เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 20
  พิมพ์  
อ่าน: 130252 เจ้าชายยอร์ช วอชิงตัน แห่งสยาม กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ วังหน้าพระองค์สุดท้าย
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 225  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 13:29

ขอความกรุณา  ถอดวันเดือนปีในฉันท์บทนี้ให้หน่อยนะคะ  ว่าเสด็จออกจากพระนครในวันเดือนปีอะไร

 อาสาธมาสะพุธวาร                นวกาฬปักษ์ไพ
บูลย์ศักราชยุติใน                   อติกาลกำหนดมี
ในสังวัจฉรสหสา                    พิสตาและพาวี
วานรโทศกบดี                      ศรราชเสด็จไคล ฯ


อาสาธมาส      - เดือนแปด
พุธวาร           - วันพุธ
นว               - เก้า
กาฬปักษ์        - ข้างแรม
สังวัจฉระ        - ปี
สหัสสะ          - หนึ่งพัน
พิสตา           - สองร้อย
พาวี (พาวีส)    - ยี่สิบสอง
วานร            - ลิง

รวมความได้ว่า

"วันพุธ เดือนแปด แรม ๙ ค่ำ ปีวอกโทศก จุลศักราช ๑๒๒๒"

เทียบเป็นวันเดือนปีตามปฏิทินทางสุริยคติ

วันพุธ เดือนแปด แรม ๙ ค่ำ ปีวอกโทศก จุลศักราช ๑๒๒๒  ไม่มี
มีแต่  วันพุธ เดือนแปด แรม ๘ ค่ำ ปีวอกโทศก จุลศักราช ๑๒๒๒
ตรงกับวันที่  ๑๑  กรกฎาคม   ๒๔๐๓
ถ้าเป็นแรม ๙ ค่ำ  จะตรงกับวันพฤหัสบดี  ที่ ๑๒  กรกฎาคม  ๒๔๐๓

ปฏิทินสำหรับต้นวันเดือนจันทรคติกับสุริยคติ ของกรมวิชชาการ กระทรวงธรรมการ
พิมพ์ครั้งที่ ๒  พุทธศักราช  ๒๔๗๔
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 226  เมื่อ 31 มี.ค. 11, 13:35

กรมพระราชวังบวรฯ ทรงรู้จักวิธีเล่นทั้งสัมผัสสระ และสัมผัสพยัญชนะ ในแต่ละวรรค   วิธีแต่งแบบนี้เป็นชั้นเชิงระดับสูงของกวี    
มองในแง่ฉันทลักษณ์   ฉันท์บังคับแค่ครุลหุและสัมผัสระหว่างวรรค   ไม่ได้กำหนดสัมผัสภายในวรรค      คนที่รู้จักสัมผัสตามบทบังคับ ถือว่าแต่งได้ถูกต้อง  แต่อาจจะยังไม่ถึงขั้นไพเราะก็ได้
ความไพเราะของการแต่ง อยู่ที่ถ้อยคำประกอบชั้นเชิงการแต่งที่เรียกว่า กวีวรโวหาร   การใช้ถ้อยคำที่เล่นสัมผัสสระและพยัญชนะในฉันท์เป็นโวหารกวีที่แสดงได้ยากหนักขึ้นไปอีก  มากกว่าความยากของการแต่งฉันท์โดยทั่วไป  
กวีที่แต่งโวหารได้สละสลวยระดับนี้ถือว่าเป็นกวีเอก    หายากกว่ากวีด้วยกัน

ลองสังเกตการเล่นคำในฉันท์  ที่มีทั้งสัมผัสพยัญชนะ และสัมผัสสระ

เจ็บเรียมจากรักแรมถนอม             พนิดาเดียวออม
สวาทนิราศแรมชม
แรมเชยเสวยทุกข์ระทม                ระทวยอารมณ์
กระอุอุระประปราน

สัมผัสพยัญชนะ  คำคู่
เจ็บเรียม-จากรัก
แรมชม  -แรมเชย
ระทม-ระทวย
(ก)ระอุ-อุระ


สัมผัสพยัญชนะ  เดี่ยว
รัก- แรม
(พนิ)ดา-เดียว
(นิ)ราศ-แรม
ทุกข์ -(ระ)ทม

สัมผัสสระ หรือสัมผัสคำ
สวาท-นิราศ
(อุ)ระ -ประ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 227  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 12:49

นอกจากฉบัง  บทบรรยายสถานที่ที่เรือผ่านไป   ก็ยังใช้ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ ด้วย

อินทรวิเชียร์ ๑๑ เป็นฉันท์ที่มีบังคับน้อย   จึงค่อนข้างง่ายเมื่อเทียบกับฉันท์ชนิดอื่นเช่นวสันตดิลก ๑๔ หรือสัททุล ฯ ๑๙   อินทรวิเชียร มีลหุหรือสระเสียงสั้นเพียง ๘ ตัวใน ๑ บท(๔ วรรค)    นอกนั้นเป็นครุหรือสระเสียงยาว   และมีลหุคู่บังคับเพียง ๒ คู่เท่านั้น
ทำให้สามารถใส่คำไทยที่ส่วนใหญ่เป็นครุลงไปได้ง่าย    ไม่ผิดฉันทลักษณ์    
เช่นในบทนี้ มีชื่อ คุ้งคอแหลม (บางคอแหลม?)  และชื่อผลไม้ต่างๆ เรียงเข้าด้วยกัน

ขนบการชมธรรมชาติในเรื่องนี้เป็นภาพ realistic  เป็นแบบเดียวกับนิราศเรื่องต่างๆ ก่อนหน้านี้ อย่างของนายนรินทร์ธิเบศร์และนิราศสุนทรภู่  มองเห็นต้นหมากรากไม้และป่าไม้สองข้างเจ้าพระยา เมื่อพ้นตัวเมืองหลวงออกมาแล้ว ว่าเขียวชอุ่มอุดมสมบูรณ์ด้วยไม้ยืนต้น

มีไม้ยืนต้นบางชื่อที่ไม่คุ้นหูกันแล้วในสมัยนี้  คือทิ้งถ่อน  เป็นชื่อไม้เนื้อแข็งชนิดหนึ่ง  เป็นไม้ยืนต้นสูง  ออกดอกสีขาวกลมฟู   อย่างในรูปนี้
เมื่อ ๑๐๐ กว่าปีก่อน   สองฟากแม่น้ำคงจะมีไม้ยืนต้นอยู่มาก  



อีกอย่างคือพุมเรียง หรือชำมะเลียง




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 228  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 15:31

มีบทนี้มาฝากให้แปล ว่ามีสัตว์อะไรบ้าง


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 229  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 15:57

มีบทนี้มาฝากให้แปล ว่ามีสัตว์อะไรบ้าง

ส่งการบ้านครับ  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 230  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 16:06

ที่ขีดเส้นมา  ถูกเกือบหมด เว้นแต่   เวฬุภักษ์   ไม่ใช่สัตว์ค่ะ
ยังเหลืออีกหลายตัวค่ะ    เปิดโอกาสให้ท่านอื่นได้คะแนนบ้าง

ยิงฟันยิ้ม

 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 231  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 16:10

เพิ่มเติม

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 232  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 16:13

เท่าที่ทราบนะคะ  ยิงฟันยิ้ม

มิคี = นางเนื้อ
กระทิง = วัวกระทิง
เอเณยย = กวาง
โค = วัว
ลา = ลา
สุกร = หมู
พยัคฆ = เสือโคร่ง
มหิงส์ = ควาย
ฟาน = เก้ง
มฤค = กวาง เก้ง
ช้าง = ช้าง
อุโบสถ = ช้าง
คช = ช้าง
พัง = ช้างตัวเมีย

คำว่า "เวฬุภักษ์" ที่ ท่านsiamese ขีดเส้นว่าเป็นสัตว์สี่เท้า แปลว่า ต้นไผ่ที่เป็นอาหาร ค่ะ

ส่วนคำที่ไม่ทราบคำแปล "แปละ" "ปสัก"  "ทิปิ" (จำได้เลาๆ ว่า ทิปิ แปลว่าเสือ-ไม่ค่อยแน่ใจค่ะ)
รบกวนผู้รู้ ช่วยชี้แนะด้วยค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 233  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 16:14

โหววว คุณดีๆสุดยอดมาก ปรบมือดังๆๆๆให้ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 234  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 16:35

ปสัก  มาจาก ปสกฺกติ  บาลี แปลว่า ดำเนินไป เดินไป

แปละ ไม่มีในพจนานุกรม  แต่พิจารณาจากบริบท
คงจะเป็นคำขยายกริยาเดินของสัตว์ที่เอ่ยมาข้างหน้านั้น

ทิปิ มาจาก ทีปิ ทีปี หรือ ทีปิก  แปลว่า เสือเหลือง เสือโคร่ง

เอเณยย มาจาก  เอเณยฺย มีความหมายเหมือนกับ  เอเณยก  เอณิมิค เอณิ เอณ
แปลว่า  ละมั่ง  หรือ เนื้อทราย   ในบาลีมีศัพท์ว่า เอณิชงฺฆ แปลว่า
มีแข้งเรียวดุจแข้งเนื้อทราย (อันเป็นลักษณะประการหนึ่งของมหาบุรุษ)
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 235  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 16:41

 ^ ท่านนี้สิคะถึงจะเรียกว่า "สุดยอด" ตัวจริง  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 236  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 16:45

จะเข้ามาบอกว่า  รอคุณหลวงเล็ก  ไม่ทันเสียแล้ว ท่านรวดเร็วปานกามนิตหนุ่ม
คำถามแบบนี้เรียกว่าคำถามเช็คเรตติ้ง และเช็คคนอ่าน
ไม่งั้นก็ไม่รู้ว่ามีขาประจำคนไหนของเรือนไทยเข้ามาอ่านบ้าง  ยิ้มเท่ห์



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 237  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 16:59

แปละ  คำนี้ไม่แน่ใจความหมาย   และไม่รู้ว่ามาจากภาษาอะไร  ฝากไว้เป็นการบ้านต่อไปเผื่อท่านใดไปเจอเข้า

มีอีกคำหนึ่ง อยู่ระหว่าง มิคิ และ กระทิง  คือคำว่า โรหิต
ถ้าเป็นมิคิโรหิต   = กวางแดง ? คำนี้ควรเป็น โรหิตมิคิ หรือไม่  หรือว่าใช้แบบนี้ได้ เช่นตัวอย่างในนามสกุล กูรมโรหิต ซึ่งแปลว่าเต่าแดง
ถ้าเอาโรหิตไว้ข้างหน้า   ก็จะเป็น โรหิตกระทิง   ก็เป็นคำสมาสระหว่างบาลีกับภาษาอื่น    ไม่ใช้กันอีกน่ะแหละ

ฝากการบ้านไว้อีกข้อค่ะ 

บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 238  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 17:11

โรหิต คำนี้ จะมาจากคำว่า รหิต ที่แปลว่า หายไป ได้หรือไม่คะ
แปลโดยรวมให้เห็นภาพ กระทิงวิ่งไล่ นางเนื้อวิ่งหนีหายไป ทำนองนี้ได้ไหมคะ  ฮืม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 239  เมื่อ 06 เม.ย. 11, 20:41

^
ไม่น่าจะเป็นแบบนั้นนะคะ

กลับมาเรื่องการแต่งฉันท์
ถ้าใครหัดแต่งฉันท์คงจะรู้ว่า การหาคำลหุ มาลงในแต่ละวรรค มันยากเย็นขนาดไหน     ยิ่งถ้าเป็นสัททุล ฯ ๑๙ ที่มีลหุเรียงกัน ๓ ตัวรวด ถือว่าเหงื่อตกกว่าจะผ่านไปได้แต่ละบาท        มือใหม่หัดแต่งฉันท์จึงมักจะวนเวียนอยู่กับคำซ้ำๆ เพราะหาคำใหม่ไม่ถูก  คลังคำในสมองยังไม่มากพอ      หรือไม่ก็หาได้แต่คำที่ไม่ค่อยจะมีความหมาย   เอาเป็นว่าลงตรงคำลหุได้ก็ต้องฉวยไว้ก่อน  แบบคำว่า ก็   จะ   สิ   อะไรพวกนี้

แต่ฉันท์ของกรมพระราชวังบวรฯ เป็นฉันท์ที่รื่นหูและหนักแน่นในถ้อยคำที่ทรงสรรหามา       ความหลากหลายของคำยากๆเหล่านี้แสดงว่าทรงรู้ภาษาโบราณดีทีเดียว  ทั้งบาลี สันสกฤตและเขมร

     เมิลเหล่าเฉนียนศิขรภัณฑ์                 รวหลั่นชะวากผา
งอกเงื้อมชะโงกวรรตา                          วิยแก้วประพาฬแนม
     บางแห่งขจีขรติกาฬ์                        วชิราประกอบแกม
บางแห่งก็เหลืองและนิลแซม                   รุจิเรขสุโรจน์สี

     ลีลาการแต่งของกรมพระราชวังบวรฯ ทรงแต่งตามขนบของนิราศ  คือเริ่มการเดินทาง   ชมทิวทัศน์สองข้างแม่น้ำ  บันทึกสถานที่ และที่เว้นไม่ได้ก็คือบทครวญถึงนาง      สำนวนโวหารการเปรียบเทียบก็ทรงทำตามขนบ     เห็นอบเชยเหมือนเคยเชยนาง เห็นดอกเล็บมือนางเหมือนเล็บของนางฯลฯ  ขนบแบบนี้พบได้หลายแห่งในวรรณคดีสมัยรัชกาลที่ ๒ อย่างอิเหนา และขุนช้างขุนแผน
    แต่สิ่งที่เป็นตัวของตัวเอง คือการใช้คำ      มีศัพท์ที่เราไม่ค่อยจะเห็นจากวรรณคดีเรื่องอื่นกันนัก   เหมือนว่าทรงเพลิดเพลินกับการเล่นศัพท์แปลกๆ เช่นคำว่าทุรัศ (= ยาก,ลำบาก)  ปฉิม( ปัจฉิม= สุดท้าย)  และทรงใช้อย่างมั่นพระทัยเสียด้วย
    อ่านแล้ว เกิดคำถามขึ้นมา ถึงพื้นฐานการศึกษาของเจ้านายพระองค์นี้   ว่าทรงมีใครเป็นอาจารย์
 

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 20
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.04 วินาที กับ 19 คำสั่ง