เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 20
  พิมพ์  
อ่าน: 130238 เจ้าชายยอร์ช วอชิงตัน แห่งสยาม กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ วังหน้าพระองค์สุดท้าย
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 16 มี.ค. 11, 15:58

จดหมายเหตุโหรของจมื่นก่งศิลป์ (หรุ่น) บันทึกได้กระชับมาก

ของแถม

บันทีกเกี่ยวกับวิกฤตการณ์วังหน้า

ณวัน ๓๑ ค่ำ รุ่งขึ้นข้าราชการต้องนอนประจำซองทุกกรม ณวัน ๖๑ ค่ำ กรมพระราชวังหนีเพลา ๘ ทุ่ม ออกจากวัง ไปอยู่กับนายห้างที่ ๒ กงสุลอังกฤษ ณวัน ๗๑ ค่ำ สมเด็จเจ้าพระยาให้เจ้าพระยาสุรวงษ์ไปเชิญเสด็จมาณจวน จึงเชิญให้เสด็จกลับวังก็ไม่กลับ ณวัน ๑๑ ค่ำ วังหลวงมีลายพระหัดถ์เชิญให้กลับก็หากลับไม่ ณวัน ๒๑ ค่ำ จึงประชุมข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยพร้อมกันว่า ทิ้งราชสมบัติไปอยู่กับกงสุล จะชอบจะผิดประการใดให้ทำจดหมายไปยื่น ณวัน ๓๑ ค่ำ มีลายพระหัดถ์ออกมาว่าที่จะยื่น นั้นให้งดไว้ จะเชิญเสด็จกลับ ตกลงกันจะกลับ

 ขยิบตา
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 16 มี.ค. 11, 16:10

ครั้นแล้วสมเด็จเจ้าพระยามหาสุริยวงศ์ ได้ให้เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ที่สมุหกลาโหมลงไปที่บ้านกงสุลเยเนราลอังกฤษ เชิญเสด็จขึ้นมาที่บ้านท่าน และเมื่อกรมพระราชวังบวรมาถึงที่บ้าน เจ้าพระยาภูธราภัย, เจ้าพระยาภาณุวงษ์มหาโกษาธิบดีพร้อมกันที่อยู่ที่นั้นแล้ว

สมเด็จเจ้าพระยามหาสุริยวงศ์และเหล่าเสนาบดีได้กล่าวน้าวหน่วงหลายประการ ให้เสด็จกลับขึ้นมาอยู่ในพระราชวังเสียตามเดิม ท่านก็มิยอมที่จะกลับมา สมเด็จเจ้าพระยามหาสุริยวงศ์เห็นว่าท่านไม่ยอมขึ้นมาอยู่ที่พระราชวังแล้ว จึงได้ชวนกรมพระราชวังบวรให้พักอยู่ที่บ้านท่าน ท่านก็ไม่ยอมที่จะอยู่

"ท่านได้ไปอาศัยอำนาจคอเวอนแมนต์ (Government) อังกฤษ...ท่านจะต้องคอยฟังคอเวอนแมนต์อังกฤษว่าประการใดก่อน" ท่านกล่าว หลังจากนั้นมิสเตอร์นิวแมนก็พากรมพระราชวังบวรวิชัยชาญกลับไปบ้านกงสุลเยเนราลอังกฤษ ทำให้สมเด็จเจ้าพระยามหาสุริยวงศ์ และเหล่าเสนาบดีมีความเสียใจเป็นอันมาก ซึ่งทั้งสองฝ่ายยังคงมีความเคลือบแคลงกันอยู่มาก

หลังจากนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระอักษรถึงกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ "ข้อความในหนังสือชึ้แจงความในใจมิได้ทำอันตรายแก่กรมพระราชวังบวรทุกประการ และยังแจ้งว่าหากกรมพระราชวังบวรเห็นการอย่างไรที่จะให้เป็นการเรียบร้อยสิ้นสงสัยแก่กันได้ ก็ให้กรมพระราชวังบวรจดหมายชี้แจงความประสงค์ให้ทราบ " อีกทั้งยังเชิญเสด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระบำราบปรปักษ์ ซึ่งเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอมีเกียรติยิ่งใหญ่ในราชตระกูล ให้ลงไปพูดจาโน้มน้าวเชิญเสด็จกลับมาอีกครั้ง ไม่นานกรมพระราชวังบวรทรงมีหนังสือกลับมา ความว่า

"ท่านได้ไปอาศัยอำนาจคอเวอนแมนต์อังกฤษแล้ว" ด้วยข้อความสั้นๆ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 16 มี.ค. 11, 16:15

กรุณาลงมาให้อ่านอีกนะครับ คุณหลวงเล็ก  ยิงฟันยิ้ม

จดหมายเหตุโหรของจมื่นก่งศิลป์ (หรุ่น) บันทึกได้กระชับมากจริงๆครับ คุณเพ็ญชมพู  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 16 มี.ค. 11, 17:07


"ขุนนางลงไปเฝ้าแต่เช้าค่ำ              นอนประจำอยู่พิทักษ์ก็อักโข
ทรงปรึกษาข้อความตามเดโช          ที่มีมโนสัตย์ถวายหลายพระยา
ที่หนึ่งเนื้อเชื้อตระกูลไพบูลย์สมบัติ    ที่โทถัดนามวิสูตร์โกษา
ที่สามสุรินทร์ราชสมญา                  จัตวาจำนงสรไตรย
ที่ห้าอัศดาเรืองเดช                        พระยาประเสริฐหมอวิเศษที่หกใส่
ที่เจ็ดนี้ภักดีภูธรไซร้                       ที่แปดไว้ชื่อพระยาโยธาควร
เป็นผู้ทูลกิจจาสารพัด                     ขัตติยวงศ์ทรงดำรัสสำรวลสรวล
พอเคลื่อนคลายวายจิตต์คิดรัญจวน    ประมาณประมวลตั้งแต่มาห้าสิบวัน..."


กลอนคุณหลวงบ่งบอกรายชื่อขุนนางผู้ตามเสด็จได้ครบถ้วนดี
ดูจากนามตำแหน่งแล้ว ย่อมเห็นว่าเป็นผู้ใกล้ชิดกับกรมพระราชวังบวร
ด้วยดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในวังหน้าทั้งสิ้น

1. พระยาไพบูลย์สมบัติ จางวางกรมพระคลังสินค้า
(อาจจะเป็น พระยาไพบูลย์สมบัติ (เอี่ยม บุนนาค) บุตรสมเด็จองค์น้อย ที่กินตำแหน่งนี้มาแต่รัชกาลที่ 4)
2. พระยาวิสูตรโกษา ปลัดทูลฉลองกรมพระคลัง
3. พระยาสุรินทร์
(เป็นได้ทั้ง "สุรินทรราชเสนี" หรือ "สุรินทรราชเสนา" แต่ข้อมูลคุณไซมีสว่าเป็น พระยาสุรินทรราชเสนี ปลัดทูลฉลองกรมกลาโหม)
4. พระยาจำนงสรไกร ไม่แน่ใจว่าดำรงตำแหน่งใดในวังหน้า
5. พระยาอัษฎาเรืองเดช จางวางกรมพระตำรวจ
6. พระยาประเสริฐ (ศาสตร์ธำรง) จางวางกรมหมอ
7. พระยาภักดีภูธร จางวางกรมรักษาพระองค์
8. พระยาโยธา (เขื่อนขันธ์) จางวางกรมล้อมพระราชวัง

แปลกอยู่อย่างที่ข้าราชการตามเสด็จนั้นไม่มีใครสักคนที่ถึงชั้นเสนาบดีวังหน้าเลย
เป็นเพียงจางวางกรม หรือปลัดทูลฉลองเท่านั้น ข้อนี้น่าสงสัยยิ่ง ฮืม

คุณหลวง (ผู้ร่วมสมัย) น่าจะอธิบายได้ดี
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 17 มี.ค. 11, 08:00

และแล้วบุคคลที่ผมให้ความเคารพมากที่สุด คือ อ.NAVARAT.C ได้เข้ามาให้ข้อมูลที่น่าสนใจมาก โดย อ.NAVARAT.C ตั้งกระทู้ “นิราศกรมหมื่นสถิตย์” ว่าด้วยวิกฤตวังหน้า
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4297.0
และที่ http://www.monnut.com/board/index.php?topic=1725.0

อันเป็นข้อมูลหลายๆด้าน เพื่อให้ผู้อ่านได้มีมุมมองประกอบหลายๆด้าน มิใช่เพียงมิติเดียว อันจะเกิดอาการคิดเองไปเสียเปล่าๆ

จุดหนึ่งที่ท้าทายอยู่ในเรื่องราวทั้งหมดคือ "ความจงรักภักดี" ซึ่งผมได้อธิบายในมุมมองของผมแล้วในกระทู้นิราศกรมหมื่นสถิตย์ฯ ซึ่งเรื่องราวทั้งหลายเกิดจากอาศัยจุดอ่อนของมนุษย์ นั่นคือ "ความหวาดระแวงต่อกันและนำไปสู่การไม่พูดคุยกัน" นำมาเป็นข้อเล่นเพื่อให้กลุ่มบุคคลผู้มีอำนาจทั้ง ๒ ฝ่ายเกิดแตกหักกัน และต่างชาติก็จะเข้าแบ่งพื้นที่พระราชอาณาจักรสยาม โดยมีเหตุเริ่มจาก "บัตรทิ้ง หรือ บัตรสนเท่ห์"
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 17 มี.ค. 11, 08:36

ขอนำภาพสถานกงสุลอังกฤษ ที่พำนักของ มิสเตอร์น๊อกซ์ และเป็นสถานที่ๆ กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ เสด็จมาประทับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 17 มี.ค. 11, 09:24

ต่างชาติเข้ามามีบทบาท เจรจาแบ่งประเทศ  โกรธ

หลังจากที่กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ประทับอยู่ที่บ้านกงสุลอังกฤษแล้ว มีข่าวลือสะพัดกันในหมู่ราษฎรและกลุ่มชาวต่างประเทศมากมายถึงเหตุการณ์ดังกล่าว ว่าจะเกิดความรุนแรงหรือไม่ การค้าการขายได้หยุดชะงักลง ส่วนทางกงสุลอังกฤษและกงสุลฝรั่งเศส จึงได้เรียกเรือรบของตนเข้ามา โดยอ้างถึงเพื่อรักษาผลประโยชน์ของคนในอารักขา แต่ความจริงแล้วเป็นเพียงข้ออ้างเท่านั้น ที่จริงทั้งสองประเทศต่างต้องการแทรกแซงกิจการภายในของสยาม

วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๘ กงสุลอังกฤษและกงสุลฝรั่งเศส โดยมิสเตอร์นิวแมน และ มิสเตอร์การ์ยิเน ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยปัญหาดังกล่าว โดยให้ความเห็นเสนอให้ไทยแบ่งประเทศออกเป็น ๓ ส่วน

ส่วนที่ ๑. ด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ส่วนที ๒. ด้านตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ถึง แม่น้ำแม่กลอง เป็นของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาสุริยวงศ์

ส่วนที่ ๓. ตั้งแต่แม่กลอง ลงไป เป็นของวังหน้า


คงจะเห็นสภาพการเจรจานี้ กลายเป็นเรื่องแบ่งดินแดนไปเสียเฉยฝ่ายไทยไม่เห็นด้วยเนื่องจากเล็งเห็นว่าเป็นการจะเข้าแยกดินแดนล่าเมืองขึ้น แต่ไม่วายเรื่องราวจะเงียบลง มิสเตอร์นิวแมน กลับมีใบบอกไปยังผู้สำเร็จราชการอังกฤษ ประจำสิงคโปร์ คือ เซอร์ แอนดรู ตลาก ให้นำเรือรบแล่นมาแสดงอำนาจข่มขู่ เพื่อเป็นการบีบให้วังหลวงตัดสินปัญหาตามข้อเสนอดังกล่าวนี้
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 17 มี.ค. 11, 09:47

เป็นเวลาเกือบ ๑ เดือนหลังจากที่กงสุลอังกฤษและกงสุลฝรั่งเศสเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๑๘ ท่านเซอร์ แอนดรู คลาก ก็เดินทางมาถึงสยาม โดยเรือวิจิเลนท์ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้การต้อนรับอย่างสมเกียรติ โดยให้พักที่วังสราญรมย์
การเจรจาความจึงเกิดขึ้น ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรัสว่าเป็นกรณีพิพาท “ระหว่างตระกูลซึ่งพอจะตกลงกันได้” และได้ทำสัญญาระหว่างกันในอันที่จะไม่แทรกแซงเรื่องราวภายในของสยาม และไม่เห็นด้วยที่จะมีการแบ่งแยกสยามเป็น ๓ ส่วน ซึ่งได้ถูกแบ่งตามผลประโยชน์ของอังกฤษและของทางฝรั่งเศส

หลังจากได้ทำสัญญากันเรียบร้อยแล้ว เหตุการณ์ความตึงเครียดระหว่างวังหน้า – วังหลวงก็ได้ยุติลง โดยเสด็จกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ กลับคืนสู่วังหน้าอีกครั้ง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาสุริยวงศ์ ได้จัดเรือเก๋ง ซึ่งเป็นเรือพระที่นั่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมารับกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ กลับเพื่อให้สมพระเกียรติ ดังจุดยืนแห่งพระราชหัตถเลขาถึงกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ
“..ด้วยการที่เกิดขึ้นครั้งนี้เป็นการใหญ่ ไม่เคยมีเลย ฉันมีความเสียใจมาก เธอไปอาศัยอยู่บ้านกงสุลด้วยเหตุอันใด ฉันไม่ได้คิดฆ่าเธอ เธอมีความหวาดหวั่นข้อไหน เธอก็รู้อยู่เองว่าในแผ่นดินเราทุกวันนี้ ผู้ใดไม่มีความผิดที่ควรจะต้องฆ่าแล้วก็ฆ่าไม่ได้ ที่เธอมีความสะดุ้งหวาดหวั่นถึงชีวิตจะคิดการเกินไปดอกกระมัง...”
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 17 มี.ค. 11, 10:15

พระราชหัตถเลขาในสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีถึงกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 17 มี.ค. 11, 10:23

พระราชกำหนด ประกาศในวันเดียวกัน



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 17 มี.ค. 11, 10:44

จากพระราชกำหนด ที่คุณเพ็ญชมพู นำลงมาให้อ่านกัน ลองเทียบกับข้อเสอน ๑๐ ข้อของทางกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ

ข้อเรียกร้องรวม ๑๐ ประการของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ที่ทรงยื่นเสนอเพื่อยุติศึกวิกฤตการณ์ครั้งนี้ จะเห็นว่ามีสาระสำคัญดังนี้ 

๑.  ว่าที่ของเคยได้แลทำมาตั้งแต่ปีมะโรงสัมฤทธิศกอย่างใด  ข้อให้คงอยู่ตามเดิม  อย่าชักถอนตัดรอนลดเสีย

 ๒.  ว่าถ้ามีเหตุการณ์สิ่งใดสิ่งหนึ่ง  ที่ทำให้แปลกปราดกว่าตามเคย  เป็นที่สงสัยก็ให้มีพระราชหัตถเลขาไปมาไถ่ถามให้เป็นยุติธรรม  ถ้าไถ่ถามไม่สิ้นสงสัยแล้วขอให้แจ้งความกับท่านที่มีชื่อลงในหนังสือประนีประนอมก่อน  อย่าให้ทำการเป็นที่สะดุ้งตกใจเหมือนอย่างที่ทำมาแต่หลัง

 ๓.  ว่าอย่าให้ชักผู้ถอนคนให้ข้าพลัดเจ้าบ่าวพลัดนาย  ขอให้คงอยู่ตามเดิม 

 ๔.  ว่าอย่าให้คนทั้งปวงหมิ่นประมาท  ดูถูก  ด้วยกริยาและวาจาต่างๆ ได้

 ๕.  ว่าข้าราชการในพระราชวังบวรฯ เป็นถ้อยความสิ่งใด  ขอให้ชำระโดยยุติธรรมแล้วให้ต่อว่าได้ด้วย

 ๖.  ว่าเงินภาษีอากรที่เคยได้มาแต่ก่อนนั้น  ภาษีใด อากรใด ฟ้องขาด  เงินนั้นก็ขาดลงตามเงินในพระบรมมหาราชวัง
ภาษีใด อากรใดประมูลเงินขึ้นในพระบรมมหาราชวัง  เงินภาษีอากรในพระราชวังบวรฯ  ก็หาขึ้นด้วยไม่  มีแต่ขาดไปทุกปีๆ  ขอว่าถ้าเงินภาษีอากรในพระบรมมหาราชวังขึ้นก็ขอให้เงินในพระราชวังบวรฯ  ขึ้นด้วยตามร้อยละห้า ฤๅร้อยละสาม  ถ้าเงินตกก็ตกด้วยร้อยละห้า  ฤๅร้อยละสาม  ซึ่งมีอยู่ในภาษีอากรนั้นๆ

 ๗.  ว่าเดิมเงินภาษีอากรเคยได้มาแต่เดิมนั้นก็ตัดเสียหาได้ไม่  ขอให้ได้ตามเดิม

 ๘.  ว่าเจ้าพนักงานฝ่ายพระราชวังบวรฯ  เคยประทับตราตั้งเจ้าภาษีนายอากรด้วย  แต่ตัดเสียประมาณสองปีมาแล้ว บัดนี้จะขอให้ประทับตราตามเดิมจะได้รู้ตัวเจ้าภาษีนายอากรและเรียกร้องตักเตือนเงินในพระราชวังบวรฯ ได้โดยง่าย

 ๙.  ว่าปูนขาวที่ได้ส่งไปแต่พระบรมมหาราชวัง  ได้ใช้ทำการซ่อมแซมพระราชวังบวรฯ  ที่ชำรุดหักพังเป็นของสำหรับแผ่นดินปีละ  ๕๐๐-๖๐๐ เกวียนบ้าง  ก็ตัดเสียหาให้ไม่ประมาณสี่ปีมาแล้วที่นี้ขอให้ได้ตามเดิม

๑๐.  ว่าถ้าทำหนังสือประนีประนอมฝ่ายละฉบับแล้ว  ให้ท่านเสนาบดีกับกงสุล เยนเนราล อังกฤษกับกงสุลฝรั่งเศสลงชื่อเป็นพยานไว้ด้วย  แต่ความเรื่องนี้เนิ่นนานมาแล้ว มิสเตอร์ นุมัน (นิวแมน) ผู้ว่าการแทนกงสุลเยนเนราลอังกฤษได้บอกออกไปถึง คอนเวอนแมนอังกฤษได้ทราบว่า คอนเวอนแมนอังกฤษได้ตั้งให้เจ้าเมืองสิงคโปร์เข้ามาระงับการ  แต่เรื่องนี้ควรจะรอเจ้าเมืองสิงคโปร์เข้ามาก่อน  แต่บัดนี้เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี ขอกับมิสเตอร์ นุมัน ผู้ว่าการแทนกงสุลเยนเนราลให้บอกข้าพเจ้าขอดูคำประนีประนอมที่จะเอาอย่างไร  ข้าพเจ้าจึงได้เขียนคำประนีประนอม
ส่งขึ้นมาให้พอท่านดูเป็นสำเนา  แต่ที่จะแล้วกันนั้นจะต้องรอเจ้าเมืองสิงคโปร์เข้ามาก่อนจึงจะแล้วกันได้  แต่ความเรื่องนี้ข้าพเจ้าเขียนโดยเร็ว  หาทันได้ตรึกตรองได้ละเอียดไม่  เจ้าเมืองสิงคโปร์เข้ามาถึงเมื่อไรข้าพเจ้าขอเพิ่มเติมอีกบ้าง

ความตามพระประสงค์ของกรมพระราชวังบวร เป็นเนื้อความ ๑๐ ข้อนี้ ได้ส่งมายังพระยาภานุวงศ์โกษาธิบดี เมื่อได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว โปรดให้สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ สมเด็จเจ้าพรัยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ และเสนาบดีทั้งหลาย ประชุมปรึกษาหารือกัน นำคำประนีประนอมมาพิจารณาว่า ข้อความใดบ้างที่ควรจะยอมทำถวาย ตามพระประสงค์กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญได้บ้าง
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 18 มี.ค. 11, 08:31

กลอนคุณหลวงบ่งบอกรายชื่อขุนนางผู้ตามเสด็จได้ครบถ้วนดี
ดูจากนามตำแหน่งแล้ว ย่อมเห็นว่าเป็นผู้ใกล้ชิดกับกรมพระราชวังบวร
ด้วยดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในวังหน้าทั้งสิ้น

1. พระยาไพบูลย์สมบัติ จางวางกรมพระคลังสินค้า
(อาจจะเป็น พระยาไพบูลย์สมบัติ (เอี่ยม บุนนาค) บุตรสมเด็จองค์น้อย ที่กินตำแหน่งนี้มาแต่รัชกาลที่ 4)
2. พระยาวิสูตรโกษา ปลัดทูลฉลองกรมพระคลัง
3. พระยาสุรินทร์
(เป็นได้ทั้ง "สุรินทรราชเสนี" หรือ "สุรินทรราชเสนา" แต่ข้อมูลคุณไซมีสว่าเป็น พระยาสุรินทรราชเสนี ปลัดทูลฉลองกรมกลาโหม)
4. พระยาจำนงสรไกร ไม่แน่ใจว่าดำรงตำแหน่งใดในวังหน้า
5. พระยาอัษฎาเรืองเดช จางวางกรมพระตำรวจ
6. พระยาประเสริฐ (ศาสตร์ธำรง) จางวางกรมหมอ
7. พระยาภักดีภูธร จางวางกรมรักษาพระองค์
8. พระยาโยธา (เขื่อนขันธ์) จางวางกรมล้อมพระราชวัง

แปลกอยู่อย่างที่ข้าราชการตามเสด็จนั้นไม่มีใครสักคนที่ถึงชั้นเสนาบดีวังหน้าเลย
เป็นเพียงจางวางกรม หรือปลัดทูลฉลองเท่านั้น ข้อนี้น่าสงสัยยิ่ง ฮืม

คุณหลวง (ผู้ร่วมสมัย) น่าจะอธิบายได้ดี

ขุนนางวังหน้าไม่มีถึงชั้นเสนาบดีหรอกครับ  
เพราะกรมกองของวังหน้าเล็กกว่าวังหลวง
ฉะนั้นตำแหน่งสูงสุดก็คือจางวางกับเจ้ากรม  

ส่วนชื่อข้าราชการที่ถามมานั้น
เท่าที่มีข้อมูลพอบอกได้ดังนี้

๑. พระยาประเสริฐสาตรธำรง จางวางกรมหมอฝ่ายพระราชวังบวร
พระยาประเสริฐสาตรธำรง  คนนี้ ชื่อ น้อย
เป็นบุตรเจ้าเมืองเชียงคูน (คง)
เจ้าคุณประเสริฐฯ (น้อย) เข้ารับราชการ
ในกรมหมอฝ่ายพระราชวังบวร ในสมัยรัชกาลที่ ๔
ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นที่ขุนเทพโอสถ
ตำแหน่งปลัดกรมหมอ  เบี้ยหวัดปีละ ๑ ชั่ง

ต่อมาเลื่อนเป็นที่หลวงวิเศษโอสถ เจ้ากรมหมอ
เบี้ยหวัดปีละ ๑ ชั่ง ๑๐ ตำลึง  เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสด็จสวรรคตแล้วได้ลงมารับราชการสมทบในวังหลวง
และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่พระประเสริฐสาตรธำรง
ตำแหน่งจางวางกรมหมอ  เบี้ยหวัด ปีละ ๒ ชั่ง ๑๐ ตำลึง

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้โปรดเกล้าฯ ให้ไปรับราชการ
ที่วังหน้าตามตำแหน่ง  ได้เลื่อนขึ้นเป็นที่พระยาในราชทินนามเดิม
เบี้ยหวัด ปีละ ๕ ชั่ง  เงินกลางปี  ๑ ชั่ง  
เมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เสด็จทิวงคตแล้ว
ได้กลับลงมาสมทบทำราชการในวังหลวง
รับพระราชทานเบี้ยหวัด ปีละ ๖ ชั่ง  เงินเดือนเดือนละ ๖๐ บาท
และได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มงกุฏสยามชั้นที่ ๓ (มัณฑนาภรณ์)
พระยาประเสริฐสาตรธำรง (น้อย) ถึงแก่กรรม
เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ร,ศ, ๑๑๖  อายุได้  ๗๐ ปี
ขุนประเสริฐโอสถ ผู้เป็นบุตรเป็นผู้จัดการศพ

หมายเหตุ (ที่ดำรงเป็นพระยาประเสริฐสาตรธำรงคนต่อมา ชื่อ หนู)



บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 18 มี.ค. 11, 08:44

๒. พระยาจำนงสรไกร ไม่แน่ใจว่าดำรงตำแหน่งใดในวังหน้า

พระยาจำนงสรไตร หรือพระยาจำนงสรไกร  คนนี้ชื่อ รุ่ง
ดำรงตำแหน่งจางวางทหารปืนเล็กฝ่ายพระราชวังบวร 
ได้ถวายตัวรับราชการเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
มาแต่ครั้งที่ยังประทับที่พระราชวังเดิม  ฝั่งธนบุรี
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงรับพระบวรราชาภิเษกแล้ว
ได้โปรดเกล้าฯ นายรุ่งเป็นที่หลวงรุดรักษา 
รับราชการในกรมแสงในขวา  เบี้ยหวัด ปีละ ๑ ชั่ง
ต่อมาได้โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้นเป็นพระจำนงสรไกร
ตำแหน่งจางวางทหารปืนเล็ก  เบี้ยหวัดปีละ  ๒ ชั่ง

ในสมัยรัชกาลที่ ๕  กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญได้โปรด
ให้เลื่อนขึ้นเป็น  พระยาจำนงสรไกร  ในตำแหน่งเดิม
รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละ ๖ ชั่ง  เมื่อวังหน้าเสด็จทิวงคตแล้ว
ได้ย้ายลงมาสมทบทำราชการในวังหลวง  คงรับเบี้ยหวัดเท่าเดิม

พระยาจำนงสรไกร (รุ่ง) ถึงแก่กรรม
เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม  ร,ศ, ๑๐๘  อายุได้  ๖๖ ปี 
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 18 มี.ค. 11, 09:11

๓. พระยาภักดีภูธร จางวางกรมรักษาพระองค์
 พระยาภักดีภูธร  คนนี้ชื่อ  นิล  ไม่ทราบประวัติ
ทราบแต่ว่า ท่านเจ้าคุณถึงแก่กรรม
วันที่ ๓๐ มิถุนายน  ร,ศ, ๑๒๗


๔.  พระยาโยธาเขื่อนขันธ์ ปลัดจางวางกรมล้อมพระราชวัง
พระยาโยธาเขื่อนขันธ์ คนนี้ชื่อ โต  ไม่ทราบประวัติ
ทราบแต่ว่า ท่านเจ้าคุณถึงแก่กรรม
วันที่   ๑  ตุลาคม  ร,ศ, ๑๑๗
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 18 มี.ค. 11, 09:25

๕. พระยาสุรินทร์
(เป็นได้ทั้ง "สุรินทรราชเสนี" หรือ "สุรินทรราชเสนา"
แต่ข้อมูลคุณไซมีสว่าเป็น พระยาสุรินทรราชเสนี ปลัดทูลฉลองกรมกลาโหม)

พระยาสุรินทรราชเสนี  คนนี้ชื่อ  ตุ้ย
ไม่ทราบประวัติ  ถึงแก่กรรมวันที่  ๑๖ มกราคม  ร,ศ, ๑๑๗


๖. พระยาวิสูตรโกษา ปลัดทูลฉลองกรมพระคลัง
คนนี้  ชื่อ อ้น   ไม่มีข้อมูลประวัติ
ทราบว่า ถึงแก่กรรม วันที่  ๒๔ กุมภาพันธ์  ร,ศ, ๑๑๗


มีความพยายามหาข้อมูลมาตอบคุณอาร์ทได้เท่านี้
ไม่ทราบพอใจหรือไม่   ใฝครมีข้อมูลยิ่งกว่า
โปรดเอื้อเฟื้อหรือแสดงออกได้ตามอัธยาศัย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 20
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.08 วินาที กับ 19 คำสั่ง