติ จาก Siam Repository 1 and 2 สำหรับรายนี้ วิกิพีเดียมีอยู่พอใช้เลยค่ะ
กระทรวงต่างประเทศอังกฤษแปลกมากที่ส่งพัลเกรฟ( Willlilam Gifford Palgrave) มาสยามในตอนนั้น เพราะเป็นข้าราชการฝีมือดีเยี่ยมในด้านอาหรับ
รู้ภูมิประเทศและเคยเดินทางลึกเข้าไปในดินแดนตะวันออกกลางทำงานให้องค์การทางศาสนาและจักรวรรดิฝรั่งเศส ปลอมตัวเป็นมุสลิม
เพราะคนที่ไม่ใช่มุสลิมจะไม่สามารถผ่านทางไปได้เลย ตอนที่อยู่ซีเรียก็ปลอมเป็นแพทย์ไซเรียน มียาติดตัวและมีสินค้านิดหน่อย
อาจจะเป็นการสลับตำแหน่ง เพราะเมื่อ ๓ ปีก่อนเขาประจำอยู่มะนิลา
เป็นบุคคลมีชาติตระกูลเเมื่อเปรียบเทียบกับผู้สอนศาสนาและทหารประจำการในบริติชอินเดียในตอนนั้น บิดาเป็นเซอร์ ฟรันซิส พัลเกรฟ
แม่ชื่ออลิซาเบธ เทอร์เนอร์ เคยบันทึกไว้ว่าตานั้นเป็นนายธนาคาร เรียนหนังสือจบอ็อกซ์ฟอร์ด
พัลเกรฟเป็นลูกคนที่สอง จึงต้องมาผจญภัยต่างแดนเพื่อสร้างตัว ไม่เช่นนั้นก็ต้องไปเป็นทหาร หรือ รับใช้ศาสนา
หลังจากเขาเดินทางกลับจากซีเรีย เขียนหนังสือเรื่องการผจญภัยไว้เล่มหนึ่ง ขายดีมากและพิมพ์ซำ้หลายครั้ง
ในเรื่องนี้ คงไม่มีบทบาทมาก แต่ก็น่าสนใจอยู่ดี ว่าในเวลานั้น อังกฤษมีผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาหลายคน
การเป็นนักเรียนล่าม นั้น เด็กอังกฤษที่การศึกษาครึ่ง ๆ กลาง ๆ ก็ได้ดีกันมาหลายคน
เพราะราชการอังกฤษอนุโลมให้เรียนเพิ่มเติมและสอบเลื่อนขั้นไปเรื่อย ๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 22 ก.พ. 11, 04:37
|
|
กงสุลฝรั่งเศสในเมืองไทยในระยะต่อมาคือ ดร. อาร์มองต์ ได้เสนอพระนามกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
ไปยังกระทรวงศึกษาธิการและศิลปากร(Ministere de I'Instruction Publique et des Beaux Arts) ที่กรุงปารีส
แบะทรงได้รับประกาศนียบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาช่าง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๖
(อ่านมาจาก ของสวยของดีครั้งแผ่นดินพระพุทธ้จ้าหลวง ของ ศาสตาจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ พิมพ์ครั้งที่ ๓ (แก้ไขเพิ่มเติม) พ.ศ. ๒๕๕๓ หน้า ๓๔)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33422
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 22 ก.พ. 11, 09:29
|
|
^ ขอบคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ ************************ บ็อกบรรยายไว้ว่า ห้องนี้สว่างด้วยตะเกียงน้ำมันมะพร้าวนับเป็นร้อยๆดวง ผนังประดับกระจกอีกมากมายช่วยสะท้อนแสงให้สว่างไสว สุดปลายห้อง จัดเครื่องแก้วตั้งไว้เหมือนเป็นที่บูชา ตั้งตะเกียงไว้เต็ม และบนยอดสุดตั้งพระพุทธรูปปิดทองไว้องค์หนึ่ง (คงหมายถึงโต๊ะหมู่บูชา) เขาบรรยายเจ้าคุณจอมมารดาเอมไว้ว่า เป็นสตรีสูงอายุท่าทีภูมิฐาน สีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสเป็นมิตร ส่วนอีกคนหนึ่งดูเผินๆ เหมือนเด็กหนุ่มวัยรุ่นอายุสัก ๑๔-๑๕ รูปร่างบอบบาง ผมตัดสั้น แต่ที่จริงไม่ใช่เด็กชาย หากแต่เป็นหญิงสาว อายุน่าจะไม่ต่ำกว่า ๑๘ แล้ว ทรงเป็นพระขนิษฐาพระองค์เล็กของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ สตรีทั้งสอง จับมือกับบ็อกตามธรรมเนียมตะวันตก มีทาสถือถาดเงินวางดอกไม้มาประทานผู้เข้าเฝ้าคนละช่อ หมอสมิธผู้เข้าเฝ้ามอบยาดมให้เจ้าคุณเอมหนึ่งขวด ท่านก็มีท่าทีพอใจมาก บ็อกเล่าว่าเจ้าภาพสตรีทั้งสองต้อนรับและสนทนากับเขาอย่างยิ้มแย้มเป็นมิตร พูดคุยด้วยนาน โดยเฉพาะเจ้าคุณเอม เป็นคนช่างพูดช่างคุย จนมิสเตอร์นิวแมนผู้ทำหน้าที่ล่าม ต้องทำหน้าที่ไม่ขาดปาก จนกระทั่งบ็อกหิวจัด เพราะเลยเวลาอาหารเย็นไปแล้ว ก็เลยกราบทูลลา กลับออกมาเฝ้ากรมพระราชวังบวรฯซึ่งประทับอยู่ที่เดิม ไม่ได้เสด็จเข้าไปฝ่ายในด้วย กรมพระราชวังบวรฯ พระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำให้บ็อก บนพระตำหนักอีกหลังหนึ่ง แต่ทรงขอพระองค์ไม่ร่วมเสวยด้วย อาหารนั้นน่าจะเป็นดินเนอร์แบบฝรั่ง บ็อกเล่าว่ามีมหาดเล็กรับใช้และมีวงดนตรีเล่นทั้งเพลงฝรั่งและไทยให้ฟังด้วย อย่างหลังนี้ ถ้าเป็นวงมโหรีของไทย น่าจะมีการเรียบเรียงเสียงประสานดนตรีแบบฝรั่งละมัง?
ทีนี้ลองมาดูกันว่า เราพอรู้อะไรบ้างเพิ่มเติมจากคำบอกเล่าของบ็อก สตรีฝ่ายในของวังหน้า อย่างน้อยก็เจ้าคุณเอมและพระขนิษฐาองค์เล็กของกรมพระราชวังบวรฯ น่าจะทันสมัย คุ้นเคยในการรับแขกต่างชาติต่างภาษามานานปี เห็นได้ว่าเจ้าคุณเอมซึ่งมีวัย ๖๔ ปีแล้ว ไม่ได้มีท่าทีเงียบขรึมหรือไว้ตัวอย่างคนไม่เคยชิน ตรงกันข้ามกลับพอใจในการพูดคุยรับรู้เรื่องต่างๆของฝรั่งเป็นอย่างดี ท่านอาจจะเคยตามเสด็จสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ออกรับแขกเมืองที่มาเฝ้าในวังหน้ามาก่อนก็เป็นได้ ขนาดในวังหน้ามีโฮเต็ลรับรองแขกต่างชาติ ก็คงมีฝรั่งมาเฝ้าไม่ขาดสาย เมื่อมาถึงวังหน้ารัชกาลที่ ๕ เจ้าคุณเอมก็ยังคงมีมิตรสัมพันธ์กับอาคันตุกะต่างแดนทั้งหลายอยู่ เห็นได้จากท่านก็หัดพระธิดาให้ออกรับแขกฝรั่งต่างๆอย่างไม่เก้อเขินด้วยเช่นกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33422
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 22 ก.พ. 11, 11:32
|
|
กลับมาดูเรื่องเจ้าคุณจอมมารดาเอม กันบ้าง ดิฉันไม่ทราบว่าท่านเข้าวังเป็นหม่อมของของเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ (หรือสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ)ตั้งแต่พ.ศ.ใด แต่ท่านมีพระองค์เจ้าองค์แรกเมื่ออายุ ๑๘ ปี พระองค์เจ้าหญิงประสูติในพ.ศ. ๒๓๗๘ คือ ๖ ปีหลังสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ลาผนวช (ในพ.ศ. ๒๓๗๒) เป็นพระธิดาพระองค์แรกในเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศฯ ขอลำดับพระโอรสธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ที่ประสูติแต่เจ้าคุณจอมมารดาเอม ดังนี้ ๑ พระองค์เจ้าหญิง (ไม่มีพระนาม) ประสูติพ.ศ. ๒๓๗๘ สิ้นพระชนม์ ๒ พระองค์เจ้าชายยอร์ช วอชิงตัน ประสูติ พ.ศ. ๒๓๘๑ คนทั้งหลายเรียกพระนามว่า พระองค์เจ้ายอด ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯพระราชทานนามใหม่ ว่า พระองค์เจ้าชายยอดยิ่งยศ บวรราโชรสรัตนราชกุมาร ต่อมาคือกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ๓ พระองค์เจ้าชายปรีดา ประสูติ พ.ศ.๒๓๘๕ ๔ พระองค์เจ้าชายเนาวรัตน์ กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ ประสูติพ.ศ. ๒๓๘๘ ๕ พระองค์เจ้าหญิงวงจันทร์ ประสูติพ.ศ. ๒๓๙๓
ตอนที่บ็อกเข้าเฝ้าพระองค์เจ้าหญิงวงจันทร์ แล้วคะเนว่าท่านดูเหมือนเด็กรุ่นๆอายุ ๑๔-๑๕ ทั้งๆคงมีพระชนม์ไม่ต่ำกว่า ๑๘ นั้น แกคาดผิดไปไกล เพราะในปีนั้นพระองค์หญิงทรงมีพระชันษา ๓๑ แล้ว
พระองค์เจ้าหญิงวงจันทร์ทรงมีพระชนม์ยืนยาวมาจนถึงรัชกาลที่ ๖ เป็นเจ้านายฝ่ายในของวังหน้าที่มีความสำคัญยิ่งพระองค์หนึ่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ โปรดเกล้าฯให้พระองคเจ้าวงจันทร์ทรงสำเร็จราชการฝ่ายในวังหน้า แทนพระองค์เจ้าสุดาสวรรค์ที่สิ้นพระชนม์ไปก่อน นับเป็นเจ้านายสำคัญฝ่ายในองค์สุดท้ายของวังหน้า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ พระองค์เจ้าวงจันทร์สิ้นพระชนม์ เจ้านายข้างในของวังหน้าเหลืออยู่น้อยพระองค์ สมัครพระทัยจะเสด็จไปอยู่ในพระบรมมหาราชวัง พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ จึงพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้เจ้านายฝ่ายในพระราชวังบวรฯทรงย้ายไปประทับในพระราชวังหลวงทั้งหมด พระราชมณเฑียรสถานในพระราชวังบวรฯซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิกรมพระราชวังบวรฯก็ชำรุดทรุดโทรม ไม่สมควรจะเป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิต่อไป จึงโปรดฯให้เชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระอัฐิ กรมพระราชวังบวรฯทั้ง ๔ พระองค์ จากพระราชวังบวรฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ มาประดิษฐานไว้ที่พระวิหารพระธาตุ ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ส่วนที่วังหน้านอกจากบริเวณพิพิธภัณฑ์สถานนั้น ก็อยู่ในความดูแลของกระทรวงกลาโหมแทน
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 ก.พ. 11, 12:25 โดย เทาชมพู »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33422
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 23 ก.พ. 11, 12:24
|
|
ดังที่บ็อกกล่าวไว้ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทรงโปรดการช่างด้านต่างๆ มีฝีมือเป็นที่เลื่องลือ งานช่างวังหน้าที่ตกทอดมาเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่ล้ำค่าถึงปัจจุบัน มีอย่างน้อย ๒ อย่าง อย่างแรกคือคือเครื่องเคลือบกระเบื้องลายน้ำทอง เขียนลวดลายเรื่องรามเกียรติ์ กรมพระราชวังบวรฯ ทรงสั่งซื้อเครื่องถ้วยสีขาวจากต่างประเทศมาเขียนสี และเผาเอง เขียนสีเป็นภาพรามเกียรติ์ พระอภัยมณี เป็นชามฝา และ กระโถนค่อม สำหรับกระโถนค่อม เขียนภาพรามเกียรติ์ตอนต่าง ๆ เป็นภาพสีสอดเส้นทอง ทรงทำประทานเจ้านายมีจำนวนไม่มากนัก ปัจจุบัน เป็นที่เรียกกันในหมู่นักสะสมว่า "เครื่องกระเบื้องเตากรมพระราชวังบวร" ดิฉันไม่มีรูป ถ้าใครมีกรุณานำมาลงในกระทู้ให้ชมกัน จะขอบคุณยิ่ง
อีกอย่างหนึ่ง คือหุ่นวังหน้า ละครหุ่นเป็นที่โปรดปรานของเจ้าคุณจอมมารดาเอม หุ่นวังหน้าที่ว่าจึงประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้เล่นละครหุ่น ทั้งหุ่นจีนและหุ่นไทย มีบทสำหรับการเล่นหุ่นชุดวังหน้าโดยเฉพาะ เป็นบทพระราชนิพนธ์ในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ดิฉันจะนำมาให้อ่านกันท้ายกระทู้นี้ ก่อนอื่นขอเล่าถึงความเป็นมาของหุ่นในประเทศไทยเสียก่อน
ประวัติการสร้างหุ่นมีหลักฐานว่ามีตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่ไม่เรียกว่า หุ่น เรียกว่า "กทำยนตร" แต่เป็นหุ่นชนิดไหน ดิฉันหารายละเอียดมากกว่านี้ไม่ได้ มีบันทึกเรื่องหุ่นเป็นหลักฐานชัดเจนก็เมื่อถึงสมัยอยุธยา อยู่ในจดหมายเหตุของบาทหลวงตาชาร์ด และลาลูแบร์ ราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเดินทางมากรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จดหมายเหตุ ทั้งสองฉบับได้บันทึกถึงการเล่นหุ่นเอาไว้ตรงกัน ทำให้รู้ว่าอย่างน้อยในสมัยสมเด็จพระ นารายณ์มหาราช อยุธยาก็มีหุ่นแล้ว จัดเป็นการแสดงให้ประชาชนได้ชม และคงเป็นงานช่างที่ทำกันเป็นกิจจะลักษณะ ถึงกับมี กรมช่างหุ่น อยู่ในกรมช่างสิบหมู่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33422
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 23 ก.พ. 11, 13:07
|
|
การแสดงหุ่นเป็นการละเล่นที่มีสืบเนื่องกันมาตลอดสมัยอยุธยา วัฒนธรรมนี้ยังคงสืบทอดมาจนถึงสมัยธนบุรี หลักฐานว่าเล่นหุ่นในงานพระราชพิธีต่าง ๆ ปรากฎอยู่ในหมายรับสั่งหลายฉบับ เช่น พ.ศ. ๒๓๑๙ พระราชพิธีพระราชทานพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระพันปีหลวง กรมหลวงพิทักเทพามาต (พระมารดาของสมเด็จพระเจ้าตากสิน) ณ วัดบางยี่เรือนอก ให้มีการแสดงโขน งิ้ว หนังกลางวัน และหุ่น อีกครั้งหนึ่ง ในพระราชพิธีอัญเชิญพระแก้วมรกตจากนครเวียงจันทร์ ประเทศลาว มาประดิษฐานในพระราชวังกรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๒ มีการมหรสพสมโภชพระแก้วมรกต ด้วยการเล่นมหรสพต่าง ๆ รวมถึงการแสดงหุ่นด้วย การ สร้างตัวหุ่นไทย นิยมสร้างจำลองจากตัวละครในวรรณคดี หรือจำลองจากตัวโขนในเรื่องรามเกียรติ์ เลียนแบบตั้งแต่เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ ตลอดจนลีลาท่ารำ บางคนอาจเคยดูการแสดงหุ่นมาแล้ว คงแปลกใจว่าทำไมมีหุ่นใหญ่บ้างเล็กบ้าง หรือหุ่นบางโรงก็มีให้เห็นทั้งตัวมีแขนขาครบ บางโรงก็มีแต่ท่อนบน ท่อนล่างเป็นผ้าคลุมเอาไว้เฉยๆ เหมือนหุ่นมือของฝรั่ง จึงขออธิบายว่าหุ่นไทยไม่ได้มีแบบเดียว แต่แบ่งได้ถึง ๔ ประเภท ๑. หุ่นหลวง ๒. หุ่นวังหน้า สมัยกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ๓ หุ่นกระบอก ๔. หุ่นละครเล็ก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 23 ก.พ. 11, 13:10
|
|
เครื่องกระเบื้องเตากรมพระราชวังบวร ในภาพเขียนลายเรื่องพระอภัยมณี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33422
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 23 ก.พ. 11, 13:11
|
|
นำรูปมาให้ดูค่ะ 1. หุ่นหลวง เป็นหุ่นขนาดใหญ่ สูงประมาณ 1 เมตร เครื่องแต่งกายคล้ายกับเครื่องแต่งกายของโขนหรือละคร การเชิดหุ่นหลวงยืน เชิดด้วยคนคนเดียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33422
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 23 ก.พ. 11, 13:16
|
|
ขอบคุณคุณ siamese ค่ะ ภาพประกอบมาเร็วทันใจ  ดูจากเครื่องกระเบื้อง เงือกในเรื่องพระอภัยมณี ตามความเข้าใจสมัยรัชกาลที่ ๕ หรือตามความเข้าใจของวังหน้า เป็นเงือกที่ท่อนล่างเป็นปลา แบบ mermen และ mermaid ของฝรั่ง ไม่ใช่เงือกแบบละครรำของไทยแล้วมีหางปลาต่อออกไปทางข้างหลัง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 23 ก.พ. 11, 13:26
|
|
เครื่องกระเบื้องเตากรมพระราชวังบวร ในภาพเขียนลายเรื่องพระอภัยมณี ทรงชามฝา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 23 ก.พ. 11, 13:36
|
|
กระโถนค่อม เขียนลายเรื่องรามเกียรติ์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 23 ก.พ. 11, 13:46
|
|
หุ่นหลวง วังหน้าครับ อ.เทาชมพู
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33422
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 23 ก.พ. 11, 14:57
|
|
^ ๒. หุ่นวังหน้า ที่กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญโปรดฯให้สร้างขึ้น เป็นหุ่นขนาดเล็กสูงประมาณ 1 ฟุต มี 2 ชนิด คือ หุ่นจีนและหุ่นไทย ๑. หุ่นจีน มีลักษณะเป็นหุ่นมือตระกูลฮกเกี้ยน เครื่องแต่งกายเลียนแบบเครื่องงิ้ว แต่ท่อนล่างเป็นถุงผ้าสำหรับคลุมมือ มีขา และเท้า ใช้นิ้วเชิดบังคับให้เคลื่อนไหว ๒. หุ่นไทย มีลักษณะผสมระหว่างหุ่นจีนและหุ่นหลวง คือ มีขนาดเท่าหุ่นจีน แต่ใช้เครื่องแต่งกายและกลไกบังคับแบบหุ่นหลวง คุณ siamese นำมาให้ดูแล้วค่ะ http://www.oknation.net/blog/print.php?id=95944
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33422
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 23 ก.พ. 11, 15:00
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|