เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4543 ขอความรู้ราชทินนาม คนกองทัพอากาศ
mike
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


 เมื่อ 15 ก.พ. 11, 11:14

อ่านราชทินนามมามากพอสมควร เลยอยากรวบรวมราชทินนามที่กองทัพอากาศ ได้รับ
อยากได้แบบคล้องจองเหมือนกันกับที่รัชกาลที่ ๖ ทรงบัญญัติราชทินนามให้นักดนตรีไทย

ให้เป็นทำเนียบชื่อชุดใหญ่มี ๕๕ ชื่อ

ประสานดุริยศัพท์ - ประดับดุริยกิจ - ประดิษฐ์ไพเราะ - เสนาะดุริยางค์ - สำอางดนตรี -
ศรีวาทิต - สิทธิ์วาทิน - พิณบรรเลงราช - พาทย์บรรเลงรมย์ - ประสมสังคีต - ประณีตวรศัพท์ -
คนธรรพวาที - ดนตรีบรรเลง - เพลงไพเราะ - เพราะสำเนียง - เสียงเสนาะกรรณ - สรรเพลงสรวง -
พวงสำเนียงร้อย - สร้อยสำเนียงสนธิ์ - วิมลวังเวง - บรรเลงเลิศเลอ - บำเรอจิตรจรุง -
บำรุงจิตรเจริญ - เพลินเพลงประเสริฐ - เพลิดเพลงประชัน - สนั่นบรรเลงกิจ - สนิทบรรเลงการ -
สมานเสียงประจักษ์ - สมัคเสียงประจิต - วาทิตสรศิลป์ - วาทินสรเสียง - สำเนียงชั้นเชิง -
สำเริงชวนชม - ภิรมย์เร้าใจ - พิไรรมยา - วีณาประจินต์ - วีณินประณีต - สังคีตศัพท์เสนาะ -
สังเคราะห์ศัพท์สอาง - ดุริยางค์เจนจังหวะ - ดุริยะเจนใจ - ประไพเพลงประสม - ประคมเพลงประสาน -
ชาญเชิงระนาด - ฉลาดฆ้องวง - บรรจงทุ้มเลิศ - บรรเจิดปี่เสนาะ - ไพเราะเสียงซอ - คลอขลุ่ยคล่อง -
ว่องจรเข้รับ - ขับคำหวาน - ตัตตริการเจนจิต - ตันตริกิจปรีชา - นารถประสาทศัพท์ - คนธรรพประสิทธิสาร

ชุดเล็กมี ๔ ชื่อ

เจนดุริยางค์ - จัดดุริยางค์ - ถนัดดุริยางค์ - ถนอมดุริยางค์

ยกตัวอย่าง เช่น
เวชยันต์รังสฤษดิ์ - เนรมิตรไพชยนต์ เป็นต้น
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 15 ก.พ. 11, 11:52

ที่รู้ๆ มานะครับ

นายพันโท พระเทวัญอำนวยเดช (หลี สุวรรณานุช) ประจำกรมอากาศยาน
คู่กับ
นายพันโท พระเทเวศร์อำนวยฤทธิ์ (ประเสริฐ อินทุเศรษฐ์) ประจำกรมอากาศยาน

นายพันตรี หลวงเทวฤทธิ์พันลึก (กาพย์ ทัตตานนท์) ปลัดกองบินใหญ่ที่ ๑ กรมอากาศยาน
คู่กับ
นายพันตรี หลวงอธึกเทวเดช (บุญเจิม โกมลมิศร์) ผู้บังคับกองโรงงานที่ ๒ กองโรงงานอากาศยาน

นายพันตรี หลวงเวหาสจรดล (อี่ จิตตินันทน์) ประจำกรมอากาศยาน
คู่กับ
นายพันตรี หลวงเวหนเหิรเห็จ (ผล หงสกุล) ผู้บังคับกองบินน้อยที่ ๒ กองบินใหญ่ที่ ๒

นายพันตรี หลวงถะเกิงนภาดล (ลุ้ย ชวนะเสน) ผู้บังคับกองบินน้อยที่ ๑ กองบินใหญ่ที่ ๒
คู่กับ
นายพันตรี หลวงถะกลนภากาศ (มนต์ สิงหเสนี) ประจำกรมอากาศยาน

นายร้อยเอก หลวงอัมพรไพศาล (กฤษณ์ บูรณะสัมฤทธิ์) ประจำกรมอากาศยาน
คู่กับ
นายร้อยเอก หลวงคัคนานต์โคจร (กล่อม สุคนธสาร) ผู้บังคับฝูงบินที่ ๑๖ กองบินน้อยที่ ๒ กองบินใหญ่ ๓
บันทึกการเข้า
mike
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 17 ก.พ. 11, 09:28

ขอบคุณสำหรับคำตอบ

แสดงว่า

นายพันตรี หลวงเวชยันต์รังสฤษฎ์ (มุนี มหาสันทนะ) ประจำกรมอากาศยาน
คู่กับ
นายพันตรี หลวงเนรมิตรไพชยนต์ (เซี้ยง ศุษิลวรณ์) ประจำกรมอากาศยาน

อยากได้เป็นคู่ๆ อีกครับ

ประมาณว่า หลวงปลื้มประหารหาว,หลวงล่าฟ้าเริงรณ,หลวงเจริญจรัมพร,หลวงประดิษฐเวหาสยาน,หลวงปรุงปรีชากาศ เป็นต้น

บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 17 ก.พ. 11, 09:43

ขอบคุณสำหรับคำตอบ

แสดงว่า
นายพันตรี หลวงเวชยันต์รังสฤษฎ์ (มุนี มหาสันทนะ) ประจำกรมอากาศยาน
คู่กับ
นายพันตรี หลวงเนรมิตรไพชยนต์ (เซี้ยง ศุษิลวรณ์) ประจำกรมอากาศยาน

หามิได้ครับ
ผมไม่แน่ใจว่าเรื่องตำแหน่งของท่านทั้งสองในขณะได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์นั้น คือตำแหน่งอะไร
แต่ข้อมูลที่ผมมีอยู่ (จากผู้อาวุโสใหญ่) เป็นข้อมูลปี 2474 ครับ

ขณะนั้น
หลวงเวชยันต์รังสฤษฏ์ (มุนี มหาสันทนะ) ได้เป็น นายพันเอก พระเวชยันต์รังสฤษฎ์ แล้ว
ตำแหน่งของท่านคือ หัวหน้ากองเทคนิค กรมอากาศยาน
ส่วน หลวงเนรมิตรไพชยนต์ (เซี้ยง ศุษิลวรณ์) ได้เสียชีวิตเพราะเหตุเครื่องบินตกไปก่อนหน้านี้แล้วครับ
ขณะเป็น นายพันโท พระเนรมิตรไพชยนต์ แต่จำปี พ.ศ. เกิดเหตุไม่ได้

ส่วนราชทินนามอื่นๆ นั้น ไม่น่าจะเป็นราชทินนามที่ตั้งคล้องจองกัน แต่เป็นราชทินนามเดียวๆ ที่ตั้งเฉพาะตัว
ถ้าคุณ mike อยากได้ผมก็จะนำมาให้ครับ
บันทึกการเข้า
mike
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 19 ก.พ. 11, 17:37

ขออนุญาตอ้างถึง http://www.rtafmuseum.com/RTAF%202453-2470Th.pdf
ถ้าผมจำไม่ผิด ผู้เขียนคือ น.อ.ศักดิ์พินิต พร้อมเทพ (ขออนุญาตกล่าวถึงนามท่าน)

เขียนไว้ในหน้า 15 ของเอกสารฉบับดังกล่าวข้างต้น ว่าในปี 2467
กรมอากาศยานได้ส่งนายพันตรี หลวงเวชยันต์รังสฤษฎ์ (มุนี มหาสันทนะ) และนายพันตรี หลวงเนรมิตรไพชยนต์ (เซี้ยง ศุษิลวรณ์)
ไปศึกษาวิชาวิศวกรรมอากาศยาน และปี 2470 ก็ได้สร้างเครื่องบิน "บริพัตร" ขึ้น

สำหรับราชทินนามเดี่ยวๆ นั้น ยินดีครับ ขอชุดใหญ่.....เลยนะครับ
ผมพยายามเข้าไปดู Website ของกองบิน 2 จะปรากฏนามของผู้มีบรรดาศักดิ์ตามที่เกริ่นมา.....เลยคิดว่าน่าจะจับคู่กันได้
แต่บางท่านอาจจะลาออกหรือสละชีพเพื่อชาติไปก่อน ทำให้สารบบของบรรดาศักดิ์ที่จับคู่.....หายไป
หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า "หายไปในสมรภูมิ................."

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นครับ.....และขออภัยหากไปกระทบกับผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 19 ก.พ. 11, 22:06

วิธีคิดราชทินนามนั้น  ท่านจะคิดมาเป็นคู่หรือเป็นชุด ๔ ชื่อ  เช่น
ประทักษ์สุนทรวิทย์  ประทิศสุนทรวัตร  ประทัตสุนทรสาร  ประทานสุนทรศัพท์
จรัสอักษรกูล  จรูญอักษรศักดิ์

เวลาจะพระราชทานราชทินนามแก่ผู้ใด  พนักงานเจ้าหน้าที่ท่านก็จะเลือกหาราชทินนามที่มีอยู่แล้วเสนอขึ้นไป  แต่ถ้าราชทินนามเดิมนั้นมีผู้รับพระราชทานครบหมดแล้ว  เจ้าพนักงานพระอาลักษณ์หรือเจ้ากระทรวงก็จะคิดราชทินนามขึ้นมาใหม่เป็นคู่หรือเป็นชุดดังกล่าว  แล้วนำความกราบบังคมทูลเพื่อโปรดพระราชทานเป็นลำดับไป  ราชทินนามที่เข้าคู่กันบางคราวจึงอาจจะมีชั้นยศต่างกัน  เพราะเหตุรับพระราชทานคนละคราว  และโดยมากราชทินนามที่คิดขึ้นใหม่นี้จะคู่กับตัวผู้ที่ได้รับพระราชทานไปตลอด  เช่น เมื่อแรกรับพระราชทานมีบรรดาศักดิ์เป็นขุนหรือหลวง  เมื่อเลื่อนบรรดาศักดิ์สูงขึ้น  ก็ยังคงได้รับพระราชทานราชทินนามเดิมไปตลอด  เช่น ขุนอนุกิจวิทูร (สันทัด  เทพหัสดิน ณ อยุธยา) อเตผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ท่านผู้นี้คงได้รับพระราชทานราชทินนาม "อนุกิจวิทูร"  ตั้งแต่เป็นขุน  หลวง  พระ  และสุดท้ายเป็นพระยา
บันทึกการเข้า
mike
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 23 ก.พ. 11, 01:42

ไม่ได้ปั่นกระทู้นะครับ.......แต่อยากรู้จริง
ขอความกรุณาพี่ Art47,P' V_Mee

...ขอบคุณครับ.....ล่วงหน้า

พอดีผมรับราชการในกองทัพอากาศ และคิดอย่างหนึ่งว่า..................ถ้า
สักวันหนึ๋งเราได้มีเชื้อในการที่จะค้นหา......................ในสิ่งที่เราอยากรู้
ก็เหมือนเพื่อนๆ หลายๆคนที่ยังอยากรู้...........แต่ก็ยังมีบรรทัดฐานต่อไปว่า
ฟังหูไว้หู.......จนกว่าจะสำแดงแล้วมีหลักฐานชัดเจน เช่น....................

ในราชกิจจาฯ เล่มที่ หน้าที่ วรรคที่............................................
หรือสามารถนำเอกสารหลักฐานมาประกอบร่วมแล้วอ้างอิงให้ชัดกันไปว่า......
หลักฐานที่ ๑....................................................................
หลักฐานซักค้าน (ไม่เก่งกฎหมาย......) .......................................
แล้วถ้าเราบันทึกไว้บ้างว่า.........................................................


ต่อไปเราจะได้จับประเด็นถูก (แม้มันอาจจะผิดก็ตาม............................)

ขอบคุณพวกพี่ๆทั้งหลาย
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 23 ก.พ. 11, 07:22

แหล่งข้อมูลสำคัญ คือ หอจดหมายเหตุแห่งชาติครับ 
เริ่มต้นก็ไปดูแฟ้มเอกสารรัชกาลที่ ๖  กระทรวงกลาโหม - ทหารเรือ  จะพบหมวดเอกสารเรื่อง กรมอากาศยานทหารบก  ซึ่งมีเอกสารจดหมายเหตุนับแต่ก่อตั้งกรมอากาศยาน  แล้วต่อด้วยเอกสารรัชกาลที่ ๗ ชุดกระทรวงกลาโหม  ก็จะได้ความต่อเนื่องกันมาอีกมากมายเลยครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 19 คำสั่ง