เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 15970 วัดภุมรินทร์ราชปักษี
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 15 ก.พ. 11, 13:05

นับว่าเป็นข่าวดีที่ทางวัดมีความประสงค์จะบูรณะวัดภุมรินทร์ราชปักษี ประวัติวัคนั้นไม่มีที่ใดระบุไว้อย่างชัดแจ้งได้แต่สันนิษฐานจากสภาพสถาปัตยกรรมที่พบปรากฏในปัจจุบัน ตัวพระอุโบสถและวิหารที่ทำฐานแอ่นโค้งแบบท้องสำเภา ว่าเป็นสมัยอยุธยาตอนปลาย แต่ถ้าพินิจพิเคราะห์ จากทำเลที่ตั้งในย่านฝังธนใกล้เคียงกันที่ใกล้ที่สุดคือวัดดุสิตารามเองซึ่งสร้างสมัยรัชกาลที่1(สถาปัตยกรรมที่พบในปัจจุบัน) วัดสุวรรณาราม (วัดทอง)สมัยร.1เช่นเดียวกัน วัดภุมรินทร์น่าจะสร้างในสมัยรัชกาลที่1เช่นเดียวกันฃึ่งก็ยังนิยมคติทำฐานพระอุโบสถเป็นท้องสำเภาอยุ่เพราะช่างก็คงตกทอดมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา และอีกประเด็นนึงถ้าเป็นสมัยอยุธยาแล้วพระอุโบสถไม่นิยมเจะช้องหน้าต่างจำนวนมากอย่างเช่นที่วัดภุมรินทร์ฯนี้ ส่วนประกอบของสถาปัตยกรรมอย่างคันทวยก็เป็นคันทวยอย่างสมัยร.1เหมือนที่วัดดุสิตเป๊ะ(ดูรูปประกอบ) ส่วนแต่เดิมเมื่อครั้งมีวัดครั้งแรก อาจมีมาแต่สมัยอยุธยาเช่นวัดดุสิตอันนี้น่าจะเป็นตามนั้น สำหรับจิตรกรรมในพระอุโบสถและลวดลายประดับตกแต่งหน้าบันคงมาบูรณะสมัยรัชกาลที่3ต่อเนื่องมาถึงสมัยรัชกาลที่4ค่อนข้างแน่นอนโดยเฉพาะจิตรกรรมฝาปผนังชัดเจนว่าเป็นสมัยร.3แต่คติการเขียนด้านหลังพระประธานป็นพระพุทธเจ้าเปิดโลก ส่วนด้านหน้าพระประธานเข้าใจว่าเป็นเมือง...?นึกไม่ออกแทนที่จะเป็นมารผจญและไตรภูมิก็เป็นแบบที่นิยมช่วงปลายร.ต่อร.4
ตัวผมเองได้เคยเข้าไปถ่ายภาพวัดนี้เมื่อครั้งเรียนที่โรงเรียนเพาะช่างเมื่อปี2527 แต่ถ่ายไม่ได้เลยเพราะมีค้างคาวอยู่เต็มและกองมูลค้างคาวอยู่เต็มไปหมด เหม็นจนทนไม่ได้ ครั้นปัจจุบันเข้าไปถ่ายรูปที่วัดดุสิตารามล่าสุดเมื่อ 19มิ.ย.52ก็ได้แต่ถายภาพภายนอกมาและมองลอดช่องไปถ่ายจิตรกรรมมาได้บางส่วนจึงขอนำเสนอดังนี้ครับ(รูปแรกภาพถ่ายทางอากาศของวิลเลี่ยมฮันท์ บริเวณวัดดุสิดารามเห็นวัดภุมรินราชปักษีทางทิศใต้มุมขวาบน เห็นแต่โบสถ์วิหารถูกต้นไม้บัง )


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 15 ก.พ. 11, 13:18

ภาพเปรียบเทียบคันทวยวัดดุสิตรูป1กับวัดภุมรินทร์รูป2



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 15 ก.พ. 11, 13:40

หากทางวัดมีความประสงค์จะให้กรมศิลป์บูรณะ ผมขอออกความเห็นว่า ควรจะพิจารณาว่าทางกรมศิลป์จะมอบหมายให้ใครทำ เพราะระบบราชการปัจจุบันเป็นระบบประมูลงาน เมื่อรับงานแล้วเอาไปให้ผู้รับเหมาประมูลไปทำต่อ ขาดทั้งนักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ศิลป นักศิลปะและช่างศิลปที่ชำนาญงาน การบูรณะเชิงอนุรักษ์ก็จะกลายเป็นการทำลายของเก่าเหมือนที่เป็นอยู่หลายๆวัดในปัจจุบัน ผมละเป็นห่วงจริงๆ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 15 ก.พ. 11, 13:46

น. ณ ปากน้ำ ได้เขียนเรื่องของวัดดุสิตารามไว้ในหนังสือ "ศิลปกรรมในบางกอก" ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๑๔ ว่า "... วัดดุสิดาราม เป็นวัดโบราณเก่าแก่มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา

... หลักฐานว่าวัดนี้เป็นวัดเก่ามีอยู่ที่พระวิหารเล็กหลังวัด ๒ หลัง ซึ่งบัดนี้ถูกถนนผ่ากลางตัดแยกให้ห่างจากบริเวณวัดเสียแล้ว ทรวดทรงเป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น คือมีเสากลมและบัวหัวเสาเป็นบัวกลุ่ม อันสถาปัตยกรรมแบบนี้เป็นที่นิยมกันในสมัยปลายของอยุธยาตอนต้น เพราะสมัยต่อมาได้เปลี่ยนแปลงหันมานิยมใช้เสาเหลี่ยมย่อมุม ๑๒ และบัวหัวเสาเป็นบัวกลีบยาว สถาปัตยกรรมแบบนี้ยังเห็นอยู่อีกแห่งหนึ่งในธนบุรี ที่วัดราชคฤห์ และยังมีอีกบ้างตามวัดในสวนลึก

ส่วนพระอุโบสถนั้นเป็นแบบแผนรัชกาลที่ ๑ ทุกอย่าง แต่มีเพิงยื่นออกด้านหน้า ใช้เสาสี่เหลี่ยม แสดงว่ามาปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่สามอีกครั้งหนึ่ง ตามประวัติกล่าวว่าสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงคิรีสุนทรเทพ พระราชธิดาในชกาลทีหนึ่งทรงสถาปนาพระอารามนี้ ต่อมาสมัยรัชกาลที่สอง กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ทรงสร้างและปฏิสังขรณอีกครั้งหนึ่ง ครั้นปฏิสังขรณ์เสร็จจึงได้พระราชทานนามเสียใหม่ว่า วัดดุสิดาราม

...

ภาพเขียนวัดนี้เป็นที่เลื่องลือว่าภาพนรกผนังหลังพระประธาน เขียนได้งามมีชีวิตจิตใจแบบนรกแท้ๆ ไม่มีแห่งใดสู้ และภาพพระทวารบาลก็น่าชมเช่นกัน ส่วนที่พระระเบียงซึ่งประดิษฐานพระยืนปางรำพึงเป็นระยะนั้น ระหว่างช่อง เขียนภาพพระยืนและนั่งกรรมฐานสลับกันไป ฉากหลังเขียนภูเขาและต้นไม้ เส้นสวยงามเหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่ลบเลือนหมดแล้ว

ภาพเขียนยังมีอีกที่วิหารเล็กสองหลังทางหลังวัด เฉพาะวิหารซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยสมัยอยุธยานั้น ฝีมือเขียนบนผนังสมัยรัชกาลที่ ๓ ภาพผนังด้านหลังปางเสด็จจากดาวดึงส์ ผนังด้านข้างรูปเทพชุมนุม ๓ แถวข้างล่าง ระหว่างหน้าต่างเขียนเรื่องทศชาติชาดก ฝีมือช่างหลวงงามมาก"


นอกจากนี้ น. ณ ปากน้ำ ยังเขียนคำตำหนิไว้อีกว่า "ส่วนวิหารด้านทิศเหนือซึ่งเคยประดิษฐานพระยืน คือมีร่องรอยเจาะซุ้มไว้พระยืนบนผนังหลัง เขียนภาพประดับซุ้มเป็นลายเปลวก้อนเมฆและต้นไม้ และผนังด้านหน้าเขียนมารผจญ เป็นงานที่ดี น่าจะทะนุถนอมรักษาอย่างดีที่สุด แต่ทางวัดไม่อินังชังขอบ ปล่อยให้หลังคารั่ว น้ำฝนไหลลงมาทำลายรูปเขียนทุกวัน น่าเศร้าใจเหลือประมาณ ทางกรมศาสนาก็ไม่เคยเหลียวแลที่จะบำรุงรักษาสมบัติของพระศาสนาอันล้ำค่าไว้ จึงปล่อยเป็นวิหารร้างไว้อย่างนั้น ทั้งๆ ที่ไม่ชำรุดมากนัก เพียงมุงหลังคาเสียใหม่แล้วซ่อแซมกับปรับพื้นบางส่วน ..."

หมายเหตุ - ผมไม่มีความรู้ทางด้านศิลปะนะครับ ไม่อาจวิจารณ์อะไรได้ พบเห็นข้อความหรือภาพใดที่เกี่ยวข้อง ก็สำเนาข้อความและภาพมาร่วมรายการเท่านั้นครับ



บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 15 ก.พ. 11, 13:50

หน้าบันรูปนกยูงอยู่ส่วนใต้องค๋นารายณ์ทรงสุบรรณอันเป็นชื่อที่มาของวัดตามที่สันนิษฐานกัน(สวัสดีครับคุณลุงหลวงไก่ สบายดีนะครับ ส่วนผมไม่สบายครับ คงไม่ต้องบอกว่าเรื่องอะไร) ข้อมูลคุณของอาจารย์ น. ถ้าจำไมผิดจะตั้งแต่ปี2516แล้วมั๊งครับ



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 15 ก.พ. 11, 13:55

ช่วยแทรกแผนที่สมัยรัชกาลที่ ๕ ให้ชมว่าพื้นที่บริเวณวัดดุสิตาราม มีวัดที่ใกล้ติดกันอยู่ด้วยกันถึง ๔ วัด

๑. วัดน้อยทองอยู่
๒. วัดดุสิตาราม
๓. วัดภุมรินทร์ราชปักษี
๔. วัดใหม่ใน xxx

วัดน้อยทองอยู่ ตั้งรั้วติดกับวัดดุสิตาราม ด้านหลังลึกเข้าไปเป็นวัดภุมรินทร์ราชปักษี ส่วนวัดใหม่ใน xxx มีพื้นที่วัดกว้างพอสมควร ปัจจุบันคงเป็นที่ตั้งของสะพานพระปิ่นเกล้า


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 15 ก.พ. 11, 14:01

ภาพจิตรกรรมฝาผนังบางส่วนในระหว่างช่องหน้าต่างนั้น ไม่น่าจะใช่ทศชาติชาดกทั้งหมด ดูจากรูปนี้ยิ่งไม่น่าจะใช่เลย อาจเป็นพุทธประวัติบางตอนผสมกับทศชาติ ต้องเข้าไปดูของจริงอีกทีอันนี้ไม่ยืนยัน ส่วนด้านบนเทพชุมนุมแน่นอน ดูลักษณะตัวภาพบอกได้เลยว่าฝีมือระดับช่างหลวงร.3





บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 15 ก.พ. 11, 14:18

ด้านหลังพระอุโบสถยังปรากฎลวดลายหน้าบันประดับกระจกสีอันงดงามหลงเหลืออยู้เป็นภาพนารายณ์ทรงสุบรรณ ซึ้งถ้าจะบูรณะ จะหาช่างใดทำได้เทียบของเดิมคงไม่มีทางจะเป็นไปได้เลย เพราะช่างหลวงตอนนี้เราไม่มีแล้วมีแต่ช่างเถอะ อีกทั้งประยืนปางห้ามญาติอันงดงามอีกองค์ช่างมีพระพักตร์ที่เมตตาสงบน่เลื่อมใสศรัทธา ถ้าบูรณะมั่วๆมาคงเสียดายแย่


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 15 ก.พ. 11, 14:30

รูปผิดซะงั้น นี่ครับหน้าบันประดับกระจกที่เหลืออีกอันนึงน่าจะเป็นของวิหาร ด้านหลังก็ยังพอหลงเหลืออยู่บ้าง สังเกตลายเครือเถารูปดอกพุตตาลประกอบหน้าบันเป็นแบบที่นิยมทำในสมัยรัชกาลที่3ค่อนข้างชัดเจน แต่ชอบนารายณ์ทรงครุฑที่นี่มากงามจริงๆ ขอจบการโพสต์แต่เพียงเท่านี้ ว่าแต่มวลหมู่สมาชิกชมรมไปไหนหมด พอหัวหน้าหาย ลูกน้องเลยหายตาม มาช่วยกันหน่อยเร็ว ต่อลมหายใจศิลปะไทยกันหน่อย




บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 15 ก.พ. 11, 18:12

มีภาพมาฝากคุณ Thatri และคุณ jean1966 ผมเข้าใจว่าเป็นภาพพระวิหารก่อนการบูรณะ
ภาพอาจจะไม่ชัดนัก เพราะผมขยายจากภาพต้นฉบับที่เล็กไปหน่อย





บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 15 ก.พ. 11, 20:52

ภาพทวารบาลนั้นไม่ใช่ของวัดภุมรินทร์ครับ เป็นของวัดดุสิตาราม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Thatri
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 17 ก.พ. 11, 00:47

ขอขอบพระคุณผู้ที่ให้ข้อมูลทุกท่าน ผมไม่มีความรู้เรื่องศิลปโบราณมาก่อนเลย พื้นฐานเป็นวิศวกร ปัจจุบันทำธุรกิจ เดิมไม่เคยสนใจศาสนา จนได้เข้าปฎิบัติธรรม และได้รู้จักท่านพระราชวรมุณี (ปัจจุบันพระเทพสิทธิมุนี เจ้าอาวาสวัดดุสิดาราม)เป็นพระสุปะฏิปันโน สมควรแก่การกราบไหว้ หลังจากท่านได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสปี 2553 ได้เริ่มบูรณะพระปรธธานในโบสถ์ พระวิหารรอบพระอุโบสถพระอารามหลวงวัดดุสิดาราม คาดว่าจะเสร็จประมาณปลายปีนี้ หรือต้นปีหน้า ก่อนบูรณะพระพุทธรูปยืน 64 องค์เสียหายเกือบหมด,ภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังเสียหายเกือบทั้งหมด,หลังคารั่ว และปลวกกินเสาและไม้ระแนงหลังคาบางส่วน อัฐิได้ฐานพระย้ายออกทั้งหมดไปอยู่ที่จัดให้ใหม่ โดยได้รับการอนุมัติจากกรมศิลป์ ทางวัดหาช่างและเงินทุนจากเงินทำบุญทั้งหมด อาจารย์สุวรรณเป็นผู้ซ่อมพระพุทธรูป,ภาพวาดฝาผนัง และซ่อมผนังโดยใช้ปูนตำแบบโบราณ ทางวัดเปิดให้ผู้มีจิตศรัทธามาร่วมทำบุญบูรณะ/ซ่อมแซมพระวิหารได้
นอกจากนี้ท่านพระเทพสิทธิมุนีเห็นว่าพระอุโบสถและพระวิหารวัดภุมรินราชปักษี ควรจะได้รับการบูรณะและเปิดให้พุทธศาสนิกชนและผู้สนใจเข้าสักการะและชมได้ หลังจากปิดมาไม่ต่ำกว่า 30 ปี จึงแต่งตั้งกรรมการพัฒนาวัดขึ้นมา โดยผมเป็นประธานกรรมการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ งานบูรณะโบราณสถานและงานวิปัสสนา
1-งานบูรณะพระอุโบสถและพระวิหารวัดภุมรินราชปักษี ผมได้ติดต่อ หจก.บูรณาไท มาประเมินราคาและเสนอแบบ เพื่อขออนุมัตกรมศิลป์ในการบูรณะ โดยส่วนตัวผมไม่รู้จักบูรณาไท ได้รับคำแนะนำมาอีกที คุณ jean มีความเห็นอย่างไรครับ ถ้าเป็นไปได้ช่วยแนะนำบริษัทเพิ่มเติมได้ครับ เพราะผมเห็นด้วยกับคุณ jean อย่างยิ่งว่าการบูรณะควรอนุรักษ์ให้ได้ใกล้เคียงกับของดั้งเดิมที่สุด ถ้าเป็นไปได้ผมอยากจะเรียนเชิญคุณ jean มาให้คำปรึกษาก่อนเริ่มงานบูรณะ
2-งานวิปัสสนา ทางวัดเริ่มเปิดให้มีการวิปัสสนาตั้งแต่ปี 2550 วันจันทร์-เสาว์ เวลา 19.00-21.00 น. วันอาทิตย์ 13.00-20.00 น. ตอนเย็น สวดมนต์ทำวัตรเย็นและฟังธรรมจากพระเทพสิทธิมุนี วันสำคัญทางศาสนา เช่นวันมาฆะบูชานี้ จัดระหว่างวันที่ 18-20 ก.พ.2554 ค้างคืนที่วัด รับประมาณ 100 คน



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Thatri
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 17 ก.พ. 11, 01:00

วัดภุมริน/ฝ้าเพดาน ซ่อมตั้งแต่สมัยไหนไม่แน่ใจ เข้าใจว่าเป็นการซ่อมเบื้องต้นเพื่อกันน้ำฝนไม่ให้ไหลมาโดนภาพวาด


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Thatri
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 17 ก.พ. 11, 01:04

วัดภุมริน จิตรกรรมหลังพระอุโบสถ เหนือพระยืนสภาพยังสมบูรณื


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Thatri
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 17 ก.พ. 11, 01:07

วัดภุมริน / หน้าบันเสียหายทั้งหมด เสา 4 ต้นพังหมด หลังคาด้านหน้าไม่เหลือ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.09 วินาที กับ 19 คำสั่ง