เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
อ่าน: 12179 ว่าด้วยหนังสือพุทธประวัติ (ฉบับวิจารณ์) ของท่านพุทธทาส
Bhanumet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 199


Sleeping Red Lion


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 21 ก.พ. 11, 16:41

นำลิงก์ พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ มาฝากครับ

พุทธประวัติจากพระโอษฐ์
บันทึกการเข้า
Bhanumet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 199


Sleeping Red Lion


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 21 ก.พ. 11, 17:12

เรื่องการปกครอง ท่านพุทธทาส ว่าเป็น สภา มีสันถาคารใหญ่ในกบิลพัสดุ  ในนิคมเล็กก็มีอยู่บ้าง (มีปรากฏในพระไตรปิฎก)

โดยมีหัวหน้าตระกูล เป็นผู้ปกครองตระกูล
(ตระกูล ประกอบด้วยเจ้าศากยะหลายครอบครัว ที่เป็นสายเดียวกัน อยู่ในนิคมเดียวกัน และบ่าวไพร่
-ผมขอเสริมว่าเพราะเจ้าศากยะ มีนา ต้องดูแลนา เช่น เจ้ามหานาม สอนน้อง เจ้าอนุรุทธ เรื่องการทำนา เรื่องพ่อและอาของพระพุทธเจ้า มีนามลงท้ายว่า โอทนะ (ก้อนข้าว)-)
หัวหน้าจากหลายตระกูล ก็จะเป็นทำนองตัวแทนในสันถาคาร ในที่ประชุมศากยบริษัท
(ผมไม่แน่ใจว่าเฉพาะ หัวหน้าตระกูล หรือ เจ้าชายศากยะที่โตแล้ว  แต่ถ้าเอาหมด คงมีจำนวนมากเกินไป)

ท่านยังว่า สันถาคารของศากยะ คงเล็กกว่าพวกวัชชีมาก

ในพระบาลี (พระไตรปิฎก) เรียก เจ้าศากยะทุกองค์ ด้วยชื่อและชาติ เท่านั้น เช่น สุทโธทนะสักกะ (สุทโธทนะ ศากยะ) มหานามะสักกะ (มหานามะ ศากยะ)

มีที่เรียกพระเจ้าสุทโธทนะ ว่า ราชา แค่แห่งเดียว ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบกับพระพุทธเจ้าในอดีต  ถ้ามีพระบิดาเป็นวรรณะกษัตริย์ ก็เรียกราชาหมด (พุทธวงศ์ ขุททกนิกาย)
- ผมอ่านพุทธประวัติจากพระโอษฐ์แล้ว เห็นใช้ ราชา อยู่ ๒ ที่ -

นอกนั้น ก็เห็นมีใช้กับ พระภัททิยะ  (ที่ออกบวชพร้อม พระอานนท์ พระภคุ พระกิมพิละ พระอนุรุทธ พระเทวทัตต และ นายอุบาลี) เท่านั้น
ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้มีตระกูลสูง (ท่านเป็น เอตทัคคะ ด้านผู้เกิดในตระกูลสูง)  และท่านกล่าวว่า เมื่อบวชแล้วมีสุขแม้อยู่ในป่า  ไม่ต้องหวาดระแวงเหมือนอยู่ในวัง

นอกนั้น  ไม่เคยใช้คำว่า "ราชา" กับพวกเจ้าศากยะเลย
ในขณะที่ เมื่อกล่าวถึง พระเจ้าปเสนทิ หรือ พระเจ้าพิมพิสาร (ที่ปกครองด้วยราชาธิปไตย) ล้วนใช้คำว่า ราชา "ทุกแห่ง" ทั้งสิ้น

แต่กลับกล่าวถึงการมี "สันถาคาร" อันเป็นที่ประชุมทำนอง สภา ในปัจจุบัน
ซึ่งจะมีในแคว้นที่ปกครองด้วยสามัคคีธรรมเท่านั้น เช่น วัชชี มัลละ  ซึ่งเป็นแคว้นที่ไม่ใหญ่โตมาก  และอยู่ที่ราบเชิงเขาหิมาลัยด้วยกัน  (บ้างก็ว่าเป็นเครือญาติกันด้วยซ้ำ ดู คคห. ก่อน ๆ)

และในการตัดสินใจเรื่องสำคัญ ๆ ก็ต้องประชุมที่สันถาคาร
ทางนิกายฝ่ายเหนือว่า แม้แต่ที่ เจ้าสิทธัตถะ กับ เจ้าเทวทัตต ทะเลาะแย่งหงส์กัน
หรือ เจ้าชายสิทธัตถะ จะแต่งงาน
หรือ พระเจ้าสีหนุ จะขอให้ เจ้าสุทโธทนะ ได้แต่งงานกับนางปชาบดี เพิ่มอีกองค์
ล้วนต้องเข้าประชุมที่สันถาคาร

ส่วนในพระบาลี  ก็กล่าวถึงการประชุมในสันถาคารของพวกศากยะ บ่อยมาก
พอลงมติได้ว่า พวกศากยะ ปกครองด้วย อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) หรือประชาธิปไตย(ของเจ้าชายศากยะเท่านั้น)
ปัจจุบัน เรามักเรียกการปกครองแบบนี้ในสมัยพุทธกาลว่า สามัคคีธรรม

ส่วนที่มีการใช้ ราชา กับเจ้าศากยะบางองค์นั้น  ถ้าไม่เป็นไปเพื่อการยกย่อง  หรือโดยบริบทของการสนทนาแล้ว
อาจเป็นได้ว่า ราชา ทำหน้าที่เหมือนเป็นประธานในที่ประชุม
หรือไม่เช่นนั้น ก็เป็นราชากันทุกองค์ คือเป็นราชาในตระกูล ในนิคมของตน
เคยอ่านพบที่ใดจำไม่ได้ว่า เจ้าลิจฉวี ถือเป็น ราชา กันทุกองค์ มีศักดิ์เท่าเทียมกัน ในการประชุมในสันถาคาร
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 19 คำสั่ง